ก ข คำนำ ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานฉุกเฉินต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจาก เป็นพื้นฐานของการเรียนวิชาอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อให้นักเรียนใช้ความรู้ในการดูแลผู้ป่วย ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ โดยใช้ระบบต่าง ๆ ของปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินการแพทย์มาบูรณาการในการฝึกหัด ศึกษา การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ของโรงเรียนนนาวิกเวชกิจ ศูนย์วิทยาการ กรมแพทย์ทหารเรือ นั้น ตามปรัชญาของหลักสูตรต้องการให้ ผู้สำเร็จการศึกษา มีความรู้ และความเข้าใจ มีเจตคติที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีทักษะในการปฏิบัติการ ฉุกเฉินการแพทย์ ใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณเพื่อการแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติการ ฉุกเฉินการแพทย์ ตามอำนาจหน้าที่ ขอบเขต ความรับผิดชอบ และข้อจำกัดในการปฏิบัติการแพทย์ของ และต้องมีความปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา สิ่งเหล่านี้ผู้เรียนต้องทำการฝึกหัดศึกษา เพื่อให้เกิด ความชำนาญ เอกสารคำสอนวิชา ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์เล่มนี้ประกอบไปด้วยเนื้อหาที่เป็นแนวทางในการ ใช้บูรณาการทั้งระบบที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ รวมไปถึงตารางเรียนและแบบฝึกหัดท้าย บท เพื่อให้นักเรียนสามารถนำไปประยุกใช้ในศาสตร์การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินทั้งระบบให้มีคุณภาพที่ดีที่สุด ขอขอบคุณ คุณเพ็ญรุ่ง บุญรักษ์และคณะทำงานจัดทำคู่มือบริหารจัดการฝึกอบรม ปฏิ บัติการขั้น พื้นฐานและช่วยปฏิบัติการแพทย์ขั้นสูงที่กรุณาให้นำเนื้อหาบางส่วนมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ขอบคุณ นรจ.ศิรวิทย์ ปรางศรี ที่มีส่ วนร่วมในการออกแบบปก และหวังว่าเอกสารคำสอนเล่มนี้จะเป็น ประโยชน์แก่ผู้สนใจท่านอื่นเพื่อใช้ทบทวนความรู้ด้านการปฏิบัติการฉุ กเฉินการแพทย์และเป็นประโยชน์ใน การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินต่อไป น.ท.พรพิชิต สุวรรณสิริ ว่าที่ ร.ต.อานนท์ ศิลาเพชร พ.จ.อ.นิธิ มะลิทิพย์ ผู้จัดทำเอกสาร ค สารบัญภาพ/แผนภูมิ ภาพที่ 1 ภาพที่ 2 ภาพที่ 3 ภาพที่ 4 ภาพที่ 5 ภาพที่ 6 ภาพที่ 7 ภาพที่ 8 ภาพที่ 9 ภาพที่ 10 ภาพที่ 11 ภาพที่ 12 ภาพที่ 13 ภาพที่ 14 ภาพที่ 15 ภาพที่ 16 ภาพที่ 17 ภาพที่ 18 ภาพที่ 19 ภาพที่ 20 ภาพที่ 21 ภาพที่ 22 ภาพที่ 23 ภาพที่ 24 ภาพที่ 25 ภาพที่ 26 ภาพที่ 27 ภาพแสดงตัวอย่างเลข UN/ID Number ภาพแสดงตัวอย่างเลข CAS Number ภาพแสดง NFPA ภาพแสดงชุดป้องกันตนเอง ภาพแสดงการติดสัญลักษณ์บนยานพาหนะฉุกเฉิน ภาพแสดงข่ายสื่อสารของวิทยุคมนาคมกระทรวงสาธารณสุข ภาพแสดง วิทยุสื่อสารชนิดพกพา ภาพแสดงวิทยุสื่อสารชนิดเคลื่อนที่ ภาพแสดงวิทยุสื่อสารชนิดประจำที่ ภาพแสดงภัยธรรมชาติที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์/ภัยธรรมชาติ ภาพแสดงวงจรการวางแผนจัดการภัยพิบัติ ภาพแสดง ชุดป้องกันสารเคมีชนิด C ภาพแสดง อุปกรณ์ป้องกันตนเอง ภาพแสดง ใบแสดงจำนวนผู้ป่วยฉุกเฉิน ภาพแสดง ใบคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน ภาพแสดง การฝึกสถานการณ์จำลองบนโต๊ะ ภาพแสดง การฝึกตามโจทย์สถานการณ์ ภาพแสดง การระบุตำแหน่งของผู้ปฏิบัติการ ภาพแสดง การกั้นแบ่งพื้นที่ ภาพแสดง พื้นทีใ่ นการปฏิบัติงาน ภาพแสดง การใช้ธงสีเป็นสัญลักษณ์แสดงจุดรักษาพยาบาล ภาพแสดง การรายงานตัวและรับคำสั่งจากผู้สั่งการ ภาพแสดง การจัดการทางการแพทย์ในสถานการณ์ภัยพิบัติ ภาพแสดง การคัดแยกผู้ป่วย ภาพแสดง การใช้ pediatric triage tape ภาพแสดง เทปสีที่ใช้แทนป้ายพับกรณีฉุกเฉิน ภาพแสดง ผังการขนย้ายผู้ป่วย หน้า 76 77 77 79 82 114 116 117 117 171 172 174 175 176 176 177 177 179 180 181 181 182 184 185 186 189 190 ง สารบัญตาราง ตารางที่ 1 ตารางที่ 2 ตารางที่ 3 ตารางที่ 4 ตารางที่ 5 ตารางที่ 6 ตารางที่ 7 ตารางที่ 8 ตารางที่ 9 ตารางที่ 10 ตารางที่ 11 ตารางที่ 12 ตารางกำหนดน้ำหนักคะแนน (test blueprint) ตารางแสดงอัตราการจ่ายเงินอุดหนุนหรือชดเชยทางน้ำ ตารางการให้วัคซีน ตารางลักษณะความเครียด ตารางชุดป้องกันสารเคมีและเครื่องป้องกันระบบทางเดินหายใจแต่ละระดับ ตารางแสดงการใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง ตารางแบบบันทึกการเขียนรายงาน ตารางแสดงประมวลสัญญาณ ว. ตารางแสดง รหัสการแจ้งเหตุร้ายทางวิทยุ รหัสแจ้งเหตุเพลิงไหม้ และนักเรียนก่อเหตุทะเลาะวิวาท ตารางแสดงค่าอัตราการหายใจและชีพจรในผู้ป่วยฉุกเฉินเด็ก ตารางแสดง Triage revised trauma score (TRTS) หน้า 15 59 66 75 78 85 96 118 119 119 187 188 1 รายละเอียดของรายวิชา ชื่อสถาบัน โรงเรียนนาวิกเวชกิจ ศูนย์วิทยาการ กรมแพทย์ทหารเรือ หมวดที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป ๑. รหัสและชื่อรายวิชา ๒๒๒๓ ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (Emergency Medical Operation) ๒. จำนวนหน่วยกิต ๓ หน่วยกิต ๓ (๒ - ๒ - ๐) ๓. ประเภทของรายวิชา หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ/กลุ่มทักษะวิชาชีพเฉพาะ ๔. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน ๔.๑ อาจารย์ผู้รับผิดชอบวิชา ๔.๑.๑ พ.จ.อ.นิธิ มะลิทิพย์ ๔.๑.๒ พ.จ.ท.เศกสิทธิ์ สิงห์บุญ ๔.๒ อาจารย์ผู้สอน ๔.๒.๑ น.ท.พรพิชิต สุวรรณศิริ ๔.๒.๒ อาจารย์ อำนาจ กาศสกุล ๔.๒.๓ พ.จ.อ.นัฐวุฒิ รอดโฉม ๔.๒.๔ พ.จ.อ.วรวุฒิ ลาเลิศ ๔.๒.๕ พ.จ.อ.นิธิ มะลิทิพย์ ๔.๒.๖ พ.จ.อ.สุรเดช พิลา ๔.๒.๗ พ.จ.ท.เศกสิทธิ์ สิงห์บุญ ๔.๒.๘ จ.อ. สุรเชษฐ์ ขุนเจริญ ๔.๒.๙ จ.อ.วรพรต อภิลักขิตกาล ๔.๒.๑๐ จ.อ.ศุภานุ อ่ำชุ่ม ๕. ภาคการศึกษา/ชั้นปีที่เรียน ภาคเรียนที่ ๑ ชั้นปีที่ ๒ 2 ๖. รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite) ไม่มี ๗. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites) ไม่มี ๘. สถานที่เรียน โรงเรียนนาวิกเวชกิจ ศูนย์วิทยาการ กรมแพทย์ทหารเรือ ๙. วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด ๒๐ เมษายน ๒๕๖๓ หมวดที่ ๒ จุดมุง่ หมายและวัตถุประสงค์ ๑. จุดมุ่งหมายของรายวิชา ๑. มีความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ๒. มีเจตคติที่ดี และมีคุณธรรมจริยธรรมในการดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน ๓. มีทักษะในการปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ เพื่อการแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติการฉุก เฉินการแพทย์ ตามอำนาจหน้าที่ ขอบเขต ความรับผิดชอบ และ ข้อจำกัดในการปฏิบัติการแพทย์ของเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ ๒. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา เพื่อปรับปรุงเนื้อหารายวิชาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับสมรรถนะด้านวิชาชีพและขีด ความสามารถด้านความรู้ ของเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ ตามที่ อศป.กำหนด หมวดที่ ๓ ลักษณะและการดำเนินการ ๑. คำอธิบายรายวิชา ความหมาย ความสำคัญ ความเป็นมา วิวัฒนาการ และองค์ประกอบของระบบการการแพทย์ ฉุกเฉิน หน่วยบริการและการจัดพื้นที่ การเตรียมความพร้อมของรถฉุกเฉินและอุปกรณ์ต่างๆ การรับแจ้ง เหตุ สื่อสารและสั่งการ กฎหมายและระเบียบที่เ กี่ ยวข้ อง การออกปฏิบัติการฉุ กเฉิน การแพทย์ ใ น สถานการณ์ต่างๆ และการบันทึกรายงาน โดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีคุณธรรมจริยธรรม มีภาวะผู้นำ แก้ปัญหาและปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฝึกปฏิบัติทดลองการรับแจ้งเหตุ สื่อสาร และสั่งการ การจัดการสาธารณภัยและอุบัติภ ัยหมู่ การออกปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ใน สถานการณ์ต่างๆ โดยฝึกปฏิบัติจากสถานการณ์จำลอง และบันทึกรายงานผลการออกปฏิบัติการ 3 ๒. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา บรรยาย/ การฝึกทดลอง บรรยาย ๓๖ ชั่วโมง/ฝึกปฏิบัติ ทดลอง ๓๖ สอนเสริม การฝึกปฏิบัติงาน ภาคสนาม/การ ฝึกงาน การศึกษาด้วยตนเอง - - - ๓. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล วันศุกร์ ที่ ๘,๑๕ พ.ค.๖๓ เวลา ๑๔๐๐-๑๕๐๐, วันศุกร์ที่ ๑๒,๑๙ มิ.ย.๖๓ เวลา ๑๔๐๐-๑๕๐๐ และวันอังคาร ที่ ๑๐ ก.ค.๖๓ เวลา ๑๔๐๐-๑๕๐๐ รวม ๕ ชม. หมวดที่ ๔ การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ๑. ด้านคุณสมบัติที่พึงประสงค์ คุณสมบัติที่พึงประสงค์ที่ต้องพัฒนา (หลัก) ๑.๒ มีภาวะความเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี สนใจใฝ่รู้ คิดและแสดงความคิดเห็น อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งมีปฏิสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกับกลุ่ม หรือทีมงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ (รอง) ๑.๓ ยอมรับข้อจำกัดในความรู้ที่ตนมี และรู้ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการนำ ความรู้ที่มีข้อจำกัดนั้นมาใช้ในการปฏิบัติงาน พร้อมที่จะขอคำแนะนำและแสวงหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ เพิ่มเติมเมื่อจำเป็น (รอง) ๑.๔ มีความกระตือรือร้นในการพัฒนาและปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพอย่าง ต่อเนื่อง วิธีการสอน - มอบหมายให้ทำงานเป็นกลุ่ม/แบบอภิปรายฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการ เป็นสมาชิกกลุ่ม มีการรับฟังและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น - การฝึกปฏิบัติทดลอง โดยใช้โจทย์สถานการณ์จำลอง - สอดแทรกถึงผลกระทบของการปฏิบัติการแพทย์ที่เกินอำนาจหน้าที่ ขอบเขต ความ รับผิดชอบและข้อจำกัดของเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ ที่อาจก่อให้เกิดผลเสียและผลกระทบจากการ ปฏิบัติการแพทย์ที่เกินขอบเขตนั้นได้ - สอดแทรก ส่งเสริม กระตุ้นการระดมพลั งสมองเพื่อให้เกิดความกระตือรือร้น และ สนใจในการพัฒนาปรับปรุงนวัตกรรม หรือผลงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ 4 วิธีการประเมินผล - สังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อส่วนรวม - สังเกตพฤติกรรมการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมีเหตุผลในการวินิจฉัย ปัญหา - แบบประเมินพฤติกรรม ๒. ด้านสมรรถนะหลัก ๒.๑ ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ (รอง) ๒.๑.๑ มีความรู้ความเข้าใจในสาระสำคัญด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และศาสตร์ อื่นที่เกี่ยวข้อง (หลัก) ๒.๑.๒ มีความรู้ความเข้าใจในองค์ความรู้ และสาระสำคัญของศาสตร์การ ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ สามารถบูรณการและประยุกต์กับศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ (รอง) ๒.๑.๓ มีความรู้ ความเข้าใจสาระสำคัญในกระบวนการแสวงหาความรู้ การ จัดการความรู้ งานวิจัย และความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาและการต่อยอดองค์ความรู้ในการปฏิบัติการ ฉุกเฉินการแพทย์ วิธีการสอน - การบรรยาย - การฝึกปฏิบัติทดลอง - การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง วิธีการประเมินผล - การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน - สังเกตการเสนอรายงานในชั้นเรียนโดยผู้สอนซักถามประเด็นด้านความรู้ - สังเกตพฤติกรรมการฝึกปฏิบัติทดลอง ๒.๒. ด้านทักษะทางปัญญา (หลัก) ๒.๒.๒ คิด วิเคราะห์ และให้ข้อเสนอแนะอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้องค์ ความรู้ ประสบการณ์ทางภาคปฏิบัติ และผลกระทบจากการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (รอง) ๒.๒.๓ สามารถพัฒนาแนวทางใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานประจำให้ สอดคล้องกับสถานการณ์ และบริบททางสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป 5 วิธีการสอน ๑. บรรยาย ๒. การอภิปรายกลุ่ม ๓. ฝึกปฏิบัติทดลองโดยใช้โจทย์สถานการณ์จำลอง ๔. การให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง วิธีการประเมินผล ๑. ทดสอบความรู้ ความเข้าใจ โดยการสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วย ข้อสอบ ๒. สังเกตการอภิปรายกลุ่ม ๓. สังเกตและประเมินการปฏิบัติทดลอง ๒.๓ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (รอง) ๒.๓.๑ สามารถปรับตัวและมีปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับผู้รับบริการ ผู้ร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา ผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ และสามารถทำงานเป็นทีมได้ (หลัก) ๒.๓.๒ มีความรับผิดขอบต่อหน้าที่ และงานที่ได้รับมอบหมาย และมีการพัฒนา ตนเองอย่างสม่ำเสมอ วิธีการสอน ๑. การมอบหมายงานกลุ่ม ๒. ฝึกปฏิบัติทดลองโดยใช้โจทย์สถานการณ์จำลอง และฝึกการทำงานเป็นทีม วิธีการประเมินผล ๑. สังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการฝึกปฏิบัติทดลอง ๒. สังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรม ๓. การส่งงานที่มอบหมายตรงเวลา ๒.๔ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (หลัก) ๒.๔.๒ สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และ การเขียน รวมทั้งวิธีการสื่อสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เลือกใช้รูปแบบและเครื่องมือในการนำเสนอที่เหมาะสมกับ กลุ่มบุคคลที่แตกต่างกันได้ 6 วิธีการสอน ๑. การทดลอง การฝึกปฏิบัติ นำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม ๒. มอบหมายให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากเว็บไซต์ ให้จัดทำรายงาน และสื่อ นำเสนอ วิธีการประเมินผล ๑. สังเกตการนำเสนอรายงาน/ผลงานในชั้นเรียน ๒. สังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการฝึกปฏิบัติทดลอง ๓. สมรรถนะทั่วไป สมรรถนะทั่วไปที่ต้องพัฒนา (รอง) ๓.๑ มีจิตสำนึก และตระหนักในหลักคุณธรรมจริยธรรม (หลัก) ๓.๒ เป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่น ทั้งในการดำรงตน และการปฏิบั ติงาน รวมทั้ง จัดการกับปัญหาในการดำรงชีพและการทำงานได้ (รอง) ๓.๓ เคารพกฎหมาย สิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ วิธีการสอน ๑. การบรรยาย ๒. การสอนแบบกำหนดปัญหาสอดแทรก โดยยกตัวอย่าง ผลการกระทำด้านคุ ณธรรม และจริยธรรม ที่กระทบต่อผู้อื่น และใช้หลักการด้านคุณธรรมและจริยธรรมในการประเมินพิจารณา วิธีการประเมินผล ๑. ทดสอบความรู้ ความเข้าใจ โดยการสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบ ๒. สังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำงานกลุ่ม การนำเสนอและอภิปราย โดยผู้สอนอาจ ซักถามประเด็นด้านจริยธรรม ๓. สังเกตพฤติกรรม การฝึกปฏิบัติ/จากคำตอบของนักเรียน และผู้ร่วมปฏิบัติงาน ๔. สมรรถนะวิชาชีพ สมรรถนะวิชาชีพที่ต้องพัฒนา (หลัก) ๔.๑ มีทักษะ และเจตคติในการปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ได้ตามอำนาจ หน้าที่ ขอบเขตความรับผิดชอบ และข้อจำกัดของเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ สอดคล้องกับสภาพปัญหา ได้ตามมาตรฐานความปลอดภัย และทันท่วงที (รอง) ๔.๒ สามารถดำเนินมาตรฐานการป้องกันการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นฉุกเฉินได้ทั้งใน ระดับบุคคลและชุมชน 7 (รอง) ๔.๓ ปฏิบัติงานโดยยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม สิท ธิผู้ป่วย และกฎหมายที่ เกี่ยวข้อง (รอง) ๔.๔ มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินในระดับท้องถิ่น หรือพื้นที่ได้ (รอง) ๔.๕ สามารถปฏิบัติงานในหน่วยทหารตามภารกิจของกรมแพทย์ทหารเรือได้ วิธีการสอน ๑. การบรรยาย ๒. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ๓. การฝึกปฏิบัติทดลอง ๔. การสอนแบบกำหนดปัญหา วิธีการประเมินผล ๑. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน ๒. จากการสั ง เกตพฤติ ก รรม การฝึ ก ปฏิ บ ั ต ิ / จากคำตอบของนั ก เรี ย น และผู ้ ร ่ ว ม ปฏิบัติงาน ๓. สังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำงานกลุ่ม การนำเสนอและอภิปราย โดยผู้สอนอาจ ซักถามประเด็นด้านจริยธรรมสิทธิผู้ป่วย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หมวดที่ ๕ แผนการสอนและการประเมินผล ๑. แผนการสอน วัน/เดือน/ปี เวลา สัปดาห์ที่ ๑ จำนวน ชม. ท. ป. ๔ - หัวข้อ/รายละเอียด (๐๙๐๐-๑๒๐๐) บทที่ ๑ ระบบปฏิบตั ิการฉุกเฉินการแพทย์ (EMS System) ๑.๑ ระบบ EMS System (๑๓๐๐-๑๔๐๐) - ระบบการแพทย์ก่อนถึงโรงพยาบาล ศ.๑๕ พ.ค.๖๓ ๑.๒ ประวัติความเป็นมาของระบบ EMS ๑.๓ บทบาทหน้าที่/ความรับผิดชอบ/เกณฑ์ วิชาชีพ ของเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ใน การปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ กิจกรรมการ เรียนการสอน ผู้สอน ก า ร บ ร ร ย า ย / น.ท.พรพิชิต ส. ศึกษาค้นคว้าด้วย ตนอง 8 วัน/เดือน/ปี เวลา จำนวน ชม. ท. หัวข้อ/รายละเอียด ป. กิจกรรมการ เรียนการสอน ผู้สอน ๑.๔ แนวทางเพิ่มคุณภาพ (ตามการประเมินผล การปฏิบัติงาน เพื่อพัฒนาด้านทักษะ) ๑.๕ ความปลอดภัยของผู้ป่วย สัปดาห์ที่ ๒ ๔ - บทที่ ๒ หน่วยบริการและการจัดพื้นที่ ศ.๒๒ พ.ค.๖๓ ๒.๑ หน่วยบริการ (๐๘๐๐-๑๒๐๐) ๑) ระดั บ ของหน่ ว ยปฏิ บ ั ต ิ ก ารฉุ ก เฉิ น การแพทย์ การบรรยาย/ ศึกษาค้นคว้าด้วย ตนเอง อ.อำนาจ ก. การบรรยาย/ ศึกษาค้นคว้าด้วย ตนเอง พ.จ.อ.นิธิ ม. ๒) มาตรฐานการจัดหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉิน การแพทย์ของประเทศไทย ๓) ค่าตอบแทนของหน่วยปฏิบัติการ ๒.๒ แนวทางในการจัดพื้นที่บริการ สัปดาห์ที่ ๓ ๔ - บทที่ ๓ การเตรียมความพร้อม ศ.๒๙ พ.ค.๖๓ ๓.๑ ความปลอดภัย/สุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน (๐๘๐๐-๑๒๐๐) ๑) ระบบป้ อ งกั น ความปลอดภั ย ตาม มาตรฐาน IC ๒) ชุดสวมป้องกันตนเอง (อุปกรณ์พิทักษ์ตนเอง) ๓) ระบบจัดการความเครียด - การดูแลเกี่ยวกับผู้ตาย และผู้ป่วยที่ใกล้ตาย ๔) ป้องกันผลกระทบจากการบาดเจ็บ ๕) อันตรายจากการยกและเคลื่อนย้าย ๖) หลั ก การดู แ ลสุ ข ภาพส่ ว นบุ ค คลของ จฉพ. สวัสดิภาพและความปลอดภัย อาชีวอนามัย ความปลอดภัยในการทำงาน ๗) การควบคุมการแพร่เชื้อ ๓.๒ การเตรียมความรู้ ทักษะที่จำเป็น และ เจตคติที่ดีในการออกปฏิบัติการ ๓.๓ การเตรียมความพร้อมของทีมปฏิบัติการ 9 วัน/เดือน/ปี เวลา จำนวน ชม. ท. หัวข้อ/รายละเอียด ป. กิจกรรมการ เรียนการสอน ผู้สอน ๓.๔ การเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์การ ช่วยเหลือและเวชภัณฑ์ในรถ ๓.๕ การเตรียมความพร้อมของรถพยาบาล ๓.๖ มาตรฐานรถพยาบาลฉุกเฉิน ๓.๗ การใช้รถพยาบาลฉุกเฉิน ๑) หลักการขับขี่ปลอดภัยและเครื่องหมาย จราจรที่สำคัญ ๒) หลักการและวิธีการขับรถพยาบาลฉุกเฉิน ๓) การบำรุงรักษารถพยาบาลฉุกเฉิน สัปดาห์ที่ ๔ ๓ ๑ ศ.๕ มิ.ย.๖๓ (๐๙๐๐-๑๒๐๐) การบรรยาย/ ๕.๑ หลักและขั้นตอนการปฏิบัติการฉุกเฉิน ศึกษาค้นคว้าด้วย ตนเอง การแพทย์ บทที่ ๔ การปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.จ.อ.นิธิ ๑) การประเมินสถานการณ์ (๑๓๐๐-๑๔๐๐) ๒) การประเมินสภาพผู้ป่วย ๓) การดูแลรักษาฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ ๔) การดูแลระหว่างนำส่ง ๕) การส่งมอบผู้ป่วย ๕.๒ เอกสาร (Documentation) ๑) เขียนบันทึกเวชระเบียน ๒) รายงานสิ ่ง ตรวจพบจากผู้ ป ่ว ยรายงาน (แบบบันทึกรายงาน EMS) ๕.๓ การเตรียมความพร้อมและอุปกรณ์ บน รถพยาบาล สัปดาห์ที่ ๕ - ๔ ฝึกปฏิบัติการเตรียมความพร้อม การบรรยาย/ สาธิ ต และสาธิ ต ย้อนกลับ/การฝึก ปฏิบัติ พ.จ.อ.นิธิ ม. และคณะครู - ๔ สอบปฏิบัติการเตรียมความพร้อม สอบปฏิบัติ ทดลอง พ.จ.อ.นิธิ ม. และคณะครู ศ.๑๒ มิ.ย.๖๓ (๐๘๐๐-๑๒๐๐) สัปดาห์ที่ ๖ 10 วัน/เดือน/ปี เวลา จำนวน ชม. ท. ป. ๔ - หัวข้อ/รายละเอียด กิจกรรมการ เรียนการสอน ผู้สอน ศ.๑๙ มิ.ย.๖๓ (๐๘๐๐-๑๒๐๐) สัปดาห์ที่ ๗ (๐๙๐๐-๑๒๐๐) ก า ร บ ร ร ย า ย / พ.จ.อ.วรวุฒิ ล. ศึกษาค้นคว้าด้วย ๔.๑ โครงสร้างของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ตนเอง (๑๓๐๐-๑๔๐๐) ๔.๒ การสื่อสารเพื่อขอความช่วยเหลือ ศ.๒๖ มิ.ย.๖๓ บทที่ ๔ การสื่อสารในระบบ EMS (EMS System Communication) ๔.๓ การสื่อสารภายในทีมและองค์กร ๔.๔ หลักการใช้วิทยุสื่อสาร (กฎระเบียบ รหัส วิทยุ) ๔.๕ การสื่อสารในระบบ EMS ๔.๖ การสื่อสารกับบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ ๔.๗ การสื่ อสารข้ อมูล ผู ้ป่ว ยและการรั ก ษา ให้กับศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ สัปดาห์ที่ ๘ ๑ ๓ ศ.๓ ก.ค.๖๓ (๐๙๐๐-๑๒๐๐) ฝึ ก ปฏ ิ บ ั ติ การสื ่ อ สารในระบบ EMS ก า ร บ ร ร ย า ย / (EMS System Communication) สาธิ ต และสาธิ ต ย้อนกลับ/การฝึก ปฏิบัติ พ.จ.อ.นิธิ ม. สอบปฏิ บ ั ติ การสื ่ อ สารในระบบ EMS สอบปฏิบัติ (EMS System Communication) ทดลอง พ.จ.อ.นิธิ ม. และคณะครู (๑๓๐๐-๑๔๐๐) สัปดาห์ที่ ๙ - ๔ ศ.๑๐ ก.ค.๖๓ และคณะครู (๐๙๐๐-๑๒๐๐) (๑๓๐๐-๑๔๐๐) สัปดาห์ที่ ๑๐ ศ.๑๗ ก.ค.๖๓ (๐๙๐๐-๑๒๐๐) (๑๓๐๐-๑๔๐๐) - ๔ บทที่ ๖ ภาวะผู้นำ การทำงานเป็นทีม และ การประชาสัมพันธ์ ก า ร บ ร ร ย า ย / พ.จ.ท.เศกสิทธิ์ ศึกษาค้นคว้ าด้วย ส. ๖.๑ ความหมายของภาวะผู้นำ และทีมงานมี ตนเอง ความสำคัญอย่างไร ๖.๒ หลักในการทำงานเป็นทีม 11 วัน/เดือน/ปี เวลา จำนวน ชม. ท. หัวข้อ/รายละเอียด ป. กิจกรรมการ เรียนการสอน ผู้สอน ๖.๓ หลักการประชาสัมพันธ์ และการ ประชาสัมพันธ์ระบบปฏิบัติการฉุกเฉิน การแพทย์ ศ.๒๔ ก.ค.๖๓ บทที่ ๗ ปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินใน สถานการณ์ต่าง ๆ (๐๙๐๐-๑๒๐๐) ๗.๑ ผู้ป่วยฉุกเฉิน (Non-trauma) (๑๓๐๐-๑๔๐๐) ๗.๒ ผู้บาดเจ็บ (Trauma) สัปดาห์ที่ ๑๑ ๔ - ก า ร บ ร ร ย า ย / พ.จ.อ.นิธิ ม. ศึกษาค้นคว้าด้วย พ.จ.อ.วรวุฒิ ล. ตนอง ๗.๓ กรณีเจ็บป่วยที่จำเพาะ สัปดาห์ที่ ๑๒ ศ.๓๑ ก.ค.๖๓ (๐๙๐๐-๑๒๐๐) (๑๓๐๐-๑๔๐๐) ๔ - ๑) กรณีผู้บาดเจ็บ 1 คน ๒) กรณีผู้บาดเจ็บ 2 คน ๓) ภาวะหมดสติ (Unconscious) ๔ ) ผู้บาดเจ็บติดคาภายในซากปรักหักพัง ๗.๔ การปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ กรณีศึกษา บทที่ ๘ ภาวะที่มีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก (Multiple casualty incidents) ก า ร บ ร ร ย า ย / พ.จ.ท.เศกสิทธิ์ ศึกษาค้นคว้าด้วย ส. ๘.๑ การบริหารจัดการเหตุการณ์ (incident ตนอง management) ๑) ระบบบัญชาการเหตุการณ์ ๘.๒ หลักการคัดแยกเบื้องต้น (triage sieve) ๘.๓ การปฏิบัติหน้าที่ (performing) ๘.๔ การคัดแยกซ้ำ (triage sort) ๘.๕ การส่งต่อ (destination decisions) ๘ . ๖ ก า ร จ ั ด ส ร ร ท ร ั พ ย า ก ร ( resource management) ๘.๗ การเฝ้าระวังสารพิษอันตราย (hazardous materials awareness) ๑) ความเสี่ยงและขอบข่ายปฏิบัติงานในโซน ที่ปลอดภัย 12 วัน/เดือน/ปี เวลา สัปดาห์ที่ ๑๓ จำนวน ชม. ๔ - ฝึกปฏิบัติสถานการณ์จำลองบนโต๊ะ Table top exercises) ระบบการจัดการ อุบัติภัยหมู่ทางการแพทย์ (MIMMS : Major Incident Medical Management and Support) ก า ร บ ร ร ย า ย / พ.จ.ท.เศกสิทธิ์ สาธิ ต และสาธิ ต ส. และคณะครู. ย้อนกลับ/การฝึก ปฏิบัติ - ๔ ฝึกปฏิบัติจริงในสถานการณ์จำลอง (Practical Exercises with Casualties) ระบบการจัดการอุบัติภัยหมู่ทางการแพทย์ (MIMMS : Major Incident Medical Management and Support) การบรรยาย/ คณะครู สาธิ ต และสาธิ ต รร.นวก.ศวก.พร. ย้อนกลับ/การฝึ ก ปฏิบัติ - ๔ สอบปฏิบัติจริงในสถานการณ์จำลอง (Practical Exercises with Casualties) ระบบการจัดการอุบัติภัยหมู่ทางการแพทย์ (MIMMS : Major Incident Medical Management and Support) (๑๓๐๐-๑๔๐๐) ศ.๑๔ ส.ค.๖๓ (๐๙๐๐-๑๒๐๐) (๑๓๐๐-๑๔๐๐) ศ.๒๑ ส.ค.๖๓ (๐๙๐๐-๑๒๐๐) (๑๓๐๐-๑๔๐๐) สัปดาห์ที่ ๑๖ ผู้สอน ป. (๐๙๐๐-๑๒๐๐) สัปดาห์ที่ ๑๕ กิจกรรมการ เรียนการสอน ท. ศ.๗ ส.ค.๖๓ สัปดาห์ที่ ๑๔ หัวข้อ/รายละเอียด สอบปฏิบัติ ทดลอง คณะครู รร.นวก.ศวก.พร. - ๔ ฝึกปฏิบัติบูรณาการ การรับแจ้งเหตุ สื่อสาร ก า ร บ ร ร ย า ย / คณะครู และสั ่ ง การทางการแพทย์ และการออก สาธิ ต และสาธิ ต รร.นวก.ศวก.พร. ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ย้อนกลับ/การฝึก ปฏิบัติ - ๔ สอบปฏิบัติบูรณาการ การรับแจ้งเหตุ สื่อสาร สอบปฏิบัติ และสั ่ ง การทางการแพทย์ และการออก ทดลอง ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ศ.๒๘ ส.ค.๖๓ (๐๙๐๐-๑๒๐๐) (๑๓๐๐-๑๔๐๐) สัปดาห์ที่ ๑๗ ศ.๔ ก.ย.๖๓ (๐๙๐๐-๑๒๐๐) คณะครู รร.นวก.ศวก.พร. (๑๓๐๐-๑๔๐๐) สัปดาห์ที่ ๑๘ ๔ - ศ.๑๑ ก.ย.๖๓ สอบปลายภาค คณะครู รร.นวก.ศวก.พร. (๐๙๐๐-๑๒๐๐) (๑๓๐๐-๑๔๐๐) ๓๖ ๓๖ 13 ๒. แผนการประเมินผลการเรียนรู้ กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ ๑. ๑.๒, ๒.๒.๒, ๒.๓.๒, ๒.๔.๒, ๔.๑ ๒. ๓. ๔. ๒.๒.๒, ๓.๒ ๒.๒.๒, ๓.๒ ๒.๓.๒ ๕ ๑.๒, ๒.๒.๒, ๒.๓.๒, ๒.๔.๒, ๔.๑ สัปดาห์ที่ ประเมิน สอบปฏิบัติทดลอง ตลอดภาค สั ง เกตพฤติ ก รรมในชั้ น การศึกษา เรียน การสอบทบทวน ๗ การสอบปลายภาค ๑๘ ประเมินพฤติกรรม จากการ ตลอดภาค เข้าเรียน ความกระตือรือร้น การศึกษา การส่งงานตรงเวลา งานมอบหมาย ตลอดภาค การศึกษา คะแนนรวม ตลอดภาค การศึกษา วิธีการประเมิน สัดส่วนการ ประเมินผล ๓๕% ๑๕% ๔๐% ๕% ๕% ๑๐๐% หมวดที่ 6 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน ๑. ตำราและเอกสารหลัก สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ .(๒๕๕๖).เกณฑ์และวิธีปฏิบัติการแพทย์ของผู้ช่วยเวช กรรมตามคำสั่งแพทย์และการอำนวยการ.นนทบุรี:สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.(๒๕๕๖).เกณฑ์วิธีการคัดแยกและจัดลำดับการจ่ายงาน บริบาลผู้ป่วยฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์ที่กพฉ.กำหนดพ.ศ.๒๕๕๖.นนทบุรี:สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ สถาบัน การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ .(๒๕๕๙).คู่มือระบบบัญชาการเหตุการณ์ทางด้าน การแพทย์และสาธารณสุขสำหรับจัดการในภาวะสาธารณภัย/ภัยพิบัติ .นนทบุรี:สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน แห่งชาติ ๒. เอกสารและข้อมูลสำคัญ Brennan J., and Krohmer J. (2006). Principles of EMS System. 3rd ed. Boston: Jones and Bartlett Publishers. Henry M., Stapleton E. (2010). EMT Prehospital Care. 4th ed.New York: Elsevier. ๓. เอกสารและข้อมูลแนะนำ - 14 การประเมินผลรายวิชา รายวิ ช านี ้ แ บ่ ง เป็ น ภาคทฤษฎี จำนวน 36 ชม.และภาคปฏิ บ ั ต ิ จำนวน 36 ชม. แบ่ ง เป็น 8 บทเรียน การวัดและประเมินผลรายวิชาดำเนินการดังนี้ 1. วิธีการ ดำเนินการรวบรวมข้อมูลเพื่อการประเมินผล แยกเป็น 3 ส่วน โดยแบ่ง คะแนนแต่ละส่วนจากคะแนนเต็มทั้งรายวิชา 100 คะแนน ดังนี้ 1.1 ผลงานที่มอบหมาย ร้อยละ 5 1.2 สอบปฏิบัติทดลอง ร้อยละ 35 1.3 สอบทบทวนภาคทฤษฎี ร้อยละ 15 1.4 จิตพิสัย ร้อยละ 5 1.5 สอบปลายภาค ร้อยละ 40 โดยจัดแบ่งน้ำหนักคะแนนในแต่ละหน่วยเรียนตามตารางกำหนดน้ำหนักคะแนนหน้าถัดไป 2. เกณฑ์ผ่านรายวิชา ผู้ที่จะผ่านรายนี้จะต้อง 2.1 มีเวลาเข้าชั้นเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียน 2.2 ได้คะแนนรวมทั้งรายวิชาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนรวม 3. เกณฑ์ค่าระดับคะแนน กำหนดค่าระดับคะแนนร้อยละตามเกณฑ์ ดังนี้ 3.1 พิจารณาตามเกณฑ์ผ่านข้อ 2. ผู้ไม่ผ่านตามเกณฑ์ข้อ 2. จะได้รับเกรด 0 3.2 ผู้ที่สอบผ่านเกณฑ์ข้อ 2. จะได้รับค่าระดับคะแนน ตามเกณฑ์ดังนี้ คะแนนร้อยละ 80 ขึ้นไป ได้ 4 คะแนนร้อยละ 75-79 ขึ้นไป ได้ 3.5 คะแนนร้อยละ 70-74 ขึ้นไป ได้ 3 คะแนนร้อยละ 65-69 ขึ้นไป ได้ 2.5 คะแนนร้อยละ 60-64 ขึ้นไป ได้ 2 คะแนนร้อยละ 55-59 ขึ้นไป ได้ 1.5 คะแนนร้อยละ 50-54 ขึ้นไป ได้ 1 15 ตารางกำหนดน้ำหนักคะแนน จำนวนข้อน 2 5 8 7.27 บทที่ 2 หน่วยบริการและการจัด พื้นที่บริการการแพทย์ฉุกเฉิน 1 2 5 8 7.27 บทที่ 3 การเตรียมความพร้อมการ ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน 2 3 7 12 10.91 บทที่ 4 การปฏิบัติการการแพทย์ ฉุกเฉิน 2 3 7 12 10.91 บทที่ 5 การสื่อสารในระบบ การแพทย์ฉุกเฉิน (EMS System Communication) 2 3 7 12 10.91 บทที่ 6 การปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน ในสถานการณ์ต่างๆ 2 3 7 12 10.91 บทที่ 7 ภาวะผู้นำ การทำงานเป็น ทีม และการประชาสัมพันธ์การ 1 2 3 6 5.45 บทที่ 8 การปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน ภาวะที่มีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก 2 3 5 10 9.10 จำนวนข้อ 18 29 63 110 ร้อยละ 16.36 26.36 57.28 ประเมินค่า นำไปใช้ 1 สังเคราะห์ เข้าใจ บทที่ 1 ระบบปฏิบัติการแพทย์ ฉุกเฉิน (EMS System) วิเคราะห์ รู้-จำ ร้อยละ เนื้อหา 100 16 แผนการสอนสัปดาห์ที่ 1 ชื่อบทเรียน ระบบปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (EMS System) จำนวนชั่วโมง 4 ชม. จุดประสงค์การสอน (จุดประสงค์ทั่วไป) 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ระบบปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (EMS System) 2. เพื่อให้นักเรียนตระหนัก และให้ความสำคัญเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (EMS System) 3. เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ เรื่องระบบปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (EMS System) ไปประยุกต์ ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการเรียนรู้ (จุดประสงค์เฉพาะ) 1. อธิบายความเป็นมาของประวัติการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทยได้ 2. บอกลักษณะการปฏิบัติของระบบการแพทย์ฉุกเฉินได้ 3. ระบุประเภทของผู้ปฏิบัติการที่เป็นผู้ช่วยเวชกรรมได้ 4. บอกขอบเขต อำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบ และข้อจำกัดในการปฏิบัติการแพทย์ของ ผช. เวชกรรม ตามคำสั่งการแพทย์หรือการอำนวยการ ได้ วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน 1. การบรรยาย 2. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สื่อการสอน/อุปกรณ์การสอน 1. Power point 2. เอกสารประกอบการสอน การวัดผล 1. การสอบความรู้ 2. รายงาน / งานมอบ 3. จิตพิสัย 17 หัวข้อการบรรยาย ระบบปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (EMS System) บทนำ ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 ด้วยเหตุผลที่ก่อนหน้านี้การปฏิบัติการ ด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ยังขาดระบบบริหารจัดการด้านบุคลากร อุปกรณ์ และเครื่องมือช่วยเหลือผู้ป่วย ฉุกเฉิน รวมทั้งยังขาดหน่วยงานรับผิดชอบ ประสานการปฏิบัติการ ทำให้มีผู้ป่วยฉุกเฉินต้องสูญเสียชีวิต อวัยวะ หรือเกิดความบกพร่องในการทำงานของอวัยวะสำคัญ รวมทั้งทำให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วย รุ น แรงขึ้น โดยไม่ส มควร เพื่อลดและป้องกันความสูญเสียดังกล่าว จึงกำหนดให้มีคณะกรรมการ การแพทย์ฉุกเฉิน (กพฉ.) ขึ้น เพื่อกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแพทย์ฉุกเฉิน ตลอดจนกำหนดให้มีสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ขึ้นเป็นหน่วยรับผิดชอบการบริหารจัดการ การประสานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน และการส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ร่วมกัน อันจะทำให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินอย่างทั่วถึง เท่า เทียม มีคุณภาพมาตรฐาน โดยได้รับการช่วยเหลือและรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพและทันต่อเหตุการณ์ มากขึ้น ผู้ปฏิบัติการจึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจระบบการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อสามารถปฏิบัติงานให้ ตอบสนองต่อความต้องการของระบบการแพทย์ฉุกเฉิน และคุ้มครองความปลอดภัยของผู้ป่วยฉุกเฉินต่อไป 1.ประวัติระบบการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทย ในประเทศที่ พ ัฒ นาแล้ว มีร ะบบการลำเลี ยงขนย้า ยผู ้ป ่ว ยฉุ กเฉิ นด้ว ยยานพาหนะที่ เรี ย กว่ า รถพยาบาลฉุกเฉิน (ambulance) มานานกว่าหนึ่งร้อยปีแล้ว เช่นประเทศสหรัฐ อเมริกา ออสเตรเลี ย อังกฤษ และประเทศในยุโรปอีกจำนวนมาก แต่การจัดให้เป็นระบบการช่วยเหลือฉุกเฉินจริง ๆ นั้น เริ่ มต้น ในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1966 และได้มีการพัฒนาปรับปรุงเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน ในขณะที่ ประเทศอื่น ๆ ก็ได้มีการพัฒนาระบบและมีเป้าหมายหลักเช่นกันคือ การทำให้มีการรักษาพยาบาลฉุกเฉินที่ รวดเร็ว มีคุณภาพ อันจะส่งผลให้อัตราการเสียชีวิต พิการและปัญหาในการรักษาพยาบาลลดน้อยลง ประเทศไทยมีการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินในลักษณะสังคมสงเคราะห์และการกู้ภัย โดยควบคู่กับ การเก็บศพผู้เสียชีวิตในกรณีต่าง ๆ ซึ่งดำเนินการโดยมูลนิธิป่อเต็กตึ้ง มาตั้งแต่ พ.ศ. 2480 และมูลนิธิร่วม กตัญญูตั้งแต่ พ.ศ. 2513 ซึ่งได้ให้การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินขั้นต้นและลำเลียงนำส่งโรงพยาบาลโดย บุคลากรที่เป็นจิตอาสา ต่อมาได้มีความพยายามเริ่มพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน โดยได้มีการประชุมปรึกษาหารื อกัน หลายครั้ง เพื่อจัดระบบการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บที่เป็นเครือข่ายของโรงพยาบาลต่าง ๆ และได้จัดทำแผน ความร่วมมือกันระหว่างโรงพยาบาลต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานครกับศูนย์ส่งกลับของกรมตำรวจโดยพัฒนา เครือข่ายวิทยุสื่อสารร่วมระหว่างโรงพยาบาลซึ่งมีสังกัดต่างกัน และมีระบบรถพยาบาลฉุกเฉินของศูนย์ ส่งกลับเป็นหลัก ต่อมาภายหลังจากที่มีการปฏิวัติภายใต้การนำของพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ได้มีการพัฒนากอง กำลังรักษาพระนคร และจัดให้มีโทรศัพท์สายด่วนหมายเลข 123 เพื่อบริการเหตุด่วนแก่ประชาชน รวมทั้ง ได้จัดให้มีรถพยาบาลฉุกเฉินขึ้นจำนวนประมาณ 40 คัน ให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร แต่ได้ให้บริการไปไม่นานก็ยุติลง 18 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2532 กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมการแพทย์ ได้รับงบประมาณจำนวน 150 ล้านบาท สนับสนุนให้จัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่โรงพยาบาลราชวิถี ได้ก่อสร้างอาคารศูนย์ อุบัติเหตุแล้วเสร็จ และเปิด ดำเนินการบางส่วนในปี พ.ศ. 2536 ได้บรรจุแผนการพัฒ นาระบบบริ การ การแพทย์ฉุกเฉินไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) ต่อมามีการ จัดตั้งศูนย์อุบัติเหตุและวิกฤติบำบัดที่โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นและก่อตั้งหน่วยกู้ชีพห น่วยแรกในเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 จากนั้นกรุงเทพมหานคร โดยโรงพยาบาลวชิรพยาบาลได้เปิดหน่วยแพทย์ กู้ชีวิตขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2537 ให้บริการผู้บาดเจ็บโดยเน้นอุบัติเหตุจราจรและ อุบัติภัยต่าง ๆ ต่อมากรมการแพทย์ได้เปิดศูนย์กู้ชีพนเรนทรอย่างเป็นทางการเมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 ให้บริการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน และขนย้ายผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินในพื้นที่ที่ปฏิบัติการภายในระยะเวลาไม่เกิน 15 นาทีโดยรอบโรงพยาบาลราชวิถี จากนั้นได้ขยายพื้นที่บริการโดย จัดตั้งศูนย์กู้ชีพเลิดสิน และศูนย์กู้ชีพ นพรัตนราชธานีในปีต่อมา พ.ศ. 2540 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้กำหนดมาตรา ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพประชาชนในมาตรา 52 ที่ระบุว่า “บุคคลยอมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการ ทางสาธารณสุขที่ไดมาตรฐาน และผูยากไรมีสิทธิไดรับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของ รัฐโดยไมเสียคาใช้จ่ายทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ การบริการทางสาธารณสุขของรัฐ ตองเปนไปอยางทั่วถึง และ มีประสิทธิภาพ โดยจะตองสงเสริมใหองคกรปกครองสวนทองถิ่นและเอกชนมีส วนรวมดวยเทาที่จะ กระทําได การปองกันและขจัดโรคติดตออันตราย รัฐตองจัดใหแกประชาชนโดยไมคิดมูลคาและทันตอเหตุ การณ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ ” และมาตรา 82 ระบุว่า “รัฐจะตองจัดและสงเสริมการสาธารณสุข ใหประชาชนไดรับบริการที่ไดมาตรฐานและมีประสิทธิภาพอยางทั่วถึง” กระทรวงสาธารณสุ ขได้จ ัดประชุ มสั ม มนาระดับ ประเทศเพื่ อจั ดทำแผนแม่บ ทระบบบริ ก าร การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติเป็นครั้งแรกในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2541 มีการสรุปองค์ประกอบของระบบ บริการการแพทย์ฉุกเฉินไว้ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วิสัยทัศน์และพันธกิจของระบบบริการการแพทย์ ฉุกเฉิน 2) การจัดโครงสร้างองค์กรการบริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน 3) กฎหมายที่เกี่ยวข้อง กั บ ระบบบริ ก ารการแพทย์ ฉ ุก เฉิ น 4) งบประมาณในการดำเนิ นการระบบบริ ก ารการแพทย์ ฉ ุกเฉิน 5) บุคลากรในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และ 6) การสื่อสารในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ในช่ ว งแผนพั ฒ นาเศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ ฉ บั บ ที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) ปี ง บประมาณ พ.ศ. 2545 กระทรวงสาธารณสุขได้ป ระกาศให้การพัฒ นาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเป็นนโยบาย 1 ใน 4 ประการของกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดตั้งสำนักงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (ศูนย์นเรนทร กระทรวงสาธารณสุข) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการพัฒนา จัดงบประมาณในส่วนงบลงทุนจากกองทุน ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้จำนวน 10 บาทต่อประชากร 1 คนที่จดทะเบียน (คาดว่ามีประมาณ 41 ล้านคน) จำนวนเงินประมาณ 420 ล้านบาทเพื่อให้เริ่มดำเนินงานในบางพื้นที่และให้แล้วเสร็จขั้นตอนใน การพัฒนาเป็นระยะเวลา 3 ปี หลังจากนั้นจะจัดให้มีระบบงบประมาณในการบริหารจัดการและดำเนินการ ระบบ โดยมีงบประมาณส่วนหนึ่งจากระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ และจากแหล่งเงินทุนต่างๆ ตามความ เหมาะสมในอัตรา 18 บาทต่อประชากร 1 คนทั้งประเทศ ซึ่งในแต่ละปีจะต้องมีเงินงบประมาณในการ สนั บ สนุ น ระบบนี ้ ป ี ล ะ 1,200 ล้ า นบาท (อั ต รา18 บาทต่ อ ประชากร 1 คน) และในปี พ.ศ. 2546 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแผนการแก้ปัญหาอุบัติเหตุจราจรซึ่งเสนอโดยศูนย์อำนวยการความปลอดภัย ทางถนน ซึ่งในมาตรการด้านการแพทย์ฉุกเฉินได้มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขโดยศูนย์นเรนทรเป็น ผู้รับผิดชอบดำเนินการขยายผลระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินโดยใช้งบประมาณจากระบบหลักประกัน 19 สุขภาพถ้วนหน้า นอกจากนั้นได้มีการบูรณาการแผนงบประมาณด้านอุบัติเหตุจราจรเข้าด้วยกัน ซึ่งทำให้ งบประมาณในด้านระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเป็นความสำคัญอันดับต้นของการพิจารณางบประมาณ ประจำปี องค์การอนามัยโลก (WHO) ปี ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550) ได้ให้ความสำคัญและกำหนดองค์ประกอบ การดูแลสุขภาพในด้าน Pre hospital trauma and emergency care เพิ่มเติม พ.ศ. 2551 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 ซึ่งกำหนดให้มี สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ทำหน้าที่ในการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทย ได้ให้ ความหมายของคำว่า “การแพทยฉุกเฉิน” (Emergency Medical System) ว่าหมายถึง การปฏิบัติการ ฉุกเฉิน การศึกษา การฝกอบรม การคนควา และการวิจัยเกี่ยวกับการประเมิน การจัดการ การบําบัดรักษา ผู ป วยฉุกเฉิน และการ ปองกันการเจ็บปวยที่เกิดขึ้นฉุกเฉิน และเพื่อคุ มครองความปลอดภัย ของผู ป วย ฉุ ก เฉิ น ส่ ว น “การบริ ก ารการแพทย์ ฉ ุ ก เฉิ น ” (Emergency Medical Service) หมายถึ ง การบริ ก าร ผู้บาดเจ็บและป่วยฉุกเฉินทั้งในภาวะปกติและสาธารณภัย ครอบคลุมตั้งแต่การรับแจ้ งเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉิน การให้คำแนะนำปรึกษาฉุกเฉิน การดูแลรักษาพยาบาลฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล การลำเลียงขนย้ายและ นำส่งสถานพยาบาลที่เหมาะสม และการรักษาพยาบาลฉุกเฉินในสถานพยาบาล จนกระทั่งพ้นภาวะฉุกเฉิน และกำหนดให้ระบบการแพทย์ฉุกเฉินประกอบด้วย ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ก่อนถึงโรงพยาบาล (prehospital care) ระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่โรงพยาบาลและระบบส่งต่อ (emergency department and transferal system) และระบบการแพทย์ฉุกเฉินในกรณีสาธารณภัย โดยได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การ พัฒนาการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ พ.ศ.2551-2555 ไว้ 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์การพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานรวมทั้งระบบข้ อมูลสารสนเทศทางการแพทย์ฉุกเฉิน 2) ยุทธศาสตร์การพัฒนากลไกการ บริหารจัดการรวมทั้งระบบการเงินการคลัง 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากร 4) ยุทธศาสตร์การสร้างและ จัดการความรู้ และ 5) ยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ ายและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคี ต่อมาได้จัดทำ แผนหลั ก การแพทย์ ฉ ุ ก เฉิ น แห่ ง ชาติ ฉบั บ ที่ 2 พ.ศ. 2556-2559 มี 8 กลยุ ท ธ์ คื อ 1) การพั ฒ นา ระบบปฏิบัติการฉุกเฉินให้ได้มาตรฐานอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม 2) การพัฒนาหลักเกณฑ์ กลไก และการ บริหารกิจการการแพทย์ฉุกเฉินที่ดี 3) การพัฒนาการเตรียมการด้านการแพทย์ฉุกเฉินให้พร้อมรับสาธารณ ภัย 4) การพัฒ นาระบบการเงิน และงบประมาณให้มีประสิทธิภ าพ 5) การประสานความร่ว มมือกั บ ประชาคมอาเซียนและนานาชาติ 6) การพัฒนาระบบสารสนเทศและการสื่อสารให้รองรับการตัดสินใจเชิง นโยบาย การบริหารจัดการ การปฏิบัติการ และการประเมินผลได้ 7) การสร้างเสริมบทบาทการมีส่วนร่วม และการจั ด การความรู้ รวมทั ้ ง เลขาธิ ก ารสถาบั น การแพทย์ ฉ ุ ก เฉิ น แห่ ง ชาติ ไ ด้ เ พิ ่ ม เติ ม กลยุ ท ธ์ ที่ 8) การคุ้มครองผู้ปฏิบัติการ จากนั้นได้จัดทำแผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2560-2564 มีวิสัยทัศน์คือ ประเทศไทยมีระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่ได้มาตรฐานซึ่งทุกคนเข้าถึงได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมด้วยความ ร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วน โดยกำหนดยุทธศาสตร์ไว้ 5 ยุทธศาสตร์ คือ 1) การพัฒนาคุณภาพระบบ การแพทย์ฉุกเฉิน 2) การพัฒนาบริหารจัดการบุคลาการในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน 3) การพัฒนากลไก อภิบาลระบบการแพทย์ฉุกเฉิน 4) การพัฒนาศักยภาพและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทั้งในและ ต่างประเทศ และ 5) การสื่อสารสาธารณะในระบบการแพทย์ฉุกเฉินสู่ประชาชน ผู้ปฏิบัติการมีบทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติการฉุกเฉินนับแต่การรับรู้ถึงภาวการณ์เจ็บป่วยฉุกเฉิน จนถึง การดำเนินการให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการบำบัด รักษาให้พ้นภาวะฉุกเฉิน ซึ่งรวมถึงการประเมิน การจัดการ การประสานงาน การควบคุม ดูแล การติดต่อสื่อสาร การลำเลียงหรือขนส่ง การตรวจวินิจฉัย 20 และการบำบัดรักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินทั้งนอกสถานพยาบาลและในสถานพยาบาล การปฏิบัติการ ฉุกเฉินหากล่าช้าอาจเกิดผลเสีย ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินจะเสียโอกาสในการอยู่รอดทุกนาทีที่ผ่านไป รวมทั้งการ ลำเลียงขนย้าย นำส่งผู้ป่วยที่ไม่เหมาะสม อาจทำอันตรายเพิ่มเติมให้กับผู้ป่วยด้วย การจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ยังมีความหมายรวมถึ งการจัดให้มีการระดมทรัพยากรในพื้นที่ หนึ่ง ๆ ให้สามารถช่วยเหลือผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ให้ได้มีโอกาสขอความช่วยเหลือในกรณีเจ็ บป่วยฉุกเฉินทั้งใน ภาวะปกติและสาธารณภัย โดยจัดให้มีระบบการรับแจ้งเหตุ ระบบการเข้าช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน ณ จุด เกิดเหตุ ระบบการลำเลียงขนย้าย และการนำส่งผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินไปยังโรงพยาบาลที่เหมาะสมได้อย่างมี คุณภาพและรวดเร็ว ตลอด 24 ชั่ว โมง ระบบดังกล่าวนี้ ควรเป็น ความรับผิดชอบและดำเนิน การโดย หน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลท้องถิ่นนั้น ๆ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ และประชาชนในพื้นที่ เป็น ระบบที่ต้องมีการดูแลรับผิดชอบโดยแพทย์หรือระบบการอำนวยการทางการแพทย์ และควรเป็นระบบที่ไม่ แสวงหากำไร 2. ลักษณะการทำงานของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน แบ่งออกเป็น 6 ระยะ ดังนี้ 2.1 การเจ็บป่วยฉุกเฉินและการพบเหตุ (detection) การเจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นเหตุที่เกิดขึ้นอย่าง ไม่สามารถคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าได้ แม้ว่าจะเตรียมการป้องกันไว้ก็ตาม การส่งเสริมหรือจัดให้ผู้ ที่มีความรู้ความสามารถในการตัดสินใจแจ้งเหตุเมื่อพบเหตุ ซึ่งผู้นั้นอาจเป็นผู้เจ็บป่วยเองหรือ คนข้างเคียง เป็นเรื่องที่จำเป็นมาก เพราะว่าจะสามารถทำให้กระบวนการช่วยเหลือมาถึ งได้ รวดเร็ว ตรงกันข้ามหากล่าช้า นาทีที่สำคัญต่อชีวิตของผู้เจ็บป่วยจะหมดไปเรื่อย ๆ จนกระทั่ง สายจนเกิดแก้ไขได้ 2.2 การแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือ (reporting) การแจ้งเหตุที่รวดเร็วโดยระบบการสื่อสารที่มี ประสิทธิภาพและมีหมายเลขที่จำง่ายเป็นเรื่องที่จำเป็นมากเช่นกัน เพราะว่าเป็นประตูเข้าไปสู่ การช่วยเหลือที่เป็นระบบ แต่ผู้แจ้งเหตุอาจจะต้องมีความรู้ความสามารถในการให้ข้ อมูลที่ ถูกต้อง รวมทั้งมีความสามารถในการให้การดูแลขั้นต้นตามความเหมาะสมอีกด้วย 2.3 การออกปฏิบัติการของชุดปฏิบัติการ (response) ชุดปฏิบัติการชุดแรกที่ออกไปช่วยเหลือผู้ เจ็บป่วยฉุกเฉิน จะต้องมีความพร้อมตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อให้สามารถออกปฏิบัติการตามการ มอบหมายของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ และจะต้องมีมาตรฐานกำหนดระยะเวลาในการออก ปฏิบัติการ ระยะเวลาเดินทาง โดยศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจะต้องคัดแยกระดับความรุนแรง หรือความต้องการของเหตุ และสั่งการให้ชุดปฏิบัติการที่เหมาะสมออกปฏิบัติการ 2.4 การรักษาพยาบาลฉุก เฉิน ณ จุดเกิดเหตุ (on scene care) ชุดปฏิบัติการฉุ กเฉิ น จะ ประเมินสถานการณ์แวดล้อมเพื่อความปลอดภัยของตนเองและชุดปฏิบัติการ ประเมินสภาพ ผู้ป่วยฉุกเฉิน เพื่อให้การช่วยเหลือดูแลที่ถูกต้องเหมาะสมหรือตามคำสั่งของแพทย์อ ำนวยการ ปฏิบัติการฉุกเฉิน โดยมีหลักการดูแลช่วยเหลือว่า จะไม่เสียเวลา ณ จุดเกิดเหตุนาน จนเป็น ผลเสียต่อผู้ป่วย กล่าวคือ ในผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจะเน้นความรวดเร็วในการนำส่งมากกว่า ผู้ป่วยฉุกเฉินทางอายุรกรรม 2.5 การลำเลียงขนย้า ยและการดูแ ลระหว่า งนำส่ง (care in transit) หลักสำคัญยิ่งในการ ลำเลียงขนย้ายจะต้องผ่านการฝึกอบรมเทคนิควิธีมาเป็นอย่างดี ในขณะขนย้ายจะต้องมีการ ประเมินสภาพผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นระยะ การปฏิบัติการบางอย่างอาจกระทำบนรถในขณะ ลำเลียงนำส่งได้ เช่น การให้สารน้ำ การดามส่วนที่มีความสำคัญตามลำดับ เป็นต้น 21 2.6 การนำส่ ง สถานพยาบาลที ่ เ หมาะสม (transfer to definitive care) การนำส่ ง ไปยั ง สถานที่ใดเป็นการชี้ชะตาชีวิตและมีผลต่อผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินได้เป็นอย่างมาก การนำส่งจะต้อง ใช้ข้อมูลศักยภาพโรงพยาบาล(surge capacity) หรือใช้ดุลยพินิจว่าโรงพยาบาลที่ จะนำส่ง สามารถรักษาผู้ป่วยรายนั้นได้หรือไม่ มิฉะนั้นแล้วเวลาที่เสียไปกับความไม่สามารถและความ ไม่ พ ร้ อ มของสถานพยาบาลนั ้ น ๆ จะทำให้ เ กิ ด การเสี ย ชี ว ิ ต พิ ก าร หรื อ ปั ญ หาในการ รักษาพยาบาลอย่างไม่ควรจะเกิดขึ้น 3.ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ การทำงานของชุดปฏิบัติการฉุกเฉินและผู้ปฏิบัติการในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ในการให้ความ ช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินก่อนนำส่งรักษาต่อในสถานพยาบาล ต้องมีศูนย์รับแจ้งเหตุสั่งการ เป็นศูนย์กลาง ตั้งแต่รับแจ้งเหตุ โดยรับข้อมูลผู้ป่วยฉุกเฉินจากญาติหรือผู้ที่อยู่กับผู้ป่วย ศู นย์รับแจ้งเหตุและสั่ งการจะ รวบรวมข้อมูล ตรวจสอบและประเมินเหตุการณ์ อาการเจ็บป่วย ตำแหน่งหรือสถานที่ที่อยู่ของผู้ป่วย ฉุกเฉิน จำนวนผู้ป่วย และข้อมูลที่ติดต่อกลับผู้แจ้งเหตุ จากนั้นจะทำการตรวจสอบค้นหาชุดปฏิบัติการที่มี ความรู้ความสามารถเหมาะสมกับระดับความรุน แรง และอยู่ใกล้จุดที่เกิดเหตุหรือสถานที่ที่ผู้ป่วยฉุกเฉิน อาศัยอยู่ เพื่อมอบหมายภารกิจให้ เมื่อชุดปฏิบัติการฉุกเฉินมีปัญหาขณะออกปฏิบัติงาน ตั้งแต่การค้นหา ผู้ป่วยฉุกเฉิน หรือไม่สามารถดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินได้ ก็สามารถติดต่อขอคำแนะนำจากแพทย์อำนวยการ ปฏิบัติการฉุกเฉินหรือผู้จ่ายงานปฏิบัติการฉุกเฉินที่ปฏิบัติงานที่ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการได้ ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการยังมีหน้าที่ในการติดตามการปฏิบัติงานของชุดปฏิบั ติการต่าง ๆ ตั้งแต่ได้รับมอบหมายให้ออกปฏิบัติการ การเดินทางออกจากที่ตั้งหน่วยปฏิบัติการจนพบผู้ป่วย การดูแล ผู้ป่วยเบื้องต้น และนำส่งจนถึงสถานพยาบาลที่มีขีดความสามารถเหมาะสมกับความรุนแรงหรือภาวะการ เจ็บป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉิน 4.ผู้ปฏิบัติการ ผู้ปฏิบัติการที่เป็นผู้ช่วยเวชกรรมในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน มี 2 ประเภท 9 ระดับ คือ 4.1 ผู้ปฏิบัติการแพทย์ ได้แก่ 4.1.1 นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (นฉพ.) Paramedic 4.1.2 เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ (จฉพ.) Advanced Emergency Medical Technician :AEMT 4.1.3 พนักงานฉุกเฉินการแพทย์ (พฉพ.) Emergency Medical Technician : EMT 4.1.4 อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ (อฉพ.) Emergency Medical Responder : EMR 4.2 ผู้ปฏิบัติการอำนวยการ ได้แก่ 4.2.1 แพทย์อำนวยการปฏิบัติการฉุกเฉิน (พอป.) Medical Director 4.2.2 ผู้กำกับการปฏิบัติการฉุกเฉิน (ผกป.) Emergency Medical Dispatch Supervisor: Supervisor 4.2.3 ผู้จ่ายงานปฏิบัติการฉุกเฉิน (ผจป.) Emergency Medical Dispatcher : EMD 4.2.4 ผู้ประสานปฏิบัติการฉุกเฉิน (ผปป.) Emergency Medical Coordinator : Coordinator 4.2.5 พนักงานรับแจ้งการเจ็บป่วยฉุกเฉิน (พรจ.) Emergency Medical Call Taker : Call Taker 5.ประกาศนียบัตร คณะอนุกรรมการรับรององค์กรและหลักสูตรการศึกษาและฝึกอบรมผู้ปฏิบัติการ และการให้ ประกาศนี ย บั ต รหรื อ เครื ่ อ งหมายวิ ท ยฐานะแก่ ผ ู ้ ผ ่ า นการศึ ก ษาหรื อ ฝึ ก อบรม (อศป.) จะอนุ ม ั ติ ประกาศนียบัตร ผู้ปฏิบัติการแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรม ดังนี้ 22 5.1 ประกาศนียบัตรนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (นฉพ.) ผู้ปฏิบัติการที่มีสิทธิได้รับประกาศนียบัตร นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ต้องมี คุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ 5.1.1 เป็นผู้มีความรู้ ทักษะ และเจตคติในการปฏิบัติการฉุกเฉิน โดยได้รับปริญญา หรือประกาศนียบัตร เทียบเท่าปริญญาสาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ตามมาตรฐานคุณวุฒิ ของกระทรวงศึกษาธิการ จากองค์กรหรือ สถาบันการศึกษาที่ อศป. รับรอง 5.1.2 สอบผ่านความรู้ ทักษะ เจตคติ และการฝึกหัดปฏิบัติการฉุกเฉิน เพื่อขอรับ ประกาศนียบัตรนัก ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ตามวิธีการและเกณฑ์ประเมินและการสอบตามที่ อศป. กําหนด กรณีผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาทางการแพทย์ การพยาบาล หรือ การสาธารณสุขสาขาอื่นที่ อศป. รับรอง และผ่านการฝึกอบรมตามที่หลักสูตรหลักกําหนด รวมทั้ง มีผลการ ปฏิบ ัติการแพทย์ขั้น สูงในองค์กรหรือสถาบันการศึกษาหรือฝึกอบรมหรือสถานพยาบาล หรือหน่ว ย ปฏิบ ัติการที่ อศป. รับ รองตามที่ กํ าหนดไว้ใ นหลั กสูตรหลั ก ให้ถือว่ามีคุ ณสมบัติ ตามข้ อ ๘ (๑) ให้ ประกาศนียบัตรนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์มีอายุห้าปี และมีสิทธิต่ออายุได้ตาม หลักเกณฑ์เงื่อนไข และ วิธีการที่ อศป. ประกาศกําหนด ให้ผู้ได้รับประกาศนียบัตรนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ใช้อภิไธยเพื่อ แสดงวิทยฐานะว่า “นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์” เรียกโดยย่อว่า “นฉพ.” 5.2 ประกาศนียบัตรเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ (จฉพ.) ผู้ปฏิบัติการที่มีสิทธิได้รับประกาศนียบัตรเจ้า พนักงานฉุกเฉินการแพทย์ ต้องมี คุณสมบัติครบถ้วนดังต่อไปนี้ 5.2.1 เป็นผู้มีความรู้ ทักษะ และเจตคติในปฏิบัติการแพทย์ขั้นพื้นฐานอย่างสมบูรณ์ และปฏิบัติ การแพทย์ขั้นสูงที่จําเป็นเร่ งด่วน โดยได้รับประกาศนียบั ตรวิชาชีพเทคนิคหรือประกาศนียบัตร วิชาชีพ ชั้นสูงสาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ หรือเทียบเท่า ตามมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ จากองค์กร หรือสถาบันการศึกษาที่ อศป. 5.2.2 สอบผ่านความรู้ ทักษะ เจตคติ และการฝึกหั ดปฏิบัติการฉุกเฉิน เพื่อขอรับ ประกาศนียบัตร เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ ตามวิธีการและเกณฑ์ประเมินและการสอบตามที่ อศป. กําหนด กรณีผู้ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบเท่า ในทางการแพทย์ การพยาบาล หรือการสาธารณสุขสาขาอื่ นที่ อศป. รับรอง และผ่านการฝึกอบรม ตามที่ หลักสูตรหลักกําหนด รวมทั้งมีผลการปฏิบัติการแพทย์ในองค์กรหรือสถาบันการศึกษา หรือฝึกอบรมหรือ สถานพยาบาลหรือหน่วยปฏิบัติการที่ อศป. รับรองตามที่กําหนดไว้ในหลักสูตรหลัก ให้ถือว่ามีคุณสมบัติ ตาม (๑) ให้ประกาศนียบัตรเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์มีอายุสี่ปี และมีสิทธิต่ออายุได้ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่ อศป. ประกาศกําหนด ให้ผู้ได้รับประกาศนียบัตรเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ใช้ อภิไธยเพื่อแสดงวิทยฐานะว่า “เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์” เรียกโดยย่อว่า “จฉพ.” 5.3 ประกาศนียบัตรอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ (อฉพ.) ผู้ปฏิบัติการที่มีสิทธิได้รับประกาศนียบัตร อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ดังต่อไปนี้ 5.3.1 สําเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับการศึกษาภาคบังคับหรือเทียบเท่าเป็นผู้มีความรู้ ทักษะ และเจต คติในการปฐมพยาบาลและช่วยปฏิบัติการแพทย์ขั้นพื้นฐาน โดยผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรหลักจาก องค์กรหรือสถาบันการฝึกอบรมที่ อศป. รับรอง 5.3.2 สอบผ่านความรู้ ทักษะ เจตคติ และการฝึกหัด ปฏิบัติการฉุกเฉิน เพื่อขอรับประกาศนียบัตร อาสาสมัครฉุกเฉิน การแพทย์ ตามวิธีการและเกณฑ์ประเมินและการสอบตามที่ อศป. กำหนด ให้ ประกาศนียบัตรอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์มีอายุสองปี และมีสิทธิต่ออายุได้ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่ อศป. ประกาศกําหนด ให้ผู้ได้รับประกาศนียบัตรอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ใช้อภิไธย เพื่อแสดงวิทยฐานะว่า “อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์” เรียกโดยย่อว่า “อฉพ.” 23 5.4 ประกาศนียบัตรพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ (พฉพ.) ผู้ปฏิบัติการที่มีสิทธิได้รับประกาศนียบัตร พนักงานฉุกเฉินการแพทย์ ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ดังต่อไปนี้ 5.4.1 สําเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า 5.4.2 เป็นผู้มีความรู้ ทักษะ และเจตคติในการปฏิบัติการแพทย์ขั้นพื้นฐาน รวมทั้งการช่วยปฏิบัติ การแพทย์ขั้นสูง โดยผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรหลักจากองค์กรหรือสถาบันการฝึกอบรมที่ อศป. รับรอง 5.4.3 สอบผ่านความรู้ ทักษะ เจตคติ และการฝึกหัดปฏิบัติการฉุกเฉิน เพื่อขอรับประกาศนียบัตร พนักงานฉุกเฉินการแพทย์ ตามวิธีการและเกณฑ์ประเมินและการสอบตามที่ อศป. กำหนดกรณีผู้สำเร็จ การศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า และได้รับประกาศนียบัตรอาสาสมัครฉุกเฉิน การแพทย์ ม าแล้ ว ไม่ น ้ อ ยกว่ า สามปี รวมทั ้ ง มี ผ ลการปฏิ บ ั ต ิ ก ารฉุ ก เฉิ น ในหน่ ว ยปฏิ บ ั ต ิ ก ารหรื อ สถานพยาบาลที่ อศป. รับรองตามที่กำหนดไว้ ในหลักสูตรหลัก ให้ถือว่ามีคุณสมบัติตามข้อ (๑) ให้ ประกาศนียบัตรพนักงานฉุกเฉินการแพทย์มีอายุสองปี และมีสิทธิต่ออายุได้ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและ วิธีการที่ อศป. ประกาศกําหนด ให้ผู้ได้รับประกาศนียบัตรพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ใช้อภิไธยเพื่อแสดง วิทยฐานะว่า “พนักงานฉุกเฉินการแพทย์” เรียกโดยย่อว่า “พฉพ.” 24 อำนาจหน้าที่ ขอบเขต ความรับผิดชอบ และข้อจำกัดในการปฏิบัติการแพทย์ของผู้ช่วยเวชกรรม ตามคำสั่งการแพทย์หรือการอำนวยการ 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 เอกสารอ้างอิง คณะกรรมการจัดทำคู่มือวิทยากรหลักสูตรเวชกรฉุกเฉินระดับพื้นฐาน. คู่มือวิทยากรหลักสูตรเวช กรฉุกเฉินระดับพื้นฐาน (Emergency Medical Technician-Basic Curriculum). พิมพ์ครั้งที่ 3 .กรุงเทพ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น ที เพลส ; 2549 วิทยา ชาติบัญชาชัยและคณะ. ตำราประกอบการเรียนหลักสูตรเจ้าพนักงานกู้ชีพ. ขอนแก่น : ศิริ ภัณฑ์ ออฟเซ็ท ; 2547. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. คู่มือวิทยากรหลักสูตรพยาบาลกู้ชีพ (Pre hospital Nurse Curriculum). ม.ป.ท. : 2551 38 แบบฝึกหัด/งานที่มอบหมาย 1. ระบบการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทย มีจุดเริ่มต้นจากจุดใด ? 2. ลักษณะการปฏิบตั ิงานของระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ประกอบด้วยกี่ขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนมีการ ปฏิบัติงานอย่างไร? 3. ผู้ปฏิบัติการแพทย์ที่เป็นผู้ช่วยเวชกรรมในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน มีกี่ประเภท 4. อศป.คือ มีอำนาจหน้าที่อะไร เฉลยแบบฝึกหัด 1. การแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทย มีจุดเริ่มต้นมาจาก กลุ่มจิตอาสา ที่เป็นชาวจีนโพ้นทะเล ที่มา อาศัยอยู่ในประเทศไทย ทำการช่วยเหลือกัน ได้แก่ การช่วยเก็บศพ ในยุคที่มีโรคระบาด มีคนตาย จำนวนมาก ต่อมาเริ่มมีการก่อตั้งมูลนิธิ ได้แก่ มูลนิธป่อเต็กตึ้ง ร่วมกตัญญู ออกให้การช่วยเหลือ ประชาชนด้วยจิตอาสา ต่อมาเริ่มมีการช่วยเหลือผู้ประสบภัยบนท้องถนน เป็นต้น 2. ลักษณะการปฏิบัติงานของระบบการแพทย์ฉุกเฉิน เป็นมาตรฐานสากล ใช้สัญลักษณ์ ดวงดาวแห่ง ชีวิต (Star of Life) เป็นมาตรฐานสากล มี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การเจ็บป่วยฉุกเฉินและการพบเหตุ (detection) การเจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นเหตุที่เกิดขึ้น อย่างไม่สามารถคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าได้ แม้ว่าจะเตรียมการป้องกันไว้ก็ตาม การส่งเสริม หรือจัดให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการตัดสินใจแจ้งเหตุเมื่อพบเหตุ ซึ่งผู้นั้นอาจเป็นผู้ เจ็บป่วยเองหรือคนข้างเคียง เป็นเรื่องที่จำเป็นมาก เพราะว่าจะสามารถทำให้กระบวนการ ช่วยเหลือมาถึงได้รวดเร็ว ตรงกันข้ามหากล่าช้า นาทีที่สำคัญต่อชีวิตของผู้เจ็บป่วยจะหมด ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งสายจนเกิดแก้ไขได้ 2. การแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือ (reporting) การแจ้งเหตุที่รวดเร็วโดยระบบการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพและมีหมายเลขที่จำง่ายเป็นเรื่องที่จำเป็นมากเช่นกัน เพราะว่าเป็นประตู เข้าไปสู่การช่วยเหลือที่เป็นระบบ แต่ผู้แจ้งเหตุอาจจะต้องมีความรู้ความสามารถในการให้ ข้อมูลที่ถูกต้อง รวมทั้งมีความสามารถในการให้การดูแลขั้นต้นตามความเหมาะสมอีกด้วย 3. การออกปฏิบั ต ิก ารของชุด ปฏิบ ัติ การ (response) ชุ ดปฏิบัติการชุดแรกที่อ อกไป ช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน จะต้องมีความพร้อมตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อให้ สามารถออก ปฏิบัติการตามการมอบหมายของศูนย์รับแจ้งเหตุ และสั่งการ และจะต้องมีมาตรฐาน กำหนดระยะเวลาในการออกปฏิบัติการ ระยะเวลาเดินทาง โดยศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่ง การจะต้ อ งคั ด แยกระดั บ ความรุ น แรงหรื อ ความต้ อ งการของเหตุ และสั ่ ง การให้ชุด ปฏิบัติการที่เหมาะสมออกปฏิบัติการ 4. การรักษาพยาบาลฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ (on scene care) ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินจะ ประเมินสถานการณ์แวดล้อมเพื่อความปลอดภัยของตนเองและชุดปฏิบัติการ ประเมิน สภาพผู้ป่วยฉุกเฉิน เพื่อให้การช่วยเหลือดูแลที่ถูกต้องเหมาะสมหรือตามคำสั่งของแพทย์ อำนวยการปฏิบัติการฉุกเฉิน โดยมีหลักการดูแลช่วยเหลือว่า จะไม่เสียเวลา ณ จุดเกิดเหตุ 39 นาน จนเป็นผลเสียต่อผู้ป่วย กล่าวคื อ ในผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจะเน้นความรวดเร็วใน การนำส่งมากกว่าผู้ป่วยฉุกเฉินทางอายุรกรรม 5. การลำเลียงขนย้ายและการดูแลระหว่างนำส่ง (care in transit) หลักสำคัญยิ่งในการ ลำเลียงขนย้ายจะต้องผ่านการฝึกอบรมเทคนิควิธีมาเป็นอย่างดี ในขณะขนย้ายจะต้องมี การประเมินสภาพผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นระยะ การปฏิบัติการบางอย่างอาจกระทำบนรถ ในขณะลำเลียงนำส่งได้ เช่น การให้สารน้ำ การดามส่วนที่มีความสำคัญตามลำดับ เป็นต้น 6. การนำส่งสถานพยาบาลที่เหมาะสม (transfer to definitive care) การนำส่งไปยัง สถานที่ใดเป็นการชี้ชะตาชีวิตและมีผลต่อผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินได้เป็นอย่างมาก การนำส่ง จะต้องใช้ข้อมูลศักยภาพโรงพยาบาล(surge capacity) หรือใช้ดุลยพินิจว่าโรงพยาบาลที่ จะนำส่งสามารถรักษาผู้ป่ว ยรายนั้นได้หรือไม่ มิฉะนั้นแล้ว เวลาที่เสียไปกับความไม่ สามารถและความไม่พร้อมของสถานพยาบาลนั้น ๆ จะทำให้เกิดการเสียชีวิต พิการ หรือ ปัญหาในการรักษาพยาบาลอย่างไม่ควรจะเกิดขึ้น 3. ผู้ปฏิบัติการแพทย์ที่เป็นผู้ช่วยเวชกรรมในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน มีกี่ 4 ประเภท ได้แก่ 1. นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (นฉพ.) Paramedic 2. เจ้ า พนั ก งานฉุ ก เฉิ น การแพทย์ (จฉพ.) Advanced Emergency Medical Technician : AEMT 3. พนักงานฉุกเฉินการแพทย์ (พฉพ.) Emergency Medical Technician : EMT 4. อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ (อฉพ.) Emergency Medical Responder : EMR 40 แผนการสอนสัปดาห์ที่ 2 ชื่อบทเรียน หน่วยบริการและการจัดพื้นที่ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน จำนวนชั่วโมง 4 ชม. จุดประสงค์การสอน (จุดประสงค์ทั่วไป) 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ เกี่ยวกับหน่วยบริการและการจัดพื้นที่ในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน 2. เพื่อให้นักเรียนตระหนัก และให้ความสำคัญเกี่ยวกับหน่วยบริการและการจัดพื้นที่ในระบบ การแพทย์ฉุกเฉิน 3. เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ เรื่องหน่วยบริการและการจัดพื้นที่ในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ไป ประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการเรียนรู้ (จุดประสงค์เฉพาะ) 1. อธิ บ ายถึ ง บทบาท หน้ า ที ่ ข องศู น ย์ ร ั บ แจ้ ง เหตุ แ ละสั ่ ง การจั ง หวั ด / ศู น ย์ เ อราวั ณ กรุงเทพมหานคร 2. บอกระดับการให้การดูแลผู้เจ็บป่วยในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน 3. บอกประเภทของชุดปฏิบัติการฉุกเฉิน 4. อธิบายหน้าที่/บทบาทของชุดปฏิบัติการฉุกเฉินแต่ละประเภท 5. ระบุประเภทการจ่ายเงินอุดหนุนหรือเงินชดเชยการปฏิบัติการฉุกเฉิน วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน 1. การบรรยาย 2. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สื่อการสอน/อุปกรณ์การสอน 1. Power point 2. เอกสารประกอบการสอน การวัดผล 1. การสอบความรู้ 2. รายงาน / งานมอบ 3. จิตพิสัย 41 หัวข้อการบรรยาย หน่วยบริการและการจัดพื้นที่ในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน (Emergency Medical Service-EMS) เป็นระบบการจัดการที่ระดม ทรัพยากรในพื้นที่หนึ่ง ๆ ให้ส ามารถช่วยเหลือผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ให้มีโอกาสรับความช่วยเหลือในกรณี เจ็บป่วยฉุกเฉิน ทั้งในภาวะปกติ และภัยพิบัติ โดยจัดให้มีระบบการรับแจ้งเหตุ ระบบการช่วยเหลือ ผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ ระบบการลำเลียงขนย้าย และการส่งต่ อผู้ป่วยฉุกเฉินให้แก่โรงพยาบาล ที่เหมาะสมได้อย่างมีคุณภาพและรวดเร็ว การจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ต้องครอบคลุมการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ และป่วยฉุกเฉินทั้งในภาวะ ปกติและภาวะภัย พิบ ัติ โดยจัดระบบรับแจ้งเหตุ ที่ง่ายต่อการจำ สามารถถ่ ายทอดข้อมูล การให้ คำแนะนำในการช่วยเหลือเบื้องต้น ณ จุดเกิดเหตุ โดยผู้แจ้งเหตุสามารถใช้ระบบโทรศัพท์ระบบใดก็ได้ มีระบบควบคุมทางการแพทย์ เพื่อให้คำปรึกษาสั่งการตลอด 24 ชั่วโมง มีการจัดระบบการสื่อสาร ระหว่างผู้ปฏิบัติการ ศูนย์รับแจ้งเหตุ และโรงพยาบาลที่จะนำส่งให้ครอบคลุมในพื้ นที่ต่าง ๆ จัดให้มี บุคลากรปฏิบัติงาน ซึ่งประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล และ/ หรือ เวชกรฉุกเฉิน ระเบียบการปฏิบัติงาน คู่มือการปฏิบ ัติงาน (Protocol) จัดมาตรฐานและโครงสร้างของระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่เหมาะสม จัดระบบข้อมูลที่เชื่อมโยงกันได้ทั่วประเทศ มีการเตรียมพร้อมและจัดหมวดหมู่ของสถานพยาบาล การ บริหารการเงินและการคลัง จากงบประมาณส่วนกลางที่ได้รับจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น การประชาสัมพันธ์ การมีส่วนร่วมของชุมชน และมีการ ประเมินผล เพื่อนำผลที่ได้จากการประเมินไปปรับปรุงพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินต่อไป ระดับการให้การดูแลผู้เจ็บป่วยในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน (Level of care in EMS) รูป แบบของหน่ว ยปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินในสากล มีความแตกต่างไปทั้งวิธีการการปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติ ระดับการให้บริการ อาจแบ่งกว้าง ๆ เป็นสองระดับ ได้แก่ 1. Basic Life Support (BLS) ระดับพื้นฐาน ได้แก่ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การทำ CPR 2. Advanced Life Support (ALS) ระดับสูง ได้แก่ การทำหัตถการต่าง ๆ เช่น ให้น้ำเกลือทาง เส้นเลือด การใส่ท่อช่วยหายใจ ให้ยาทางเส้นเลือด ฯลฯ ในระดับการให้บริการเดียวกันอาจมีความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ แม้ในประเทศเดียว ทั้งนี้ ขึ้นกับการบริห ารจัดการท้องถิ่นนั้น ๆ ยกตัวอย่าง เช่น ในแถบยุโรป การให้บริการระดับสูง (ALS) จำเป็นต้องมีแพทย์ปฏิบัติการ และบางประเทศอาจใช้พยาบาลที่ได้รับการฝึกเป็น พิเศษ ส่วนในแถบ อเมริกาเหนือ อังกฤษ และออสเตรเลีย การให้บริการระดับสูงจะทำโดย Paramedic ที่สามารถตัดสินใจ ให้การรักษาได้ด้วยตนเอง ภายใต้ขอบเขตที่กำหนด ทั้งนี้ ความแตกต่างดังกล่าวขึ้นอยู่กับความต้องการ ของท้องถิ่นและปัจจัยเรื่องเงินสนับสนุนที่ต่างกัน ผู้ให้บริการในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน อาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. ผู้ให้บริการในระดับพื้นฐาน (Basic Life Support) ได้แก่ 1.1. First Responder หมายถึงบุคคลแรกที่ไปถึงที่เกิดเหตุ สามารถให้การช่วยเหลือเบื้องต้น ที่จำเป็น เช่น การ CPR หรือการใช้เครื่อง AED ซึง่ First responder อาจถูกส่งไปที่เกิดเหตุผ่านศูนย์ รับ แจ้งเหตุ หรืออาจเป็นประชาชนทั่วไป เจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานดับเพลิง หรือกู้ภัย 42 1.2 Ambulance driver หมายถึง พนักงานขับรถ ในบางแห่งจะแบ่งหน้าที่การขับรถ และผู้ช่วยปฏิบัติการออกจากกัน เช่น ในอิตาลี และอินเดีย โดยคนขับรถจะมีหน้าที่ขับเพียงอย่างเดียว หรืออาจจะได้รับการฝึกให้สามารถใช้วิทยุสื่อสารได้ 1.3 Ambulance care assistant (ACA ) หมายถึง ผู้ช่วยเหลือบนรถพยาบาล มีระดับ ความสามารถและการฝึกฝนที่แตกต่างกันไป ส่วนใหญ่จะมีหน้าที่ช่วยในการขนย้ายผู้ป่วยเป็นหลัก โดยไม่ เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน บางแห่งได้รับการฝึกฝนการปฐมพยาบาลเบื้องต้น (First aid) การทำ CPR การใช้ AED การให้ Oxygen ขึ้นกับแต่ละแห่ง 1.4 Emergency Medical Technician (EMT) เป็นผู้ที่มีความสามารถให้การรักษาและ ปฏิบัติการฉุกเฉินได้หลากหลาย เช่ น การทำ Defibrillation การให้ยา การให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด ดำ ซึ่งจะต้องผ่านการอบรมและได้รับประกาศนียบัตรเพื่อสามารถปฏิบัติงานได้ภายใต้มาตรฐานที่กำหนด 2. ผู้ให้บริการในระดับสูง (Advanced Life Support) ได้แก่ 2.1 Paramedic เป็นผู้มีความสามารถระดับสูงในการดูแลผู้ป่วย เช่น การใส่ท่อช่วยหายใจ การให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ การทำ Cricothyrotomy ซึ่งต้องมีการอบรม และมีใบอนุญาต ใน การปฏิบัติงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย 2.2 Critical care paramedic บางแห่ ง เรี ย กว่ า Advanced practice paramedic ซึ่งหมายถึง paramedic ที่ได้รับการฝึกฝนเพิ่มเติมในการทำ Advanced procedure ต่าง ๆ อย่างน้อย 6 เดือน ในหอผู้ป่วยหนัก (ICU) และการดูแลผู้ป่วยวิกฤตในโรงพยาบาล การทำ Surgical airway โดยใน กลุ่มนี้จะทำหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหนัก 2.3 Paramedic practitioner หรือ Emergency care practitioner พบในประเทศ อังกฤษ และแอฟริกา ให้ paramedic สามารถเข้ารับการศึกษาเพิ่มเติมในระดับมหาวิทยาลัย เพื่อให้ สามารถปฏิบัติงานตัดสินใจได้เอง การจ่ายยาเองโดยไม่ต้องผ่านแพทย์ 3. ผู้ให้บริการทางการแพทย์แบบเดิม (Traditional healthcare professions) 3.1 พยาบาล (Registered Nurse: RN) การใช้พยาบาลวิช าชีพปฏิบ ัติ ง านในระบบบริ ก าร การแพทย์ฉุกเฉิน พบได้ในหลายประเทศที่มีบุคลากรทำงานในระบบจำกั ด ให้บริการในระดับสูง ซึ่งจะ ทำงานภายใต้คำสั่งแพทย์ เช่น ฝรั่งเศส หรือ อิตาลี ซึ่งไม่มี paramedic 3.2 แพทย์ (Physician : MD) ให้แพทย์ออกไปกับทีมบริการระดับ ALS ทำหน้าทีต่ ัดสินใจให้ การดูแลผู้ป่วย เช่น SAMU ของฝรั่งเศส ซึ่งไม่มี Paramedic แต่บางประเทศมี paramedic ออกไป ด้วย แต่ต้องทำงานอยู่ภายใต้การกำกับของแพทย์ เช่น เยอรมัน สวิสเซอร์แลนด์ และออสเตรีย ลักษณะการให้บริการ (Delivery of care) ลักษณะการให้บริการมีความแตกต่างกัน ในแต่ละประเทศ แต่ละพื้นที่ หรือความต้องการของ ผู้ป่วย จำนวนผู้ป่วยให้บริการอาจมีเพีย งรายเดียวหรือ หลายราย ทำให้เกิดความแตกต่างมากขึ้นไปอีก ทั้งระดับการให้บริการ และความสามารถของผู้ปฏิบัติงานในแต่ละแห่ง 1. Single-Tiered Response System เป็นระบบการให้บริการของหน่วยปฏิบัติการแพทย์ ฉุกเฉินที่มีระดับ ALS ระดับเดียว บุคลากรมีศักยภาพ สามารถให้การดูแลได้ครอบคลุม และไม่ล่าช้า 2. Multitiered Response System เป็นระบบการให้บริการที่มีห น่วยปฏิบัติการแพทย์ ฉุกเฉินหลายระดับ ทั้ง BLS และ ALS พบได้ในประเทศที่มีพื้นที่ หรือ ท้องถิ่นที่อยู่ไกล 43 ต้องส่งหน่วยปฏิบัติการระดับต้นไปดูแลก่อน ถ้าจำเป็นต้องใช้รถพยาบาลจึงจะเรียกตามมาใน ภายหลัง ทั้งนี้ในบางสถานการณ์ที่ BLS ไม่สามารถให้การดูแลได้ จำเป็นต้องขอรับการ ช่ ว ยเหลื อ หรื อ สนับ สนุน จากที ม ALS ซึ ่ ง บางครั ้ ง อาจทำให้ ต ้ อ งเสี ย เวลารอการรักษา จากทีม ALS ระบบการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้พัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2545 และ มีน โยบายเร่งรัดจัดให้มีห น่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินให้ครอบคลุมทุกจังหวัด รวมทั้งพัฒ นาระบบ การแพทย์ฉุกเฉินระดับตำบลและหมู่บ้านทั่วประเทศ ในปีงบประมาณ 2548 เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต ความพิการ และความทุกข์ทรมานอันไม่ควร ที่เกิดจากการดูแลรักษาที่ล่าช้า วิธีการดูแลรักษาและ เคลื่อนย้ายอย่างผิดวิธี และขาดระบบการนำส่งโรงพยาบาลที่เหมาะสม การปฏิบัติของผู้เกี่ยวข้องในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ผู้รับบริการ ประชาชนทุกคนที่อยู่ในสภาวะบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน ซึ่งหากมิได้รับการรักษาพยาบาลอย่าง ทันท่วงทีแล้ว อาจเกิดอันตรายต่อชีวิตหรือการทำงานของระบบอวัยวะสำคัญที่จำเป็นต่อสุขภาพและ การดำรงชีวิต โดยผู้รับบริการขอรับบริการการแพทย์ฉุกเฉินได้ด้วยการใช้ โทรศัพท์หมายเลข 1669 หรือ หมายเลขอื่นๆ ในแต่ละท้องที่กำหนดไปยังศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่ง การจังหวัด (หรืออาจเป็นผู้พบเหตุโทร แจ้ง หรือจากการประสานงานผ่านหมายเลขฉุกเฉินอื่น เช่น 191, 199, 1646, 1554 เป็นต้น หรือโดยวิทยุ สื่อสาร) ผู้ปฏิบัติการ ผู้ปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ในการช่วยเหลือผู้รับบริการ ได้แก่ ชุดปฏิบัติการฉุกเฉิน หน่วยปฏิบัติการที่ปฏิบัติการฉุกเฉิน ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัด ศูนย์บริการ การแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) และผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานระบบการแพทย์ฉุกเฉิ น จังหวัดหรือสำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร รวมถึงสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ผู้บริหารจัดการ โครงสร้างระบบการแพทย์ฉุกเฉินของแต่ละจังหวัดคือ จะต้องมีการจัดตั้งสำนักงานระบบบริการ การแพทย์ฉุกเฉินของจังหวัดขึ้น โดยสำนักงานระบบการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดจะดำเนินงานภายใต้การ ควบคุ ม กำกั บ ของคณะกรรมการจั ด ระบบการแพทย์ ฉ ุ ก เฉิ น ของจั ง หวั ด นั ้ น ๆ โดย มี แ ผนผั ง การดำเนินงาน ดังนี้ 1. สำนักงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดและสำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร มีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงาน ดังนี้ 1.1 จั ด ระบบการแพทย์ ฉ ุ ก เฉิ น ตามขอบเขตความรั บ ผิ ด ชอบในจั ง หวั ด หรื อ เขตพื ้ น ที่ กรุงเทพมหานคร โดยให้มีหน่วยปฏิบัติการที่มีชุดปฏิบัติการให้ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบทั้งนี้ ให้จัดการแบ่ง พื้นที่ในการบริการ ของหน่วยปฏิบัติการหรือชุดปฏิบัติการให้เหมาะสม ในการจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉินในแต่ละจังหวัด อาจมีความแตกต่างกันตามสภาพ และข้อจำกัดของพื้นที่ต่าง ๆ แต่จะสอดคล้องกับหลักการใหญ่ ได้แก่ 44 - จังหวัดต้องจัดตั้งสำนั กงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของจังหวัด โดยมีหน้าที่ คือ การออกแบบและจัดระบบบริการ การประชาสัมพันธ์ การควบคุมคุณภาพ บริการ และการจัดระบบการจ่ายค่าตอบแทนและเงินสนับสนุน - แต่ละจังหวัดจะต้องมีกรรมการระบบบริการแพทย์ฉุกเฉินประจำจังหวัด โดยผู้ว่า ราชการจังหวัดเป็นผู้ลงนามแต่งตั้ง เพื่อกำหนดมาตรฐานของจังหวัด ควบคุมกำกับ ดูแลการปฏิบัติการ และให้การสนับสนุนทรัพยากรเพิ่มเติม - มีระบบการสื่อสาร จัดให้มีการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติ งาน ระหว่างผู้ให้บริการ ระบบควบคุมทางการแพทย์ และโรงพยาบาลที่จะนำส่ง มีความสามารถในการ ส่งผ่านข้อมูลได้ทันที มีช่องทางเลือกที่ใช้สำรองในกรณีที่ช่องสัญญาณหลักมีผู้ใช้งาน อยู่ ซึ่งครอบคลุมในพื้นที่ปฏิบัติงานอย่างเต็ มที่ ปัจจุบันใช้ระบบการสื่อสารชนิด VHF กั บ ระบบโทรศั พ ท์ เ ซลลู ล ่ า ร์ ซ ึ ่ ง สามารถสื ่ อ สารในรายละเอี ย ดของผู ้ ป ่ ว ย แต่ละรายได้ดี 1.2 จัดตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการประจำจังหวัด จัดให้มีศูนย์รับแจ้งเหตุเพียงแห่งเดียวโดยมี การแจ้งเหตุโดยใช้หมายเลขโทรศัพท์ 1669 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง สามารถให้คำแนะนำ สั่งการ ประสานความช่วยเหลือ บันทึกข้อมูลเหตุการณ์และการปฏิบัติการ โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์ 1.3 จัดหาโรงพยาบาลรับผู้ป่วย ตรวจสอบมาตรฐานและพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของ บุคลากรหน่วยปฏิบัติการ และพาหนะฉุกเฉินของหน่วยปฏิบัติการ ควบคุมคุณภาพการให้บริการ ควบคุม กำกับ ตรวจสอบ ผลการปฏิบัติงานของชุดปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด โดยคณะกรรมการ จังหวัด 1.3.1 การกำหนดพื้นที่เป็นเขต แต่ละเขตมีหน่วยปฏิบัติการรองรับ - หน่วยปฏิบัติการตามสัดส่ว นของประชากรที่เหมาะสม โดยทั่วไปใช้เกณฑ์ประชากร 2 แสนคนต่อหน่วยปฏิบัติการระดับสูง 1 หน่วย และประชากร 1 แสนคน ต่อ หน่วยปฏิบัติการระดับพื้นฐาน 1 หน่วย อาจพิจารณาตามสภาพภูมิประเทศและ เส้นทางคมนาคมประกอบ 1.4 ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน อนุมัติการเบิกจ่า ยค่าอุดหนุนหรือชดเชยการบริการของชุด ปฏิบัติการ และอนุมัติการเบิกจ่ายเงินเพื่ออุดหนุนหรือชดเชย ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบประกาศที่คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินกำหนด 1.5 บันทึกข้อมูลผู้ป่วยจากการให้บริการของชุดปฏิบัติการผ่านโปรแกรมให้แล้วเสร็จ ภายใน 1 เดือน ภายหลังวันที่หน่วยปฏิบัติการตัดยอดการให้บริการ เช่น ข้อมูล ปฏิบัติการของเดือนตุลาคม 2552 สำ นักงานระบบการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัด และสำ นักการแพทย์กรุงเทพมหานคร ต้องรายงานข้อมูลผ่าน โปรแกรม http://service.niems.go.th แล้วเสร็จภายในสิน้ เดือนพฤศจิกายน 2552 1.6 การจ่ายค่าตอบแทน โดยมีหลักฐานการแจ้งเหตุ การสั่งการ การออกปฏิบัติงาน การส่ง มอบผู้ป่วย และการติดตามผลการรักษาของผู้ป่วยทุกราย การกำหนดอัตราค่าตอบแทนตามเกณฑ์ที่ กำหนด ซึ่งค่าตอบแทนที่แตกต่างไปจากนี้จะต้องทำการตกลงกับสำนักงานระบบบริการการแพทย์ 1.7 สนับสนุนส่งเสริม และพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉินร่วมกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน แห่งชาติ 2. ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ (Dispatch Center: DC) ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ คือ ศูนย์หรือหน่วยปฏิบัติการที่มีระบบเครือข่ายการสื่อสารและความ เหมาะสมของทรัพยากรในพื้นที่ มีหน้าที่รับแจ้งเหตุจากประชาชนโดยตรง รับแจ้งเหตุผ่านศูนย์รับแจ้งเหตุ 45 ฉุกเฉินอื่น หรือรับแจ้งเหตุฉุกเฉินจากแหล่งอื่น เกี่ยวกับระบบการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อสื่อสาร ประสานการ ช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ป่วย และหรือผู้พ บผู้ป่วยฉุกเฉินสั่งการ การปฏิบัติการของหน่วยปฏิบัติการ และ ชุดปฏิบัติการ บันทึกข้อมูลการรับแจ้งเหตุและสั่งการ ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เกี่ยวกับ การปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน ประกอบด้วยบุคลากร ดังนี้ แพทย์ จำนวน 1 คน/ เวร ทำหน้าที่หัวหน้าศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่ งการ และควบคุมกำกับให้ หน่วยบริการต่าง ๆ ออกปฏิบัติงานและให้คำปรึกษาสั่งการรักษาทางการแพทย์ ซึ่งจะต้องผ่านหลักสูตร Emergency Medical Dispatcher และได้รับประกาศนียบัตร พอป. พยาบาล จำนวน 1 คน/ เวร ทำหน้ า ที ่ ผ ู ้ ช ่ ว ยหั ว หน้ า ศู น ย์ ฯ ให้ ค ำปรึ ก ษาในด้ า น การ รักษาพยาบาลในภาวะฉุกเฉิน แก่ห น่ว ยบริการ และประชาชน ประสานงานและแก้ปัญหาในการ ปฏิบัติงาน ตรวจสอบความถูกต้องของระบบข้อมูลข่าวสารและรายงานต่าง ๆ เจ้าหน้าที่สื่อสารและเจ้าหน้าที่ข้อมูล จำนวน 2 คน/ เวร ที่ต้องผ่านการการฝึกอบรมปฐมพยาบาล และปฏิบัติการแพทย์ขั้นพื้นฐาน(First Responder) 20 ชั่วโมง ปีแรก โดยปีต่อไปจะต้องผ่านการอบรม หลักสูตร EMT- Basic 120 ชั่วโมง ทำหน้าที่รับส่งวิทยุและโทรศัพท์ประสานการปฏิบัติตามคำสั่งของ หัวหน้าศูนย์ฯ และผู้ช่วย ตรวจสอบความพร้อมของระบบสื่อสารภายในเครือข่ายทุกวัน บันทึกผลการ ปฏิบัติงานของศูนย์และหน่วยบริการ รวบรวมส่งคณะกรรมการจัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินประจำ จังหวัดเพื่อรายงานผลการดำเนินงานทุกเดือน คู่มือเจ้าหน้าที่ ประจำศูนย์รับแจ้งเหตุระบบการแพทย์ฉุกเฉินของกระทรวงสาธารณสุข แนวทางในการตัดสิน ใจสั่งการของศู นย์รับแจ้งเหตุ และสั่งการของระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ และเมื่อถึงขั้นตอนการนำส่งสถานบริก ารจะยึดหลักตามความสำคัญก่อนหลัง ดังนี้ 1. ความสามารถในการรักษาพยาบาล 2. ระยะทางใกล้-ไกล 3. ประวัติเก่า 4. การมีหลักประกัน 5. ความประสงค์ของผู้ป่วย ในกรณีที่มีการแจ้งเหตุไปที่หน่วยบริการจะต้องโทรแจ้งกลับมายังศูนย์ และศูนย์จะต้องหาข้อมูล ว่าหน่วยที่ออกไปให้บริการนั้นเข้าเกณฑ์หรือไม่ ถ้าเข้าเกณฑ์ก็จะสามารถเบิกเงินได้ และการรับแจ้งเหตุ จะต้องบันทึกไว้ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งโดยเทปและเอกสารเพื่อจะได้ไว้ใช้ในการรับรองการจ่าย และต้อง เน้นความรวดเร็ว ความปลอดภัยเป็นหลัก ทั้งนี้จะต้องเข้าหลักเกณฑ์ที่กำหนด บทบาทหน้าที่ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัด/ศูนย์เอราวัณ กรุงเทพมหานคร 1. จัดทำเครือข่ายระบบรับแจ้งเหตุและสั่งการ ติดต่อสื่อสารเพื่อประสานงานปฏิบัติการ 2. จัดเตรียมและใช้หมายเลขโทรศัพท์1669 ในการรับแจ้งเหตุ และสำรวจความ ครอบคลุมของ สัญญาณโทรศัพท์เครื่องมือสื่อสารในพื้นที่ เพื่อใช้ในการแจ้งเหตุ รวมถึงการประสานงานกับผู้ให้บริการ โทรศัพท์ในพื้นที่ ในการปรับปรุงสัญญาณ ในส่วนที่ไม่ครอบคลุม 3. สำรวจความครอบคลุมของสัญญาณโทรศัพท์ทุกประเภทในพื้นที่ 4. ประสานงานกับผู้ให้บริการโทรศัพท์ในพื้นที่ เพื่อปรับปรุงสัญญาณในส่วนที่ไม่ครอบคลุม 5. สำรวจเครื่องสื่อสารในพื้นที่ 6. จัดเตรียมบุคลากรประจำศูนย์รับแจ้งเหตุ 46 7. สั่งการไปยังหน่วยปฏิบัติการหรือชุดปฏิบัติการ เพื่อออกปฏิบัติการฉุกเฉินใน พื้นที่ที่ได้รับ มอบหมาย รวมถึงการประสานหน่วยกู้ภัยหรืออื่นๆ กรณีเกิด สาธารณภัยหรือภัยพิบัติ 8. บันทึกข้อมูลของศูนย์รับแจ้งเหตุทางโปรแกรม หรือรูปแบบที่กำ หนด และตัดยอด ปฏิบัติการทุกวันสิ้นเดือน รวมถึงรวบรวมรายงานจากหน่วยปฏิบัติการ/ ชุดปฏิบัติการ ส่ง สำนักงานระบบการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัด และสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เพื่อเบิกจ่ายงบ เพื่ออุดหนุนหรือชดเชยปฏิบัติการฉุกเฉินต่อไป 9. รวบรวมรายงานจากหน่วยปฏิบัติการ/ ชุดปฏิบัติการส่งสำนักงานระบบบริการการแพทย์ ฉุกเฉินจังหวัด และสำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร 3. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) มีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงาน ดังนี้ 3.1 กำหนดแผนการดำ เนินงานการแพทย์ฉุกเฉินตามนโยบายและแผนหลักการ แพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ที่คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน (กพฉ.) ให้ความเห็นชอบ 3.2 รวบรวมรายงานวิเคราะห์สถานการณ์ และตรวจสอบข้อมูล การเบิกจ่ายงบชดเชยการบริ การ การแพทย์ฉุกเฉิน(Pre-audit) ของจังหวัดที่รายงานทางอินเตอร์เน็ต รวมถึงการประเมินคุณภาพ และตรวจสอบการชดเชยการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน (Post-Audit) 3.3 จัดให้มีผู้ประสานงานเขตในการร่วมติดตาม กำกับการดำเนินงานด้านการแพทย์ ฉุกเฉินร่วมกับ สำนักตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข และกรุงเทพมหานคร ตามความเหมาะสม 3.4 ประสานกรณีเกิดสาธารณภัยและภัยพิบัติใหญ่ๆ ที่เกินขีดความสามารถของจังหวัด ในการขอความ ช่วยเหลือจากจังหวัด/เขตหรือหน่วยงานอื่นๆ 3.5 พิจารณาจัดสรรงบกองทุนการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่ออุดหนุนหรือชดเชยการปฏิบัติ การฉุกเฉิน และงบ เพื่อพัฒนาระบบและสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านการแพทย์ ฉุกเฉินให้กับผู้ปฏิบัติการ หน่วย ปฏิบัติการ สถานพยาบาล หรือ หน่วยงานอื่นๆ โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ในพื้นที่ และงบประมาณ ที่ได้รับจัดสรรในแต่ละปี การปฏิบัติการในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน วันที่ 6 มีนาคม 2551 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 โดย มีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 7 มีนาคม 2551 และจัดตั้งให้มีสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) มีหน้าที่กำหนดนโยบายและทิศทางของระบบการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทย ซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทย มีการพัฒนาอย่างเป็นระบบในทิศทางเดียวกัน มีมาตรฐานทัดเทียมกับต่างประเทศ พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน โดยมาตรา 3 ได้กำหนดคำนิยามขึ้นใหม่ ดังนี้ การแพทย์ฉ ุกเฉิน (Emergency Medicine) หมายถึง การปฏิบัติการฉุกเฉิน การศึกษา การฝึกอบรม การค้นคว้า และการวิจัย เกี่ยวกับการประเมิน การจัดการ การบำบัดรักษาให้พ้นภาวะ ฉุกเฉิน และป้องกันการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นฉุกเฉิน จำแนกเป็นการปฏิบัติการในชุมชน การปฏิบัติการต่อ ผู้ป่วยฉุกเฉินทั้งนอกโรงพยาบาลและในโรงพยาบาล ปฏิบัต ิการฉุก เฉิน (Emergency Medical operation) หมายถึง การปฏิบัติการด้าน การแพทย์ฉุกเฉินนับแต่การรับรู้ถึงภาวการณ์เจ็บป่วยฉุกเฉินจนถึงการดำเนินการให้ผู้ป่วยฉุกเฉิน ได้รับการ บำบัดรักษาให้พ้นภาวะฉุกเฉิน ซึ่งรวมถึงการประเมิน การจัดการ การประสานงาน การควบคุมดูแ ล การติดต่อสื่อสาร การลำเลียงหรือขนส่งผู้ป่วย การตรวจวินิจฉัย และการบำบัดรักษาพยาบาลผู้ป่วย ฉุกเฉินทั้งนอกสถานพยาบาลและในสถานพยาบาล 47 หน่วยปฏิบัต ิการ (Emergency Operation Division) หมายถึง หน่ว ยงานหรือองค์ก ร ที่ปฏิบัติการฉุกเฉิน ได้แก่ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้ องถิ่น กรมควบคุมโรค กรมอุตุนิยมวิทยา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงาน สาธารณสุขอำเภอ สถานี อนามัย ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ สถานพยาบาล องค์กรเอกชน มูลนิธิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงคณะบุคคล หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ องค์การ มหาชน และหน่วยงานอื่นที่ปฏิบัติการฉุกเฉิน หน่วยปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์หลัก คือ การให้การรักษาแก่ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน และนำส่งผู้ เจ็บป่วยไปยังโรงพยาบาลที่เหมาะสม ลักษณะทั่วไปของหน่วยปฏิบัติการ 1. มีสถานะเป็นนิติบุคคลหรือหน่วยงานของราชการ 2. มีผู้รับผิดชอบต่อหน่วยปฏิบัติการตรงและสามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง 3. มีหน่วยปฏิบัติการที่มีความพร้อมในการให้บริการตามมาตรฐานที่กำหนดตลอด 24 ชั่วโมง 4. รับผิดชอบความเสียหายจากการปฏิบัติงานที่เกินเลยหรือประมาท 5. มีสถานที่ตั้งและเครื่องมือสื่อสารที่มีสามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง 6. ในกรณีที่มีการตรวจสอบพบว่าผู้ให้บริการมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน จะมีการถอดถอนใบอนุญาต การเข้าร่วมเครือข่ายการปฏิบัติการตามมติคณะกรรมการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินระดับ จังหวัด หน้าที่ของหน่วยปฏิบัติการ 1. เตรียมความพร้อมให้มีหน่วยปฏิบัติการที่สามารถออกปฏิบัติหน้าที่ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 2. รับการประสานการแจ้งเหตุจากศูนย์รับแจ้งเหตุและจัดทำแบบบันทึกการปฏิบัติงาน 3. ให้หน่วยปฏิบัติการออกปฏิบัติงานได้ภายใน 2 นาที 4. ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นที่จำเป็นที่เป็นไปตามมาตรฐาน และลำเลียงผู้เจ็บป่วย นำส่ง โรงพยาบาลที่เหมาะสม 5. เมื่อหน่วยปฏิบัติการกลับถึงหน่วยบริการ แจ้งรายละเอียดการออกปฏิบัติงานและเลขไมล์ที่ใช้ใน การออกปฏิบัติงาน 6. สรุปรายงานเพื่อเบิกค่าใช้จ่ายสนับสนุนการปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติการ (Emergency Medical Personnel) หมายถึง บุคคลซึ่งปฏิบัติงาน เกี่ยวกับการแพทย์ฉุกเฉิน ตามที่คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินกำหนด ให้รวมหมายถึง บุคคลใดที่ ปฏิบัติการฉุกเฉินนับตั้งแต่บุคคลผู้พบเห็นเหตุการณ์ ผู้ช่วยเหลือ ตลอดจน ผู้ประกอบวิชาชีพด้าน การแพทย์และสาธารณสุข ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยฉุกเฉิน ได้แก่ 1. ผู้พบเห็นเหตุการณ์และแจ้งเหตุหรือผู้ช่วยเหลือเฉพาะเหตุ 2. ผู้รับแจ้งเหตุและสื่อสาร (Call Taker) 3. ผู้รับแจ้งเหตุและสั่งการช่วยเหลือ (Emergency Medical Dispatcher: EMD) 4. อาสาฉุกเฉินชุมชน (Community Emergency Volunteer) 5. ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น (First Responder) 6. เวชกรฉุกเฉินระดับต้น (Emergency Medical Technicians-Basic: EMT-B) 48 7. เวชกรฉุกเฉินระดับกลาง (Emergency Medical Technicians-Intermediate: EMT-I) 8. เวชกรฉุกเฉินระดับสูง (Emergency Medical Technicians-Paramedic: EMT-P) 9. พยาบาลฉุกเฉิน (Emergency Nurse : EN) 10. พยาบาลกู้ชีพ 11. แพทย์ (Physician) 12. แพทย์ฉุกเฉิน (Emergency physician : EP) 13. ผู้บัญชาการทางการแพทย์ (Medical commander) ในเหตุการณ์สาธารณภัย 14. ผู้ขับพาหนะฉุกเฉิน (Ambulance Vehicle Driver) 15. กรรมการและอนุกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน (Emergency Medical Committee & Sub Committee : EMCs& EMSCs) 16. พนักงานและลูกจ้างสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (Emergency Medical Institute of Thailand Personnel : EMIPTp) 17. หัวหน้าชุดปฏิบัติการ (Emergency Team Chief : ETC) 18. หัวหน้าฝ่ายการแพทย์ฉุกเฉิน (Emergency Medical Chief : EMC) 19. หัวหน้าสำนักงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัด (Provincial Chief of Emergency Medical Office : PCEMO) 20. บุคลากรอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินกำหนด ชุดปฏิบัติการ (Emergency Medical Team) หมายถึง ชุดที่จัดตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติการฉุกเฉิน ประกอบด้วย ผู้ปฏิบัติการ พาหนะเวชภัณฑ์ เครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการฉุกเฉิน ประเภท ของชุดปฏิบัติการต่าง ๆ เป็นไปตามที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกำหนด และได้ขึ้นทะเบียนไว้กับ หน่วยปฏิบัติการ จำแนกเป็น 1. ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น (First Response Team : FR) 2. ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับพื้นฐาน 2.1 ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินประเภท 1 หรือระดับกลาง (Intermediate Life Support Team: ILS) 2.2 ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินประเภท 2 หรือระดับต้น (Basic Life Support Team: BLS) 3. ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูง (Advanced Life Support Team : ALS) 1. ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น (EMR =Emergency Medical Responder ) 1.1 เป็นชุดปฏิบัติการที่มีขีดความสามารถในการประเมินและให้การปฐมพยาบาล ได้แก่ การดาม กระดูก การห้ามเลือด การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นต้น และการบริหารยาสามัญประจำบ้าน รวมทั้งการเคลื่อนย้าย ผู้ป่วยอย่างถูกวิธี โดยไม่มีการปฏิบัติที่จัดอยู่ในขอบเขตของการประกอบวิชาชีพเวชกรรม และอยู่ภายใต้ การควบคุมของแพทย์ หรือ พยาบาลประจำศูนย์รับแจ้งเหตุประสานการช่วยและสั่งการตามที่ กฎหมาย กำหนด ตลอดจนมี ท ั ก ษะการสื ่ อ สารและประสานกั บ ผู ้ เ กี ่ ย วข้ อ งเพี ่ อ การจั ด การภาวะฉุ ก เฉิ น ให้ มี ประสิทธิภาพ 1.2 สังกัดอยู่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมอบหมาย ให้ดำเนินการอย่างเป็นทางการ หรือหน่วยงานของรัฐอื่น ๆ (เช่น ตำรวจ ดับเพลิง อุทยานแห่งชาติ) หรือ องค์กรอื่นที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติรับรอง 49 1.3 ขณะปฏิบัติการดูแลและรับส่งผู้ป่วย ต้องมีบุคลากรปฏิ บัติงานอย่างน้อย 2 คน ที่ได้ขึ้ น ทะเบียนไว้เป็น “พนักงานปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น ” กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดโดยบุคคลากร ดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (1) มีสุขภาพแข็งแรงและปราศจากโรคที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน (2) ผ่านการฝึกอบรมและการประเมิ นความรู้ทักษะและเจตคติตาม “หลักสูตรปฐม พยาบาลและช่วยปฏิบัติการแพทย์ขั้นพื้นฐาน” ไม่เกิน 2 ปี รวมทั้งต้องผ่านการฝึกอบรมฟื้นฟูอย่างน้อยทุก 2 ปี “หลักสูตรปฐมพยาบาลและช่วยปฏิบัติการแพทย์ขั้นพื้นฐาน” ดังกล่าว ต้องมีระยะเวลาการฝึกอบรม มีจำนวนชั่วโมงไม่น้อยกว่า 40 ชม.และไม่เกิน 60 ชม.และต้องมีชั่วโมงภาคปฏิบั ติไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของ จำนวนชั่วโมงทั้งหมด จากสถาบันหรือหน่วยงานที่กระทรวงสาธารณสุข หรือคณะอนุกรรมการฝึกอบรม และสอบแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน หรือ สถาบันฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ ฉุกเฉิน ที่ได้ ร ับ รองจากแพทย์ส ภา หรือ สภาการพยาบาล หรือ กรมแพทย์ทหารบก หรือ กรมแพทย์ ทหารเรือ หรือ กรมแพทย์ทหารอากาศ หรือสำนักงานแพทย์ใหญ่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือ สถาบัน พระบรมราชชนก หรือ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติรบั รอง (3) บุคลากรที่ปฏิบัติงานดังกล่าวอย่างน้อย 1 คน จะต้องสามารถขับพาหนะเพื่อไปดูแล และรับส่งผู้ป่วยฉุกเฉินดังกล่าวได้และมีใบอนุญาตขับพาหนะนั้นตามที่กฎหมายกำหนด 1.4 มีพาหนะเป็นรถกระบะดัดแปลงหรือเรือมีประทุน ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็น “พาหนะปฏิบัติ การแพทย์ฉุกเฉินเบื้องต้น ” ไว้กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตามที่ก ำหนดไว้ในประกาศนี้ โดยพาหนะ ดังกล่าวต้องมีลักษณะพร้อมอุปกรณ์ อย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (1) มีพื้นที่รองรับการขนส่งผู้ป่วยไม่ต่ำกว่า ขนาดกว้าง 1.5 เมตร ยาว 2.0 เมตร และสูง 0.8 เมตร (2) มีเปลขนย้ายผู้ป่วยที่สามารถตรึงกับตัวถังพาหนะ (3) อุปกรณ์ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน อย่างน้อย ได้แก่ ก. อุปกรณ์ดามแขนขา ข. ชุดอุปกรณ์ปฐมพยาบาล ค. แผ่นรองหลังแบบยาวพร้อมอุปกรณ์ประคองศีรษะสายรัดตรึงศีรษะ (Long spinal board with head immobilizer) ง. เฝือกคอชนิดแข็ง(hard collar) จ. อุปกรณ์หนีบสายสะดือ (4) อุปกรณ์ป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ ได้แก่ ถุงมือ หน้ากากอนามัย (Mask) ถุง ขยะติดเชื้อ ผ้ากันเปื้อน รองเท้าบู๊ท (5) อุปกรณ์ควบคุมสถานการณ์ ได้แก่ กรวยจราจร ไฟฉาย เสื้อสะท้อนแสง เทปกั้นการจราจร (6) อุปกรณ์สื่อสารที่สามารถติดต่อกับศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการได้อย่างมีประสิทธิผล (7) คู่มือเกณฑ์วิธี (protocol) และคำสั่งประจำ (standing order) สำหรับการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะกับการคัดแยกผู้ป่วย (triage) การดูแลผู้ป่วย (treatment) การเคลื่อนย้ายและการขนส่งผู้ป่วย (transport) และการส่งต่อผู้ป่วย (transfer) 1.5 มีความพร้อมในการปฏิบัติการตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งวันทำการและวันหยุด บทบาทหน้าที่ของชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น 1. ปฏิบัติงานภายใต้ระเบียบการปฏิบัติงานของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน 50 2. ประเมินสถานการณ์เบื้องต้น 3. จำแนกประเภทผู้ป่วย (Triage) 4. ประเมินสภาพผู้ป่วย 5. สื่อสารประสานงานและขอความช่วยเหลือ เมื่อเกินขีดความสามารถ 6. ให้การปฐมพยาบาล การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน 7. เคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างถูกวิธี 8. ให้การดูแลผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินขณะนำส่ง 9. ส่งมอบผู้ป่วย ณ สถานพยาบาลตามการประสานงานกับศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ 10. บันทึกรายงานการปฏิบัติงาน 11. ทำความสะอาดรถปฏิบัติการและเก็บอุปกรณ์ 2. ชุดปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินระดับพื้นฐาน 2.1 เป็นชุดปฏิบัติการที่มีขีดความสามารถเพิ่มเติมจากชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น แบ่งออกเป็น สองระดับ คือ 2.1.1 ชุดปฏิบ ัติการฉุกเฉินประเภท 1 หรือระดับกลาง (Intermediate Life Support Team : ILS) สามารถประเมินและให้การพยาบาลขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การดามกระดูกแขน ขา การห้าม เลือด การช่วยฟื้นคืนชีพและการประคองชีพขั้นพื้นฐาน การล้างพิษขั้นพื้นฐาน การช่วยคลอดฉุกเฉิน และ การบริหารยากิน หรือ ยาพ่น สูดหรือยาอมใต้ลิ้นบางชนิด รวมทั้ งการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างถูกวิ ธี มี ความสามารถเพิ่มในการให้สารน้ำทางหลอดเลือด การเย็บแผล การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อและใต้ผิวหนัง ใส่ สายสวนปัสสาวะ และสายกระเพาะอาหาร โดยหัตการทั้งสองระดับอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์หรือ พยาบาลประจำศูนย์รับแจ้งเหตุการณ์ ตามทีก่ ฎหมายกำหนด ตลอดจนมีทักษะการสื่อสารและประสานกับ ผู้เกี่ยวข้องเพื่อการจัดการภาวะฉุกเฉินประสิทธิผล 2.1.2 ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินประเภท 2 หรือระดับต้น (Basic Life Support Team: BLS) สามารถประเมินและให้การพยาบาลขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การดามกระดูกแขน ขา การห้ามเลือด การช่วยฟื้น คืนชีพและการประคองชีพขั้นพื้นฐาน การล้างพิษขั้นพื้นฐาน การช่วยคลอดฉุกเฉิน และการบริหารยากิน หรือ ยาพ่น สูดหรือยาอมใต้ลิ้นบางชนิด รวมทั้งการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างถูกวิธี 2.2 ขณะปฏิบ ัติการดูแลและรั บส่งผู ้ป่ว ย ต้องมีบุคลากรที่ ไ ด้ข ึ้นทะเบียนไว้ กับสำนั ก งาน สาธารณสุขจังหวัด ปฏิบัติงานอย่างน้อย 2 คน โดยบุคลากรดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) บุคลากรอย่างน้อย 1 คน ต้องเป็นผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานสาธารณสุขไว้เป็น “พนักงานปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินขั้นพื้นฐาน” โดยบุคลากรดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ - พนักงานปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินระดับ 1 ต้องผ่านการเรียน ฝึกอบรมและประเมิน ความรู้ ทักษะ และเจตคติตาม “หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์” 2 ปี - และ พนักงานปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินระดับ 2 ต้องผ่านการฝึกอบรมเพิ่มเติ มจาก “หลักสูตรปฏิบัติการแพทย์ขั้นพื้นฐานและช่วยปฏิบัติการแพทย์ขั้นสูง ” ระยะเวลาการอบรม มีจำนวน ชั่วโมงไม่น้อยไม่น้อยกว่า 115 ชม.และไม่เกิน 130 ชม. และต้องมีภาคปฏิ บัติไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของ จำนวนชั่วโมงทั้งหมด โดยทั้งสองหลักสูตร ต้องผ่านการเรียน หรือฝึกอบรมจากสถาบัน หรือ หน่วยงาน กระทรวงสาธารณสุขหรือ คณะอนุกรรมการฝึกอบรม และสอบแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฉุกเฉิน หรือ สถาบันฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินที่ไ ด้รับการรับรองจากแพทย์สภา หรือ สภาการ พยาบาล หรือ กรมการแพทย์ทหารบก หรือ กรมการแพทย์ทหารบก หรือ กรมแพทย์ทหารเรือ หรือ กรม 51 แพทย์ทหารอากาศ หรือ สำนักงานแพทย์ใหญ่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือสถาบันพระบรมราชชนก หรือ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติรับรอง (2) บุคคลากรที่ปฏิบัติงานดังกล่าวอย่างน้อย 1 คน จะต้องสามารถขับพาหนะเพื่อไปดูแล และรับส่งผู้ป่วยฉุกเฉินดังกล่าวได้และมีใบอนุญาตขับพาหนะนั้นตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งต้องเป็นผู้ที่ ได้ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดไว้เป็น “พนักงานปฏิบัติการเบื้องต้น ” ตามที่กำหนดไว้ใน ข้อ 1.3 หรือสูงกว่า 2.3 มีพาหนะฉุกเฉินเพื่อเคลื่อนย้ายผู้ป่วยตามที่ กฎหมายจราจรทางบกและหรือกฎหมายว่าด้วย สถานพยาบาลกำหนด ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนเป็น “พาหนะปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินขั้นพื้นฐาน” ไว้กับสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัด โดยพาหนะดังกล่าวต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเติมจากที่กฎหมายดังกล่าวกำหนด ดังต่อไปนี้ (1) แผ่นรองหลังแบบยาวพร้อมอุปกรณ์ประคองศีรษะ (long spinal board with head immobilizer) (2) อุปกรณ์การดามและยึดตรึง ได้แก่ เฝือกคอชนิดแข็ง (hard collar) เฝือกชั่วคราว เพื่อดาม แขนขา และ KED (Kendric Extrication Device) (3) กระเป๋าชุดปฐมพยาบาล ประกอบด้วย ก. อุปกรณ์หนีบสายสะดือ (cord clamp) ข. อุปกรณ์ทำแผล ห้ามเลือด ค. ชุดเครื่องดูดเสมหะ ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ง. Pocket Mask จ. Oro-pharyngeal airway ฉ. เครื่องช่วยหายใจชนิดมือบีบ (Self inflating bag ของทารก เด็ก ผู้ใหญ่) ช. ถังออกซิเจนพร้อมอุปกรณ์การให้ออกซิเจน (Canula, Mask) ซ. ชุดทำคลอดฉุกเฉิน ฌ. อุปกรณ์ล้างตา (4) อุป กรณ์การตรวจพิเศษ ได้แก่ เครื่องวัดแรงดันโลหิต (Sphygmonanometer) เครื่องฟังหน้าอก (stethoscope) เครื่องตรวจกลูโคสในเลือดหรือพลาสมา (Glucometer) (5) ยาและเวชภัณฑ์อย่างน้อย ได้แก่ 5.1 ยาสามัญประจำบ้าน 5.2 ยากระตุ้นการอาเจียน (syrup of ipecac) 5.3 ผงถ่านกำมันต์ (activated charcoal) 20 กรัม/ห่อ จำนวน 5 ห่อ 5.4 Fuller’s earth 60 กรัม/ห่อ จำนวน 2 ห่อ (6) สายสวนปัสสาวะและสายใส่เข้ากระเพาะอาหาร (7) อุปกรณ์ให้สายน้ำทางหลอดเลือด (8) อุปกรณ์ป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ ได้แก่ ถุงมือ หน้ากากอนามัย (Mask) ถุงขยะ ติดเชื้อ ผ้ากันเปื้อน รองเท้าบู๊ท (9) อุปกรณ์ควบคุมสถานการณ์ ได้แก่ กรวยจราจร ไฟฉาย เสื้อสะท้อนแสง เทปกั้น การจราจร (10) อุปกรณ์กู้ภัยเบื้องต้น ได้แก่ ขวาน เชือกลากรถ ท่อ PVC ค้อน (11) อุปกรณ์สื่อสารที่สามารถติดต่อกับศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการได้อย่างมีประสิทธิผล 52 (12) คู่มือเกณฑ์วิธี (protocol) และคำสั่งประจำ (standing order) สำหรับการ ปฏิบัติงานขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับการคัดแยกผู้ป่วย (triage) การรักษาพยาบาลผู้ป่วย (treatment) การ เคลื่อนย้ายและการขนส่งผู้ป่วย (transport) และการส่งต่อผู้ป่วย (transfer) 2.4 มีมาตรฐานการให้บริการตามข้อบังคับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ว่าด้วยมาตรฐานการ ให้บริการสาธารณสุขของสถานพยาบาล 2.5 มีความพร้อมในการปฏิบัติการตลอด 24 ชั่วโมงทั้งวันทำการและวันหยุด บทบาทหน้าที่ของชุดปฏิบัติการระดับพื้นฐานประเภทที่ 1 หรือระดับกลาง 1. ปฏิบัติงานภายใต้ระเบียบการปฏิบัติงานของระบบการแพทย์ฉุกเฉิน 2. ประเมินสถานการณ์และควบคุมสถานการณ์จนกว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมาถึง 3. จำแนกประเภทผู้ป่วย (Triage) 4. ประเมินสภาพผู้ป่วยขั้นต้น ประเมินสภาพผู้ป่วยในลำดับต่อมา 5. ให้การช่วยเหลือภาวะคุกคามต่อชีวิตขั้นพื้นฐาน ได้แก่ จัดท่าเปิดทางเดิน หายใจ ดูดเสมหะ ใส่ Oropharyngeal airway ห้ามเลือด ช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ให้ยาและสารน้ำ 6. ประเมินสภาพผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง 7. สื่อสาร ประสานงานไปยังศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ เมื่อเกินขีดความสามารถ 8. ทำการปฐมพยาบาล ทำแผล ดามกระดูก ช่วยคลอดฉุกเฉิน 9. ยึดตรึงและเคลื่อนย้ายผู้ป่วย 10. ส่งมอบผู้ป่วย ณ สถานพยาบาลตามการประสานงานกับศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ 11. บันทึกรายงานการปฏิบัติงาน 12. ทำความสะอาดรถและเก็บอุปกรณ์ บทบาทหน้าที่ของชุดปฏิบัติการระดับพื้นฐานประเภทที่ 2 หรือระดับต้น 1. ปฏิบัติงานภายใต้ระเบียบการปฏิบัติงานของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน 2. ประเมินสถานการณ์และควบคุมสถานการณ์จนกว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมาถึง 3. จำแนกประเภทผู้ป่วย (Triage) 4. ประเมินสภาพผู้ป่วยขั้นต้น รวมถึงสัญญาณชีพและอาการทางระบบประสาท 5. สื่อสาร ประสานงานไปยังศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ เมื่อเกินขีดความสามารถ 6. ให้การช่วยเหลือภาวะคุกคามต่อชีวิตขั้นพื้นฐาน ได้แก่ จัดท่าเปิดทางเดินหายใจ ดูดเสมหะ ใส่ Oropharyngeal airway ห้ามเลือด ช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน 7. ทำการปฐมพยาบาล ทำแผล ดามกระดูก ช่วยคลอดฉุกเฉิน 8. ยึดตรึงและเคลื่อนย้ายผู้ป่วย 9. ส่งมอบผู้ป่วย ณ สถานพยาบาลตามการประสานงานกับศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ 10. บันทึกรายงานการปฏิบัติงาน 11. ทำความสะอาดรถและเก็บอุปกรณ์ 3. ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูง 3.1 เป็ น ชุ ด ปฏิ บ ั ต ิ ก ารที ่ ม ี ข ี ด ความสามารถในการประเมิ น การประคองชี พ และให้ ก าร รักษาพยาบาลขั้น ก้าวหน้า ได้แก่ การใช้เครื่องกระตุ้นและเฝ้าตรวจการทำงานของหัว ใจ (Cardiac defibrillation and monitoring) การช่วยหายใจขั้นสูง การทำหัตถการและการให้ยาเพื่อรักษาชีวิต และการล้างพิษขั้นสูง รวมทั้งการเฝ้าตรวจวัดและการบริหารทางเวชกรรมอ ื่น ๆ ที่จำเป็นในการรักษาชีวิต 53 ตลอดจนเคลื่อนย้ายผู้เจ็บป่วยด้วยอุปกรณ์ช่วยเหลือที่เหมาะสมอย่างถูกต้องตลอดจนมีทักษะการสื่อสาร และประสานกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อการจัดการภาวะฉุกเฉินให้มีประสิทธิผล 3.2 มีบุคลากรปฏิบัติงานในขณะปฏิบัติการดูแลและรับส่งผู้ป่วยอย่างน้อย 3 คน โดยบุคลากร ดังกล่าว มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (1) พยาบาลวิชาชีพ หรือนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (1) ที่ผ่านการฝึกอบรมและการประเมิน ความรู้ ทักษะ และเจตคติตามหลักสูตรปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินขั้ นสูงจากสถาบัน หรือ หน่วยงานที่ คณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์รับรองไม่เกิน 2 ปี รวมทั้งต้องผ่าน การฝึกอบรมฟื้นวิชาอย่างน้อยทุก 2 ปี และได้ขึ้นทะเบียนเป็น “พนักงานปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง” ไว้กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โดยปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมของแพทย์ประจำศูนย์รับแจ้งเหตุและ สั่งการตามทีก่ ฎหมายกำหนด (2) พนักงานฉุกเฉินการแพทย์ขั้นพื้นฐานอีกอย่างน้อย 2 คน ซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ กำหนด ในข้อ 2.2 3.3 มีพาหนะฉุกเฉินเคลื่อนย้ายผู้ป่วยตาที่ กฎหมายว่าด้วยจราจรทางบกและหรื อกฎหมายว่าด้วย สถานพยาบาลกำหนด ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนเป็น “พาหนะปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง ” ไว้กับสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดโดยพาหนะดังกล่าวต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเติมจากที่กฎหมายดังกล่าวกำหนด ดังต่อไปนี้ (1) อุปกรณ์ในการช่วยชีวิตขั้นสูง ก. เครื่องกระตุ้นและเฝ้าตรวจการทำงานของหัวใจ ข. Self-inflating bag อย่างน้อย 2 ขนาด พร้อมหน้ากากขนาดต่าง ๆ ค. อุปกรณ์เปิดทางหายใจ (Oropharyngeal airway) สำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ง. อุปกรณ์ในการใส่ท่อช่วยหายใจ จ. ถังออกซิเจนติดในพาหนะ 1 ถัง และชนิดเคลื่อนย้ายได้ 1 ถัง ฉ. เครื่องดูดเสมหะและสายขนาดต่าง ๆ ช. อุปกรณ์การให้ออกซิเจน ซ. เครื่องพ่นละออง (nebulizer) ฌ. สายสวนกระเพาะอาหาร (Nasogastric tube) พร้อมอุปกรณ์ล้างกระเพาะอาหาร ญ. เครื่องตรวจวัดระดับกลูโคสในเลือดหรือพลาสมา (Glucometer) ฎ. เครื่องตรวจระดับออกซิเจนในเลือด (Pulse oximeter) (2) อุปกรณ์ขนย้ายลำเลียง ก. แผ่นรองหลังแบบยาวพร้อมอุปกรณ์ประคองศีรษะและสายรัดตรึงศีรษะ (long spinal board with head immobilizer) ข. เฝือกคอชนิดแข็ง (Hard collar) และเฝือกชั่วคราวเพื่อดามแขนขา ค. KED (Kendric Extrication Device) (3) ยาและเวชภัณฑ์ อย่างน้อยดังต่อไปนี้ ก. Aspirin ชนิดเคี้ยว 81 มก. จำนวน 5 เม็ด ข. Atropine sulfate ชนิด 0.6 มก./มล. จำนวน 20 หลอด ค. Calcium gluconate 10% ชนิดฉีด 10 มล. และ หรือ Calcium chloride 10 % ชนิดฉีด 10 มล. รวม จำนวน 2 หลอด 54 ง. Charcoal Activated ชนิดผง 20 กรัม /ห่อ จำนวน 5 ห่อ จ. Dexamethasone ชนิดฉีด 4 มก./มล. หรือ 5 มก./มล. จำนวน 2 หลอด ฉ. Diazepam ชนิดฉีด 10 มก/ 2 มล. จำนวน 2 หลอด ช. Diphenhydramine HCI ชนิดฉีด 50 มก./มล. และหรือ Chlopheniramine maleate ชนิดฉีด 10 มก./มล. จำนวน 2 หลอด ซ. Epinephine (Adrenaline) ชนิดฉีด 1 มก./มล. และหรือ 1 มก./มล. รวม 5 หลอด ฌ. Fuller’s earth ชนิดผง 60 กรัม/ห่อ จำนวน 2 ห่อ ญ. Flurosemide ชนิดฉีด 20 มก./มล. จำนวน 2 หลอด ฎ. Glucose 50% ชนิดฉีด 50 มล.จำนวน 2 หลอด และหรือ 20 มล. จำนวน 5 หลอด ฐ. Isosorbide dinitrate หรือ Glyceryl tinitrate ชนิดอมหรือพ่นใต้ลิ้น จนวน 5 เม็ดหรือ เทียบเท่า ฑ. Lidocian HCI ชนิดฉีด 100 มก./ 5 มล. จำนวน 1 หลอด หรือเทียบเท่า ฒ. Naloxone ชนิดฉีด 0.4 มก/มล. จำนวน 2 หลอด ณ. Normal Saline Solution (0.9% Sodium Chloride) ชนอดฉี ด 1,000 มล. จำนวน 2 ถุง/ขวด ด. Morphine Sulfate ชนิดฉีด 10 มก./มล. จำนวน 2 หลอด ต. Salbutamol sulfate ชนิดพ่นละออง 2.5 มล. จำนวน 2 หลอด และหรือ 10 มล. จำนวน 10 หลอด ท. Thiamine ชนิดฉีด 100 มก./มล. จำนวน 2 หลอด (4) กระเป๋าชุดพยาบาล ก. น้ำยาทำแผลชนิดต่าง ๆ ข. อุปกรณ์ในการทำแผล ค. อุปกรณ์ในการป้องกันการติดเชื้อ ง. อุปกรณ์ในการทำคลอด (5) อุปกรณ์สื่อสารที่สามารถติดต่อกับศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการได้ (6) คู่มือเกณฑ์วิธี (protocol) และคำสั่งประจำ (standing order) สำหรับการปฏิบัติงานขั้น พื้นฐานเกี่ยวกับการคัดแยกผู้ป่วย (triage) การรักษาพยาบาลผู้ป่วย (treatment) การเคลื่อนย้ายและการ ขนส่งผู้ป่วย (transport) และการส่งต่อผู้ป่วย (transfer) (7) มีมาตรฐานการให้บริการตามข้อบังคับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ว่าด้วยมาตรฐานการ ให้บริการสาธารณสุขของสถานพยาบาล (8) มีความพร้อมในการปฏิบัติการตลอด 24 ชั่วโมงทั้งวันทำการและวันหยุด บทบาทหน้าที่ของหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินระดับสูง 1. ปฏิบัติงานภายใต้ระเบียบการปฏิบัติงานของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน 2. ประเมินสถานการณ์และควบคุมสถานการณ์จนกว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมาถึง 3. จำแนกประเภทผู้ป่วย (Triage) 4. ประเมินสภาพผู้ป่วยขั้นต้น ประเมินสภาพผู้ป่วยในลำดับต่อมา 5. ให้การช่วยเหลือภาวะคุกคามต่อชีวิตขั้นพื้นฐาน ได้แก่ จัดท่าเปิดทางเดินหายใจ ดูดเสมหะ ใส่ Oropharyngeal airway ใส่ท่อช่วยหายใจ ห้ามเลือด ช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ให้ยาและสารน้ำ 6. ประเมินสภาพผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง 55 7. สื่อสาร ประสานงานไปยังศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ เมื่อเกินขีดความสามารถ 8. ทำการปฐมพยาบาล ทำแผล ดามกระดูก ช่วยคลอดฉุกเฉิน 9. ยึดตรึงและเคลื่อนย้ายผู้ป่วย 10. ส่งมอบผู้ป่วย ณ สถานพยาบาลตามการประสานงานกับศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ 11. บันทึกรายงานการปฏิบัติงาน 12. ทำความสะอาดรถและเก็บอุปกรณ์ เขตพื้นที่ปฏิบัติการ (EMS Response Zone) เขตพื้น ที่ปฏิบัติการ (EMS Response Zone) หมายถึง ขอบเขตพื้นที่ที่กำหนดให้หน่วย ปฏิบัติการแต่ละหน่วย รับผิดชอบให้บริการประชาชน โดยมีเกณฑ์การแบ่งพื้นที่ให้บริการ ตามสภาพ ภูมิศาสตร์ และหรือเขตการปกครอง ที่ตั้งของถนนสายหลัก โดยคำนึงถึงสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างความ หนาแน่นของประชากรที่อยู่อาศัย ความถี่ในการเรียกใช้บริการต่อจำนวนหน่วยปฏิบัติการ การแบ่งพื้นที่ จำนวนหน่ ว ย ALS, ILS และ BLS ได้ น ำผลการศึ ก ษาของสถาบั น วิ จ ั ย ระบบสาธารณสุ ข โดยศาสตราจารย์นายแพทย์สันต์ หัตถีรัตน์ จากการศึกษาสถิติผู้ป่วยทั่วประเทศที่มาห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน ประมาณ 6 ล้านคน/ ปี โดย 10 % จะเป็นผู้ป่วย Emergent 20 % เป็นผู้ป่วย Urgent และอีก 70 % เป็ น ผู ้ ป ่ ว ย Non-urgent ประชาชนที ่ ต ้ อ งการการบริ ก ารระดั บ ALS คื อ ในกลุ ่ ม Emergent ส่วนประชากรที่ต้องการการบริการระดับ BLS คือ กลุ่ม Urgent จากการคิดสัดส่วนดังกล่าวจะคำนวณ ได้ดังนี้ จำนวนประชากร 200,000 คน จะต้องมีหน่วยปฏิบัติการระดับ ALS 1 หน่วย จำนวนประชากร 200,000 คน จะต้องมีหน่วยปฏิบัติการระดับ BLS 2 หน่วย การจ่ายเงินเพื่ออุดหนุนหรือชดเชยการปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน พระราชบัญ ญัติการแพทย์ฉุ กเฉิน โดยมาตรา 33 ให้จัดตั้ง “กองทุนการแพทย์ฉุ กเฉิ น ” มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน รวมทั้งอุดหนุนหรือเป็นค่าชดเชยให้กับ ผู้ปฏิบัติการ หน่วยปฏิบัติการหรือสถานพยาบาลที่ดำเนินการเกี่ยวกับการแพทย์ฉุกเฉิน ทั้งนี้โดยคำนึงถึง การปฏิบัติการในเขตพื้นที่หรือภูมิประเทศที่ไม่มีผู้ปฏิบัติการ หน่วยปฏิบัติการ หรือสถานพยาบาลเพียงพอ รวมถึงส่งเสริมการมีบทบาทตามความพร้อม ความเหมาะสม และความจำเป็นของประชาชนในท้องถิ่น โดยประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรดังกล่าวเป็นผู้ดำเนินงานและ บริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่โดยอาจได้รับการอุดหนุนจากกองทุน ก. ขั้นตอนการปฏิบัติ 1. ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินต้องขึ้นทะเบียนกับสำนักงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัด 2. หน่วยปฏิบัติการหรือชุดปฏิบัติการได้รับการสั่งการจากศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัด โดยชุดปฏิบัติการจะต้องออกปฏิบัติการทันที และต้ องบันทึกรายละเอียดในแบบบันทึกการ ปฏิบัติงานบริการการแพทย์ฉุกเฉินฯ 3. หน่วยปฏิบัติการรวบรวมแบบบันทึกการปฏิบัติงานหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน ของชุด ปฏิบัติการ เพื่อส่งขอเงินชดเชยการให้บริการจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ทั้งนี้กรณีที่ หน่วยปฏิบัติการหรือชุดปฏิบัติการได้รับการแจ้งโดยตรงจากผู้แจ้งเหตุหรือผู้ประสบเหตุให้แจ้ง 56 ประสานไปยังศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัด เพื่อขออนุมัติออกปฏิบัติการก่อนจึงจะออก ให้บริการได้ มิฉะนั้นจะไม่สามารถเบิกเงินค่าชดเชยบริการได้ 4. ชุดปฏิบัติการจะต้องติดตามผลการรักษาพยาบาลจนถึงวันสิ้นเดือนของเดือนนั้นๆ (ยกเว้นชุด ปฏิบัติการฉุกเฉินระดับต้น) ข. วิธีการส่งข้อมูล หน่วยปฏิบัติการตัดยอดการให้บริการทุกวันที่ 20 ของเดือน ส่งแบบบันทึกการปฏิบัติงานไปยัง สำนักงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัด ภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป เอกสารและหลักฐานที่ใช้ในการเบิกจ่าย 1. บันทึกการปฏิบัติงานปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินของหน่วยปฏิบัติการ ซึ่งมี 2 ฉบับ ได้แก่ ก. แบบบันทึกการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินขั้นพื้นฐาน (สีชมพู) ข. แบบบันทึกการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง (สีเขียว) โดยแต่ละแบบบันทึกจะมีต้นฉบับสีชมพูหรือเขียว กระดาษสำเนาสีเหลือง และสีขาวใช้ต้นฉบับสี ชมพูหรือเขียวประกอบการเบิกจากศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ โดยปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด (ข้อ 1-4) กรอกข้ อ มู ล ในแบบบั น ทึ ก และรายงานผลการประเมิ น การนำส่ ง (ข้ อ 5) ส่ ว นผลการรั ก ษาของ สถานพยาบาล ข้อมูลที่ 6 ในเอกสารข้อ 1 ใช้สำเนาสีเหลือง 2. สรุปรายงานการขอเบิกค่าตอบแทนการจัดบริการของหน่วยปฏิบัติการ 3. หนังสือนำแจ้งการขอเบิกค่าตอบแทน 4. แบบบันทึกการรับแจ้งเหตุของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ค. การควบคุมคุณภาพและอัตราการอุดหนุนหรือชดเชย โดยจะปรับอัตราการจ่ายตามผลการปฏิบัติงานจริง 1. ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น (FR) ได้รับค่าชดเชยบริการเป็นเงิน 350 บาทต่อการให้บริการ 1 เที่ยว 2. ชุ ดปฏิ บ ั ต ิ การแพทย์ ฉ ุ ก เฉิ นระดั บพื ้ นฐาน (BLS) ได้ ค ่ าชดเชยบริ การ 500 บาท ต่ อการ ให้บริการ 1 เที่ยว 3. ชุดปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินระดับกลาง (ILS) ได้ค่าชดเชยบริการ 750 บาท ต่อการให้บริการ 1 เที่ยว 4. ชุดปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินระดับสูง (ALS) ได้ค่าชดเชยบริการ 1,000 บาท ต่อการให้บริการ 1 เที่ยว 5. ถ้าชุดปฏิบัติการออกปฏิบัติงานตามคำสั่งศูนย์ฯ แล้วศูนย์สั่งยกเลิกกลางทางหรืออก ปฏิบัติงานแล้วไม่พบผู้ป่วยจะได้ค่าตอบแทน 20 % ของราคาค่าบริการแต่ละระดับ 6. ถ้าชุดปฏิบัติการให้การรักษาพยาบาลแล้วผู้ป่วยเสียชีวิต หรือไม่ประสงค์จะไปโรงพยาบาลให้ แจ้งกลับมาที่ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ทันที เพื่อจะได้เป็นหลักฐานการเบิกจ่าย โดยถ้า หน่วยปฏิบัติการให้การพยาบาลแล้วจะเบิกจ่ายได้ 100 % 7. ถ้ามีผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินหลายรายหรือเกิดอุบัติเหตุหมู่จะจ่ายให้ตามจำนวนเที่ยวที่ให้บริการโดย ใช้หลักการว่าผู้ป่วย 1 รายต่อการวิ่ง 1 เที่ยว 8. กรณีที่เป็น BLS ออกไปแล้วพบว่าเป็น ALS ให้ BLS ทำการรักษาพยาบาลไปก่อนจนกว่า ALS จะมาถึง โดยทั้ง 2 หน่วยจะได้รับเงิน 100 % เท่ากัน ง. เงื่อนไขในการเบิกจ่าย 57 1. หน่วยปฏิบัติการ ต้องได้รับคำสั่งจากศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ โดยให้เป็นดุลยพินิจของ ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ในการวินิจฉัยสภาพผู้เจ็บป่วย และสมควรได้รับการดูแลและ รับส่งโดยหน่วยปฏิบัติการลักษณะใด หากมีการเปลี่ยนแปลงหน่วยปฏิบัติการต้อ งให้ศูนย์รับ แจ้งเหตุและสั่งการทราบก่อนทันที 2. ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์การออกปฏิบัติงาน 3. ต้องมีผลประเมินการนำส่งจากแพทย์หรือพยาบาลประจำโรงพยาบาลที่นำส่งหรือโดยศูนย์รับ แจ้งเหตุและสั่งการ 4. ปฏิบัติตามข้อง 1-3 ครบถ้วนสมบูรณ์ จ่าย ร้อยละ 80 ของอัตราที่กำหนดไว้ 5. หน่ ว ยปฏิ บ ั ต ิ ก ารระดั บ BLS และ ALS ที ่ ม ี ก ารดู แ ลและนำส่ ง ผู ้ เ จ็ บ ป่ ว ยแล้ ว ต้ อ งมี ผลการรั ก ษาของสถานพยาบาล โดยการติ ด ตามภายหลั ง จากผู ้ เ จ็ บ ป่ ว ยอ อกจาก สถานพยาบาลแล้ว หรือทุกวันสิ้นเดือน ถ้าไม่มีให้ลดอัตราการจ่ายลงเหลือร้อยละ 80 ของอัตราที่กำหนดไว้ จ. ขั้นตอนการเบิกจ่าย 1. หน่วยปฏิบัติการรวบรวมเอกสารการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติการ ตัดยอดการบริการทุก วันที่ 20 เวลา 24.00 น. ของเดือ น เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการเบิกค่าใช้จ่าย และสรุป รายงานการขอเบิกค่าตอบแทน และแบบบันทึกการปฏิบัติงานของหน่วยปฏิบัติการ พร้ อม หนังสือนำส่งไปยังศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป 2. สำนักงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัด สรุปรายงานการเบิกค่าใช้จ่ายซึ่งได้รับการ ตรวจสอบแล้ว แจ้งให้สำนักงานประกันสุ ขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ของแต่ละจังหวัดทราบ โดยไม่ต้องส่งเอกสารประกอบการเบิกของหน่วยบริการ 3. สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จ่ายเงินค่าตอบแทนการจัดบริการให้แก่สำนักงาน ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดภายใน 15 วันหลังจากสำนักงานระบบบริการการแพทย์ ฉุกเฉินประจำจังหวัด แจ้งสรุปค่าใช้จ่าย เพื่อดำเนินการจ่ายให้แก่หน่วยปฏิบัติการต่อไป การจ่ายเงินเพื่ออุดหนุนหรือชดเชยการปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินทางน้ำ การปฏิบัติการฉุกเฉินกับผู้ป่วยฉุกเฉินที่ไ ด้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยกะทันหัน อาจมีภยันตรายต่อ การดำรงชีวิตหรือการทำงานของอวัยวะสำคัญ ซึ่งผู้ป่วยมีอาการแสงดอยู่ในขั้นวิก ฤตและฉุกเฉิน ซึ่งการ เจ็บป่วยนั้นอยู่ในเขตพื้นที่หรือภูมิประเทศที่เป็นเกาะ แม่น้ำ หรือทะเล ไม่มีผู้ปฏิบัติการหรือมีไม่เพียงพอ จำเป็นต้องประสานความร่วมมือและการสนับสนุนทรัพยากรซึ่งกันและกัน จากหน่วยปฏิบัติการทางน้ำ การจ่ายเงินอุดหนุนหรือเป็นค่าชดเชยให้กับผู้ปฏิบัติการ หน่วยปฏิบัติการ หรือสถานพยาบาล คำนิยาม ปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินทางน้ำ หมายถึง ปฏิบัติการฉุกเฉินที่ใช้การลำเลียงหรือ ขนส่ง โดย ใช้เรือเป็นพาหนะเพื่อไปรับผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยที่จุดเกิดเหตุหรือขนส่งเครื่องมือ อุปกรณ์ การแพทย์ เวชภัณฑ์หรือบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ โดยแบ่งประเภทชุดปฏิบัติการ 1. ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้นประเภทหนึ่ง หมายถึง ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น ที่ใช้พาหนะ ในการลำ เลียงหรือขนส่ง โดยเรือเร็ว 2 เครื่องยนต์ โดยมีผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น (FR) อย่างน้อย 2 คน 58 2. ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้นประเภทสอง หมายถึง ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้นที่ ใช้พาหนะ ในการลำเลียงหรือขนส่ง โดยเรือเร็ว 1 เครื่องยนต์โดยมีผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน เบื้องต้น (FR) อย่างน้อย 2 คน 3. ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้นประเภทสาม หมายถึง ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้นที่ ใช้พาหนะ ในการลำเลียงหรือขนส่ง โดยเรือหางยาว โดยมีผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้อง ต้น (FR) อย่างน้อย 1 คน การปฏิบัติของผู้เกี่ยวข้องในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินหรือผู้แจ้งเหตุสามารถแจ้งเหตุด้วยขั้นตอนเช่นเดียวกับการปฏิบัติการการแพทย์ ฉุกเฉินทั่วไป โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้ ขั้นตอนการปฏิบัติ 1. ชุดปฏิบัติการฉุกเฉิน ต้องขึ้นทะเบียนกับสำนักงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินจั งหวัด หรือ หน่วยปฏิบัติการที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) กำหนด 2. ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดหรือศูนย์สื่อสารสั่งการของหน่วยปฏิบัติการที่ สพฉ. กำหนด เป็นหน่วยปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินทางน้ำ กรณีที่พิจารณาว่าจำเป็นต้องใช้เรือประเภทหนึ่ง หรือสอง และมีระยะทางไป-กลับตั้งแต่ 16 กิ โลเมตรขึ้นไปให้รายงานแพทย์ผู้ดูแลรักษาหรือ แพทย์ ผู้รับผิดชอบของสถานพยาบาล เพื่อขอความเห็นชอบจากนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดหรือผู้ที่ได้รับ มอบหมายจากนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด หรือจาก สพฉ. 3. นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่หรือผู้รับมอบหมายจากนายแพทย์สาธารณสุ ขจังหวัด หรือจาก สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินติดต่อประสานงานหน่วยปฏิบัติการในพื้นที่ที่มีชุดปฏิบัติการฉุกเฉินทางน้ำ ที่จำเป็นและ เหมาะสม 3.1 เพื่อไปรับผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยที่จุดเกิดเหตุ 3.2 เพื่อเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยในภาวะวิกฤต หรือ 3.3 ขนส่งเครื่องมือ อุปกรณ์การแพทย์เวชภัณฑ์ หรือบุคลากรเชี่ยวชาญ 4. หน่วยปฏิบัติการจัดชุดปฏิบัติการฉุกเฉินที่จำเป็นและเหมาะสมออกปฏิบัติการตามภารกิจ ข้อ 3.1 ,3.2 และ/หรือ 3.3 5. ชุดปฏิบัติ การจะต้องออกปฏิบัติการทันที และต้องบันทึกรายละเอียดในแบบบันทึก การ ปฏิบัติงานหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินเบื้องต้น 6. สำนักงานระบบบริการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัด จัดทำรายงานและเอกสารส่งสถาบันการแพทย์ ฉุกเฉินแห่งชาติเพื่อตรวจสอบและเบิกจ่ายค่าชดเชยบริการ 7. กรณีที่ผู้ป่วยมีผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย เช่น ประกันสุขภาพหรืออุบัติเหตุ หรือนักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติที่มีรัฐบาลต่างประเทศหรือต้นสังกัด ให้โรงพยาบาลดำเนินการเบิกค่าใช้จ่ายผู้รับผิดชอบก่อน 8. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ดำเนินการเบิกจ่ายค่าชดเชยให้แก่ห น่วยปฏิบัติการ เช่น อบจ. ภูเก็ต ที่สนับสนุนชุดปฏิบัติการฉุกเฉินทางน้ำหรื อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อมอบให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป อัตราการอุดหนุนหรือชดเชย ตามระเบียบคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินว่าด้วย การรับเงินการจ่ายเงินและการเก็บ รักษา เงินกองทุน พ.ศ. 2552เห็นชอบการกำหนดอัตราการเบิกจ่ายค่าชดเชยบริการ ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินทางน้ำ และเพิ่มเติมตามมติคณะกรรมการบริหารงบกองทุนการแพทย์ฉุกเฉิน 59 ตารางแสดง อัตราการจ่ายเงินอุดหนุนหรือชดเชยทางน้ำ หน่วยปฏิบัติการ ระยะทางไป-กลับ (กม.) / อัตราชดเชย (บาท/ครั้ง) พื้นที่ปฏิบัติการ ชุดปฏิบัติการ 5-10 16-50 51-100 มากกว่า 100 ทางน้ำ ประเภทสาม 1,200 3,000 4,000 ประเภทสอง 2,000 5,000 10,000 50,000 ประเภทหนึ่ง 5,000 35,000 35,000 50,000 หมายเหตุ 1. อัตราค่าใช้จ่ายตามจริงไม่เกินอัตราที่กำหนด 2. กรณีที่มีการใช้ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินทางน้ำไม่เป็นไปตามประเภทข้างต้น ให้อนุโลมใช้ประเภท ทีใ่ กล้เคียง 3. หากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเกินกว่าอัตราที่กำหนดข้างต้น แต่มีความจำเป็นต้องปฏิบัติ การเพื่อให้ ความช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินให้รอดพ้นจากการเสียชีวิตหรือพิการ ให้นำเสนอเพื่อขออนุมัติจ่าย ค่าชดเชย จากคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เป็นกรณีๆไป 4. กรณีเกิดภัยพิบัติ หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ทางน้ำ สามารถเบิกค่าชดเชยบริการชุดปฏิบัติการ ฉุกเฉินทางน้ำได้ การจ่ายเงินเพื่ออุดหนุนหรือชดเชยการปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินด้วยอากาศยาน เพื่อให้การปฏิบัติการฉุกเฉิน กับผู้ป่วยฉุกเฉินที่ได้รับบาดเจ็บหรือการป่วยกะทันหัน และอาจมี ภยันตรายต่อการดำรงชีวิตหรือการทำงานของอวัยวะสำคัญ ซึ่งผู้ป่วยอยู่ในขั้นวิกฤติ และการป่วยฉุกเฉิน นั้นอยู่บนพื้นที่หรือภูมิประเทศที่ไม่มีผู้ปฏิบัติการ หน่วยปฏิบัติการเพียงพอ พื้นที่ห่างไกล พื้ นที่เกาะ หรือพื้นที่ที่อยู่ในระหว่างประสบภัยพิบัติ โดยไม่สามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยยานพาหนะปกติทางบกหรื อ ทางน้ำได้ จำเป็นต้องประสานงานเพื่อใช้อากาศยานของหน่วยงาน/องค์กรต่าง ๆ ในการสนับสนุนการ ปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน อุดหนุนหรือชดเชยให้แก่ผู้ปฏิบั ติการ ที่ดำเนินการเกี่ยวกับการแพทย์ ฉุกเฉินและได้ขึ้นทะเบียนไว้ คำนิยาม ปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินด้วยอากาศยาน หมายถึง ปฏิบัติการฉุกเฉินที่ใช้ การลำเลียง หรือขนส่งโดยใช้เฮลิคอปเตอร์ (อากาศยานปีกหมุน) หรือจากอากาศยานอื่นๆ เป็น พาหนะลำเลียงหรือ ขนส่ง และให้สำนักงานระบบการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดหรือสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร หรือ หน่วย ปฏิบัติการที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกำหนดรวบรวมเอกสารหลักฐานเบิกจ่ายเงินเพื่ออุดหนุนหรือ ชดเชยการปฏิบัติการฉุกเฉินด้วยอากาศยานจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาต การปฏิบัติของผู้เกี่ยวข้องในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ผู้ป่วยฉุกเฉิน หรือผู้แจ้งเหตุสามารถแจ้งเหตุด้วยขั้นตอนเช่นเดียวกับการปฏิบัติการฉุกเฉิน ทางบก ทั้งนี้ส่วนที่มีความแตกต่าง คือ การรับแจ้งเหตุของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ เพื่อจัดชุดปฏิบัติการด้วย อากาศยานไปให้บริการที่เหมาะสม กรณีที่ผู้ป่วยฉุกเฉินมีกองทุนที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวข้องกับการจัดบริการ ด้านสาธารณสุข หรือการแพทย์ โดยกำหนดการขนส่งหรือส่งต่อด้วยอากาศยานไว้แล้ว เช่น การขนส่งผู้ป่วย สิทธิ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าระหว่างโรงพยาบาลให้เบิกค่าใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กำหนด 60 ก. เกณฑ์การคัดเลือกผู้ป่วยฉุกเฉินที่ได้รับการช่วยเหลือด้วยอากาศยาน ผู้ป่วยเจ็บป่วยฉุกเฉินที่อยู่ในประเทศไทย ที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยในขั้นวิกฤตและฉุกเฉิน ต้องมีอาการแสดงของผู้ป่วยที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและมีข้อบ่งชี้ ดังนี้ 1. อาการแสดงของผู้ป่วยในขณะนั้น 1.1 ผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะด้านระบบหัวใจและหลอดเลือด 1.2 ผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะด้านระบบทางเดินหายใจ การหายใจ 1.3 ผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีการบาดเจ็บหลายระบบอย่างรุนแรง 1.4 ผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะด้านหลอดเลือดสมอง 1.5 ผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะช็อกอย่างรุนแรง 1.6 ผู้ป่วยฉุกเฉินที่ต้องได้รับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน 1.7 ผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีการบาดเจ็บที่ศีรษะและไขสันหลังขั้นรุนแรง 1.8 ผู้ป่วยฉุกเฉินด้านสูติกรรมที่ส่งผลต่อชีวิตของมารดาและบุตรในครรภ์ 1.9 ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะอื่น ๆ ที่อันตรายชีวิต ตามวินิจฉัยของแพทย์ผู้ดูแล 2. สถานที่อยู่ของผู้ป่วยขณะแสดงอาการ 2.1 พื้นที่ทุรกันดาร พื้นที่ห่างไกล พื้นที่เกาะ พื้นที่ประสบภัย 2.2 พื้นที่ที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยยานพาหนะปกติสู่การรักษาที่เหมาะสม 3. ระยะทาง/ ระยะเวลา ที่ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลอย่างทันท่วงที ระยะทางและระยะเวลา ที่ใช้ในการนำส่งผู้ป่วยเข้ารับการรักษาต้องมีผลต่อการมีชีวิตหรือการ รุนแรงขึ้นของการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยนั้น ซึ่งอาจจะเกิดความพิการได้ในภายหลัง ข. ขั้นตอนการปฏิบัติ 1. ชุดปฏิบัติการในพื้นที่ หน่วยปฏิบัติการที่ได้รับการแจ้งเหตุ ร้องขอรับการสนับสนุน ไปยังศูนย์ รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัด 1669 ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัด พิจารณาและรายงาน เพื่อขอรับการ สนับสนุน โดยพิจารณาตามกรณีดังนี้ 1.1 กรณีภัยพิบัติและจำเป็น ผู้มีอำนาจในการอนุมัติประกอบด้วย เลขาธิการ สถาบัน การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติหรือรองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน แห่งชาติ และคณะกรรมการแพทย์ ฉุกเฉินแห่งชาติ หรือผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข โดยให้มีมติ2 คนขึ้นไป 1.2 กรณีภัยพิบัติและจำเป็นในต่างจังหวัด ผู้มีอำนาจในการอนุมัติขอใช้ อากาศยาน ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธร นายแพทย์ สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลทุกระดับ เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติรองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน แห่งชาติโดยให้ มีมติ2 ใน 6 1.3 กรณีเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในกรุงเทพมหานคร หรือพัทยา ผู้มีอำนาจ ในการอนุมัติ ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ผู้อำนวยการสำ นักการ แพทย์กรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) แพทย์ ผู้ดูแลผู้ป่วยเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ พิจารณาตาม หลักเกณฑ์การส่งต่อผู้ป่วย โดยให้มี มติ2 ใน 7 61 2. ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัด 1669 ในพื้นที่นั้นๆ แจ้งประสานเบื้องต้นกับหน่วยบินที่อยู่ ในพื้นที่ และประสานขอรับการสนับสนุนอากาศยาน จากสถาบันการแพทย์ ฉุกเฉินแห่งชาติ หรือศูนย์ สื่อสารสั่งการนเรนทร หมายเลขโทรศัพท์ 0 2591 9769 หรือประสานหน่วยบิน 3. เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย พิจารณาให้การ สนับสนุน ตามหลักเกณฑ์ที่กำ หนด 4. กรณีที่เห็นสมควรให้การสนับสนุน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติจะประสานการ ขอใช้ อากาศยานไปยังหน่วยงานสนับสนุนอากาศยานที่ได้ลงนามความร่วมมือไว้แล้ว 5. เมื่อได้รับการสนับสนุนอากาศยานแล้ว สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ จะแจ้ง ผลการ พิจารณาไปยังศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัด หมายเลขโทรศัพท์ 1669 เพื่อประสานงานการออก ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยประสานกับหน่วยบิน ที่ได้รับมอบหมายให้ออกปฏิบัติการและชุด ปฏิบัติการฉุกเฉินทางอากาศยาน (Sky doctor) ที่จะร่วมในการเดินทาง และนัดหมายเตรียมความพร้อม และวางแผนในการ ลำ เลียงผู้ป่วยด้วยอากาศยาน 6. ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัด รายงานผลการประสานและวางแผนปฏิบัติการ ลำ เลียง ผู้ป่วยด้วยอากาศยานให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติทราบ 7. สำหรับหน่วยแพทย์ต้นทาง ติดต่อประสานงานหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉิน หรือชุดปฏิบัติ การใน พื้นที่ที่เกิดเหตุ หรือใกล้เคียงพร้ อมทีมแพทย์ฉุกเฉินที่พร้อมปฏิบัติการบิน เพื่อรับผู้ป่วยฉุกเฉิน หรือขนส่ง อุปกรณ์การแพทย์ เวชภัณฑ์และหรือทีมผู้เชี่ยวชาญ ไปยังจุดเกิดเหตุ เมื่อหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉิน หรือชุด ปฏิบ ัติการฉุกเฉิน ทางอากาศยาน ปฏิบัติการเสร็จสิ้น ให้ห น่ว ยปฏิบัติการต้นทางบันทึกข้อมูล ลงใน แบบฟอร์มประจำ 22 แนวทางการจ่ายเงินเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ปีงบประมาณ 2553-2555 ตัวผู้ป่วยลำเลียงทางอากาศ (สำหรับชุดปฏิบัติการ HEMS 2) แล้วส่งเอกสารดังกล่าว ให้สำ นักงานสาธารณสุขจังหวัดที่ร้องขอการสนับสนุนอากาศยาน 8. ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัด 1669 บันทึกข้อมูลในแบบฟอร์มประจำ ตัวผู้ ป่วย ลำ เลียง ทางอากาศ ส่งเอกสารแบบขอใช้อากาศยานลำ เลียงผู้ป่วยทางอากาศยาน (สำหรับหน่วยร้องขอ HEMS 1 ) รายงานผลการปฏิบัติการลำ เลียงผู้ป่วยทางอากาศ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณเมื่อเสร็จภารกิจ ให้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของเอกสาร 9. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของเอกสารที่มีผู้ลงนามอนุมัติ ครบถ้วนแล้ว ส่งให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ 10. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติดำเนินการเบิกจ่ายค่าชดเชยการปฏิบัติการฉุกเฉิน ทาง อากาศยาน ให้แก่หน่วยปฏิบัติการบิน หรือ สำ นักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต่อไป 11. กรณีผ ู้ป ่ว ยฉุกเฉิน มีผ ู้ร ั บ ผิดชอบค่า ใช้จ่า ย เช่น ผู้มีประกันสุขภาพ หรือ อุบัติเหตุ หรือ นักท่องเที่ย วชาวต่างชาติ ที่ม ีป ระกัน สุ ขภาพต่า งประเทศ หรือบริษัทต้นสังกัดให้ โรงพยาบาล หรือ สถานพยาบาลบริการที่ดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน ให้ดำเนินการเบิกค่าใช้จ่ายจากผู้รับผิดชอบก่อน ค. อัตราการอุดหนุนหรือชดเชย 1. จ่ายจากกองทุนการแพทย์ฉุกเฉิน ตามระเบียบคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินว่าด้วยการรับ เงิน การจ่ายเงินและการเก็บรักษาเงินกองทุน พ.ศ.2552 โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ พิจารณา กรณีให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อส่งผู้ป่วยจนพ้นวิกฤติและฉุกเฉิน โดยไม่คำนึงถึงสิทธิประกัน 62 ยกเว้นกรณีที่ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินมีกองทุนที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวข้องกับการจัดบริการด้านสาธารณสุข หรือการแพทย์ โดยกำหนดการขนส่งหรือส่งต่อด้วยอากาศยานไว้แล้ว เช่น การขนส่งผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง ระหว่างโรงพยาบาลให้เบิกค่าใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด 2. จ่ายอุดหนุนหรือชดเชยตามจริงไม่เกิน อัตรา 40,000 บาท ต่อชั่วโมงบิน และเศษของชั่วโมง ไม่เกิน 30 นาที คิดเป็นอัตราไม่เกิน 20,000 บาท และเศษของชั่วโมงระหว่าง 31-60 นาที คิดเป็นอัตรา ไม่เกิน 40,000 บาท 3. การจ่ายชดเชยค่าบริการจากเงินกองทุนการแพทย์ฉุกเฉินหรือกองทุนหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ หรือหน่วยงานองค์กรที่รับผิดชอบให้หน่วยปฏิบัติการระดับสูง ที่เข้าร่วมโครงการ ส่งแบบฟอร์ม เป็นหลักฐาน ทั้งนี้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติจะเป็นผู้ประสนการเบิกจ่ายค่าชดเชย 4. กรณีที่ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเกินกว่าอัตรากำหนด แต่จำเป็นต้องปฏิบัติการ ให้นำเสนอขออนุมัติ คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินเป็นกรณีไป เอกสารอ้างอิง พรทิพย์ สายสุ ด. (2554) เอกสารประกอบการสอน วิชา บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ๑ โรงเรียน นาวิกเวชกิจ ศูนย์วิทยาการ กรมแพทย์ทหารเรือ. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2556) คู่มือแนวทางปฏิบัติ การรับรองรถบริการการแพทย์ ฉุกเฉิน นนทบุรี. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน แห่งชาติ. (2559) คู่มือบริหารจัดการการฝึกอบรม ปฏิบัติการแพทย์ขั้น พื้นฐานและช่วยปฏิบัติการแพทย์ขั้นสูง ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น พี เพลส. แบบฝึกหัด/งานมอบ 1. จงบอกถึง หน้าที่ของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัด / ศูนย์เอราวัณ กรุงเทพมหานคร 2. ระดับการบริการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทยมีกี่ระดับ 3. จงบอกถึงบทบาท/หน้าที่ของชุดปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ระดับกลาง 4. จงอธิบายถึงการจ่ายเงินอุดหนุนหรือเงินชดเชยการปฏิบัติการฉุกเฉินทางน้ำ เฉลยแบบฝึกหัด 1. หน้าที่ของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัด / ศูนย์เอราวัณ กรุงเทพมหานคร มีดังนี้ - จัดทำเครือข่ายระบบรับแจ้งเหตุและสั่งการ ติดต่อสื่อสารเพื่อประสานงานปฏิบัติ - จัดเตรียมและใช้เลขหมายโทรศัพท์ 1669 ในการรับแจ้งเหตุของศูนย์ - สำรวจความครอบคลุมของสัญญาณโทรศัพท์ทุกประเภทในพื้นที่ - ประสานงานกับผู้ให้บริการโทรศัพท์ในพื้นที่ เพื่อปรับปรุงสัญญาณในส่วนที่ไม่ ครอบคลุม - สำรวจเครื่องสื่อสารในพื้นที่ - จัดเตรียมบุคลากรประจำศูนย์รับแจ้งเหตุ - ประสานการสั่งการไปยังหน่วยปฏิบัติการหรือชุดปฏิบัติการออกปฏิบัติการในพื้นที่ที่ ได้รับมอบหมาย - บันทึกข้อมูลของศูนย์รับแจ้งเหตุทางอินเตอร์เน็ต 63 - รวบรวมรายงานจากหน่วยปฏิบัติการ/ ชุดปฏิบัติการส่งสำนักงานระบบบริการ การแพทย์ฉุกเฉินจังหวัด และสำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร 2. ระดับการบริการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทยมี 2 ระดับ ได้แก่ 2.1 Basic Life Support (BLS) ระดับพื้นฐาน ไ 2.2 Advanced Life Support (ALS) ระดับสูง 3.บทบาท/หน้าที่ของชุดปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ระดับกลาง - ปฏิบัติงานภายใต้ระเบียบการปฏิบัติงานของระบบการแพทย์ฉุกเฉิน - ประเมินสถานการณ์และควบคุมสถานการณ์จนกว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมาถึง - จำแนกประเภทผู้ป่วย (Triage) - ประเมินสภาพผู้ป่วยขั้นต้น ประเมินสภาพผู้ป่วยในลำดับต่อมา - ให้การช่วยเหลือภาวะคุกคามต่อชีวิตขั้นพื้ นฐาน ได้แก่ จัดท่าเปิดทางเดิน หายใจ ดูดเสมหะ ใส่ Oropharyngeal airway ห้ามเลือด ช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ให้ยาและสารน้ำ - ประเมินสภาพผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง - สื่อสาร ประสานงานไปยังศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ เมื่อเกินขีดความสามารถ - ทำการปฐมพยาบาล ทำแผล ดามกระดูก ช่วยคลอดฉุกเฉิน - ยึดตรึงและเคลื่อนย้ายผู้ป่วย - ส่งมอบผู้ป่วย ณ สถานพยาบาลตามการประสานงานกับศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ - บันทึกรายงานการปฏิบัติงาน - ทำความสะอาดรถและเก็บอุปกรณ์ 4. การจ่ายเงินอุดหนุนหรือเงินชดเชยการปฏิบัติการฉุกเฉินทางน้ำ มีดังนี้ หน่วยปฏิบัติการ พื้นที่ปฏิบัติการ ชุดปฏิบัติการ ทางน้ำ ระดับต้นประเภทสาม ระดับต้นประเภทสอง ระดับต้นประเภทหนึ่ง ระยะทางไป-กลับ (กม.) / อัตราชดเชย (บาท/ครั้ง) 5-10 16-50 51-100 มากกว่า 100 1,200 3,000 4,000 2,000 5,000 10,000 50,000 5,000 35,000 35,000 50,000 64 แผนการสอนสัปดาห์ที่ 3 ชื่อบทเรียน การเตรียมความพร้อมการปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ จำนวนชั่วโมง 4 ชม. (ทฤษฎี) จุดประสงค์การสอน (จุดประสงค์ทั่วไป) 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมการปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ 2. เพื่อให้นักเรียนตระหนัก และให้ ความสำคัญเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมการปฏิบัติการ ฉุกเฉินการแพทย์ 3. เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ เรื่ องการเตรียมความพร้อมการปฏิ บัติการฉุกเฉินการแพทย์ ไป ประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการเรียนรู้ (จุดประสงค์เฉพาะ) 1. ระบุโรคติดต่อที่ผลจากการปฏิบัติงานในระบบการแพทย์ฉุกเฉินได้ 2. อธิบายวิธีการใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองจากการติดเชื้อได้ 3. บอกวิธีการแพร่กระจายเชื้อโรค 4. ระบุวิธีการป้องกันเชื้อโรคได้ 5. แสดงขั้นตอนการล้างมืออย่างถูกวิธีได้ 6. อธิบายถึงผลกระทบของความเครียดที่มีต่อร่างกาย และจิตได้ วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน 1. การบรรยาย 2. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สื่อการสอน/อุปกรณ์การสอน 1. Power point 2. เอกสารประกอบการสอน การวัดผล 1. การสอบความรู้ 2. รายงาน / งานมอบ 3. จิตพิสัย 65 หัวข้อการบรรยาย การเตรียมความพร้อมการปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ กล่าวนำ การปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินต้องเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ทั้ง เรื่องความรู้ และทักษะต่าง ๆ เป็นอย่างดี ทั้ง นี้เนื่องจากการปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน เป็นการ ปฏิบัติงานในสภาวะเร่งด่วน ภายใต้ทรัพยากรทางการแพทย์ที่จำกัด ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินต้องตระหนักและ ให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเรื่องของความปลอดภัยของตนเองและทีม เช่น การป้องกันการติดเชื้อ อุบัติเหตุ ซ้ำซ้อน ฯลฯ ดังนั้นการเตรียมความพร้อมเรื่องต่าง ๆ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง 1. ความปลอดภัยและสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน บุคลากรที่ปฏิบัติงานในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน จะต้องทำงานกับผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน ประสบกับ สถานการณ์ที่เสี่ยงอันตราย และก่อให้เกิดความเครียด ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ ครอบครัว และ สังคมของผู้ปฏิบัติการ ซึ่งผู้ปฏิบัติการทุกคนจะต้องตระหนักถึงความเครียดที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ต่างๆ เช่น ผู้ป่วยเสียชีวิต การเรียนรู้เพื่อที่จะเผชิญกับปัญหาที่ก่อให้เกิดความเครียด จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติการ ฉุกเฉินปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข 1.1 โรคติดต่อ การปฏิบัติงานในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ และเข้าใจถึง โรคติดต่อที่พบบ่อย เนื่องจากอาจสัมผัสกับผู้ป่วยได้ เพื่อจะได้รู้จักวิธีการป้องกัน และการ สัมผัส ไม่ให้เกิดการติดเชื้อต่อผู้ปฏิบัติงาน โรคติดที่พบบ่อย ได้แก่ 1.1.1 ตับอักเสบ (Hepatitis) เป็นการติดเชื้อของตับจากเชื้อไวรัสชนิดไดชนิดหนึ่ง ไวรัสตับอักเสบเอ ไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งการแพร่กระจายเชื้อเหมือนกับเอดส์ สามารถติดต่อโดยการสัมผัสน้ำลาย หรือเลือด ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินจะต้องให้ความ สนใจและจะต้องใช้หลั กป้องกันแบบครอบจักรวาล (Universal Precaution) เช่นเดียวกับโรคเอดส์ การฉีดวัคซีนตับอักเสบบี จะช่วยในการป้องกันได้ 1.1.2 เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) เกิดจากเชื้อไวรัส แบคทีเรียหรือเชื้อโรค ชนิดอื่นๆ เยื่อหุ้มสมองอักเสบอาจเกิดร่วมกับการติดเชื้อในระบบทางเดิน หายใจ อาการ มีไข้ ปวดศีรษะรุนแรง คอแข็ง และมีการเปลี่ยนแปลงความรู้ สติ เชื้อโรคสามารถติดต่อได้จากสารคัดหลั่งของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งอาจเกิด จากการทำ Mouth to Mouth 1.1.3 โรคอีสุกอีใส (Chicken pox) โรคอีสุกอีใส สามารถติดต่อได้โดยการสัมผัสสาร คัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจและแผลผุพอง ผู้ป่วยบางรายอาจมี ภาวะแทรกซ้อน เช่น หายใจตื้นจากภาวะปอดอักเสบ ซึ่งจำเป็นต้องนำส่ง โรงพยาบาล ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน จะต้องใช้วิธีป้องกันตนเอง โดยการสวมถุงมือ ผูก Mask 1.1.4 โรคหัด (Measles) เป็นโรคที่มีการกระจายเชื้อโรคโดยการสัมผัส กับน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ การฉีดวัคซีน มี ความจำเป็นควรได้รับอย่างครบถ้วนตั้งแต่แรก เกิด โรคไข้หวัดมีการติดต่อในผู้ใหญ่ ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน ควรใช้ความระมัดระวัง ในการดูแลผู้ป่วย หลีกเลี่ยงการสัมผัสตัวและสิ่งคัดหลั่งถ้า ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินยัง ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคนี้ 66 1.1.5 โรคหัดเยอรมัน (Rubella) มีการแพร่กระจายเชื้อโดยการไอ จาม ติดต่อทาง สาร คัดหลั่งของผู้ป่วย ผู้หญิงตั้งครรภ์หรือไม่แน่ใจว่าตั้งครรภ์ จะต้องหลีกเลี่ยง การสัมผัสกับผู้ป่วย ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน จะต้องรู้ว่าตัว เองได้รับการฉีดวัคซีน ป้องกันโรคนี้ หรือยัง 1.1.6 วัณโรคปอด (Tuberculosis) การแพร่กระจายเชื้อโดยการไอ จาม ผู้ป่วยโรค นี้ควรสวม Mask เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น บุคลากรที่ดูแลต้อง สวม Mask ด้วยเช่นกัน 1.1.7 เหาและหิด เหา จะทำให้มีการติดเชื้อที่ศีรษะ ร่างกาย บริเวณหัวเหน่า ติดต่อ โดยการสัมผัสอย่างใกล้ชิด หิด มักพบบริเวณนิ้ว ติดต่อโดยการสัมผัสอย่าง ใกล้ชิด เหาและหิด มีวิธีการรักษาเหมือนกัน 1.1.8 COVID-19 เป็นโรคระบาดใหญ่ระดับ Pandemic (ตามประกาศWHO) เป็นโรค ที่สามารถติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ การแพร่กระจายเชื้อโดยการไอ จาม และสัมผัสสารคัดหลั่ง ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินจำเป็นต้องชุดปฏิบัติการ level C หาก ทราบว่าผู้ป่วยมีผลการตรวจ positive 1.2 วัคซีนที่ผู้ปฏิบัติการควรได้รับ 1.2.1 ผู้ใหญ่ทั่วไป วัคซีน เดือนที่ ข้อแนะนำ T (บาดทะยัก) 0,1,6 - วัคซีนบาดทะยักเป็นวัคซีนที่ใช้เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ่มกันโรค DT (บาดทะยักกับคอตีบ) บาดทะยัก หรือกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคบาดทะยัก DPT(บาดทะยั ก คอตี บ ไอกรน) HB ไวรัสตับอักเสบ 0,1,6 - ควรเจาะเลือดตรวจ HBV markers ที่เหมาะสม (HbsAg , Anti HBs หรือ Anti HBc) ก่อนพิจารณาให้วัคซีน JE 0 - 2 สัปดาห์ - เฉพาะผู้ที่จะเข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่มโี รคนี้ชุกชุม และควรได้รับ 12 เดือน วัคซีนครบ 2 ครั้งเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน ก่อนเข้าพื้นที่ ดังกล่าว - สตรีมีครรภ์หรือสตรีก่อนแต่งงาน วัคซีนป้องกันโรคหัด คาง 0 , 1 - สำหรับสตรีที่ไม่เคยมีประวัติฉีดวัคซีนชนิดนี้มาก่อนในวัยเด็ก - ห้ามฉีดในขณะตั้งครรภ์ ทูม หัดเยอรมัน (MMR - ฉี ดก่ อนแต่ งงาน หรื อถ้ าหลั งแต่ งงานต้ องแน่ ใจว่ ามี การ Vaccine) คุมกำเนิด 100 % - หลังฉีดวัคซีนครบแล้ว ควรคุมกำเนิดต่อไปอีก อย่างน้อย 1 เดือน วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก 0, 1 , 6 - ฉีด 2 ครั้งคือในระหว่างตั้งครรภ์ 1 ครั้งและหลังคลอด 1 ครั้ง ตารางการให้วัคซีน 67 1.2.2 วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า เมื่อถูกสุนัข แมว หนู ค้างคาวกัด ไม่ว่าสัตว์ที่กัดจะมี อาการหรือไม่ หากแผลที่ถูกกัดมีเลือดออก ควรรีบทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่ และตามด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ และนำผู้ที่ถูกกัดไปรับวัคซีน หากเป็นไปได้ควรกักสัต ว์ วัคซีนป้องกันโรคนี้เป็นวัคซีนเชื้อตาย มีหลาย บริษัทบางวัคซีนผลิตจากไวรัสที่เป็นเซลล์เพาะเลี้ยง บางวัคซีนได้รับไวรัสจากไข่เป็ดฟัก คนที่แพ้ไม่ควร ได้รับวัคซีนที่ผลิตจากไข่ กรณีผู้ถูกกัดมีบาดแผลหลายแผลและถูกกัดใกล้บริเวณศีรษะ ควรได้รับอิมมูนโน โกบูลินป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าด้วย 1.2.3 วัคซีนป้องกันโรคไวรัสไข้หวัดใหญ่ เมื่อมีการระบาดในพื้นที่ บุคคลในพื้นที่ที่ควร ได้รับวัคซีนคือ เด็กและคนชรา ผู้ที่มีโรคปอดเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ เบาหวาน โรคไต โรคเลือด ภูมิบกพร่อง ชนิดของวัคซีนเป็นวัคซีนตายหรือวั คซีนหน่วยย่อย ประกอบด้วยไวรัส 3 สายพันธุ์ ได้แก่ ไวรัสไข้หวัดเอ 2 สายพันธุ์ (H1N1 และ H3N2) และไวรัสไข้หวัดใหญ่บี 1 สายพันธุ์ทั้ง 3 สายพันธุ์ เป็นสายพันธุ์ที่มีการระบาดในปัจจุบัน การฉีดในเด็ก 6 เดือน- 8 ปี ให้ฉีด 1 -2 เข็ม (ห่างกัน 1 เดือน) เด็กโตและผู้ใหญ่ฉีด 1 เข็ม 1.3 ความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน 1.3.1 การป้องกันส่วนต่างๆ ของร่างกาย ความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินและผู้ป่วย - ล้างมือ - ป้องกันตาโดยการสวมแว่นตาถ้าใช้แว่นสายตาอยู่แล้วอาจสวมทับด้วยที่ป้องกัน - ถุงมือยาง จำเป็นเมื่อต้องสัมผัสเลือดหรือของเหลวจากผู้ป่วยและ ควรเปลี่ยนทุก ครั้งเมื่อสัมผัสผู้ป่วยอื่น - ถุงมือเอนกประสงค์ ใช้สำหรับทำความสะอาดยานพาหนะและเครื่องมือ - เสื้อคลุม (กาวน์) ใช้ในกรณีที่มีการกระเด็นเปื้อนมากๆ เช่น อุบัติเหตุรุนแรงหรือ คลอดก่อนถึงโรงพยาบาล - หน้ากากครอบปากและจมูก (mask) • ใช้ในกรณีที่อาจมีการกระเด็นของเลือด-โดยผู้ให้การดูแลผู้ป่วยเป็น ผู้ใช้ • ใช้ในกรณีที่อาจมีการแพร่โรคจากผู้ป่วย โดยให้ผู้ป่วยเป็นผู้ใส่ • การใช้ High Efficiency Particulate Air respirator ในกรณีสงสัย ว่าผู้ป่ว ยเป็นวัณโรค โดยให้ผ ู้ดูแลผู้ ป่ว ยเป็ นผู ้ใส่ - ต้องฝึกโดย ผู้เชี่ยวชาญ • การขจัดสิ่งสกปรกและการทำความสะอาด ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน ควร รีบทำความสะอาด เลือดที่กระเด็นออกมาโดยเร็ว และใช้อุปกรณ์ ป้องกัน โดยใช้ถุงมือ รองเท้า บู๊ท แว่นตา หลังจากใช้แล้วให้ทิ้ง ใส่ถุงพลาสติกสีแดง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ หลังจากเอา อุปกรณ์ออกไปแล้วจะต้องทำความสะอาดบริเวณที่ถูกสัมผัสด้วย น้ำยาฆ่าเชื้อ ปล่อยให้พื้นแห้ง สิ่งแรกที่ควรทำต้องเอาสิ่งปนเปื้อน ออกก่อนแล้วจึงถอดถุงมือ ทิ้งลงในถุงแดง ล้างมือหลังจากถอดถุง มือ ผ้าและเสื้อผ้า ควรแยกเสื้อผ้าที่เปื้อนไว้ในถุงแดงหรือถุงผ้า เปื้อน ล้ างมือหลังจากเก็บเสื้อผ้าลงถุงแล้ว ถ้ามีการสัมผัส สิ่ ง ปนเปื้อนมา ให้รีบทำความสะอาดร่างกายและเปลี่ยนเสื้อผ้า 68 1.3.2 การป้องกันตัวเอง - วัตถุอันตราย • เมื่อสงสัยว่าจะมีอันตราย 1) ใช้กล้องส่องทางไกล 2) แผ่นป้ายประกาศ 3) คู่มือวัตถุอันตราย • เสื้อผ้าที่ช่วยป้องกันอันตราย 1) ชุดสำหรับผจญวัตถุอันตราย 2) อุปกรณ์สำหรับหายใจในตัว • มีผู้เชี่ยวชาญเรื่องวัตถุอันตรายควบคุมสถานการณ์โดยเฉพาะ 1) เจ้ า พนั ก งานฉุ ก เฉิ น การแพทย์ จ ะให้ ก ารดู แ ลผู ้ ป ่ ว ย ก็ ต ่ อ เมื่ อ สถานการณ์ ป ลอดภั ย แล้ ว และสามารถจำกั ด การปนเปื ้ อ นวั ต ถุ อ ั น ตราย ของผู้ป่วยได้ 2) ต้องมีการอบรมเป็นพิเศษในเรื่องวัตถุอันตราย 1.3.3 การจำแนกและขั้นตอนลดภาวะอันตราย - สิ่งมีอันตรายสูงต่อชีวิตและต้องรีบหาทางลดความรุนแรง • ไฟฟ้าตัดกระแสไฟฟ้า ใช้วัสดุที่เป็นฉนวนคล้องตัวผู้ป่วยออกมา • ไฟไหม้ จะเข้าไปในสถานที่ ที่เกิดเหตุไฟไหม้เมื่อควบคุมเพลิงได้แล้ว • ระเบิด ห้ามเข้า จนกว่าจะควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว • วัตถุอันตราย อยู่เหนือลมและรายงานหน่วยปฏิบัติการจำเพาะ ไม่เข้า ไปช่วยเหลือผู้ป่วยจนกว่าจะได้รับการส่งต่อผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุอันตราย ที่เข้าไประงับเหตุแล้วและได้รับอนุญาตจากแพทย์ผู้ควบคุม - เสื้อผ้าที่ช่วยป้องกันอันตราย • ชุดสวมใส่ป้องกันอันตราย • ถุงมือที่ตรวจแล้วว่าไม่ทะลุ • หมวกนิรภัย • แว่นป้องกันตา 1.3.4 การทำร้าย - ต้องมีตำรวจควบคุมสถานการณ์นั้นได้ก่อนที่ ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน จะให้การดูแล รักษาผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ - การปฏิบัติตน ณ จุดที่เกิดเหตุทำร้าย • ห้าม เข้าไปยุ่งเกีย่ วในเหตุการณ์ยกเว้นในเรื่องการดูแลรักษาผู้ป่วย • ระวังอย่าทำลายหลักฐาน 1.4 การป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ หมายถึงการปฏิบัติเพื่อป้องกันมิให้เชื้อจากผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ หรือ ผู้ที่มีเชื้ออยู่แต่ไม่ปรากฏอาการ แพร่ไ ปสู่ผู้ป่วยอื่นสู่บุคลากรทางการแพทย์ หรือญาติผู้ป่ว ย การป้ อ งกั น การแพร่ ก ระจายเชื ้ อ อาจทำได้ ห ลายวิธ ี ได้ แ ก่ การแยกผู ้ ป ่ ว ย การทำความสะอาดมือ 69 การทำลายเชื้อบนวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ด้วยวิธีการที่เหมาะสม เป็นต้น ในกรณีที่ผู้ป่วยสามารถ แพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น สู่บุคลากรทางการแพทย์และญาติ มีความจำเป็นต้องแยกผู้ป่วยอย่างเหมาะสม เนื่องจากการแยกผู้ป่วยอาจทำให้ เกิดความไม่สะดวกในการให้การรักษา ทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่าย เพิ่มเติมขึ้น ในบางกรณีอาจก่อให้เกิดปัญหาทางด้านจิตใจแก่ผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ป่วยเด็ ก การเลือกวิธีแยก ที่เหมาะสมจะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และสามารถป้องกันการแพร่กระจายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เชื้อโรคสามารถแพร่กระจายจากผู้ป่วยที่เป็นโรคหรือผู้ที่เป็นพาหะของโรคไปสู่ผู้อื่นได้ด้วยวิธีการ ต่างๆ เชื้อโรคบางชนิดสามารถแพร่กระจายได้มากกว่า 1 วิธี บุคลากรผู้ให้การดูแลผู้ป่วยจำเป็นต้องมี ความรู้เกี่ยวกับวิธีการแพร่กระจายเชื้อ เพื่อให้สามารถป้องกันผู้ป่วยไม่ให้ได้ รับเชื้อและป้องกันตนเองให้ ปลอดภัยจากการติดเชื้อขณะปฏิบัติงาน วิธีการแพร่เชื้อ 4.1 วิธีการแพร่กระจายเชื้อ มี 3 วิธี ดังนี้ 4.1.1 การแพร่กระจายเชื้อโดยการสัมผัส (contract transmission) แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ การสัมผัสทางตรง(direct contract transmission) การสัมผัสทางอ้อม (indirect contract transmission) 4.1.2 การแพร่กระจายเชื้อโดยละอองฝอยน้ำมูกน้ำลาย (droplet contract transmission) 4.1.3 การแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ (airborne transmission) 4.2 การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ มี 2 ประเภท คือ 4.2.1 Standard precaution วิธีการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในผู้ป่วยทุกราย โดยคำนึงว่าผู้ป่วยทุกรายอาจจะมีเชื้อโรคที่สามารถติดต่อได้ทางเลือดและสารคัดหลั่งจากร่างกายทุกชนิด (body fluid, secretion, excretion ยกเว้นเหงื่อ) ผิวหนังที่มีแผลและเยื่อบุ (mucous membrane ) เป็นการนำแนวทางป้องกันการติดเชื้อโดยวิธี Universal Blood and body fluid precautions และ Body substance isolation มารวมกัน 4.2.2 Transmission-based precautions เป็ น วิ ธ ี ก ารป้ อ งกั น การแพร่ ก ระจายเชื้ อ ในผู้ป่วยที่ทราบการวินิจฉัยแล้ว โดยป้องกันตามกลวิธีการติดต่อเพิ่มเติมด้วย standard precautions ดังนี้ 4.2.1.1 Airborne precautions 4.2.1.3 Contract precaution 4.2.1.2 Droplet precautions 4.3 Standard precautions เป็ น มาตรฐานป้อ งกั น การกระจายเชื้ อ ที ่จ ะต้ อ งปฏิ บั ต ิ เพื่ อ ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางเลือด สารน้ำ สารคัดหลั่งของผู้ป่วยโดยให้คำนึงว่าผู้ป่วยทุกรายอาจมีเชื้อ โรคในร่างกายที่ส ามารถติดต่อโดยเลือ ดและสารคั ดหลั่ง (body fluid, secretion, excretion ) ได้แ ก่ น้ำคร่ำ น้ำในเยื่อหุ้มปอด น้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ น้ำในช่องท้อง น้ำไขสันหลัง น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด น้ำเหลืองหรือหนองของผู้ป่วย อุจจาระ ปัสสาวะ เสมหะ ยกเว้นเหงื่อ การสัมผัสกับผิวหนังที่มีแผลหรือ เยื่อบุต่างๆ วิธีปฏิบัติ มีดังนี้ 4.3.1 การล้างมือและการสวมถุงมือ (hand washing and gloving ) การล้างมือเป็นวิธีการที่ดี ที่สุดในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากคนหนึ่งสู่อีกคนอื่นๆ การล้างมืออย่างถูกวิธีก่อนให้การดูแล ผู้ป่วย ก่อนการสัมผัสผู้ป่วยแต่ละราย หลังจากสัมผัสวารคัดหลั่งหรืออุปกรณ์ที่แปดเปื้อนเชื้อและหลัง สัมผัสผู้ป่วย เป็นองค์ประกอบสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อ นอกจากนี้ถุงมือยังมีส่วนช่วยในการลดการ แพร่กระจายเชื้อได้ 70 4.3.1.1 เหตุผลในการใส่ถุงมือ 1) ถุงมือช่วยในการป้องกันการสัมผัส เลือด สารคัดหลั่ง อุจาระ ปัสสาวะ หนองเยื่อบุและ ผิวหนังที่มีบาดแผลของผู้ป่วย 2) ถุงมือช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อจากมือบุคลากรทางการแพทย์ไปสู่ผู้ป่วย ขณะที่ผู้ป่วยได้รับการสอดใส่เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์เข้าสู่ร่างกาย และการต้องสัมผัสกับเยื่อบุ หรือผิวหนังที่มีบาดแผลของผู้ป่วย 3) การสวมถุงมื อช่ว ยลดการสัมผัส กับเชื้ อโรคที่ มาจากตัว ผู้ ป่ว ยหรื อสิ่ ง ของ เครื่องใช้ของผู้ป่วยที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่ การสวมถุงมืออาจทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้ป่วยอื่นได้ ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์จึงต้องเปลี่ยนถุงมือทุกครั้งเมื่อต้องสัมผัสผู้ป่วยแต่ละรายและ ต้องล้างมือ หลังจากถอดถุงมือ อย่างไรก็ตามการสวมถุงมือไม่สามารถแทนการล้างมือได้ เนื่องจากถุงมืออาจมีรอยรั่ว มีรอยฉีกขาดขนาดเล็กๆ ซึ่งมองไม่เห็นหรือมีการฉีกขาดขณะใช้งาน รวมทั้งมืออาจเกิดการปนเปื้อนเชื้อ ขณะถอดถุงมือ การไม่เปลี่ยนถุงมือเมื่อสัมผัสผู้ป่วยแต่ ล ะราย/สิ่งแวดล้อมต่างๆ อาจทำให้เกิ ด การ แพร่กระจายเชื้อได้ 4.3.1.2 การล้างมือ มือเป็นอวัยวะที่ใช้สัมผัสสิ่งต่างๆ นับครั้งไม่ถ้วนในแต่ละวัน การล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ อาจฟังดูเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่ก็ไม่ควรละเลย เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรี ยทั้งหลายถูกจำกัด ป้องกันการติดเชื้อจากการเผลอนำมือไปสัมผัสดวงตาหรือปากและลดการแพร่กระจายเชื้อโรคไปสู่ผู้อื่นด้วย • เมื่อไหร่จึงควรล้างมือ 1) หลังจากสัมผัสสิ่งสกปรกทั้งหลาย เช่น ถังขยะ ดินทราย สิ่งของสาธารณะ ต่างๆ ที่เต็มไปด้วยเชื้อโรคและเชื้อแบคทีเรียจำนวนมาก การล้างมือจะช่วยทำความสะอาดและกำจัดเชื้อ โรคเหล่านี้ให้หมดไปได้ 2) ก่อนรับประทานอาหารหรือสัมผัสอาหาร เมื่อใช้มือที่ปนเปื้อนเชื้อโรคหยิบ จับอาหาร เชื้อโรคเหล่านั้นย่อมปนเปื้อนและเข้าสู่ร่างกายไปพร้อมกับอาหาร แล้วยิ่งหากมือนั้นสะสมเชื้อ โรคมาตลอดทั้งวันก็ยิ่งมีจำนวนเชื้อโรคมหาศาล และยังเสี่ยงต่อการเกิดอาหารเป็นพิษได้ง่าย 3) ช่ว งฤดูที่โ รคหวัดและไข้ห วัดใหญ่ ระบาดแพร่กระจายได้ง่ายอย่างฤดูฝ น หรือฤดูหนาว ยิ่งต้องล้างมือให้บ่อยขึ้น เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อรวมถึงการแพร่กระจายเชื้อโรค 4) ก่ อ นและหลั ง การดู แ ลหรื อ สั ม ผั ส ใกล้ ช ิ ด ผู ้ ป ่ ว ย ไม่ เ พี ย งแต่ ป ้ อ งกั น การ แพร่กระจายของเชื้อโรคจากผู้ป่วยเท่านั้น แต่เชื้อโรคที่อาจติดไปกับมือของเราก็ยังส่งผลให้ผู้ป่วยที่ร่างกาย อ่อนแออยู่แล้วติดเชื้อเพิ่มเติมได้ง่าย 5) ก่อนและหลังจากการทำแผล ล้างมือให้สะอาดก่อนทำแผลเพื่อป้องกันเชื้อโรค เข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผล และล้างมือหลังการทำแผลเสร็จสิ้นอีกครั้ง 6) หลังจากเข้าห้องน้ำ ห้ องน้ำถือเป็นแหล่งรวมของเชื้อโรคอันตรายทั้งหลาย การล้างมืออย่างถูกวิธีหลังทำธุระในห้องน้ำจึงจำเป็นอย่างยิ่ง 7) ล้างมือทุกครั้งหลังจากไอ จาม หรือสั่งน้ำมูก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ โรคไปสู่ผู้อื่น 71 8) ล้างมือทุกครั้งเมื่อสัมผัสกับสัตว์หรือมูลของสัตว์ทุ กชนิด และควรล้างมือ หลังจากให้อาหารสัตว์เลี้ยงด้วย • การล้างมือที่ถูกวิธี การปล่อยให้น้ำไหลผ่านมือเพียงไม่กี่วินาทีไม่อาจช่วยขจัดเชื้อโรคให้หมดไปได้ หน่วยงานควบคุมโรคและป้องกันโรคของประเทศสหรัฐอเมริกาแนะนำถึงการล้างมือที่ได้ผล ว่าด้วยการ ล้างมือด้วยสบู่และถู ทำความสะอาดอย่างน้อย 20 วินาที โดยไม่ลืมที่จะทำความสะอาดข้อมือ หลั งมือ ง่ามนิ้วมือ และบริเวณซอกเล็กหากเล็บยาวด้วย เรียบร้อยแล้วล้างด้วยน้ำเปล่ าและเช็ดมือให้แห้ง หรือ อธิบายเป็นขั้นตอนที่ละเอียด 11 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ล้างมือด้วยน้ำสะอาด 2. ใช้สบู่ในปริมาณที่เพียงพอต่อการล้างมือในแต่ละครั้ง 3. ใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างถูกันและกัน โดยสลับกันถู 4. ใช้ฝ่ามือข้างซ้ายถูหลังมือข้างขวา โดยสอดนิ้วเข้าไปถูง่ามนิ้ว ทำสลับกันกับมืออีกข้าง 5. ถูฝ่ามือด้วยการไขว้มือทั้งสองข้างเข้าด้วยกันคล้ายท่าประสานมือ 6. ใช้นิ้วทั้งสี่ของมือทั้งสองเกี่ยวกันในท่ามือหนึ่งคว่ำ มือหนึ่งหงาย เพื่อถูหลังมือด้วยฝ่า มืออีกข้าง 7. ใช้มือข้างซ้ายจับนิ้วโป้งขวาแล้วหมุนไปมาทำซ้ำแบบเดียวกันกับนิ้วโป้งข้างซ้าย 8. ถูปลายนิ้วเข้ากับฝ่ามือของอีกข้างในท่าหมุนเป็นวงกลมกลับไปกลับมาบนฝ่ามือ 9. ล้างสบู่ออกด้วยน้ำ 10. เช็ดมือให้แห้งดีด้วยกระดาษชำระสำหรับเช็ดมือ 11. อาจใช้กระดาษชำระเช็ดมือปิดก็อก เพื่อป้องกันการสัมผัสเชื้อโรคอีกครั้ง 4.3.1.3 สวมเครื่องมือป้องกันร่างกาย ควรสวมหรือใช้เมื่อคาดว่าจะสัมผัสเลือดหรือสารคัด หลั่งของผู้ป่วย เพื่อป้องกันผิ วหนังหรือเยื่อบุสัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งจากตัวผู้ป่วย เช่น การสวมผ้า ปิดปาก ปิดจมูก (mask) หน้ากาก (face shield) แว่นตา (goggle) เสื้อคลุม (gown) ถุงมื อ (glove) รองเท้าบู๊ท 4.3.1.4 การดูแลอุปกรณ์เครื่องมือ-เครื่องใช้ของผู้ป่วย อุปกรณ์ที่เปื้อนเลือด สารคัดหลั่ง จากตัวผู้ป่วย ควรบรรจุลงภาชนะหรือถุงเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วย บุคลากรหรือญาติสัมผัส และป้องกัน ไม่ให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อจากอุปกรณ์สู่สิ่งแวดล้อม การทำความสะอาดด้วยความระมั ดระวัง และมี การทำลายเชื้อหรือทำให้ปราศจากเชื้ออย่างถูกต้องตามความเหมาะสมก่อนนำมาใช้ต่อไป 4.3.1.5 การจัดการผ้าและการซัก ผ้าที่ใช้ในการดูแลผู้ป่วยอาจมีการปนเปื้อนเลือด สารคัด หลั่งและสิ่งขับถ่ายให้ถือและจับต้องด้วยความระมัดระวัง ทิ้งในถังผ้าเปื้อนแล้วส่งไปซักล้างหรือทำลายเชื้อ ต่อไป 4.3.1.6 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ การจำกัดการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ รุนแรงหรือแพร่กระจายเชื้อได้ง่าย โดยการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเมื่อมีความจำเป็นจริงๆ เป็นมาตรการสำคัญที่ จะช่วยลดโอกาสการแพร่กระจายเชื้อหากจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายให้ปฏิบัติดังนี้ 72 • ต้องให้ผู้ป่วยสวมอุปกรณ์ที่เหมาะสม ได้แก่ ผ้าปิดปากปิดจมูก หรือเสื้อคลุม รวมทั้งการปกปิดบาดแผลอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อใน สิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาล • บุคลากรในหน่วยงานที่จะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไป จะต้องทราบและเตรียมการเพื่อ รับผู้ป่วยอย่างเหมาะสม เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ • ในกรณีที่ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ต้องแจ้งให้ผู้ป่วยทราบถึงเหตุผลและความจำเป็นใน การใช้ อ ุ ป กรณ์ ป ้ อ งกั น และขอความร่ ว มมื อ ผู ้ ป ่ ว ยในการป้ อ งกั น การแพร่ กระจายเชื้อ 4.3.1.7 การจัดสถานที่สำหรับผู้ป่วย วิธี การปฏิบัติในการแยกผู้ป่วยสำหรับผู้ป่วยที่ทราบ หรือสงสัยว่ามีการติดเชื้อหรือเป็นแหล่งเชื้อโรคที่สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ โดยแยกผู้ป่วยตามหลักการ แพร่กระจายเชื้อ ดังนี้ • Airborne precaution เป็นวิธ ีการแพร่กระจายเชื้อโรคที่แพร่ท างอากาศที่มี ขนาดเล็ ก กว่ า 5 ไมครอน ได้ แ ก่ วั ณ โรค (TB) หั ด (Measles) สุ ก ใส (chickenpox) งูสวัดและเริมแบบแพร่กระจาย โรคทางเดินหายใจเฉียบพลั น รุ น แรง (Sever Acute Respiratory Syndrome : SAR) และโรคไข้ ห วั ด นก (Avian Influenza) ซึ่งโรค 2 ชนิดหลังนี้ต้องมีการปฏิบัติ ตามหลัก Contract precaution ร่วมด้วย โดยมีวิธีปฏิบัติดังนี้ 1) ปฏิบัติตามหลัก Standard precaution ในการดูแลผู้ป่วย 2) สวมผ้าปิดปาก ปิดจมูก ที่มีคุณสมบัติกรองเชื้อโรค เมื่อต้องเข้าใกล้ ผู้ป่วยในกรณีผู้ป่วยวัณโรค โรคสุกใส หรือผู้ป่วยงูสวัด 3) ถ้าจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยให้ผู้ป่วยสวมผ้าปิดปากปิดจมูก 4) แนะนำให้ผู้ป่วยใช้ผ้าหรือกระดาษเช็ดปาก ปิดจมูกขณะไอหรือจาม และให้บ้ว นเสมหะในภาชนะที่จั ดไว้ ให้ โดยต้องมีถุงพลาสติ ก รองรับและมีฝาปิดมิดชิด • Droplet precaution เป็นวิธีการป้องกันการแพร่กระจายเชื่ อโรคจากละออง ฝอย เสมหะ ที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 ไมครอน นอกจากนี้ยังติดต่อจากการสัมผัส เยื่อบุตา เยื่อบุปากและจมูก ได้แก่ หัดเยอรมัน (rubella) คางทูม (mumps) ไอ กรน (pertussis) ไข้หวัดใหญ่ (influenza) ไข้กาฬหลังแอ่น (meningococcal infection) และ โควิด-19 (Corona virus) โดยมีวิธีปฏิบัติดังนี้ 1) ปฏิบัติตามหลัก Standard precaution ในการดูแลผู้ป่วย 2) ให้สวมผ้าปิดปากและจมูก ชนิด Surgical mask เมื่อต้องเข้าใกล้ ผู้ป่วยภายใน 3 ฟุต 3) การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยให้ผู้ป่วยสวมผ้าปิดปากและจมูก ชนิด Surgical mask เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่กระจายและแจ้งไปยังโรงพยาบาลที่ จำนำส่งด้วย 73 4) แนะนำให้ผู้ป่วยใช้ผ้าหรือกระดาษเช็ดปาก ปิดจมูกขณะไอหรือจาม และให้บ้ว นเสมหะในภาชนะที่จั ดไว้ ให้ โดยต้องมีถุงพลาสติ ก รองรับและมีฝาปิดมิดชิด • Contract precaution เป็นวิธีป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคที่ติดต่อได้โดยการ สัมผัสทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ Infection diarrhea, Infection would, Abscess, Viral hemorrhage infection, Lice, Scabies รวมทั้งเชื้อที่ต้องมีทั้ง Airborne และ Contract precaution เช่น โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) โรคไข้ห วัดนก (Avian influenza) และโรคสุกใส ไข้ห วัดใหญ่รวมทั้ง ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อที่ดื้อต่อยาด้วย โดยมีวิธีในการปฏิบัติดังนี้ 1) แยกของใช้ผู้ป่วยไว้จนพ้นระยะการแพร่กระจายเชื้อ 2) สวมถุงมือและถอดถุงมือทันทีหลังให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยแต่ละ ครั้ง และต้องล้างมือทันทีที่ถอดถุงมือ 3) สวมเสื้อคลุม หรือผ้ากันเปื้อนพลาสติกเมื่ออยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย หรือ คาดว่าจะต้องสัมผัสกับสิ่งแวดล้อม และสารคัดหลั่งจากตัวผู้ป่วย โดยการเปลี่ยนเสื้อคลุมตัว ใหม่ทุ กครั้งที่จะดูแลผู้ป่วยในแต่ละ กิจกรรม 4) การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยให้ห่อหุ้มหรือปิดส่วนที่มีการติดเชื้อ หรือมีสาร คัดหลั่งปนเปื้อนเชื้อโรคออกมา เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ไปสู่ผู้อื่น และการป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อต่อสิ่งแวดล้อม 5) อุปกรณ์ เครื่องมือ- เครื่องใช้ ให้แยกใช้กับผู้ป่วยเฉพาะราย หลังใช้ งานต้องล้างให้สะอาด และทำลายเชื้อหรือทำให้ปราศจากเชื้ออย่าง เหมาะสมก่อนนำมาใช้ต่อไป 1.5 ระบบจัดการความเครียด 1.5.1 การดูแลผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินที่มีปัญหาด้านอารมณ์ 1.5.1.1 การตายและเจ็บป่วยในระยะสุดท้าย ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินต้องเผชิญกับปัญหา ของครอบครัวที่มีการเสีย ชีวิต ต้องเตรียมรับมือสถานการณ์ ดังกล่าวในการตอบโต้ทางอารมณ์ เช่น การ ปฏิเสธความจริง ความรู้สึกผิด ความเศร้าโศกเสียใจ ความโกรธ ภาวะซึมเศร้า การให้การดูแล ณ จุดเกิด เหตุ เป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องทำ เช่น การช่วยฟื้นคืนชีพ จะต้องรีบทำทันทีตามแนวทางการ ปฏิบัติงานที่กำหนดไว้ ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน จะต้องมีความซื่อสัตย์ ให้ข้อมูลรายละเอียด คอยปลอบโยนให้ กำลังใจแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต ในกรณีที่พบว่าสภาพร่างกายผู้เสียชีวิต มีการฉีกขาดหรือถูกตัด ต้องใช้ผ้าคลุมร่างกายส่วนที่ถูก ตัดขาดให้มิดชิด เพื่อไม่ให้อุจาดตา ในกรณีที่เป็นการตายโดยที่ไม่คาดคิดมาก่อน เช่น การฆ่าตัวตายหรือการตายของคนในครอบครัว ที่มีสุขภาพแข็งแรง ครอบครัวของผู้เสียชีวิตจะมีปฏิกิริยารุนแรงมาก เพราะไม่คิดว่า ญาติจะเสียชีวิต ทั้งๆ ที่เป็นคนแข็งแรง ญาติจะโทษตัวเองในความผิดดังกล่าว และอาจจะลงโทษว่าเป็นความผิดของผู้อื่นด้วย ผู้ปฎิบัติการฉุกเฉินต้องไม่แสดงความคิดเห็นที่เป็นการลงโทษครอบครั วผู้เสียชีวิต เช่น “คุณน่าจะนำผู้ป่วย 74 ส่งโรงพยาบาลตั้งนานแล้วหรือเรียกรถพยาบาลตั้งแต่แรก” เพื่อไม่ให้ครอบครัวผู้เสียชีวิตเกิดความรู้สึก เศร้าโศกมาก เมื่อเผชิญกับผู้ป่วยระยะสุดท้ าย ผู้ปฏิบัติการต้องปล่อยให้ผู้ ป่วยแสดงความรู้สึกออกมา ไม่ว่าจะ เป็นการปฏิเสธหรือยอมรับต่อการเจ็บป่วย การนิ่งเฉย ความโกรธ เก็บกดหรือผ่อนคลาย ผู้ป่วยเรื้อรัง ระยะสุดท้ายมักจะมีอารมณ์แปรปรวนง่าย ผู้ปฏิบัติการต้องแสดงความเห็นอกเห็นใจ ไม่ปฏิเสธสิ่งที่ผู้ ป่วย บอกว่ากำลังจะตาย การปฏิบัติเมื่อถึงจุดเกิดเหตุ ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินจะต้องประเมินความรู้ของผู้ป่วยและ ญาติเกี่ยวกับภาวะโรคของผู้ป่วย เช่น ครอบครัวผู้ป่วยรู้ว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย แต่ไม่ตระหนักถึง ปัญหานี้ ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินไม่ควรบอกผู้ป่วยถึ งเรื่องโรค จนกว่าผู้ป่วยจะบอกเองหรือมาปรึกษา และไม่ ควรใช้ ค ำว่ า มะเร็ ง หรื อ ความตาย ควรบอกแค่ อ าการที ่ ต รวจพบ เช่ น รั บ ประทานอาหารได้ น ้ อ ย ความดันต่ำ ในรายที่ผู้ป่วยปฏิเสธการรักษาของแพทย์ จะต้องรายงานให้แพทย์ทราบ พร้อมทั้งให้คำแนะนำแก่ ผู้ป่วยและครอบครัว รวมทั้งเซ็นใบยินยอมไม่อนุญาตให้รักษา เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานทางกฎหมาย 1.5.1.2 สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด ในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน จะพบสถานการณ์ต่างๆ มากมายที่ก่อให้เกิดความเครียด เช่น การเสียชีวิตของเด็กหรือผู้ป่วยที่ได้รั บการ ดูแลโดยผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน ซึ่งอาจจะมีอายุใกล้เคียงกัน หรือเหตุการณ์ภัยพิบัติที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็น จำนวนมาก ทำให้บุคลากรสาธารณสุขหรือผู้ปฏิบัติการเกิดความเครียด ความหวาดกลัว ความสับสน อลหม่าน ผู ้ เ คราะห์ ร ้ า ยจากอาชญากรรม เช่ น ถู ก ข่ ม ขื น ถู ก ทำร้ า ยร่ า งกาย หรื อ ถู ก พยายามฆ่ า หรือผู้เคราะห์ร้ายจากการกระทำทารุณกรรมอื่นๆ เช่น การทารุณกรรมเด็ก สามีทำทารุณกรรมภรรยา ผู้ปกครองทำทารุณกรรมเด็ก อาจกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเกิดความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ หรือโกรธได้ สิ่งที่ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินต้องทำคือ ต้องพยายามตั้งสติ ปลอบโยนให้กำลังใจผู้ป่วยและครอบครัว รวมทั้งเพื่อนผู้ป่วยด้วย สิ่งที่ควรทำลำดับแรกคือ การให้การรักษาพยาบาลที่เหมาะสม และจะต้อง ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อเก็บรวบรวมวัตถุพยาน ในรายที่ผู้ป่วยโดนข่มขืน หรือถูกกระทำ ทารุณ ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินจะต้องช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมตัวเองได้ ปล่อยให้ระบายความรู้สึก • การควบคุมความเครียด ความเครียดเกิดได้จากหลายปัจจัย และส่วนใหญ่มัก เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงบางประการในชีวิต ทั้งในด้านดี เช่น การได้หยุดงาน ไปพักผ่อนหรือการได้เลื่ อนตำแหน่ง และในด้านไม่ดี เช่น การสูญเสียบุคคลอัน เป็นที่รักหรือการตกงาน เป็นต้นการตอบสนองต่อความเครียดทั้งในรูปของความ วิตกกังวล ความตึงเครียด และอาการกลุ้มอกกลุ้มใจ เหล่านี้ไม่ได้เป็นภาวะทาง “อารมณ์” เท่านั้น เพราะเมื่อคนเราถูกบีบคั้นโดยทางใด ทางหนึ่ง ร่ างกายจะ ผลิต “สื่อ” สารเคมีออกมาที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างภายใน ร่างกาย เช่น ทำให้ชีพจรเต้นเร็วขึ้น หายใจหอบเหนื่อย และปากแห้ง เป็นการ เปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียม “สู้” หรือ “หนี” ซึ่งหากปล่อยให้ร่างกายเผชิญภาวะ เครียดแบบนี้นานเกินไป ก็อาจส่งผลให้เกิ ดการเจ็บป่วยทางร่างกายและจิตใจ ตามมาด้วย 75 • ลักษณะความเครียด ร่างกาย จิตใจ ปวดศีรษะ กัดฟัน คอแห้ง ตีบตัน ขบกราม เจ็บหน้าอก หายใจหอบถี่ หัวใจเต้นแรง ความดันโลหิตสูง ปวดเจ็บตามกล้ามเนื้อ อาหารไม่ย่อย ท้องผูกหรือท้องเสีย เหงื่อออกมาก เหงื่อออกมือ มือเย็น วิตกกังวล หงุดหงิด รู้สึกหมดหวังหรือตื่นกลัวตลอดเวลา เป็นโรคซึมเศร้า คิดช้า อยากเอาชนะ รู้สึกขาดที่พึ่ง รู้สึกสิ้นหวัง รู้สึกไร้ค่า รู้สึกไร้ทิศทาง รู้สึกไม่มั่นคง รู้สึกเศร้า ปิดตัวเอง อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เจ็บป่วยบ่อยๆ โกรธง่าย ตื่นตกใจง่าย ไร้อารมณ์ พฤติกรรม กินมากผิดปกติหรือไม่กินเลย ใจร้อน ชอบเถียง มีปากเสียงบ่อยขึ้น ชอบผัดวันประกันพรุ่ง ดื่มจัดหรือใช้ยาเสพติด สูบบุหรี่จัด ปลีกตัวหรือชอบอยู่คนเดียว หลีกเลี่ยงหรือละเลยความรับผิดชอบ ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ หมดแรง สุขอนามัยส่วนตัวไม่ดี ไม่มีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางศาสนาเหนือเดิม ความสั ม พั น ธ์ ก ั บ บุ ค คลใกล้ ช ิ ด และคนใน ครอบครัวเปลี่ยนไป ซึมเศร้า เบื่อหน่าย ไม่มีสมาธิ • การดูแลรักษาตนเอง 1. รู้จักผ่อนคลาย การผ่อนคลายทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการ สร้ า งจิ น ตภาพแบบน้ อ มนำ การฝึ ก สมาธิ การผ่ อ นคลาย กล้ามเนื้อ การฝึกการหายใจ โดยมีจุดประสงค์เพื่อปรับอัตราการ เต้นของหัวใจให้ช้าลง ลดความดันโลหิต และลดความตึงเครียด ของกล้ามเนื้อ 2. ระบายความในใจให้เพื่อนสนิทฟัง การพูดคุยจะช่วยผ่อนคลาย ความตึงเครียด ช่วยคลี่คลายให้เห็นปัญหาในทัศนะต่างมุมมอง และนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ถูกต้องต่อไปได้ 3. วางแผนการทำงานที ล ะลำดั บ ขั ้ น เริ ่ ม ต้ น ทำงานให้ ส ำเร็ จ ไปทีละชิ้น 4. การจัดการทางอารมณ์ คนเราควรมีโอกาสระบายอารมณ์บ้าง แต่ ควรต้องระวังเช่นกัน ตั้งสตินับ 1-10 แล้วค่อยคิดหาทางออก ต่อไป 5. หลบไปอยู่เงียบๆ สักพัก ก้าวเดินให้ช ้าลงเพื่อคุณจะมองเห็ น บางอย่างชัดเจน 76 6. อยู่กับความจริง ตั้งเป้าหมายที่สามารถทำได้จริง จัดลำดับงาน ตามความสำคัญก่อนหลังและจัดการกับสิ่งที่สำคัญที่สุดก่อน การ ตั้งเป้าไว้ส ูงเกินความเป็ นจริง จัดลำดับงานตามความสำคั ญ ก่อนหลัง และจัดการกับสิ่งที่สำคัญที่สุดก่อน การตั้งเป้าหมายไว้ สูงเกินความเป็นจริงมักเป็นเหตุให้ผิดหวังได้ง่าย สำรวจว่าสิ่งใด สำคัญสำหรับคุณมากที่สุด แล้วตั้งใจทำให้สำเร็จ 7. อย่าซื้อยามากินเอง การกินยาหรือดื่มเหล้าเพื่อให้ผ่อนคลาย เป็นวิธีหนีปัญหาอย่างหนึ่งเท่านั้น 8. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และกิน อาหารที่มีประโยชน์ เมื่อสุขภาพดี สุขภาพใจก็จะดีตามไปด้วย การนอนหลับทำให้สมองคิดแก้ปัญหาคิดแก้ปัญหาดีขึ้น การออก กำลังกายจะช่วยผ่อนคลายความเครียด 9. ขอความช่ว ยเหลือ ควรไปพบแพทย์ห รือ นั กจิตวิ ทยาถ้ารู ้ สึ ก เครียดมากหรือรู้สึกว่าเครียดจนทำงานไม่ได้ 1.5 การรักษาความปลอดภัย ณ จุดเกิดเหตุ 1.5.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย สารเคมี หมายถึง สาร สารประกอบ สารผสม ซึ่งอยู่ในรูปของของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซที่ มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ • มีพิษกัดกร่อน ระคายเคืองทำให้เกิดอาการแพ้ ก่อมะเร็ง หรือทำให้เกิดอันตราย ต่อสุขภาพอนามัย • ทำให้เกิดระเบิด เป็นตัวทำให้เกิดปฏิกิริยาที่รุนแรง เป็นตัวเพิ่มออกซิเจนหรือไวไฟ • มีกัมมันตรังสี การเกิดเหตุฉุกเฉินทางด้านสารเคมี เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ควรรู้จักข้อมูลสารเคมี เบื้องต้น เช่น UN /ID Number ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการสืบค้นข้อมูลและยังเป็นตัวเลขที่ใช้บ่งชี้ชนิดของ สารเคมีอันตราย 1.5.2 UN/ID Number (United Nations / Identification Number ) เป็นรหัสตัวเลข 4 หลัก เพื่อบ่งชี้ชนิดของสารเคมี (Identification Number)ที่ถูกกำหนดโดย องค์ ก รสหประชาชาติ (United Nations) และกรมการขนส่ ง แห่ ง สหรั ฐ อเมริ ก า (Department of Transportation : DOT) เช่ น UN/ID NO. 1017 เป็ น สารคลอรี น หรื อ UN/ID NO. 1005 เป็ น สาร แอมโมเนียแอนไฮดรัส จะเป็นอักษรตัวเลข 4 หลักสีดำบนภาชนะบรรจุหรือข้างรถบนพื้นสีส้ม เพื่อแสดง ชนิดของสารเคมี 1824 ภาพแสดงตัวอย่างเลข UN/ID Number 1824 =โซดาไฟ 77 1.5.3 CAS Number (Chemical Abstracts Service Registry Number ) เป็ นตั วชุ ดเลขที ่ กำหนดขึ ้ นโดย Chemical Abstracts Service of the American Chemical Society สำหรับใช้ชี้บ่งชนิดของสารเคมีอันตรายที่กำหนดในกฎหมาย กลุ่มแรก ประกอบด้วยตัวเลข 2-6 หลัก กลุ่มที่สอง เป็นตัวเลข 2 หลัก กลุ่มสุดท้ายเป็นตัวเลข 1 หลักสำคัญตรวจสอบความถูกต้องของตัวเลขทั้งชุด ภาพแสดงตัวอย่างเลข CAS Number 1.5.4 NFPA (National Fire Protection Agency) ตั ว เลข 4 ชนิ ด ที ่ บ อกถึ ง ระดั บ อั น ตรายในด้ า นต่ า งๆ ได้ แ ก่ การติ ด ไฟ (สี แ ดง) การเกิดปฏิกิริยาเคมี (สีเหลือง) ผลต่อสุขภาพ (สีฟ้า) และอันตรายเฉพาะ (สีขาว) เช่น การเป็นกรด/ด่าง สารกัดกร่อน ภาพแสดง NFPA 78 1.5.5 เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและการดูแลรักษา เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment) หรือเรียกชื่อย่อว่า PPE หมายรวมถึงเสื้อผ้าและอุปกรณ์ประกอบ จุดประสงค์ของการใช้เพื่อป้องกัน และแยกผู้ใส่จากอันตรายจาก สารเคมี ด้านกายภาพและด้านชีวภาพ ซึ่งอาจพบได้ในที่เกิดเหตุจากอุบัติภัยจากสารเคมีและสารอันตราย อื่นๆ • ชุดสวมใส่ป้องกันสารเคมี มีหลายชนิด ชนิดชิ้นเดียว หรือ 2 ชิ้น หรือชุดทนทานใช้ ครั้งเดียวทิ้ง • หมวกนิรภัย เป็นหมวกแข็ง ทำด้วยพลาสติกแข็งหรือยาง อาจมีพลาสติกบุด้านใน เพื่อให้เกิดความอบอุ่น ใช้ป้องกันศีรษะจากการกระแทก • ฮูด โดยทั่วไปใช้ใส่ทับหมวกนิรภัยเพื่อป้องกันสารเคมีที่กระเด็นมาสัมผัส • ที่คลุมผม สวมใส่เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารเคมี และป้องกันไม่ให้เข้าไปติดใน อึปกรณ์หรือเครื่องจักรขณะทำงาน • กระบังหน้า แว่นนิรภัย แว่นตาที่ครอบปิดตา เป็นอุปกรณ์ป้องกันตาและใบหน้า จากสารเคมีจากอนุภาคใหญ่และจากวัตถุที่กระเด็น • อาจเป็น ชิ้นเดียวกันที่ยึดติดกันกับแขนเสื้อหรือชุดสวมป้องกันหรือแยกจากชุด ป้องกันอื่นๆ เป็นอุปกรณ์ปกป้องมือจากการสัมผัสสารเคมี • รองเท้าบู๊ททนต่อสารเคมี ชุดป้องกันสารเคมี เครื่องป้องกันระบบทางเดินหายใจ ระดับ A ชุดคลุมทั้งตัวมิชิด ระดับ B ชุดกันกระเซ็น ระดับ C ระดับ D ระบบช่วยหายใจแบบจ่ายอากาศด้วย แรงดัน เครื่องกรองอากาศ ไม่มีความจำเป็น ไม่มีความจำเป็น ตาราง ชุดป้องกันสารเคมีและเครื่องป้องกันระบบทางเดินหายใจในแต่ละระดับ 1.5.6 ระดับการป้องกัน (Level of Protection) 1.5.6.1 เกณฑ์การป้องกันระดับ A เกณฑ์การเลือกการป้องกันระดับ A 1) ต้องป้องกันผิวหนัง ตา และระบบทางเดินหายใจ ในระดับสูงสุด 2) มีออกซิเจนในบรรยากาศต่ำกว่า 19.5 % 3) สารเคมีอาจกระเด็น หรือคนงานอาจต้องแช่อยู่ในสารหรืออาจสัมผัสสารที่อาจเป็น อันตรายต่อผิวหนัง 4) ทำงานพืน้ ที่จำกัด ระบายอากาศไม่ดี และยังไม่มีการตรวจสอบ 5) เครื่องมืออ่านค่าโดยตรง ชี้ว่ามีก๊าซ ไอในระดับสูง ซึ่งการตรวจวัดไม่สามารถระบุได้ ว่าเป็นก๊าซ หรือไอชนิดใด 79 6) เมื่อมีความเป็นไปได้มากที่สุดที่จะสัมผัสกับอันตรายที่มีอยู่และเมื่อต้องปกป้ องผิวหนัง ทางเดินหายใจ และตาอย่างยิ่ง 7) ชุดและอุปกรณ์สำหรับระดับ A หน้ากากแบบเต็มหน้าพร้อมอุปกรณ์ปกป้อง ทางเดินหายใจชนิดถังบรรจุอากาศแบบพกพา (SCBA) หรือหน้ากากแบบส่งผ่านอากาศ พร้อมด้วยSCBA สำหรับการหนี ชุดป้องกันสารเคมีที่คลุมทั้งร่างกาย ถุงมือที่ชั้นในและ/ หรือชั้นนอกทนทานต่อสารเคมี 1.5.6.2 การป้องกันระดับ B เกณฑ์การเลือกการป้องกันระดับ B 1) ได้ตรวจวัดความเข้มข้นของสารเคมีในอากาศแล้ว พบว่า ต้องการปกป้องระดับ ทางเดินหายใจในระดับสูง แต่การปกป้องผิวต่างกว่าระดับ A 2) มีออกซิเจนในบรรยากาศต่ำกว่า 19.5% 3) ไม่ได้ตรวจวัดไอระเหยและก๊าซอย่างสมบูรณ์ แต่คาดว่าไม่มีสารอันตรายต่อผิวหนัง 4) ต้องการปกป้องระบบทางเดินหายใจสูง แต่ปกป้องผิวหนังในระดับที่ต่ำกว่า 5) ชุดและอุปกรณ์สำหรับระดับ B หน้ากากเต็มหน้าซึ่งมีความดันภายในสูงกว่าพร้อม ด้วย SCBA สำหรับหนัง ถุงมือทีช่ ั้นในและ/หรือ ชั้นนอกทนทานต่อสารเคมี กระบังหน้า 1.5.6.3 การป้องกันระดับ C เกณฑ์การเลือกการป้องกันระดับ C 1) สารปนเปื้อนในอากาศ การกระเซ็น/การสัมผัสโดยตรงกับสาร ไม่มีผลร้ายแรงต่อผิวหนัง 2) ไอสารเคมีเกินค่ามาตรฐานความปลอดภัย( TLV) แต่ไม่เกินระดับ IDLH 3) ออกซิเจนมากกว่า 19.5% 4) อุปกรณ์กรองอากาศพร้อมหน้ากากแบบปิดเต็มหน้าและ ตลับกรองที่เหมาะสมชุด คลุมทั้งศีรษะ ถุงมือคลุมทั้งชั้นในและนอก เซฟตี้บูท ทนสารเคมี หมวกแข็งพร้อม ป้องกันใบหน้า 1.5.6.4 การป้องกันระดับ D เกณฑ์การเลือกการป้องกันระดับ D 1) ไอสารเคมีตํ่ากว่าค่า TLV 2) ออกซิเจนมากกว่า 19.5%. 3) ไม่มีการกระเซ็นของสาร 4) ไม่มีโอกาสที่จะสูดหายใจ หรือสัมผัสกับสารนั้น 5) ชุดปฏิบัติการทั่วไป ชุดคลุมถุงมือ บูทนิรภัยหรือรองเท้าธรรมดk A B C ภาพแสดงชุดอุปกรณ์ป้องกันตนเอง D 80 1.6 รถปฏิบัติการฉุกเฉิน การปฏิบัติการฉุกเฉินมีความจำเป็นที่ต้องดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินหลายประเภท ที่จะต้อง ลำเลียงขนย้ายจากสถานที่เกิดเหตุนอกสถานพยาบาลจนถึงสถานพยาบาล โดยทั่วไปพาหนะลำเลียงขนย้าย จะใช้รถยนต์ที่จัดทำเพื่อการแพทย์ฉุกเฉินโดยเฉพาะหรือรถยนต์ที่นำมาดัดแปลงสภาพให้เหมาะสมกับการ ลำเลียงขนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งจะต้องมีพื้นที่ปฏิบัติงานเพียงพอกับการให้การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินได้ สะดวก มีอุปกรณ์ที่จำเป็นทั้งชนิดและปริมาณที่เพียงพอตลอดระยะเวลา ดังนี้ 6.1 ประเภทของพาหนะที่ใช้เพื่อการลำเลียงขนย้าย 6.2 อุปกรณ์ทั่วไป 6.3 อุปกรณ์สารสนเทศและการสื่อสาร 6.4 อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของการปฏิบัติการ 6.5 อุปกรณ์ทางการแพทย์ 6.6 ประเภทของพาหนะที่ใช้เพื่อการลำเลียงขนย้าย การลำเลียงขนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินจากจุดเกิดเหตุ หรือจากสถานที่ให้การดูแลช่วยเหลือเบื้องต้นนอก สถานพยาบาลมายังสถานพยาบาลอย่างรวดเร็วและปลอดภัย โดยระหว่างการลำเลียงขนย้ายนั้น ผู้ป่วย ฉุกเฉินจะ ได้รับการดูแลช่วยเหลือตามขีดความสามารถขอบเขตความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติการ อันจะเป็น ประโยชน์ต่อการป้องกันการเสียชีวิตหรือการรุนแรงขึ้นของการเจ็บป่วยฉุกเฉินนั้น พาหนะที่ใช้ในการลำเลียงขนย้าย แบ่งประเภทตามวิธีการลำเลียงขนย้ายได้ ดังนี้ 6.6.1 พาหนะเพื่อการลำเลียงขนย้ายของชุดปฏิบัติการในพื้นที่ปฏิบัติการทางบก 6.6.2 พาหนะเพื่อการลำเลียงขนย้ายของชุดปฏิบัติการในพื้นที่ปฏิบัติการทางน้ำ 6.6.3 พาหนะเพื่อการลำเลียงขนย้ายของชุดปฏิบัติการในพื้นที่ปฏิบัติการทางอากาศ พาหนะเพื่อการลำเลียงขนย้ายของชุดปฏิบัติการในพื้นที่ปฏิบัติการทางบกใช้ “รถปฏิบัติการ ฉุ ก เฉิ น ” (Emergency Medical Service ambulance : EMS ambulance) ที ่ ผ ่ า นการจดทะเบี ย นรถ ตรวจสภาพรถ ต่อใบอนุญาตประจำปีของกรมการขนส่งทางบกและมีการประกันตามกฎหมายที่กำหนด ผู้ขับพาหนะฉุกเฉิน จะต้องได้รับอนุญาตให้นำรถปฏิบัติการฉุกเฉินมาใช้ในการบริการการแพทย์ ฉุกเฉินอย่างถูกต้อง รวมทั้งมีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ที่ถูกต้อง 6.7 รถปฏิบัติการฉุกเฉินขั้นพื้นฐาน จะต้องมีลักษณะตามระดับการบริการการแพทย์ฉุกเฉินดังนี้ 6.7.1 มีการแบ่งส่วนที่ใช้เพื่อการบำบัดรักษา ขนส่ง เคลื่อนย้าย กับส่วนผู้ขับ และสามารถ สื่อสารระหว่างสองส่วนได้ 6.7.2 ส่วนที่ใช้เพื่อการบำบัดรักษาที่อยู่ด้านหลังของส่วนผู้ขับ จัดให้มีพื้นที่ที่เพียงพอ สำหรับการจัดวางเตียงพร้อมผู้ป่วยฉุกเฉินในลักษณะนอนราบ มีประตูปิดล๊อก สนิท เมื่อมีการลำเลียงหรือขนย้ายผู้ป่วย และจะต้องมีพื้นที่สำหรับผู้ปฏิบัติการ ระหว่างให้การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินอย่างเพียงพอ ดังนี้ 6.7.3 จัดให้มีที่นั่งสำหรับผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน ที่สามารถให้การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินได้อย่าง สะดวก 6.7.4 ความสู ง ของส่ ว นที ่ ใ ช้ เ พื ่ อ การรั ก ษาพยาบาลเพี ย งพอความสะดวกในการ ปฏิบัติการ เช่น การช่วยฟื้นคืนชีพ ( CPR ) 6.7.5 มีประตูปิด-เปิด เพื่อขนย้ายผู้ป่วยพร้อมเตียงได้ส ะดวก ประตูมีระบบล๊อคที่ ปลอดภัย ขณะเคลื่อนย้าย ลำเลียง 81 6.7.6 มีที่จัดเก็บอุปกรณ์การแพทย์และอุปกรณ์อื่นที่จำเป็น อย่างเป็นสัดส่วน เป็น ระเบียบและมีความปลอดภัยจากการหลุด ร่วง ปลิว ออกจากที่จัดเก็บในกรณีที่ รถมีการชนหรือกระแทกหรือพลิกคว่ำ 6.7.7 ในห้องพยาบาลต้องมีแสงสว่างเพียงพอที่ผู้ปฏิบัติงานจะทำหัตถการ/ ตรวจวัด สัญญาณชีพได้ 6.7.8 มีการติดตั้งสัญญาณไฟวับวาบและเสียงสัญญาณไซเรนพร้อมอุปกรณ์เครื่องขยาย เสียง 6.7.9 มีการติดตั้งวิทยุสื่อสาร กำลังส่ง และคลื่นหลักตามที่กฎหมายกำหนด 6.7.10 มีเครื่องดับเพลิงน้ำยาเหลวระเหยชนิดไม่มีสาร CFC ขนาดไม่น้อยกว่า 5 ปอนด์ 6.7.11 มีอุปกรณ์ทั่วไป อุปกรณ์ทางการแพทย์ และอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของผู้ ปฏิบัติการตามที่กำหนดไว้ในอุปกรณ์แต่ละประเภทชุดปฏิบัติการฉุกเฉิน 1.7 เครื่องหมายและตราสัญลักษณ์บนยานพาหนะ การแสดงเครื่องหมายและตราสัญลักษณ์บน ยานพาหนะของชุดปฏิบัติการฉุกเฉินในพื้นที่ปฏิบัติการทางบก 1.7.1 ประเภทรถปฏิบัติการฉุกเฉินระดับเบื้องต้นและระดับต้น ควรแสดงรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้ • ด้านหน้า กระจกหน้าด้านบนแสดงชื่อหน่วยปฏิบัติการตัวอักษรสีน้ำเงินบนพื้น สติ๊กเกอร์สีขาว • ด้านหลัง 1) กระจกหลังติดข้อความ “เจ็บป่วยฉุกเฉิน อุบัติเหตุ โทร 1669” 2) ฝากระบะด้ า นท้ า ยแสดงชื ่ อ หน่ ว ยปฏิ บ ั ต ิ ก ารพร้ อ มชื ่ อ จั ง หวั ด ตัวอักษรสีน้ำเงินขอบขาว • ด้านข้างช่วงหลังทั้งสองข้าง 1) ติดชื่อหน่วยปฏิบัติการชื่อจังหวัด/ หมายเลขโทรศัพท์ 1669 หรือ หน่วยปฏิบัติการนั้น 2) ติดแถบสีสะท้อนแสง ด้านข้างรถ ตลอดแนว รอบคัน 3) แสดงตราสัญลักษณ์ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ด้านท้าย บริเวณกระบะหรือกระจกด้านข้างส่วนท้าย 2 ด้าน 4) ติดแถบสติ๊กเกอร์ระบุการตรวจสอบมาตรฐาน ด้านข้าง ทั้ง 2 ด้าน 82 ภาพแสดง สัญลักษณ์บนยานพาหนะฉุกเฉิน 1.7.2 ประเภทรถปฏิบัติการฉุกเฉินระดับกลาง และระดับสูง ควรแสดงรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้ • ด้านหน้า 1) แสดงตราสัญลักษณ์สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เหนือกระจกหน้ารถ (ถ้ามี) 2) แสดงชื่อของหน่ว ยปฏิบ ัติ การ (หน่ว ยงานต้นสังกัดของรถพยาบาล) ที่ กระจกหน้าด้านบน ตัวอักษรสีน้ำเงินบนพื้นสีขาว หรือตัวอักษรสีขาวบนพื้น สติ๊กเกอร์สีดำหรือสีอื่นที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน 3) ติดแสดงตัวอักษรคำว่า AMBULANCE สีแดง ใต้กระจกหน้า เพื่อให้รถที่ขับ อยู่ด้านหน้ามองกระจกหลังจะได้เห็นเป็นรถปฏิบัติการฉุกเฉินได้ชัดเจน • ด้านหลัง 1) ติดอักษรสีแดงขอบขาว คำว่า “เจ็บป่ว ยฉุกเฉิน อุบัติเหตุ โทร 1669 บริเวณกระจกหลังหรือเพิ่มเติมคำอื่น ๆ (ถ้ามี) เช่น ชุดปฏิบัติการแพทย์ ฉุกเฉิน, Emergency Medical Services เพื่อสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ ให้ ประชาชนรับรู้ การเข้าถึงบริการ 2) แสดงชื่อหน่วยปฏิบัติการ (โรงพยาบาล) ตัวอักษรสีน้ำเงิน ใต้กระจกหลัง • ด้านข้าง 1) ติดแสดงเครื่องหมายหรือโลโก้ ของหน่วยปฏิบัติการที่ส ังกัด ประตูห น้า ทั้งสองข้าง 2) แสดงชื่อหน่วยปฏิบัติการ (โรงพยาบาล) พร้อมเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉิน 1669 อักษรสีน้ำเงินด้านข้างรถ 3) ติดแถบสีสะท้อนแสง ด้านข้างรถ ตลอดแนว รอบคัน 4) ติดข้อความ “รถฉุกเฉินได้รับอนุญาตแล้ว” เป็นตัวอักษรสีแดง 83 5) แสดงตราสัญลักษณ์ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ด้านข้างช่วงท้าย ทั้งสองข้าง 6) ติดแถบสติ๊กเกอร์ระบุการตรวจสอบมาตรฐานด้านข้างทั้ง 2 ด้าน 1.7.3 การแสดงเครื่องหมายและตราสัญลักษณ์และบนยานพาหนะ ของชุดปฏิบัติการฉุกเฉินใน พื้นที่ปฏิบัติการ ทางน้ำ ควรแสดงรายละเอียดดังนี้ • มีธงสัญลักษณ์ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ แสดงไว้ที่ยานพาหนะ • มีไฟสัญญาณ วับวาบ หรือเสียงไซเรน (ตามความเหมาะสม) • แสดงชื่อหน่วยปฏิบัติการ หรือสังกัด บริเวณที่มองเห็นได้ชัดเจน 1.7.4 การแสดงเครื่องหมายและตราสัญลักษณ์และบนยานพาหนะ ของชุดปฏิบัติการฉุกเฉินใน พื้นที่ปฏิบัติการ ทางอากาศ ควรแสดงรายละเอียดดังนี้ • ควรมีธงสัญลักษณ์หรือป้ายตราสัญลักษณ์ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ แสดงไว้ที่ยานพาหนะในตำแหน่งที่เหมาะสม • ควรแสดงชื่อหน่วยปฏิบัติการหรือสังกัด บริเวณที่มองเห็นได้ชัดเจน 1.8 อุปกรณ์ทั่วไป อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบในพาหนะลำเลียงหรือขนย้ าย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความสะดวกสบาย ทั้งนี้ อุปกรณ์จะต้องมีความสะอาด จัดอยู่ในสภาพเรียบร้อย กรณีเป็นสิ่งปฏิกูลหรือเป็นสิ่งที่อาจทำให้เกิดการติด เชื้อ จะต้องมีการจัดแยกให้ถูกสุขลักษณะ รวมถึงจัดให้เป็นระเบียบเพียงพอ พร้อมใช้งาน เช่น 1.8.1 หมอน พร้อมปลอกหมอน ผ้าคลุมเตียง 1.8.2 ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว 1.8.3 กระดาษชำระ 1.8.4 ภาชนะ หรือ อุปกรณ์เก็บสิ่งปฏิกูล 1.8.5 น้ำดื่ม แก้วน้ำ และน้ำสะอาดสำหรับชำระล้าง 1.9 อุปกรณ์สารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อให้การติดต่อสื่อสาร สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักอย่าง หนึ่งในการให้การช่วยเหลือผู้ป่ วยฉุกเฉิน เนื่องจากการรับแจ้งเหตุของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ จากผู้ ประสบเหตุหรือตัวผู้ป่วยฉุกเฉินเอง จะทำให้ผู้ปฏิบัติการสามารถให้การช่วยเหลือได้อย่างมีประสิทธิภาพ 84 การรับแจ้งเหตุที่ถูกต้อง ครบถ้วน กระชับ จะทำให้ผู้ปฏิบัติการในศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการสามารถ ตัดสินใจสั่งการชุดปฏิบัติการออกปฏิบัติงานฉุกเฉินและประสานงานได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว แม้ว่าในปัจจุบันอุปกรณ์สื่อสารที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย จะมีการพึ่งพาระบบเครือข่ ายโทรศัพท์ โดยเฉพาะระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่ระบบโทรศัพท์พื้นฐานและระบบวิทยุสื่อสารต่างๆ ก็ยังมีความจำเป็น ในกรณีเมื่อเหตุที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเหตุการณ์ที่เป็นสาธารณภัยขนาดใหญ่ ที่ระบบโทรศัพท์ต่างๆ อาจไม่ สามารถรองรับการใช้งาน หรือไม่สามารถให้บริการได้ นอกจากนี้ควรพิจารณาถึงสถานที่ที่จัดเป็นศูนย์รับ แจ้งเหตุและสั่งการ ต้องมีพื้นที่เฉพาะเพียงพอ สำหรับปฏิบัติการ และจัดวางอุปกรณ์ต่างๆ ควรมีผนังกั้น เสียงจากภายนอกเข้ามารบกวน ระบบไฟฟ้าและไฟฟ้าสำรองที่เหมาะสมกับการปฏิบัติการตลอด 24 ชั่วโมง 1.9.1 อุปกรณ์สื่อสารสำหรับหน่วยปฏิบัติการ • ระบบโทรศัพท์ - โทรศัพท์พื้นฐาน ควรมีหมายเลขโทรศัพท์ไม่น้อยกว่า 1 คู่สาย เพื่อสามารถ ติดต่อประสานงานกับศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัด โดยให้มีการแจ้งและ ทำทะเบียนหมายเลขติดต่อไว้กับศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัด - โทรศัพท์เคลื่อนที่ สำหรับผู้รับผิดชอบในการประสานงานกับศูนย์รับแจ้งเหตุ และสั่งการ กรณีไม่ได้ปฏิบัติงานประจำในสถานที่ตั้งของหน่วยปฏิบัติการ โดยให้มีการแจ้งและทำทะเบียนหมายเลขติดต่อไว้กับศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่ง การจังหวัด - ระบบวิทยุคมนาคม - เครื่องวิท ยุ ค มนาคมสำหรั บสถานีฐ าน (base station) มี กำลังรับ-ส่ง ไม่เกิน 45 Watt มีสายต่อกับเสารับ-ส่งสัญญาณ เพื่อใช้ติดต่อประสานงานกับศูนย์รั บแจ้งเหตุและสั่งการ จังหวัด หรือกับชุดปฏิบัติการ 1.10 มาตรฐานอุปกรณ์สื่อสารสำหรับชุดปฏิบัติการฉุกเฉิน 1.10.1 ระบบโทรศัพท์ - โทรศัพท์เคลื่อนที่ สำหรับหัวหน้าชุดปฏิบัติการ เพื่อใช้ติดต่อประสานงานกับศูนย์รับ แจ้งเหตุและสั่งการ และหน่วยปฏิบัติการที่สังกัด 1.10.2 ระบบวิทยุคมนาคม • เครื่องวิทยุคมนาคมชนิดติดตั้งเคลื่อนที่ (mobile station) มีกำลังรับ-ส่งไม่ เกิ น 25 watt สำหรั บ ติ ด ตั ้ ง ในพาหนะฉุ ก เฉิ น เพื ่ อ นำไปใช้ ใ นการติ ด ต่ อ ประสานงานกับศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัด หรือหน่วยปฏิบัติการที่ สังกัด • เครื่องวิทยุคมนาคมชนิดมื อถือ (handheld portable station) มีกำลังรับส่งไม่เกิน 5 watt สำหรับให้หัวหน้าชุดปฏิบัติการ เพื่อนำไปใช้ในการติดต่อ • ประสานงานกับศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัด หรือหน่วยปฏิบัติการที่ สังกัด 1.11 อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของการปฏิบัติการ อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของการปฏิบัติการ เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นทั้งต่อตัวผู้ปฏิบัติการในชุด ปฏิบัติการฉุกเฉิน และต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน 85 1.11.1 อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เป็นอุปกรณ์ที่มีไว้เพื่อป้องกันอันตรายของผู้ปฏิบัติการซึ่งอาจ มีความแตกต่างไปตามเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้น ผู้ปฏิบัติการหรือหน่วยปฏิบัติการควรเตรียม อุปกรณ์ไว้ให้พร้อม และพิจารณานำไปพร้อมชุดปฏิบัติการตามเหตุที่เผชิญหรือภัยที่ได้รบั แจ้ง ได้แก่ ลำดับ ประเภทภัยที่เผชิญ อุปกรณ์ 1 อุบัติเหตุจราจร เสื้อสะท้อนแสง กรวยยาง กระบองไฟฟ้า ป้ายสามเหลี่ยมสะท้อน นกหวีด ไฟฉาย 2 วาตภัย พายุ เสื้อกันฝน เสื้อคลุม ชูชีพ เชือก ห่วงเหล็ก หมวก นิรภัย แว่นตา นกหวีด ไฟฉาย 3 ภัยจากอาคาร ดินหรือหินถล่ม หมวกนิรภัยที่มีสายรัดคางและสีเด่นชัด รองเท้าบู้ท ถุง มือชนิดหนา นกหวีด ไฟฉาย หน้ากาก 4 ภัยจากสารเคมี ชุดป้องกันสารเคมี นกหวีด ไฟฉาย 5 ภัยจากชีวภาพ เชื้อโรค หน้ากากอนามัย ถุงมือ ชุดป้องกันชีวภาพ นกหวีด ไฟ ฉาย 6 อัคคีภัย หมวกนิรภัย หน้ากากป้องกันควัน นกหวีด ไฟฉาย 7 ภัยทางน้ำหรือน้ำท่วม เสื้อชูชีพ เชือก ห่วงเหล็ก ห่วงชูชีพ นกหวีด ไฟฉาย 8 บริเวณที่มีเสียงดัง ชุดปิดหู (ear plug) นกหวีด ไฟฉาย ตารางแสดงการใช้อุปกรณ์ป้องกันตนอง 1.11.2 อุปกรณ์ป้องกันบริเวณที่ปฏิบัติงาน เพื่อทำให้การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินในการ ปฏิบ ัติการฉุกเฉิน เป็น ไปอย่างถูกต้อง ป้องกันผู้ไม่มีส ่ว นเกี่ยวข้องมาขัดขวางการปฏิบัติการฉุ ก เฉิ น ชุดปฏิบัติการฉุ กเฉินอาจจำเป็นต้ องมีอุปกรณ์เพิ่มเติม ได้แก่ เทปหรือสายหรือเชือกเพื่อกั้นอาณาเขต ไฟกระพริบฉุกเฉิน ไฟฉาย ไฟส่องสว่าง ป้ายหรือธงสีแดง เหลือง เขียว ดำ กรวยจราจร เป็นต้น 1.11.3 อุปกรณ์อื่นเพื่อช่วยเหลือและเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยฉุกเฉิน ในการเข้าช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินในบางสถานการณ์ ชุดปฏิบัติการอาจมีไว้ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อ ตัดถ่างง้างงัด (extrication equipment) เช่น ขวาน ค้อน คีมตัดเหล็ก ไขควง มีดตัดเข็มขัดนิรภัย ชะแลง หรือเชือก เพื่อใช้ในกรณีผู้ป่วยติดอยู่ในรถหรืออาคาร รถ เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ ยกเว้นในกรณีผู้ป่วย ติดอยู่ในที่ซึ่งอุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้ช่วยเหลือออกมาไม่ได้ จำเป็นต้องประสานงานเพื่อขอการสนับสนุน ยานพาหนะหรือเครื่องมือขนาดใหญ่จากหน่วยงานอื่น 1.1.1.4 อุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ ควรจัดแบ่งไว้เป็นชุด โดยอาจบรรจุภาชนะหีบห่อไว้พร้อมนำไปใช้งานตาม ความจำเป็นกับเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้น เช่น เป็นกระเป๋ามีหูหิ้วที่แข็งแรง หรือกระเป๋าสะพายหลัง สามารถ มองเห็นได้ชัดเจน เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อมีการใช้อุปกรณ์ใดไปแล้ว ผู้ปฏิบัติการหรือหน่วยปฏิบัติการจะต้องนำ อุปกรณ์ที่ใช้ไปแล้วมาเติมให้เพียงพอ พร้อมใช้งานในการปฏิบัติการครั้งต่อไป หากเป็นอุปกรณ์ที่นำมาใช้อีก จะต้องมีการตรวจสอบ รักษาให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน สะอาด และในกรณีที่ใช้เพื่อการวัดจะต้องมีความ ถูกต้อง เที่ยงตรงตามมาตรฐานอุตสาหกรรมหรือมาตรฐานที่กำหนดโดยผู้ผลิต แบ่งประเภทตามลักษณะ การใช้งานได้เป็น 86 • อุ ป กรณ์ ท างการแพทย์ พ ื ้ น ฐาน (basic medical supplies) เป็ น อุ ป กรณ์ ที่ กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องมือแพทย์ และเป็นอุปกรณ์ที่พาหนะลำเลียง หรือขนส่งผู้ป่วยฉุกเฉินต้อ งมีประจำเสมอ โดยอุปกรณ์ทุกชนิดจะต้องมีการ ตรวจสอบ ทั้งนี้เพื่อให้การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ • อุปกรณ์ขนย้ายลำเลียง - เตียงผู้ป่วยชนิดมีล้อ ปรับศีรษะให้อยู่ท่ากึ่งนั่ง ศีรษะยกสูง 60 องศาได้ มีสายยึดตรึงผู้ป่วยอย่างน้อย 3 ตำแหน่ง - Long Spinal Board พร้อมอุปกรณ์ยึดตรึงศีรษะ สายรัดศีรษะ และ สายรัดตรึงผู้ป่วยอย่าง น้อย 3 เส้น • อุปกรณ์เพื่อการตรวจวินิจฉัย - ปรอทวัดไข้ - เครื่องวัดความดันโลหิต (sphygmomanometer) - หูฟัง (stethoscope) • อุปกรณ์ปฐมพยาบาลและดามกระดูก - ถุงมือปราศจากเชื้อ และถุงมือชนิดใช้แล้วทิ้ง (disposable) - สำลี ไม้พันสำลี - ผ้าก๊อซ ชนิดบางและหนา ผ้าก๊อซชุบวาสลิน - Elastic bandage ขนาด 4 และ 6 นิ้ว - พลาสเตอร์เหนียว - กรรไกร - น้ำเกลือสำหรับล้างแผล - ครีมทาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก - เฝือกคอชนิดแข็ง (hard collar) - เฝือกดาม แขน ขา • อุปกรณ์ช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน - Pocket mask - ลูกสูบยางแดง - ออกซิเจน - bag (สำหรับชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับต้น) 87 แบบฝึกหัด/งานมอบหมาย 1. วิธีการแพร่กระจายเชื้อโรค มีกี่วิธี อะไรบ้าง? 2. การดูแลตนเองที่เกิดจากความเครียด มีการปฏิบัติอย่างไร? 3. จงบอกถึงลักษณะชุดป้องกันสารเคมีและเครื่องป้องกันระบบทางเดินหายใจในแต่ละระดับ เฉลยแบบฝึกหัด 1. วิธีการแพร่กระจายเชื้อ มี 3 วิธี ดังนี้ - การแพร่กระจายเชื้อโดยการสัมผัส (contract transmission) แบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ การสัมผัส ทางตรง (direct contract transmission) การสัมผัสทางอ้อม (indirect contract transmission) - การแพร่กระจายเชื้อโดยละอองฝอยน้ำมูกน้ำลาย (droplet contract transmission) - การแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ (airborne transmission) 2. การดูแลรักษาตนเองที่เกิดจากความเครียด ปฏิบัติ ดังนี้ - รู้จักผ่อนคลาย - ระบายความในใจให้เพื่อนสนิทฟัง - วางแผนการทำงานทีละลำดับขั้น - การจัดการทางอารมณ์ คนเราควรมีโอกาสระบายอารมณ์บ้าง - หลบไปอยู่เงียบๆ สักพัก - อยู่กับความจริง - อย่าซื้อยามากินเอง - นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และกินอาหารที่มีประโยชน์ - ขอความช่วยเหลือ ควรไปพบแพทย์หรือนักจิตวิทยาถ้ารู้สึกเครียดมาก 3. ชุดป้องกันสารเคมีและเครื่องป้องกันระบบทางเดินหายใจในแต่ละระดับ มีดังนี้ ชุดป้องกันสารเคมี ระดับ A ระดับ B ระดับ C ระดับ D ชุดคลุมทั้งตัวมิชิด ชุดกันกระเซ็น ไม่มีความจำเป็น เครื่องป้องกันระบบทางเดินหายใจ ระบบช่วยหายใจแบบจ่ายอากาศด้วยแรงดัน เครื่องกรองอากาศ ไม่มีความจำเป็น 88 แผนการสอนสัปดาห์ที่ 4 ชื่อบทเรียน การปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน จำนวนชั่วโมง 4 ชม. (ทฤษฎี) จุดประสงค์การสอน (จุดประสงค์ทั่วไป) 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ เกี่ยวกับการปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน 2. เพื่อให้นักเรียนตระหนัก และให้ความสำคัญเกี่ยวกับการปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน 3. เพื ่ อ ให้ น ั ก เรี ย นนำความรู ้ เรื ่ อ งการปฏิ บ ั ต ิ ก ารแพทย์ ฉ ุ ก เฉิ น ไปประยุ ก ต์ ใ ช้ ไ ด้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ ผลการเรียนรู้ (จุดประสงค์เฉพาะ) 1. ระบุขั้นตอนการเตรียมความพร้อมของรถพยาบาลฉุกเฉินถูกต้อง 2. บอกขัน้ ตอนการเตรียมความพร้อมระหว่างเดินทางไปจุดเกิดเหตุถูกต้อง 3. บอกขั้นการปฏิบัติเมื่อถึงจุดเกิดเหตุถูกต้อง 4. บอกวิธีการปฏิบัติ ณ จุดเกิดเหตุถูกต้อง 5. บอกขั้นตอนระหว่างการนำส่งถูกต้อง 6. บอกขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อนำผู้ป่วยเจ็บถึง รพ.ถูกต้อง 7. บอกขั้นตอนการปฏิบัติหลังนำส่ง รพ.ถูกต้อง 8. บันทึก/รายงานตามแบบฟอร์มถูกต้อง วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน 1. การบรรยาย 2. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สื่อการสอน/อุปกรณ์การสอน 1. Power point 2. เอกสารประกอบการสอน การวัดผล 1. การสอบความรู้ 2. รายงาน / งานมอบ 3. จิตพิสัย 89 หัวข้อการบรรยาย การปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน การปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน ระยะต่างๆ ในการออกปฏิบัติการ ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ได้แก่ การเตรียมความพร้อมก่อนออกปฏิบัติการ / ระหว่างการออกปฏิบัติการ / เมื่อถึงจุดเกิดเหตุ / การ ปฏิบัติการ ณ จุดเกิดเหตุ / การปฏิบัติขณะนำผู้ป่วยฉุกเฉินส่งโรงพยาบาล / การปฏิบัติเมื่อถึงโรงพยาบาล และการปฏิบัติการหลังการปฏิบัติการ ดังนั้นผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ต้องมีความเข้าใจขั้นตอน ต่างๆ ดังนี้ 1.การเตรียมความพร้อมก่อนออกปฏิบัติการ ระยะเตรียมความพร้อม หมายถึง ระยะที่อยู่ในระหว่างการสิ้นสุดการปฏิบัติการครั้งก่อน และยังไม่ ถึงการปฏิบัติการครั้งต่อไป หรือ เป็นระยะที่อยู่ระหว่างการรอรับคำสั่งจากศูนย์รับแจ้งเหตุ และสั่งการ ให้ออกปฏิบัติการซึ่งผู้ปฏิบัติการจำเป็นต้องมีความพร้อมสำหรับการปฏิบัติงานตลอดเวลาในทุกๆด้าน ดังนี้ 1.1 การเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร ไม่ว่าผู้ปฏิบัติการ จะมีบทบาทหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมในการออกปฏิบัติการ ในกรณีที่ปฏิบัติงานในชุด ปฏิบัติการฉุกเฉินระดับต้น หรือทำหน้าที่เป็นสมาชิกทีมในชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูงก็ตามผู้ปฏิบัติการ นับว่าเป็นบุคลากรที่มีสำคัญยิ่ง ในทีมชุดปฏิบัติการ ณ จุดเกิดเหตุ เนื่องจากเจ้าหน้าที่กู้ชีพระดับอื่นๆ ยังมีจำนวนไม่เพียงพอ และในทีมชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับต้น ควรจะต้องมีผู้ปฏิบัติการอย่างน้อย 1-2 คน อยู่ในทีมชุดปฏิบัติการในแต่ละครั้ง โดยคนหนึ่งทำหน้าที่ขับรถ อีกคนหนึ่งอยู่ในห้องโดยสารร่วมกับผู้ป่วย ดังนั้นผู้ปฏิบัติการทุกคน จะต้องพยายามพัฒนาตนเอง ให้มีความพร้อม ทั้งด้านความรู้ ทักษะพื้นฐาน ไม่ว่า จะเป็นเรื่องของการปฐมพยาบาล การช่วยฟื้นคืนชีพ ตลอดจนการยกและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย นอกจากนี้ ในการเตรียมความพร้อมสำหรับการปฏิบัติการประจำวัน ผู้ปฏิบัติการก็ต้ องมีความ พร้อมตลอดเวลาที่อยู่ในหน้าที่ ดังนี้ 1.1.1 ความพร้อมด้านร่างกาย เป็นความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติการ ที่จะต้องดูแลตนเองให้มีความพร้อมทางด้านร่างกายใน การปฏิบัติการตลอดเวลาที่ขึ้นปฏิบัติงาน ต้องรับประทานอาหารที่มีคุณภาพอย่างเพียงพอ ไม่มาก ไม่น้อย จนเกินไป ไม่ดื่มสุรา ของมึนเมา หรือยาที่มีผลทำให้เกิดอาการง่วงนอน ต้องนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ก่อนขึ้นปฏิบัติงาน และต้องฝึกตนเองให้เป็นคนที่มีนิสัยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อร่างกายมีความ พร้อมตลอดเวลา 1.1.2 ความพร้อมด้านจิตใจ ผู้ปฏิบัติการจะต้องเตรียมจิตใจให้พร้อมสำหรับการปฏิบัติงาน จัดการกับปัญหาส่วนบุคคลให้ เรียบร้อยก่อนขึ้นปฏิบัติงาน ไม่ให้มีความวิตกกังวล หรือหมกมุ่น ครุ่นคิด จนเสียสมาธิในการทำงาน ซึ่งถ้า สภาพจิตใจไม่มีความพร้อม เมื่อต้องปฏิบัติงานในภาวะที่มีความกดดันสูง อาจเกิดการปะทะคารมกับผู้อื่น ได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ร่วมงาน หรือผู้รับบริการ ซึ่งจะส่งผลเสียอย่างยิ่ง นอกจากนี้ผู้ปฏิบัติการจำเป็นที่จะต้อง ศึกษาและเรียนรู้วิธีการจัดการกับความเครียด เพื่อสามารถบริหารจัดการได้อย่างเหมาะสม เมื่อต้องเผชิญ กับเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด 90 1.2 การเตรียมความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ประจำรถ 1.2.1 อุปกรณ์ทางการแพทย์ 1.2.2 อุปกรณ์การยกและเคลื่อนย้าย และยึดตรึงผู้ป่วย 1.2.3 อุปกรณ์ชุดป้องกันตนเอง อุปกรณ์ประจำรถฉุกเฉิน มีจำนวนมาก และต้องเคลื่อนย้ายบ่อย มีแนวโน้มที่จะกระจัดกระจาย ดังนั้น ผู้ปฏิบัติการ จะต้องเรียนรู้มาตรฐานในการจัดอุปกรณ์ต่างๆ ให้เป็นหมวดหมู่ สะดวกในการใช้งาน รู้ว่าอุปกรณ์ไหนควรจัดวางอย่างไร และควรมีการตรวจสอบความเพียงพอและประสิทธิภาพการใช้งานของ อุปกรณ์ทุกชนิดในทุกๆ เวร ให้อยู่ในสภาพที่มีความพร้อมในการใช้งานได้ทันที และควรทำความสะอาด เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆทุกครั้งหลังใช้งาน เวลาที่ว่างขณะรอการเรียกจากศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ เป็นเวลาที่เหมาะในการตรวจสอบและทำความสะอาดอุปกรณ์ 1.3 การเตรียมความพร้อมของรถพยาบาลฉุกเฉิน เมื่อขึ้นรับเวรทุกครั้ง ผู้ปฏิบัติการที่มีหน้าที่ขับรถ หรือพนักงานขับรถ จะต้องเตรียมความพร้อมของ รถพยาบาลอย่างเป็นขั้นตอน ดังนี้ 1.3.1 ตรวจลมยางทั้งสี่เส้น โดยการตรวจสอบด้วยสายตาว่ายางแบนหรือไม่ เคาะดูว่ายางมีความ ตึงตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ กรณีสงสัยลมยางอ่อน ควรเอาที่วัดความดันของลมยางมาตรวจวัด 1.3.2 ตรวจสอบลมยางอะไหล่ว่ามีลมเต็มพร้อมที่จะใช้แทนยางปกติได้ทันทีหรือไม่ กรณีลมยาง ปกติมีปัญหาระหว่างการออกปฏิบัติการ ณ จุดเกิดเหตุ 1.3.3 ตรวจสอบประตูรถทุกบาน และกลไกการล็อกประตู 1.3.4 ตรวจสอบสภาพที่ปัดน้ำฝนที่กระจกหน้าว่าผิวยางที่ปัดน้ำฝนสัมผัสกับกระจกเป็นปกติ ไม่ ละลายบิดงอ 1.3.5 เปิดฝากระโปรงหน้ารถ ตรวจน้ำที่หล่อเลี้ยงระบบระบายความร้อน โดยตรวจดูทั้งระดับน้ำ ในที่เก็บน้ำและในรังผึ้งระบายความร้อน น้ำกลั่นในหม้อแบตเตอรี่ 1.3.6 น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันเครื่อง ระบบเบรค 1.3.7 ระบบไฟ ไฟเลี้ยว ไฟส่องหน้า ไฟสัญญาณฉุกเฉิน เป็นต้น 1.3.8 แตรรถ ไซเรน 1.3.9 ระบบระบายอากาศ ระบบทำความเย็นในรถ 1.3.10 เข็มขัดนิรภัย 1.3.11 ระบบสื่อสารภายในรถ 1.3.12 อุปกรณ์การแพทย์ที่ติดกับตัวรถ เช่น ปริมาณออกซิเจนในรถ แบตเตอรี่เครื่องดูดเสมหะ ในรถ หรือเครื่องกระตุ้นหัวใจไฟฟ้า เปลเข็นผู้ป่วย เป็นต้น 1.3.13 อุปกรณ์อื่นๆ ภายในรถ 2. การเตรียมความพร้อมระหว่างการเดินทางไปยังที่หมาย เมื่อผู้ปฏิบัติการ รับคำสั่งจากศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการให้ออกปฏิบัติการ สิ่งที่ผู้ปฏิบัติการจะต้อง ปฏิบัติ ดังนี้ 2.1 คาดเข็มขัดนิรภัย ทันทีที่ขึ้นนั่งประจำที่ในรถแล้ว 2.2 ศึกษาเส้นทาง แผนที่ วางแผนการเดินทางสำหรับภารกิจนั้นที่สะดวก เพื่อให้ไปถึงที่เกิดเหตุได้ โดยเร็วที่สุด 2.3 รายงานศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ว่ากำลังเดินทาง 91 2.4 ขับขี่อย่างปลอดภัย ไม่จำเป็นต้องขับรถด้วยความเร็วสูง ในทุกกรณี โดยพิจารณาจากข้อมูล สภาพผู้ป่วย ที่ได้รับแจ้ง ให้ตระหนักถึงความปลอดภัยของตัวผู้ปฏิบัติการเอง ผู้ร่วมงาน และผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นๆ ด้วย 2.5 ผู้ขับขี่รถพยาบาลจะต้องเป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง มีความพร้อม จิตใจดี มีทัศนคติที่ดีต่องาน และรู้ขีดความสามารถของตนเอง ทนต่อความเครียดสูงได้ อดทนต่อผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นๆ ปรับวิธีขับรถได้ ตามสภาพอากาศและสภาพถนนได้ดี ไม่เสพสารเสพติด สุรา หรือยากล่อมประสาทและควรผ่านการอบรม หลักสูตรขับขี่ปลอดภัย (Safety Driving) 2.6 การขับขี่อย่างปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญมาก ในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน - ผู้ขับขีแ่ ละผู้โดยสารทุกคน ควรสวมเข็มขัดนิรภัย ทุกครั้ง - ผู้ขับขี่ควรทำความคุ้นเคยกับยานพาหนะที่ต้องใช้ - มีความพร้อมต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงของอากาศ และสภาพการจราจร - รู้จักใช้สัญญาณไฟ และไซเรนอย่างเหมาะสม ระมัดระวังในการใช้ไฟฉุกเฉิน และไซเรน ซึ่งจะใช้ เมื่อเป็นปฏิบัติการที่ฉุกเฉินแท้จริงเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ทุกครั้ง - ปฏิบัติตามกฎจราจร ไม่ขับรถเร็วเกินที่กฎหมายกำหนด ไม่ขับรถด้วยความคึกคะนอง - ระวังการชนกันที่ทางแยก ควรพยายามสบตา หรือใช้สัญญาณมือกับผู้ขับขี่รายอื่น ก่อนจะใช้ สิทธิได้ทางก่อนที่ทางแยก - ควรมีการติดต่อวิทยุประสานงานกับหน่วยฉุกเฉินอื่นๆ ที่มุ่งไปยังที่เกิดเหตุเดียวกัน หรือติดต่อ กับศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ - ปฏิบัติตามกฎหมายสำหรับรถพยาบาล © ปฏิบัติต่อไฟสัญญาณจราจร เครื่องหมายหยุดและทางแยก ในขณะใช้สัญญาณไฟฉุกเฉิน สามารถวิ่งฝ่าสัญญาณไฟแดงได้ด้วยความระมัดระวัง และต้องรับผิดชอบต่อความผิดที่อาจเกิดขึ้น © กฎว่าด้วยการจำกัดความเร็ว © ทิศทางของการเดินรถ และการบังคับเลี้ยว อาจย้อนศรได้ กรณีที่พิจารณาแล้วว่าปลอดภัย และไม่เกิดอุบัติเหตุ © เส้นทางฉุกเฉิน อาจวิ่งในเส้นทางห้ามรถวิ่งได้ ในกรณีจำเป็น © จะต้องระมัดระวัง กรณีรถโรงเรียนเข้ามาในเส้นทางจราจรเดียวกัน ©ใช้สัญญาณไฟ และไซเรน กรณีฉุกเฉินจริงๆ เท่านั้น 2.7 คอยรับข้อมูลเพิ่มเติมจากศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการเป็นระยะๆ ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติม 2.8 บุคลากรที่ออกปฏิบัติการ แบ่งหน้าที่กันให้ชัดเจนว่าใครทำหน้าที่อะไร เมื่อถึงที่เกิดเหตุ 2.9 พิจารณาว่าเมื่อไปถึงที่เกิดเหตุ จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้อะไรบ้าง 2.10 กรณีที่รถออกปฏิบัติการหลายคัน พร้อมๆกัน มีโอกาสเกิดอันตรายได้มาก เนื่องจากอาจชน กันเอง ดังนั้นผู้ที่ทำหน้าที่ขับรถ ต้องเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น คำนึงถึงความปลอดภัยตลอดเวลา ถ้า การออกปฏิบัติการนั้น ไม่คุ้นเส้นทาง อาจขอรถนำไปยังสถานที่เกิดเหตุ 3. การเตรียมความพร้อมเมื่อเดินทางไปถึงที่เกิดเหตุ เมื่อเดินทางไปถึงที่เกิดเหตุแล้ว สิ่งที่ผู้ปฏิบัติการพึงปฏิบัติ มีดังนี้ 3.1 จอดรถอย่างปลอดภัย การจอดรถพยาบาล ต้องพิจารณาถึง - จอดรถบนที่เนินสูงกว่า และอยู่เหนือลม กรณีสารพิษรั่วไหล - จอดรถในท่าที่ลงไปปฏิบัติงานได้สะดวก และสามารถนำรถออกจากที่เกิดเหตุได้ง่าย 92 - จอดรถห่างจากบริเวณตึกถล่ม ไม่น้อยกว่า 30 เมตร จอดด้านหน้า หรือด้านหลังของตึกถล่ม - ใส่เบรกมือ และเปิดสัญญาณไฟ - ปิดไฟหน้า ยกเว้น กรณีที่ต้องการส่องจุดที่เกิดเหตุ - ไม่ควรดับเครื่องยนต์ขณะจอด เว้นกรณีจำเป็น - จอดรถในที่สังเกตเห็นได้ง่าย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุซ้ำซ้อน - จอดรถโดยหันหน้าของรถออกจากที่เกิดเหตุ เพื่อให้ออกรถได้รวดเร็ว - ไม่ควรให้มีรถคันอื่นเข้าไปจอดซ้อนคัน มิฉะนั้นจะไม่สามารถออกจากที่เกิดเหตุได้สะดวก - การจอดรถ อาจสามารถจอดได้ในที่ห้ามจอด โดยไม่กีดขวาง หรือสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น 3.2 เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น อุปกรณ์ชุดช่วยการหายใจ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น หรืออุปกรณ์ อื่นตามข้อมูลที่ได้แจ้ง ก่อนลงจากรถพยาบาล 4. การปฏิบัติการ ณ จุดเกิดเหตุ 4.1 แจ้งให้ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการรับทราบ 4.2 ใส่อุปกรณ์ป้องกันตนเองจากการสัมผัสเชื้อ ผู้ปฏิบัติการใส่อุปกรณ์ป้องกันตนเองทุกครั้งก่อน สัมผัสตัวผู้ป่วย ตามสภาพอาการของผู้ป่วย และเหตุการณ์ 4.3 ประเมินสถานการณ์สิ่งแวดล้อม สถานที่เกิดเหตุ ว่ามีความปลอดภัยเพียงพอสำหรับการเข้าไป ช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยได้หรือไม่ รถพยาบาลจอดในที่ที่ปลอดภัยหรือไม่ ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการเคลื่อนย้าย โดยเร็ว เนื่องจากบริเวณนั้นมีอันตรายหรือไม่ 4.4 กรณีอุบัติเหตุจราจร ถ้าจอดบนผิวจราจร ให้ตั้งไฟฉุกเฉินสามขา บอกให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะราย อื่นทราบ หรือให้คนยืนโบกมือให้สัญญาณห่างออกไป 200 เมตร ทั้งสองทิศทาง ถ้าเป็นบริเวณที่มีน้ำมันหก บนพื้นสังเกตดูว่ามีใครกำลังสูบบุหรี่อยู่หรือไม่ 4.5 สร้างความปลอดภัยให้สถานที่ก่อนเข้าไป เช่น ปิดสวิตซ์เครื่องยนต์ของรถที่ประสบอุบัติเหตุ ขึ้นเบรกมือหรือเข้าเกียร์หรือหนุนล้อ ถ้ารถที่ประสบเหตุอยู่ในสภาพที่ไม่เสถียร พร้อมที่จะพลิกได้ ให้ หาทางป้องกันไม่ให้พลิกก่อนที่จะเข้าไป 4.6 ในพื้นที่ที่มีเหตุการณ์ ซึ่งอาจมีปัญหาทางกฎหมายตามมา ต้องวางแผนให้การเข้าไปไม่ทำลาย หลักฐานต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการสอบสวนและสืบสวนของเจ้าหน้าที่ 4.7 วางแผนการทำงานเป็นทีมที่มีการประสานกันอย่างดี จะทำให้มีความปลอดภัยในการทำงาน สูงขึ้น เช่นคนหนึ่งกันคนมุงดูเหตุการณ์ อีกคนค้นหาสิ่งอันตราย เช่น สายไฟ น้ำมันหก ป้ายสารพิษ จะทำ ให้อันตรายถูกจัดการเป็นระบบและรวดเร็ว 4.8 เมื่อความปลอดภัยในพื้นที่ปฏิบัติการเกิดขึ้นแล้ว และพร้อมที่จะเข้าไปปฏิบัติการได้แล้ว จึงหัน มาสร้างความปลอดภัยส่วนบุคคล ก่อนลงไปช่วยผู้บาดเจ็บ 4.9 เมื่อจะเข้าช่วยเหลือผู้ป่วย ให้ประเมินสภาพการเจ็บป่วย หรือกลไกการบาดเจ็บ เช่น เหตุการณ์ นั้นเกิดกับคนหมู่มากหรือไม่ จำเป็นต้องขอกำลังสนับสนุนหรือไม่ ถ้าต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมให้ ประสานศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการทันที ระหว่างนี้ก็ให้ทำการคัดแยกประเภทผู้ป่วยตามระดับความรุนแรง 4.10 ปฏิบัติการ ณ จุ ดเกิดเหตุ จัดการอย่างเป็นระบบ รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โดยการประเมิน สภาพผู้ป่วยเบื้องต้นตามขั้นตอนการประเมิน พร้อมทั้งประเมินร่างกายตามระบบอย่างรวดเร็ว หรือทำการ ประเมินเฉพาะตำแหน่งที่มีอาการ ขึ้นอยู่กับสภาพผู้ป่วยแต่ละราย 4.11 การเตรียมนำส่งผู้ป่วยหรือประสานขอสนับสนุนชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูง -แก้ไขภาวะวิกฤต ตามศักยภาพที่สามารถทำได้ในขณะนั้น แต่ไม่ควรเสียเวลา ณ จุดเกิดเหตุนาน เกินไป 93 - ตรวจสอบการทำแผล ห้ามเลือด และการตรึงผู้ป่วยให้เรียบร้อย - ยกและเคลื่อนย้ายผู้ป่วย อย่างถูกวิธีและเหมาะสม และไม่เปิดเผยร่างกายผู้ป่วย ขณะยกหรือ เคลื่อนย้าย หรือขณะให้การปฐมพยาบาลต่างๆ ณ จุดเกิดเหตุ 4.12 แจ้งศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการรับทราบ เพื่อพิจารณาโรงพยาบาลที่จะนำส่ง และแจ้งอีกครั้ง เมื่อจะออกจากที่เกิดเหตุ 5. การปฏิบัติการขณะนำส่งโรงพยาบาล - แจ้งศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการทราบ ว่าจะนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลใด เพื่อจะได้ประสานกับ โรงพยาบาลนั้นๆ เตรียมรับผู้ป่วย -ประเมินสภาพของผู้ป่วยเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่องระหว่างนำส่ง จนถึงโรงพยาบาล ถ้าผู้ป่วยมี อาการแย่ลงให้รีบประสานศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ เพื่อประสานการช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป - ตรวจวัดสัญญาณชีพเพิ่มเติม - ปลอบโยน ให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยและครอบครัว พร้อมทั้งให้ข้อมูลเกี่ยวกับการนำส่งโรงพยาบาลเพื่อ คลายความวิตกกังวล - ขับรถด้วยความระมัดระวัง ตามกฎจราจร หากผู้ป่วยอาการไม่สาหัส ไม่มีปัญหาการหายใจหรือ ทางเดินหายใจไม่จำเป็นต้องขับรถด้วยความสูง 6. การปฏิบัติเมื่อถึงโรงพยาบาล - แจ้งศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการรับทราบ - เคลื่อนย้ายผู้ป่วยลงจากรถด้วยความระมัดระวัง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุซ้ำซ้อน - นำส่งผู้ป่วยยังห้องฉุกเฉิน พร้อมรายงานเหตุการณ์ อาการผู้ป่วย และการช่วยเหลือที่ให้ ณ จุดเกิด เหตุแก่แพทย์หรือพยาบาลห้องฉุกเฉิน พร้อมให้แพทย์หรือพยาบาล ทำการประเมินการดูแล ณ จุดเกิดเหตุ ในแบบบันทึกรายงาน ว่าผู้ป่วยได้รับการดูแลที่เหมาะสมหรือไม่ 7. การปฏิบัติหลังการปฏิบัติการ 7.1 หลังจากส่งผู้ป่วย ยังห้องฉุกเฉิน แล้ว - ให้แจ้งศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการรับทราบ - เตรียมตัวสำหรับการออกปฏิบัติการครั้งต่อไป - ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อรถพยาบาล รวมทั้งอุปกรณ์ต่างๆ หลังใช้งาน ทุกครั้ง - จัดเติมอุปกรณ์เพื่อชดเชยที่ถูกใช้ไป สำหรับเตรียมพร้อมในการปฏิบัติการครั้งต่อไป 7.2 หลังเสร็จสิ้นภารกิจ - ตรวจสอบน้ำมันรถพยาบาล - เขียนรายงานบันทึก ผลการปฏิบัติงาน ข้อมูลผู้ป่วยให้เรียบร้อย - แจ้งศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ รับทราบ และเตรียมพร้อมสำหรับการออกปฏิบัติการครั้งต่อไป มาตรการและข้อกำหนดของพนักงานขับรถพยาบาลฉุกเฉิน ก. ขณะเดินทาง 1. การกำหนดรหัสการออกปฏิบัติการ รหัส 2 ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน (คนไข้สีแดงและเหลือง) รหัส 1 ผู้ป่วยฉุกเฉินอื่นๆ ผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง (คนไข้สีเขียว) รหัส 0 ผู้ป่วยอื่นๆ 2. ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ สั่งการการออกเหตุตามข้อมูลที่ได้รับจากการแจ้งเหตุ 94 3. รหัส 2 ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (คนไข้สีแดง) ต้องได้รับการสั่งการโดยศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ เท่านั้น เมื่อได้รับการสั่งการให้ออกเหตุโดย รหัส 2 (แดง) ต้องเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินและเสียงไซเรนตลอด การเดินทาง รวมถึงการขับขี่รถพยาบาลตามระเบียบปฏิบัติในกรณีฉุกเฉินวิกฤต 4. รหัส 1 ผู้ป่วยฉุกเฉินอื่นๆ ผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง (คนไข้สีเขียว) ให้เปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินแต่ไม่ ต้องเปิดเสียงไซเรนและขับขี่รถพยาบาลตามระเบียบการขับรถในภาวะปรกติ 5. รหัส 0 (ขาว) ไม่เปิดสัญญาณไฟฉุกเฉิน และเสียงไซเรน และขับขี่รถพยาบาลตามระเบียบการ ขับรถ ในภาวะปรกติ 6. เมื่อถึงจุดเกิดเหตุ หัวหน้าทีมกู้ชีพ ต้องประเมินสภาพผู้ป่วย แจ้งศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ เพื่อสั่งการให้นำส่งผู้ป่วย โดยใช้รหัส ตามสภาพของผู้ป่วย 7. ใช้ความเร็วในการขับขี่รถพยาบาลฉุกเฉินเมื่อได้รับรหัส 2 (แดงและเหลือง)มากกว่า อัตรา ความเร็ว ของอัตราความเร็วที่กฎหมายกำหนดในเทศบาล และนอกเขตเทศบาล ไม่เกิน 15 กม. หมายถึง ในเขตเทศบาล ไม่เกิน 95 กม./ชม. และนอกเขตเทศบาล ไม่เกิน 135 กม./ชม. 8. เมื่อขับผ่านทางแยก จะต้องไม่ใช้ความเร็วเกินกำหนด ไม่ว่าจะเป็นรหัสสีอะไรก็ตาม 9. เมื่อขับผ่านทางแยกไม่ว่าจะมีสัญญาณไฟจราจรหรือไม่ จะต้องขับผ่านด้วยความระมัดระวัง 10. เมื่อขับผ่านทางแยก ที่เป็นสัญญาณไฟแดง หรือผ่านทางรถไฟ จะต้องหยุด ก่อนที่จะขับต่อไป ด้วยความระมัดระวัง 11. ในถนนที่มีหลายเลน การเปลี่ยนเลน ให้ปฏิบัติเหมือนการขับรถผ่านทางแยก 12. เมื่อมีความจำเป็นต้องขับรถย้อนศร ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 30 กม./ชม. 13. รถพยาบาลฉุกเฉินจะต้องไม่เป็นรถพ่วง หรือรถบรรทุก (รถที่ใช้ปฏิบัติการรหัส 2) 14. ผู้ขับขี่ต้องขับขี่ด้วยความระมัดระวังและเป็นไปตามมาตรา 75 ของ พรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2550 ข. ขณะจอดปฏิบัติงาน 1. การจอดรถพยาบาล ต้องเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินทุกดวง 2. ต้องประเมินจุดเกิดเหตุ และพิจารณาจอดรถในที่เกิดเหตุอย่างปลอดภัย 3. ต้องวางกรวยยางจราจรเป็นระยะ เพื่อป้องกันการเกิดเหตุซ้อน 4. จอดห่างจากที่เกิดเหตุ 15 เมตร 5. บุคลากรทุกคนที่ออกปฏิบัติงานต้องแต่งตัวด้วยชุดสะท้อนแสง มีกระบองไฟ มีคนรับผิดชอบ ควบคุมการจราจร ณ จุดเกิดเหตุ 95 การเขียนรายงาน ในการปฏิบัติงานบริการการแพทย์ฉุกเฉินในแต่ละครั้งตั้งแต่ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ แจ้งให้ชุด ปฏิบัติการออกปฏิบัติ การจนกลับถึงฐาน ผู้ออกปฏิบั ติการจะต้องมีการลงบันทึกข้ อมูลเกี่ยวกับการออก ปฏิบัติการ การประเมินผู้ป่วยฉุกเฉิน การให้การช่วยเหลือเบื้องต้น ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และนำข้อมูล ผู้ป่วยที่บันทึกส่งต่อให้กับโรงพยาบาลปลายทาง เพื่อให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการดูแลรักษา อย่างต่อเนื่อง และเพื่อเป็นหลักฐานเมื่อมีการตรวจสอบข้อมูลการออกปฏิบัติงาน รวมทั้งสามารถนำข้อมูลมาใช้ในการ พัฒ นางานของหน่วยงานต่อไปได้ โดยระบบการแพทย์ฉุกเฉินได้กำหนดแบบฟอร์มการลงบันทึกการ ปฏิบัติงานบริการการแพทย์ฉุกเฉินแต่ละระดับของหน่วยปฏิบัติการไว้เป็นแบบเดียวกันทั่วประเทศ วัตถุประสงค์ 1) มีความรู้ ความเข้าใจในแบบบันทึกการปฏิบัติงานหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน ระดับพื้นฐาน 2) สามารถบันทึกแบบบันทึกการปฏิบัติงานหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินระดับพื้นฐานได้ อย่างถูกต้อง 96 แบบบันทึกการปฏิบัติงานหน่วยปฏิบตั กิ ารการแพทย์ฉุกเฉินระดับพื้นฐาน 1. ลำดับผูป้ ่วย(CN).................................. หน่วยบริการ เลขที่ผู้ป่วย............................................ ชื่อหน่วยบริการ .....................................................................................วันที่ ................................................... ปฏิบัติการที่ ...................................... เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ1................................................................ รหัส .................... 2........................................................... รหัส ...................... 3................................................................ รหัส ....................4........................................................... รหัส ...................... พบเหตุ สถานที่เกิดเหตุ................................................................................................................................................ ผลการปฏิบัติงานไม่พบเหตุ ......................................................................................................................................... เหตุการณ์ .......................................................................... 2. ข้อมูลเวลา เวลา (น.) รับแจ้ง สั่งการ ออกจากฐาน ถึงที่เกิดเหตุ ออกจากที่เกิดเหตุ ถึงรพ. ถึงฐาน .............น. ................น. ...............น. ................น. ....................น. ...................น. ...................น. ..................................................นาที Response time =……………………นาที รวมเวลา (นาที) เลข กม. ........................................ ระยะทาง (กม.) รวมระยะทางไป........................................... กม. ..............................................นาที ................................................. ........................ ........................ ระยะทางกลับ...................กม. ระยะไป รพ...................................กม. 3. ข้อมูลผู้ป่วย คำนำหน้าชือ่ ผู้ป่วย .............................................................................. อายุ ..........ปี เพศ (จากระบบ) ชาย หญิง ประกันอื่นๆ (ถ้ามี) ประกันท่องเที่ยว ประเทศ.......................... คนไทย เลขบัตรประชาชน (ปรับformat)..................................................... แรงงานต่างด้าว ชาวต่างชาติ ประเทศ.......................................................... เลขที่หนังสือเดินทาง..................................................... สิทธิการรักษา บัตรทอง ข้าราชการ ประกันสังคม แรงงานต่างด้าวขึ้นทะเบียนไม่มีหลักประกัน ผู้ประสบภัยจากรถ ประเภทรถ.........................ทะเบียนรถหมวด .....................เลขทะเบียน.............................จังหวัด ............................. สภาพผู้ป่วย บาดเจ็บ/อุบัติเหตุ ประเภทผู้ป่วย ป่วยฉุกเฉิน Vital signs Time T BP PR Neuro Signs RR E V ความรู้สึกตัว รู้สึกตัวดี ซึม หมดสติปลุกตืน่ หมดสติปลุกไม่ตนื่ การหายใจ ปกติ เร็ว ช้า ไม่สม่ำเสมอ บาดแผล ไม่มี แผลถลอกฉีกขาด / ตัด แผลฟกช้ำ กระดูกผิดรูป ไม่มี ผิดรูป DTX M เอะอะโวยวาย ไม่หายใจ แผลไหม้ ถูกยิง ถูกแทงอวัยวะตัดขาดถูกระเบิด อวัยวะ ศีรษะ/คอใบหน้าสันหลัง/หลังหน้าอก/ไหปลาร้าช่องท้องเชิงกราน Extremities ผิวหนัง Multiple injury back การช่วยเหลือ 97 ทางเดินหายใจ /การหายใจ ไม่ เปิดทางเดินหายใจ ใส่ Oral airway บาดแผล/ห้ามเลือด ไม่ การกดห้ามเลือดทำแผล การดามกระดูก ไม่ เผือกลม/ไม้ดาม/ sling ช่วยฟื้นคืนชีพ ไม่ได้ทำ ทำ ให้ O2canula/mask เฝือกดามคอและกระดานรองหลังยาว ผลการดูแลรักษาขั้นต้น ไม่ยอมให้รักษา ทุเลา คงเดิม/คงที่ ทรุดหนัก Ambu bag Pocket Mask เฝือกหลังและคอ (KED) เสียชีวิต ณ จุดเกิดเหตุ เสียชีวิตขณะนำส่ง 4. เกณฑ์การตัดสินใจส่งโรงพยาบาล (โดยหัวหน้าทีมและ/ผ่านการเห็นชอบของศูนย์) นำส่งห้องฉุกเฉินโรงพยาบาล* .................................................................... รพ.รัฐ รพ.เอกชน เหตุผล เหมาะสม/สามารถรักษาได้ อยู่ใกล้ มีหลักประกัน เป็นผู้ป่วยเก่า เป็นความประสงค์ (เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ) ผู้สรุปรายงาน ........................................................... รหัส............. 5. การประเมิน/รับรองการนำส่ง (โดยแพทย์ พยาบาล ประจำโรงพยาบาลที่รับดูแลต่อ) HN......................................... การวินิจฉัยโรค.......................................................................................... ระดับการคัดแยก (ER Triage) แดง (วิกฤติ) L1, L2 เหลือง (เร่งด่วน) L3 เขียว (ไม่รุนแรง) L4 ผู้ป่วย ขาว (ทั่วไป) L5 ดำ (รับบริการสาธารณสุขอื่น) ไม่ใช่ ทางเดินหายใจ ไม่จำเป็น ไม่ได้ทำ ทำและเหมาะสม ทำแต่ไม่เหมาะสม ระบุ…................................. การห้ามเลือด ไม่จำเป็น ไม่ได้ทำ ทำและเหมาะสม ทำแต่ไม่เหมาะสม ระบุ…................................. การดามกระดูก ไม่จำเป็น ไม่ได้ทำ ทำและเหมาะสม ทำแต่ไม่เหมาะสม ระบุ…................................. ชื่อผู้ประเมิน ................................................................................... ตำแหน่ง แพทย์ พยาบาล อื่น ๆ .................................... 6. ผลการรักษาที่/ในโรงพยาบาล (ติดตามในวันสิ้นเดือน) Admitted Yes No ทุเลา รักษาต่อที่อื่น ยังรักษาในรพ. เสียชีวิตใน รพ. ปฏิเสธการรักษา/หนีกลับ กลับไปตายบ้าน ตามแล้วไม่ทราบ ผล ส่งแบบบันทึกกลับมาทีส่ ำนักงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินประจังหวัดก่อนวันสิ้นเดือนนั้น 98 แบบบันทึกการปฏิบัติงานหน่วยปฏิบตั กิ ารการแพทย์ฉุกเฉินระดับพื้นฐาน 1. ลำดับผูป้ ่วย(CN).................................. หน่วยบริการ เลขที่ผู้ป่วย............................................ ชื่อหน่วยบริการ ...................................................................................... วันที่ ................................................... ปฏิบัติการที่ ...................................... เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ1................................................................ รหัส .................... 2........................................................... รหัส ...................... 3................................................................รหัส ....................4........................................................... ผลการปฏิบัติงานไม่พบเหตุ รหัส ...................... พบเหตุ สถานที่เกิดเหตุ................................................................................................................................................ ......................................................................................................................................... เหตุการณ์ .......................................................................... รายการ(ตัวแปร) ลำดับผู้ป่วย(CN) ความหมาย - เป็นเลขที่ได้จากการลงบันทึกในระบบ ITEMS แสดง ลำดับผู้ป่วยฉุกเฉินของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ เลขที่ผู้ป่วย - เป็นเลขที่ได้จากการลงบันทึกในระบบ ITEMS แสดง ลำดับผู้ป่วยฉุกเฉินของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ชื่อหน่วยบริการ - ชื่อของหน่วยบริการที่ออกปฏิบัติการ วันที่ - วันที่ที่ได้รับคำสั่งให้ออกปฏิบัติการลงวันที่ เดือน ปฏิบัติการที่ -เป็นเลขที่ได้จากการลงบันทึกในระบบ ITEMS เพื่อ แสดง ปี เดือน รหัสจังหวัด รหัสเครื่อง ลำดับ เหตุการณ์ ในแต่ละเดือนของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่ง การ เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ - รายชื่อเจ้าหน้าที่ที่ออกปฏิบัติการในครั้งนี้ รวมทั้ง รหัสประจำตัวของแต่ละบุคคลที่ได้รับการออกโดย ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของจังหวัดนั้นๆ สถานที่เกิดเหตุ - ชื่ออาคาร บ้านเลขที่ ถนน ตรอก ซอย หรือแยก โค้ง หรือเลขกิโลเมตร ที่ผู้ป่วยฉุกเฉินอยู่ขณะต้องการความ ช่วยเหลือ พร้อมเบอร์โทรศัพท์ของผู้แจ้ง เหตุการณ์ - เหตุของการเจ็บป่วยในครั้งนี้ รหัส ความหมายของ รหัส 99 2. ข้อมูลเวลา เวลา (น.) รับแจ้ง สั่งการ ออกจากฐาน ถึงที่เกิดเหตุ ออกจากที่เกิดเหตุ ถึงรพ. ถึงฐาน .............น. ................น. ...............น. ................น. ....................น. ...................น. ...................น. รวมเวลา (นาที) เลข กม. ระยะทาง (กม.) รายการ(ตัวแปร) รับแจ้ง สั่งการ ออกจากฐาน ถึงที่เกิดเหตุ ออกจากที่เกิดเหตุ ถึง รพ. ถึงฐาน Response Time เลข กม.1 ..................................................นาที Response time =……………………นาที ..................1...................... ..............................................นาที .......................2.......................... รวมระยะทางไป....................1....................... กม. ...........3............. ............4............ ระยะทางกลับ.........3..........กม. ระยะไป รพ................2...................กม. ความหมาย - เวลาที่ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการประจำจังหวัด ได้รับแจ้งเหตุ บางครั้งอาจเป็นเวลาที่หน่วยบริการรับ แจ้งเหตุเอง - เวลาที่ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการประจำจังหวัดสั่งให้ รถของหน่วยบริการออกปฏิบัติงานตามที่ได้รับแจ้ง เหตุ - เวลาที่รถของหน่วยบริการออกปฏิบัติงานหลังจากที่ ได้รับคำสั่งจากศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ - เวลาที่รถของหน่วยบริการไปถึงจุดที่เกิดเหตุ - เวลาที่รถของหน่วยบริการออกจากที่เกิดเหตุ หลังจากให้การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินแล้ว - เวลาที่รถของหน่วยบริการมาถึง รพ.เพื่อส่งผู้ป่วย ฉุกเฉิน - เวลาที่รถของหน่วยบริการกลับมาถึงจุดที่จอด เตรียมพร้อมใน แต่ละพื้นที่(ในกรณีนำผู้ป่วยฉุกเฉินส่ง รพ.ซึ่งเป็นที่ตั้งของหน่วยบริการเองใส่ 0) - ระยะเวลารวมตั้งแต่ศูนย์สั่งการได้รับแจ้งเหตุ จนกระทั่ง รถพยาบาลถึงที่เกิดเหตุในกรณีที่หน่วย บริการอยู่ที่เกิดเหตุแล้วแจ้งมายังศูนย์รับแจ้งเหตุและ สั่งการ เพื่อปฏิบัติงาน - เลขกิโลเมตรของรถพยาบาลขณะออกจากที่ตั้ง หน่วยบริการ รหัส ความหมายของ รหัส 100 รายการ(ตัวแปร) ความหมาย เลข กม.2 รหัส ความหมายของ รหัส - เลขกิโลเมตรของรถพยาบาลขณะถึงที่เกิดเหตุ เลข กม.3 - เลขกิโลเมตรของรถพยาบาลขณะถึงโรงพยาบาลที่ นำส่งผู้ป่วยฉุกเฉิน เลข กม.4 - เลขกิโลเมตรของรถพยาบาลขณะกลับมาถึงจุดที่ จอดเตรียมพร้อมประจำพื้นที่ (ในกรณีนำผู้ป่วยฉุกเฉิน ส่ง รพ.ซึ่งเป็นที่ตั้งของหน่วยบริการเองใส่ 0) รวมระยะทางไป (ระยะ - ระยะทางจากจุดที่ตั้งของรถพยาบาลถึงที่เกิดเหตุ ทางฐาน - เหตุ) Km1 เป็น กม.(กม.2 ลบด้วย กม.1) ระยะทางไป รพ. - ระยะทางจากจุดที่เกิดเหตุถึง รพ.ที่รับผู้ป่วยฉุกเฉิน (ระยะ เป็น (กม.3 ลบด้วย กม.2) ทางเหตุ - รพ.) Km2 ระยะทางกลับ(ระยะ - ระยะทางจากรพ.ที่ส่งผู้ป่วยฉุกเฉินถึงจุดที่จอด ทาง รพ.– ฐาน) Km3 เตรียมพร้อมในแต่ละพื้นที่ เป็น กม. (กม.4 ลบด้วย กม.3) (ในกรณีนำผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินส่ง รพ.ซึ่งเป็นที่ตั้ง ของหน่วยบริการเองใส่0) - เวลาที่หน่วยบริการใช้เดินทางจากที่เกิดเหตุเพื่อกลับ ฐาน (เวลาถึงฐานลบด้วยเวลาถึง รพ.) เวลาที่ใช้จะ เป็นนาที เช่น 15 นาที 3. ข้อมูลผู้ป่วย คำนำหน้าชือ่ ผู้ป่วย .............................................................................. อายุ ..........ปี เพศ (จากระบบ) ชาย หญิง คนไทย เลขบัตรประชาชน (ปรับformat)..................................................... แรงงานต่างด้าว ชาวต่างชาติ ประเทศ.......................................................... เลขที่หนังสือเดินทาง..................................................... สิทธิการรักษา บัตรทอง ข้าราชการ ประกันสังคม แรงงานต่างด้าวขึ้นทะเบียนไม่มีหลักประกัน ประกันอื่นๆ (ถ้ามี) ประกันท่องเที่ยว ประเทศ .......................... ผู้ประสบภัยจากรถ ประเภทรถ.........................ทะเบียนรถหมวด .....................เลขทะเบียน.............................จังหวัด ............................. สภาพผู้ป่วย บาดเจ็บ/อุบัติเหตุ ประเภทผู้ป่วย ป่วยฉุกเฉิน Vital signs Time ความรู้สึกตัว T BP รู้สึกตัวดี PR ซึม Neuro Signs RR หมดสติปลุกตืน่ E V หมดสติปลุกไม่ตนื่ DTX M เอะอะโวยวาย 101 การหายใจ ปกติ เร็ว ช้า ไม่สม่ำเสมอ บาดแผล ไม่มี แผลถลอกฉีกขาด / ตัด แผลฟกช้ำ กระดูกผิดรูป ไม่มี ผิดรูป ไม่หายใจ แผลไหม้ ถูกยิง ถูกแทงอวัยวะตัดขาดถูกระเบิด อวัยวะ ศีรษะ/คอใบหน้าสันหลัง/หลังหน้าอก/ไหปลาร้าช่องท้องเชิงกราน Extremities ผิวหนัง Multiple injury back การช่วยเหลือ ทางเดินหายใจ /การหายใจ ไม่ เปิดทางเดินหายใจ ใส่ Oral airway บาดแผล/ห้ามเลือด ไม่ การกดห้ามเลือดทำแผล การดามกระดูก ไม่ เผือกลม/ไม้ดาม/ sling ช่วยฟื้นคืนชีพ ไม่ได้ทำ ทำ เฝือกดามคอและกระดานรองหลังยาว ผลการดูแลรักษาขั้นต้น ไม่ยอมให้รักษา ทุเลา คงเดิม/คงที่ ทรุดหนัก รายการ(ตัวแปร) ชื่อผู้ป่วย ให้ O2canula/mask Ambu bag เฝือกหลังและคอ (KED) เสียชีวิต ณ จุดเกิดเหตุ เสียชีวิตขณะนำส่ง ความหมาย อายุ - ชื่อ-สกุล ผู้ป่วยฉุกเฉินที่หน่วย บริการออกไปให้การช่วยเหลือ - อายุเป็นปีของผู้ป่วยฉุกเฉิน เพศ - เพศของผู้ป่วยฉุกเฉิน คนไทยเลขบัตรประชาชน - กรณีเป็นคนไทย ให้ลงเลขบัตร ประชาชน 13 หลัก แรงงานต่างด้าว - กรณีเป็นแรงงานต่างด้าวให้ลงเลข ขึ้นทะเบียนของผู้ป่วยฉุกเฉิน ชาวต่างประเทศ…….. - กรณีเป็นชาวต่างประเทศ ให้ระบุ เลขที่หนังสือเดินทาง ประเทศ และเลขที่หนังสือเดินทาง ของผู้ป่วยฉุกเฉิน สิทธิการรักษา - หลักประกันด้านการ รักษาพยาบาลของผู้ป่วยฉุกเฉิน รหัส ความหมายของรหัส 1 2 เพศชาย เพศหญิง 1 บัตรทอง 2 ข้าราชการ 3 ประกันสังคม 4 แรงงานต่างด้าวขึ้นทะเบียน Pocket Mask 102 รายการ(ตัวแปร) ประกันอื่นๆ ประเภทผู้ป่วย บาดเจ็บ/อุบัติเหตุ ป่วยฉุกเฉิน Vital signs Neuro Signs DTX ความรู้สึกตัว (motor conscious) ความหมาย - กรณีผู้ป่วยใช้หลักประกันอื่นๆ ใน การรักษาพยาบาล - การบาดเจ็บทั้งอุบัติเหตุและไม่ใช่ อุบัติเหตุ - การเจ็บป่วยอื่นๆ ที่ไม่ได้เกิดจาก อุบัติเหตุ รวมถึงการเจ็บครรภ์ ระยะแรก -มีการวัดสัญญาณชีพ ชีพจร การ หายใจ ความดันโลหิต เป็นระยะ ตามอาการผู้ป่วยฉุกเฉิน - กรณีเป็นผู้บาดเจ็บให้เช็คระดับ ความรู้สึกตัวGlasgow Coma Scale (GCS) - กรณีเป็นผู้ป่วยเบาหวานให้เจาะ ประเมินระดับน้ำตาลจากปลายนิ้ว - ระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย ฉุกเฉิน รหัส ความหมายของรหัส 5 ไม่มีหลักประกัน 1 -รู้สึกตัวดี คือ สามารถตอบสนองต่อ สิ่งกระตุ้นได้อย่างรวดเร็ว รู้จักตัวเอง สิ่งแวดล้อม เวลา สถานที่ ทำตามคำสั่งได้ถูกต้อง -ซึม คือ ง่วงนอนตลอดเวลา ระดับ ความรู้สึกตัวช้าลง ตอบคำถามได้ แต่สับสน -หมดสติปลุกตื่น คือหลับสนิทแต่ ปลุกตื่น ต้องปลุกแรงๆจึงจะตื่น เมื่อหยุดปลุกก็หลับต่อ -หมดสติปลุกไม่ตื่นคือ ไม่รู้สึกตัว ไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น -เอะอะโวยวาย คือ สับสน ผุดลุกผุดนั่ง เอะอะไม่ให้ ความร่วมมือในการรักษา 2 3 4 5 103 รายการ(ตัวแปร) การหายใจ (basic respiration) ความหมาย -อัตราการหายใจของผู้เจ็บป่วย ฉุกเฉิน รหัส 1 2 3 4 5 บาดแผล (basic wound) ลักษณะการเกิดบาดแผล 1 2 3 4 5 6 7 8 ความหมายของรหัส -ปกติ ผู้ใหญ่ 12-24 ครั้ง/นาที เด็กทารก 30-70 ครั้ง/นาที เด็กโต 20-28 ครั้ง/นาที -หายใจเร็วผู้ใหญ่มากกว่า 30 ครั้ง/ นาที เด็กทารก มากกว่า 60 ครั้ง/นาที เด็กโตมากกว่า 30ครั้ง/นาที -หายใจช้าผู้ใหญ่น้อยกว่า10 ครั้ง/นาที เด็กทารกน้อยกว่า35 ครั้ง/นาที เด็กโตน้อยกว่า 16 ครั้ง/นาที -หายใจไม่สม่ำเสมอ หายใจเร็วหรือ ช้าสลับกับปกติ และบางครั้งหยุด หายใจเป็นช่วงๆ -ไม่หายใจ หน้าอกไม่เคลื่อนไหว ไม่มีลมออกมาทางจมูก -ไม่มี ไม่พบบาดแผล -แผลถลอก (abrasion) คือ แผลถลอกผิวหนังหลุด อาจเห็นเป็น รอยครูด เช่น ถูกรถชนแล้วกระเด็น ครูดกับถนน -ฉีกขาด/ตัด (cut) คือ แผลเกิดจาก ของมีคมขอบเรียบ -แผลฟกช้ำ (contusion)คือ มี เลือดออกในเนื้อเยื่อต่างๆมีสีน้ำเงิน ดำเป็นแนว หากเลือดออกมากจะ เห็นเป็นก้อนบวม -แผลไหม้ (Burn) คือ บาดแผลที่เกิด จากไฟไหม้ ความร้อน สารเคมี -ถูกยิง (Gun shot wound) คือ บาดแผลถูกยิง -ถูกแทง (stab wound) คือ แผลถูก แทง -อวัยวะถูกตัดขาด(Amputate) คือ 104 รายการ(ตัวแปร) ความหมาย รหัส ความหมายของรหัส 9 อวัยวะที่ถูกตัดขาด -ถูกระเบิด แผลที่เกิดจากการกระแทก โดยของแข็งไม่มีคมขอบแผลจะไม่ เรียบ กระดูกผิดรูป -การผิดรูปของกระดูก 1 2 -ไม่มี ไม่พบการผิดรูปของกระดูก -ผิดรูป พบกระดูกรูปร่างผิดรูป อวัยวะ -อวัยวะส่วนที่ได้รับบาดเจ็บ 1 2 3 -ศีรษะ/คอ มีการบาดเจ็บของศีรษะ/ คอ -ใบหน้า มีการบาดเจ็บบริเวณใบหน้า -สันหลัง/หลัง มีการบาดเจ็บของ กระดูก สันหลัง/หลัง -หน้าอก/ไหปลาร้ามีการบาดเจ็บ ของหน้าอก/ไหปลาร้า -ช่องท้อง มีการบาดเจ็บของช่องท้อง -เชิงกราน มีการบาดเจ็บของเชิงกราน -Extremities มีการบาดเจ็บของแขน/ ขา -ผิวหนัง มีการบาดเจ็บของผิวหนัง -Multiple injuryมีการบาดเจ็บหลาย ส่วน 4 5 6 7 8 9 การช่วยเหลือทางเดิน หายใจ/การหายใจ -วิธีการช่วยเหลือทางเดินหายใจ/ การหายใจ 1 2 3 4 5 -ไม่ คือ ไม่จำเป็นที่จะต้องช่วยเปิด ทางเดินหายใจและช่วยหายใจ -เปิดทางเดินหายใจ คือเอาสิ่ง แปลกปลอมออกจากทางเดินหายใจ เช่น ฟันปลอม เศษอาหาร หรือเปิดทางเดินหายใจ ด้วยท่า Head tile chin lift -ใส่ Oral airway คือการช่วยเปิด ทางเดินหายใจ -ให้ O2 Canula คือ การช่วยหายใจ โดยการให้ O2 ทางจมูก 105 รายการ(ตัวแปร) บาดแผล/ห้ามเลือด ความหมาย -วิธีการช่วยเหลือกรณีมีบาดแผล/ เลือดออก รหัส 6 -Ambu bag คือการช่วยหายใจโดย การใช้Ambu Bag -Pocket Mask คือการช่วยหายใจกับ ผู้ป่วยฉุกเฉินที่หยุดหายใจด้วยการเป่า ปากผ่าน Pocket Mask 1 2 -ไม่จำเป็นต้องทำ -การกดห้ามเลือด กรณีแผลมี เลือดออกมาก ได้ทำการห้ามเลือดด้วย การใช้ผ้าสะอาด และกดด้วยมือหรือใช้ผ้ายึดพัน/รัด -ทำแผลคือ การทำแผลผิวหนังถลอก หรือแผลอื่นๆที่ไม่ใช่แผลที่มีเลือดออก มาก 3 การดามกระดูก -วิธีการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บที่มีการ ผิดรูปของกระดูก ความหมายของรหัส 1 2 3 4 -ไม่จำเป็นต้องทำ -เฝือกลม/ไม้ดาม/sling -เฝือกดามคอและกระดาน รองหลังยาว -เฝือกหลังและคอ(KED) การช่วยฟื้นคืนชีพ -วิธีการช่วยฟื้นคืนชีพ 1 2 -ไม่ได้ทำ -ทำด้วยการนวดหัวใจสลับกับการเป่า ปาก ผลการดูแลรักษาขั้นต้น -การประเมินผลการช่วยเหลือ เบื้องต้น 1 -ไม่ยอมให้รักษา คือผู้ป่วยฉุกเฉินไม่ ยินยอมให้บุคลากรของหน่วยบริการให้ การรักษาพยาบาลและไม่ประสงค์ โรงพยาบาล -ทุเลา คือ เมื่อให้การรักษาพยาบาล แล้วผู้ป่วยฉุกเฉินมีอาการเปลี่ยนแปลง ที่ดีขึ้น -คงเดิม/คงที่ คือเมื่อให้การ รักษาพยาบาลแล้วผู้ป่วยฉุกเฉิน ไม่มี อาการเปลี่ยนแปลง 2 3 4 5 106 รายการ(ตัวแปร) ความหมาย รหัส 6 ความหมายของรหัส -ทรุดหนัก คือ เมื่อให้การ รักษาพยาบาล แล้วผู้ป่วยฉุกเฉินมีอาการมากขึ้น -เสียชีวิต ณ จุดเกิดเหตุ คือ ให้การ รักษาพยาบาลแล้วผู้ป่วยฉุกเฉิน เสียชีวิต ณ เกิดเหตุ -เสียชีวิต ขณะนำส่ง คือ ให้การรักษา พยาบาลแล้วผู้ป่วยฉุกเฉินเสียชีวิต ระหว่างนำส่งโรงพยาบาล 4. เกณฑ์การตัดสินใจส่งโรงพยาบาล (โดยหัวหน้าทีมและ/ผ่านการเห็นชอบของศูนย์) นำส่งห้องฉุกเฉินโรงพยาบาล* .................................................................... รพ.รัฐ เหตุผล เหมาะสม/สามารถรักษาได้ อยู่ใกล้ รพ.เอกชน มีหลักประกัน เป็นผู้ป่วยเก่า เป็นความประสงค์ (เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ) ผู้สรุปรายงาน ........................................................... รหัส............. รายการ (ตัวแปร) ความหมาย รหัส ความหมายของรหัส นำส่งห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาล ให้ระบุชื่อโรงพยาบาลปลายทาง ที่นำส่ง 1 2 -โรงพยาบาลรัฐบาล -โรงพยาบาลเอกชน เหตุผลในการนำส่ง รพ. -เหตุผลที่นำส่งสถานพยาบาล ดังกล่าว 1 -เหมาะสม/สามารถรักษาได้ หมายถึง โรงพยาบาลที่นำผู้ป่วย ฉุกเฉินมาส่งมีศักยภาพในการรักษา พยาบาลเหมาะสม กับสภาพผู้ป่วยฉุกเฉิน -อยู่ใกล้ หมายถึงการนำผู้ป่วยฉุกเฉิน มาส่ง ที่รพ.นี้เพราะอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ ที่สุด -มีหลักประกัน หมายถึง ผู้ป่วยมี ประกันสุขภาพ เช่น ประกันสังคม หรือสิทธิบัตร ทองที่รพ.นำส่งผู้ป่วยฉุกเฉิน -เป็นผู้ป่วยเก่า หมายถึง ผู้ป่วย ฉุกเฉินเป็นผู้ป่วยประจำของ รพ.ที่ นำส่ง 2 3 4 5 107 -เป็นความประสงค์ หมายถึง ผู้ป่วย หรือญาติต้องการมารักษา รพ. นี้ ผู้สรุปรายงาน และรหัส ชื่อผู้เขียนรายงานในการออก ปฏิบัติงาน และเลขรหัสของผู้เขียน รายงานที่ออกโดยสำนักระบบ การแพทย์ฉุกเฉินประจำจังหวัด 5. การประเมิน/รับรองการนำส่ง (โดยแพทย์ พยาบาล ประจำโรงพยาบาลที่รบั ดูแลต่อ) HN......................................... การวินิจฉัยโรค.......................................................................................... ระดับการคัดแยก (ER Triage) แดง (วิกฤติ) L1, L2 เหลือง (เร่งด่วน) L3 เขียว (ไม่รุนแรง) L4 ผู้ป่วย ขาว (ทั่วไป) L5 ดำ (รับบริการสาธารณสุขอื่น) ไม่ใช่ ทางเดินหายใจ ไม่จำเป็น ไม่ได้ทำ ทำและเหมาะสม ทำแต่ไม่เหมาะสม ระบุ…................................. การห้ามเลือด ไม่จำเป็น ไม่ได้ทำ ทำและเหมาะสม ทำแต่ไม่เหมาะสม ระบุ…................................. การดามกระดูก ไม่จำเป็น ไม่ได้ทำ ทำและเหมาะสม ทำแต่ไม่เหมาะสม ระบุ…................................. ชื่อผู้ประเมิน ................................................................................... รายการ (ตัวแปร) HN การวินิจฉัยโรค ระดับการคัดแยก (ER Triage) ตำแหน่ง แพทย์ พยาบาล อื่น ๆ .................................... ความหมาย รหัส ความหมายของรหัส -เลขที่ทั่วไปของผู้ป่วยฉุกเฉินซึ่ง ออกให้โดยโรงพยาบาลที่รับผู้เจ็บ ป่วยฉุกเฉิน - การวินิจฉัยโรคจากแพทย์ใน โรงพยาบาลที่รับผู้ป่วยฉุกเฉิน -การประเมินระดับความรุนแรงของ ผู้ป่วยฉุกเฉิน L1 L2 -แดง (วิกฤต) คือ ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับ บาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหัน ซึ่ง มีภาวะคุกคามต่อชีวิต หากได้รับการ ช่วย เหลือไม่ทันอาจทำมีโอกาส เสียชีวิตได้ -เหลือง (เร่งด่วน) คือ ผู้ป่วยฉุกเฉิน จำเป็นต้องให้การบริการอย่างเร่งด่วน ถ้าทิ้งไว้อาจทำให้สูญเสียชีวิต พิการได้ -สีเขียว (ไม่รุนแรง) คือ ผู้ป่วยที่ไม่ จำเป็น ต้องให้บริการอย่างเร่งด่วน -ขาว (ทั่วไป) คือ ผู้ป่วยตรวจปกติ -ดำ (รับบริการสาธารณสุขอื่น) ไม่ใช่ ผู้ป่วย L3 L4 L5 L6 108 รายการ (ตัวแปร) ความหมาย รหัส ความหมายของรหัส คือ บุคคลผู้มารับบริการสาธารณสุข หรือบริการอื่นโดยไม่จำเป็นต้องใช้ ทรัพยากร การประเมินการนำส่ง ทางเดินหายใจ การห้ามเลือด การดามกระดูก -การประเมินการช่วยเหลือเบื้องต้น ชื่อผู้ประเมิน -ชื่อผู้ประเมินรับผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยโรงพยาบาลที่รับผู้ป่วย 1 2 3 4 -ไม่จำเป็น -ไม่ได้ทำ คือ ควรทำแต่ไม่ได้ทำ -ทำและเหมาะสม -ทำแต่ไม่เหมาะสม(รวมการประเมิน 3 รายการ) 1 2 3 -แพทย์ -พยาบาล -อื่น ๆ ให้ระบุตำแหน่ง ที่โรงพยาบาลปลายทาง ตำแหน่ง -ตำแห่นงของผู้ประเมินรับผู้ป่วย ฉุกเฉินที่โรงพยาบาลปลายทาง 6. ผลการรักษาที่/ในโรงพยาบาล (ติดตามในวันสิ้นเดือน) Admitted Yes No ทุเลา รักษาต่อที่อื่น ยังรักษาในรพ. เสียชีวิตใน รพ. ปฏิเสธการรักษา/หนีกลับ กลับไปตายบ้าน ตามแล้วไม่ ทราบผล รายการ (ตัวแปร) ความหมาย รหัส ความหมายของรหัส Admit -การรับไว้รักษาในโรงพยาบาล 1 2 -Yes ผู้ปว่ ยฉุกเฉินนอนโรงพยาบาล -No ผู้ป่วยฉุกเฉินกลับบ้านหลังจาก ได้รับการตรวจรักษา ระยะเวลาการรักษาใน โรงพยาบาล ผลการรักษาพยาบาล -จำนวนวันที่ผู้ป่วยฉุกเฉินนอน 1 พักรักษาตัว ณ โรงพยาบาลที่ หน่วยบริการนำส่ง -ทุเลา พักรักษาต่อที่บ้าน คือผู้ป่วยฉุกเฉิน ออกจากรพ.เนื่องจากแพทย์ลงความเห็น ว่า อาการทุเลาลงแพทย์ให้นอนพักฟื้นที่บ้าน -รักษาต่อรพ.อื่นๆ คือ ผู้ป่วยฉุกเฉิน /ญาติขอย้ายหรือแพทย์ส่งตัวไปรักษา ตัวต่อ รพ.อื่นๆ 2 109 3 4 5 6 7 -ยังรักษาในโรงพยาบาล คือ รักษาเกิน วัน สิ้นเดือนที่มีการติดตามผู้ป่วยฉุกเฉิน -เสียชีวิตในโรงพยาบาล คือ ผู้เจ็บป่วย ฉุกเฉินที่เสียชีวิตขณะรักษาตัวอยู่ใน โรงพยาบาล -ปฏิเสธการรักษา/หนีกลับ คือ ผู้ป่วยฉุกเฉิน ไม่ยินยอมรับการรักษาหรือ หนีกลับใน ระหว่างอยู่ในโรงพยาบาล -กลับไปตายบ้าน คือ ผู้ป่วยฉุกเฉิน อาการทรุดหนักและญาติขอนำกลับบ้าน -ตามแล้วไม่ทราบผล คือ ค้นหาประวัติ ของ ผู้ป่วยฉุกเฉินไม่พบในโรงพยาบาล แบบฝึกหัด/คำถามท้ายบท 1. จงบอกขั้นตอนการเตรียมความพร้อมของรถพยาบาลฉุกเฉิน ประกอบด้วยอะไรบ้าง 2. จงบอกขั้นเตรียมการปฏิบัติการขณะนำส่งโรงพยาบาล ประกอบด้วย อะไรบ้าง เฉลยแบบฝึกหัด 1. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมของรถพยาบาลฉุกเฉิน ประกอบด้วย 1.1 ตรวจลมยางทั้งสี่เส้น 1.2 ตรวจสอบลมยางอะไหล่ว่ามีลมเต็มพร้อมที่จะใช้แทนยางปกติได้ทันทีหรือไม่ 1.3 ตรวจสอบประตูรถทุกบาน และกลไกการล็อกประตู 1.4 ตรวจสอบสภาพที่ปัดน้ำฝนที่กระจกหน้าว่าผิวยางที่ปัดน้ำฝนสัมผัสกับกระจกเป็นปกติ ไม่ละลายบิดงอ 1.5 เปิดฝากระโปรงหน้ารถ ตรวจน้ำที่หล่อเลี้ยงระบบระบายความร้อน โดยตรวจดูทั้งระดับน้ำในที่ เก็บน้ำและในรังผึ้งระบายความร้อน น้ำกลั่นในหม้อแบตเตอรี่ 1.6 น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันเครื่อง ระบบเบรก 1.7 ระบบไฟ ไฟเลี้ยว ไฟส่องหน้า ไฟสัญญาณฉุกเฉิน เป็นต้น 1.8 แตรรถ ไซเรน 1.9 ระบบระบายอากาศ ระบบทำความเย็นในรถ 1.10 เข็มขัดนิรภัย 1.11 ระบบสื่อสารภายในรถ 1.12 อุปกรณ์การแพทย์ที่ติดกับตัวรถ เช่น ปริมาณออกซิเจนในรถ แบตเตอรี่เครื่องดูดเสมหะในรถ หรือเครื่องกระตุ้นหัวใจไฟฟ้า เปลเข็นผู้ป่วย เป็นต้น 2. ขั้นเตรียมการปฏิบัติการขณะนำส่งโรงพยาบาล ประกอบด้วย - แจ้งศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการทราบ - ประเมินสภาพของผู้ป่วยเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่องระหว่างนำส่ง จนถึงโรงพยาบาล - ตรวจวัดสัญญาณชีพเพิ่มเติม - ปลอบโยน ให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยและครอบครัว - ขับรถด้วยความระมัดระวัง ตามกฎจราจร 110 แผนการสอนสัปดาห์ที่ 5 ชื่อบทเรียน ฝึกปฏิบัติการเตรียมความพร้อม จำนวนชั่วโมง 4 ชม. (ปฏิบตั ิ) จุดประสงค์การสอน (จุดประสงค์ทั่วไป) 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมการปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ 2. เพื่อให้นักเรียนตระหนัก และให้ความสำคัญเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมการปฏิบัติการ ฉุกเฉินการแพทย์ 3. เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ เรื่องการเตรียมความพร้อมการปฏิบัติการฉุกเฉิ นการแพทย์ ไป ประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการเรียนรู้ (จุดประสงค์เฉพาะ) 1. แสดงขั้นตอนการเตรียมความพร้อม อุปกรณ์การแพทย์/อุปกรณ์ป้องกันตนเอง/รถพยาบาล ฉุกเฉินตามมาตรฐานของชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น (EMR = Emergency Responder) 2. แสดงขั้นตอนการเตรียมความพร้อม อุปกรณ์การแพทย์/อุปกรณ์ป้องกันตนเอง/รถพยาบาล ฉุกเฉินตามมาตรฐานของชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับต้น (BLS = Basic Life Support) 3. แสดงขั้นตอนการเตรียมความพร้อม อุปกรณ์การแพทย์/อุปกรณ์ป้องกันตนเอง/รถพยาบาลฉุก ตามมาตรฐานของชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับกลาง (ILS = Intermediate Life Support) 4. แสดงขั้นตอนการเตรียมความพร้อม อุปกรณ์การแพทย์/อุปกรณ์ป้องกันตนเอง/รถพยาบาล ฉุกเฉินตามมาตรฐานของชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูง (ALS = Advance Life Support) วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน 1. การบรรยาย 2. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สื่อการสอน/อุปกรณ์การสอน 1. วัสดุ/อุปกรณ์การแพทย์ 2. เอกสารประกอบการสอน การวัดผล 1. ผลการฝึกปฏิบัติ 2. จิตพิสัย หัวข้อการฝึกปฏิบัติ การเตรียมความพร้อม อุปกรณ์การแพทย์/อุปกรณ์ป้องกันตนเอง/รถพยาบาล ฉุกเฉินตามมาตรฐานของชุดปฏิบัติการฉุกเฉิน ระดับต่าง ๆ จำนวนชั่วโมงฝึกฯ ๔ ชม. 111 ขั้นตอนการเรียนรู้ ลำดับ กิจกรรมการเรียนรู้ เวลา ลักษณะกิจกรรม 1 สาธิ ต การเตรี ย มอุ ป กรณ์ ป ้ อ งกั น 1 ชม. ครูสาธิตการเตรียมอุปกรณ์ ตนเอง/อุปกรณ์ทางการแพทย์ ตาม ป้องกันตนเอง/อุปกรณ์ทาง มาตรฐานรถพยาบาลฉุกเฉิน แต่ละ การแพทย์ ตามมาตรฐาน ระดับ รถพยาบาลฉุกเฉิน แต่ละระดับ - EMR - EMR - BLS - BLS - ILS - ILS - ALS - ALS 2. ฝึ ก การเตรี ย มอุ ป กรณ์ ป ้ อ งกั น ตนเอง/อุปกรณ์ทางการแพทย์ ตาม มาตรฐานรถพยาบาลฉุกเฉิน แต่ละ ระดับ - EMR - BLS - ILS - ALS 3 ชม. แบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 4 กลุ่ม สื่อที่ใช้ อุปกรณ์ป้องกัน ตนเอง/อุปกรณ์ทาง การแพทย์ 112 แผนการสอนสัปดาห์ที่ 6 ชื่อบทเรียน สอบปฏิบัติการเตรียมความพร้อม จำนวนชั่วโมง 4 ชม. (สอบปฏิบัติ) กิจกรรม 1. แบ่งกลุ่มนักเรียน ออกเป็น 4 กลุ่ม 2. เข้าสอบภาคปฏิบัติตามสถานี 4 สถานี - มาตรฐานชุดปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินเบื้องต้น (EMR) - มาตรฐานชุดปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินระดับต้นต้น (BLS) - มาตรฐานชุดปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินระดับกลาง (ILS) - มาตรฐานชุดปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินระดับสูง (ALS) ลำดับ รายชื่อนักเรียน กลุ่มที่ 1 1.นรจ................. ครูนิเทศ เวลา ...... ...... ...... ...... ...... ...... ...... ...... 2.นรจ............... กลุ่มที่ 2 1.นรจ................. 2.นรจ............... กลุ่มที่ 3 1.นรจ................. 2.นรจ............... กลุ่มที่ 4 1.นรจ................. 2.นรจ............... หมายเหตุ 113 แผนการสอนสัปดาห์ที่ 7 ชื่อบทเรียน การสื่อสารในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) จำนวนชั่วโมง 4 ชม.(ทฤษฎี) จุดประสงค์การสอน (จุดประสงค์ทั่วไป) 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ เกี่ยวกับการสื่อสารในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน 2. เพื่อให้นักเรียนตระหนัก และให้ความสำคัญเกี่ยวกับการสื่อสารในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน 3. เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ เรื่องการสื่อสารในระบบการแพทย์ฉุก เฉิน ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ผลการเรียนรู้ (จุดประสงค์เฉพาะ) 1. บอกประเภทของเครื่องวิทยุคมนาคมถูกต้อง 2. ระบุชนิดของเครื่องวิทยุคมนาคมถูกต้อง 3. บอกหลักการ/วิธีการติดต่อสื่อสารถูกต้อง 4. รู้และเข้าใจรหัส ว. ถูกต้อง 5. บอกระเบียบการใช้วิทยุสื่อสารถูกต้อง 6. ระบุข้อมูลสำคัญในการตัดสินใจ/สั่งการปฏิบัติงานของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ถูกต้อง 7. รู้และเข้าใจเทคนิคการสื่อสารและการสัมภาษณ์ 8. รู้และเข้าใจเทคนิคการซักประวัติ วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน 1. การบรรยาย 2. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สื่อการสอน/อุปกรณ์การสอน 1. Power point 2. เอกสารประกอบการสอน 3. วิทยุสื่อสาร การวัดผล 1. การสอบความรู้ 2. รายงาน / งานมอบ 3. จิตพิสัย 114 หัวข้อการบรรยาย การสื่อสารในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน การสื่อสารเป็นระบบการประสานของระบบการแพทย์ฉุกเฉินหากต้องการรักษาชีวิตผู้เจ็บป่วย ฉุกเฉิน จะต้องมีการพัฒนาระบบการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงเครือข่ายการสั่งการ ซึ่งต้องเชื่อมโยง จากที่เกิดเหตุและศูนย์สั่งการให้สามารถติดต่อประสานในการช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 1.การใช้วิทยุ เพื่อการติดต่อสื่อสาร 1.1 วัตถุประสงค์ 1.1.1 สามารถทราบชนิดของเครื่องวิทยุคมคมนาคม 1.1.2 สามารถใช้เครื่องวิทยุคมนาคมได้ 1.1.3 สามารถทราบรหัสวิทยุ และสามารถใช้รหัสวิทยุได้ ลักษณะข่ายสื่อสารทางวิทยุคมนาคมกระทรวงสาธารณสุข ภาพแสดง เครือข่ายการสื่อสารของกระทรวงสาธารณสุข 2. การใช้วิทยุคมนาคมเพื่อการติดต่อสื่อสาร 2.1 ความรู้ระเบียบการใช้วิทยุคมนาคม 2.1.1 ห้ามมิให้ผู้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมปฏิบัติ ดังนี้ 2.1.1.1 ติดต่อสถานีวิทยุที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ของกระทรวงสาธารณสุข 2.1.1.2 ใช้รหัสลับในการติดต่อสื่อสารนอกเหนือไปจากที่ คบค.กำหนด 2.1.1.3 รับส่งข่าวที่ไม่เป็นข่าวราชการ 2.1.1.4 ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่สุภาพในการติดต่อ 2.1.1.5 รับส่งข่าวอันมีเนื้อหาละเมิดต่อกฎหมาย 2.1.1.6 ส่งเสียงดนตรี รายการบันเทิง หรือรายการโฆษณาผ่านเครื่องวิทยุคมนาคม 2.1.1.7 ก่อให้เกิดการรบกวนต่อการสื่อสารของสถานีวิทยุอื่น ๆ 2.1.1.8 ใช้สัญญาณเรียกขานปลอม หรือแอบอ้างให้สัญญาณเรียกขานของผู้อื่น 2.1.1.9 ใช้ช่องสัญญาณติดต่อข่าวสารในขณะที่ผู้อื่นใช้อยู่ 115 2.2 ความรู้เกี่ยวกับความถี่วิทยุคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข ความถี่ที่ใช้งานมี 11 ช่องความถี่ ช่อง 1 ความถี่ 155.175Mhz ช่อง 2 ความถี่ 155.125Mhz ช่อง 3 ความถี่ 153.875Mhz ช่อง 4 ความถี่ 152.250Mhz ช่อง 5 ความถี่ 154.975Mhz ช่อง 6 ความถี่ 155.375Mhz ช่อง 7 ความถี่ 155.475Mhz ช่อง 8 ความถี่ 155.675Mhz ช่อง 9 ความถี่ 155.725Mhz ช่อง 10 ความถี่ 155.775Mhz ช่อง 11 ความถี่ 154.925Mhz การจัดสรรความถี่ให้ใช้งานโดยการกำหนดให้จังหวัดต่างๆ ใช้ความถี่ตามที่กำหนด เพื่อป้องกัน การรบกวนระหว่างการใช้งานระหว่างจังหวัดต่างๆ ในการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมชนิดประจำที่ ซึ่งมีกำลัง ออกอากาศสูงถึง 45 วัตต์ และการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมชนิดติดรถยนต์ มีกำลังส่ง 30 วัตต์ ส่วนการใช้ เครื่องวิทยุคมนาคมชนิดพกพา หรือชนิดมือถือสามารถใช้งานความถี่ได้ทั้ง 11 ช่องความถี่ เนื่องจากเครื่อง วิทยุคมนาคมมีกำลังส่งออกอากาศไม่สูงเพียง 5 วัตต์ 2.3 ประเภทของเครื่องวิทยุคมนาคม เครื่องวิทยุคมนาคมทั้ง 3 ชนิดมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท 2.3.1 ประเภท 1 หมายถึงเครื่องวิทยุคมนาคมที่สามารถปรับค่าความถี่ได้จากหน้าเครื่องรับส่ง วิทยุคมนาคม ผู้ที่สามารถใช้เครื่องวิทยุคมนาคมจะต้องเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมความมั่นคง ตามที่ระบุ ไว้ในระเบียบสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติหรือกรมไปรษณีย์โทรเลขเดิม 2.3.2 ประเภทที่ 2 หมายถึง เครื่องวิทยุคมนาคมที่ไม่สามารถปรับค่าความถี่ได้จากหน้าเครื่อง การปรับความความถี่จะต้องโปรแกรมค่าความถี่จากเครื่องโปรแกรม หรือจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่ง หน่วยงานกระทรวงสาธารณสุขได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องประเภทที่ 2 2.4 ระบบวิทยุคมนาคมที่กระทรวงสาธารณสุขได้รับอนุญาตให้ใช้งานได้ 2.4.1 ระบบ VHF/FM ย่านความถี่ 152-156 Mhz สามารถใช้งานได้ 11 ช่องความถี่และ ความถี่ประชาชนย่านความถี่ 245 Mhz สามารถใช้งานได้ 80 ช่องความถี่ 2.4.2 ระบบ SSB/AM มีความถี่ใช้งาน 4 ช่องความถี่ 2.5 ชนิดของเครื่องวิทยุคมนาคมมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด 2.5.1 ชนิดพกพา หรือมือถือ กำลังส่งออกอากาศสูงสุด 5 วัตต์ 2.5.2 ชนิดติดรถยนต์ หรือชนิดเคลื่อนที่ กำลังส่งออกอากาศสูงสุด 30 วัตต์ 2.5.3 ชนิดประจำที่ กำลังส่งออกอากาศสูงสุด 45 วัตต์ 2.6 ความรู้เกี่ยวกับเครื่องวิทยุคมนาคมการปรับแต่งเพื่อการใช้งาน เครื่องวิทยุคมนาคมมีอยู่ 3 ชนิด ดังนี้ 2.6.1 ชนิดพกพา หรือมือถือ แนวทางการใช้งาน หน้าที่ปุ่มต่างๆ - Power On/off และ Volume - Squelch Volume หรือ Auto Squelch - Power Selection หรือ Up/Down - Select Up/Down Channel - สายอากาศ และแบตเตอรี่ พร้อมใช้งาน 116 2.6.2 ชนิดเคลื่อนที่ หรือติดรถยนต์ แนวทางการใช้งาน หน้าที่ปุ่มต่างๆ - การตรวจสอบอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน - Power on/off - Squelch Volume หรือ Auto Squelch - Power Selection หรือ Up/Down - Select Up/Down Channel - ไมโครโฟน พร้อมใช้งาน - สายอากาศพร้อมใช้งาน 2.6.3 ชนิดประจำที่ แนวทางการใช้งาน หน้าที่ปุ่มต่างๆ - การตรวจสอบอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน - Power On/off - Squelch Volume หรือ Auto Squelch - Power Selection หรือ Up/Down - Select หรือ Up/Down Channel - ต่อแจ็คไมโครโฟน สำหรับรุ่นนั้นๆ - การตรวจสอบแหล่งจ่ายแรงดัน หรือ DC Power Supply เครื่องวิทยุคมนาคมสำหรับราชการ และเครื่องวิทยุคมนาคมความถี่ประชาชน ภาพวิทยุสื่อสารชนิดพกพา ภาพวิทยุสื่อสารชนิดเคลื่อนที่หรือติดรถยนต์ 117 ภาพวิทยุสื่อสารชนิดประจำที่ 2.7 ความสามารถในการสื่อสารด้วยเครื่องวิทยุคมนาคมแต่ละชนิดต่างๆ 2.7.1 เครื่องวิทยุคมนาคมชนิดมือถือ กำลังส่งสูงสุดไม่เกิน 5 วัตต์ สามารถติดต่อสื่อสาร ระยะใกล้ 2.7.2 เครื่องวิทยุคมนาคมชนิดเคลื่อนที่ กำลังส่งสูงสุดไม่เกิน 30 วัตต์ สามารถติดสื่อสารได้ ระยะทางไกล เนื่องจากกำลังส่งออกอากาศสูง 2.7.3 เครื่องวิทยุคมนาคมชนิดประจำที่ กำลังส่งสูงสุดไม่เกิน 45 วัตต์ สามารถสื่อสารได้ ระยะไกล เนื่องจากความสูงของเสาอากาศ และกำลังส่งออกอากาศสูง 2.8 การตั้งค่าต่างๆ เพื่อใช้งานวิทยุคมนาคม ชนิดพกพาหรือมือถือ ชนิดเคลื่อนที่ และชนิด ประจำที่ 2.8.1 การใช้เครื่องวิทยุคมนาคมเป็นเครื่องรับวิทยุคมนาคม 2.8.1.1 เปิดเครื่องวิทยุคมนาคม หรือ Power On 2.8.1.2 เลือกช่องความถี่ใช้งาน ช่อง 1ถึง ช่อง 11 หรือ Select Channel 2.8.1.3 ตั้งความไวในการรับ Squelch select หรือ Auto Squelch 2.8.2 การใช้เครื่องวิทยุคมนาคมเป็นเครื่องส่งวิทยุคมนาคม 2.8.2.1 เปิดเครื่องวิทยุคมนาคม หรือ Power On 2.8.2.2 เลือกช่องความถี่ใช้งาน ช่อง 1ถึง ช่อง 11 หรือ Select Channel 2.8.2.3 เลือกระดับกำลังส่งออก Low Mid และ Hi ตามความเหมาะสม ระยะทางที่ต้องการ ติดต่อสื่อสาร 2.9 การติดตั้งเครื่องวิทยุคมนาคม และการตรวจสอบอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 2.9.1 เปิดเครื่องวิทยุคมนาคม 2.9.2 เลือกช่องความถี่ใช้งาน ช่อง 1-ช่อง 11 หรือ Select Channel 2.9.3 การตั้งค่า SQUELCH Volume เพื่อตั้งความไวในการรับสัญญาณวิทยุ 2.9.4 ตั้งค่ากำลังส่งออกอากาศตามความเหมาะสม 2.9.5 หากต้องการติดต่อสื่อสาร ให้กดคีย์ส่งเพื่อติดต่อสถานีต่างๆถ้าหากต้องการ 2.9.6 ปิดเครื่องวิทยุคมนาคม และ แหล่งจ่ายแรงดัน หากเลิกใช้งาน 2.9.7 หากเป็นวิทยุชนิดประจำที่ ให้ถอดสายอากาศออก เพื่อป้องกันฟ้า กรณีเกิดฝนฟ้า คะนอง 2.10 หลักการและวิธีการติดต่อ หลักการง่ายๆ 2.10.1 ต้องการติดต่อสื่อสารเรื่อง อะไร หมายถึง เรื่องที่ต้องการติดต่อ 2.10.2 ต้องการติดต่อสื่อสารกับ ใคร หมายถึง นามเรียกขานของเขา 118 2.10.3 ต้องการติดต่อสื่อสารกับที่ ไหน หมายถึง ช่องความถี่ที่เขาอยู่ หรือสถานที่เขาอยู่ 2.10.3.1 ดังนั้นเราจะต้องทราบดังนี้ 1) อะไร ว 6 หมายถึง ขอติดต่อสื่อสาร หรือ ว 8 หมายถึง การส่งข่าว หรืออื่นๆ 2) ใคร หมายถึง นามเรียกขาน หรือ ชื่อของผู้ที่ต้องการติดต่อ 3) ไหน หมายถึง ช่องความถี่ ที่ใช้ในการติดต่อ 2.11 ความรู้เกี่ยวกับการใช้รหัส วิทยุ รหัสวิทยุที่จำเป็นต้องทราบสำหรับเจ้าหน้าที่สื่อสาร รหัส ว. ว.0 ว.00 ว. 1 ว.2 ว.3 ว.4 ว.5 ว.6 ว.7 ว.8 ว.9 ว.10 ว.11 ว.12 ความหมาย รับคำสั่ง คอยสักครู่ อยู่ที่ใด ได้ยินแล้ว ทวนข้อความใหม่ ออกปฏิบัติการ ราชการลับ สนทนาโดยตรง ขอความช่วยเหลือด่วน ข้อความต่อเนื่อง มีเหตุฉุกเฉิน หยุดสังเกตการณ์ หยุดรถ ติดต่อวิทยุได้ หยุดรถ ติดต่อวิทยุไม่ได้ รหัส ว. ว.17 ว.18 ว.19 ว.20 ว.21 ว. 22 ว. 23 ว. 24 ว. 25 ว. 26 ว. 27 ว. 28 ว.29 ว.30 ความหมาย มีเหตุอันตราย, ห้ามผ่าน ทดสอบเครื่องยนต์ สถานีถูกโจมตี ตรวจค้น , จับกุม ออกเดินทางจากที่……. ถึงปลายทางที…่ …. ผ่านสถานที่คือ…….. แจ้งเวลา…..เทียบเวลา กำลังเดินทาง,ผ่าน ติดต่อทาง ว. น้อยที่สุด ติดต่อทางโทรพิมพ์ ประชุม มีราชการ , ภารกิจใด จำนวนเท่าใด(คน ,สิ่งของ) ใช้ช่องความถี่ที่ 1 ใช้ช่องความถี่ที่ 2 ใช้ช่องความถี่ที่ 3 ใช้ช่องความถี่ที่ 4 ว. 13 ว.14 ว.15 ว.16 ติดต่อทางโทรศัพท์ ว.31 เลิกปฏิบัติงาน ว.32 ให้ไปพบ,มาพบ ว.33 ความชัดเจนของ ว.34 สัญญาณ ว.16-1 : รับฟังไม่รู้เรื่อง ว.35 เตรียมกำลังพร้อม ว.16-2 : รับฟังไม่ชัดเจน ว.36 เตรียมกำลังเต็มกำลัง ว.16-3 : รับฟังชัดเจน ว.37 เตรียมกำลังครึ่งหนึ่ง พอใช้ได้ ว.16-4 : รับฟังชัดเจนดี ว.38 เตรียมกำลัง 1/3 ว.16-5 : รับฟังชัดเจนดี ว.39 การจราจรคับคั่ง มาก ตารางแสดง ประมวล สัญญาณ ว. รหัส ว. ว.40 ว.41 ว.42 ว.43 ว.45 ว.50 ว.51 ว.60 ว.61 ว.70 ความหมาย อุบัติเหตุจราจร สัญญาณไฟจราจรเสีย จัดขบวนรถ จุดสกัด,ด่านตรวจ ตรวจสอบบุคคล รับประทานอาหาร ป่วย เพื่อน, ญาติ ขอบคุณ บ้าน 119 รหัสการแจ้งเหตุ 100 111 121 131 141 200 211 ความหมาย รหัสการแจ้งเหตุ ความหมาย ประทุษร้าย 231 ทำร้ายร่างกายได้รับบาดเจ็บ ลักทรัพย์ 241 ฆ่าคนตาย วิ่งราวทรัพย์ 300 การพนันเป็นบ่อน ชิงทรัพย์ 510 วัตถุต้องสงสัยเกี่ยวกับระเบิด ปล้นทรัพย์ 511 ได้เกิดระเบิดขึ้นแล้ว ประทุษร้ายต่อร่างกาย 512 วัตถุระเบิดได้ตรวจสอบแล้วไม่ระเบิด ทำร้ายร่างกายไม่ได้รับบาดเจ็บ ตารางแสดง รหัสการแจ้งเหตุร้ายทางวิทยุ รหัสแจ้งเหตุเพลิงไหม้ รหัสแจ้งเหตุนักเรียนทะเลาะวิวาท รหัสการแจ้งเหตุ ความหมาย รหัสการแจ้งเหตุ ความหมาย 501 การบริการน้ำ,รถยก,ตัดต้นไม้ 600 นักเรียนจะก่อเหตุทะเลาะวิวาท 502 ขนส่งผู้ป่วย 601 นักเรียนรวมกลุ่มมีสิ่งบอกเหตุว่า จะก่อเหตุ 503 สาธารณภัยทางบก น้ำ อากาศ 201 เพลิงไหม้หญ้า 602 นักเรียนก่อเหตุทะเลาะวิวาท 202 ไฟฟ้าลัดวงจร 603 นักเรียนก่อเหตุยกพวกทำร้าย ซึ่งกันและกัน 203 เพลิงไหม้ยานพาหนะ 204 เพลิงไหม้ชุมชน ตึกแถว บ้านเรือน 604 นักเรียนก่อเหตุยกพวกทำร้าย ซึ่งกันและกัน ถึงตาย 205 เพลิงไหม้อาคารเก็บเชื้อเพลิง สารเคมี 206 เพลิงไหม้อาคารสูง อาคารขนาด 605 นักเรียนก่อเหตุยกพวกทำร้าย ใหญ่ ซึ่งกันและกัน มีวัตถุระเบิด ตารางแสดง รหัสแจ้งเหตุเพลิงไหม้ และนักเรียนก่อเหตุทะเลาะวิวาท 2.12 ทดลองการใช้วิทยุคมนาคม 2.12.1 การสื่อสารปกติ และพูดคุยสนทนาเพื่อการสื่อสาร หลักการ เพื่อให้เกิดการสื่อสารที่ระบบสื่อสารไม่สามารถทำได้อย่างสะดวก เนื่องจากช่องสื่อสารความถี่เดียวเท่านั้น การสื่อสารจะต้องมีสถานีควบคุมข่ายสื่อสารคอยทำหน้าที่ควบคุม การใช้งาน 2.12.1.1 การส่งข่าวที่เป็นข้อความที่เป็นทางการ หลักการ 2.12.1.2 นามเรียกขาน เจ้าหน้าที่ 2.12.1.3 นามเรียกขานสถานี 2.12.1.4 นามเรียกขานอื่นๆ ที่เข้ามาร่วมใช้ข่ายสื่อสาร 2.12.1.5 การส่งข่าวสำหรับหน่วยงาน การส่งและรับ ว 8 หนึ่งฉบับ 2.12.1.6 ปัญหาระบบสื่อสารที่มีช่องความถี่แบบจำกัด 120 3.ความรู้ระเบียบการใช้วิทยุคมนาคม 3.1 ห้ามมิให้ผู้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมปฏิบัติดังนี้ 3.1.1 ติดต่อสถานีวิทยุที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมของกระทรวง สาธารณสุข 3.1.2 ใช้รหัสลับในการติดต่อสื่อสารนอกเหนือไปจากที่ คบค.กำหนด 3.1.3 รับ-ส่งข่าวที่ไม่เป็นข่าวราชการ 3.1.4 ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่สุภาพในการติดต่อ 3.1.5 รับ-ส่งข่าวอันมีเนื้อหาละเมิดต่อกฎหมาย 3.1.6 ส่งเสียงดนตรี รายการบันเทิง หรือรายการโฆษณาผ่านเครื่องวิทยุคมนาคม 3.1.7 กระทำการใดๆ ที่ก่อให้เกิดการรบกวนต่อการสื่อสารของสถานีวิทยุอื่นๆ 3.1.8 ใช้สัญญาณเรียกขานปลอม หรือแอบอ้างให้สัญญาณเรียกขานของผู้อื่น 3.1.9 ใช้ช่องสัญญาณติดต่อข่าวสารในขณะที่ผู้อื่นใช้อยู่ 4.องค์ประกอบของระบบการสื่อสาร การสื่อสารในระบบการแพทย์ฉุกเฉินมีหลายระบบ ได้แก่ 4.1 ระบบสื่อสารวิทยุ ในระบบนี้จะต้องมีเครื่องมือสื่อสารที่ประกอบด้วย 4.1.1 ฐานวิทยุ 4.1.2 วิทยุ 4.1.3 รีพีทเตอร์ 4.2 ระบบโทรศัพท์มือถือ 4.3 Telemedicine / Telegraphic medicine สามารถส่งข้อมูลคนไข้ เช่น EKG จากที่เกิดเหตุ มายังโรงพยาบาลสื่อสารแบบ Two way Communication 4.4 Computerized mobile dispatch terminal 5. ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ (Emergency Dispatch center) มีภารกิจสำคัญคือ 5.1 เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉิน 5.2 คัดแยกระดับความรุนแรงของการเจ็บป่วยฉุกเฉิน 5.3 ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวของผู้ที่อยู่จุดเกิดเหตุ 5.4 จัดส่งชุดปฏิบัติการตามระดับความรุนแรงของความเจ็บป่วยฉุกเฉิน 5.5 ประสานระบบขอความช่วยเหลือกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง 5.6 ประสานกับ พอป. ในการให้คำสั่งการแพทย์หรือการอำนวยการแก่ผู้ปฏิบัติการ 5.7 รับทราบการรายงานของชุดปฏิบัติการ 5.8 บุคลากรในศูนย์รับแจ้งเหตุ (ผู้ปฏิบัติการอำนวยการ) 5.8.1 แพทย์อำนวยการปฏิบัติการฉุกเฉิน (พอป.) มีอำนาจหน้าที่ตามกฏหมายการแพทย์ฉุกเฉินในการอำนวยการ สั่งการ การแพทย์ ไปยังผู้ช่วยเวชกรรมให้ดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินนอกสถานพยาบาลได้ตามอำนาจหน้าที่และขอบเขตความ รับผิดชอบของแต่ละระดับ อันจะทำให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการดูแลรักษาทันทีที่ผู้ ปฏิบัติการฉุกเฉินไปถึง แม้ แพทย์จะ ไม่ได้เดินทางไปด้วยตนเอง 121 5.8.2 ผู้กำกับการปฏิบัติการฉุกเฉิน (ผกป.) ทำหน้าที่ 5.8.2.1 ทบทวนเอกสารและการปฏิ บ ั ต ิ ง านของผู ้ ช ่ ว ยเวชกรรมและผู ้ ช ่ ว ย อำนวยการตามแนวทางที่ สพฉ. ประกาศ กำหนด 5.8.2.2 ประเมินข้อมูลการปฏิบัติการฉุกเฉิน ระบุวิธีการปฏิบัติการฉุกเฉินที่มี ประสิทธิผล ระบุวิธีการแกไขประเด็นการปฏิบัติการแพทย์ที่ซับซ้อน และกำหนดแผนงานประกันคุณภาพ เพื่อวัดผลลัพธ์และประสิทธิผลการปฏิบัติการฉุกเฉิน 5.8.2.3 ดำเนินการวิเคราะห์ในการปฏิบัติการฉุกเฉินในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งแนวโน้มเพื่อประกันคุณภาพการปฏิบัติการแพทย์ ตลอดจนช่วยจัดการวางแผน ประเมินผู้ช่วยเวช กรรมและผู้ช่วยอำนวยการ ประเมินระบบปฏิบัติการฉุกเฉินและประกันคุณภาพ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย การแพทย์ฉุกเฉินตามที่ท้องถิ่นหรือพื้นที่หรือหน่วยปฏิบัติการนั้นกำหนด 5.8.2.4 วางแผน จัดระเบียบ และพัฒนาแผนงานฝึกอบรมการปฏิบัติการแพทย์ ของผู้ช่วยเวชกรรม และการปฏิบัติการอำนวยการของผู้ช่วยอำนวยการ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย การแพทย์ฉุกเฉินและแนวทางที่องค์กรวิชาชีพเวชกรรมแนะนำ 5.8.2.5 ดำเนินการและประเมินกิจกรรมการฝึกอบรมพนักงานฉุก เฉินการแพทย์ และอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ รวมทั้งการฝึกอบรมต่อเนื่องให้แก่ผู้ช่วยเวชกรรม 5.8.2.6 จัดทำแนวทาง ขั้นตอนวิธี เกณฑ์วิธี และดำเนินการให้มีการปฏิบั ติ การฉุกเฉิน ตามการอำนวยการทั่ว ไป และรับคำสั่งการแพทย์จากแพทย์อำนวยการฉุกเฉินผู้ทำหน้าที่ อำนวยการตรง 5.8.2.7 จัดทำแนวทาง ขั้นตอนวิธี และเกณฑ์วิธี ในการประสานการปฏิบัติการ ฉุกเฉินและการตกลงร่วมปฏิบัติการฉุกเฉินของหน่วยปฏิบัติการกับสถานพยาบาลและองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง กับการปฏิบัติการฉุกเฉิน 5.8.2.8 ติดตามการปฏิบัติงานควบคู่ไปกับผู้ปฏิบัติการประเภทและระดับต่างๆ ขณะปฏิบัติการแพทย์และปฏิบัติการอำนวยการเพื่อประเมินการปฏิบัติการฉุกเฉิน ณ ที่เกิดเหตุ 5.8.3 ผู้จ่ายงานปฏิบัติการฉุกเฉิน (ผจป.) ทำหน้าที่ 5.8.3.1 จัดเก็บ รวบรวม และส่งต่อข้อมูลสารสนเทศการแพทย์ฉุกเฉินจากผู้แจ้ง ผู้อาจช่วยได้ ผู้ช่วยเวชกรรม ผู้ช่วยอํานวยการ แพทย์อํานวยการปฏิบัติการฉุกเฉิน และองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง กับ การปฏิบัติการฉุกเฉิน รวมทั้งจัดทํารายงานตามแนวทาง ขั้นตอนวิธี และเกณฑ์วิธีที่แพทย์อํานวยการ ปฏิบัติการฉุกเฉินกําหนด 5.8.3.2 จ่ายงานให้แก่สถานพยาบาล หน่วยปฏิบัติการ และผู้ปฏิบัติการอื่นตาม คําสั่ งการแพทย์ การอํานวยการ และเกณฑ์ว ิธ ีที่แพทย์อํานวยการปฏิบัติการฉุกเฉินหรื อผู้กํา กั บ การ ปฏิบัติการฉุกเฉินกําหนด 5.8.3.3 ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉินกําหนด รวมทั้ง ช่วยกํากับการ หรือปฏิบัติการฉุกเฉินอื่น ตามที่ผู้บริหารการแพทย์ฉุกเฉินหรือแพทย์อํานวยการปฏิบัติการ ฉุกเฉินหรือผู้กํากับ การปฏิบัติการฉุกเฉินมอบหมาย 5.8.4 ผู้ประสานปฏิบัติการฉุกเฉิน (ผปป.) ทำหน้าที่ 5.8.4.1 ประสานการจัดทำเอกสารและปฏิบัติงานของผู้ช่วยเวชกรรมและผู้ช่วย อำนวยการตามแนวทางที่ สพฉ. กำหนด 122 5.8.4.2 ประสานการจัดเก็บข้อมูลการปฏิบัติการฉุกเฉินเพื่อการประเมินผู้ช่วยเวช กรรมและผู้ช่วยอำนวยการ การประเมินระบบปฏิบัติการฉุกเฉิน และการประกันคุณภาพตามเป้าหมา ย การแพทย์ฉุกเฉินที่ท้องถิ่นหรือพื้นที่หรือหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉิน 5.8.4.3 ประสานการปฏิบัติการฉุกเฉินและการดำเนินงานตามแผนงานประกัน คุณภาพ เพื่อการวัดผลลัพธ์และประสิทธิผลการปฏิบัติการฉุกเฉิน 5.8.4.4 ประสานแผนการฝึ ก อบรมการปฏิ บ ั ต ิ ก ารแพทย์ แ ละการปฏิ บ ั ต ิ ก าร อำนวยการ ให้เป็นไปตามแนวทาง ขั้นตอนวิธี และเกณฑ์วิธีที่ผู้กำกับการปฏิบัติการฉุกเฉินห รือแพทย์ อำนวยการปฏิบัติการฉุกเฉินกำหนดไว้ 5.8.4.5 ประสานการจัดเก็บข้อมูลการดำเนินการและการประเมินกิจกรรมการ ฝึกอบรม รวมทั้งการฝึกอบรมต่อเนื่องของผู้ปฏิบัติการ 5.8.4.6 ประสานการปฏิบัติการฉุกเฉินตามแนวทาง ขั้นตอนวิธี และเกณฑ์วิธี ตามการอำนวยการทั่วไปและการรับคำสั่งการแพทย์จากแพทย์อำนวยการปฏิบัติการฉุกเฉิน ผู้ทำหน้าที่ อำนวยการ 5.8.4.7 ประสานการปฏิบัติการฉุกเฉินของหน่วยปฏิบัติการกับสถานพยาบาล และองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการฉุกเฉินตามแนวทาง ขั้นตอนวิธี และเกณฑ์วิธีที่ผู้กำกับการ ปฏิบัติการฉุกเฉินหรือแพทย์อำนวยการปฏิบัติการฉุกเฉินที่กำหนด 5.8.5 พนักงานรับแจ้งการเจ็บป่วยฉุกเฉิน (พรจ.) ทำหน้าที่ 5.8.5.1 รับแจ้งการเจ็บป่วยฉุกเฉิน 5.8.5.2 จัดเก็บและรวบรวมข้อมูลสานสนเทศจากผุ้แจ้งเหตุหรือผู้อาจช่วยได้ เพื่อ คัดแยกระดับความรุนแรง รวมทั้งส่งต่อข้ อมูลสารสนเทศไปยังผู้ช่วยเวชกรรม ผู้ช่วยอำนวยการ แพทย์ อำนวยการปฏิบัติการฉุกเฉิน และองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการฉุกเฉิน ตามแนวทาง ขั้นตอนวิธี และเกณฑ์วิธีที่แพทย์อำนวยการปฏิบัติการฉุกเฉินกำหนด 5.9 ข้อมูลที่มีความสำคัญในการตัดสินใจ สั่งการปฏิบัติงานของศูนย์รับแจ้งเหตุประกอบด้วย 5.9.1 สถานที่เกิดเหตุ 5.9.2 ลักษณะของเหตุการณ์และปัญหาของผู้ป่วย 5.9.3 ระดับความช่วยเหลือที่ต้องการ 5.9.4 ชื่อและตำแหน่งของผู้แจ้งเหตุ หลังจากการรับแจ้งเหตุ แม้จะได้สั่งการให้รถพยาบาลออกปฏิบั ติการแล้ว ศูนย์รับแจ้งเหตุยังต้อง ติดต่อให้คำแนะนำการดูแลผู้ป่วยให้กับผู้แจ้งเหตุจนกว่าทีมช่วยเหลือจะไปถึง ดังนั้นผู้ปฏิบัติการอำนวยการ จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ทั่วไปเรื่องการสื่อสาร 5.10 การบันทึกข้อมูลสำคัญ 5.10.1 เวลาที่ได้รับแจ้งเหตุ 5.10.2 เวลาที่ทีมออกปฏิบัติการ 5.10.3 เวลาที่ทีมถึงจุดเกิดเหตุ 5.10.4 เวลาที่ออกจากจุดเกิดเหตุ 5.10.5 เวลาที่มาถึงโรงพยาบาล 5.10.6 เวลาที่ทีมพร้อมออกปฏิบัติการอีกครั้ง 123 5.11 หลักสำคัญในการสื่อสารด้วยวิทยุสื่อสาร 5.11.1 เริ่มด้วยการระบุชื่อหน่วยงานที่ต้องการติดต่อ ตามด้วยชื่อหน่วยงานผู้ส่ง 5.11.2 รอจนกว่าจะได้รับสัญญาณจากผู้รับ จึงจะส่งข้อความที่ต้องการจะส่งให้ผู้รับ 5.11.3 พูดช้าๆ ชัดๆ ด้วยเสียงปกติ 5.11.4 ส่งข้อความสั้นๆ ถ้าข้อความที่ส่งต้องพูดนานกว่า 30 วินาที ควรจะหยุดการส่ง ข้อความชั่วครู่ เพื่อเปิดช่องให้ผู้รายงานคนอื่นสามารถรายงานข่าว หรือข้อความช่วยเหลือฉุกเฉินเร่งด่วนที่ แทรกเข้ามา หลีกเลี่ยงการใช้ข้อความที่ไม่มีความหมาย 5.11.5 ไม่จำเป็นต้องใช้ตำ เหล่านี้ เช่น โปรด กรุณา ขอบคุณ 5.11.6 ไม่ควรแจ้งชื่อ นามสกุล ผู้ป่วยทางวิทยุสื่อสาร 5.11.7 การรายงานประวัติผู้ป่วยให้รายงานด้วยถ้อยคำที่สุภาพ 5.11.8 ใช้คำว่า “เปลี่ยน” เมื่อหมดประโยค 5.11.9 พยายามลดเสียงแทรกให้เหลือน้อยที่สุด 5.12 การสื่อสารภายใต้การควบคุมของแพทย์ พนักงานฉุกเฉินการแพทย์ ต้องติดต่อสื่อสารกับศูนย์รับแจ้งเหตุตลอดเวลาที่ออกปฏิบัติการ ฉุกเฉิน เพื่อปรึกษาในเรื่องแนวทางการคัดกรอง การรักษาพยาบาล และการนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล สรุป การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ผู้ปฏิบัติการต้องฝึกหัดจนเชี่ยวชาญไม่ว่าจะ เป็นการเตรียมความพร้อมของเครื่องมือสื่อสาร หรือการใช้เครื่องมือสื่อสารติดต่อกับผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ เมื่อมีผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตที่ต้องได้รับการดูแลอย่างทันท่วงที ความพร้อมและการประสานงานที่ รวดเร็วมี ประสิทธิภาพ จะเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของผู้ป่วยมากขึ้น การสื่อสารเพื่อการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน การสื่อสารหมายถึงการแลกเปลี่ยนสัญลักษณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะด้วยคำพูด การเขียน ร้องเพลง หรือ ท่าทาง การถามและตอบคำถามควรจะเป็นเรื่องง่ายๆ และอยู่ในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตามจะได้คำตอบ ให้ตรงกับคำถามและตรงกับใจของผู้ถามนั้นไม่ใ ช่เรื่องง่าย ยิ่งเมื่อต้องอยู่ในภาวะวิกฤต รีบด่วน ยิ่งจะต้อง ระมัดระวังในการสื่อสาร มากขึ้น เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เทคนิคการตั้งคำถาม และการ สื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ เพื่อสามารถรวบรวมข้อมูลใช้ในการวินิจฉัยและรักษาได้ องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย “สาร” ผู้ส่งสาร และผู้รับสาร ซึ่งทั้งคู่ต้องผ่านการ แปลสาร ทำให้พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้การสื่อสารล้มเหลวมีมากถึง ๕ จุดตั้งแต่ ความไม่พร้อมของผู้ส่งสาร ผู้ส่งสารแปลสารไม่ถูกต้อง วิธีสื่อสารไม่ถูกต้อง ผู้รับสารแปลสารไม่ถูกต้องและผู้รับสารไม่พร้อม การซักประวัติเป็นการสื่อสารระหว่าง พนักงานฉุกเฉินการแพทย์ กับผู้ป่วยแบบหนึ่ง ผู้ซักต้อง ตระหนักว่าข้อมูลข้อมูลใดมีความสำคัญที่จะต้องสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม พร้อมกับพยายามหลีกเลี่ยง ไม่ให้เกความทุกข์กับผู้ป่วยมากขึ้นไปกว่าเดิม การซักประวัติจึงต้องมีเทคนิคที่ดีประกอบกับองค์ความรู้ที่ ครบถ้วนทางวิชาการ 124 1.องค์ประกอบในการสื่อสารกับผู้ป่วย องค์ประกอบภายนอก 1.1 การให้เกียรติผู้ป่วย 1.1.1 ความไว้ใจ ในฐานะเป็นบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ซักถามย่อมได้รับความไว้ใจใน บางส่วนอยู่แล้ว นอกเหนือไปจากนั้นการทำตัวให้คุ้นเคย ให้เกียรติ จะทำให้ได้รั บความไว้วางใจมากขึ้น เช่น การซักถามชื่อและการเรียกชื่อของคนไข้ได้ถูกต้อง ให้เกียรติโดยเรียกคำนำหน้าว่าคุณ ไม่ใช่ พี่ , น้อง ลุ ง ,ป้ า ,น้ า ,อา จะพบว่ า ความสำเร็จ ของการสื ่อ สารนั ้น วางอยู ่บ นพื ้น ฐานของการเชื่ อ ใจและไว้ใจ ไม่อย่างนั้นข้อมูลที่ได้รับอาจไม่ถูกต้อง และอาจมีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องได้ 1.1.2 ความเป็นมืออาชีพ ความประทับใจแรกพบนั้นบ่งบอกความเป็นมืออาชีพ ในฐานะ พนักงานฉุกเฉินการแพทย์ บุคลิกและการแต่งกาย คือการสื่อสารที่ถูกส่งเข้าสายตาของผู้ป่วย หากพบว่าผู้ ที่เข้ามาซักประวัติ ใส่เสื้อยืด รองเท้าแตะ สีหน้าง่วง ยืนระเกะระกะไม่เรียบร้อย ก็เป็นการยากที่ผู้ป่วยหรือ ญาติจะอยากตอบคำถามกับบุคลากรเหล่านี้ กลับกันการประพฤติตามมาตรฐานวิชาชีพ ย่อมช่วยในการ สร้างความน่าเชื่อถือ เช่น 1.1.2.1 ใส่เครื่องแบบที่สะอาดและถูกต้อง เป็นการบ่งชี้ตัวตนในฐานะพนักงาน ฉุกเฉินการแพทย์ 1.1.2.2 สุขลักษณะของร่างกาย ผมตัดสั้นเรียบ เล็บมือตัดสะอาด พยายาม หลีกเลี่ยงการใช้น้ำหอมกลิ่นฉุน 1.1.2.3 ความแข็งแรงของร่ างกาย ความน่าเชื่อถื อจากการได้ ดู แลเบื ้ อ งต้ น จากผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงกำยำ กับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน อ่อนแอ ย่อม แตกต่างกัน 1.1.2.4 ความประพฤติโดยรวม ทั้งความสุภาพ การรักษาคำพูด ความมั่นคง ทางอารมณ์ 1.1.2.5 ความมั่นใจ (ที่ไม่หยิ่งยโส) 1.1.2.6 ท่าทางการเดินที่มีความเร็วพอดี จะทำให้ดูกระฉับกระเฉง น่าเชื่อถือ มากกว่าการวิ่ง หรือการเดินเอื่อยเฉื่อย เป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่สำคัญ 1.2 สนใจและเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วย 1.2.1 การเข้าใจ คือความสามารถของผู้ซักประวัติที่จะรับรู้และตระหนักถึงความรู้สึกและ มุมมองด้านในของผู้ป ่ว ย เหมือนดังที่ผ ู้ป่วยประสบต่อตนเองมิใช่จากมุมของผู้ซักประวัติเอง โดยอาศัย 1.2.1.1 การรับรู้และเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วย 1.2.1.2 การสื่อสารต่อผู้ป่วยว่าเราเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วย 1.3 มีความจริงใจกับผู้ป่วย ท่าทีที่เปิดเผย จริงใจ เป็นธรรมชาติไม่แสแสร้ง และไม่พยายามที่จะปกป้องตัว เอง แสดงออกในทางสร้างสรรค์และคำนึงถึงผู้ป่วยเป็นหลักไม่จำเป็นเสมอไปที่ต้องแสดงท่าทางเคร่งขรึม จริงจังเพื่อให้ได้รับความน่าเชื่อถือ 125 องค์ประกอบภายใน การปฏิสัมพันธ์ถัดจากแรกพบ คือช่วงเวลาของการซักประวัติเพื่อให้ได้ข้อมูลทางการแพทย์ จุดเริ่มต้นที่ดีต้องคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย และอยู่ในสถานที่ที่ไม่มีสิ่งดึงดูดความสนใจไปที่อื่น ควรจะอยู่ในที่เงียบพอสมควร มีแสงไฟที่เพียงพอ ควรคำนึงไปถึงของมีคมต่างๆที่เป็นอันตรายไม่ควรอยู่ ใกล้มือของผู้ป่วย 2.ขั้นตอนการสร้างความสัมพันธ์ขั้นต้น 2.1 แนะนำตัวเอง เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการสื่อสาร ทักทายตามธรรมเนียมและตามสมควร 2.2 จำชื่อของผู้ป่วยให้ได้ บ่งบอกถึงความใส่ใจของผู้ซักประวัติ อาจจะใช้วิธีออกเสียงดังๆ หรือขาน ชื่อผู้ป่วยอยู่ในใจ 2.3 ให้เกียรติโดยการเรียนคำนำหน้า ในสังคมไทยนิยมที่จะนับญาติกัน แต่หลายครั้งที่ผู้ป่วยไม่ ต้องการนับญาติด้วย คำนำหน้าว่า “คุณ” เป็นคำที่ควรใช้และสุภาพ หรือถ้าเป็นผู้ป่วยเด็กอาจ เรียกขามเด็กชาย หรือเด็กหญิง ไม่ใช่ทุกคนที่จะสะดวกใจให้เรียกน้อง แม้แต่ชื่อเล่นเองก็ควร จะต้องถามความสมัครใจทุกครั้งก่อนที่จะเรียก 2.4 โทนเสียง โทนเสียงต่ำฟังสบายและเข้าใจได้มากกว่าเสียงสูง ใช้เสียงที่ไม่สูงและความดังที่พอดี ยกเว้นผู้ป่วยที่มีปัญหาการได้ยินอาจต้องเพิ่มระดับความดังแต่ต้องไม่กระชากเสียง มิฉะนั้นจะ ดู เ หมื อ นก้ า วร้ า ว โดยเฉพาะในภาวะฉุ ก เฉิ น เป็ น การยากที ่ จ ำทำความเข้ า ใจคำถาม เพราะฉะนั้นพยายามพูดช้าๆ 2.5 น้ำเสียง พยายามใช้เสียงที่นุ่มนวลและเป็นมืออาชีพ หลีกเลี่ยงเสียงที่แสดงอาการโกรธ หงุดหงิด กระชาก 2.6 อธิบาย บอกผู้ป่วยทุ กครั้งที่จะต้องมีการตรวจ หรือทำหัตถการหรือการกระทำใดต่อผู้ป่วย พร้อมทั้งเหตุผล จะช่วยลดความกังวลของผู้ป่วยที่ย่อมต้องการอยากรู้ 2.7 สีหน้า แสดงสีหน้าที่นุ่มนวลและต้องการให้ความช่วยเหลือแม้ว่าจะอยู่ในสภาวะวิกฤติเพียงใด ก็ตาม อย่าลืมว่าใบหน้าของพนักงานฉุกเฉิน การแพทย์แสดงการสื่อสารได้มากมาย ใบหน้าที่ นิ่งเรียบเหมือนใส่หน้ากากไว้ แสดงให้เห็นว่าเราสามารถรับมือได้ทุกอย่างไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น สิ่งที่ควรจะหลีกเลี่ยงที่สุดคือสีหน้าดูถูก ตำหนิ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เมื่อเราซักประวัติ เช่น การใช้ ยาเสพติด การพยายามฆ่าตัวตาย 2.8 สไตล์ที่ยืดหยุ่น การสื่อสารของพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ต้องปรับตามสถานการณ์ แม้ว่าปกติ และควรอยู่ในภาวะสงบ หากเมื่อพบว่าวิกฤติกระชั้นเข้ามา เราอาจต้องแสดงการใช้อำนาจ คำถามที่สั้น กระชับและบังคับให้ตอบคำถามมากขึ้น อย่างไรก็ตามพยายามอย่าแสดงอารมณ์ โดยเฉพาะส่วนความคิดที่ไม่รู้จะทำอะไรดี แย่แล้ว เป็นต้น 3.เทคนิคการสื่อสารและการสัมภาษณ์ 3.1 ภาษาที่ใช้ (language) หลักสำคัญของการสื่อสารที่ดีคือต้ องใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย พยายามใช้ศัพท์ทางการแพทย์ ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ พยายามใช้ภาษาของผู้ ป่วยหากพูดภาษาท้องถิ่นได้จะเป็ นการดีและสร้าง ความคุ้นเคยกับคนไข้และญาติ กลับกัน หากไม่สามารถสื่อสารกันได้ด้วยอุปสรรคทางภาษา จำเป็นจะต้อง มีล่ามเป็นสื่อกลาง ให้พยายามพูดประโยคสั้นๆ และพูดกับผู้ป่วยโดยตรง แม้ว่าจะผ่านล่ามก็ตาม 126 3.2 การฟัง (listening) ทักษะการฟังเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการซักประวัติผู้ป่วยและญาติ จะพบว่าหลายครั้งที่ พนักงานฉุกเฉินการแพทย์จะรับฟังเฉพาะคำตอบที่ อยากฟัง เช่น ถามว่าเจ็บหน้าอกหรือไม่ก็อยากจะได้ คำตอบว่า เจ็บ หรือไม่เจ็บ อย่างไรก็ตามบ่อยครั้งที่คำตอบอาจจะออกมาในรูปแบบของไม่รู้หรือ ไม่แน่ใจ ซึ่งสร้างความขุ่นเคืองแก่ผู้ถามไม่มากก็น้อย ทั้งที่ความจริงแล้วบางอย่างซ่อนอยู่ในคำตอบนั้น และผู้ป่วย กำลังอยากที่จะบอกอาการที่แท้จริงก็เป็นได้ นอกจากฟังแล้วจะต้องใช้การสังเกตอย่างอื่นร่วมด้วยเพื่อเป็น องค์ประกอบ อาทิ ผู้ป่วยที่บอกว่าไม่เจ็บหน้ าอกแล้ว แต่ยังมีสีหน้าเจ็บปวดและเหงื่อออกพูดไม่เป็นคำ ทำให้สงสัยว่าอาการเจ็บน่าจะยังอยู่มากกว่าเป็นต้น 3.3 การส่งเสริม (facilitation) การสบตาเป็นอาการขั้นต้นที่ แสดงว่ากำลังตั้งใจฟังในสิ่งที่พูดรวมทั้งการแสดงสีหน้า การ ผงกศีรษะ การตอบรับ การกระตุ้น “เข้าใจค่ะแล้วอย่างไรต่อ” หรือบางครั้งความเงียบก็ยังช่วยเมื่อผู้ปว่ ย ทำท่าลังเลที่จะเล่า ดังนั้น พนักงานฉุกเฉิ นการแพทย์ไม่ควรก้มหน้าก้มตาหรือเขียนบันทึกข้อมูล แต่ควร สบตาและตั้งใจฟังและโต้ตอบในการซักประวัติผู้ป่วยและญาติเสมอ โดยสรุปทักษะที่ใช้ในการส่งเสริมได้แก่ 3.3.1 แสดงท่าทีส่งเสริมให้พูดต่อ 3.3.2 พูดซ้ำคำหรือวลีสุดท้ายของผู้ป่วย 3.3.3 พูดซ้ำแต่สรุปให้สั้นลง 3.3.4 เน้นเรื่องให้ชัด 3.3.5 พูดในเชิงขอให้ผู้ป่วยเล่าเรื่องที่เราต้องการทราบ 3.3.6 การเงียบ 3.4 การสะท้อน (reflection) การทวนซ้ำท้ายประโยคของผู้ป่วย การทำเช่นนี้เป็นการกระตุ้นให้ เกิดการขยายความและ เล่าต่อ แต่ต้องระวังไม่ให้มากเกินจนเป็นการขัดจังหวะ ยกตัวอย่างผู้ป่วยที่แจ้งว่าเจ็บหน้าอก ผู้ป่วย ตอนหายใจเข้าจะเจ็บหน้าอกมาก จฉพ. คุณมีอาการเจ็บหน้าอกมากขึ้นเมื่อหายใจเข้า ผู้ป่วย ใช่ โดยเฉพาะเมื่อตอนหายใจเข้าสุดหรือไอ มันจะเจ็บมาก จฉพ. คุณมีอาการไอ ผู้ป่วย สองสามวันนี้ไอมาก เสมหะสีเขียว แล้วก็มีไข้ด้วย การสะท้อนความที่ ได้เห็นจากตัวอย่างจะพบว่ากระตุ้นให้ผู้ป่วยเล่าเรื่องอาการมากขึ้น ทำให้พนักงานฉุกเฉินการแพทย์ สามารถวิเคราะห์ได้ว่าอาการเจ็บที่แท้จริงน่าจะเกิดจากการติดเชื้อในระบบ ทางเดินหายใจมากกว่าที่จะเป็นโรคหัวใจ 3.5 การทำความกระจ่าง (clarification) ในภาวะวิกฤติหลายครั้งที่ผู้ป่วยไม่สามารถอธิบายอาการได้อย่างชัดเจน หากมีข้อสงสัย อย่าลังเลที่จะถามเพิ่มเติม เช่น จฉพ. คุณเคยแพ้ยาหรือสารอาหารหรือไม่ ผู้ป่วย เคยแพ้ยาแก้ปวดพาราเซตามอล มันแย่มาก จฉพ. ตอนที่แพ้มีอาการอย่างไรช่วยอธิบาย ผู้ป่วย รู้สึกผะอืดผะอม เหม็นไปหมดแทบอยากจะอาเจียนออกมา จฉพ. คุณมีอาการผื่นคัน หรือหายใจลำบากไหม ตอนที่มีอาการ 127 ผู้ป่วย ไม่มีเลย แค่ไม่อยากจะกินมันอีกแค่นั้น เมื่อได้ยินคำว่า “แย่” ของผู้ป่วยหลายครั้ง อาจทำให้พนักงานฉุกเฉินการแพทย์ เข้าใจว่า เป็นอาการแพ้ที่ร้ายแรง ทำให้พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ยานั้นทั้งที่จำเป็นต้องใช้ แต่ถ้าถามชัดๆ จะพบว่า เป็นแค่ผลข้างเคียงจากยาที่อาจเกิดขึ้นได้ 3.6 แสดงความเห็นอกเห็นใจ (empathy) ในสายตาผู้ป่วย ถึงแม้จะเป็นการให้ความช่วยเหลืออย่างไรก็ตามก็ยังเป็นคนแปลกหน้า ให้ หลายครั้งเกิดความอึดอัดที่จะเล่าเรื่องส่วนตัวหลายอย่างจนไปถึงขั้นขุ่นเคืองใจ การแสดงความเห็นอกเห็น ใจจะช่วยให้ผู้ป่วยมีความมีความสบายใจที่จะเล่ามากขึ้น โดยอาจจะใช้ประโยคง่ ายๆ เช่น “ฉันเข้าใจค่ะ” หรือ “อาการที่เจ็บน่าจะต้องทรมานมากทีเดียว” หรือการกระทำง่ายๆ เช่น บีบมือเบาๆ หรือส่งกระดาษ ซับน้ำตาให้ จะเป็นการสร้างความสัมพันธ์และทำให้การซักประวัติสามารถไดรายละเอียดที่ดีมากขึ้น 3.7 การเผชิญหน้า (confrontation) บางครั้งผู้ป่วยปิดบังอาการบางอย่างไว้ไม่เล่าให้ฟังไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม แต่หากพนักงาน ฉุกเฉินการแพทย์สังเกตเห็น การตั้งข้อสังเกตกลับไปทำให้ผู้ป่วยรับรู้ถึงคำพูดหรือพฤติ กรรมของตนจะ กระตุ้นให้ผู้ป่วยเล่าความจริงที่ปิดไว้มากขึ้น เช่น “คุณบอกไม่มีอาการเจ็บ หน้าอกแล้ว แต่เห็นว่าคุณยัง พยายามตบหน้าอกตัวเองเบาๆตลอดเวลา” 3.8 การแปลความหมาย (interpretation) การแปลความเป็นขั้นตอนถัดมาของการเผชิญหน้า เมื่อพบจุดต้องสงสัยบางอย่างและทำ ให้เกิดปัญหาใหม่หรือมีข้อสังเกตที่ตั้งขึ้น อาทิ “คุณบอกว่าไม่มีอาการเจ็บหน้าอกแล้ว แต่เห็นคุณยังพยายาม ตบหน้าอกตัวเองเบาๆ ตลอดเวลา คุณกำลังกลัวที่จะบอกว่าเจ็บหน้าอกแล้วต้องไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจเพิ่ม ใช่ไหม” ในการแปลความนี้บางครั้งสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดความขัดแย้งเพราะผู้ป่วยอาจจะรู้สึกว่าถูกกล่าวหาอยู่ ก็เป็นได้ แต่หากผู้ซักประวัติมีความสัมพั นธ์อันดีกับผู้ป่วยและตั้งข้อสังเกตและแปลความอย่างระมัดระวัง การแปลความนี้จะแสดงออกถึงความเอาใจใส่และห่วงใยแก่ผู้ป่วยได้อย่างดี 3.9 ถามความรู้สึก (asking about feeling) ผู้ป่วยนั้นคือมนุษย์ธรรมดาทั่วไปไม่ใช่ข้อสอบ ถามและใส่ใจความรู้สึกของผู้ป่วยเสมอในสิ่ง ที่กำลังเผชิญอยู่ แสดงให้เห็นว่ามีความเห็นอกเห็นใจ สิ่งนี้จะช่วยสร้างความเชื่อและไว้ใจ นำไหสู่ข้อมูล ประวัติที่จะได้รับ 4.เทคนิคของการซักประวัติ นับตั้งแต่วินาทีแรกที่ได้พบผู้ป่วย หน้าที่สำคัญของพนักงานฉุกเฉินการแพทย์คือการได้มาซึ่งข้อมูลที่ สัมพันธ์กับภาวะเจ็บป่วยฉุ กเฉิน ซึ่งหมายความตั้งแต่อาการสำคัญ สาเหตุของอาการและประเมินความ รุนแรง ซึ่งข้อมูลทั้งหมดจะได้มาจากการตั้งคำถาม การสังเกตอาการและทักษะการฟังที่ดี 4.1 เทคนิคการตั้งคำถามประกอบด้วย 4.1.1 ใช้คำถามปลายเปิด เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยเล่าอาการหรือความกังวลที่ เกิดขึ้น จริง ซึ้งหลายครั้งจะพบว่าเป็นคนละเรื่องกับที่ได้รับแจ้งมาด้วยซ้ำ 4.1.2 การใช้คำถามปลายปิดเมื่อจำเป็น คำถามปลายปิดทำให้ไม่ได้ข้อมูลเพิ่ม แต่บางครั้ง ควรใช้กับ ข้อ มูล ที ่จ ำเพาะ เช่น “รับ ประทานอาหารหรื อยัง ” “อาการเป็นๆหายๆ หรือเป็นตลอด” ประโยชน์ของคำถามแบบนี้จะช่วยเติมเต็มข้อมูลต่อจากคำถามปลายปิด ใช้หาข้อมูลวิกฤติในเวลาที่จำกัด สุดท้ายใช้ได้ดีในกลุ่มผู้ป่วยที่ชอบเล่าอาการหรือมีความกังวลมากเป็นพิเศษ 128 4.1.3 อย่าถามคำถามชี้นำ บางครั้งจะทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดและตอบรับไปตามนั้นเพื่อให้ เกิดความพอใจ เช่น การถามว่า “อาการปวดร้าวไปที่แขนด้วยใช่ไหม” ควรจะถามเป็น “มีอาการปวดร้าวไป ที่ใดบ้าง” เป็นต้น 4.1.4 ถามทีละหนึ่งคำถาม การถามเป็นชุดทำให้บางคำถามไม่ได้รับคำตอบ 4.1.5 อย่าตัดบท ให้ผู้ป่วยตอบคำถามจนจบประโยคเสียก่อน หลายครั้งเมื่อฟังจบแล้ว ต้องเปลี่ยนคำถามที่เตรียมไว้ 4.1.6 ลดการถูกขัดจังหวะ ถ้าเป็นไปได้พยายามจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม หลายครั้งที่ สิ่งรบกวนทำให้พลาดข้อมูลที่สำคัญ 5.การสังเกตอาการผู้ป่วย ระหว่างการซักประวัติจะเป็นที่จะต้องสังเกตผู้ป่วยไปพร้อมๆกัน กับอาการที่แสดงออกมาทั้งหมด ไม่ว่าจะเสื้อผ้า เครื่องประดับ ทั้งหมดจะเป็นข้อมูลสนับสนุนในการวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุ และการ ตัดสินใจรักษาสิ่งสำคัญคร่าวๆ ที่ควรสังเกต ได้แก่ 5.1 ระดับความรู้สึกและการขยับของร่างกาย 5.2 ลักษณะการพูดและความเหมาะสมของการตอบคำถาม 5.3 การรับรู้สิ่งแวดล้อมและความทรงจำ โดยปกติจะเป็นการทดสอบในเรื่องของ สถานที่ เวลา และ ตัวบุคคล ความทรงจำระยะสั้นระยะยาว เป็นต้น 5.4 ภาวะที่ถูกกระตุ้นของร่างกาย (automatic response) อาจแสดงออกในรูปแบบของเหงื่อออก มาก กระสับกระส่าย มื้อสั่น เป็นต้น 5.5 การแสดงออกของใบหน้า ไม่ว่าจะเป็นการสบตา มุมปากสั่น เป็นต้น 5.6 อารมณ์และความรู้สึก เพื่อการตอบสนองได้อย่างถูกต้อง อาทิ ผู้ป่วยกัดเล็บดึงเสื้อผ้าไปมา ระหว่างการซักประวัติอาจจะต้องให้ความมั่นใจไปพร้อมๆกัน หรือผู้ป่วยที่เริ่มมีพฤติกรรมก้าวร้าว เสียงดัง อาจจะต้องเลี่ยงคำถามดังกล่าวและถามใหม่ในแง่อื่นๆ แทน 5.7 ผู้ป่วยก้าวร้าวและหยาบคาย จำเป็นต้องรับมืออย่างมืออาชีพ ถ้าผู้ป่วยหรือญาติไม่ได้ตั้งใจ หรือไม่รู้สึกตัว ให้ใช้น้ำสียงที่นุ่มนวลอธิบายว่าพฤติกรรมดังกล่าวกำลังขัดขวางความช่วยเหลืออยู่ แต่ถ้ามี ความเป็นไปได้ถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการคุกคามหรือใช้ความรุนแรง ให้รักษาระยะห่างที่ปลอดภัย พร้อมทั้งมองหาทางหนีทีไล่โดยเร็ว 6.ทักษะการฟังที่ดี การฟังเป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่เกิด แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะมีทักษะการฟังที่ดี น้อยคนที่จะมีความอดทน ในการรอฟัง จนไปถึงสรุปความจากการฟังได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามทักษะการฟังสามารถฝึกได้และ จำเป็นต้องฝึกฝนโดยใช้สมาธิ ความตั้งใจและความสม่ำเสมอ เพราะฉะนั้นระหว่างการฟัง หยุดทำกิจกรรม อย่างอื่น หรือคิดเรื่องอื่นที่ดึงดู ดความสนใจและไม่หมกมุ่นอยู่กับการหาคำตอบ และเว้นระยะเวลาก่อนจะ ตอบโต้ที่แสดงออกว่าคุณให้ความใส่ใจ และได้รับข้อความที่สมบูรณ์ครบถ้วนแล้วโดย 6.1 ความเงียบ เว้นระยะเวลาในการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ 6.2 สะท้อน เพื่อตรวจสอบความเข้าใจด้วยคำพูดของตัวเอง 6.3 ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้ป่วยให้ข้อมูลเพิ่ม 6.4 ความเห็นอกเห็นใจใช้ภาษากายในการแสดงออกเพื่อให้ผู้ป่วยมีความสะดวกใจที่จะให้ข้อมูลเพิ่ม 6.5 ทำความกระจ่าง ถามคำถามรายละเอียดเมื่อไม่เข้าใจ 6.6 เผชิญหน้าในข้อสังเกตที่มี 6.7 แปลความหมาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากการคิดวิเคราะห์สังเกต 129 6.8 อธิบายถึงที่มาของคำถามเพื่อให้เกิดความเข้าใจและได้ข้อมูลมากขึ้น 6.9 สรุปความ ทบทวนและสรุปข้อมูลที่ได้ ให้ผู้ป่วยฟังใช้คำถามปลายปิดเพื่อใช้อธิบายเพิ่มเติม 6.10 อย่าให้คำสัญญา ที่ไม่แน่ใจ เช่นคำพูดที่ว่า “คนไข้ไม่เป็นอะไรค่ะ” 6.11 ให้คำแนะนำ ผู้ป่วยและญาติโทรเรียกรถพยาบาลเพราะเขาต้องการความช่วยเหลือ การ กระทำทุ ก อย่ า งควรมี ค ำแนะนำที ่ เ หมาะสม เช่ น อาการที ่ เ ป็ น ควรจะต้ อ งได้ ร ั บ การตรวจเพิ ่ ม เติมที่ โรงพยาบาล 6.12 ให้เกียรติ แม้ว่าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์จะออกปฏิบัติงานในฐานะผู้ให้ความช่วยเหลื อ แต่ควรใช้อำนาจที่มีในขอบเขตที่สมควรและให้เกียรติผู้อื่นเสมอ 6.13 งดใช้การตัดบทด้วยความรำคาญ นั่นแสดงออกถึงความไม่มั่นใจ ไม่ชำนาญและนำไปสู่ความ ขัดแย้ง 6.14 ระยะห่างที่เหมาะสม ใกล้ไปหรือไกลไป ทำให้อารมณ์หรือบรรยากาศในการซักถามพูดคุย แตกต่างกัน 6.15 ภาษาของมืออาชีพ อย่าลืมว่าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ปฏิบัติงานในที่โล่งแจ้ง ทุกคำ พูด มีคนคอยฟังอยู่ ตำพูดเล่นหรือศัพท์ย่อที่ฟังแปลกหู 6.16 พูดมาก อย่าลืมใช้ทักษะในการฟังด้วย 6.17 ขัดจังหวะ เช่นเดียวกับทักษะการฟัง 6.18 การใช้คำถาม “ทำไม” คำถามประเภทนี้มักถูกแปลความไปในด้านของการกล่าวหา เช่น ทำไมไม่กินยาให้ตรงเวลา” ทำให้หลายครั้งผู้ป่วยไม่อยากตอบจนถึงขั้นเกิดความไม่พอใจ จะเห็นได้ว่าทักษะต่างๆ นั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและจำเป็นต้องฝึกฝนร่วมกับประสบการณ์ หลายครั้งในสถานการณ์เร่งด่วนที่พนักงานฉุกเฉินการแพทย์จะต้องทำงานไปถามไปซึ่งขัดกับหลัก การ ทั้งหมดที่กล่าวมา พยายามให้คำอธิบายกับคนไข้และญาติเสมอ 7.การรับมือกับผู้ป่วยในสถานการณ์พิเศษ พบว่าการซักประวัตินั้นไม่ใช่เรื่องยากเพราะคนส่วนใหญ่ยินดีจะตอบคำถาม อย่างไรก็ตามคน บางส่วนนั้นจะต้องรับมือในรูปแบบที่แตกต่างกันไป เห็นได้ชัดว่าเราควรเริ่มจากคำถามปลายเปิด แต่หาก ไม่ได้ข้อมูลที่ต้องการจึงใช้คำถามปลายปิด ในขณะเดียวกันก็คิดวิเคราะห์ถึงพยาธิสภาพที่ทำให้เกิดโรคเพื่อ หาข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้วยวิธีต่างๆ 7.1 ผู้ป่วยเด็ก เป็นกรณีพิเศษ โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ยังมีปัญหาเรื่องการสื่อสาร อาจจะต้องรับมือ กับการสัมภาษณ์จากผู้ปกครองซึ่งก็มีปัญหาอีกแบบในการสื่อสารแทน ไม่ว่าจะเป็นการวิตกกังวล หรือความ ร้อนใจ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งคื อการละเลยผู้ป่วยเด็กไป ยังคงต้องพูดคุยกับพวกเขาเหล่า นั้นด้วย 7.2 ผู้สูงอายุ เรื่องสำคัญอันดับแรกคือพยายามอย่าตัดสินอายุผู้ป่วยด้วยตา การเรียนคำนำหน้า ด้วย “คุณ” เป็นสิ่งที่สุภาพที่สุด การซักประวัติผู้สูงอายุจะต้องมีความอดทนเพราะบางครั้งอาจต้องใช้ เวลานานในการรวบรวมข้อมูล อย่าลืมใช้การสัมผัสที่สุภ าพช่ วยในการสื่อสาร ใช้คำถามที่สั้นกระชับ และอาจต้องมีตัวเลือกให้ถ้าเป็นไปได้ อย่าลืมสอบถามเรื่องการดำรงชีวิตประจำวัน ความสามารถในการช่วย ตัวเอง และเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนไข้แม้ว่าบางครั้งจะนอนติดเตียงและไม่สามารถสื่อสาร เข้าใจได้ก็ตาม 7.3 ผู้ปว่ ยที่มีปัญหาการได้ยิน ซึ่งหลายครั้งเป็นผู้สูงอายุ ถ้าถึงขั้นหูหนวกไม่ได้ยินอาจต้องใช้การ เขียนเข้ามาช่วย เปิดผ้าปิดปากเวลาพูดเพราะบางคนอาจอ่านริมฝีปากช่วยด้วย เสียงที่ใช้อาจดังมากขึ้นแต่ 130 ต้องไม่เป็นการตะโกนและคุมโทนสียงให้ต่ำจะฟังเข้าใจกว่าโทนเสียงสูง และเตือนใจไว้เสมอว่าการพยักหน้า ตอบรับของผู้ป่วยอาจไม่ได้แปลว่าใช่เสมอไป 7.4 ผู้ป่วยที่พูดน้อย ผู้ซักประวัติบางคนอาจหงุดหงิดกับผู้ป่วยที่พูดน้อย ตอบคำถามคำต่อคำ เบื้องต้นจำเป็นต้องควบคุมความรู้สึกของตัวเอง และแก้ไขที่สาเหตุก่อน สาเหตุของการพูดน้อยอาจมาจาก ความกังวล อึดอัดใจของผู้ป่วย โรคทางจิตเวช หรือแม้กระทั่งผู้ซักประวัติที่ไม่มีทักษะในการสัมภาษณ์องใน ผู้ป่วยที่ไม่ใช่คนช่างพูด แก้ไขโดยใช้เทคนิคการตั้งคำถามและการส่งเสริมให้ผู้ป่วย พูดดังที่กล่าวมาแล้ว หากสังเกตว่าผู้ป่วยไม่อยากพูดในบางเรื่อง ให้เปลี่ ยนการสนทนาไปสู่เรื่องทั่วๆไปที่ทำให้มีความรู้สึกดีขึ้น ในช่วงต้นของการสร้างความสัมพันธ์ควรหลีกเลี่ยงเรื่องที่ละเอียดอ่อน เช่น การดื่มสุรา หากยังไม่ได้ผล ให้ใช้ การสะท้อนความรู้สึกในการชี้นำและทำความเข้าใจ 7.5 ผู้ป่วยที่พูดมาก ในช่วงต้นของการสนทนานั้นเป็นการดี แต่เมื่อการซักประวัติดำเนินไป สักครู่ผู้ซักประวัติจะเริ่มรู้สึกอึดอัดหรือไม่ได้ข้อมูลในจุดที่ต้องการ ดั งนั้นเมื่อเขข้าสู่ช่วงกลางของการ สัมภาษณ์ให้ใช้วิธีหลีกเลี่ยงท่าทีส่งเสริมค่อยๆ ใช้คำถามปลายปิดมากขึ้น และรีบดึงกลับมาสู่เรื่องที่ต้องการ เมื่อมีแนวโน้มจะถูกเบี่ยงเบนไปเรื่องอื่นๆ ท่ายังไม่ได้ผล อาจต้องเน้นย้ำความสำคัญของเรื่องที่กำลังจะถาม ว่าเป็นเรื่องทีส่ ำคัญมากและเวลาที่มีจำกัดขอให้พูดสั้นๆ และอาจต้องขัดจังหวะการชี้แจงโดยตรงทำให้ผู้ป่วย เข้าใจและลดความขัดแย้งในใจลงหากถูกตัดบทหรือขัดจังหวะ ผู้ป่วยที่ให้ข้อมูลสับสน ให้ประวัติขัดแย้ง ไม่ต่อเนื่อง จนไม่ทราบว่าจะเชื่อถือข้อมูลใด ให้พยายามใช้ คำถามสั้นๆใจความชัดเจน ตรวจสอบว่าผู้ป่วยเข้าใจคำถามหรือไม่ เริ่มใช้คำถามปลายปิดตามหลังปลายเปิด มากขึ้นเพื่อยืนยันความแน่นอนของข้อมูลและสรุ ปข้อมูลสำคัญที่ได้มาเป็นช่วงๆ เพื่อให้สามารถลำดับสิ่ง ต่างๆได้ดีขึ้น สุดท้ายแล้วหากไม่ได้ผลอาจต้องแจ้งตรงๆ ว่าข้อมูลที่ได้ค่อนข้างสับสน ค วามจริงแล้วเป็น อย่างไร โดยพยายามไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าถูกตำหนิ ผู้ป่วยที่ก้าวร้าวหรือมีความเสี่ยงต่อการใช้ความรุนแรง อันดับแรกต้องมั่นใจก่อนว่าตัวเองจะไม่เป็น อันตราย หลีกเลี่ยงการประจันหน้า แต่อย่าปล่อยให้อยู่คนเดียวโดยเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ควรอยู่ ใน ตำแหน่งที่มีทางออกได้เสมอและตามผู้ช่วยเหลือหากไม่สามารถรับมือได้ หากอยู่ในช่วงของการพูดคุยให้ใช้ หลักการสื่อสารที่ดีดังที่กล่าวมาทั้งหมดแล้วหลายครั้งที่สถานการณ์ตึงเครียดคลี่คลายด้วยคำอธิบายที่ดีและ ละเอียดเพียงพอ การเก็บข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม ญาติ เพื่อนบ้าน เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดี สิ่งสำคัญที่ดีคือ การตระหนักถึงภาวะจิตใจของผู้ป่วยตั้งแต่แรก เพื่อจะได้สามารถป้องกันและแก้ไขจนนำไปสู่การใช้ความ รุนแรง ลักษณะที่บ่งบอกว่าผู้ป่วยจะมีพฤติกรรมรุนแรงได้แก่ - หน้าตาบูดบึ้ง - กระสับกระส่าย - ท่าทีระแวง หงุดหงิด ไม่พอใจ ไม่ยอมพูดต่อ - เสียงดังขึ้น - จ้องตาขวาง - พูดจาหรือแสดงท่าทีข่มขู่ - มีอาการหวาดระแวงหรือหูแว่วในเรื่องที่อาจก่อความรุนแรงได้ เช่น ได้ยินเสียงคนด่าหยาบ คายหรือถูกสั่งให้อาละวาด ผู้ป่วยที่ถูกคุกคาม ต้องแจ้งว่าเรามาในฐานะผู้ให้การช่วยเหลือทางด้านการแพทย์ ถ้าเป็ นไปได้ควร ให้บุคลากรเพศเดียวกับผู้ป่วยอยู่ด้วยตลอดเวลา อย่าลืมบันทึกเหตุการณ์และมีพยานลงชื่อด้วยเป็นการ ป้องกันตัวเอง 131 8. การแจ้งข่าวร้าย การแจ้งข่าวร้ายทางการแพทย์เป็นเรื่องที่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์รู้สึกลำบากใจเมื่อต้องมี ส่วนเกี่ยวข้อง ส่วนหนึ่งอาจเนื่องจากขาดศาสตร์และทักษะในการสื่อสาร อีกทั้งมีความรู้สึกไม่อยากรับรู้ และตอบสนองต่อปฏิกิริยาต่างๆของผู้รับทราบข่าวร้ายซึ่งยากต่อการจัดการ ผู้แจ้งข่าวร้ายที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับแต่ละสถานการณ์ ลักษณะของครอบครัว รวมทั้งคุณสมบัติของ ผู้รับทราบข่าวร้าย โดยทั่ว ไปแพทย์มักเป็นผู้แจ้งข่าวร้ายโดยตรงกับผู้ป่วยและญาติ กรณีผู้ป่วยเด็ก พ่อแม่ หรือผู้ปกครองที่เด็กรักและไว้วางใจควรเป็น ผู้แจ้งข่าวร้ายแก่เด็ก โดยมีแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นผู้แนะนำด้านเทคนิคในการแจ้งข่าว ตลอดจนรู้จักวิธีในการตอบสนองต่อปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นหลังการ แจ้งข่าว ในกรณีพ่อแม่หรือญาติของเด็กไม่สามารถทำหน้าที่ในการแจ้งข่าวได้ด้วยตนเอง แพทย์หรือ บุคลากรทางการแพทย์อาจทำหน้าที่แทน โดยในขณะแจ้งข่าวควรมีพ่อแม่หรือญาติของเด็กเข้าร่วมฟังด้วย ในช่วงเวลาใดเหมาะสมในการแจ้งข่าวร้ายควรพิจารณาจากความชัดเจนของหลักฐานทางการแพทย์ ความพร้อมของผู้ป่วยและญาติ ตลอดจนความพร้อมของทีมรักษาพยาบาล นอกจากนั้นต้องพิจารณาถึง ลักษณะข่าวร้ายที่ต้องการแจ้งด้วย เช่น กรณีเป็นความเจ็บป่วยเฉียบพลันที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ควรแจ้ง ข่าวโดยเร็ว กรณีเป็นความเจ็บป่วยเรื้อรัง อาจรอความพร้อมของผู้ป่วยและญาติ และรอหลักฐานทางการ แพทย์ให้ชัดเจนได้ 8.1 ทักษะในการแจ้งข่าวร้าย การแจ้งข่าวร้ายต้องอาศัย ทักษะของการให้คำปรึกษาทั่ว ไป แต่ต้องเลือกใช้ทักษะที่มีความ หลากหลายและมีความชำนาญเป็น พิเศษสำหรับบางทักษะ เช่น ทักษะการให้ข้อมูล (สั้น ตรงประเด็น ชัดเจน) ทักษะการสะท้อนความรู้สึก ทักษะเงียบ ทักษะอื่นที่ไม่ใช่คำพูด “ผลการตรวจชิ้นเนื้อมีลักษณะเหมือนเนื้อร้าย (แล้วใช้ทักษะเงียบ)” 8.2 ขั้นตอนในการแจ้งข่าวร้าย การแจ้งข่าวร้ายควรทำเป็นขั้นตอนและอาจแบ่งทำเป็นหลายครั้งได้ โดยไม่จำเป็นต้องรอใ ห้ได้ ข้อมูลครบถ้วนก่อน การแจ้งข่ายร้ายแบบเป็นขั้นตอนสามารถทำได้ง่ายและช่วยทำให้ผู้ป่วยหรือญาติค่อยๆ ปรับใจให้ยอมรับความจริงได้ดีขึ้น การแจ้งข่าวร้ายที่เป็นเรื่องร้ายแรงมากๆ ควรทำให้เป็นขั้นตอน ดังนี้ 8.2.1 ขั้นตอนในการเตรียมการ ทำการแจ้งผู้ป่วยหรือญาติล่ วงหน้าและเชิญชวนให้สมาชิกใน ครอบครัวที่มีความสำคัญมาร่วมพูดคุยโดยพร้อมเพรียงกัน หากบุคคลที่เราแจ้งข่าวไม่สามารถตัดสินใจเรื่อง ต่างๆได้ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับแผนการรักษา จะทำให้ต้องเสียเวลาในการพูดคุยหลายครั้งและอาจทำให้ การรักษาล่าช้าออกไป นอกจากนั้นควรเตรียมความพร้อมของสมาชิกในทีมรักษาพยาบาล (กรณีต้องการ ข้อมูลหรือความคิดเห็นเฉพาะเรื่องเพิ่มเติม) และเตรียมความเหมาะสมของสถานที่ด้วย 8.2.2 ขั้นตอนในการแจ้งข่าวร้าย แพทย์เจ้าของไข้ควรทำหน้าที่เป็นผู้แจ้งข่าว กรณีแพทย์เจ้าของ ไข้ไม่สะดวกทำหน้าที่อาจใช้แพทย์คนอื่นที่มีความเชี่ยวชาญในการแจ้งข่าวร้าย หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ มีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษา ผู้แจ้งข่าวควรทักทายผู้ป่วยและญาติ แนะนำตนเองและผู้เกี่ยวข้องทุกคน ทั้งชื่อและบทบาท ในการดูแลผู้ป่วย จากนั้นควรสรุปข้อมูลทางการแพทย์ของผู้ป่วยพอสังเขป เพื่อ นำไปสู่การแจ้งข่าวร้าย ต่อไป การแจ้งข่าวร้ายควรทำโดยเร็วเมื่อถึงจังหวะที่เหมาะสม ผู้แจ้งข่าวที่ขาดความชำนาญมักทิ้งช่วงเวลา ยาวเกินไป เนื่องจากรู้สึกขาดความเชื่อมั่นและเกิดความรู้สึกลังเลใจในการแจ้งข่าว และกลัวสิ่งที่จะเกิด ตามมาหลังการแจ้งข่าว จึงใช้เวลานานในการพูดคุยที่ไม่เกี่ยวข้อง ในทางกลับกันผู้แจ้งข่าวควรจะใช้ ช่วงเวลาสั้นๆ ในขั้นตอนนี้ และประหยัดเวลาไว้สำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังแจ้งข่าว เนื้อหาในการแจ้งข่าวร้าย 132 ควรมีความชัดเจน กะทัดรัด และตรงไปตรงมา พี่เสียใจที่จะแจ้งให้ทราบว่า ผลการตรวจชิ้นเนื้อในช่องปาก ของคุณสมชาย พบเซลล์มะเร็งค่ะ” 8.2.3 ขั้นตอนหลังแจ้งข่าวร้าย ขั้นตอนหลังแจ้งข่าวร้ายเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญและต้องอาศัย ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร เนื่องจากผู้รับแจ้งข่าวส่วนใหญ่จะอยู่ในสภาพช็อกและมีปฏิกิริยาออกมา ในรูปแบบต่างๆไม่ว่าจะเป็นร้ องให้ เงียบ หรือแม้กระทั่งอาการโกรธและเอะอะโวยวาย ขั้นตอนนี้เป็นการ เน้นการจัดการเกี่ยวกับความรู้สึกและอารมณ์ของผู้ป่วยและญาติ ผู้แจ้งข่าวควรมีความเข้าใจถึงปฏิกิริยา ของผู้ป่วยและญาติ หลีกเลี่ยงการตอบสนองในทางลบ เช่น ต่อว่า โต้เถียง และไม่ควรให้ข้อมูล ที่ มาก จนเกินไป เพื่อเป็นการปลอบประโลมผู้ป่วย และญาติ รวมทั้งเป็นการกลบเกลื่อนความรู้ สึกอึดอัดของ ตนเอง ผู้แจ้งข่าวควรใช้เวลาส่วนใหญ่กับการจัดการเกี่ยวกับอารมณ์ของผู้ป่วยและญาติ โดยเน้นการใช้ ผู้ป่วยและญาติเป็นศูนย์กลาง พยายามเลือกใช้ทักษะที่เป็นภาษากาย ทักษะเงียบละทักษะการสะท้อน อารมณ์ หากมีคำถามจากผู้ป่วยและญาติก็สามารถตอบและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และไม่ยาวจนเกินไป ผู้ แจ้งข่าวร้ายไม่ควรเร่งรีบออกจากเหตุการณ์ โดยทิ้งผู้ป่วยและญาติไว้ตามลำพัง โดยทั่วไปขั้นตอนนี้มักใช้ เวลาประมาณ ๑๕-๓๐ นาที ผู้แจ้งข่าวควรเตรียมเวลาไว้ให้เพียงพอ ก่อนสิ้นสุดการแจ้งข่าวร้าย ควรมีเวลาสอบถามปัญหาจากนั้นสรุปประเด็นสั้นๆที่ได้จากการสนทนา ให้กำลังใจผู้ป่วยและญาติ ตลอดจนให้โอกาสในการเข้าพบกรณีต้องการขอคำปรึกษาหรือขอความช่วยเหลือ เพิ่มเติม 8.3 หลังการแจ้งข่าวร้าย ปฏิกิริยาหลั งการแจ้งข่าวร้ายเป็นสิ่งที่พบได้เสมอ ผู้แจ้งข่าวจึงควรใช้เวลากับผู้รับแจ้งข่าวให้ เพียงพอ เพื่อรับรู้ความรู้สึกให้ความช่วยเหลือ และตอบข้อข้องใจต่างๆ ผู้แจ้งข่าวมักรู้สึกตกใจเมื่อผู้รับ แจ้งข่าวมีอาการโศกเศร้าเสียใจและมักใช้ข้อมูลที่มากจนเกินไปเพื่อปลอบประโลม ผู้แจ้งข่าวส่วนหนึ่งจะมีปฏิกิริยาตอบสนองที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อความรู้สึกของผู้รับแจ้งข่าว บ่อยครั้ง ที่ผู้รับแจ้งข่าวกล่าวปฏิเสธหรือแสดงความไม่เ ชื่อว่าข้อมูลที่เราแจ้งเป็นความจริง ปฏิกิริยาพวกนี้พบได้ บ่อยๆ และเป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นหลังทราบข่าวร้าย ผู้แจ้งข่าวส่วนหนึ่งจะรู้สึกหงุดหงิด โมโห และพยายาม ตอบโต้ โดยยืนยันความถูกต้องของข้อมูลที่ให้ 9.หลักการบอกความจริง (veracity) การบอกความจริงแก่ผู้ป่วยเป็นเรื่องที่บุคลากรทางการแพทย์พึงกระทำ เพราะผู้ป่วยมีสิทธิที่จะรับรู้ ความจริงเกี่ยวกับโรคและการรักษาที่ได้รับ การบอกความจริงจะทำให้ผู้ป่วยได้รับรู้สภาพการเจ็บป่วยที่ ตนเองเป็นอยู่ เมื่อบุคลากรทางการแพทย์เจอปัญหาว่า ควรบอกความจริงผู้ป่วยดีไหมขอให้นึกถึงปัจจัยต่างๆเหล่านี้ - บอกไปแล้วจะเจอปัญหาอะไรบ้าง - แล้วตัวผู้ป่วยเองต้องการรู้ไหม - อย่าลืมครอบครัว ญาติพี่น้องด้วยว่าเขาคิดยังไง - ห้ามคิดว่าจะบอกดีไหม แต่จงคิดว่าจะบอกยังไง - ถ้าคิดจะปิดบังไม่บอก เตรียมรับสถานการณ์ภายภาคหน้าไว้ด้วย สรุป การสื่อสารกับผู้ป่วยฉุกเฉินมีหลักการเช่นเดียวกับการสื่อสารกับผู้ป่วยทั่วไป แต่มีความจำกัดในเรื่อง ของเวลา จึงต้องอาศัยทักษะขั้นสูงในการสื่อสาร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดภายใต้เงื่อนไขของความจำกัด ในเรื่องของเวลา 133 แบบฝึกหัด/งานมอบ 1. ประเภทของเครื่องวิทยุคมนาคม มีกี่ประเภท 2. จงบอกหลักการ/วิธีการติดต่อสื่อสาร 3. รหัส ว. 40 หมายถึงข้อใด? 4. ระเบียบการใช้วิทยุสื่อสาร มีการปฏิบัติอย่างไร? 5. การระบุข้อมูลสำคัญในการตัดสินใจ/สั่งการปฏิบัติงานของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ได้แก่สิ่งใด? เฉลยแบบฝึกหัด 1. ประเภทของเครื่องวิทยุคมนาคม มี 2 ประเภท ได้แก่ - ประเภท 1 หมายถึงเครื่องวิทยุคมนาคมที่สามารถปรับค่าความถี่ได้จากหน้าเครื่องรับส่งวิทยุคมนาคม - ประเภทที่ 2 หมายถึง เครื่องวิทยุคมนาคมที่ไม่สามารถปรับค่าความถี่ได้จากหน้าเครื่อง 2. หลักการ/วิธีการติดต่อสื่อสาร มีดังนี้ คือ ต้องการติดต่อสื่อสารเรื่อง อะไร หมายถึง เรื่องที่ต้องการติดต่อ ต้องการติดต่อสื่อสารกับ ใคร หมายถึง นามเรียกขานของเขา ต้องการติดต่อสื่อสารกับที่ ไหน หมายถึง ช่องความถี่ที่เขาอยู่ หรือสถานที่เขาอยู่ ดังนั้นเราจะต้องทราบดังนี้ - อะไร ว 6 หมายถึง ขอติดต่อสื่อสาร หรือ ว 8 หมายถึง การส่งข่าว หรืออืน่ ๆ - ใคร หมายถึง นามเรียกขาน หรือ ชื่อของผู้ที่ต้องการติดต่อ - ไหน หมายถึง ช่องความถี่ ที่ใช้ในการติดต่อ 3. รหัส ว. 40 หมายถึง การเกิดอุบัติเหตุ 4. ระเบียบการใช้วิทยุสื่อสาร มีการปฏิบัติ ดังนี้ ห้ามมิให้ผู้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมปฏิบัติดังนี้ 4.1 ติดต่อสถานีวิทยุที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมของกระทรวงสาธารณสุข 4.2 ใช้รหัสลับในการติดต่อสื่อสารนอกเหนือไปจากที่ คบค.กำหนด 4.3 รับ-ส่งข่าวที่ไม่เป็นข่าวราชการ 4.4 ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ไม่สุภาพในการติดต่อ 4.5 รับ-ส่งข่าวอันมีเนื้อหาละเมิดต่อกฎหมาย 4.6 ส่งเสียงดนตรี รายการบันเทิง หรือรายการโฆษณาผ่านเครื่องวิทยุคมนาคม 4.7 กระทำการใดๆ ที่ก่อให้เกิดการรบกวนต่อการสื่อสารของสถานีวิทยุอื่นๆ 4.8 ใช้สัญญาณเรียกขานปลอม หรือแอบอ้างให้สัญญาณเรียกขานของผู้อื่น 4.9 ใช้ช่องสัญญาณติดต่อข่าวสารในขณะที่ผู้อื่นใช้อยู่ 5. การระบุข้อมูลสำคัญในการตัดสินใจ/สั่งการปฏิบัติงานของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ได้แก่ 5.1 สถานที่เกิดเหตุ 5.2 ลักษณะของเหตุการณ์และปัญหาของผู้ป่วย 5.3 ระดับความช่วยเหลือที่ต้องการ 5.4 ชื่อและตำแหน่งของผู้แจ้งเหตุ 134 แผนการสอนสัปดาห์ที่ 8 ชื่อบทเรียน ฝึกปฏิบัติการสื่อสารในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน จำนวนชั่วโมง 4 ชม. (ปฏิบัติ) จุดประสงค์การสอน (จุดประสงค์ทั่วไป) 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ เกี่ยวกับการสื่อสารในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน 2. เพื่อให้นักเรียนตระหนัก และให้ความสำคัญเกี่ยวกับ การสื่อสารในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน 3. เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ เรื่องการสื่อสารในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ผลการเรียนรู้ (จุดประสงค์เฉพาะ) 1. แสดงวิธีการประกอบ/การปิด-เปิด เครื่องวิทยุสื่อสารได้ถูกต้อง 2. เขียน/บันทึกรหัส ว.ตามมาตรฐาน ถูกต้อง 3, แสดงวิธีการสื่อสาร ขณะใช้เครื่องวิทยุสื่อสารถูกต้อง 4. บันทึกข้อมูลการติดต่อสื่อสารถูกต้อง สื่อการสอน/อุปกรณ์การสอน 1. วิทยุสื่อสาร 2. เอกสารประกอบการสอน การวัดผล 1. ผลการฝึกปฏิบัติ 2. จิตพิสัย 135 หัวข้อการฝึกปฏิบัติ ลำดับ 1 การใช้วิทยุสื่อสารในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน จำนวนชั่วโมงฝึกฯ ๔ ชม. กิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นตอนการเรียนรู้ เวลา สาธิตองค์ประกอบของวิทยุ สื่อสาร/วิธีการใช้งาน 30 นาที. - ลักษณะกิจกรรม สื่อที่ใช้ ครูแสดงการ สาธิต องค์ประกอบของวิทยุสื่อสาร/ วิธีการใช้งาน 2. ฝึกการเรียน/การสื่อสารด้วยรหัส วิทยุสื่อสาร 1 ชม. แบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 4 กลุ่ม 3. ฝึกการใช้วิทยุสื่อสาร ในระบบ การแพทย์ฉุกเฉิน 2 ชม. แบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 4 กลุ่ม วิทยุสื่อสาร 136 แผนการสอนสัปดาห์ที่ 9 ชื่อบทเรียน สอบปฏิบัติการสื่อสารในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน จำนวนชั่วโมง 4 ชม. กิจกรรม 1. แบ่งนักเรียน ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1.1 กลุ่มออกปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ 1.2 กลุ่มที่ปฏิบัติงานที่ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ 2. สอบปฏิบัติการสื่อสารในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ตามแบบการประเมิน กลุ่มนักเรียนสอบ ลำดับ 1. ศูนย์รับแจ้งเหตุ ออกเหตุ 1. 1. 2. 2. 3. 3. ผู้ประเมิน ผู้ประเมิน 137 แผนการสอนสัปดาห์ที่ 10 ชื่อบทเรียน ภาวะผู้นำ การทำงานเป็นทีม และการประชาสัมพันธ์ จำนวน 4 ชม. (ทฤษฎี) จุดประสงค์การสอน (จุดประสงค์ทั่วไป) 1. เพื่ อให้น ักเรีย นมีความรู้ เกี่ยวกับ ภาวะผู้นำ การทำงานเป็นทีม และการประชาสัม พั น ธ์ ระบบปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ 2. เพื่อให้นักเรียนตระหนัก และให้ความสำคัญเกี่ยวกับ ภาวะผู้นำ การทำงานเป็นทีม และการ ประชาสัมพันธ์ ระบบปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ 3. เพื่อให้นักเรี ยนนำความรู้ เรื่องการทำงานเป็นทีม และการประชาสัมพันธ์ ระบบปฏิบัติการ ฉุกเฉินการแพทย์ ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการเรียนรู้ (จุดประสงค์เฉพาะ) 1. บอกความหมายของภาวะผู้นำได้ 2. รู้และเข้าในการทำงานเป็นทีม 3. เข้าใจหลักการประชาสัมพันธ์ในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน 1. การบรรยาย 2. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สื่อการสอน/อุปกรณ์การสอน 1. power point 2. เอกสารประกอบการสอน การวัดผล 1. ผลการเรียนรู้ 2. จิตพิสัย 138 หัวข้อการบรรยาย ภาวะผู้นำ การทำงานเป็นทีม และการประชาสัมพันธ์ ภาวะผู้นำ กล่าวได้ว่า ผู้นำเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จของงานและองค์การ ปัจจุบันมีความเชื่อว่า ว่า ผู้นำ ไม่ได้เป็นมาโดยกำเนิด การเป็นผู้นำสามารถสร้างขึ้นได้ จากการที่ผู้นั้นใช้ความพยายามและการทำงานหนัก (Leaders are not born, leaders are made and they are made by effort and hard work) การเป็น ผู้นำจึงเป็นเรื่องที่เรียนรู้ได้ ภาวะผู้นำเป็นคำที่มีผู้ให้นิยามมากมาย แต่ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจตรงกันก็คือ เป็น กระบวนการอิทธิพลทางสังคมที่บุคคลหนึ่งตั้งใจใช้อิทธิพลต่อผู้อื่น เพื่อให้ปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่ กำหนด รวมทั้งการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์การ ภาวะผู้นำจึงเป็นกระบวนการอิทธิผลที่ช่วย ให้กลุ่มสามารถบรรลุเป้าหมาย ซึ่งประกอบได้หลายด้วยองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นการให้ความไว้วางใจและ เชื่อมั่นในภาวะผู้นำเพื่อเป็นตัวบ่งชี้ความน่าเชื่อถือได้มากที่สุดในความพอใจของพนักงานในองค์การ รวมถึง การสื่อความหมายที่มีประสิทธิผลโดยภาวะผู้นำที่มีประโยชน์ในขอบข่ายที่สำคัญสามขอบข่าย นั่นคือ กุญแจ ในการเอาชนะความไว้วางใจและความเชื่อมั่นของคนในองค์การ ความหมาย ภาวะผู้นำ (Leadership) หมายถึง สัมพันธภาพในเรื่องของการใช้อิทธิ พล ที่มีต่อกันและกัน ระหว่างผู้นำกับผู้ตามที่มุ่งหมายให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยสะท้อนถึงวัตถุประสงค์ที่มีร่วมกันภาวะผู้นำ เกี่ยวข้องกับ การใช้อิทธิพล (Influence) เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มบุคคล โดยกลุ่มบุคคลเหล่านั้นมีความตั้งใจที่ จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะสะท้อนให้เห็นวัตถุประสงค์ที่มีร่วมกันระหว่าง ผู้นำกับผู้ตาม โดย Daft (1999) กล่าวว่า อิทธิพล (Influence) หมายถึง สัมพันธภาพระหว่างบุคคลที่ ไม่ใช่การยอมจำนนและการบังคับ ซึ่งต้องมีลักษณะเป็นการยอมรับซึ่งกันและกัน (Reciprocal) ระหว่าง ผู้นำกับผู้ตามบุคคลในระบบความสัมพันธ์ดังกล่าว มีความต้องการการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ภาวะผู้นำจึง เกี่ยวข้องกับการสร้างและการพัฒนาให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่การรักษาสถานภาพเดิม (Status quo) ยิ่ง ไปกว่านั้นการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการผู้นำไม่ได้เป็นผู้กำหนดแต่เป็นที่วัตถุประสงค์กำหนดร่วมกันระหว่างผู้นำ และผู้ตาม อันจะก่อให้เกิดแรงจูงใจที่จะโน้มน้าวบุคคลให้มุ่งไปสู่ผลสำเร็จที่ต้องการอย่างแท้จริง หลักการภาวะผู้นำ หลักการที่ทำให้เป็นผู้นำนั้นประกอบด้วยหลายองค์ประกอบ การรู้จักตนเองและค้นหาปรับปรุง ตัวเอง ให้รู้จักตัวเอง ให้เกิดความเชี่ยวชาญ เพื่อชี้นำองค์กรสู่สิ่งใหม่ๆ ด้วยความรับผิดชอบและมีการ วางแผนในการดำเนินงานเพื่อให้เป็นแบบอย่างแก่คนในองค์กร รวมถึงเป็นตัวอย่างให้กับพนักงาน และเข้าถึง พนักงานในองค์กรด้วยความเข้าใจ ทำให้สามารถสื่อสารกับคนในองค์กรได้ง่าย เพื่อให้การสื่อความหมายเป็น กุญแจก้าวไปสู่ความสำเร็จดังกล่าว องค์ประกอบภาวะผู้นำ ภาวะผู้นำนั้นมีปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบหลัก 4 ปัจจัย อันได้แก่ 1. ผู้นำ (Leader): หมายถึง ตัวบุคคลที่นำกลุ่ม มีบุคลิกอุปนิสัยในการเป็นผู้นำเพื่อให้ผู้ตามเกิดความ ไว้วางใจ และสามารถกระตุ้นผู้ตามให้กระทำการต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จ 139 2. ผู้ตาม (Followers): หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่รับอิทธิพลจากผู้นำ ที่ต้องการรูปแบบภาวะ ผู้นำที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับ พื้นฐานความเข้าในในธรรมชาติของมนุษย์ 3. การสื่อความหมาย: หมายถึง การสื่อความหมายสองทางไม่เพียงแต่การใช้คำพูด ยังรวมถึงการทำ ให้ดูเป็นตัวอย่าง 4. สถานการณ์ (Situation): หมายถึง เหตุการณ์และสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ แตกต่างกัน จึงต้องใช้วิจารณญาณที่เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ บทบาทภาวะผู้นำ ภาวะผู้นำที่ดีขององค์การ ควรมีลักษณะดังนี้ o เป็นตัวแทนในทุกสถานการณ์ o เป็นนักพูดที่ดี o เป็นนักเจรจาต่อรอง o การสอนงานที่ดี o เป็นผู้สามารถสร้างทีมงานได้ o แสดงบทบาทการทำงานเป็นทีม o สามารถแก้ปัญหาด้านเทคนิคได้ ลักษณะของผู้นำ การศึกษาภาวะผู้นำจากคุณลักษณะของผู้นำ (Leader Traits) เป็นวิธีการศึกษาวิธีแรกสุด แต่ เนื่องจากการศึกษาไม่สามารถยืนยันได้ว่าคุณลักษณะ (Trait) ของผู้นำแบบใดที่จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของ ภาวะผู้นำได้มากที่สุด จึงได้มีผู้ศึกษาถึงลักษณะผู้นำไปในหลายแนวทาง ทั้งในด้านคุณลักษณะ บทบาท หน้าที่ ฯลฯ แต่ในความเป็นจริงนั้นเราสามารถที่จะแบ่งผู้นำออกเป็น 2 ลักษณะคือ 1. ผู้นำแบบเป็นทางการ (Formal Leaders) หมายถึง ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน เพราะว่า ผู้บังคับบัญชานั้นคือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหรือให้มีอำนาจ หน้าที่ใน การดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามกฎระเบียบขององค์การ 2. ผู้นำแบบไม่เป็นทางการ (Informal Leaders) คือผู้นำที่ไม่ใช่ผู้บังคับบัญชา เพราะไม่มี ตำแหน่งเป็นหัวหน้าในองค์การ แต่สมาชิกในหน่วยให้การยอมรับ และยกย่องให้เป็นผู้นำ เพราะเขามี คุณสมบัติบางประการที่หน่วยงานหรือสมาชิกในองค์การ ต้องการ ให้การยอมรับ หรือให้ความไว้วางใจ เช่น ประสบการณ์ ความรู้ความสามารถ มนุษย์สัมพันธ์ เป็นต้น ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของผู้นำไม่ว่าจะเป็นแบบทางการ หรือ ไม่เป็นทางการ ก็คือ จะต้องมี ลูกน้อง มีเงื่อนไขในการปกครองต่างๆ เช่น กฎระเบียบ ข้อบังคับ การให้คุณ ให้โทษ ฯลฯ นอกจากนี้ผู้นำยัง มีเรื่องของ วิสัยทัศน์ ความซื่อสัตย์ การจัดความสำคัญก่อนหลัง ความสามารถในการสร้างสรรค์การ เปลี่ยนแปลงทางบวก ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการสื่อสารที่ดี และมีวินัย คุณลักษณะด้านบุคลิกภาพของผู้นำที่มีประสิทธิผล มีลักษณะดังนี้ 1. เป็นบุคคลที่ทำให้องค์การประสบความก้าวหน้า และบรรลุผลสำเร็จ 2. เป็นผู้ที่มีบทบาทที่สามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชา 3. การจูงใจผู้อื่นให้ปฏิบัติตาม การติดต่อสื่อสาร และมีอิทธิพลเหนือผู้ใต้บังคับบัญชาตามอำนาจ หน้าที่ของการบริหารที่ดำรงตำแหน่งอยู่ 4.ผู้นำมีส่วนทำให้เกิดวิสัยทัศน์ขององค์การและของพนักงานซึ่งรวมถึงผู้นำที่สามารถใช้ อำนาจ อิทธิพลต่าง ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อนำกลุ่มประกอบกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งด้วย 140 5. ผู้นำยังเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม และสามารถนำกลุ่มให้ปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุ เป้าหมายขององค์การ คุ ณ สมบั ต ิ ข องผู ้ น ำที ม ฉุ ก เฉิ น การแพทย์ แ บบมื อ อาชี พ (Attributes of the Professional EMS Leader) มีคุณลักษณะหลายอย่างของการเป็นมืออาชีพที่สามารถนำมาปรับใช้ ได้กับบทบาทของ ภาวะผู้นำทางการแพทย์ฉุกเฉิน ประกอบด้วยคุณลักษณะต่างๆ ดังนี้ 1. ความซื่อสัตย์ (Integrity) : ความซื่อสัตย์หมายถึงความซื่อสัตย์ในทุกๆการกระทำ อาจถือได้ว่า ความซื่อสัตย์เป็นพฤติกรรมที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้นำทีมฉุกเฉิน การแพทย์ ในสายตาของประชาชน หรือผู้ร ับ บริการทั่ว ไปมักจะมองและยอมรับผู้นำที มฉุกเฉินการแพทย์ที่เขาเหล่านั้นขอความ ช่วยเหลือว่าเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นผู้นำทีมฉุกเฉินการแพทย์จึงควรแสดงออกถึง ความซื่อสัตย์ในการปฏิบัติงานเช่น มีความจริงใจต่อผู้รับบริการ, การไม่ลักขโมย และการไม่แก้ไข หรือปลอมแปลงเอกสารให้บิดเบือนไปจากความเป็นจริง เป็นต้น 2. การเอาใจใส่ (Empathy) : การเอาใจใส่หมายถึงการเข้าใจความรู้สึก, สถานการณ์ และแรงจูงใจ ของผู้ป่วยหรือผู้รับบริการ ผู้นำทีมฉุกเฉินการแพทย์จะต้องแสดงออกถึงความเอาใจใส่ ความเห็นอก เห็นใจต่อผู้ป่วย ครอบครัว และบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ พฤติกรรมที่แสดงให้เห็นถึงการเอาใจใส่ ได้แก่ การแสดงความห่วงใย ความเมตตา และความเคารพต่อผู้อื่น เข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วย ญาติ และครอบครัว 3. แรงจูงใจในตนเอง (Self-motivation) : แรงจูงใจในตนเองคือแรงขับเคลื่อนภายในเพื่อควบคุม ความดีในตัวเอง แรงจูงใจในตนเองอาจหมายรวมถึ งแรงขับที่นำไปสู่ความสำเร็จของการทำงาน แรงจูงใจตนเองบางส่วนแสดงออกมาในรูปของความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ความมุ่งมั่นในการ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และการยอมรับในข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์ 4. ลักษณะและสุขอนามัยส่วนบุคคล (Appearance and personal hygiene) : ผู้นำทีมฉุกเฉิน การแพทย์จะต้องตระหนักว่าจะนำเสนอตนเองอย่างไรในฐานะตัวแทนของวิชาชีพ พวกเขาต้อง มั่นใจว่าเสื้อผ้า และเครื่องแบบของตัวเองสะอาด และได้รับการซ่อมแซมเป็นอย่างดี พวกเขาต้อง ตระหนักถึงความสำคัญของสุขอนามัยส่วนบุคคล และการดูแลเครื่องแต่งกายให้เรียบร้อย ดู ดีอยู่เสมอ 5. ความเชื่อมั่นในตนเอง (Self-confidence) : ผู้นำทีมฉุกเฉินการแพทย์จะต้องใช้ความเชื่อมั่น ใน ตนเอง และต้องพึ่งพาตนเองอยู่บ่อยครั้งในสถานการณ์ที่มีความยากลำบาก สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ การประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเอง เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาตนเอง และนำความสามารถ ที่ ดีไปใช้ในการปฏิบัติงานต่อไป 6. การติ ด ต่ อ สื ่ อ สาร (Communications) : ส่ ว นสำคั ญ ของงานด้า นการแพทย์ ฉ ุก เฉิ น คือ การ ติดต่อสื่อสาร ผู้นำทีมฉุกเฉินการแพทย์จะต้องสามารถถ่ายทอดข้อมูลสำคัญให้ผู้อื่นทราบและเข้าใจ ได้ ทั้งทางวาจา และการเขียนเป็นลายลักษณ์ อักษร พวกเขาจะต้องแสดงออกให้เห็นถึงทั กษะ ทางการสื่อสารโดยวิธี การต่างๆเช่น การพูดได้อย่างชัดเจน การเขียนได้อย่างถูกต้อง การรับฟังได้ อย่างถูกต้องครบถ้วน เป็นต้น ผู้นำทีมฉุกเฉินการแพทย์จะต้องสามารถปรับเปลี่ยน และปรับใช้ วิธีการติดต่อสื่อสารไปตามสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ 141 7. การจัดการเวลา (Time management) : การจัดการเวลาหมายถึงการจัดระเบียบ และจัดลำดับความสำคัญของงาน เพื่อให้ใช้เวลาได้อย่างเหมาะสมที่สุด เช่น การมาทำงานตรงเวลา การทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จในระยะเวลาที่กำหนด เป็นต้น 8. การทำงานเป็นทีมและการประสานงาน (Teamwork and diplomacy) : ผู้นำทีมแพทย์ฉุกเฉิน จะต้องสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้ง ไว้ร่วมกันได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของทีมปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ผู้นำทีมฉุกเฉินการแพทย์ จะต้องให้ความสำคัญกับความสำเร็จของทีมมากกว่าความสำเร็จของตนเอง โดยได้รับการสนับ สนุน และได้รับความเคารพจากสมาชิกในทีมคนอื่นๆ ผู้นำทีมฉุกเฉินการแพทย์จะต้องมีความยืดหยุ่นและ เปิดใจกว้างสำหรับการเปลี่ยนแปลง และสามารถสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานเพื่อแก้ไขปัญหาต่ างๆที่ เกิดขึ้นได้ 9. ความเคารพนับถือ (Respect) : ความเคารพนับถือหมายถึงการคำนึงถึง การแสดงความคิดเห็น และการชื่นชมผู้อื่น ผู้นำทีมฉุกเฉินการแพทย์จะต้องมีความสุภาพอ่อนโยนต่อผู้อื่น และหลีกเลี่ยง การใช้คำวิจารณ์ที่ไปในทางไม่ดี ไม่สร้างสรรค์ หรือถ้อยคำที่ลดคุณค่า การแสดงความเคารพ ต่อ ผู้อื่นนั้นจะนำมาซึ่งความน่าเชื่อถือต่อตนเอง สมาคม และวิชาชีพ 10. การสนับสนุน ผู้ป่ว ย (Patient advocacy) : ผู้นำทีมฉุกเฉินการแพทย์จ ะต้ องทำหน้าที ่ เ ป็ น ผู้สนับสนุนของผู้ป่วยเสมอ ถึงแม้ว่าบางครั้งผู้ป่วยจะไม่เห็นด้วยกับวิธีการดูแลรักษา ผู้นำทีมฉุกเฉิน การแพทย์ควรให้ความเคารพต่ อความเชื่ อส่ว นบุ คคล (ศาสนา, จริยธรรม, การเมือง, สังคม, กฎหมาย) และไม่ใช้อคติส่วนตัวจนทำให้ส่งผลต่อการดูแลรักษาผู้ป่วย 11. การให้ ก ารบริ ก ารอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ (Careful delivery of service) : ผู ้ น ำที ม ฉุ ก เฉิ น การแพทย์จะต้องให้การดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างดีที่สุด โดยต้องจัดลำดับ รายละเอียดและความสำคัญ ในการดูแลผู้ป่วย ผู้นำทีมฉุกเฉินการแพทย์ยังต้องประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจต่อการ รับบริการของผู้ป่วยที่มีต่อตนเองในแต่ละครั้ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะบอกได้ว่าการให้การบริการในแต่ ละครั้งนั้นมีประสิทธิภาพหรือไม่ ผู้นำทีมฉุกเฉินการแพทย์จะต้องมีความเชี่ยวชาญและหมั่นฝึกฝน ทบทวนความรู้และทักษะของตนเองอยู่ตลอดเวลา หมั่นตรวจสอบและเตรียมความพร้อมของ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ทางการแพทย์ต่างๆ และตรวจสอบความพร้อมของรถพยาบาลที่ใช้ในการ ออกปฏิบัติการอยู่ เสมอ นอกจากนั้นแล้วผู้นำทีมฉุกเฉินการแพทย์ยังต้องปฏิบัติตามนโยบาย ขั้นตอน ระเบียบการ และปฏิบัติตามคำสั่งที่ผู้บั งคับบัญชาของหน่วยงานกำหนด เพื่อให้การบริการ ผู้ป่วยในแต่ละครั้งเป็นไปด้วยความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูงสุด การทำงานเป็นทีม การทำงานอยู่ในองค์ กรเดียวกัน ก็เหมือนกับการลงไปอยู่ในเรือลำเดียวกัน เมื่อต้องการไปให้ถึง จุดหมาย สมาชิกทุกคนที่อยู่ในเรือก็ต้องช่วยกันพายเรือ ยิ่งช่วยกันพายมากเท่าไร เราก็ยิ่งไปสู่ความสำเร็จใน การทำงานได้เร็วขึ้นเท่านั้น ไม่เหมือนกับการต้องทำงานคนเดียว หากอยากจะไปให้เร็วขึ้น ก็ต้องยิ่งทำงานให้ มากขึ้น แม้ว่าการทำงานคนเดียวจะทำให้เราได้รับความสำเร็จอย่างที่ใจเราคิด ไม่ต้องเสียเวลารอใคร ไม่ ต้องกลัวว่าใครจะมาเป็นตัวถ่วงที่จะทำให้การทำงานของเราช้า แต่ก็ต้องยอมรับว่าการทำงานคนเดียวนั้น เป็นการทำงานที่เหนื่อยเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งยังทำให้เราไม่ได้ฝึกทักษะการปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นด้วย 142 หลาย ๆ องค์กรเล็งเห็นว่าการทำงานเพียงคนเดียวนั้น ทำให้การทำงานสำเร็จผลช้า หากยังมัวมานั่ง ทำงานโดยใช้กำลังคนเพียงไม่กี่คนในการทำงานหลาย ๆ อย่าง เราคงไปถึงความสำเร็จได้ไม่ทันใจอย่า ง แน่นอน แต่หลายคนก็ยังคงเกิดคำถามขึ้นภายในใจว่า จริงหรือไม่ที่การทำงานเป็นทีมจะให้ผลสำเร็จของงาน ดีกว่าการทำงานเพียงคนเดียว แล้วมีจุดใดบ้างที่การทำงานคนเดียวให้ผลดีกว่าการทำงานเป็นทีม ลองมาดู การเปรียบเทียบที่ทำให้เห็นข้อแตกต่างของการทำงานทั้ง 2 แบบ ดังนี้ 1. ความรวดเร็วในการทำงาน ทำงานคนเดียว : การทำงานทุกอย่างโดยอาศัยคนเพียงคน ๆ เดียว ไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่าง รวดเร็วอย่างที่ใจเราคิด เรียกได้ว่างานเสร็จเร็ว แต่เหนื่อย เพราะงานแต่ละอย่างต้องอาศัยทักษะในการ ทำงานที่ต่างกัน หากเราต้องทำงานที่ไม่เคยทำมาก่อน เราจะรู้สึกว่าการทำงานของเราไม่ราบรื่น ติดขัด ทำงานเป็นทีม : หากมีงานหนึ่งงานใดที่เราไม่เคยทำมาก่อน เราสามารถให้คนที่เชี่ยวชาญกว่าทำ แทนเราได้ อีกทั้งการทำงานแบบส่งต่อกันเป็นทอด ๆ ยังช่วยให้การทำงานของเรารวดเร็วขึ้น เราเพียงแค่ ทำงานส่วนของเราให้ดีที่สุ ด จากนั้น ให้เพื่อนร่วมงานคนอื่นช่วยทำงานส่วนของเขาต่อ การทำงานก็จะเร็ว ขึ้นเป็นเท่าตัว 2. ความร่วมมือในการตัดสินใจ ทำงานคนเดียว : การทำงานเพียงคนเดียว ทำให้เราสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว เพราะไม่ต้อง รอการตัดสินใจของคนอื่น เพียงแต่เราต้องมั่นใจในความสามารถของตัวเราเอง เราต้องรู้ว่าการตัดสินใจของ เราจะกระทบต่อการทำงานหรือไม่ ทำงานเป็นทีม : อาจจะเสียเวลาในการรอความคิดเห็นจากคนอื่น แต่ทุกคนในทีมได้มีส่วนร่วม ทำ ให้เรามัน่ ใจได้ว่าเราได้ทำตามความคิดเห็นของส่วนรวม ไม่ใช่ความคิดของคนใดคนหนึ่ง หากมีความ ผิดพลาดเกิดขึ้น เราก็ไม่ต้องมาโทษว่าเป็นความผิดของใคร เพราะทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกัน ทำให้เกิด ความผูกพันธุ์ในทีมมากขึ้น 3. ความคิดสร้างสรรค์ ทำงานคนเดียว : การทำงานเพียงคนเดียวทำให้ความคิดสร้างสรรค์ไม่หลากหลายเท่าที่ควร หรือ หากจะต้องคิดให้หลากหลาย เราก็ต้องคิดให้เหมือนว่ามีคนหลายคนช่วยกันคิดอยู่ ซึ่งค่อนข้างใช้พลังงานใน การทำงานมากกว่าเดิม ทำให้เหนื่อยมากกว่าเดิม ทำงานเป็นทีม : การทำงานเป็นทีมทำให้เราได้ความคิดเห็นที่หลากหลาย การที่มีคนหลาย ๆ คน ช่วยกันคิด จะทำให้เราได้แนวคิดที่หลากหลาย สามารถนำไปปรับใช้ได้มากขึ้น และทุกคนยังมีส่วนร่วมใน การทำงาน ในการออกความคิดเห็นเพื่อค้นหาสิ่งที่ดีที่สุดด้วย 4. การสร้างความสัมพันธ์ ทำงานคนเดียว : เมื่อเราต้องทำงานคนเดียว เราแทบจะไม่ได้มีโอกาสได้ปฏิสัมพันธ์กับใคร ไม่ได้คุย กับใครเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หากเรากำลังหาคำตอบให้กับงานที่กำลังทำอยู่ เราจะต้องคิดเพียงลำพัง ไม่มีคนคอยให้คำปรึกษา อาจจะทำให้เราเกิดความเครียดได้ ทำงานเป็นทีม : เมื่อต้องทำงานเป็นกลุ่ม อาจจะมีบ้างที่ผิดใจกัน หรือทะเลาะเบาะแว้งกัน แต่ ท้ายที่สุดแล้ว เราจะกลับมาคุยกันดี ๆ ได้ เพราะความสัมพันธ์ที่มาจากการทำงานเป็นทีม จะช่วยให้เราไม่ สามารถโกรธกันได้นาน เพราะเรามีความรับผิดชอบที่มีต่อส่วนรวมร่วมกัน 5. ทำงานที่ตรงกับความสามารถ ทำงานคนเดียว : เมื่อเราต้องทำงานคนเดียว เราต้องเป็นคนที่มีความสามารถรอบด้าน ไม่มีสิทธิ เลือกว่าจะทำงานส่วนนี้ แต่ไม่ทำงานส่วนนี้ได้ เพราะในทีมมีเราเพียงคนเดียว ไม่สามารถโอนย้ายไปให้คนอื่น ทำได้ เรียกได้ว่าคนหนึ่งคนต้องทำงานให้ครบทุกอย่าง 143 ทำงานเป็นทีม : เราสามารถเลือกได้ว่าเราจะทำงานอะไร เพราะทุกคนต้องแบ่งหน้าที่กันให้ชัดเจน หากเราไม่ถนัดที่จะทำงานอีกอย่าง เราสามารถเลือกมาทำงานอีกอย่างได้ เพียงแต่ต้องบอกความจำเป็น และขีดจำกัดของความสามารถของเราให้ทีมได้รับรู้ก่อน การได้ทำงานที่ตรงกับความสามารถ จะช่วยให้เรา ทำงานออกมาได้ดีทำงานเป็นทีม ก่อนที่เราจะตัดสินว่างานแบบนี้ทำคนเดียวดีกว่า หรือทำแบบเป็นทีมดีกว่านั้น อาจจะต้องดูบริบท ของงานให้รอบด้านเสียก่อน เพราะงานบางงานก็เหมาะกับวิธีการบางอย่าง จะเหมารวมว่าต้องใช้วิธีการ ทำงานแบบทีมโดยตลอดก็คงไม่ได้ เพียงแต่ต้องเลือกให้ถูกวิธี การทำงานก็จะราบรื่น และประสบผลสำเร็จ ตรงตามเป้าหมายอย่างแน่นอน บทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้นำทีมฉุกเฉินการแพทย์ (role and responsibilities of EMS leader) ผู้นำทีมฉุกเฉินการแพทย์มีหน้าที่รับผิดชอบและดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ และให้การดูแล อย่างต่อเนื่องจากจุดเกิดเหตุจนถึงโรงพยาบาล ด้วยอุปกรณ์ และเครื่องมือทางการแพทย์ต่างๆ รวมถึ ง ระบบปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินอื่นๆ ที่ได้รับการอนุญาตตามที่กฎหมายภาครัฐหรือท้องถิ่นนั้นๆ กำหนด บทบาทและหน้าที่ของผู้นำทีมฉุกเฉินการแพทย์สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ บทบาทหน้าที่ หลัก และบทบาทหน้าที่เพิ่มเติม (primary responsibilities and additional responsibilities) บทบาทหน้าที่หลัก (Primary responsibilities) ผู้นำทีมฉุกเฉิน การแพทย์จ ะต้องเตรียมตัวเองให้พร้อมสำหรับการปฏิบัติงานในแต่ล ะครั้ง ทั้ง ทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ การเตรียมความพร้อมยังหมายรวมถึงความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติงานให้ สำเร็จอีกด้วย นอกจากนี้ยังรวมถึงการเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ ทางการแพทย์ และ เตรียมความพร้อมด้านความรู้ ทักษะ ในการปฏิบัติงานอีกด้วย ผู้นำทีมฉุกเฉินการแพทย์จะต้องสามารถประเมินความปลอดภัยของสถานการณ์ได้ และตอบสนอง ได้อย่างทันท่วงที สามารถประเมินสถานการณ์แ ล้วตัดสินใจได้ว่าสถานการณ์นั้นปลอดภัยต่อตนเองหรือไม่ ปลอดภัย ต่อ ทีมผู้ป ฏิบ ัติงานหรือไม่ และปลอดภัยต่อตัว ผู้ป่ว ยฉุกเฉินหรือผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ห รือไม่ นอกจากนี้ผู้นำทีมฉุกเฉินการแพทย์ยังต้องสามารถประเมินได้อีกว่า ลักษณะกลไกการบาดเจ็บหรือธรรมชาติ ของการเจ็บป่วยนั้นๆเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะใดได้บ้างต่อตัวของผู้ป่วยฉุกเฉิน บทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้นำทีมฉุกเฉินการแพทย์ บทบาทหน้าที่หลัก - การเตรียมความพร้อม (Preparation) บทบาทหน้าที่เพิ่มเติม - การมีส่วนร่วมกับชุมชน และสังคม (Community - การออกปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (Response) involvement) - การประเมินสถานการณ์ (Scene assessment) - สนั บ สนุ น หน่ ว ยบริ ก ารปฐมภู ม ิ (Support primary care efforts) - การประเมินผู้ป่วยฉุกเฉิน (patient - สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เกี่ยวข้อง assessment) กั บ ระบบการแพทย์ ฉ ุ ก เฉิ น (Advocation of 144 - รับรู้ถึงภาวะการบาดเจ็บ/เจ็บป่วย (Recognition citizen involvement in emergency medical of injury or illness) services) - การให้การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน (Patient management) - มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเป็นผู้นำ (Participation in leadership activities) - การเลือกสถานพยาบาลที่เหมาะสมในการนำส่ง - พั ฒ นาตนเอง และวิ ช าชี พ (Personal and ผู้ป่วย (Appropriate patient disposition) professional development) - การนำส่งผู้ป่วยฉุกเฉิน (Patient transfer) - เอกสารและการบันทึกข้อมูล (Documentation) - ประเมินการกลับมารับบริการของผู้ป่วย (Returning to service) ในการออกปฏิบัติการผู้นำทีมฉุกเฉินการแพทย์จะต้องดำเนินการตรวจประเมินผู้ป่วยฉุกเฉินด้วย ความรวดเร็วเพื่อพิจารณาการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วยนั้นๆ การบูรณาการสิ่งที่ตรวจประเมินพบเข้ากับ ความรู้เรื่องโรคหรือการบาดเจ็บ จะช่วยให้ผู้นำทีมฉุกเฉินการแพทย์ สามารถคำนึงถึงภาวะต่างๆที่จะเกิด ขึ้นกับผู้ป่วยฉุกเฉินได้ นอกจากนี้ยังช่วยในการจัดลำดับความสำคัญในการดูแลรักษาและการนำส่งผู้ป่วยอีก ด้วย ผู้นำทีมฉุกเฉินการแพทย์จำเป็นต้องให้การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติการแพทย์ ของผู้ช่วยเวชกรรมตามคำสั่งแพทย์และการอำนวยการ (Emergency medical protocol under medical direction) ที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกำหนด ทั้งแบบการอำนวยการทั่วไป และการอำนวยการตรง 145 รูปที่ 1 : หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติการแพทย์ของผู้ช่วยเวชกรรมตามคำสั่งแพทย์และการ อำนวยการ หลังจากให้การดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินนะจุดเกิดเหตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้นำทีมฉุกเฉินการแพทย์ จะต้องเป็นผู้ตัดสินใจในการนำส่งผู้ป่วยฉุกเฉินเข้ารับการรักษาต่อในสถานพยาบาลที่เหมาะสม การนำส่ง หมายรวมถึงการนำส่งทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ซึ่ งการจะนำส่งผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยวิธีการใดจึงจะ เหมาะสมที่สุดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ปัจจัยที่สำคัญที่สุดได้แก่ สภาพของผู้ป่วย, ลักษณะภาวะของ โรคหรือการบาดเจ็บ, ระยะทางที่จะไปถึงสถานพยาบาลปลายทาง และระยะเวลาในการนำส่ง เป็นต้น การ เลือกสถานพยาบาลที่จะนำส่งนั้ นผู้นำทีมฉุกเฉินการแพทย์จะต้องทราบถึงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องของ โรงพยาบาล อาทิเช่น ทรัพยากรที่โรงพยาบาลนั้นมีอยู่, ชื่อและตำแหน่งที่ตั้ง และประเภทหรือความสามารถ เฉพาะทาง การตัดสินใจว่าจะนำส่งผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลแห่งใดนั้นควรจะเป็ นการตัดสินใจร่วมกัน ระหว่างผู้นำทีมฉุกเฉินการแพทย์กับผู้ป่วยหรือญาติของผู้ป่วย นอกจากสิ่งสำคัญข้างต้นที่กล่าวมาแล้วผู้นำ ทีมฉุกเฉินการแพทย์ยังจำเป็นต้องทราบถึง ระเบียบ ข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจราจรและการ นำส่งผู้ป่วย ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ อีกด้วย ผู้นำทีมฉุกเฉินการแพทย์จะต้องทำหน้าที่เป็นผู้ให้การดูแลผู้ป่วย และเป็นผู้รับผิดชอบในการนำส่ง ผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลปลายทาง ผู้นำทีมฉุกเฉินการแพทย์จะต้องรายงานสรุปข้อมูลสภาพอาการและการ ให้การรักษาของผู้ป่วยทั้งในจุดเกิดเหตุ และระหว่างการนำส่งให้เจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลปลายทางทราบ 146 นอกจากนี้ยังต้องเขียนบันทึกข้อมูลในการดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินลงในแบบบันทึกการปฏิบัติงานบริการ การแพทย์ฉุกเฉินให้ถูกต้องครบถ้วน และควรเขียนบันทึกรายละเอียดของข้อมูลให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่ เหมาะสมเพื่อให้ลูกทีมได้มีเวลาในการเตรียมความพร้อมในการออกปฏิบัติการครั้งต่อไป ทั้งการเตรียมความ พร้อมของรถพยาบาล การเปลี่ยนอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ทางการแพทย์และการเติมวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆ (ตามระเบียบของหน่วยงาน) นอกจากนี้หลังจากเสร็จสิ้นการออกปฏิบัติการในแต่ละครั้งผู้นำทีมฉุกเฉิน การแพทย์ควรมีการประชุมพูดคุยเพื่อสรุปข้อดี ข้อเสีย หรือปัญหาต่างๆในการออกปฏิบัติการร่วมกับลูกทีม ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยให้เกิดการพัฒนา และปรับปรุงระบบการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในครั้งต่อๆไปให้ดี ยิ่งขึ้น ตัวอย่างของสถานพยาบาลเฉพาะทาง (Sampling of Specialized Care Facilities) - ศูนย์เฉพาะทางผู้ป่วยที่ถูกไหม้ (Burn specialization center) ศูนย์รักษาโรคหัวใจ (Cardiac treatment center) ศูนย์บริการห้องปฏิบัติการทางคลินิก (Clinical laboratory service) แผนกฉุกเฉิน (Emergency department) สถานพยาบาลพิเศษที่มีความสามารถในการฟอกเลือ ด (Facility with acute hemodialysis capability) สถานพยาบาลพิเศษที่มีความสามารถในการจัดการผู้บาดเจ็บที่ภาวะการบาดเจ็บที่ศีรษะและไข สันหลัง (Facility with acute spinal cord or head injury management capability) สถานพยาบาลที่มีความสามารถในการรักษาเพื่อให้หลอดเลือดเปิด (Facility with reperfusion capability) สถานพยาบาลที ่ ม ี ค วามสามารถพิ เ ศษด้ า นรั ง สี ( Facility with special radiological capabilities) สถานพยาบาลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการคลอดบุตร (High-risk obstetrical facility) ศูนย์รักษาด้วยความดันบรรยากาศ (Hyperbaric treatment center) ศูนย์ดูแลผู้บาดเจ็บอาการหนัก (Intensive care unit for trauma patients) ศูนย์ประสาทวิทยา (Neurology center) สถานพยาบาลที่มีห้องผ่าตัด (Operating suite) สถานพยาบาลด้านกุมารเวชกรรม (Pediatric facility) หน่ว ยดูแลพักฟื้น ผู้ป ่วยหลังผ่าตัด หรือห้องผ่าตัดผู้ป่ว ยหนัก (Post-anesthesia recovery room or surgical intensive care unit) สถานพยาบาลด้านจิตเวช (Psychiatric facility) สถานพยาบาลด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ (Rehabilitation facility) ศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke center) ศูนย์พิษวิทยา : วัสดุอันตราย และการปนเปื้อน (Toxicology service : including hazardous material or decontamination) ศูนย์ดูแลผู้บาดเจ็บ (Trauma center) 147 บทบาทหน้าที่เพิ่มเติม (Additional responsibilities) หน้าที่อื่นๆของผู้นำทีมฉุกเฉินการแพทย์ ได้แก่ การมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคม, สนับสนุนหน่วย บริการปฐมภูมิ, สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เกี่ยวข้องกับระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ,มีส่วนร่วมใน กิจกรรมการเป็นผู้นำ และการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ ผู้นำทีมฉุกเฉินการแพทย์จะต้องมีส่วนร่วมกับชุมชน และเป็นแบบอย่างสำหรับวิชาชีพในหลายๆ ด้าน และจะต้องให้การสนับสนุนการป้องกันการเจ็บป่วย หรือการบาดเจ็บของคนในชุมชน โดยมีส่วนร่วม ในฐานะเป็นผู้นำของกิจกรรม ตัวอย่างการปรับปรุงและพัฒนาสุขภาพของคนในชุมชน เช่น การอบรมการ ช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR), การปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการป้องกันการบาดเจ็บ เป็นต้น กิจกรรม ต่ า งๆเหล่ า นี ้ ช ่ ว ยให้ ม ั ่ น ใจได้ ว ่ า ทรั พ ยากรทางการแพทย์ ฉ ุ ก เฉิ น ได้ ถ ู ก นำมาใช้ อ ย่ า งเหมาะสมและมี ประสิทธิภาพ ผู้นำทีมฉุกเฉินการแพทย์จะต้องสามารถบูรณาการการทำงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินร่วมกับ หน่วยงานด้านสาธารณสุขอื่นๆ และหน่วยงานด้านความปลอดภัยได้เป็นอย่างดี ชุมชน และองค์กรด้านสาธารณสุขอื่นๆ มัก จะขอความช่วยเหลือจากผู้นำทีมฉุกเฉินการแพทย์เพื่อ ช่วยสนับสนุนในการบริการผู้ป่วยแบบปฐมภูมิ การป้องกันและการทำแผนงานทางด้านสุขภาพต่างๆ เช่น การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบและเข้าใจถึงการใช้บริการทางด้านการแพทย์ฉุกเฉินที่ถูกต้อง และการ เข้าถึงการบริการทางสุขภาพด้านอื่นๆที่ไม่ใช่ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ยกตัวอย่างเช่น การนำส่งผู้ปว่ ย ด้วยรถพยาบาลทางเลือก, ผู้ให้บริการแผนกฉุกเฉินที่ไม่ใช่โรงพยาบาล และคลินิกทางการแพทย์ฉุกเฉิน เป็น ต้น สิ่งเหล่านี้เป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบว่าจะต้องเรียกใช้บริ การจากระบบบริการการแพทย์ ฉุกเฉิน เมื่อใด และอย่างไร รวมถึงเป็นการช่วยลดภาระงาน และการใช้ทรัพยากรในห้องฉุกเฉินของ โรงพยาบาลอีกด้วย การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในงานบริการการแพทย์ฉุกเฉินนั้น จะช่วยทำให้ระบบมีการ พัฒนาไปในทางที่ดียิ่งขึ้น ประชาชนเป็นตัวแปรสำคัญ และสามารถช่วยกำหนดความต้องการของระบบ บริการการแพทย์ฉุกเฉินในชุมชนของตนเอง พวกเขาสามารถนำเสนอมุมมองที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุง คุณภาพ และการแก้ไขปัญหาได้ นอกจากนี้ประชาชนยังมีส่วนร่วมในการเป็นผู้ให้ข้อมูล และยังเป็นผู้ให้การ สนับสนุนด้านต่างๆแก่ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินอีกด้วย ผู้นำทีมฉุกเฉินการแพทย์สามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเป็นผู้นำในชุมชนของตนได้ในหลายๆ ด้าน เช่น การริเริ่มโครงการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ และการบาดเจ็บเบื้องต้น (จัดกิจกรรมและสำรวจความ เสี่ยง) ,การรณรงค์เพื่อประชาสัมพันธ์การส่งเสริมป้องกันปัญหาด้านการแพทย์ฉุกเฉิน และโครงการด้าน สุขภาพอื่นๆ เป็นต้น หน้าที่อีกอย่างหนึ่งของผู้นำทีมฉุกเฉินการแพทย์ที่มีความสำคัญคือการพัฒนาบุคคล และวิชาชีพ ซึ่ง มีอยู่หลายวิธี เช่น การศึกษาต่อเนื่อง, การให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียน, การเป็นสมาชิกในองค์กรวิชาชีพ และการ ร่วมปฏิบัติงานกับทีมวิชาชีพ เป็นต้น วิธีการอื่นๆ ได้แก่ การมีส่วนร่วมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับงานที่ส่งผล ต่อความเจริญก้าวหน้าในอาชี พ, สำรวจเส้นทางความก้าวหน้าของอาชีพอื่นๆในวิชาชีพการแพทย์ฉุกเฉิน , การดำเนินการและสนับสนุนโครงการวิจัย และมีส่วนร่วมในประเด็นด้ านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบ บริการการแพทย์ฉุกเฉิน 148 เอกสารอ้างอิง คณะกรรมการจัดทำคู่มือวิทยากรหลักสูตรเวชกรฉุกเฉินระดับพื้นฐาน. คู่มือวิทยากรหลักสูตรเวชกรฉุกเฉิน ระดับพื้นฐาน (Emergency Medical Technician-Basic Curriculum). พิมพ์ครั้งที่ 3 .กรุงเทพ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น ที เพลส; 2549 วิทยา ชาติบัญชาชัยและคณะ. ตำราประกอบการเรียนหลักสูตรเจ้าพนักงานกู้ชีพ. ขอนแก่น: ศิริภัณฑ์ ออฟ เซ็ท; 2547. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. คู่มือวิทยากรหลักสูตรพยาบาลกู้ชีพ (Pre hospital Nurse Curriculum). ม.ป.ท.: 2551 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.(2556) คู่มือแนวทางการรับรองรถบริการการแพทย์ฉุกเฉิน.นนทบุรี. เพ็ญรุ่ง บุญรักษ์. (2559) คู่มือบริหารจัดการการฝึกอบรม ปฏิบัติการแพทย์ขั้นพื้นฐานและช่วยปฏิบัติ การแพทย์ขั้นสูง.สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.นนทบุรี. พรทิพย์ สายสุด และ อริศรา จานสิบสี (2556) เอกสารประกอบการสอน วิชา การบริการการแพทย์ ฉุกเฉิน เรื่อง การจัดพื้นที่บริการระบบการแพทย์ฉุกเฉิน.หลักสูตร ปวส.เวชกิจฉุกเฉิน โรงเรียนนาวิกเวช กิจ ศูนย์วิทยากร กรมแพทย์ทหารเรือ 149 แผนการสอนสัปดาห์ที่ 11 ชื่อบทเรียน ปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์ต่าง ๆ จำนวนชั่วโมง 4 ชม. (ทฤษฎี) จุดประสงค์การสอน (จุดประสงค์ทั่วไป) 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ เกี่ยวกับการปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน 2. เพื่อให้นักเรียนตระหนัก และให้ความสำคัญเกี่ยวกับการปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน 3. เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ เรื่องการปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการเรียนรู้ (จุดประสงค์เฉพาะ) 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ เกี่ยวกับการปฏิบัติการแพทย์ในภาวะต่างๆ 2. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน 1. การสาธิต 2. การฝึกปฏิบัติ 3. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สื่อการสอน/อุปกรณ์การสอน 1. Power point 2. เอกสารประกอบการสอน การวัดผล 1. การสอบความรู้ 2. รายงาน / งานมอบ 3. จิตพิสัย 150 หัวข้อบรรยาย ปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์ต่าง ๆ บทนำ ในการปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ณ จุดเกิดเหตุ นับว่ามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่เจ้า พนักงานฉุกเฉินการแพทย์ ต้องมีความรู้และสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างดี เนื่องจากเป็นภาวะ ปกติที่ส ามารถพบเจอได้ในการออกปฏิบัติการโดยทั่ว ๆ ไป ซึ่งระบบการแพทย์ฉุกเฉิน (Emergency Medical System) เป็นระบบการบริการทางแพทย์สาขาหนึ่งของการบริการสาธารณสุขของชาติที่จัดให้มี ขึ้นเพื่อเป็นการช่วยเหลือ รักษาการบาดเจ็บ และรักษาชีวิตของประชาชน อันเกิดจากโรคที่สามารถเกิดขึ้น ได้อย่างปัจจุบันทันด่วน อุบัติเหตุที่เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น จากการทำงาน การจราจร สาธารณภัยทั้งที่ เกิดจากธรรมชาติ และฝีมือมนุษย์ เป็นต้น สำหรับการบริการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทยนั้นมีหน่วยบริการทั้งของภาครัฐ และเอกชน จัดให้มี หน่ว ยบริการฉุกเฉิน ตั้งแต่ในระดับ Emergency Responder, ทีม BLS, ทีม ALS ที่ในปัจจุบันสถาบัน การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้จัดวางระบบ เครือข่าย ให้สามารถให้บริการได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศ มีการเชื่อมโยงหน่วยบริการแพทย์ฉุกเฉินของทางทหาร ภาคพลเรือน และเอกชนให้มีการปฏิบัติงานร่วมกัน ในทุกพื้นที่ การปฏิบัติการฉุกเฉินในสถานการณ์ต่างๆ หัวข้อที่จะทำการเรียนนั้น จะเป็นการออกปฏิบัติการใน ภาวะที่ไม่ปกติโดยทั่วไปแล้ว สิ่งที่จะเกิดขึ้นล้วนเกิดจากภาวะที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ยกตัวตัวอย่าง เช่น การปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่ห่างไกลและถิ่นทุรกันดาร หรือ การปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินในทาง ยุทธวิธี สภาวะต่างๆที่กล่าวมานี้เป็นหนึ่งในขีดสมรรถนะของเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ ที่ต้องมีความรู้ และสามารถรับมือกับสถานการต่างๆ นี้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย ภาพเหตุการณ์กราดยิงที่ห้างเทอมินอล21 จังหวัด นครราชสีมา การบริการแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์พิเศษของประเทศไทย (Thailand Tactical Emergency Medical System : TTEMS) จากสถานการณ์ของโลกในปัจจุบัน นอกจากสาธารณภัยที่มีความรุนแรงมากขึ้นจากสภาวะแวดล้อม ของโลก ยังได้เกิดความขัดแย้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ที่แผ่กระจายออกไปอย่างกว้างขวาง ทำให้ เกิดกลุ่มลัทธิก่อการร้ายที่กระจายเป็นวงกว้าง มีการเชื่อมโยงกันด้วยเทคโนโลยีที่มีความทันสมัย สามารถก่อ การร้ายขึ้นได้ทุกแห่งในโลก มักมีวิธีการใหม่ ๆ ที่ทำให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น มีความซับซ้อนขึ้น สร้าง ความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนผู้บริสุทธิ์ เป็นจำนวนมาก แม้แต่ประเทศไทยปัจจุบันก็ ประสบปัญหาเช่นกันโดยเฉพาะในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ 151 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลายครั้งในประเทศ เช่น สถานการณ์การปะทะกันทางการเมือง เหตุการณ์ลอบ วางระเบิดที่ศาลท้าวมหาพรหม ใน กรุงเทพฯ, การลอบวางระเบิดที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เหตุการณ์ ก่อความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะเหตุการณ์กราดยิง ณ ใจกลางเมืองห้างเทอมินอล21 อ.เมือง จ.นครรราชสีมา ซึ่งในหลายๆ เหตุการณ์ทำให้เกิดการบาดเจ็บและสูญเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ฝ่าย บ้านเมือง และประชาชนในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ในเหตุการณ์เหล่านี้การปฏิบัติการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บของ หน่วยกู้ชีพ กู้ภัย ทั้งภาครัฐและภาคพลเรือนเอง ในบางเหตุการณ์ ทีมช่วยเหลือก็อาจตกเป็นผู้ประสบภัยใน เหตุการณ์นั้น ๆ เนื่องจากความซับซ้อนของเหตุการณ์ การขาดองค์ความรู้ ทักษะ และความชำนาญในการ ปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว คำนิยามสถานการณ์พิเศษ คำนิยามของสถานการณ์พิเศษในหลักสูตรนี้ หมายถึง สถานการณ์ที่ก่อให้เกิด /อาจก่อให้เกิด อันตรายต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งที่เกิดขึ้นแล้วและอาจเกิดขึ้นอีก เพิ่มเติมจากการดำเนินไปโดยธรรมชาติของ เหตุการณ์นั้น ๆ องค์ประกอบของสถานการณ์ - มีอันตรายหรืออาจกำลังมีอันตรายเกิดขึ้นอยู่ - ส่งผลกระทบต่อประชาชน และ/หรือ ความเชื่อมั่น ความมั่นคงปลอดภัยต่อส่วนรวม - อาจไม่เห็นความแตกต่างจากสถานการณ์ทั่วไป แนวความคิดการปฏิบัติของทีมกู้ชีพและกู้ภัย (Tactical EMS Team) ระดับต่างๆ ในสถานการณ์พิเศษ จากวิธีการก่อเหตุของผู้ก่อการร้ายที่มีความรุนแรงและมียุทธวิธีใหม่ๆ มีความซับซ้อนในการก่อเหตุ นั้น อาจทำให้ทีม กู้ชีพ กู้ภัย ตกอยู่ในภาวะอันตรายในขณะที่ต้องช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ จึงจำเป็นต้องมีการ ฝึกอบรมที่เป็นการเฉพาะเพิ่มเติม เช่น ก. ด้านองค์ความรู้ เช่น ระบบการบัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command System : ICS) ของหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่ เช่น การรายงานตัว การจัดการพื้นที่เพื่อการดูแลรักษา การ วางแผนเผชิญเหตุ การประเมินสถานการณ์ และอันตรายที่เกิดขึ้น การประเมินการบาดเจ็บที่ เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตอย่างรวดเร็ว ความรู้เรื่อง ลักษณะการบาดเจ็บจาก กระสุน วัตถุระเบิด และวิธีการช่วยชีวิตในสถานการณ์ดังกล่าว ข. ด้านทักษะทั่วไป เช่น การเคลื่อนที่เฉพาะบุคคลในภาวะเกิดอันตราย (การคลานคืบ คลานศอก วิ่งโผ วิ่งซิกแซก ในการ เข้า – ออก ระหว่างปฏิบัติการช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว) ทักษะการ ช่วยเหลือตนเองเมื่อเป็นอันตราย ทักษะการใช้เครื่องมือในการช่วยเหลือ ทักษะการเคลื่ อนย้าย ผู้บาดเจ็บ ทักษะการสื่อสารด้วยวิทยุ/ภาษามือ เป็นต้น ค. ด้านทักษะทางการแพทย์ เช่น การห้ามเลือด, การเปิดทางเดินหายใจ, การปิดบาดแผลทะลุ บริเวณทรวงอก เป็นต้น โดยการเพิ่มอัตราอุ ปกรณ์ เครื่องมือสายแพทย์ ยาและเวชภัณฑ์ ที่ใช้ ช่วยชีวิตให้กับทีม EMS เช่น สายรัดห้ามเลือด(combat application tourniquet), ผ้าชุบสาร ห้ามเลือด, (Nasopharyngeal tube), Chest seal เป็นต้น ง. อุปกรณ์ป้องกันตัว เช่น เครื่องป้องกันตา หมวกนิรภัย รองเท้า ถุงมือ หน้ากากป้องกันสารพิษ เป็นต้น จ. หลังปฏิบัติภารกิจ จัดให้มีการทบทวน ประเมินผล และสรุปบทเรียนเพื่อปรับพัฒนาแผนปฏิบัติ ของทีมให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น รวมถึงจัดให้มีการฝึกซ้อมและประเมินผลเป็นวงรอบเช่น ฝึกซ้อม ทุกรอบ ๑ เดือน เป็นต้น 152 การปฏิบัติของทีมกู้ชีพและกู้ภัย (Tactical EMS Team) ในสถานการณ์พิเศษ ในทางกฎหมายด้านการประกอบวิชาชีพเวชกรรม นั้น จะกำหนดบทบาทหน้าที่ ขอบเขต หรือขีด ความสามารถของทีมกู้ชีพ กู้ภัยไว้ต่างระดับกันว่า ใคร หน่วยใด สามารถให้บริการทางการแพทย์ได้ระดับ ไหน แต่สำหรับในเหตุการณ์พิเศษ นั้น บางเหตุการณ์ที่มีความจำเป็นเช่นกรณีที่มีผู้บาดเจ็ บ แต่ถูกปิดล้อม หรือถูกสกัดกั้น การส่งความช่วยเหลือไปที่เกิดเหตุไม่สามารถกระทำได้ในระยะเวลาอันสั้น หรือไม่สามารถ นำผู้บาดเจ็บออกจากพื้นที่ไปยังโรงพยาบาลปลายทางได้ ในการทำหัตการเพื่อรักษาชีวิติผู้บาดเจ็บอาจมี ความจำเป็นต้องยึดหลัก การที่อนุญาตไว้ตามกฎระเบียบที่ เกี่ยวข้อง ไม่อนุญาตให้สามารถทำหัตการได้ นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดไว้ การออกปฏิบัติหน้าที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยหรือผู้บาดเจ็บภายใต้สถานการณ์พิเศษนั้น จำเป็นต้องกำหนดห้วงเวลาในการปฏิบัติชัดเจน เพื่อประสิทธิภาพการช่วยเหลื อ และความปลอดภัยของ บุคลากรในทีม ซึ่งได้กำหนดเป็น ๓ ห้วงคือ ระยะที่ ๑ Direct Threat care : DTC ในห้วงนี้ เป็นการช่วยเหลือในสถานการณ์ที่ยังมีอันตราย ทีมกู้ชีพต้องประเมินให้ได้ว่ามีอันตรายอะไร มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายอย่างไร จะกระทำได้เพียงประเมิน สภาวะอันตราย พร้อมทั้งประเมินการบาดเจ็บด้วยสายตา จากนั้นสั่งหรือบอกวิธีการปฏิบัติให้กับผู้บาดเจ็บ และ/หรือ เพื่อนที่อยู่ใกล้ว่าจะต้องทำอย่างไร ตัวอย่างเช่น บอกให้เคลื่อนตัวไปที่มีที่กำบัง(โคนต้นไม้ , ก้อน หิน เป็นต้น), บอกวิธีห้ามเลือดให้กับตัวเอง, บอกวิธีนำผู้บาดเจ็บออกจากออกจากพื้นที่อันตราย กรณีที่ไม่ขัดต่อยุทธวิธีของหน่วยงานความมั่นคงที่ควบคุมพื้นที่ อาจขอให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน ความมั่นคงเองเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บมาส่งให้ทีมกู้ชีพในที่ปลอดภัย ซึ่งการปฏิบัติทั้งหลายเหล่ านี้ต้องปฏิบัติ ภายใต้คำสั่งผู้บัญชาการเหตุการณ์ ระยะที่ ๒ Indirec Threat care : ITC ในห้วงนี้เป็นห้วงที่ฝ่ายความมั่นคงสามารถควบคุมพื้นที่ได้ มี วางกำลังป้องกัน มีการจัดการกับสิ่งที่เป็นอันตรายแล้ว โอกาสที่จะเกิดอันตรายมีน้อย การเข้าช่วยเหลือ ผู้บาดเจ็บยังคงต้องมีการสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง ลำเลียงผู้บาดเจ็บไปยังจุดรักษาพยาบาลที่ กำหนด ตรวจ การบาดเจ็บและให้การช่วยเหลือ ตามขั้นตอนและหลักวิชาการ แต่ก็ต้องมีคนคอยกำกับการปฏิบัติให้เป็นไป ตามแผน และเฝ้าระวังตรวจความปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา ระยะที่ ๓ Evacuation care : Evac เมื่อเข้าสู่ขั้นการนำส่ง ผู้บาดเจ็บไปโรงพยาบาลปลายทางที่ กำหนด ก็จะเป็นขั้นการรายงานข้อมูลการบาดเจ็บ การให้การช่วยเหลือ ที่กระทำไว้แล้ว และอาการปัจจุบัน เพื่อเตรียมการรักษาต่อเนื่อง ระหว่างนำส่งจำเป็นต้องมีการติดตามประเมินอาการผู้บาดเจ็บตลอดเวลา เพื่อ ดูแลแก้ไขอาการให้ปลอดภัย และแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมทุก ๆ ครั้งให้โรงพยาบาลปลายทางทราบ สำหรับในห้วงการปฏิบัติการทั้ง ๓ ห้วงดังกล่าว ได้กำหนดวิธี ปฏิบัติเรียงเป็น 12 ขั้นตอนต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์ในการฝึกและการปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องตามลำดับด้วยความชำนาญ แม้จะมีความกดดันจาก ความซับซ้อนรุนแรงของสถานการณ์ เพียงใด ดังนี้ ขั้นตอนที่ ๑ การเตรียมการก่อนออกปฏิบัติการ (ออกเหตุต้องเตรียมการ) การเตรียมตัวก่อนออกปฏิบัติหน้าที่ของทีมกู้ชีพและกู้ภัย ในสถานการณ์พิเศษ นั้น มีความจำเป็น อย่างยิ่ง เนื่องจากในพื้นที่ที่เกิดเหตุนั้นอาจมีอันตรายที่สามารถเกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ของทีม กู้ชีพและกู้ภัยทุก คนได้ ทั้งอันตรายที่สามารถมองเห็นสามารถประเมินได้ และอันตรายที่มองไม่เห็นหรือไม่สามารถประเมินได้ ซึ่งจากข้อมูล ทางสถิติ และบทเรีย นจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติห น้าที่ของฝ่ายความมั่นคง โดยเฉพาะในการก่อความไม่สงบ ผู้ก่อการมักจะมียุทธวิธีใหม่ๆ มากระทำต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายมั่นคงเสมอ ดังนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในทีมกู้ชีพและกู้ภัยทุกคน จึงต้องมีความตระหนักในอันตราย มีวิธีเตรียมการก่อนออก ปฏิบัติการ ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 153 ๑.๑ ด้านบุคลากร เช่น ก) การมอบหมายหน้าที่แต่ละบุคคลในทีม การซักซ้อมแผนปฏิบัติให้มีความเข้าใจตรงกัน ข) การทบทวนองค์ความรู้ และ/หรือ วิธีการให้การดูแลผู้บาดเจ็บที่จำเป็นเร่งด่วน วิธีการ ช่วยชีวิตตนเองเพื่อนร่วมทีม เพื่อที่จะดูแลรักษาได้อย่างต่อเนื่ อง รวมถึงวิธีการป้องกันอันตรายของตนเอง และเพื่อร่วมทีมได้ ๑.๒ ด้านอุปกรณ์ ก) การจัดเตรียมเวชภัณฑ์ และสิ่งอุปกรณ์ทางการแพทย์เพิ่มเติมจากที่มีประจำชุดอยู่แล้ว การเตรียมอุปกรณ์ป้องกันตนเองและทีมตามภัยคุกคามหรืออันตรายที่ได้ทราบ เช่น Mask ชุดป้องกัน แว่นตานิรภัย (อาจจำเป็นต้องออกระเบียบ ข้อบังคับ หรือ กฎหมายเพิ่มเติมให้เจ้าหน้าที่กู้ชี พทำหัตถการที่ จำเป็นได้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของทีม) เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจประสานขอรับการสนับสนุนได้จาก หน่วยงานในเครือข่าย หรือหน่วยงานใกล้เคียง ข) ทดสอบความพร้อมใช้และทดลองอุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วน บุคคล และอุปกรณ์พิเศษต่าง ๆ ที่ได้จัดเตรียมให้ชำนาญ ๑.๓ ด้านวิธีการ ต้องมีการปฏิบัติในการเตรียมการเพื่อให้เกิดความปลอดภัย เช่น ก) การหาข้อมูลของเหตุการณ์ อาจใช้หลัก METHANE ในการหาข้อมูล คือ M : My call sign / name / appointment Major incident STANDBY or DECLARED E : Exact location (grid reference) T : Type of incident H : Hazards, present and potential A : Access, and egress N : Number and severity of casualties E : Emergency services, present & required ซึ่งสามารถหาได้จากศูนย์สั่งการ ทีมที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน หน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่ที่เกิดเหตุ และ ผู้บัญชาการเหตุการณ์หรือเจ้าหน้าที่ประสานงานประตัว ผู้บัญชาการเหตุการณ์ โดยข้อมูลที่จำเป็นต้องทราบ เช่น ลักษณะพื้นที่ ลักษณะเหตุการณ์ จุดสังเกตที่สำคัญ อันตรายที่มีขณะนั้น จำนวนผู้บาดเจ็บโดยประมาณ ลักษณะการบาดเจ็บ หน่วยช่วยเหลือทางการแพทย์ที่มีอยู่ในขณะนั้น เพื่อนำมาประมาณการทางการแพทย์ เตรียมการ และวางแผนการปฏิบัติ และแผนการส่งต่อ อย่างเป็นขั้นตอน ข) จัดเตรียมแผนปฏิบัติการของทีม แผนเผชิญเหตุตามที่คาดว่าจะมีอันตรายเกิดขึ้น หรือ แผนสำรองที่จำเป็น ทำการซักซ้อมแผนปฏิบัติงานภายในทีม หน.ทีมฯ จำเป็นต้องซักซ้อมแผนการปฏิบัติ ให้ เจ้าหน้าที่ภายในทีม มีความเข้าใจตรงกัน เช่น ลำดับขั้นตอนการปฏิบัติ หน้าที่ของแต่ละตำแหน่ง เป็นต้น ค) ต้องทราบข่ายสื่อสาร นามเรียกขาน ของหน่วยความมั่นคงในเหตุการณ์ ที่มีความจำเป็น ที่จะต้องประสานการปฏิบัติอย่างชัดเจนระหว่างหน่วยงานความมั่นคง ตำรวจ และฝ่ายกู้ชีพที่เข้ามาแก้ไข เหตุการณ์ร่วมกัน ส่วนที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือศูนย์สั่งการ EMS ต้องกำหนด หลักการ ขั้นตอนการปฏิบัติ ตลอดจน กฎ ระเบียบ วิธีการปฏิบัติการในสถานการณ์พิเศษไว้ เพื่อให้เป็นแนวทางการปฏิบัติให้กับทีมกู้ช ี พ ใน เครือข่ายของศูนย์เองอย่างครอบคลุม 154 การจัดเตรียมความพร้อมเพื่อรับผู้ประสบเหตุ ขั้นตอนที่ ๒ การปฏิบัติการ ณ ที่เกิดเหตุ(ประสานปลอดภัยจึงเข้า) การปฏิบัติของทีมกู้ชีพก่อนเข้าสถานที่เกิดเหตุที่จำเป็นต้องปฏิบัติ ได้แก่ ๒.๑ ต้องได้รับคำสั่งจากศูนย์สั่งการ ให้เข้าพื้นที่ โดยต้องขอทราบหมายเลขโทรศัพท์ ของ หน่วยงานหรือผู้บัญชาการเหตุการณ์ของพื้นที่ ๒.๒ รายงานตัวต่อ ผบ.เหตุการณ์ (ICS) โดยแจ้งชื่อหัวทีม จำนวนบุคลากรในทีม สาขา วิชาชีพ ขีดความสามารถที่ สำคัญ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สำคัญที่มี เพื่อที่ ผบ.เหตุการณ์ได้ทราบ และ มอบหมายหน้าในการปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม ในกรณีที่ทีมกู้ ช ีพทีมใดก็ตามเข้าถึงพื้นที่เป็นทีมแรก จะต้องสถาปนาหัวหน้าทีมเป็น ผู้ บัญชาการเหตุการณ์ด้านการแพทย์ (Medical Incident Commander) เพือ่ บริหารจัดการด้านการกู้ชีพ โดยให้ ค ำแนะนำแก่ ผ ู ้ บ ั ญ ชาการเหตุ ก ารณ์ ใ นการสั ่ ง การปฏิ บ ั ต ิ ในกรณี ท ี ่ ม ี Medical Incident Commander อยู่แล้วก็ให้รายงานตัวอีกครั้งหนึ่งเพื่อรับมอบหน้าที่และปฏิบัติตามที่ได้รับสั่งการ ๒.๓ ประเมินสถานการณ์ ณ ที่เกิดเหตุ ก) โดยใช้ข้อมู ลจากผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ หรือผู้บัญชาการเหตุการณ์ กรณีไม่สามารถหา ข้อมูลได้ให้ถือว่าไม่มีความปลอดภัย ให้รอผู้เชี่ยวชาญมาถึงก่อน หัวหน้าทีมจึงจะสั่งการให้เข้าช่วยเหลือ ผู้บาดเจ็บได้ ในระหว่างรอนั้นการช่วยเหลืออาจกระทำได้ตามที่ระบุไว้ใน ระยะที่ ๑ Direct Threat care : DTC ข) กรณีที่มีผ ู้เชี่ย วชาญ และมีข้อมูล จากผู้บัญชาการเหตุการณ์ จึงจะเริ่มดำเนินการ ช่วยเหลือ โดยผู้บัญชาการเหตุการณ์ด้านการแพทย์ จำเป็นต้องมีความรู้หรือผ่านการอบรมในด้านที่เกี่ยวข้อง เช่น การจัดการพื้นที่รักษาพยาบาลในภาวะมีอันตราย (การกั้นเขต การกำหนดตำบลรวบรวมผู้ป่วยเจ็บ), กลไกการบาดเจ็บจากกระสุน วัตถุระเบิด สารนิวเคลียร์ เคมี และชีวะ เป็นต้น ค) แจ้งข้อมูลข่าวสารที่ได้รับทราบให้กับศูนย์สั่งการประจำพื้นที่ เพื่อกระจายข่าวสารทาง การแพทย์ให้กับหน่วยรักษาและทีมแพทย์ที่เกี่ยวข้อง วางแผนให้การสนับสนุน และเพิ่มเติมความช่วยเหลือ ในการแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ขั้นตอนที่ ๓ การเฝ้าระวังความปลอดภัย (คอยเฝ้าระวังไว้) ระหว่างการเข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็ บในสถานการณ์พิเศษ เจ้าหน้าที่ในทีมหนึ่งคนที่ทำหน้าที่ดูแล ความปลอดภัย ให้กับ ทีม( safety officer) ของทีมแก้ไขเหตุการณ์ เพื่อคอยประเมินสถานการณ์ความ ปลอดภัยตลอดเวลา กำกับการปฏิบัติตั้งแต่เริ่มปฏิบัติจนกว่าจะเสร็จสิ้นภารกิจ เพื่อสั่งการแก้ไขปัญหาที่ ตรวจพบ 155 ในการวางแผนปฏิบัติการต้องกำหนดมาตรการความปลอดภัย ทุกคนในทีมจะต้องมีความตระหนัก ในความปลอดภัย ภายหลังวางแผนปฏิบัติ ณ ที่เกิดเหตุการณ์แล้ว เมื่อหัวหน้าทีมเริ่มสั่งการปฏิบัติ ระหว่าง การเคลื่อนที่เข้าหาผู้บาดเจ็บ คนนำทีมจำเป็นต้องสังเกตลักษณะอาการผู้บาดเจ็บตั้งแต่เ ริ่มเข้าหา เมื่ออยู่ใน ระยะที่เหมาะสมเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยเหลือควรต้องมีการสื่อสารกับผู้บาดเจ็บก่อนเข้าถึง ซึ่งจะมีประโยชน์คือ เป็น การประเมินสติผู้บาดเจ็บทางหนึ่ง และกรณีที่ผู้บาดเจ็บเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงอาจมีอาวุธประจำกาย จำเป็นต้องสื่อสารกับผู้บาดเจ็บเพื่อป้องกันการทำร้ายผู้เข้าช่วยเหลือจากความเข้าใจผิดได้ เมื่อเคลื่อนที่เข้าอยู่ในระยะที่ตรวจการณ์ได้ชัดเจน ตรวจลักษณะการวางตัวของผู้บาดเจ็บ และ ลักษณะพื้นที่ สิ่งที่อาจเป็นอันตราย รอบๆตัวผู้บาดเจ็บ ที่ที่ปลอดภัยที่อยู่ใกล้ตัวผู้บาดเจ็บ เพื่อสะดวกในการ เข้าถึง การวางอุป กรณ์ การเคลื่อนย้ายเร่งด่วนเข้าที่ปลอดภัย (ใช้ห ลัก Manual In Line) เพื่อ ให้การ ช่วยเหลืออาการบาดเจ็บที่เป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตในขั้นต้น ในกรณีที่เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงและมี อาวุธ มีอาการสลึมสลือมีความจำเป็นต้องนำอาวุธออกจากผู้บาดเจ็บก่ อน(ปลดอาวุธ) โดยแจ้งให้ทีมฝ่าย ความมั่นที่เป็นหน่วยเดียวกันคงปลดอาวุธ ก่อนให้การช่วยเหลือเพื่อความปลอดภัย ขั้นตอนที่ ๔ การปฐมพยาบาลบาดแผลที่มีเลือดออกอย่างรุนแรง (หยุดเลือดให้ได้ในพื้นที่) ในเหตุการณ์พิเศษนั้น การบาดเจ็บของผู้ประสบภัยมักเกิดจากกระสุน และวัตถุระเบิดการ ทำให้ เกิดบาดแผลฉกรรจ์ สามารถทำให้การเสียเลือดอย่างรุนแรง เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้บาดเจ็บ เสียชีวิตได้ ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ส ามารถป้องกันได้หากผู้บาดเจ็บ เจ้าหน้าที่ฝ่าย ความมั่นคง และแม้นแต่ เจ้าหน้าที่ในทีมกู้ชีพ มีความรู้ สามารถตรวจประเมินได้อย่างรวดเร็ว มีทักษะการห้ามเลือดทีมีความชำนาญ พร้อมกับมีอุปกรณ์ห้ามเลือดที่มี ประสิทธิภาพ หรือสามรถดัดแปลงอุปกรณ์ห้ามเลือดได้ เหล่านี้มีความ จำเป็นและสามารถกระทำได้ด้วยเวลาที่รวดเร็ว ขั้นตอนที่ ๕ การประเมินระดับความรู้สึก (เร็วรี่ดูสติระวังคอ) ภายหลังการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บเร่งด่วนเข้าที่ปลอดภัย และห้ามเลือดที่ไหลออกรุนแรงจนเลื อด หยุดไหลแล้วสิ่งต่อมาที่ต้องกระทำคือการตรวจการบาดเจ็บทั้งหมด เริ่มจากการประเมินระดับความรู้สึก อย่างรวดเร็ว โดยใช้หลัก AVPU A หมายถึง ผู้บาดเจ็บรู้สติเต็มที่ V หมายถึง ผู้บาดเจ็บที่ตอบสนองต่อการกระตุ้นด้วยเสียง P หมายถึง ผู้บาดเจ็บที่ตอบสนองต่อการกระตุ้นด้วยการทำให้เจ็บปวด U คือ หมดสติไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้นใดๆ unconscious วิธีการคือ A โดยวิธีใช้มือทั้งสองข้างตบบริเวณไหล่ด้านบนทั้งสองข้างของผู้บาดเจ็บด้วย น้ำหนักพอประมาณ พร้อมกับเรียกผู้บาดเจ็บไปพร้อมๆ กัน (V) เมื่อกระทำผู้บาดเจ็บไม่มีอาการตอบสนอง ให้ทำการตรวจสอบลำดับต่อไปคือ U โดยผู้ช่วยเหลือกำมือแล้วใช้ข้อนิ้วมือเกร็งไว้แล้วกดที่หน้าผาก หรือ บริเวณกระดูกหน้าอก กรณีผู้บาดเจ็บที่เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงที่สวมหมวกเหล็ก และเสื้อเกราะ ควร ใช้วิธีบีบมือโดยให้นิ้วมือผู้บาดเจ็บเรียงชิดติดกัน แล้วกำให้แน่น ถ้ากระทำอย่างใดอย่างหนึ่งนี้แล้ว หาก ผู้บาดเจ็บมีการตอบสนองอยู่บ้างหมายถึงผู้บาดเจ็บยังมีสติอยู่ลึกๆ (semi-conscious) ระบบทางเดินหายใจ จะยังทำงานได้ในระดับหนึ่ง หากผู้บาดเจ็บไม่ตอบสนองใดหมายถึงหมดสติอย่างสิ้นเชิง ก็จะเข้าสู่ขั้นตอน การเปิดทางเดินหายใจต่อไปขณะตรวจประเมิน ผู้ตรวจจะต้องมีการรายงานอาการที่ตรวจพบให้กับหัวหน้า ชุดทราบเป็นระยะ ๆอยู่ตลอดเวลา และตลอดเวลาในการตรวจการบาดเจ็บให้อยู่ในหลัก Manual In Line เสมอภาพการประเมินความรู้สึก 156 ขั้นตอนที่ ๖ การปฐมพยาบาลทางเดินหายใจผู้บาดเจ็บที่หมดสติ และ/หรือ มีบาดแผลที่ใบหน้า (อย่ารีรอเปิดทางเดินหายใจ) การปฐมพยาบาลทางเดินหายใจให้กับผู้บาดเจ็บที่หมดสติ หรือมีบาดแผลที่บริเวณใบหน้า ปาก และจมูก ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นอีกประการหนึ่ง เพราะอาการเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ทางเดินหายใจตอนบนของ ผู้บาดเจ็บอุดตันได้ จากการที่มีลิ้นตก สารคัดหลั่ง เลือด แม้นแต่การบวมของเนื้อเยื่อทางเดินหายใจจากการ ถูกกระแทกด้วยวัสดุต่างๆในระยะต่อมา ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้ทางเดินหายใจตอนบนอุดตัน เป็นสาเหตุ สำคัญที่ทำให้ผู้บาดเจ็บเสียชีวิตได้อีกสาเหตุหนึ่ง สำหรับวิธีปฐมพยาบาลทางเดินหายใจ ขัน้ ตอนที่ ๗ การปฐมพยาบาลบาดแผลทะลุที่ทรวงอกที่เป็นสาเหตุให้เสียชีวิต (ว่องไวปิดแผลที่ทรวงอก) ในเหตุการณ์พิเศษนั้น การบาดเจ็บของผู้ประสบภัยมักเกิดจากกระสุน และสะเก็ตวัตถุระเบิดการ สามารถทำให้เกิดบาดแผลฉกรรจ์ที่เป็นแผลทะลุบริเวณทรวงอก เป็นอันตรายต่อปอดทำให้ เกิด sucking chest wound ทำให้ผู้บาดเจ็บหายใจลำบาก จากการที่ปอดไม่สามารถทำงานได้ปกติ ขาดอากาศ เป็นอีก สาเหตุสำคัญอีกอย่างหนึ่งในสามประการของสถานการณ์พิเศษที่ทำให้ผู้บาดเจ็บเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการ ช่วยเหลืออย่างทันท่วงที อาการเหล่านี้เป็นลำดับต้นๆ ที่จะต้องทำการตรวจประเมินผู้บาดเจ็บ ซึ่งการตรวจ การบาดเจ็บที่ทรวงอกนั้นจำเป็นต้องมองให้เห็นด้วยสายตา เพื่อตรวจหาบาดแผล ลักษณะของบาดแผลที่ เกิด จึงจำเป็นถอดหรือตัดเสื้อผ้าออกเพื่อให้มองเห็น และทำการปฐมพยาบาลได้ทันทีกรณีตรวจพบบาดแผล ในบริเวณใต้รักแร้ทั้งสองข้างมักจะมองไม่เห็นได้สะดวก ให้ใช้มือทั้งสองข้างลูบตรวจ เมื่อสัมผัสกับเลือดจึง ตรวจละเอียดด้วยสายตาอีกครั้ง ส่วนวิธีการปฐมพยาบาลบาดแผลทะลุที่ทรวงอกนั้น ขั้นตอนที่ ๘ การตรวจการบาดเจ็บที่บริเวณ หลัง แขน ขา เพิม่ เติม (อย่าตระหนกตรวจหลังแขนขา) เมื่อตรวจร่างกายตั้งแต่บริเวณใบหน้า บริเวณทรวงอก และทำการปฐมพยาบาลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การตรวจทรวงอกบริเวณด้านหลัง เนื่องจากกระสุน หรือสะเก็ตวัตถุระเบิด มีอำนาจทะลุ ทะลวงสูง วิธีกระสุนนั้นอาจหักเหไปได้ในหลายๆทิศทาง และ จำเป็นต้องมีการตรวจทรวงอกทั้งด้านหน้า และหลังเสมอ เมื่อตรวจบริเวณทรวงอกเสร็จแล้ว ค่อยตรวจแขน ขา ด้านหลังต่อไป การพลิกตัวผู้บาดเจ็บ เพื่อตรวจด้านหลังนั้นต้องระวัง ใช้หลัก Manual In Line เสมอ ต้องเปิดหรือตัดเสื้อให้สามารถมองเห็นทรวง อกทั้งด้านหน้าและด้านหลังของผู้บาดเจ็บ หากตรวจพบบาดแผล ก็ทำการแก้ไข ขัน้ ตอนที่ ๙ การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ (การนำพาระวังคอ และ หลัง) เมื่อได้ตรวจการบาดเจ็บที่สำคัญ และให้การปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือชีวิตในขั้นต้นแล้ว การ เคลื่อนย้ายจากจุดที่ทำการปฐมพยาบาลเร่งด่วน ไปยังที่รวบรวมผู้บาดเจ็บหรือ รถพยาบาลที่อยู่ในพื้นที่ ปลอดภัยเพื่อทำการส่งต่อโรงพยาบาล นั้น ต้องคำนึงถึงการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้น ได้จากการเคลื่อนย้าย ผู้บ าดเจ็บ ด้ว ยวิธ ีที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะ การบาดเจ็บของกระดูกคอ และกระดูกสันหลัง ดังนั้นการ เคลื่อนย้ายในขั้นนี้จึงจำเป็นต้องมีทีมเคลื่อนย้ายที่เพียงพอ เพื่อเคลื่อนย้ายด้วยท่ามือเปล่า หรือเคลื่อนย้าย ด้วยอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน 157 ขั้นตอนที่ ๑๐ การติดตามประเมินอาการเพื่อดูแลระหว่างรอการส่งต่อ และ ระหว่างการนำส่ง รพ. (ไม่ พลาดพลั้งติดตามอาการ) ในบางสถานการณ์อาจทำให้ เมื่อทำการปฐมพยาบาลเรียบร้อยแล้วอาจมีเหตุการณ์ที่ทำให้ ไม่สามารถออกนอกพื้นที่เกิดเหตุได้ทันที่ และแม้นแต่ขณะเดินทางก็ดี ด้วยระยะทางที่อาจไกล สิ่งกีดขวางที่ เป็นธรรมชาติ และที่ถูกกระทำขึ้น ทำให้ห้วงการนำส่งมีระยะเวลาที่นานขึ้น ซึ่งจะเกิดผลโดยตรงต่ออาการ ของผู้บาดเจ็บ ที่ต้องทำการรักษาต่อ จึงมีความจำเป็นในการติดตามประเมินอาการของผู้บาดเจ็บ โดยเฉพาะ ผู้ที่หมดสติ ทีใ่ ห้การดูแลรักษาเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา ขั้นตอนที่ ๑๑ การติดสื่อสารก่อนก่อนนำส่ง รพ. (เร่งประสานการส่งต่อ) ก่อนจะนำผู้บาดเจ็บออกนอกพื้นที่เหตุการณ์ จำเป็นต้องแจ้งให้ผู้บัญชาการเหตุการณ์ในพื้นที่ ทราบ เพื่อสั่งการการปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะออกนอกพื้นที่ได้ ระหว่างการรอนำส่ง หรือระหว่างเดิน ทางนำส่งผู้บาดเจ็บ ไปโรงพยาบาลนั้นจะต้อง ทำการ secondary survey โดยใช้หลั ก SAMPLE ติดต่อสื่อสารกับศูนย์สั่งการทราบเพื่อเตรียมให้การช่วยเหลือกรณีเกิดปัญหาระหว่างเดินทาง และ ติดต่อสื่อสารกับโรงพยาบาลปลายทางเพื่อรายงานลักษณะการบาดเจ็บ การให้การช่วยเหลือที่ทีม EMS ได้ กระทำไว้ และอาการปัจจุบันของผู้บาดเจ็บ เพื่อให้โรงพยาบาลปลายทางเตรียมการช่วยเหลือได้อย่าง ต่อเนื่อง รายงานทุกครั้งที่ผู้บาดเจ็บมีอาการเปลี่ยนแปลง การรายงานอาจใช้หลัก PRINCIPAL เมื่อได้ส่งผู้บาดเจ็บเข้าโรงพยาบาลแล้วก็ให้แจ้งผู้บัญชาการเหตุการณ์ทราบด้วยเพื่อสั่งการปฏิบัติที่ เกี่ยวข้องต่อไป ในบางครั้งระหว่างเดินทางอาจจำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายมั่นคงอยู่ตลอดเวลา เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดิน ทาง และอาจจำเป็นต้องมีการจัดกำลังเพื่อคุ้มกันถ้าฝ่ายความมั่นคง ประเมินแล้วว่าไม่ปลอดภัย ขั้นตอนที่ ๑๒ การรวบรวมปัญหา ข้อขัดข้อง ข้อเสนอแนะ เพื่อจัดทำเป็นบทเรียนจากการปฏิบัติ เพื่อ นำไปสู่การพัฒนา (ทุกข้อที่ทำนำไปทบทวน) ภายหลังการปฏิบัติการ เพื่อเป็นการปรับพัฒนาการปฏิบัติของทีมให้ดียิ่งขึ้น หัวหน้าทีมกู้ชีพควรจัด ให้มีการทบทวนบทเรียนจากการปฏิบัติ (AAR) เพื่อทบทวนให้เห็นถึงข้อการปฏิบั ติที่ทีมทำได้ดี ข้อปฏิบัติที่ ทำได้ไม่ดี และทำอะไรเพิ่มเติมได้บ้างโดยให้โอกาสเจ้าหน้าที่ในทีมทุกคนได้พูดแสดงข้อคิดเห็นเพื่อรวบรวม ปัญหา ข้อขัดข้อง และข้อเสนอแนะในด้านข้อมูลที่เกี่ยวการช่วยเหลือ กระบวนการช่วยเหลือ กระบวนการ ดูแลความปลอดภัยของทีม เพื่อนำไปปรับพัฒนาปรับปรุงในทีมเอง และนำไปเป็นบทเรียนให้กับทีม EMS ของหน่วยงานอื่นๆ ข้างทีม และเสนอถึงหน่วยงานในระดับนโยบายของชาติเพื่อนำไปศึกษา เรียนรู้ เพื่อปรับ พัฒนางาน EMS ในสถานการณ์พิเศษของประเทศอย่างเป็นระบบต่อไป 158 การปฏิบัติการแพทย์ในถิ่นทุรกันดาร ( Wilderness Medicine ) การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในถิ่นทุรกันดารนั้นมีความยากลาบากแตกต่างจากการทำงานในเมืองหรือใน โรงพยาบาลอย่างยิ่ง ในพื้นที่ทุรกันดารเราอาจจะพบกับสิ่งแวดล้อมที่แปรปรวนและอาจเป็นอันตราย ผู้ช่วย เหลือจาเป็นต้องพึงระลึกถึงความปลอดภัยในการทำงานเสมอ ด้วยความที่ผู้ช่วยเหลือมักจะไม่ใช่บุคลากร ทางการแพทย์ ไม่มีอุปกรณ์ขั้นสูงและขาดทักษะในการดูแลผู้ป่วย การสื่อสารที่มีช่องทางจากัด เสียงรบกวน จากสิ่งแวดล้อมและความโกลาหลในสถานที่เกิดเหตุ ทาให้การรับข้อมูลและการตรวจประเมินผู้ ป่วยที่ แม่นยำถูกต้องเป็นสิ่งที่คาดหวังได้ยากจากพื้นที่ทุรกันดาร นอกจากนี้การช่วยเหลือทางการแพทย์ก็ท ำได้ช้า เนื่องด้วยพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลและเข้าถึงลำบาก การช่วยเหลือผู้ป่วยทางการแพทย์ในถิ่นทุรกันดารมีความจาเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการ มีนวัตกรรม หรือประยุกต์ใช้อุปกรณ์ ไปตามสถานการณ์ตอนนั้น ซึ่งแตกต่างจากในเมืองที่มีแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ ชัดเจน การลำเลียงผู้ป่วยออกจากพื้นที่ก็อาจจะไม่สามารถใช้ช่องทางปกติ เช่น ทางรถยนต์ได้ บาง สถานการณ์อาจจะต้องใช้การเดินเท้า เรือ หรืออากาศยาน ซึ่งมีความเสี่ยงและความซับซ้อนทางเทคนิค แตกต่างกันออกไป การรู้ถึงหลักการทั่วไปของการแพทย์ในถิ่นทุรกันดารจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อให้สามารถ จัดการสถานการณ์ที่ยากลำบากนี้ให้มีความราบรื่น มุ่งเป้าเพื่อแก้ปัญหาที่สำคัญของผู้ป่วย ส่งต่อเข้าสู่ระบบ การแพทย์ฉุกเฉิน (Emergency medical system [EMS]) และการรักษาขั้นสูงในโรงพยาบาลได้อย่าง เหมาะสมรวดเร็วต่อไป โอกาสที่จะเกิดความเจ็บป่วยและผลที่จะตามมา (Probability and Consequence) โอกาสที่จะเกิดความเจ็บป่วย ( Probability) และผลที่จะตามมา (Consequence) นั้นคือความเสี่ยง โอกาสที่จะเกิดความเจ็บป่วยในพื้นที่ทุรกันดารนั้นสามารถป้องกันด้วยวิธีต่างๆ เช่น หลีกเลี่ยงไม่ให้ยุงกัด ใส่ รองเท้าบู๊ทเวลาทางานในบริเวณที่รกชัฏ เป็นต้น หากเกิดการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บในพื้นที่ทุรกันดาร ผลที่ จะตามมา (Consequence) กลับสร้างความแตกต่างที่รุนแรงได้มาก เมื่อเทียบกับการเกิดเหตุในเขตเมือง เช่น ผู้ป่วยมีแผลพุพองที่เท้าเนื่องมาจากการเสียดสี จนทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อจนมีปัญหาในการเดิน เมื่อเกิดพายุ มีน้ำป่าไหลหลาก ทาให้ผู้ป่วยเอาตัวรอดจากสถานการณ์นั้นได้ยากลำบากกว่าคนปกติ หรือ หญิงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์มีเลือดออกช่องคลอด ในระยะแรกยังสามารถเดินหรือซ้อนรถจักรยานยนตร์ได้ ต่อมาเลือดออกมากขึ้นจนไม่สามารถเดินหรือนั่งได้ จาเป็นต้องใช้การแบกหามออกจากพื้นที่ ทำให้เพิ่มความ เสี่ยงต่อผู้ช่วยเหลือและใช้เวลาในการลำเลียงมากขึ้น หลักการข้อนี้จึงเป็นการกระตุ้นเตือนให้มีการปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์และให้การช่วยเหลือ ตั้งแต่เริ่มต้น ดังนั้นการลดทั้งโอกาสที่จะเกิดความเจ็บป่วย (Probability) และลดผลที่จะตามมา (consequence) จึงจะเป็นการจัดการกับความเสี่ยงที่เหมาะสมกับพื้นที่ทุรกันดารที่สุด 159 ระบบการประเมินผู้ป่วย (Patient assessment system) ระบบการประเมินผู้ป่วยเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตอบสนองต่อผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ เมื่อนำระบบไป ใช้อย่างเหมาะสมจะสามารถรวบรวมข้อมูลในสถานการณ์ที่ยากลาบากและวุ่นวายได้อย่างไม่สับสน ครอบคลุมทุกข้อมูลที่ควรมี โดยมีเป้าหมายสุดท้ายคือสามารถระบุปัญหาของผู้ป่วยเพื่อวางแผนการรักษา และแผนการลำเลียงต่อไปได้ ระบบการประเมินผู้ป่วยประกอบไปด้วย 3 ส่วน ประกอบด้วย การประเมิน สถานการณ์ (Scene size-up), การประเมินขั้นที่ 1 (Primary assessment), การประเมินขั้นที่ 2 (Secondary assessment) ซึง่ แต่ละส่วนมีโดยสร้างเป็นรูปแบบสามเหลี่ยม แต่ละมุมคือข้อมูลที่ควรจะ สืบค้น การที่มีโครงสร้างแบบสามเหลี่ยมเพื่อให้ผู้ช่วยเหลือสามารถเลือกได้ว่าต้องการสืบค้นข้อมูลจากมุม ไหนก่อนก็ได้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่ต้องเผชิญ โดยระบบการประเมินผู้ป่วยนี้พัฒนาโดย wilderness Medical Associates International ขั้นตอนของระบบการประเมินผู้ป่วยทำให้สามารถรวบรวมข้อมูลที่ สำคัญของผู้ป่วยได้อย่างเป็นระบบ ข้อมูลที่ได้นำมาจัดในรูปแบบ SOAP (Subjective, Objective, Assessment, Plan) หรือ เธอบอกเล่า, เราตรวจได้, มีปัญหามั๊ย,ทายังไงดี ซึ่งเป็นรูปแบบที่บุคลากร ทางการแพทย์โดยทั่วไปคุ้นเคย ระบบการประเมิน การประเมินสถานการณ์ (Scene size-up) การประเมินสถานการณ์ทำให้เรามีชีวิตรอดและสามารถทำประโยชน์ได้ การตรวจสอบสถานการณ์ โดยรวม จึงเป็นสิ่งที่ผู้ช่วยเหลือควรทำเป็นอย่างแรกเมื่อเข้าเผชิญเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทีมของเราเป็น ทีมแรกที่เข้ามาถึงผู้ป่วยถึงแม้ว่าสถานการณ์จะดูวุ่นวายรีบเร่งและกดดันการประเมินสถานการณ์ยังไงก็เป็น สิ่งที่ต้องทาก่อนเสมอ หยุด และ ดูภาพรวมของสถานการณ์โดยเฉพาะสิ่งที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อทีม ช่วยเหลือ ความปลอดภัยของสถานการณ์ (Safety of the scene) ต้องแน่ใจว่าทีมช่วยเหลือมีความปลอดภัย ถัดจากนั้นดูแลผู้เห็นเหตุการณ์ที่ยืนสังเกตการณ์และ ผู้ป่วยให้มีความปลอดภัยตามลำดับ การทำให้สถานการณ์ปลอดภัยอาจทำได้โดยการนำสิ่งที่เป็นอันตราย ออกจากผู้ป่วย หรือนำผู้ป่วยออกจากพื้นที่อันตรายก็ได้ เช่น การย้ายผู้ป่วยและผู้สังเกตการณ์ออกจากริม แม่นำ้ ที่เปลี่ยนสีจากใสเป็นขุ่นและมีขอนไม้ลอยมาหรือย้ายผู้ป่วยออกจากตีนหน้าผาที่มีความเสี่ยงต่อหิน หรือดินที่จะถล่มลงมา เป็นต้น ความปลอดภัยของผู้ช่วยเหลือรวมไปถึงการใส่ชุดป้องกันการปนเปื้อน(Body substance isolation)ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ด้วย เช่น ถุงมือ หน้ากาก แว่นตา ผ้ากันเปื้อน เป็นต้น 160 กลไกการเกิดโรค ( Mechanism of injury [MOI] ) เมื่อเห็นสถานที่เกิดเหตุและประเมินสถานการณ์เราควรแยกแยะว่ากลไกการเกิดโรคเป็นลักษณะ ไหนรุนแรง แค่ไหน สิ่งแวดล้อมเป็นอย่างไร ตาแหน่งของผู้ป่วยอยู่บริเวณไหน โดยแยกแยะกลไกการ บาดเจ็บเป็น 3 ลักษณะคือ อุบัติเหตุ (trauma), ความเจ็บป่วย (medical), สิ่งแวดล้อม (Environmental) นอกจากการสังเกตสถานการณ์แล้ว การสอบถามผู้ป่วย (ถ้ายังรู้สึกตัวดี) หรือสอบถามผู้พบเห็นเหตุการณ์จะ ทาให้ทราบถึงกลไกการบาดเจ็บที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในบางครั้งผู้ป่วย 1 คนอาจมีกลไกการบาดเจ็บมากกว่า 1 ลักษณะ เช่น ผู้ป่วยขึ้นต้นไม้เพื่อไปเก็บ น้าผึ้งในวันอากาศร้อน เป็นลมแดดหมดสติแล้วจึงต้นไม้สูง 10 เมตรศีรษะกระแทกพื้น ผู้ป่วยคนนี้มีกลไกเกิด โรคมีทั้งจากสิ่งแวดล้อม (ลมแดด) และจากอุบัติเหตุ (บาดเจ็บที่สมอง) เป็นต้น จำนวน (Number) ควรระบุจำนวนผู้ป่วยที่แน่ชัด เพื่อให้เห็นภาพรวมที่ชัดเจนว่ามีผู้ป่วยที่ต้องดูแลกี่คน รวมถึงผู้ที่มีความเสี่ยง ด้วย บางครั้งในสถานการณ์ที่สิ่งแวดล้อมมีอันตราย เช่น มีในกลุ่มนั่งวิ่งเทรลเป็นลมแดด อยู่ 1 คน คนที่อยู่ ในกลุ่มก็ย่อม มีความเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำ หรือเสี่ยงต่อการเป็นลมแดดเช่นกัน จำนวนผู้ช่วยเหลือและอุปกรณ์ที่มีก็มีความสำคัญเพื่อประเมินว่าการช่วยเหลือจะมีศักยภาพได้แค่ ไหนและต้องร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่ การประเมินขั้นที่ 1 (primary assessment) ขั้นตอนถัดจากการประเมินสถานการณ์คือการประเมินขั้นที่ 1 ซึ่งเป็นการประเมิน 3 ระบบที่สำคัญของ ร่างกาย (Critical system) คือระบบไหลเวียนเลือด (Circulatory system), ระบบหายใจ (Respiratory system), ระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system) อย่างรวดเร็ว เป้าหมายคือเพื่อค้นหาและ แก้ไขภาวะที่เป็นอันตรายเฉียบพลันต่อชีวิต ทั้ง 3 ระบบนี้ มีความสำคัญต่อการดารงชีวิตใกล้เคียงกัน การ เริ่มประเมินและแก้ไขจากระบบไหนก่อนหลังขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่ต่างกันไป ตรวจสอบทางเดินหายใจให้โล่ง แรงที่ใช้ในการหายใจเพื่อให้ออกซิเจนสามารถเข้าออกไปจนถึงปอด และถุงลม จับชีพจรว่ามีหรือไม่ เร็วหรือช้า ถ้าผู้ป่วยหมดสติแนะนาให้จับชีพจรบริเวณคอ (Carotid artery) และสังเกตว่า มีเลือดออกอย่างรุนแรงอยู่หรือไม่ ขณะที่ประเมินพยายามเครื่องไหวกระดูกต้นคอให้น้อยที่สุด ถ้าผู้ป่วยมีกลไก การบาดเจ็บที่สงสัยการบาดเจ็บกระดูกต้นคอ (MOI. Of spine injury) และตรวจระดับ ความรู้สึกตัว การประเมินขั้นต้นอาจเริ่มต้นจากการถามผู้ป่วยว่า”เป็นยังไงบ้างครับ” ถ้าผู้ป่วยสามารถตอบและ ออกเสียง ได้อย่างเหมาะสมหมายถึง 3 ระบบสำคัญยังเป็นปกติ แต่ผู้ป่วยบางคนอาจไม่ตอบสนองเป็นปกติ มีเลือดออกมากหรืออาจมีปัญหาด้านการหายใจ หรือทางเดินหายใจ และบางครั้งอาจมีเรื่องอื่นที่ดึงดูดความ สนใจของผู้ช่วยเหลือ เช่น ความเจ็บปวดของกระดูกหัก บรรยากาศที่วุ่นวายของผู้สังเกตการณ์ ผู้ช่วยเหลือ ควรแก้ไขสิ่งที่ตรวจพบความผิดปกติของระบบสำคัญในการประเมินขั้นต้นก่อนโดยไม่ต้องกังวลเรื่องอื่น การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการช่วยชีวิตขั้นสูง (BLS and ALS care) การช่วยเหลือปัญหาที่รุนแรงถึงชีวิตที่ตรวจพบจากการประเมินขั้นที่ 1 เรียกโดยรวมว่าการช่วยชีวิต ขั้นพื้นฐาน ซึ่งรวมถึงการทาการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR [cardiopulmonary resuscitation]) การช่วยชีวิตขั้น สูงจะเพิ่มเติมการใช้ยาและอุปกรณ์การแพทย์ต่างๆในการช่วยเหลือ ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ผู้ช่วยเหลือ อาจทำเพียงการประเมินขั้นต้นและให้การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานหรือขั้นสูง โดยไม่จำเป็นต้องประเมินขั้นที่ 2 แต่เมือ่ ทาการช่วยเหลือจนผู้ป่วยพ้นจากอันตรายเฉียบพลันต่อชีวิตแล้ว สามารถดำเนินการต่อด้วยการ ประเมินขั้นที่ 2 ต่อไป 161 การประเมินขั้นที่ 2 เมื่อผู้ป่วยไม่มีภาวะอันตรายเฉียบพลันต่อชีวิต หรือมีภาวะอันตรายต่อชีวิต แต่ได้รับการแก้ไขด้วย การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานแล้ว ในขั้นตอนถัดไปคือการประเมินขั้นที่ 2 ขั้นตอนนี้มีเป้าหมายเพื่อรวบรวมข้อมูล ของผู้ป่วยให้ครบถ้วน มากขึ้น นำไปสู่ระบุปัญหาของผู้ป่วยและวางแผนการรักษาเรียงลำดับตามความสำคัญ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม การประเมินขั้น 2 ประกอบไปด้วยการวัดสัญญาณชีพ, การตรวจร่างกาย และการ ซักประวัติ การระบุปัญหาของผู้ป่วย นำข้อมูลที่รวบรวมได้จากการประเมินผู้ป่วยนำมาจัดเรียงใหม่ในรูปแบบ SOAP ซึ่งสามารถใช้บันทึก เป็น เวชระเบียนรวมไปถึงการใช้สื่อสารกับบุคลากรทางการแพทย์ได้อีกด้วย S: subjective เธอบอกเล่า คือ สิ่งที่ผู้ป่วยเล่า ได้แก่เหตุการณ์ กลไกการเกิดโรค อาการ และประวัตสิ ำคัญ อื่นๆที่ได้จากการประเมินขั้นที่ 2 (SAMPLE history) O: objective เราตรวจได้ คือสิ่งที่ได้จากการตรวจ ได้แก่ การตรวจร่างกายและสัญญาณชีพ A: assessment มีปัญหาไหม คือการระบุปัญหาของผู้ป่วยให้ครอบครัวหมายถึง ปัญหาทางการแพทย์ ปัญหาในการเดินทาง ปัญหาทางด้านสภาพแวดล้อม โดยปัญหาทางการแพทย์ควรระบุถึงปัญหาที่อาจจะเกิด ตามมา (Anticipated problem) ด้วย P: plan ทายังไงดี คือการวางแผนการรักษาพยาบาลในทุกๆปัญหา วางแผนการป้องกันปัญหาที่อาจจะ เกิดขึ้น และวางแผนการลำเลียง โดยใช้การวิเคราะห์ความคุ้มค่ามาพิจารณา การช่วยฟื้นคืนชีพในพื้นที่ทุรกันดาร (CPR in Wilderness areas) การช่วยฟื้นคืนชีพนั้นเป็นหัตถการที่ต้องใช้กำลังกายและจำนวนผู้ช่วยเหลือค่อนข้างมาก ในพื้นที่ ทุรกันดาร สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอไม่แน่นอน อาจมีภาวะคุกคามต่อผู้ ช่วยเหลือ การพิจารณาว่าผู้ป่วยรายไหนไม่ควรเริ่มทาการช่วยชีวิต หรือเมื่อไหร่ควรจะหยุดช่วยชีวิต จึงเป็น สิ่งที่ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง หลักสูตรของ Wilderness Medical Associates International ได้เสนอไว้ ดังนี้ ไม่เริ่มทาการช่วยชีวิตเมื่อ เสียชีวิตแล้วอย่างชัดเจนจากการบาดเจ็บที่รุนแรง จมน้ำนานกว่า 1 ชั่วโมง ซึ่งโอกาสการช่วยแล้วจะกลับมามีชีพจรอีกครั้งเป็นเรื่องยากเพราะขาดอากาศไปนาน และกลไกการ เกิดโรคที่เป็นจากอุบัติเหตุ ซึ่งผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นจากอุบัติเหตุมักเกิดจากเสียเลือด จาเป็นต้องใช้การผ่าตัด ในการหยุดเลือดซึ่งไม่สามารถทาได้อย่างทันท่วงทีในพื้นที่ทุรกันดาร ส่วนการหยุดช่วยฟื้นคืนชีพจะหยุดเมื่อ กลับมามีชีพจร บุคลากรทางการแพทย์ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ แจ้งให้หยุด ผู้ช่วยเหลืออ่อนแรงและมีอันตราย พบการบาดเจ็บที่ถึงแก่ชีวิตและหลังจากช่วยฟื้นคืนชีพนาน เกิน 30 นาทีแล้วยังไม่มี ชีพจร โดยในสไลด์จะเปรียบคำแนะนำจาก Wilderness Medical Associates International กับ American Heart Association 162 ตารางเปรียบเทียบการกู้ชีพระหว่าง AHA และ WMA ปัญหาของระบบไหลเวียนเลือดที่มีความเสี่ยงสูงและการวิเคราะห์ความคุ้มค่า (Risk and benefit analysis) ช็อกคือภาวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิต การรักษาที่ต้องการคือการรับการรักษาจากบุคลากรทาง การแพทย์และเครื่องมือขั้นสูง แต่ในพื้นที่ทุรกันดารอันห่างไกลการลำเลียงผู้ป่วยออกจากพื้นที่มีความ ยากลำบากและเสี่ยง ถ้าการรักษาในที่เกิดเหตุสามารถทำให้ผู้ป่วยดีขึ้นก็เป็นสิ่งที่ควรทำ ตัวอย่างที่สามารถ ดูแลรักษาได้ในที่เกิดเหตุคือภาวะขาดสารน้ำ และการแพ้รุนแรง (ถ้ามียาอดรีนาลิน) จะช่วยลดการลำเลียงที่ ไม่จำเป็นลง ในผู้ป่วยช็อกที่ไม่สามารถแก้ไขได้ในที่เกิดเหตุ เช่น เลือดออกมาก หรือเจ็บหน้าอกร่วมด้วย อาจจะคุ้ม ค่าที่จะทาการลำเลียงที่มีความเสี่ยงสูง อย่างไรก็ตามควรพิจารณาถึงอาการของผู้ป่วยว่าคงที่หรือไม่ การ ลำเลียงโดยอาการไม่คงที่ก็อาจทำให้ผู้ป่วยแย่ลง แต่ถ้ารอให้อาการคงที่ก่อนแล้วค่อยลำเลียงก็อาจจะช้า 163 เกินไปหรือไม่ พยายามมองหาทางเลือกที่หลากหลาย การวิเคราะห์ความคุ้มค่าจึงเป็นเรื่องไม่ง่ายแต่มีความ จำเป็นต้องทำ คำตอบของการวิเคราะห์ไม่ได้มีคำตอบเดียวแต่ขึ้นกับสถานการณ์ของป่วยแต่ละราย ภาวะช็อกที่มีความเสี่ยงสูงตามสไลด์ เป็นภาวะที่ให้พิจารณาถึงการลำเลียงแบบฉุกเฉิน ปัญหาของระบบหายใจที่มีความเสี่ยงสูงและการวิเคราะห์ความคุ้มค่า (Risk and benefit analysis) เช่นเดียวกับช็อก การรักษาหายใจลำบากที่อยากให้เป็นมากที่สุดคือรักษาโดยบุคลากรทางการแพทย์ ที่ที่มือเครื่องมือขั้นสูง แต่ในพื้นที่ทุรกันดารที่มีการลำเลียงทำได้ยากและมีความเสี่ยง การรักษาในสถานที่ เกิดเหตุจึงมีความสำคัญและอาจจะยืดเยื้อ หอบหืด แพ้รุนแรง หรือสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ ส่วนบนอาจจะรักษาได้ตั้งแต่ในที่เกิดเหตุ แต่ภาวะที่ไม่สามารถรักษาได้ในที่เกิดเหตุ รักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยเหล่านี้อาจคุ้มค่าในการที่จะลำเลียงเพื่อรับการรักษาขั้นสูงต่อไป การรักษาภาวะแรงดันในกะโหลกศีรษะสูง เมื่อมีอาการของแรงดันในกะโหลกศีรษะแล้ว ถ้าอาการ เปลี่ยนแปลงเร็ว เช่น จากเลือดออกในสมองผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเสียชีวิต การช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) มักไม่ได้ผล และไม่ตอบสนองต่อการใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ การตรวจพบอาการตั้งแต่เนิ่นๆในผู้ป่วยที่การพัฒนาของ โรคไม่เร็วนักอาจสามารถรักษาชีวิตผู้ป่วยไว้ได้ ไม่มีการรักษาที่จำเพาะต่อภาวะแรงดันในกะโหลกสูงในพื้นที่ เกิดเหตุ การรักษาที่สามารถให้ได้คือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (BLS) ดูทางเดินหายใจให้โล่ง ช่วยหายใจ รักษา อุณหภูมิกายให้ปกติ ให้สารน้ำให้เพียงพอ และการลำเลียงออกจากพื้นที่อย่างรวดเร็ว การบาดเจ็บที่สมองที่มีความเสี่ยงสูงและการวิเคราะห์ความคุ้มค่า (Risk and benefit analysis) การตัดสินว่าจะอยู่ในพื้นที่เพื่อสังเกตอาการหรือลาเลียงผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บที่สมองออกจากพื้นที่เป็นเรื่อง ที่ค่อนข้างยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรงแต่การลาเลียงนั้นมีความเสี่ยง มันไม่ได้มีกฎ ตายตัวว่า แบบไหนต้องทาอย่างไร แต่แนวทางที่เสนอไว้ต่อจากนี้เป็นลักษณะของผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองที่มี ความเสี่ยงสูง จะช่วยให้ผู้ช่วยเหลือประเมินความคุ้มค่าจากความเสี่ยงและประโยชน์ที่ได้ รับได้ง่ายขึ้น แน่นอนว่าถ้าผู้ป่วยมีระดับความรู้สึกตัวลดลง มีลักษณะของแรงดันในกะโหลกสูง ผู้ป่วยรายนั้นย่อมมีความ เสี่ยงสูงอย่างแน่นอนให้ทำการช่วยเหลือเบื้องต้นและลำเลียงออกจากพื้นที่ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว ผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองถึงแม้จะมีอาการไม่รุนแรงมากนักแต่ความเสี่ยงของการลำเลียงอยู่ในระดับที่รับ ได้ ให้พิจารณาลำเลียงออกจากพื้นที่ เพราะปัญหาที่อาจเกิดตามมาคือแรงดันในกะโหลกศีรษะสูงซึ่งเป็น อันตรายต่อชีวิตและอาการอาจเปลี่ยนแปลงเร็ว การแพ้รุนแรงที่มีความเสี่ยงสูงและการวิเคราะห์ความคุ้มค่า การรักษาการแพ้รุนแรงด้วยอดรีนาลีนฉีดเข้ากล้ามเป็นการรักษาที่มีความเสี่ยงต่ำเมื่อเทียบโรคที่มี อันตรายสูงอย่างการแพ้รุนแรง ผู้ช่วยเหลือสามารถช่วยชีวติ ผู้ป่วยด้วยการฉีดยาอดรีนาลีนเพียงเข็มเดียว อีก ทั้งขนาดยาที่แนะนายังมีผลข้างเคียงน้อย ถึงแม้จะวินิจฉัยผิดพลาดผู้ป่วยก็ได้รับอันตรายไม่มาก 164 กลุ่มผู้ป่วยที่เสี่ยงในการให้ยาอดรีนาลีนคือผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด แต่อาการก็มีความ แตกต่างที่ผู้ช่วยเหลือจะแยกโรคจากการแพ้รุนแรงได้ ภาวะที่อาจสับสนเนื่องจากมีความคล้ายกับการแพ้ รุนแรงก็คือผู้ป่วยมีภาวะเครียดเฉียบพลัน (Acute stress disorder) ตามหลังการโดนผึ้งหรือต่อต่อยจำนวน มาก ในผู้ป่วยที่ได้รับยาอดรีนาลีนแล้วดีขึ้นการติดตามต่อเนื่องยังเป็นสิ่งต้องทาเพื่อระวังการเกิดเป็นซ้ำ (Biphasic reaction) การลำเลียงออกจากพื้นที่จึงควรทาแต่ไม่จาเป็นต้องเร่งด่วน แต่การแพ้รุนแรงที่มีความ เสี่ยงสูงควรพิจารณาลำเลียงออกจากพื้นที่อย่างเร่งด่วน การจากัดการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังและการวิเคราะห์ความคุ้มค่า เนื่องจากการจำกัดการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังตามแบบมาตรฐานอาจมีผลข้างเคียงตามที่ได้ กล่าวไปแล้ว การจำกัดการเคลื่อนไหวของกระดูกต้นคอไม่ได้หมายถึงการนอนหงายบนกระดานรองหลัง ร่วมกับการใส่เผือกดามคอเท่านั้น ในพื้นที่ทุรกันดารการจำกัดการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังสามารถทำ ได้หลากหลายขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่มี ในขณะรอการลำเลียงอาจนอนบนแผ่นโฟมหรือถุงนอนและขยับศีรษะให้ น้อย การลำเลียงที่ใช้เวลานานจึงต้องคำนึงถึงความสะดวกสบายของผู้ป่วยด้วยเช่น ถ้าผู้ป่วยยังรู้ตัวอาจไม่ ต้องมัดมือ อาจจัดในท่านอนตะแคงหรืองอเข่า อาจใช้เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัวแทน เฝือกดามคอชนิดแข็ง ผู้ป่วยที่มี ความเสี่ยงต่างๆกันอาจพิจารณาจำกัดการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังต่างกันไป แน่นอนผู้ป่วยที่ตรวจไม่ พบการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังก็ไม่จาเป็นต้องจำกัดการเคลื่อนไหวของกระดูก ต้นคอ ในผู้ป่วยบาดเจ็บกระดูกสันหลังแบบความเสี่ยงต่ำ (Low risk spine injury) ในกลุ่มนี้มีความ เสี่ยงต่อ การบาดเจ็บไขสันหลังน้อยและผู้ป่วยยังสามารถเคลื่อนไหวและเดินลงน้ำหนักได้เอง จึงแนะนำให้ ผู้ช่วยเหลือ ช่วยประคองผู้ป่วยให้เดินเองเป็นการลำเลียงผู้ป่วยออกจากที่เกิดเหตุได้ แนะนำให้เดินแบบที่ เคลื่อนไหวคอให้น้อยหรืออาจประยุกต์ใช้เป้สะพายหลัง ผ้าเช็ดตัวพยุงลาคอให้การเคลื่อนไหวของกระดูกสัน หลังลดลงได้ บาดเจ็บกระดูกสันหลังแบบความเสี่ยงสูง (High risk spine injury) ผู้ป่วยกลุ่มนี้ ควรได้รับการ จากัดการเคลื่อนไหวกระดูกคออย่างดี ให้ใกล้เคียงมาตรฐานที่สุดและควรได้รับการห้อหุ้มทั้งตัว เสื่อ สุญญากาศ (Vacuum mattress) เปลตะกร้ากู้ภัย (Basket litter) เป็นอุปกรณ์ทเี่ หมาะสมที่สุดในการผู้ป่วย บาดเจ็บกระดูกสันหลังแบบความเสี่ยงสูงในพื้นที่ทุรกันดาร สามารถให้ความมั่นคงต่อกระดูกสันหลัง อบอุ่น ปกป้องผู้ป่วยจากอันตรายขณะลำเลียง และไม่จำเป็นต้องใส่เฝือกดามคออีก ถ้าเราดัดเสื่อส่วนศีรษะให้ เข้ารูปได้ดีแล้ว การห้อหุ้มทั้งร่างกายเพื่อจากัดการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังในพื้นที่ทุรกันดารนั้นต้องให้ ความสำคัญกับ รอยกดทับ การลำเลียงที่ใช้เวลานาน ปัญหาเล็กอาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ ตรวจดูว่าผู้ป่วยมี เครื่องประดับหรือไม่ควร เอาออกให้หมด เสื้อผ้าที่ใส่มีบริเวณไหนที่รัดเกินไปหรือไม่ สายรัด มือหรือเท้ากด กับอุปกรณ์ที่เป็นของแข็งหรือไม่ถ้ากดทับความมีวัสดุที่นิ่มรองเพื่อลดแรงกด ท่าทางก็มีความสำคัญ ควรจัดท่าที่ผู้ป่วยสบาย เช่น งอเข่า แขนทั้งสองข้างกุมบริเวณหน้าอก ใน ผู้ป่วยที่ยังรู้สติอาจพิจารณาไม่รัดมือ เพื่อให้มือเป็นอิสระสามารถปกป้องตนเองจากสิ่งอันตรายต่างที่เกิดขึ้น จากการลำเลียงสามารถ เกาได้ และใช้มือถืออาหารได้เอง อาจจัดในท่านอนตะแคงเพื่อความสบายและลด การสำลักการคัดหลั่งหรืออาเจียน ในผู้ป่วยที่ระดับความรู้สึกตัวลดลง การบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง (Spinal column injury)โดยตัวของมันเองแล้วไม่เป็นภาวะ ฉุกเฉิน แต่ถ้ามีการบาดเจ็บของไขสันหลัง (Spinal cord injury) นั่นจะกลายเป็นภาวะฉุกเฉินทันที โดย จะตรวจพบกล้ามเนื้ออ่อนแรงและประสาทสัมผัสผิดปกติ ผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บกระดูกสันหลังควรลาเลียง 165 ออกจากพื้นที่ ในขณะที่ผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บต่อไข้สันหลังควรลาเลียงออกจากพื้นที่อย่างเร่งด่วน (Emergent evacuation) การบาดเจ็บแบบไม่มั่นคงความเสี่ยงต่ำ คือไม่มีการบาดเจ็บต่อเส้นประสาทหรือหลอดเลือด เมื่อ ตรวจ จึงยังปกติ ไม่มีผิวหนังฉีกขาดหมายถึงกระดูกหักแบบที่ไม่มีการแทงทะลุของกระดูกออกมาด้านนอก ลักษณะการผิดรูปไม่มากก็เชื่อได้ว่าการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อข้างเคียงก็จะมีไม่มาก สามารถบรรเทาอาการ เจ็บปวดได้หรืออยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ ซึ่งความเจ็บปวดที่ควบคุมได้จะมีโอกาสเป็นแรงดันในช่องปิด (Compartment syndrome) น้อยกว่า กระดูกหักที่สามารถทาให้มั่นคงได้ก็ย่อมลดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ ข้างเคียงที่อาจจะบาดเจ็บเพิ่มเติมจากการที่กระดูกมีการขยับ ข้อเคลื่อนอย่างง่ายเมื่อสามารถจัดให้เข้าที่ได้ก็ ไม่ได้มีความเร่งด่วน การบาดเจ็บแบบไม่มั่นคงความเสี่ยงต่ำนี้ควรลำเลียงออกจากพื้นที่ แต่ไม่จำเป็นต้อง เร่งด่วน การบาดเจ็บแบบไม่มั่นคงความเสี่ยงสูง (High risk) ควรลาเลียงออกจากพื้นที่อย่างเร่งด่วน เนื่องจากมักจะมีปัญหาที่อาจเกิดตามมาอย่างรุนแรงได้ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม การบาดเจ็บต่อ เส้นประสาทหรือหลอดเลือดเป็นเรื่องเร่งด่วนอย่างยิ่ง อาจคลาชีพจรส่วนปลายไม่ได้และตรวจผิดปกติ การ ขาดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายนานๆจะทาให้มีการตายของเนื้อเยื่อ หากล่าช้าเนื้อเยื่อขนาดใหญ่อาจมี การตายอย่างถาวรซึ่งอาจจะไม่สามารถรักษาอวัยวะนั้นไว้ได้ การมีปัญหาระบบสำคัญเป็นเรื่องเร่งด่วนใน ตัวเองอยู่แล้ว เช่น เกิดร่วมกับภาวะช็อก หรือมีอาการหายใจลาบาก การผิดรูปอย่างมากแสดงถึงการ บาดเจ็บที่รุนแรง การดัดกระดูกให้เข้าที่และการดามทาได้ยากจึงเสี่ยงต่อการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อข้างเคียง เพิ่มมากขึ้น การที่มีกระดูกหักแบบเปิดนอกจากการบาดเจ็บต่อเนื่องเยื่อข้างเคียงจะมีมากแล้วยังเพิ่มโอกาส การติดเชื้อเข้าไปในกระดูกอีกด้วย กระดูกชิ้นใหญ่อย่างกระดูกต้นขาและกระดูกเชิงกราน การที่กระดูกทั้ง สองชิ้นนี้มีการหัก หมายถึงกลไกการบาดเจ็บจะต้องมีความรุนแรง เนื้อเยื่อรอบกระดูกต้นขาและรอบกระดูก เชิงกรานสามารถมีเลือดออกได้จานวนมาก มากจนผู้ป่วยมีภาวะช็อกได้ การหักของกระดูกทั้งสองชิ้นนี้จึงมี ความเสี่ยงสูงและอันตราย แรงดันมากในช่องปิด (compartment syndrome) ผู้ป่วยจะปวดอย่างมาก ดู ปวดมากกว่าการบาดเจ็บที่เห็น แรงดันที่สูงขึ้นจะไปทาให้เส้นประสาทและหลอดเลือดทางานผิดปกติ อาจ ทาให้ส่วนปลายขาดเลือดไปเลี้ยงได้ ส่วนข้อต่ออักเสบติดเชื้อก็มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือด จะเห็นได้ว่าภาวะที่กล่าวมาทั้งหมดนี้มีความเสี่ยงสูงปัญหาที่อาจเกิดตามมาก็มีความรุนแรง ผู้ช่วย เหลือจึงจำเป็นต้องแยกแยะให้ได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงรึเปล่า การพิจารณาลำเลียงออกจากพื้นที่จึง ต้องเร่งด่วนกว่ากลุ่มความเสี่ยงต่ำ กระดูกต้นขาหัก (Femoral fracture) ในพื้นที่ทุรกันดารจึงแนะนำให้ทาการดามด้วยขาของผู้ป่วยอีกข้าง โดยใช้วัสดุที่มีความนิ่มวางขั้น ตรงกลาง เช่นหมอน ผ้าห่ม แล้วมัดขาทั้งสองข้างเข้าด้วยกัน อาจงอเข่าเล็กน้อยเพื่อให้ผู้ป่วยสบายมากขึ้น และนำผู้ป่วยใส่เปลตะกร้ากู้ภัยเพื่อลาเลียง ควรให้สารน้าและควบคุมอาการปวดด้วยระหว่างลาเลียงออก จากพื้นที่ กลุ่มอาการแรงดันในช่องปิด (Compartment syndrome) การบวม เลือดออก ในช่อง กล้ามเนื้อซึ่งเป็นช่องปิดจะทาให้แรงดันในช่องนั้นสูงขึ้น เมื่อแรงดันสูงขึ้นก็จะดันหลอดเลือดให้ไปเลี้ยงส่วน ปลายไม่พอ ภาวะขาดเลือดจึงเป็นปัญหาที่อาจเกิดตามมา กลไกอาจเกิดจากการที่มีกระดูกหักจนมีการ บาดเจ็บของกล้ามเนื้อโดยรอบ จากแรงกระแทก ชอกช้า หรือจากการใช้งานซ้าๆก็ยังเป็นไปได้แต่พบได้น้อย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดมาก มากเกินกว่าการบาดเจ็บที่เห็น เมื่อเหยียดกล้ามเนื้อที่อยู่ในช่องปิดนั้น ผู้ป่วยจะ ปวดอย่างมาก เป็นลักษณะสำคัญของกลุ่มอาการนี้ ถ้าเป็นมากขึ้นผู้ป่วยจะมีอาการชา คลำชีพจรส่วนปลาย ไม่ได้ และไม่สามารถขยับได้ การรักษาในพื้นที่เกิดเหตุที่สามารถได้คือประคบเย็น ยกส่วนนั้นให้สูง ยาลด 166 อาการปวดลดอักเสบและลำเลียงออกจากพื้นที่อย่างเร่งด่วนเนื่องจากไม่สามารถแก้ไขสาเหตุได้ในพื้นที่เกิด เหตุ กระดูกหักแบบเปิด (Open fracture) แผลที่เกิดขึ้นทาให้กระดูกที่หักเชื่อมต่อกับสิ่งแวดล้อม ภายนอก อาจเกิดได้จากกระดูกที่หักแทงทะลุออกมาซึ่งจะเป็นแผลเล็กๆ หรือแรงภายนอกกระทาให้เกิดแผล และแรงนั้นทำให้กระดูกหักด้วย การบาดเจ็บต่อเส้นประสาทหรือหลอดเลือดเป็นสิ่งที่เป็นได้เช่นเดียวกับ กระดูกหักทั่วไป ภาวะเลือดออกเป็นสิ่งที่ควรให้ควรสำคัญเนื่องจากมีการบาดเจ็บของเนื้อข้างเคียง ค่อนข้างมาก และเนื่องจากการที่สิ่งแวดล้อมภายนอกสามารถติดต่อกับจุดที่กระดูกหักโดยตรงทำให้โอกาสที่ จะเกิดการติดเชื้อมีสูงขึ้น ผู้ช่วยเหลือควรทำการล้างบริเวณแผลและส่วนที่กระดูกโผล่ออกมาให้สะอาด ถ้ามี เศษสิ่งแปลกปลอมหรือเนื้อเยื่อตายให้พยายามเอาออกให้มากที่สุด เมื่อแน่ใจว่าสะอาดแล้ว ให้พิจารณาดึงใน แนวตรง เพื่อให้กระดูกที่โผล่ออกมาเข้าไปในผิวหนังเพื่อความสะดวกในการดามและการลำเลียง ในผู้ป่วยที่ ไม่สามารถดึงกระดูกเข้าไปใต้ผิวหนังได้ให้ปิดด้วยการทาแผลแบบเปียก (Wet dressing) ให้ยาฆ่าเชื้อถ้ามี และควรลำเลียงออกจากพื้นที่อย่างเร่งด่วน การอำนวยการทางการแพทย์ในพื้นที่ห่างไกล การอำนวยการตามความหมายของประกาศกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2545 นั้นคือการดูแล ผู้ป่วยโดยที่ ผู้ช่วยเหลือไม่ได้กระทำโดยตรงกับผู้ป่วย แต่มีหน้าที่ให้คำปรึกษาและจัดการสิ่งต่างๆในการดูแล ผู้ป่วยมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งมักจะเป็นหน้าที่ของศูนย์สั่งการจังหวัดไปจนถึงแพทย์พยาบาลที่อยู่ตาม โรงพยาบาลชุมชนที่จะมีโอกาสได้รับคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่หรือผู้พบเห็นเหตุการณ์จากพื้นที่ห่างไกล การ อำนวยการเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการดูแลผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกล เนื่องจากในพื้นห่างไกลผู้ที่พบผู้ป่วยมักจะ ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์การให้การแนะนำในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเป็นสิ่งที่ทีมอำนวยการสามารถทำ ได้ ทาให้การดูแลในพื้นที่เกิดเหตุมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นการวางแผนการลำเลียงเป็นเรื่องที่ ต้องพิจารณาสำหรับผู้ป่วยทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล การพิจารณาว่าจะลำเลียงผู้ป่วยหรือไม่จำเป็นต้องใช้ การวิเคราะห์ทดี่ ี การเลือกวิธีการลำเลียงที่เหมาะกับผู้ป่วยและปลอดภัยสำคัญ ทีมลำเลียงก็จาเป็นต้องมีการ อำนวยการที่ดีเช่นกัน การอำนวยการทางการแพทย์ในพื้นที่ห่างไกล (Medical direction in the remote areas) การแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่ห่างไกลนั้นมีความแตกต่างกับการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่เขตเมืองอย่างยิ่ง ทั้งบุคลากรอุปกรณ์ที่ขาดแคลน การเข้าถึงการแพทย์ขั้นสูงมีความยากลำบาก ใช้เวลานาน ความเสี่ยงในการ ลำเลียงและสิ่งแวดล้อมที่อาจเป็นอันตราย ผู้ป่วยที่อาการยังดีอยู่ในขณะนี้อาจเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง หากเกิดฝนตกหนักหรือฟ้ามืดการลำเลียงก็อาจเกิดอันตรายได้ ข้อมูลที่กลุ่มอำนวยการที่ต้องการจึงมี เป้าหมายไปเพื่อการวางแผนการรักษา ร่วมกับการวางแผนการลำเลียงด้วยเสมอ ซึ่งข้อมูลสำหรับวาง แผนการรักษาจะได้จากการประเมินผู้ป่วยตามแนวทางที่ได้กล่าวมาแล้ว ส่วนข้อมูลที่ต้องใช้ในการวาง แผนการลำเลียงก็ได้จากการประเมินข้อมูลร่วมกับข้อมูลช่องทางการลำเลียงต่างๆ เช่น ผู้ป่วยสามารถเดินได้ หรือไม่ สภาพถนน เดินทางได้หรือไม่ ด้วยรถประเภทอะไร มีช่วงดินโคลนถล่มหรือน้ำท่วมหรือไม่ ทางเรือ สามารถเดินทางได้หรือไม่ ระดับและความเร็วของน้ำ เกาะแก่ง ลักษณะของเรือ หรือทางอากาศ สภาพ อากาศสามารถบินได้หรือไม่ อากาศยานในพื้นที่มีหรือไม่ ระยะเวลาในการลำเลียงของแต่ละช่องทางเป็น เท่าไหร่ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ผู้อำนวยการอาจจาเป็นต้องประสานงานกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สำคัญในการพิจารณา ข้อมูลที่เน้นในเบื้องต้นคือเพื่อแยกให้ได้ว่าผู้ป่วยที่ความรุนแรงหรือไม่ก่อน เช่น มีปัญหาต่อระบบ สำคัญหรือไม่มีปัญหาที่อาจเกิดตามมาที่รุนแรงหรือไม่ เป็นกลุ่มที่ความเสี่ยงสูงที่จะเกิดปัญหานั้นหรือไม่ มี อาการอันตรายหรือไม่ การบาดเจ็บนั้นมั่นคงหรือไม่มั่นคง ดีขึ้นหรือแย่ลง เพื่อช่วยในการวางแผนการรักษา 167 และพิจารณาว่าต้องลำเลียงเร่งด่วนหรือไม่ก่อนรายละเอียดบางอย่างที่ไม่ได้ช่วยในวางแผนการรักษาและ การวางแผนการลำเลียงอย่างเร่งด่วนอาจยังไม่จำเป็นต้องได้ในช่วงแรก การวางแผนการรักษา (Plan of treatment) เมื่อรับข้อมูลจากผู้ช่วยเหลือที่อยู่ในพื้นที่เกิดเหตุแล้ว ผู้อำนวยการต้องระบุปัญหา (Problem list) และระบุปัญหาที่เกิดตามมา (Anticipated problem) และให้คำแนะนำการรักษาให้กับผู้ช่วยเหลือในพื้นที่ ตามแนวปัญหาที่ระบุมาได้ วางแผนการลำเลียง การมีผู้ป่วยในพื้นที่ทุรกันดารหลังจากให้การดูรักษาเบื้องต้นแล้ว คำถามที่ตามมาก็คือผู้ป่วยรายนี้จา เป็นต้องลำเลียงจากพื้นที่หรือไม่ ถ้าต้องลำเลียงจะต้องลำเลียงอย่างเร่งด่วนหรือไม่ เนื่องจากในพื้นที่ห่างไหล นั้นที่ขาดแคลนบุคลากรและเครื่องมือทางการแพทย์ การเดินทางใช้เวลานานและสภาพแวดล้อมที่แปรปรวน อาจเป็นอุปสรรคในการลำเลียง หากผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงในทางที่แย่ลงแล้วค่อยมาพิจารณาเรื่องการ ลำเลียงอาจไม่ทันการ ฉะนั้นการแพทย์ในถิ่นทุรกันดารจึงเน้นนอกจากจะระบุปัญหา (Problem list)ให้ ผู้ป่วยได้แล้วยังต้องระบุปัญหาที่อาจจะเกิดตามมา (Anticipated problem) อีกด้วย เพื่อช่วยในการ คาดการณ์ว่าถ้าปัญหานั้นถ้าไม่สามารถแก้ไขได้ในที่เกิดเหตุ อาจเกิดปัญหาใดตามมา รุนแรงหรือไม่รุนแรง แล้วผู้ป่วยที่ความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหนที่จะเกิดปัญหานั้นๆ ฉะนั้นการวางแผนการลำเลียงจึงเริ่มจากสิ่งที่ผู้ ช่วยเหลือประเมินตามขั้นตอนของการแพทย์ในถิ่นทุรกันดารตามที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด เอกสารอ้างอิง 1.การช่วยชีวิตเชิงยุทธวิธ,ี กรมแพทย์ทหารเรือ,เกอสารประกอบหลักสูตร,2554. 2. การพยาบาลในพื้นที่รบ (Tactical EMS Medicine), รพีพร โรจน์แสงเรือง, วารสารวงการแพทย์. Available from : http://www.wongkarnpat.com/viewpat.php?id=651#.VnBb60qLTtQ 3. การบาดเจ็บที่ทรวงอก, วรวิทย์ อินทนู, หน่วยศัลยศาสตร์หัวใจ หลอดเลือด และทรวงอก ภาควิชา ศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 4.การบาดเจ็บจากระเบิด (BLAST INJURY),นพ.บวร วิทยชำนาญกุล,บทฟื้นฟูวิชาการ หน่วยเวช ศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 5. การบาดเจ็บจากระเบิด Blast Injury ,ปิยพันธุ์ ชีรานนท์ Available from : www.gmwebsite.com/upload/thaimilitarymedicine.com/file/unit24.doc 6.ตำราศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ 18 : Trauma Management for General Practitioner / ชาญเวช ศรัทธาพุทธ และ เรวัต ชุณหสุวรรณกุล, กรุงเทพฯ : สมาคมแพทย์อุบัติเหตุแห่งประเทศไทย, 2557 7.คู่มือการอบรมหลักสูตรการช่วยเหลือทางการแพทย์ในห่างไกลจังหวัดแม่ฮ่องสอน 168 แผนการสอนสัปดาห์ที่ 12 ชื่อบทเรียน ภาวะที่มีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก จำนวนชั่วโมง 4 ชม. (ทฤษฎี) จุดประสงค์การสอน (จุดประสงค์ทั่วไป) 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ เกี่ยวกับการจัดการทางการแพทย์ในภาวะที่มีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก 2. เพื่อให้นักเรียนตระหนัก และให้ความสำคัญการจัดการทางการแพทย์ในภาวะที่มีผู้บาดเจ็บ จำนวนมาก 3. เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ เรื่องการจัดการทางการแพทย์ในภาวะที่มีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก ไป ประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการเรียนรู้ (จุดประสงค์เฉพาะ) 1. บอกความหมายของภาวะที่มีผู้บาดเจ็บจำนวนมากถูกต้อง 2. ระบุประเภทของภัยพิบัติถูกต้อง 3. บอกระยะการตอบโต้สาธาณภัยถูกต้อง 4. อธิบายขั้นตอนการตอบโต้สาธารณภัย ตามหลักการ CSCATTT ถูกต้อง 5. บอกความหมายการรายงานเหตุ การณ์ภ าวะที่มีผ ู้บ าดเจ็บจำนวนมาก ตามอักษรช่ว ยจำ METHANE ถูกต้อง 6. รู้ขั้นตอนการคัดแยก Triage sieve และ Triage sort ถูกต้อง วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน 1. การบรรยาย 2. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สื่อการสอน/อุปกรณ์การสอน 1. Power point 2. เอกสารประกอบการสอน การวัดผล 1. การสอบความรู้ 2. รายงาน / งานมอบ 3. จิตพิสัย 169 หัวข้อการบรรยาย การจัดการทางการแพทย์ในสถานการณ์สาธารณภัย บทนำ ปัจจุบันสถานการณ์สาธารณภัยที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น ทั้งนี้เป็นผลจากสภาพแวดล้อมของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากสภาวะเรือนกระจกจากการที่มนุษย์ใช้ พลังงานอย่างฟุ่มเฟือย เผาผลาญเชื้ อเพลิงอย่างไร้ขีดจำกัดไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ถ่านหิน หรือก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งการบุกรุกทำลายป่าไม้ เผาป่า ควันพิษจากท่อไอเสีย ยานยนต์และโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้ก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน ไฮโดรคาร์บอน มีเทนและฝุ่นละออง สะสมในโอโซนพื้นผิวและชั้นบรรยากาศ เกิดลักษณะคล้ายเรือนกระจกห่อหุ้มโลกและกักความร้อนจากแสงอาทิตย์ไว้บนพื้นผิวโลกเกินความจำเป็น ส่งผลให้อุณหภูมิผิวดินและผิวน้ำสูงมากขึ้น เกิดวิกฤตโลกร้อนคุกคามไปทุกภูมิภาคของโลก นอกจากนี้ ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทยที่ถูกดัดแปลง แก้ไข และทำลายอย่างรุนแรง ทำให้ระบบนิเวศน์เสียความสมดุล ประกอบการกับการเพิ่มขึ้นของประชากร และการขยายตัวของชุมชนอย่างไร้ทิศทาง การเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาเทคโนโลยี การพัฒนา ภาคอุตสาหกรรม และการแพร่กระจายของสารเคมีและวัตถุอันตราย การเกิดโรคระบาด ตลอดจนกา รก่อ การร้ายและการก่อวินาศกรรมส่งผลให้สถานการณ์ด้านสาธารณภัยเปลี่ยนแปลงไป โดยมีความหลากหลาย สลับซับซ้อนและรุนแรงมากยิ่งขึ้นสร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินอย่างร้ายแรง ความหมายของภัยพิบัติสาธารณภัย และสถานการณ์ฉุกเฉิน ภัยพิบัติหรือสาธารณภัย (disaster) เป็นสถานการณ์ที่ทำให้ชุมชนและสังคมได้รับผลกระทบที่รุนแรง จนเกินความสามารถของตนเองที่จะจัดการให้เข้าสู่สภาวะปกติได้ ภัยพิบัติคือ ภัยอันเกิดแก่สาธารณชน ไม่ว่าจะเกิดจากธรรมชาติ หรือจากการกระทำของมนุษย์โดย ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตของประชาชน เกิดความสูญเสียหรือความเสียหาย และมีผลกระทบในทางลบต่อ ทรัพย์สิน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม จนเกินขีดความสามารถของชุมชนที่จะใช้ทรัพยากรของตนใน การรับมือและจัดการกับภัยพิบัติและผลกระทบของภัยพิบัติได้ (แผนปฏิบัติการการป้องกันและบรรเทาสา ธารณภัยแบบบูรณาการระดับกระทรวงด้านคมนาคม ฉบับสมบูรณ์ พ.ศ. 2552) สาธารณภัยหมายถึง อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง โรคระบาดในมนุษย์ โรคระบาดสัตว์ โรค ระบาดสัตว์น้ำ การระบาดของศั ตรูพืช ตลอดจนภัยอื่นๆ อันมีผลกระทบต่อสาธารณชน ไม่ว่าเกิดจาก ธรรมชาติ มีผู้ทำให้เกิดขึ้นอุ บัติเหตุ หรือเหตุอื่นใด ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชนหรือ ความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชน หรือของรัฐ และให้หมายความรวมถึงภัยทางอากาศ และการก่อ วินาศกรรมด้วย (พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550) คำว่าสาธารณภัยให้ความสำคัญกั บสถานการณ์ภัยทั้งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติและด้วยน้ำมือมนุษย์ที่ ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและรัฐทุกประเภท โดยมิได้จำกัดแต่เพียงสถานการณ์ภัยที่ เกินขีดความสามารถของชุมชนจะรับมือได้เท่านั้น ภัยพิบัติในทางการแพทย์ หมายถึงสถานการณ์ที่สร้างความเสียหายทั้งในด้านชีวิตและทรัพย์สิน ที่ เกินกำลังของหน่วยงานในโครงสร้างพื้นฐานของชุมชนแห่งนั้น ณ เวลาขณะนั้น จะสามารถรับมือและแก้ไข สถานการณ์ได้โดยจำนวนผู้ป ่วยฉุกเฉินไม่ได้เป็นตั วกำหนดว่าจะเป็นภัยพิบัติห รือไม่และภัยพิบัติของ หน่วยงานในโครงสร้างพื้นฐานหนึ่ง อาจไม่ใช่ภัยพิบัติของหน่วยงานในโครงสร้างพื้นฐานอีกหน่วยหนึ่งก็ได้ ประเภทของสาธารณภัย สาธารณภัย แบ่งตามลักษณะการเกิดหรือสาเหตุได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ 170 1. สาธารณภัยธรรมชาติ เป็นสาธารณภัยที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมักเกิดขึ้นตามฤดูกาลเป็นส่วน ใหญ่แต่บางครั้งอาจเกิดขึ้นโดยกะทันหันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ ทรัพย์สินและ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ 1.1อุทกภัยเป็นภัยอันเกิดจากภาวะน้ำท่วมจากพายุฝนตกหนัก พายุหมุนการทำลายป่า การทรุด ตัวของดิน ลักษณะอาจเป็นน้ำท่วมเฉียบพลันหรือแบบค่อยเป็นค่อยไป 1.2 วาตภัย เป็นภัยที่เกิดจากแรงลมและพายุสามารถแบ่งลักษณะของวาตภัยได้ตามความเร็วลม สถานที่ที่เกิดวาตภัยเช่นพายุฟ้าคะนอง พายุดีเปรสชั่นพายุโซนร้อนพายุไต้ฝุ่น 1.3 อัคคีภัยคือภัยที่ เกิดจากเพลิงไหม้ เป็นภัยที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สิน มี แนวโน้มในการเกิดขึ้นบ่อยและสร้างความสูญเสียมากขึ้นทุกปี 1.4 อากาศหนาวผิดปกติเช่นในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งมีภูมิ ประเทศเป็นที่ราบสูง ประกอบกับได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม ที่พัดพาความหนาวเย็นจากจีน เข้าสู่พื้นที่ ดังกล่าว ทำให้ประชาชนที่อยู่บริเวณหุบเขา และเชิงเขาได้รับความหนาวเย็น ซึ่งพบว่าในบางปีของฤดูหนาว จะมีอุณหภูมิต่ำมาก 1.5 ภัยแล้งเป็นภัยที่ทำให้เกิดความอดอยากขาดแคลน เนื่องจากการขาดน้ำในประเทศไทยมักเกิด จากขาดฝน ความแห้งแล้งของพื้นที่ก่อให้เกิดผลเสียในการผลิตผลทางการเกษตร 1.6 แผ่นดินถล่ม ในประเทศไทยมักพบแผ่นดินถล่มเกิดขึ้นเนื่องจากมีฝนตกหนักมาก เกิดจากดิน บริเวณภูเขาอุ้มน้ำไว้จนเกิดการอิ่มตัว และไม่สามารถอุ้มน้ำไว้ได้อีกจึงพังทลายลงมา ซึ่งส่วนมากจะเกิด พร้อมกับอุทกภัย 1.7 การระบาดของโรคเช่นอหิวาตกโรคโรคฉี่หนู 1.8 ภัยจากฝูงสัตว์และแมลง 2. สาธารณภัยจากมนุษย์เป็นสาธารณภัยที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์โดยอาจเกิดจากสิ่งประดิษฐ์ ของมนุษย์ ที่ประดิษฐ์เพื่อความสุขสบาย หรือเพื่อประหัตประหารกัน เช่น 2.1 ภัยจากการจราจร ได้แก่ ทางอากาศทางบก ทางน้ำ ทางราง 2.2 ภัยจากการประกอบอาชีพทั้งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม เช่นอุบัติเหตุจากการใช้เครื่องมือ เครื่องจักรอุบัติเหตุจากความร้อนอุบัติเหตุจากการตกจากที่สูงอุบัติเหตุจากความไม่เป็นระเบียบเป็นต้น 2.3 ภัยจากความไม่ สงบของประเทศ เช่น การจลาจล การปฏิวัติ การก่อวินาศกรรมการก่อการ ร้ายสงครามซึ่งผลที่ทำให้เกิดสาธารณภัยจากสงคราม จะรุนแรงหรือไม่ขึ้นอยู่กับผลร้ายของอาวุธที่นำมา ประหัตประหารกันเช่น นิวเคลียร์ เชื้อโรคหรือสารเคมี เป็นต้น 2.4 ภัยจากไฟฟ้า อัคคีภัยทำให้เกิดการบาดเจ็บ สูญเสียชีวิตจากแผลไหม้ ความร้อน ควันไฟ การ ขาดอากาศ 2.5 ภัยจากวัตถุอันตราย ได้แก่ ภัยจากวัตถุอันตรายที่ใช้ในอุตสาหกรรม การเกษตร สาธารณสุข อุปโภคและบริโภค 2.6 ภัยจากความเจริญทางเทคโนโลยี ความเจริญก้าวหน้าดังกล่าว จะมีความเสี่ยงสูงมากขึ้น เมื่อ เกิดสาธารณภัย เช่นเมื่อเกิดไฟไหม้ของอาคารสูง ระบบการเคลื่อนย้ายย่อมช้า และมีความยุ่งยากซับซ้อน กว่าอาคารปกติรวมทั้งเกิดพิษจากสารเคมีที่ใช้กับเฟอร์นิเจอร์ของอาคาร หรือแม้กระทั่งเครื่องใช้ประจำ สำนักงาน เช่น คอมพิวเตอร์ น้ำยาลบคำผิด ฯลฯการมีมาตรการความปลอดภัยที่ดี ก็อาจจะเป็นความเสี่ยง เมื่อเกิดสาธารณภัย เช่นประตูที่ใช้ระบบเปิดปิดอัตโนมัติ หรือลิฟต์ที่ขัดข้อง 171 รูปแบบการแบ่งประเภทของสาธารณภัยทางการแพทย์ ประเภทของสาธารณภัยทางการแพทย์ หรืออุบัติเหตุกลุ่มชน สามารถแบ่งได้ 3 รูปแบบ ดังนี้ 1. ธรรมชาติ (natural)หรือ มนุษย์ทำ (manmade) สาธารณภัยที่เป็นภัยธรรมชาติเช่น น้ำท่วมโรค ระบาดโคลนถล่มไฟป่าภูเขาไฟระเบิดแผ่นดินไหว สึนามิ เป็นต้น สาธารณภัยที่เกิดจากมนุษย์ทำเช่น ภัยจากอุบัติเหตุจราจร อัคคีภัยภัยจากอุบัติเหตุในโรงงาน อุตสาหกรรม ภัยจากการก่อการร้ายภัยที่เกิดในฝูงชนที่มารวมตัวกันภัยจากสงคราม เป็นต้น ภาพแสดงภัยธรรมชาติที่เกิดจากมนุษย์ทำ/จากภัยธรรมชาติ 2. โครงสร้างพื้นฐานไม่ถูกทำลาย (simple) หรือ โครงสร้างพื้นฐานถูกทำลาย (compound) สา ธารณภัย ที่โครงสร้างพื้นฐานไม่ถูกทำลาย (simple incident)หมายถึง สถานการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ท ำลาย โครงสร้างพื้นฐานของชุมชนแห่งนั้น สาธารณภัยที่โครงสร้างพื้นฐานถูกทำลาย (compound incident) หมายถึงเหตุการณ์ที่โครงสร้างพื้นฐานสำคัญถูกทำลายลงด้วยเช่นน้ำท่วม แผ่นดินไหว 3. รับ มือไหว (compensated) หรือ รับมือไม่ไหว(uncompensated) สาธารณภัยที่รับมือไหว (compensated incident)หมายถึงสถานการณ์ที่สามารถควบคุมได้ หน่วยงานต่างๆที่รับผิดชอบสามารถ รับมือกับปัญหาได้ สาธารณภัยที่รับมือไม่ไหว(uncompensated incident)หมายถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นยัง ไม่สามารถควบคุมได้ แม้จะได้มีการระดมทรัพยากร และบุคลากรจากภายนอกมาช่วยเหลือแล้วก็ตาม ระยะในการตอบโต้สาธารณภัย (Phases of Major incident) โดยทั ่ ว ไป มี ก ารแบ่ ง major incident เป็ น 3 ระยะ ได้ แ ก่ preparation, response และ recovery - Preparation คือ การเตรียมการเพื่อรับสาธารณภัยที่เกิดขึ้น กรณีที่เกิด manmade major incident บางครั้ง อาจจะป้องกันได้ด้วยการบังคับใช้กฎหมาย แต่ส่วนที่เกิดจากภัยธรรมชาติอาจ ป้องกันได้ยาก สำหรับการเตรียมการทางการสาธารณสุขประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้ planning, equipment และ training - Response คือ การตอบสนองเมื่อเกิดเหตุการณ์สาธารณภัย - Recovery คือ การฟื้นฟู อาจใช้เวลาหลายวัน สัปดาห์ หรือบางทีอาจหลายปี 1.ระยะก่อนเกิดเหตุ (Pre-event หรือ preparation phase) การเตรี ย มการเพื ่ อ รองรั บ สถานการณ์ ส าธารณภั ย ในระยะก่ อ นเกิ ด เหตุ (Pre-event หรื อ preparation phase)ควรมีการเตรียมการที่จำเป็น 3ด้าน (PET) ดังนี้ การวางแผนการบริหารจั ดการทางการแพทย์ในสถานการณ์สาธารณภัย (Planning) แผนการ บริหารจัดการทางการแพทย์ในสถานการณ์สาธารณภัยที่ควรมีและฝึกให้คุ้นเคย ได้แก่ แผนปฏิบัติการ การแพทย์ฉุกเฉิน แผนการบริหารจัดการของโรงพยาบาล แผนในกรณีที่เกิด สถานการณ์พิเศษต่างๆแผน 172 ฉุกเฉินอื่นๆในระดับพื้นที่ โรงพยาบาล จังหวัด เขต และประเทศ รวมถึงการร่วมซ้อมแผนในพื้นที่เสี่ยงภัย เช่น สนามบิน โรงงานอุตสาหกรรม หรืออาคารสูง เป็นต้น โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการช่วยชีวิตผู้ประสบภัย ให้ได้มากที่สุด อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และปลอดภัย ซึ่งต้องการความร่วมมืออย่างสูง และการทำงานเป็นทีม ของบุคลากร ในแผนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งนี้เพื่อให้มีความพร้อมและสามารถปฏิบัติได้ตามแผน ไม่ เพียงแต่การให้ความรู้เกี่ยวกับแผนเท่านั้น องค์ประกอบของแผนควรประกอบด้วย โครงสร้าง ผู้ประกาศใช้แผน บุคลากรและบทบาทความ รับผิดชอบ พื้นที่ปฏิบัติการ และกระบวนการดำเนินงานตามแผน รวมถึงการมีคู่มือและระเบียบที่สนับสนุน การปฏิบัติงานด้วยโดยใช้ข้อมูลประกอบในการทำแผนได้แก่ ธรรมชาติของภัยที่เกิดขึ้น ศักยภาพของ บุคลากร จำนวนทรัยพากรที่มีอยู่ พื้นที่ใช้งาน เส้นทางการจราจรระบบสื่อสาร วิธีการขอความช่วยเหลือจาก หน่วยงานต่างๆ ข้อมูลสำคัญที่จะต้องรายงานในเบื้องต้น จิตวิทยากลุ่มชน ผลกระทบเมื่อเกิดภัย และระบบ การรักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉิน เป็นต้น วงจรของการวางแผนที่ดีประกอบด้วย การทำแผน การสื่อแผน การซ้อมแผนให้คุ้นเคย และการ ประเมินปรับปรุงแผนให้ดีขึ้น ทำแผน ปรับแผน สื่อแผน ซ้อมแผน ภาพ แสดงวงจรการวางแผน - ประชุมจัดทำและทบทวนแผนอย่างสม่ำเสมอ - สื่อแผนหลายระดับเพื่อให้จำได้และคุ้นเคย - ซ้อมแผน (Simulation) หลายๆ สถานการณ์ - ปรับแผนให้ดีขึ้น โครงสร้างศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจ ณ จุดเกิดเหตุ ผู้บัญชาการจุดเกิดเหตุ (Field commander) ผู้สั่งการฝ่ายการแพทย์ (Field medical commander) ผู้สั่งการฝ่ายตํารวจ (Field police commander) ผู้สั่งการฝ่ายดับเพลิง (Field fire commander) ผู้สั่งการฝ่ายกู้ภัย (Field rescue commander) หมายเหตุ ผู้บัญชาการจุดเกิดเหตุจะเป็นใคร ขึ้นอยู่กับว่าเป็นเหตุการณ์อะไร ภาพ แสดงโครงสร้างศูนย์อำนวยการ 173 แผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 1) แผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ จัดทำโดย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทยร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานเอกชน เสนอต่อ คณะกรรมการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยแห่งชาติ และขออนุมัติคณะรัฐมนตรี 2) แผนป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยเขตท้องที่ (จังหวัด /กรุงเทพมหานคร) จัดทำโดย คณะ กรรมการฯ ในระดับจังหวัดและกรุงเทพมหานคร การบัญชาการเหตุการณ์ฉุกเฉิน ระดับชาติ นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายมีอำนาจสั่งการผู้ว่าราชการ ผู้อำนวยการ หน่วยงานของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ดำเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและให้ความ ช่วยเหลือแก่ประชาชน ในกรณีเกิดสาธารณภัยร้ายแรงเพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ ในการบริหารจัดการสา ธารณภัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ มี อำนาจควบคุมและกำกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทั่วราชอาณาจักร โดยมีปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นรองผู้บัญชาการ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นผู้อำนวยการกลาง รับผิดชอบการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยทั่วราชอาณาจักร ระดับจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้อำนวยการจังหวัด รับผิดชอบการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขต จังหวัด มีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นรองผู้อำนวยการจังหวัด นายอำเภอ เป็นผู้อำนวยการอำเภอ รับผิดชอบการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตอำเภอ มี หน้าที่ช่วยเหลือผู้อำนวยการจังหวัดตามที่ได้รับมอบหมาย ระดับท้องถิ่น กำหนดให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ในการดำเนินการด้านการป้องกันและบรรเทา สา ธารณภัย ให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ มีส่วนรับผิดชอบในการบริหารจัดการ สาธารณภัย ในพื้นที่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นผู้อำนวยการกรุงเทพมหานคร รับผิดชอบป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นรองผู้อำนวยการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการเขตแต่ละเขตเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการกรุงเทพมหานครเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการกรุงเทพมหานคร 174 ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้อำนวยการท้องถิ่น รับผิดชอบในการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยในเขตพื้นที่ มีหน้าที่ช่วยเหลือผู้อำนวยการจังหวัด และผู้ช่วยผู้อำนวยการจังหวัดตามที่ได้รับ มอบหมาย มีปลัดองค์กรปกครองส่วนท้อ งถิ่น เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการทุกระดับ โดยมีอำนาจแต่งตั้งเจ้า พนักงาน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตรับผิดชอบและจัดให้มี อาสาสมัคร ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นในการบริหารจัดการทางการแพทย์ในสถานการณ์สาธารณภัย (Equipment) อุปกรณ์ที่จำเป็นในการบริหารจัดการทางการแพทย์ในสถานการณ์สาธารณภัยได้แก่ อุปกรณ์ป้องกัน ตนเอง (Personal Protective Equipment)อุ ป กรณ์ ใ นการแสดงตั ว ตนของผู ้ ป ฏิ บ ั ต ิ ก าร อุ ป กรณ์ ท าง การแพทย์ (medical equipment) และอุปกรณ์ด้านการสื่อสาร 1. อุปกรณ์ป้องกันตนเอง (Personal Protective Equipment) คุณสมบัติที่ดีของอุปกรณ์ป้องกันตนเองมี 4ประการ ดังนี้ ปลอดภั ย (safety) ชุ ด ปฏิ บ ั ต ิง านในกรณีส ถานการณ์ ส าธารณภั ย ต้ อ งเป็ น ชุด ที่ ท ำให้ต นเอง ปลอดภัยและสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ทั้งนี้บุคลากรที่ไม่ได้ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง จะไม่ได้รับอนุญาต ให้ เข้าไปในสถานการณ์เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน ดังนั้นอุปกรณ์เหล่านี้ จึงควรอยู่ในรถพยาบาลฉุกเฉินเพื่อ พร้อมใช้ตลอดเวลา ภาพ แสดงการใส่ชุดป้องกันสารเคมี level C อันตรายที่อาจเกิดขึ้น อุปกรณ์ป้องกันตัวเอง อุบัติเหตุจราจร เสื้อสะท้อนแสง ฝนหรือลม เสื้อกันฝน เสื้อคลุม การบาดเจ็บที่ศีรษะ หมวกนิรภัยที่มีสายรัดคางและสีเด่นชัด การบาดเจ็บที่ตา แว่นตา การบาดเจ็บที่ใบหน้า กระบังหน้า อันตรายจากเสียง เครื่องป้องกันเสียง การบาดเจ็บที่มือ ถุงมือชนิดหนา 175 เลือดหรือสิ่งคัดหลั่ง ถุงมือทางการแพทย์ การบาดเจ็บที่เท้า รองเท้าบู๊ต ใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ (Function)เสื้อที่ใส่ในสถานการณ์สาธารภัย ควรเป็นเสื้อสะท้อนแสงที่ เห็นได้ชัดเจนแต่ไกล สามารถจำแนกประเภทของบุคลากรได้ เช่น "แพทย์" "พยาบาล" "เจ้าหน้าที่กู้ชีพ" นอกจากนี้เสื้อที่ใส่ ควรสามารถกันหนาวหรือป้องกันความร้อนได้ระดับหนึ่ง และควรมีกระเป๋าหรือช่อ ง สำหรับใส่อุปกรณ์ที่จำเป็นได้พอควร ทนทาน (Durability)ชุดปฏิบัติงานควรทำจากวัสดุที่มีความคงทน แต่ไม่เป็นอุปสรรคต่อความ สะดวกในการปฏิบัติงานสามารถทนไฟได้ สิ่งสำคัญคืออุปกรณ์ที่ใช้ในสถานการณ์สาธารณภัย จำเป็นต้องมี การตรวจสอบให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ ภาพ แสดงอุปกรณ์ป้องกันตนเอง ใช้ได้สะดวกสบาย(comfort) มีขนาดไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไปนอกจากนี้ในสถานการณ์พิเศษที่มี ความเสี่ยง อุปกรณ์ที่ควรนำไป ณ จุดเกิดเหตุเพิ่มเติมคือ บัตรประจำตัวโทรศัพท์มือถือ สมุดจด กล้องถ่ายรูป ไฟฉายนกหวีด เงินพกปากกาเป็นต้น 2. อุปกรณ์ในการแสดงตัวตนของผู้ปฏิบัติงาน เช่น เครื่องแบบ ป้ายชื่อ ผู้บัญชาการเหตุการณ์ ผู้สั่งการด้านการแพทย์ ผู้สั่งการการด้านตำรวจ (Incident Command) (Medical field command) (Police filed command) ผู้สั่งการด้านการ ดับเพลิง (Fire field command) 176 3. อุปกรณ์ทางการแพทย์ (medical equipment) อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องจัดเตรียมในกรณีสถานการณ์สาธารณภัย ได้แก่ อุปกรณ์คัดแยก (triage) อุปกรณ์ช่วยชีวิต (life saving first aid) อุปกรณ์ช่วยฟื้น คืนชีพขั้นสูง(advanced life support) อุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นๆ(special medical equipment) และอุปกรณ์ในการยึดตรึงผู้ป่วยฉุกเฉินก่อน เคลื่อนย้ายนำส่ง (packaging for transport) ภาพ แสดง ใบแสดงจำนวนผู้ป่วยฉุกเฉิน ภาพแสดง ใบคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน 4. อุปกรณ์ด้านการสื่อสาร (Communication Equipment) ได้แก่ วิทยุสื่อสาร โทรศัพท์มือถือ นกหวีด โทรโข่ง และประสานงานการจัดหารถสื่อสาร หรือรถ Mobile ที่สามารถใช้ช่องความถี่ได้ทุกช่อง จากหน่วยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทหาร ผู้สื่อข่าว หรือรถสื่อสารอื่นๆ ที่มีในพื้นที่ ทั้งนี้ในรถ Mobile อาจมีห้อง conference หรือระบบ Teleconference การฝึกอบรมบุคลากรเพื่อการบริหารจัดการทางการแพทย์ในสถานการณ์สาธารณภัย (Training) ในส่วนของการฝึกอบรมจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ การเรี ย นหรื อ การอบรมในห้ อ งและการฝึ ก ปฏิ บ ั ต ิ ซึ ่ ง จะเป็ น ในเรื ่ อ งของกา รประเมิ น การ รักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บในสถานการณ์ต่างๆ การฝึกปฏิบัติ ซึ่งจะเป็น - การทำแบบฝึกหัดและแบบทดสอบ (paper exercises) 177 ภาพแสดง การฝึกสถานการณ์บนโต๊ะ (table top exercises) - การฝึกปฏิบัติตามโจทย์สถานการณ์ (Practical Exercises without Casualties: PEWC) 178 - การฝึกปฏิบัติจริงในสถานการณ์จำลอง (Practical exercises with casualties) 2. ระยะขณะเกิดเหตุ (Event หรือ response phase) การตอบโต้สาธารณภัยในระยะขณะเกิดเหตุ (event หรือ response phase) ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินชุดแรกที่มาถึง ณ จุดเกิดเหตุ มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะประเมินและ ตัดสินใจว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็น Major incident หรือไม่ และจะเป็นผู้ตัดสินใจขอรับการสนับสนุนการ ปฏิบัติการจากเครือข่ายและแจ้งการเตรียมความพร้อมไปยังเครือข่ายโรงพยาบาล การประเมินและการ ตัดสินใจดังกล่าวจึงมีผลต่อความอยู่รอดของผู้บาดเจ็บจำนวนมากในเหตุการณ์ ในขั้นต้น หัวหน้าชุดปฏิบัติการฉุกเฉินที่มาถึงชุดแรก ต้องแสดงบทบาทเป็นผู้สั่งการ (Ambulance incident officer) แล้วส่งมอบภารกิจ การเป็นผู้สั่งการให้หัวหน้าทีมในระดับสูงกว่าที่มาถึงจุดเกิดเหตุ ภายหลัง ส่วนชุดปฏิบัติการฉุกเฉินชุดแรกจะต้องเปลี่ยนบทบาทไปทำหน้าที่คัดกรอง (Triage) ผู้ป่วยฉุกเฉิน ส่วนผู้ช่วยในทีมหรือสมาชิกทีม จะต้องอยู่ประจำรถพยาบาล ปฏิบัติหน้าที่ในการติดต่อประสานงาน กับศูนย์สื่อสารสั่งการ และชุดปฏิบัติการฉุกเฉินที่ไปถึง ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะเข้าไปดูแลผู้บาดเจ็บในบริ เวณที่ เกิดเหตุ เพราะจะทำลายโอกาสในการประเมินสถานการณ์ในภาพรวม ทำลายโอกาสในการประสานงานการ แจ้งข้อมูล และการระดมกำลังของเครือข่ายเข้ามาร่วมปฏิบัติงาน ทำลายโอกาสในการควบคุมพื้นที่ที่เกิดเหตุ เพราะหลังจากนั้นอีกไม่นาน พื้นที่บริเวณนั้นจะเต็มไปด้วยผู้คนที่มามุง ดู และรถมีมากมายที่จอดไม่เป็น ระเบียบ เป็นอุปสรรคขัดขวางการปฏิบัติงานของเครือข่ายฉุกเฉินที่จะทยอยตามมาร่วมปฏิบัติงาน ผลงานของชุดปฏิบ ัติการฉุ กเฉินชุดแรกที่ ไปถึงที่เ กิดเหตุ นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกำหนด ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการควบคุมสถานการณ์ major incident ในครั้งนั้น โดยปกติ หลักการพื้นฐานของการปฏิบัติงานของหน่วยกู้ชีพ ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินแต่ละทีมต้องมีผู้ ปฏิบัติการฉุกเฉิน อย่างน้อย 2 คน และต้องมีหนึ่งคนที่เป็นหัวหน้าชุด ส่วนอีกหนึ่งคนที่เหลือจะทำหน้าที่ เป็นพนักงานขับรถและช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน และในการออกปฏิบัติการจะถูกควบคุมโดยศูนย์รับแจ้งเหตุ และสั่งการ ขั้นตอนการตอบโต้สาธารณภัยประกอบด้วย 7ประการ ตามหลักการ CSCATTT ดังนี้ 1) Command and Control ควบคุมกำกับและสั่งการ 2) Safety ทำให้เกิดความปลอดภัย 3) Communication สื่อสาร 4) Assessment ประเมินจุดเกิดเหตุและทรัพยากร 5) Triage คัดแยกผู้บาดเจ็บ 6) Treatment รักษา ณ จุดเกิดเหตุ 7) Transport ขนย้ายผู้บาดเจ็บ 179 การควบคุมกำกับและสั่งการ (Command and Control) การสั่งการ(command) คือการสั่งการลงมาตามสายการบังคับบัญชาในสถานการณ์ฉุกเฉินแต่ละ ชนิด และตามแต่ละหน่วย เช่นตำรวจ ดับเพลิง กู้ชีพ โดยแต่ละหน่วยย่อมมีผู้บังคับบัญชาของตนเอง ถือเป็น การควบคุมในแนวดิ่ง การควบคุมกำกับ (control) คือการกำกับของผู้มีหน้าที่ ในการควบคุมสมาชิกของหน่วยต่ าง ๆ ที่ หลากหลายและมาร่วมในสถานการณ์ฉุกเฉินนั้ น แต่ละสถานการณ์ย่อมต้องมีผู้ควบคุมสถานการณ์โดยรวม ถือเป็นการควบคุมในแนวราบ การควบคุมกำกับและสั่งการ คือกระบวนการควบคุมกำกับและสั่งการ ที่สามารถพลิกผันสถานการณ์ จากร้าย ยุ่งเหยิง กลายเป็นดี มีระบบได้ถ้าเข้าใจทั้งกระบวนการและมีการสื่อสารที่ดีทั้งแนวราบและแนวดิ่ง 1) การสั่งการรวม (Incident Command) บริเวณที่เกิดเหตุ โดยมีผู้สั่งการแต่ละฝ่ายซึ่งจะสวมชุด เห็นชัดเจนทั้งหน้าหลังและหมวกตามที่ตกลงกันในแผน และสมาชิกตามสายบังคับบัญชาก็แต่งชุดแบบ เดียวกัน ต่างกันแต่สัญลักษณ์บนเครื่องแบบ ภาพ แสดงการระบุตำแหน่งของผู้ปฏิบัติการแต่ละฝ่าย รถคันแรกของแต่ละหน่วยที่มาถึงก็จะได้รับการจัดตั้งเป็นรถสั่งการของหน่วยนั้นๆ โดยผู้สั่งการก็ จะอยู่กับรถดังกล่าว 2) การควบคุมกำกับโดยรวมของบริเวณที่เกิดเหตุ (Incident Control) จะต้องเลือกผู้สั่งการหน่วย ที่เหมาะสมขึ้นมาเป็นผู้ควบคุมกำกับโดยรวม โดยทั่วไปจะเป็นผู้สั่งการฝ่ายตำรวจ แต่ถ้าเป็นกรณีไฟไหม้ ก็ สามารถกำหนดให้ผู้สั่งการฝ่ายดับเพลิงขึ้นมาเป็นผู้ควบคุมกำกับโดยรวม บางกรณีเช่นน้ำท่วมอาจเป็น หัวหน้าหน่วยบรรเทาสาธารณภัยของเทศบาลนั้นมาควบคุมกำกับก็ได้ แล้วแต่สถานการณ์ เรียกบุค คล ดังกล่าวว่า ผู้สั่งการ “Incident Commander”หน้าที่หลักของการควบคุมกำกับคือการแบ่งพื้นที่ปฏิบัติงาน ตามความเหมาะสมและกำหนดทิ ศ ทางการเคลื ่ อ นย้ า ยในสถานการณ์ โดยใช้ ร ะบบการสื ่ อ สารที ่ มี ประสิทธิภาพและประสานงานกันสม่ำเสมอแต่การสั่งการลงสู่สายการบังคับบัญชายังขึ้นกั บหัวหน้าหน่วยนั้น ๆ การกั้นแบ่งพื้นที่ (cordons)เป็นการกำหนดความชัดเจนของแต่ละพื้นที่ ซึ่งอาจใช้แถบเส้นสีต่าง ๆ ของตำรวจ หรือวัสดุอย่างอื่น เพื่อกั้นแบ่งและเลือกจะให้ใครเข้าออกบริเวณต่าง ๆ โดยเส้นแบ่งเขตชั้นนอก (outer cordon)จะล้อมรอบเหตุการณ์ทั้งหมดไว้ มักใช้รถตำรวจ แถบสี หรือกรวยสี เป็นตัวกั้น บริเวณจะ ค่อนข้างกว้าง การออกนอกจากวงแถบสีนี้แล้วจึงจะถือว่าปลอดภัยอย่างแท้จริง การจะเข้าออกจะถูกตรวจ อย่างเข้มข้น และต้องมีสัญลักษณ์แสดงหน้าที่ก่อนเข้ามา นักข่าวและสื่อมวลชน ต่าง ๆ ก็ต้องอยู่นอกแถบ ดังกล่าว ส่วนเส้นแบ่งเขตชั้นใน(inner cordon)ล้อมพื้นที่เกิดเหตุที่มีความเสี่ยง สามารถกั้นแบ่งได้ เช่นกัน และอาจต้องชัดเจนมากขึ้นในกรณีสารพิษ กรณีอาชญากรรม ยิ่งถ้าด้านในของรอยแบ่งยังอันตรายหรือเสี่ยง 180 แม้แต่คนเข้าออกต้องมีสัญลักษณ์ และเช็คชื่อและจำนวนเสมอเพื่อความปลอดภัยของทุ กคน มักเป็นตำรวจ หรือดับเพลิง ที่คอยควบคุมการเข้าออก ภาพ แสดงการกั้นแบ่งพื้นที่ การจัดลำดับชั้นของการสั่งการให้สอดคล้องพื้นที่ (Tiers of Command) เป็นการกำหนดยุทธศาสตร์ของการสั่งการตามพื้นที่หลังจากขีดเส้นแบ่งเขต (cordon) แล้ว โดยเรียกชื่อแต่ ละพื้นทีด่ ังแผนภูมิต่อไปนี้ ภาพ แสดงการกั้นพื้นที่ที่เกิดเหตุ พื้นที่อันตราย(Hot Zone - Bronze) เป็นพื้นที่ใช้เพื่อคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินครั้งที่ 1 และซึ่งเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครที่ได้รับการฝึกฝนมา อย่างเหมาะสมแล้วเท่านั้น ที่สมควรจะทำงานในพื้นที่นี้ได้ และต้องรีบเข้าและออกจากพื้นที่นี้ใ ห้เร็วที่สุด เท่าที่จำเป็น พื้นที่ต้องระวัง(Warm Zone - Silver) เป็นพื้นที่เพื่อใช้คัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินเป็นครั้งที่ 2 ทำการปฐมพยาบาลและเป็นจุดรับผู้ป่วยฉุกเฉินโดย รถพยาบาล ภายใต้การควบคุมการเข้าออกพื้นที่และจัดการจราจรโดยเคร่งครัด ตามหลักปฏิบัติ ผู้บัญชาการ เหตุ จะทำหน้าที่ควบคุมสั่งการจากพื้นที่นี้ และผู้ที่จะเข้าพื้นที่ส่วนนี้ได้ จะต้องเป็นผู้รับอนุญาตจากผู้ บัญชาการเหตุ และควรมีเครื่องหมายหรือบัตรประจำตัวแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจน 181 พื้นที่ปลอดภัย (Cold Zone - Gold) เป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับให้ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานต่าง ๆ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนอื่น ๆ เฝ้าติดตามสถานการณ์ เป็นจุดที่ให้ผู้สื่อข่าว และอาสาสมัครจากภายนอกรวมตัวกันอยู่ที่จุดนี้ และเป็นจุดที่ ใช้คัดกรองหรืออนุญาตให้เข้าออกพื้นที่ขั้นถัดไป ภาพ แสดงพื้นที่ในการปฏิบัติงาน ภาพแสดง การใช้ธงสีเป็นสัญลักษณ์แสดงจุดรักษาพยาบาล ผู้สั่งการฝ่ายการแพทย์และผู้สั่งการฝ่ายกู้ชีพอาจเป็นคนเดียวกัน ในกรณีที่ทั้งคู่มาจากโรงพยาบาล แต่ทั้งคู่ต่างก็ต้องร่วมกันดูแลทรัพยากรทั้งระบบ ทั้งการวางกำลังคน เครื่องมือ การสื่อสาร ดังรายละเอีย ด ต่อไปนี้ ผู้สั่งการฝ่ายการแพทย์มีหน้าที่ ดังนี้ - ต้องกำกับทั้งเหตุการณ์ ไม่ต้องลงไปดูผู้ป่วยฉุกเฉินเป็นรายบุคคล พร้อมประสานงานกันอย่างดีและ ประสานกับผู้สั่งการหลัก - กระจายงานให้ลูกทีมตามสายการบังคับบัญชาที่แสดงไว้ในแผนภูมิ โดยลูกทีมที่มาถึงจุดเกิดเหตุ ต้องมารายงานตัวและรับคำสั่งจากผู้สั่งการ 182 ภาพ แสดงการรายงานตัวและรับคำสั่งจากผู้สั่งการ - ผู้สั่งการจัดการให้ระบบสื่อสารและเครื่องมือต่าง ๆ เพียงพอต่อการทำงาน - ร่วมกันประเมินสถานการณ์เพื่อการสั่งการที่เหมาะสม - จัดระบบการประสานกับศูนย์สั่งการจังหวัด เพื่อขอการสนับสนุน - กำกับให้มีการทำคัดแยก การรักษาและการนำส่งที่เหมาะสม ทำให้เกิดความปลอดภัย (Safety) ผู้นำหรือผู้ที่รับผิดชอบหน้าที่นี้ต้องเฝ้าระวังความเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติงานและ ผู้บาดเจ็บ ความเหมาะสมของการแต่งกาย ชุดป้องกันตนเองให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ และพื้นที่เขต ปฏิบัติการที่จะเข้าไปปฏิบัติการรวมถึงการดูแลเรื่องระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และจำนวนผู้ปฏิบัติการ การสื่อสาร (Communication) การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการของการถ่ายทอดสารจากบุคคลฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ผู้ส่งสาร ไปยังบุคคล อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้รับสาร โดยผ่านสื่อ วิธีการสื่อสาร(communication methods) ในสถานการณ์สาธารณภัย สามารถใช้ได้ทั้งวิทยุโทรศัพท์ และ วิธีการอื่นๆ ดังนี้ 1) วิทยุ เครือข่ายวิทยุสื่อสาร บุคคลหรือหน่วยงานที่จะสื่อสารทางวิทยุ จะต้องมีรหั สหรือนามเรียกขาน(call sign) ที่สามารถ สื่อสารกันได้โดยใช้คลื่นความถี่ในเครือข่ายที่กำหนดไว้โดยเฉพาะ การสื่อสารระหว่างรถพยาบาลฉุกเฉินกับ ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการและโรงพยาบาล จะใช้คลื่นความถี่แบบ VHF ส่วนการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงาน ณ จุดเกิดเหตุอาจใช้ UHF สำหรับคลื่นความถี่แบบ HF นั้นจะใช้ในพื้นที่ห่างไกลและราชการทหาร ในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน จำเป็นต้องมีการวางแผน การจัดหา และการใช้วิทยุสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงาน ณ จุดเกิดเหตุ รถพยาบาลฉุกเฉิน ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการโรงพยาบาลที่จะนำส่งผู้ป่วยฉุกเฉิน และหน่ วยงาน เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจหรือดับเพลิง เป็นต้น ซึ่งจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการสื่อสารทางโทรศัพท์โดยเฉพาะ ในสถานการณ์สาธารณภัย 183 แนวทางการรายงานเหตุการณ์มายังศูนย์สั่งการ เพื่อให้การรายงานเหตุการณ์มายังศูนย์สั่งการเป็นไปอย่างรัดกุมและครบถ้วน มีกรอบแนวทางในการ รายงานด้วยคำว่า METHANE ดังนี้ ภัยหมู่ M Major incident: Standby or Declared เป็นสถานการณ์สาธารณภัยหรือไม่ เกิดขึ้นหรือยัง รู้จุด E Exact location สถานที่เกิดเหตุที่ชัดเจน รู้เหตุ T Type of incident ประเภทของสาธารณภัย เภทภัย H Hazards: present and potential มีอันตรายหรืออาจเกิดอันตรายอะไรบ้าง ไปพบ A Access and egress ข้อมูลทางเข้า-ทางออกจากสถานที่เกิดเหตุ ผู้ประสบ N Number and severity of casualties จำนวนและความรุนแรงของผู้บาดเจ็บ ครบช่วย E Emergency services: present & required หน่วยฉุกเฉินไปถึงหรือยัง ต้องการความช่วยเหลืออะไรบ้าง 2) โทรศัพท์ ข้อดี - มีอิสระในการสื่อสารมากกว่าวิทยุสื่อสาร - ใช้ในการสื่อสารนอกเครือข่ายวิทยุสื่อสาร - สามารถสื่อสารได้โดยตรงกับโรงพยาบาลที่จะนำส่งผู้ป่วยฉุกเฉิน - สามารถสื่อสารได้ทั่วประเทศและระหว่างประเทศ - สามารถสื่อสารข้อความยาวๆได้ - สามารถส่งโทรสารและกระจายข้อมูลได้ ข้อเสีย - ไม่มีศูนย์กลางการรับส่งข่าวสาร - มีข้อจำกัดในการใช้งานพร้อมกัน 3) การสื่อสารวิธีการอื่นๆ เช่น คนส่งสาร, ใช้สัญลักษณ์มือ, นกหวีด, การประกาศ, โทรทัศน์หรือ วิทยุ,วิดีโอ และเทเลเมดดิซีน (Telemedicine) เป็นต้น การประเมินจุดเกิดเหตุและทรัพยากร (Assessment) การประเมิน สถานการณ์ต้ องทำโดยเจ้าหน้า ที่ ทุ กระดั บชั้น และมีการประเมิ น อย่า งต่ อ เนื ่ อ ง เนื่องจากเหตุการณ์มักจะเปลี่ยนแปลงได้เสมอ บทบาทในการประเมินทรัพยากร จะเด่นชัดในบทบาทของ ผู้นำและเจ้าหน้าที่แต่ละส่วน เพื่อจะจัดสรรทรัพยากรที่มีและขอเพิ่มทรัพยากรจากหน่วยงานภายนอกได้ โดยส่วนมากจะมีการโยกย้ายทรัพยากร ที่ปฏิบัติการสำเร็จแล้วไปช่วยในส่วนที่ยังมีการปฏิบัติการอยู่ เช่น เจ้าหน้าที่ส่วนคัดแยกเมื่อคัดแยกผู้บาดเจ็บหมดแล้วก็จะถูกมอบหมายให้ไปช่วยส่วนรักษาพยาบาลต่อไป 184 การคัดแยก (Triage) การคัดแยกมีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดกลุ่มและนำผู้ป่วยฉุกเฉินไปส่งยังสถานที่ที่เหมาะสม ในเวลาที่ เหมาะสมเพื่อให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการรักษาที่ เหมาะสม ในกรณีที่ผู้ป่วยฉุกเฉินมีจำนวนมากเกินกว่าจำนวน บุคลากรที่ให้การช่วยเหลือ การคัดแยกจะใช้เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินส่วนใหญ่ที่มีโอกาสรอดชีวิต โดยผู้ที่มี อาการรุนแรง และมีโอกาสรอดชีวิตไม่มากนัก อาจไม่ได้รับการช่วยเหลือ การคัดแยก สามารถใช้ได้ตั้งแต่ กรณีอุบัติเหตุทางการจราจรที่มีผู้บาดเจ็บ 4-5 ราย โดยมีบุคลากรที่ ดูแลที่จุดเกิดเหตุเพียง 1-2 คน จนถึงกรณีการเกิดอุบัติเหตุกลุ่มชนขนาดใหญ่ที่มีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก ซึ่ง ต้ อ งใช้ แ พทย์ พยาบาล และเจ้ า หน้า ที่ อ ื่ นๆทั้ ง ในและนอกโรงพยาบาล ต้ อ งใช้ ก ารตัด สิ นใจและการ ประสานงานในระดับชาติหรือนานาชาติ เวลาและตำแหน่งที่ทำการคัดแยก การคัดแยกเป็นกระบวนการซึ่งต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ทำ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้ เพราะอาการของผู้ป่วยฉุกเฉินอาจดีขึ้นหรือแย่ลงได้เสมอ ดังนั้นการคัดแยกจึงต้องกระทำหลายครั้งใน ระหว่างกระบวนการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยอาจทำที่จุดเกิดเหตุ ทำก่อนเคลื่อนย้าย ทำที่จุดรักษาพยาบาล ทำก่อนจะส่งมายั งโรงพยาบาล ทำเมื่อมาถึงโรงพยาบาล ทำระหว่างให้การดู แลรั กษาในห้ อ งฉุ ก เฉิ น นอกจากนี้อาจทำการคัดแยกเพิ่มเติมได้เมื่อใดก็ตามที่อาการของผู้ป่วยฉุกเฉินมีการเปลี่ยนแปลง ในทาง ปฏิบัติ นิยมคัดแยกอย่างน้อย 2 ครั้ง โดยทั่วไปการคัดแยกครั้งแรก (primary triageหรือ triage sieve) เป็นการคัดแยกครั้งแรกมักจะ กระทำที่จุดเกิดเหตุ ในตำแหน่งที่พบผู้ป่วยฉุกเฉินเป็นการตรวจดูอย่างรวดเร็ว เพื่อจัดกลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉินใน เบื้องต้น เนื่องจากต้องกระทำอย่างรวดเร็วและใช้ข้อมูล ไม่มาก การทำ triage sieve จึงอาจเกิดความ คลาดเคลื่อนได้ แต่ก็สามารถปรับแก้ไขได้ในภายหลัง การทำการคัดแยกครั้งที่ 2 (secondary triage หรือ triage sort) เป็นการคัดแยกครั้งที่ 2 ที่มัก กระทำที่จุดรักษาพยาบาล EMS 1 2 1– 1– 2– 2– 3– ภาพ แสดงการจัดการทางการแพทย์ในสถานการณ์สาธารณภัย 185 การจัดกลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉิน การจัดกลุ่มเพื่อเรียงลำดับความเร่งด่วนในการดูแลรักษามีอยู่หลายวิธี แต่วิธีที่ใช้บ่อยคือ ระบบ T system ซึ่งจะแบ่งผู้ป่วยฉุกเฉินออกเป็น 4 กลุ่ม และแบ่งสีตามกลุ่มดังนี้ T Description Color 1 Immediate Red 2 Urgent Yellow 3 Delayed Green 4 Dead Blue T1 คือ ผู้ป่วยฉุกเฉินที่ต้องการการดูแลรักษาเพื่อช่วยชีวิตอย่างเร่งด่วน T2 คือ ผู้ป่วยฉุกเฉินที่ต้องการการดูแลรักษาภายใน 2-4 ชั่วโมง มิฉะนั้นจะเป็นอันตรายถึงชีวิต T3 คือ ผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีอาการไม่รุนแรง สามารถรอได้นานเกิน 24 ชั่วโมง T4 คือ ผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีอาการหนัก มีโอกาสรอดชีวิตน้อย อาจจะเสียชีวิตได้แม้ให้การดูแลรักษา อย่างเต็มที่โดยใช้บุคลากรจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้ผู้ที่มีโอกาสรอดชีวิตมากกว่า เสียโอกาสในการรักษา 1: Triage Sieve 3 ) ( 10 1 29 ( 10 - 29 ) 120 120 ( 2 ) ภาพ แสดงแผนผังการคัดแยกผู้ป่วย วิธีปฏิบัติในการทำ Triage sieve โดยทั่วไป ในการทำ Triage sieve มักกระทำโดยบุคลากรที่ไปกับรถพยาบาล เช่น FR, EMT-B หรือ พยาบาล ซึ่งการทำ Triage sieve เป็นการตรวจอย่างรวดเร็ว โอกาสเกิดความคลาดเคลื่อนได้ แต่ก็สามารถ ปรับแก้ไขได้ในภายหลัง สามารถกระทำได้โดยการพิจารณาจาก 1. ผู้ป ่ว ยฉุกเฉิน เดิน ได้เองหรือไม่ ถ้าผู้ป่ว ยฉุกเฉินเดินได้เอง ทุกคน ให้จัดกลุ่มอยู่ในกลุ่ม T3 (Delayed) 2. ผู้ป่วยฉุกเฉินเดินไม่ได้ ต้องประเมิน ABC (airway, breathing, circulation) อย่างรวดเร็ว ดังนี้ 2.1 ประเมินทางเดินหายใจ(airway) 186 ไม่หายใจ ให้เปิดทางเดินหายใจโดยวิธีพื้นฐาน เช่น jaw thrust ถ้าเปิดทางเดินหายใจแล้ว พบว่า ไม่หายใจ ให้จัดอยู่ในกลุ่มผู้เสียชีวิต ถ้าเปิดทางเดินหายใจแล้ว พบว่า หายใจได้ ให้จัดอยู่ในกลุ่ม T1 (Immediate) และให้ทำการเปิด ทางเดินหายใจไว้ตลอดเวลา โดยอาจใช้ oropharyngeal airway หรือให้ผู้ช่วยหรือผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีอาการ เบาช่วย จนกว่าจะมีชุดปฏิบัติการอื่นมาช่วย เพื่อให้ผู้ที่ทำการคัดกรองสามารถทำการคัดกรองผู้ป่วยฉุกเฉิน รายอื่นได้ต่อ หายใจได้ ให้ประเมินการหายใจต่อ 2.2 ประเมินการหายใจ (Breathing) โดยการตรวจนับอัตราการหายใจ ดังนี้ อัตราการหายใจ ≤ 9 หรือ ≥ 30 ครั้ง/นาที ให้จัดอยู่ในกลุ่ม T1 (Immediate) อัตราการหายใจ 10-29 ครั้ง/นาที (ปกติ) ให้ประเมินการไหลเวียนต่อ 2.3 ประเมินการไหลเวียน (Circulation) โดยมีวิธีการประเมิน 2 วิธีคือ วิธีที่ 1 Capillary refill time โดยทำการกดที่เล็บของผู้ป่วยฉุกเฉิน ถ้า refill time มากกว่า 2 วินาที ให้จัดอยู่ในกลุ่ม T1 (Immediate) ถ้า refill time เร็วกว่า 2 วินาที ให้จัดอยู่ในกลุ่ม T2 (Urgent) วิธีที่ 2 โดยการจัดชีพจรถ้ามากกว่า 120 นาที ให้จัดอยู่ในกลุ่ม T1 (Immediate) การทำTriage sieve ในเด็ก กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของเด็กจะแตกต่างจากผู้ใหญ่ ค่าของการตรวจวัดต่างๆ ในแต่ละช่วง อายุก็ไม่เหมือนกัน ทำให้ผู้ปฎิบัติมีปัญหาในการจำค่าปกติ เพื่อแก้ปัญหานี้จึงมีการนำPediatric triage tape มาใช้ โดยถือหลักการที่ว่า ความสูงของเด็กจะเป็นสัดส่วนกับอายุ น้ำหนัก และสัญญาณชีพ ดังนั้น เมื่อ วางตัวเด็กลงข้างtape โดยให้ศีรษะอยู่ตรงกับเครื่องหมาย ตำแหน่งที่ส้นเท้าแตะกับ tape ก็จะเป็นความสูง ซึ่งจะทำให้ประเมินค่าปกติต่างๆ ได้ หรืออาจใช้วิธี Jump START ภาพ แสดงการใช้ pediatric triage tape โดยทั่วไปแล้ว เด็กเล็กที่เดินไม่ได้ จะจัดให้อยู่ในกลุ่มT2, urgent เป็นอย่างน้อย การตรวจ capillary refill timeให้ตรวจที่หน้าผาก เนื่องจากจะเห็นได้ชัดกว่าที่เล็บ ส่วนอัตราการหายใจและชีพจร ดังแสดงใน ตารางในกรณีที่เด็กติดอยู่ในรถหรือสิ่งก่อสร้าง ให้ถือเป็นT1, immediate จนกว่าเด็กจะถูกนำออกมาจากรถ หรือสิ่งก่อสร้างนั้นได้ จึงทำ triage อีกครั้งหนึ่ง 187 ความสูง อัตราการหายใจ ชีพจร 50 ซ.ม. 20–50 90–180 80 ซ.ม. 15–40 80–160 >100 ซ.ม. 10–30 70–140 ตารางแสดงค่าอัตราการหายใจและชีพจรปกติในผู้ป่วยฉุกเฉินเด็ก วิธีการปฏิบัติในการทำ Triage sort เมื่อผู้ป่วยฉุกเฉินมาถึงจุดรักษาพยาบาล จะถูกทำtriage อีกครั้งหนึ่ง ซึ่ง ณ จุดนี้จะมีบุคลากรและ อุปกรณ์มากขึ้น การทำtriage จะมีการใช้ข้อมูลมากขึ้น กระบวนการนี้ เรียกว่าการคัดแยกครั้งต่อมา (triage sort) ในขั้นตอนนี้ต้องมีการใช้ trauma score มาช่วยในการจัดกลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยใช้การประเมิน 3 อย่าง คือ respiratory rate, systolic blood pressure และ Glasgow coma scale แล้วปรับค่าที่วัดได้ แต่ละตัวเป็น score 0 – 4 โดย score 4 เป็นค่าทีอ่ ยู่ในเกณฑ์ปกติ ลดหลั่นลงมาถึง 0 เป็นค่าที่วัดไม่ได้เลย โดยใช้ triage revised trauma score (TRTS) ซึ่งใช้อัตราการหายใจ, ความดันโลหิตและการประเมินระดับ ความรู้สึกตัวของกลาสโกว (Glasgow coma scale)ปกติแล้วปรับค่าที่วัดได้แต่ละตัวเป็น score 0-4 โดย คะแนน 4 เป็นค่าที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ ลดหลั่นลงมาถึง 0 เป็นค่าที่วัดไม่ได้เลย ค่าทางสรีรวิทยา ค่าที่วัดได้ คะแนน (score) อัตราการหายใจ (Respiratory) 10 – 29 4 > 29 3 6-9 2 1–5 1 0 0 ค่าความดันโลหิตตัวบน > 90 4 (Systolic blood pressure) 76 - 89 3 50 - 75 2 1 - 49 1 0 0 13 – 15 4 9 – 12 3 (Glasgow coma scale) 188 ค่าทางสรีรวิทยา ค่าที่วัดได้ คะแนน (score) 6-8 2 4-5 1 3 0 ตารางแสดง Triage revised trauma score (TRTS) เมื่อนำคะแนน(score)ทั้ง 3 มารวมกัน จะได้ค่า TRTS ซึ่งมีคะแนนเต็ม 12 การนำ TRTS ไปจัดกลุ่ม ผู้ป่วยฉุกเฉินถ้ามีการใช้ T4 expectant รายที่มี TRTS 1 – 3 ให้จัดอยู่ในกลุ่ม T4 ตารางแสดงการจัดกลุ่มตาม TRTS กลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉิน TRTS T1 1 – 10 T2 11 T3 12 เสียชีวิต 0 ข้อดีในการใช้ทำ triage โดยวิธีนี้คือ ทำได้เร็ว แม่นยำ สามารถเรียนรู้และนำไปใช้ได้ง่าย อีกทั้งยัง เป็นการวัดค่าทางสรีรวิทยาที่ต่อเนื่องจาก triage sieve อย่างไรก็ตามการจัดกลุ่มวิธีนี้บอกได้เพียงว่า กลุ่มใด หนักหรือเบา และต้องการการดูแลรักษาที่รีบด่วนกว่ากัน แต่ ไม่ได้บอกถึงอวัยวะที่บาดเจ็บ ซึ่งจะทำให้บอก ไม่ได้ว่ารายใดต้องส่งไปยังโรงพยาบาลที่มีแพทย์เฉพาะทางสาขาใด ในการปฏิบัติ แนะนำให้ทำ triage sieve และ triage sort โดยการวัดค่าทางสรีรวิทยา หลังจากนั้น ให้ใช้ข้อมูลการบาดเจ็บ ทางกายวิภาคศาสตร์เสริม เช่น บาดแผลไฟไหม้ การบาดเจ็บทางสมอง การบาดเจ็บ ที่ใบหน้า เป็นต้น เพื่อช่วยในการพิจารณาส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่เหมาะสม ป้ายแสดงการจัดกลุ่ม (Triage card) ในการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุกลุ่มชน ผู้ป่วยฉุกเฉินทุกรายจะต้องมี ป้ายหรือเครื่องหมาย แสดงถึงกลุ่ม หรือสีของตนเอง ป้ายที่ดีควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ - มองเห็นได้ชัด - ใช้วิธีการจัดกลุ่มที่เป็นมาตรฐาน เช่น สี ตัวอักษร ตัวเลข - ติดกับผู้ป่วยฉุกเฉินได้ง่าย และหลุดยาก - สามารถเปลี่ยนกลุ่มหรือสีได้ เมื่ออาการผู้ป่วยฉุกเฉินเปลี่ยนแปลงไป - มีพื้นที่สำหรับบันทึกข้อมูลที่สำคัญหรือเฉพาะ - กันน้ำได้ 189 ภาพ แสดงป้ายพับ ป้ า ยชนิ ด นี ้ ส ามารถพั บ เอาสี ด ้ า นใดออกหน้ า ก็ ไ ด้ จึ ง สะดวกในกรณี ที ่ ผ ู ้ ป ่ ว ยฉุ ก เฉิ น มี อ าการ เปลี่ยนแปลง และผู้ประเมินต้องการเปลี่ยนแปลงกลุ่มผู้ป่ว ยฉุกเฉินอีกทั้งยังแก้ปัญหาเรื่องการบั นทึ ก เนื่องจากข้อมูลที่บันทึกยังอยู่ในป้ายเดิม ดังนั้นป้ายพับจึงมีประโยชน์มากในการทำ dynamic triage แต่ก็มีข้อเสียอยู่ที่ ผู้ป่วยฉุกเฉินบางคน อาจปรับสีของตนเองเพื่อให้เจ้าหน้าที่มาดูเร็วขึ้น แต่ในกรณีเร่งด่วนไม่สามารถหาป้ายได้ อาจใช้วัสดุอุปกรณ์ อื่นที่หาง่ายเพื่อแบ่งกลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉินเบื้องต้นก่อนก็ได้ เช่น กระดาษสี เศษผ้า ที่หนีบผ้า ภาพ แสดงเทปสีที่ใช้แทนป้ายพับกรณีฉุกเฉินได้ การรักษา ณ จุดเกิดเหตุ (Treatment) การรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีจำนวนมากที่จุดเกิดเหตุ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ป่วยฉุกเฉินอยู่ในสภาวะที่ ปลอดภัยเพียงพอที่จะนำส่งโรงพยาบาล เพื่อไปรับการประเมินและรักษาอย่างสมบูรณ์ต่อไป ป ก ต ิ แ ล้ ว การรักษาผู้บาดเจ็บที่จุดเกิดเหตุ จะมุ่งแก้ไขปัญหาในเรื่อง airway, breathing และcirculation โดยจะเน้น ความสำคัญของการยึดตรึงศีรษะในขณะนำส่งโรงพยาบาล การรักษาอื่นๆ ถ้าจำเป็นก็พิจารณาทำได้ ในบาง กรณีอาจจะต้องพิจารณาตัดอวัยวะผู้ป่วยฉุกเฉินที่ถูกทับเพื่อเคลื่อนย้ายออกไปยังจุดที่ปลอดภัยโดยแบ่งการ จัดพื้นทีใ่ นการรักษาพยาบาลตามความรุนแรงของการบาดเจ็บดังนี้พื้นที่สีแดงพื้นที่สีเหลือง และพื้นที่สีเขียว แต่ละพื้นที่ควรมีหัวหน้าพื้นที่ที่มีสมรรถนะเหมาะสม การขนย้ายผู้บาดเจ็บ (Transport) การขนย้ายผู้บาดเจ็บ (transportation) ต้องทำด้วยความรวดเร็ว และมีขั้นตอนที่ถูกต้ อง เพื่อให้ ผู้ป ่ว ยฉุกเฉิ น ได้ร ับ การส่งต่ออย่างรวดเร็ว และปลอดภัย ในขณะเดียวกัน หากมีข้อจำกัดในเรื่อ งของ ยานพาหนะ พื้นที่หรือกำลังคน บุคลากรควรรู้จักปรับใช้วิธีการและขั้นตอนในการส่งต่อตามความเหมาะสม ขั้นตอนการขนย้ายผู้บาดเจ็บไปยังโรงพยาบาล รถพยาบาลหรือพาหนะอื่นๆ จอดรวมกันที่จุดจอดรถพยาบาล (ambulance parking point) เพื่อรอ การเรียกจากเจ้าหน้าที่ประจำจุดนำส่งขึ้นรถพยาบาล (ambulance loading officer) เมื่อถูกเรียก พนักงาน จะขับรถไปยังจุดนำส่ง (ambulance loading point)เพื่อรับผู้ป่วยฉุกเฉินที่กำหนด ส่งโรงพยาบาลตามที่ 190 เจ้าหน้าที่จุดนำส่งแจ้ง ซึ่งเจ้าหน้าที่จุดนำส่งจะประสานแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับอาการผู้ป่วยฉุกเฉิน กับศูนย์สั่งการ จังหวัด และบันทึกการนำส่งผู้ป่วยฉุกเฉินไปยังโรงพยาบาลปลายทางทุกราย เจ้าหน้าที่จุดนำส่ง (Loading officer) ต้องประสานกับเจ้าหน้าที่รักษาพยาบาล, เจ้าหน้าที่จุดจอด รถและโรงพยาบาลปลายทาง ในการนำส่งผู้ป่วยฉุกเฉินถูกที่ถูกเวลา และยานพาหนะที่เหมาะสม เจ้าหน้าที่ จุดนำส่งจำเป็นต้องมี Surge capacity (รายการแสดงจำนวนเตียงที่โรงพยาบาลสามารถรับผู้ป่วยฉุกเฉินได้ กี ่ เ ตี ย ง) รายการเหล่ า นี ้ จ ะช่ว ยในการตั ด สิ น ใจนำส่ ง ผู ้ ป่ ว ยฉุ ก เฉิ น ออกไปแบบกระจายไม่ ไ ปแออัดที่ โรงพยาบาลใด โรงพยาบาลหนึ่งหรือส่งไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพเหมาะสมกับผู้บาดเจ็บ เจ้าหน้าที่จุดจอดรถ (Parking officer) มีหน้าที่ควบคุมความเป็นระเบียบของรถพยาบาลและพาหนะ อื่น ๆ ที่จำเป็นต้องเข้ามาในจุดจอดรถ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้งานพาหนะนำส่งผู้ป่วยฉุกเฉินและ ต้องควบคุมพลขับรถแต่ละคันให้สามารถเรียกใช้งานได้ทันที ที่มีการร้องขอจากเจ้าหน้าที่นำส่ง โดยมากจาก ให้พลขับอยู่ประจำรถ ปิดแอร์ เปิดหน้าต่าง เพื่อให้พลขับสามารถรับรู้ถึ งสภาพแวดล้อมหรือภยันตราย ภายนอกที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง แต่ในประเทศเขตร้อนการนั่งประจำรถอาจไม่เหมาะสมนัก อาจหาจุด รวมพลขับในที่ร่ม ไม่ไกลจากจุดจอดรถและควบคุมไม่ให้ ออกนอกพื้นที่ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน Transport ภาพ แสดงขั้นตอนการขนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน การตัดสินใจนำส่ง โดยทั่วไป ผู้ป่วยฉุกเฉินรายใดจะนำส่งก่อนหลัง จะขึ้นกับการจัดกลุ่มดังได้กล่าวมาแล้ว แต่นอกจาก การพิจ ารณากลุ่มผู้ป ่วยฉุกเฉิน แล้ว ยังต้องพิจารณาถึงด้านอื่นๆ ด้ว ย เช่น ความจุของพาหนะ ความ เหมาะสมของวิธีการนำส่ง เป็นต้น 191 ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยฉุกเฉินบางคนที่ สามารถนั่งได้ อาจนำส่งโดยรถโดยสาร หรือรถส่วนตัว เพื่อไห้ รถพยาบาลนำส่งรายที่อาการหนัก หรือนั่งไม่ได้ รถบางคันอาจนำผู้ป่วยฉุกเฉินส่งได้พร้อมกันหลายราย ในขณะที่บางคันต้องนำส่งผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีอาการหนักเพียงรายเดียว หรือในบางกรณี ผู้ป่วยฉุกเฉินอาการไม่ หนักมาก แต่ต้องการส่งไปยังโรงพยาบาลที่ดูแลเฉพาะทาง อาจจำเป็นต้องใช้รถพยาบาลนำส่งแต่แรก เช่น ผู้ป่วยฉุกเฉินไฟไหม้บริเวณกว้าง การรักษาเบื้องต้น การักษาเบื้องต้นจะกระทำมากน้อยเพียงใดก่อนนำส่ง มีหลักการว่าต้องให้การรักษาที่จำเป็นในการ ช่ว ยชีวิต กระทำครบถ้ว นก่อนจึ งจะนำส่งได้ เพื่อให้ผ ู้ป่วยฉุกเฉินมีโอกาสรอดชีวิตมากที่สุดเมื่อไปถึง โรงพยาบาล แต่ไม่ควรเสียเวลากับเรื่องเล็กน้อยที่ไม่สำคัญต่อการเสียชีวิต เช่น รายที่มีทางเดินหายใจอุดตัน ต้องเปิดทางเดินหายใจก่อนนำส่ง แต่รายที่มีแผลฉีกขาดหลายแห่งตามใบหน้าหรือตามร่างกาย ควร ใช้การ พันแผลเพื่อห้ามเลือดไว้ก่อน ไม่ควรเสียเวลาเย็บแผลทั้งหมด การนำส่งผู้ป่วยฉุกเฉินไปโรงพยาบาลอย่างรวดเร็ว เป็นสิ่งสำคัญ แต่ต้องปลอดภัยด้ วย ผู้ป่วยฉุกเฉิน บางราย อาจจำเป็นต้องใช้เวลาที่จุดรักษาพยาบาล เพื่อให้การรักษาที่จำเป็นอีกช่วงหนึ่งทั้งที่รถพยาบาล พร้อมแล้ว ในกรณีเช่นนี้บุคลากรควรพิจารณาอย่างรอบคอบ โรงพยาบาลที่นำส่ง เป็นหน้าที่ของหัวหน้าทีมรักษาพยาบาลที่จะต้องตัดสินใจว่าจะนำส่งผู้ป่วยฉุ กเฉินกลุ่มใดไปยัง โรงพยาบาลใด เพื่อให้การนำส่งตรงไปยังโรงพยาบาลเป้าหมาย ควรมีการประสานงานก่อนนำส่ง พยายาม หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่เมื่อนำส่งไปยังโรงพยาบาลแรก แล้วรับไว้ไม่ได้ ต้องส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่ 2 หรือ 3 ทำให้เสียเวลา และเสียโอกาสในการรอดชีวิต วิธีการนำส่ง วิธีการนำส่งที่ใช้บ่อยที่สุดคือ ใช้รถพยาบาล (ambulance) ซึ่งออกแบบมาเพื่อการนำส่งผู้ป่วย ฉุกเฉิน สามารถให้การดูแลที่จำเป็นได้ในระหว่างทาง แต่ในกรณีอุบัติเหตุกลุ่มชน รถพยาบาลอาจมีจำนวนไม่ เพียงพอ จำเป็นต้องเลือกใช้ยานพาหนะอื่น การเลือกใช้ยานพาหนะหรือวิธีการนำส่งแบบใด หัวหน้าทีมกู้ชีพต้องพิจารณาถึง 1. ความจุของยานพาหนะ (capacity) 2. ความพร้อมของยานพาหนะ (availability) 3. ความเหมาะสม (suitability) เริ่มแรกต้องพิจารณาถึงความจุของยานพาหนะแต่ละคัน เช่น รถพยาบาลมักนำส่งได้คราวละ 1-2 ราย แต่รถโดยสารอาจนำส่งได้คราวละมากๆ ถัดมาต้องพิจารณาว่า ยานพาหนะใดที่พร้อมจะปฏิบัติงาน เช่น ในขณะนั้นรถพยาบาลอาจมีน้อยไม่เพียงพอหรือเครื่องเสีย จะเลือกใช้ยานพาหนะอื่นใดเพื่อนำส่งผู้ป่วย ฉุกเฉินที่ยังเหลืออยู่จำนวนมาก ข้อพิจารณาท้ายสุดคือ ความเหมาะสมต่อสถานการณ์นั้นๆ ในแง่ของ ความเร็ว ความปลอดภัย การเข้าถึงจุดเกิดเหตุ และอุปกรณ์กู้ชีพ ตัวอย่างเช่น ในที่ไม่มีถนน หรือทางเป็น หลุมเป็นบ่อ รถพยาบาลจะเข้าถึงได้ยาก อาจต้องพิจารณาใช้รถอื่น หรือใช้เฮลิคอปเตอร์ อาจขอความ ร่วมมือจากหัวหน้างานอื่น เพื่อจัดยานพาหนะที่เหมาะสมในการนำส่ง โดยเฉพาะการใช้เฮลิคอปเตอร์ใน ประเทศไทย ยังใช้ไม่บ่อยนัก แต่เริ่มมีการใช้มากขึ้นในระยะหลัง ข้อจำกัดประการหนึ่ งของเฮลิคอปเตอร์คือ ความจุซึ่งมักนำส่งผู้ป่วยฉุกเฉินได้น้อย และบางรุ่นไม่สามารถจะวางเปลได้ อย่างไรก็ตามแม้เฮลิคอปเตอร์จะ มีประโยชน์ในการนำส่งจากที่ห่างไกล ไม่มีถนน หรือเป็นป่าเขาแต่ควรตะหนักว่าการใช้เฮลิคอปเตอร์ต้องมี 192 ลานจอดซึ่งบางครั้งอยู่ไกลจากโรงพยาบาล ต้ องย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินไปยังรถพยาบาลเพื่อนำส่งอีกทอดหนึ่ง ซึ่ง อาจทำให้ล่าช้า และเป็นอันตรายได้ พาหนะอื่น ๆ เช่น เรือ รถไฟ เครื่องบิน ก็ส ามารถเลื อกใช้ได้ตามสภาพภูมิประเทศ และความ เหมาะสม การนำส่งโดยพาหนะขนาดใหญ่จะมีข้อดีที่สามารถนำส่งได้คราวละมากๆ โดยทั่วไป เมื่ อนำส่งถึง สถานที่ หรือท่าเรือปลายทาง จะทำ triage อีกครั้งหนึ่งก่อนนำส่งยังโรงพยาบาล 3.ระยะหลังเกิดเหตุ (Recovery phase) ระยะขณะเกิดเหตุ ในกรณีสาธารณภัยอาจต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง ในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บกว่าจะ สิ้นสุดลง แต่ภารกิจในการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องในโรงพยาบาล อาจต้องใช้เวลานานกว่านั้น อาจจะหลายวัน หรือหลายสัปดาห์ โดยเฉพาะการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย อาจต้องใช้เวลาเป็นปี นอกจากนี้ ภาวะ stress ก็อาจ เกิดขึ้นได้ ทั้ง acute stress response หรือค่อยๆ เกิดภายหลังเหตุการณ์ เช่น บางคนกลัวตาย (Fear) บาง คนหมดกำลังใจ (Hopeless) ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ (Helplessness) มีความหวาดผวาอย่างรุนแรง (Horror) ฝันร้าย(nightmares) วิตกกังวล(anxiety) นอนไม่หลับ (sleeplessness) เรียกว่า post traumatic stress disorder Post traumatic stress disorder หมายถึง ความผิดปกติทางจิตใจหลังเกิดภยั นตราย ความเครียด หลังเกิดภัยพิบัติส่งผลกระทบทางจิตใจ จากการได้รับบาดเจ็บ การสูญเสียชีวิต สูญเสียทรัพย์สิน พืชผลทาง การเกษตรเสียหาย แบกรับภาระหนี้สิน การซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ผลกระทบทางจิตใจที่มีทั้งความหวั่นวิตก อาการตื่นกลัว ที่ตกค้างในจิตใจ และเกิดเป็นความเครียด แม้เมื่อผ่านไปได้ระยะเวลาหนึ่ง อาการเครียดจะ ลดลง เพราะยังมีกิจกรรมในชีวิตประจำวันช่วยทำให้บรรเทาความเครียดลง แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นมาใหม่ก็ จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดอาการหวาดผวาขึ้นมาอีกครั้ง การดูแลจิตใจหลังภัยพิบัติ กรณีที่พบเจอปัญหาไม่ หนักมาก ดูแลรักษาด้วยตนเอง ทำความเข้าใจสถานการณ์รอบด้านให้ดี คนใกล้ชิดจะเป็นผู้ที่รับรู้ปัญหามาก ที่สุด หากเกินจะรับมือ ต้องมีการวิเคราะห์และรักษาอย่างต่อเนื่อง กับจิตแพทย์ ทีม Mental Health Crisis Assessment and Treatment Team (MCATT) เพื่อให้การช่วยเหลือเยียวยาจิตใจ สรุปบทบาทของชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับต้นชุดแรกที่มาถึงจุดเกิดเหตุ หัวหน้าทีม 1. ทำหน้าที่ประเมินสถานการณ์โดยรวมตัดสินใจว่าจะประกาศสถานการณ์ภัยพิบัติหรือไม่ และ รายงานสถานการณ์มายังศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ 2. เลือกพื้นที่ที่จะเป็นที่จอดรถพยาบาลฉุกเฉิน 3. พิจารณาและตัดสินใจว่าจะต้องระดมทรัพยากรประเภทไหนบ้างมาสนับสนุนและต้องการจำนวนเท่าไร 4. กำหนดพื้นที่ปฏิบัติการต่าง ๆ เช่น กองบัญชาการ (control point) จุดจอดรถพยาบาล (parking point) และจุดรักษาพยาบาล (casualty clearing station) ผู้ช่วย/สมาชิกทีม 1. จอดรถพยาบาลใกล้จุดเกิดเหตุมากที่สุด ที่คิดว่ามีความปลอดภัย 2. เปิดสัญญาณไฟแจ้งเตือนตำแหน่งเพื่อให้เป็นจุดสังเกตของหน่วยปฏิบัติการอื่นที่จะตามมาสนับสนุน 3. แจ้งศูนย์สั่งการเพื่อรายงานให้ทราบว่ามาถึงที่เกิดเหตุแล้ว และรับประสานกับหัวหน้าทีมเพื่อรับ ข้อมูลจากหัวหน้าทีม เพื่อแจ้งศูนย์สั่งการเป็นระยะ ๆ 4. อยู่ประจำรถพยาบาล และห้ามเอากุญแจออกจากรถพยาบาล พร้อมเคลื่อนย้ายตลอดเวลาถ้ามี เหตุการณ์ความไม่ปลอดภัย 193 แนวคิดในการปรับเปลี่ยนให้ถูกต้องในการปฏิบัติการด้านการแพทย์เพื่อควบคุมสถานการณ์ด้านสา ธารณภัย 1. กู้ชีพทีมแรกต้องไม่ด่วนเข้าช่วยผู้ป่วยฉุกเฉิน 2. จะต้องกำหนดให้มีพื้นที่สำคัญเพื่อปฏิบัติงานควบคุมสถานการณ์ 3. ต้องนำผู้ป่วยฉุกเฉินมารวมกันที่จุดรักษาพยาบาล 4. ต้องคัดแยกก่อนให้การช่วยเหลือและการเคลื่อนย้าย 5. ต้องกำหนดให้ผู้นำหน้าที่ Field Commander 6. ต้องมีข้อมูลเพื่อการนำผู้ป่วยฉุกเฉินไปยังโรงพยาบาลเครือข่ายที่เหมาะสม 7. ผู้บริหารระดับสูงสามารถบัญชาการจากศูนย์บัญชาการได้ โดยไม่ต้องมา ณ จุดเกิดเหตุ 8. ทีมงานทุกคนต้องมีความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน เอกสารอ้างอิง กรมป้ อ งกั น และบรรเทาสาธารณภั ย . การลดความเสี ่ ย งจากสาธารณภั ย . กรุ ง เทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2556. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา; 2550. ศูนย์กู้ชีพนพรัตน์ งานอุบัติเหตุ – ฉุกเฉินและกู้ชีพ โรงพยาบาลนพรัตราชธานี. เอกสารประกอกการเรียน หลักสูต รฝึกอบรมปฏิบัต ิการแพทย์ขั้น พื้น ฐานและช่ วยปฏิบัติการแพทย์ขั้น สูง. ตุล าคม 2559; โรงพยาบาลนพรัตราชธานี. กรุงเทพฯ: ไอ บุ๊กเลท; 2559. สถาบั น การแพทย์ ฉ ุ ก เฉิ น แห่ ง ชาติ . คู ่ ม ื อ การเตรี ย มความพร้ อ มทางการแพทย์ ใ นสถานการณ์ สาธารณภัย.ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์; 2552. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. คู่มือบริหารจัดการฝึกอบรมปฏิบัติการแพทย์ขั้นพื้นฐานและช่วย ปฏิบัติการแพทย์ขั้นสูง.กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น พี เพลส; 2559. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. คู่มือบริหารจัดการฝึกอบรมปฐมพยาบาลและช่วยปฏิบัติการแพทย์ ขั้นพื้นฐาน.กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น พี เพลส; 2559. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. ตำราประกอบการอบรมหลักสูตรพนักงานฉุกเฉินการแพทย์เวชกร ฉุกเฉินระดับต้น: Emergency medical technician - basic.สมุทรสาคร พิมพ์ครั้งที่ 2.สมุทรสาคร : บอร์ด ทู บี พับลิชชิ่ง จำกัด; 2555. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.แผนปฏิบัติการการบริหารจัดการทางการแพทย์และการเตรียมความ พร้อมรับสถานการณ์สาธารณภัยในระดับพื้นที่. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์; 2551. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ. 2548.[อินเทอร์เน็ต].2548.[เข้าถึงเมื่อ 14 กรกฎาคม 2560]. เข้าถึงได้จากwww.krisdika.go.th สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม. แผนปฏิบัติการการป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัยแบบบูรณาการระดับกระทรวง. (ออนไลน์). [เข้าถึงเมื่อ 14 กรกฎาคม 2560]. เข้าถึง ได้จากwww.mot.go.th/statmot.html?id=21 ณฤดี ศรีแสง, เอกสารประกอบการอบรม 3 rd Advanced Emergency Care Conference 2017. วันที่ 5 – 6 กรกฎาคม 2560; โรงแรมเจริญธานี จังหวัดขอนแก่น. 194 นฤมล สมรรคเสวี. ภาวะวิกฤตจากภัยธรรมชาติกับบทบาทพยาบาล. วารสารการพยาบาลจิตเวชและ สุขภาพจิต. 2557;28:1-16. Mistorich JJ.,Karren KJ.. Prehospital emergency care 8th ed. New Iersey: Prentice Hall Health Upper Saddle River; 2008. แบบฝึกหัด/คำถามท้ายบท 1. ระยะการตอบโต้ภัยพิบัติ มี่ขั้นตอน ได้แก่อะไรบ้าง 2. ขั้นตอนการตอบโต้ภัยพิบัติตามหลัก CSCATT มีอะไรบ้าง เฉลยแบบฝึกหัด 1. ระยะในการตอบโต้สาธารณภัย (Phases of Major incident) มี 3 ระยะ ดังนี้ 1.1 Preparation คือ การเตรียมการเพื่อรับสาธารณภัยที่เกิดขึ้น 1.2 Response คือ การตอบสนองเมื่อเกิดเหตุการณ์สาธารณภัย 1.3 Recovery คือ การฟื้นฟู อาจใช้เวลาหลายวัน สัปดาห์ หรือบางทีอาจหลายปี 2. ขั้นตอนการตอบโต้สาธารณภัยประกอบด้วย 7 ประการ ตามหลักการ CSCATTT ดังนี้ 1) Command and Control ควบคุมกำกับและสั่งการ 2) Safety ทำให้เกิดความปลอดภัย 3) Communication สื่อสาร 4) Assessment ประเมินจุดเกิดเหตุและทรัพยากร 5) Triage คัดแยกผู้บาดเจ็บ 6) Treatment รักษา ณ จุดเกิดเหตุ 7) Transport ขนย้ายผู้บาดเจ็บ 195 แผนการสอนสัปดาห์ที่ 13-14-15 ชื่อบทเรียน การจัดการทางการแพทย์ในสถานการณ์สาธารณภัย จำนวนชั่วโมง 12 ชม. (ปฏิบตั ิ) จุดประสงค์การสอน (จุดประสงค์ทั่วไป) 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ เกี่ยวกับการจัดการทางการแพทย์ในสถานการณ์สาธารณภัย 2. เพื ่ อ ให้ น ั ก เรี ย นตระหนั ก และให้ ค วามสำคั ญ การจั ด การทางการแพทย์ ใ นสถานการณ์ สาธารณภัย 3. เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ เรื่องการจัดการทางการแพทย์ในสถานการณ์สาธารณภัย ไปประยุกต์ ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการเรียนรู้ (จุดประสงค์เฉพาะ) 1. แสดงขั้นตอนการวางแผน การจัดการทางการแพทย์ในสถานการณ์ ภัยพิบัติ ในสถานการณ์ จำลอง (On Top Table) ได้ 2. แสดงขั้นตอนการจัดพื้นที่เพื่อรองรับผู้บาดเจ็บจำนวนมาก (Mass casualty) ได้ 3. ทำการคัดแยกผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ (Triage sieve) ได้ 4. ทำการคัดแยกผู้ป่วย ครั้งที่ 2 (Triage sort) ได้ 5. ให้การดูแล รักษาพยาบาลผู้ป่วยเจ็บจำนวนมากได้ 6. ทำการติดต่อสื่อสารทางการแพทย์ในสถานการณ์ภัยพิบัติได้ 7. ทำการยกและเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเจ็บ โดยใช้อุปกรณ์ และมือเปล่าได้ วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน 1. การฝึกปฏิบัติ 2. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สื่อการสอน/อุปกรณ์การสอน 1. ผู้ป่วยสมมุติ 2. อุปกรณ์การฝึกภัยพิบัติ 3. อุปกรณ์ยกและเคลื่อนย้าย การวัดผล 1. ผลการฝึกปฏิบัติ 2. จิตพิสัย 196 แผนการสอนสัปดาห์ที่ 16-17 ชื่อบทเรียน การฝึกปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์บูรณาการ จำนวนชั่วโมง 8 ชม. (ปฏิบัติ) จุดประสงค์การสอน (จุดประสงค์ทั่วไป) 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ เกี่ยวกับการปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ 2. เพื่อให้นักเรียนตระหนัก และให้ความสำคัญการปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ 3. เพื่อให้น ักเรีย นนำความรู้ เรื่องการปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ไปประยุกต์ ใช้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ผลการเรียนรู้ (จุดประสงค์เฉพาะ) 1. แสดงขั้นตอนการรับแจ้งเหตุ สื่อสารและสั่งการทางการแพทย์ได้ 2. แสดงขั้นตอนการออกปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ได้ 3. สามารถฝึกบูรณาการความรู้ร่วมกับวิชา trauma และ non-trauma ได้ วิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน 1. การฝึกปฏิบัติ 2. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สื่อการสอน/อุปกรณ์การสอน 1. ผู้ป่วยสมมุติ 2. อุปกรณ์การฝึกปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ 3. อุปกรณ์ยกและเคลื่อนย้าย การวัดผล 1. ผลการฝึกปฏิบัติ 2. จิตพิสัย 197 แผนการสอนสัปดาห์ที่ 18 __________________________สอบปลายภาค_______________________________ เอกสารอ้างอิง คณะกรรมการจัดทำคู่มือวิทยากรหลักสูตรเวชกรฉุกเฉินระดับพื้นฐาน. คู่มือวิทยากรหลักสูตรเวชกรฉุกเฉิน ระดับพื้นฐาน (Emergency Medical Technician-Basic Curriculum). พิมพ์ครั้งที่ 3 .กรุงเทพ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น ที เพลส; 2549 วิทยา ชาติบัญชาชัยและคณะ. ตำราประกอบการเรียนหลักสูตรเจ้าพนักงานกู้ชีพ. ขอนแก่น: ศิริภัณฑ์ ออฟ เซ็ท; 2547. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. คู่มือวิทยากรหลักสูตรพยาบาลกู้ชีพ (Pre hospital Nurse Curriculum). ม.ป.ท.: 2551 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.(2556) คู่มือแนวทางการรับรองรถบริการการแพทย์ฉุกเฉิน.นนทบุรี. เพ็ญรุ่ง บุญรักษ์. (2559) คู่มือบริหารจัดการการฝึกอบรม ปฏิบัติการแพทย์ขั้นพื้นฐานและช่วยปฏิบัติ การแพทย์ขั้นสูง.สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.นนทบุรี. พรทิพย์ สายสุด และ อริศรา จานสิบสี (2556) เอกสารประกอบการสอน วิชา การบริการการแพทย์ ฉุกเฉิน เรื่อง การจัดพื้นที่บริการระบบการแพทย์ฉุกเฉิน.หลักสูตร ปวส.เวชกิจฉุกเฉิน โรงเรียน นาวิกเวชกิจ ศูนย์วิทยากร กรมแพทย์ทหารเรือ