Uploaded by Chinapratha Sitikornchayarpong

ตัวอย่าง แผนธุรกิจ Green Cap

advertisement
แผนธุรกิจ Green Cap
โดย
นายฐิติภาสณ์ เสียงสุคนธ์
การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปีการศึกษา 2563
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Ref. code: 25636202031412PJR
แผนธุรกิจ Green Cap
โดย
นายฐิติภาสณ์ เสียงสุคนธ์
การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปีการศึกษา 2563
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Ref. code: 25636202031412PJR
BUSINESS PLAN OF GREEN CAP
BY
MR. THITIPAS SIENGSUKHON
AN INDEPENDENT STUDY SUBMITTED IN PARTIAL FULFILLMENT OF
THE REQUIREMENTS FOR THE DEGREE OF
MASTER OF BUSINESS ADMINISTRATION
FACULTY OF COMMERCE AND ACCOUNTANCY
THAMMASAT UNIVERSITY
ACADEMIC YEAR 2020
COPYRIGHT OF THAMMASAT UNIVERSITY
Ref. code: 25636202031412PJR
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร
คณะพาณิชยศาสตรและการบัญชี
การคนควาอิสระ
ของ
นายฐิติภาสณ เสียงสุคนธ
เรื่อง
แผนธุรกิจ Green Cap
ไดรับการตรวจสอบและอนุมตั ิ ใหเปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
30
2564
เมื่อ วันที่ ..........................................................
ประธานกรรมการสอบการคนควาอิสระ
(รองศาสตราจารย ดร. ศิลปพร ศรีจั่นเพชร)
กรรมการและอาจารยที่ปรึกษาการคนควาอิสระ
(ผูชวยศาสตราจารย ดร. ธีรชัย อรุณเรืองศิริเลิศ)
คณบดี
(ศาสตราจารย ดร. รุธิร พนมยงค)
(1)
หัวข้อการค้นคว้าอิสระ
ชื่อผู้เขียน
ชื่อปริญญา
คณะ/มหาวิทยาลัย
อาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระ
ปีการศึกษา
แผนธุรกิจ GREEN CAP
นายฐิติภาสณ์ เสียงสุคนธ์
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรชัย อรุณเรืองศิริเลิศ
2563
บทสรุปผู้บริหาร
ปัจจุบันต้องยอมรับว่ากระแสของภาวะโลกร้อน กาลังได้รับการตอบรับเป็นวงกว้างและ
กาลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทาให้ได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะในช่วงปี 2019 ที่
กระแสปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ถูกนาออกมาพูดถึงกันเป็นจานวนมาก ถึงแม้ว่าในปีที่ผ่านมาจะถูกกระแส
ของโรคระบาดโควิด-19 เข้ามา ทาให้ดูเหมือนกระแสโรคร้อนนั้นจะหายไป แต่กลับกันในปัจจุบันเริ่ม
มีหลาย ๆ บริษัท ได้ก้าวเข้ามาตอบรับกับกระแสสินค้าสีเขียวที่เพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มที่กระแสนี้จะเป็น
กระแสที่ยั่งยืน ซึ่งจากการระบาดของเชื้อโควิด-19 ทาให้รูปแบบการใช้ชีวิตและการบริโภคของคนใน
สังคมต่างออกไปจากเดิม และปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ เริ่มกลายเป็น
ส่วนหนึ่งในชีวิตประจาวันไปแล้ว แต่ถึงอย่างไรก็ดี ช่องทางการจัดจาหน่ายสินค้าที่อยู่ในช่องทาง
ออนไลน์นั้น ก็ไม่ได้มีสินค้าที่มีการคานึงถึงสภาพแวดล้อมหรือตอบรับกับกลุ่มคนที่ให้ความสนใจกับ
ปัญหาภาวะโลกร้อนมากเท่าที่ควร และส่วนใหญ่ก็มีการกระจายตัวกันเป็นร้านค้าเล็ก ๆ หรือเป็น
สินค้าที่มีการผลิตเฉพาะเป็นครั้งคราว ซึ่งทาให้การซื้อสินค้าที่มีการคานึงถึงสภาพแวดล้อมเหล่านี้เริ่ม
มีการหาซื้อยากขึ้น แผนธุรกิจร้านขายสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมผ่านช่องทางเว็บไซต์ Green Cap
จึงเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มคนเหล่านี้ที่อยากจะมีส่วนร่วมกับการแก้ปัญหาภาวะ
โลกร้อนผ่านการบริโภคสินค้าของตน
Green Cap เป็นร้านจาหน่ายสินค้าแฟชั่นที่จะรวบรวมสินค้าแฟชั่นจากแบรนด์ต่าง ๆ
ที่มคี อนเซ็ปท์การเป็นสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมผ่านช่องทางการจัดจาหน่ายในเว็บไซต์ของทางร้าน
โดยการขายนั้นจะดาเนินการโดยการคานึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นหลักตั้งแต่ สินค้า บรรจุภัณฑ์ การขนส่ง
นอกจากนี้ ร้าน Green Cap ยังมีความต้องการสนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของลูกค้าทุกคนผ่าน
กิจกรรมและการซื้อสินค้าของทางร้าน เรียกได้ว่าร้านค้าออนไลน์นี้จะเป็นร้านค้าที่ทาให้ทุกการซื้อ
สินค้านั้น สามารถช่วงลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นและสร้างความยั่งยืนไปด้วยกันกับลูกค้านั่นเอง
Ref. code: 25636202031412PJR
(2)
สาหรับกลยุทธ์ด้านการตลาดนั้น จะมีกลุ่มเป้าหมายหลักก็คือ กลุ่มคนที่ให้ความสนใจ
หรือให้ความสาคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่มีอายุ 38 ปีขึ้นไป ที่มีรายได้สูง ที่ให้คุณค่ากับสินค้าที่
เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าสินค้าปกติ โดยทางร้านจะเน้นการทาการตลาดผ่านกิจกรรมที่ให้
ลูกค้ามีส่วนร่วมกับทางร้านค้าและการทาตลาดผ่าน Influencer และผู้ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อ
ผ่านทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์เพื่อสร้างการรับรู้และความน่าเชื่อถือต่อลูกค้าได้อย่างคุ้มค่าและ
มีประสิทธิภาพ
สาหรับกลยุทธ์ด้านการปฏิบัติการ จะเน้นในการสร้างระบบให้มีความง่ายและสะดวก
ต่อทั้งฝั่งพนักงานในการจัดการข้อมูลและฝั่งลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าในเว็บไซต์ โดยทางฝั่งร้านค้า จะ
เน้นการทางานร่วมกับฝั่ง เอาท์ซอร์ส ซิ่งต่าง ๆ เพื่อให้ ทางพนักงานสามารถให้ความสาคัญกับการ
บริการและสร้างเครือข่ายลูกค้าได้อย่างเต็มที่
ส าหรั บ กลยุ ท ธ์ ด้ านการเงิน ทางร้ า นค้ า ใช้ เ งิ น ในการลงทุ น ในการสร้ า งระบบอยู่ ที่
1,595,050 บาท จากเงินลงทุนของของส่วนผู้ถือหุ้น มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิที่ 33,789,175 บาท จากการ
กาหนดต้นทุนทางการเงินที่ 20% นั้น มีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนอยู่ที่ 139% และมีระยะเวลา
คืนทุนภายใน 2 ปี 3 เดือน
คาสาคัญ : สินค้าแฟชั่น, เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, ช่องทางการจัดจาหน่ายออนไลน์
Ref. code: 25636202031412PJR
(3)
Independent Study Title
Author
Degree
Faculty/University
Independent Study Advisor
Academic Year
BUSINESS PLAN OF GREEN CAP
Mr. Thitipas siengsukhon
Master of Business Administration
Faculty of Commerce and Accountancy
Thammasat University
Assistant Professor Teerachai Arunruangsirilert, Ph.D.
2020
EXECUTIVE SUMMARY
It is accepted today that a global warming trend is given response widely.
It seems to expand continuously and has been supported by all sectors, especially in
2019 that the trend of environmental problems was mentioned tremendously. In the
past year it seemed to disappear due to the pandemic of COVID-19, in contrast, a lot
of companies step in and give response to green product trend increasingly and it
appears that this trend seems to be sustainable. Due to the pandemic of COVID-19 ,
the way of life and models of consumption of people in the society are different
from usual. It cannot be denied that online shopping becomes a part of everyday
life. However, online channels of distribution do not have products that are
concerned with environment situation or respond to a group of people interested in
global warming problems as much as they could. Most of products are distributed to
small stores or products are produced periodically, making purchasing environmentally
friendly products are more difficult. A business plan related to environmentally
friendly stores through Green Cap website is generated in response to the need of
these people who would like to participate in solving global warming problems
through their product consumption.
Green Cap is a store selling fashion products collected from various
fashion brands with the concept of environmentally friendly products through
channels of distribution on website of the store. The sale is carried out by taking
environmental impact into consideration starting from products, packaging, and
delivery. Besides, Green Cap would like to support environment conservation of all
Ref. code: 25636202031412PJR
(4)
customers through activities and purchasing of store’s products. It can be said that
this online store will make every purchase able to reduce environmental problems
arising and build sustainability with customers.
As for marketing strategy, the major target group is people who are
interested in or give importance to environmental problems, aged 38 years or over
with high income, and value environmentally friendly products more than common
products. Marketing is stressed on organizing activities that allow customers to
participate with the store as well as marketing through influencers on purchase
intention on online and offline channels to build customer perception and reliability
in a worthy and efficient manner.
As for operations strategy, emphasis is place on setting a simple and
convenient system for both staff in managing data and customers who shop on
website. The store works in collaboration with outsourcing companies to ensure staff
will be able to give importance to providing services and building customer bases at
their full capacity.
With regard to financial strategy, the store invested at the amount of
1,595,050 baht in building the system from investment fund of shareholders’ equity,
net present value is 33,789,175 baht. Based on the 20% financial cost, return on
investment is 139 % and payback period is 2 years 3 months.
Keywords: Fashion product, environmentally friendly, online channels of distribution.
Ref. code: 25636202031412PJR
(5)
กิตติกรรมประกาศ
รายงานการศึกษาอิสระ โครงการแผนธุรกิจ Green Cap สาเร็จได้ด้วยดี เนื่องจาก
ความกรุณาของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรชัย อรุณเรืองศิริเลิศ ในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษา รวมถึง
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิลปพร ศรีจั่นเพชร ในฐานะกรรมการสอบ ซึ่งได้ให้คาแนะนา คาปรึกษา และ
การชี้แนะข้อบกพร่องและแนวทางของแผนธุรกิจนี้ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อตัวผู้จัดทาและต่อ
การจัดทาแผนธุรกิจฉบับนี้เป็นอย่างมาก ทางผู้จัดทาจึงอยากจะขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงกับ
ผู้มีพระคุณเหล่านี้เป็นอย่างมากต่อความช่วยเหลือที่ได้มอบให้ตัวผู้จัดทา ณ โอกาสนี้ นอกจากนี้แล้ว
ทางผู้จัดทาขอขอบพระคุณผู้ร่วมให้การสัมภาษณ์เชิงลึกและผู้ร่วมทาแบบสอบถามทุกท่านที่ได้ให้การ
ตอบรับเป็นอย่างดี ซึ่งได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เป็นอย่างมากต่อการจัดทาแผนธุรกิจฉบับนี้ และ
รวมถึงผู้มีส่ วนให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ทุกคน ที่คอยสนับสนุนจนทาให้สามารถจัดทาแผน
ธุรกิจนี้ได้อย่างสมบูรณ์ และสุดท้ายนี้ขอขอบคุณคณาจารย์ของโครงการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ทุกท่านที่ได้ถ่ายทอดความรู้แนวคิดและประสบการณ์ ที่ส ามารถนามา
ประกอบแผนธุรกิจและยังช่วยให้ผู้จัดทาเป็นผู้ประกอบการที่ดีมากขึ้น ทั้งนี้หากมีข้อผิดพลาดประการ
ใดในรายงานฉบับนี้ ทางผู้จัดทาขอน้อมรับและยินดีรับฟังข้อคิดเห็นและคาชี้แนะทุกประการ
นายฐิติภาสณ์ เสียงสุคนธ์
Ref. code: 25636202031412PJR
(6)
สารบัญ
บทสรุปผู้บริหารภาษาไทย
หน้า
(1)
บทสรุปผู้บริหารภาษาอังกฤษ
(3)
กิตติกรรมประกาศ
(5)
สารบัญตาราง
(12)
สารบัญภาพ
(13)
บทที่ 1 บทนา
1
1.1 ที่มาและความน่าสนใจของธุรกิจ
1.2 เหตุผลที่เลือกทากิจการนี้เป็นแผนธุรกิจ
1
2
บทที่ 2 การประเมินสภาพแวดล้อม
4
2.1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
2.1.1 สภาพแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมาย (Political Factors)
2.1.2 สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ (Economic Factors)
2.1.3 สภาพแวดล้อมทางด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Factors)
2.1.4 สภาพแวดล้อมทางด้านเทคโนโลยี (Technological Factors)
2.2 การประเมินความน่าสนใจของอุตสาหกรรม
2.2.1 อานาจการต่อรองของผู้ผลิต (Bargaining Power of Suppliers)
2.2.2 อานาจการต่อรองของผู้ซื้อ (Bargaining Power of Customer)
2.2.3 การแข่งขันระหว่างคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน (Rivalry among
Current Competitors)
2.2.4 ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน (Threat of Substitute Products)
4
4
5
5
5
6
6
6
7
7
Ref. code: 25636202031412PJR
(7)
2.2.5 ภัยคุกคามจากคู่แข่งรายใหม่ (Threat of New Entrance)
2.3 การวิเคราะห์คู่แข่งขัน
2.3.1 คู่แข่งขันทางตรง
2.3.2 คู่แข่งขันทางอ้อม
2.3.3 สินค้าทดแทน
2.4 การประเมินสภาพแวดล้อมภายใน
2.4.1 การวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อน ของธุรกิจ Green Cap
2.4.2 โอกาสและอุปสรรคของธุรกิจ Green Cap
2.5 TOWS Matrix
2.6 ปัจจัยหลักที่มีผลต่อความสาเร็จ
2.6.1 ความน่าเชื่อถือของตัวธุรกิจ
2.6.2 การทาให้ผู้บริโภครับรู้ของคุณค่าของสินค้า
2.6.3 การสะสมเครือข่ายของธุรกิจในลักษณะเดียวกัน
2.7 สรุปประเด็นสาคัญจากการวิเคราะห์อุตสาหกรรม
บทที่ 3 แผนและกลยุทธ์ขององค์กร
3.1 แนะนาธุรกิจและแผนธุรกิจ
3.1.1 ชื่อธุรกิจ
3.1.2 ประเภทธุรกิจ
3.1.3 ตราสัญลักษณ์
3.1.4 วิสัยทัศน์ขององค์กร (Vision)
3.1.5 พันธกิจ (Mission)
3.1.6 เป้าหมาย (Goal)
3.1.6.1 เป้าหมายระยะสั้น 1 – 5 ปี
3.1.6.2 เป้าหมายระยะยาว 5 – 10 ปี
3.1.7 รายละเอียดการให้บริการ
3.2 แนวทางการจัดการธุรกิจเชิงกลยุทธ์
3.2.1 กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Level Strategy)
3.2.2 กลยุทธ์ระดับระดับหน้าที่ (Functional Level Strategy)
3.3 แบบจาลองลักษณะของธุรกิจ
7
8
8
8
8
9
9
9
10
11
11
11
11
11
13
13
13
13
13
14
14
14
14
14
14
15
15
15
16
Ref. code: 25636202031412PJR
(8)
3.3.1
3.3.2
3.3.3
3.3.4
3.3.5
3.3.6
3.3.7
3.3.8
3.3.9
คุณค่าของการบริการ (Value Propositions)
กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (Customer Segment)
ช่องทางการเข้าถึงลูกค้า (Channels)
สายสัมพันธ์ลูกค้า (Customer Relationships)
รูปแบบของรายได้ (Revenue Streams)
ความชานาญพิเศษ (Key Resources)
กิจกรรมหลัก (Key Activities)
หุ้นส่วนหลัก (Key Partners)
ต้นทุน (Cost Structure)
บทที่ 4 การวิจัยการตลาด
4.1
4.2
4.3
4.4
วัตถุประสงค์
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ระเบียบวิจัย
วิธีการเก็บข้อมูลและแหล่งที่มาของข้อมูล
4.4.1 แหล่งข้อมูล
4.4.2 เครื่องมือที่ใช้ในการการวิจัย
4.4.2.1 การวิจัยเชิงคุณภาพ
4.4.2.2 การวิจัยเชิงปริมาณ
4.5 ผลการวิจัย
4.5.1 ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ
4.5.2 ผลการวิจัยเชิงปริมาณ
4.5.2.1 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง
4.5.2.2 ข้อมูลส่วนประสมทางการตลาด
(1) ด้านผลิตภัณฑ์ (Product)
(2) ด้านราคา (Price)
(3) ด้านช่องทางการจัดจาหน่าย (Place)
(4) ด้านการตลาด
16
16
16
16
16
17
17
17
17
19
19
19
20
20
20
20
21
21
21
21
22
23
24
24
25
25
27
Ref. code: 25636202031412PJR
(9)
บทที่ 5 กลยุทธ์ทางการตลาด
5.1 การแบ่งส่วนการตลาด (Market Segmentation)
5.1.1 กลุ่ม “สายกรีนตัวแม่”
5.1.2 กลุ่ม “กรีนตามโอกาส”
5.2 กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (Market Targeting)
5.2.1 กลุ่มเป้าหมายหลัก (Primary Target)
5.2.2 กลุ่มลูกค้าเป้าหมายรอง (Secondary Target)
5.3 ตาแหน่งทางการตลาด (Positioning)
5.4 เป้าหมายทางการตลาด (Marketing Objective)
5.4.1 เป้าหมายระยะสั้น
5.4.2 เป้าหมายระยะยาว
5.5 Brand
5.5.1 Brand Attributes
5.5.2 Brand Benefits
5.5.3 Brand Values
5.5.4 Brand Personality
5.5.5 Brand DNA
5.5.6 ตรายี่ห้อ (Brand Name)
5.5.7 ตราผลิตภัณฑ์ (Brand Logo)
5.5.8 Brand Positioning Statement
5.5.9 Perceptual Map
5.6 การกาหนดกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด
5.6.1 สินค้าและบริการ (Product and Service)
5.6.2 ราคา (Price)
5.6.2.1 รูปแบบรายได้ (Revenue Model)
5.6.2.2 กลยุทธ์ราคา (Price Strategy)
5.6.3 ช่องทางการจัดจาหน่าย (Place)
5.6.4 การส่งเสริมการตลาด (Promotion)
5.6.4.1 การสร้างการรับรู้ (Awareness)
5.6.4.2 การให้ความรู้ (Educate)
29
29
29
29
30
30
30
30
31
31
31
31
31
31
32
32
32
33
33
34
34
35
35
38
38
38
38
42
42
43
Ref. code: 25636202031412PJR
(10)
5.6.4.3 การส่งเสริมการขาย (Sale Promotion)
บทที่ 6 แผนการปฏิบัติการ
6.1
6.2
6.3
6.4
6.5
6.6
6.7
ขั้นตอนการดาเนินงาน
การพัฒนาเว็บไซต์
ระบบการชาระเงิน
การจัดหาร้านค้ามาเข้าร่วม
การจัดส่งสินค้า
อาคารสานักงาน
บุคลากรในการดาเนินงาน
บทที่ 7 กลยุทธ์ทางการเงิน
7.1 แหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุน
7.1.1 แหล่งที่มาของเงินทุน
7.1.2 การบริหารส่วนของเงินทุน
7.2 ต้นทุนของเงินทุน
7.3 สมมุติฐานทางการเงิน
7.3.1 การประมาณการยอดขาย
7.3.2 ต้นทุนขาย
7.3.3 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
7.3.3.1 ค่าใช้จ่ายในการบริหาร
7.3.3.2 ค่าใช้จ่ายทางการตลาด
7.4 ประมาณการงบการเงิน
7.4.1 งบกาไรขาดทุน
7.4.2 งบแสดงฐานะการเงิน
7.4.3 งบกระแสเงินสด
7.5 การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ
7.5.1 การวิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV)
7.5.2 การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR)
43
44
44
45
46
47
47
48
49
51
51
51
51
52
53
53
53
53
53
55
55
55
56
57
57
57
57
Ref. code: 25636202031412PJR
(11)
7.5.3 การวิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period)
7.6 การวิเคราะห์สถานการณ์
7.6.1 สถานการณ์ที่ 1 ยอดขายดีกว่าปกติ (Best Case)
7.6.2 สถานการณ์ที่ 2 ยอดขายต่ากว่าปกติ (Worst Case)
บทที่ 8 การประเมินแผนธุรกิจ
8.1 การประเมินความเป็นไปได้ของแผนธุรกิจ
8.2 ปัจจัยวิกฤติที่เป็นเงื่อนไขแห่งความสาเร็จหรือความล้มเหลวแห่งธุรกิจ
8.2.1 ปัจจัยคุณภาพสินค้า บริการ และความน่าเชื่อถือของกิจการ
8.2.2 ช่องทางการจัดจาหน่ายสินค้าที่ใช้งานได้ง่าย
8.2.3 การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและคู่ค้าทางธุรกิจ
8.3 แผนฉุกเฉิน
8.3.1 แผนฉุกเฉินด้านการตลาด
8.3.2 แผนฉุกเฉินด้านการเงิน
8.4 แผนในอนาคต
8.4.1 การขยายหมวดสินค้าและร้านค้า
8.4.2 การสร้างเครือข่าย
57
58
58
60
63
63
63
63
64
64
64
64
65
65
65
65
รายการอ้างอิง
66
ประวัติผู้เขียน
68
Ref. code: 25636202031412PJR
(12)
สารบัญตาราง
ตารางที่
หน้า
2.1 สรุปผลกระทบจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
5
2.2 สรุปผลแรงกดดันจากภายนอก 5 ด้าน
7
2.3 กลยุทธ์ TOWS Matrix
10
4.1 ประสบการณ์ของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อช่องทางการซื้อขายออนไลน์
22
4.2 ประสบการณ์และความเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสินค้าสิ่งแวดล้อม
23
4.3 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง (เพศ)
23
4.4 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง (อายุ)
23
4.5 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง (รายได้เฉลี่ย)
24
4.6 ผลสารวจประเภทของผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคมีความต้องการในช่องทางการจัดจาหน่าย 24
4.7 ผลสารวจลักษณะการแบ่งหมวดหมู่สินค้าที่ลูกค้าต้องการ
26
4.8 ผลสารวจลักษณะการจัดวางสินค้าที่ลูกค้าชอบ
26
4.9 ผลสารวจความถี่ในการซื้อเสื้อผ้าใหม่ของกลุ่มเป้าหมาย
28
7.1 เงินลงทุนเริ่มแรก
51
7.2 ค่าใช้จ่ายในการบริหาร
54
7.3 ค่าใช้จ่ายในการทาการตลาด
55
7.4 งบกาไรขาดทุน
56
7.5 งบแสดงฐานะการเงิน
56
7.6 งบกระแสเงินสด
57
7.7 การวิเคราะห์โครงการ
58
7.8 งบกาไรขาดทุนของสถานการณ์ที่ 1
59
7.9 งบแสดงฐานะการเงินของสถานการณ์ที่ 1
59
7.10 งบกระแสเงินสดและการคานวณความเป็นไปได้ของโครงการขอองสถานการณ์ที่ 1
60
7.11 งบกาไรขาดทุนของสถานการณ์ที่ 2
61
7.12 งบแสดงฐานะการเงินของสถานการณ์ที่ 2
61
7.13 งบกระแสเงินสดและการคานวณความเป็นไปได้ของโครงการขอองสถานการณ์ที่ 2
62
Ref. code: 25636202031412PJR
(13)
สารบัญภาพ
ภาพที่
3.1
3.2
4.1
4.2
4.3
4.4
5.1
5.2
5.3
5.4
5.5
5.6
5.7
5.8
5.9
5.10
5.11
5.12
5.13
6.1
6.2
6.3
6.4
6.5
ตราสัญลักษณ์ของช่องทางการจัดจาหน่าย Green Cap
แผนผังธุรกิจแคนวาส
แสดงการเรียงลาดับความถี่ของโอกาสในการซื้อเสื้อผ้า
แสดงสัดส่วนของมูลค่าที่ผู้บริโภคเลือกซื้อต่อชุด
มุมมองของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อช่องทางการชาระเงินผ่านการซื้อสินค้าออนไลน์
มุมมองของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการทาการตลาดสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
Brand DNA ของ Green Cap
ตราผลิตภัณฑ์
กราฟแสดงจุดยืนของตัวธุรกิจ
สัญลักษณ์ Plant Based Product
สัญลักษณ์ Non-Chemical Production/ Less Chemical Production
สัญลักษณ์ Bio-Plastic
สัญลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่ถูกผลิตมาจากขวดพลาสติก
สัญลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่ถูกผลิตมาจากเศษผ้าเก่า
แสดงตัวอย่างรูปแบบการจัดวางรูปภาพในช่องทางการจัดจาหน่ายสินค้า
แสดงตัวอย่างรูปแบบการจัดวางรูปภาพสินค้า
แสดงตัวอย่าง Filter ของร้านค้า
แสดงตัวอย่างการวางองค์ประกอบวางข้อมูลสินค้า
แสดงตัวอย่างรูปแบบการจัดวางข้อมูลของสินค้า
รายละเอียดและค่าใช้จ่ายในการออกแบบ
รายละเอียดและค่าใช้จ่ายในการเปิดเว็บไซต์
ค่าใช้จ่ายผ่านช่องทางการชาระเงินต่าง ๆ
ภาพตัวอย่างบรรจุภัณฑ์
แผนผังโครงสร้างองค์กร
หน้า
13
18
25
25
27
28
33
33
34
35
36
36
37
37
39
39
40
41
41
45
46
47
48
50
Ref. code: 25636202031412PJR
1
บทที่ 1
บทนา
1.1 ที่มาและความน่าสนใจของธุรกิจ
ปัจ จั ยสี่ คือสิ่ งที่มนุ ษย์ทุกคนต้องใช้ต้องบริโ ภคเพื่อให้ สามารถดารงชีวิตต่อไปได้ ซึ่ง
อุ ตสาหกรรมหนึ่ งที่ มี ความส าคั ญและมี บทบาทในประเทศไทย นั่ นก็ คื อ อุ ตสาหกรรมสิ่ งทอและ
เครื่องนุ่งห่ม โดยที่ในปี 2562 ตลาดของอุตสาหกรรมมีมูลค่าถึง 246,435 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน
2% จากค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งหมดของประเทศไทย และมีการคาดการว่าอุตสาหกรรมนี้ในอนาคต
มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวและเติบโตเพิ่มมากขึ้นในอีก 4 ปีข้างหน้า (Euro Monitor, 2563)
จากปีที่ผ่านมา สภาพตลาดโดยรวมภายในประเทศนั้น หดตัวลงเป็นอย่างมากเนื่องจาก
สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่เกิดขึ้น ทาให้อุตสาหกรรมในทุกภาคส่วนได้รับผลกระทบ
โดยที่อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสาเร็จรูป นั้น มีการคาดการว่าจะหดตัวมากถึง 28.30% ทั้งจากการบริโภค
ภายในประเทศที่ปรับตัวลดลงและการส่งออกที่จากเดิม ได้รับผลกระทบจากคู่แข่งเพื่อนบ้านที่เข้ามา
มีบทบาทในตลาดมากขึ้นที่มีความได้เปรียบในอุตสาหกรรมเสื้ อผ้าที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ากว่า จนมา
เมื่อช่วงเมื่อต้นปี 2563 ที่ผ่านมาสถานการณ์ COVID-19 ก็ทวีความรุนแรงมากขึ้นทาให้อุตสาหกรรม
เสื้อผ้าสาเร็จรูปตกลงอย่างรวดเร็ว (สานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม, 2563)
ปฏิเสธไม่ได้ว่าสินค้ารักษ์โลก เป็นเทรนกระแสหลักที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้น
ในทุกอุตสาหกรรม จากบทความของ Brandinside (2563) ได้ยกข้อมูลจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัย
มหิดลว่า 74% ของผู้บริโภคให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดย มีถึง 37.6%
เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มองหาเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะ
เป็นกลุ่ม Baby Boomer และ Gen X อายุตั้งแต่ 39-73 ปี สอดคล้องกับบทความของ Positioning
(2563) ได้ยกข้อมูลงานวิจัยของบริษัทวิจัย คันทาร์ ที่ ระบุว่าแนวโน้มผู้บริโภครักษ์โลกในปี 2563 ที่
ผ่านมา มีแนวโน้มเติบโตมากขึ้น ซึ่งจากผลวิจัยยังพบอีกว่า ถึงแม้ว่ากลุ่ม Gen Y จะเป็นกลุ่มคนที่
ได้รับผลกระทบโดยตรงต่อวิกฤตภาวะโลกร้อนมากที่สุดก็ตามแต่กลุ่มลูกค้าของสินค้าที่เป็นมิตรกับ
โลกกลับเป็นกลุ่ม Baby Boomer เนื่องจากคนกลุ่มนี้จะได้รับผลกระทบมาจากลูก ๆ ของตนที่ทาการ
ชักชวนและคนกลุ่ มนี้ ยั งเป็ น กลุ่มที่มีกาลั งซื้อ และได้เห็นถึงผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนอย่างเป็น
รูปธรรมอีกด้วย
จากในบทความของเว็บไซต์ ลงทุนแมน (2563) ได้กล่าวไว้ว่าอุตสาหกรรมเสื้อผ้าแฟชั่น
เป็นอุตสาหกรรมที่มีการส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของโลกสูงมากโดยมีการกระทบทั้ง แหล่งน้า
ดิน และสภาพอากาศ โดยการผลิตเสื้อยืด 1 ตัว จะต้องใช้น้าในการปลูกฝ้าย 2,700 ลิตร ซึ่งเป็นปริมาณ
Ref. code: 25636202031412PJR
2
ที่มากมายมหาศาลที่พอสาหรับการบริโภคของคน ๆ นึงถึง 3 ปี อีกทั้งการปลูกฝ้าย ยังมีการใช้สารเคมี
ยาฆ่าแมลงเป็นจานวนมากทาให้สภาพดิน จะเสื่อมสภาพไปในที่สุด กระบวนการฟอกและย้อมสีผ้า
ตามปกติ นั้น ก็ใช้สารเคมีเป็นจานวนมาก ทาให้น้าที่ผ่านกระบวนการนี้เป็นน้าที่ปนเปื้อนในทันที
ไม่เพียงแค่นั้น 10% ของการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลก มาจากอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยที่ใน
การผลิตเสื้อผ้า 1 ตัว จะมีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามากถึง 3-4 กิโลกรัม ซึ่งเป็นต้นเหตุของ
ภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน จากปัจจัยข้างต้นที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นโจทย์สาคัญโจทย์หนึ่งที่ผู้ประกอบการ
อุตสาหกรรมแฟชั่น จะต้องหาทางออกและตอบสนองต่อความต้อ งการของผู้ บริโ ภคให้ ได้เพื่อให้
อุตสาหกรรมแฟชั่นเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นและยั่งยืนมากขึ้นนั่นเอง
1.2 เหตุผลที่เลือกทากิจการนี้เป็นแผนธุรกิจ
ในอุ ตสาหกรรมเครื่ อ งนุ่ ง ห่ ม นั้ น ได้รั บ ผลกระทบจากปั จ จัย ในด้ า นที่ เ ป็น ลบกั บ ตั ว
อุตสาหกรรมมาตั้งแต่ช่วงปี 2555 ที่ได้มีการประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่าจากแต่เดิม 206 บาท เป็น 300 บาท
ซึ่งเพิ่มขึ้นมาประมาณ 45% โดยปัจจัยต้นทุนหลักของอุตสาหกรรมนี้แต่เดิมก็ คือ ค่าแรงงาน จึงทาให้
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มนั้น ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก อีกทั้งในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทย
ได้รับผลกระทบจากทั้งปัญหาทางการเมืองและสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและประเทศจีน
จนกระทั่งต้นปี 2562 ที่ผ่านมา ได้เกิดการแพร่ระบาด COVID-19 ที่ทาให้เศรษฐกิจทั่วโลกหยุดชะงัก
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพิงวัตถุดิบจากต่างประเทศ ทาให้ธุรกิจ
โรงงานเย็บผ้าได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการที่ตลาดนั้นหดตัวลง แต่ในทางกลับกันต้นทุนกลับ
สูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าแนวโน้มของอุตสาหกรรมนั้นจะมีความลาบากมากขึ้น แต่เสื้อผ้าก็เป็น
ปัจจัยหนึ่งที่มนุษย์ยังต้องใช้เพื่อในการดารงชีวิตเรา
เสื้อผ้านั้น ไม่ใช่แค่เพียงเป็นสิ่งที่ใช้เพื่อแค่การปกปิดหรือเพียงให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
แต่เสื้อผ้ายังไว้ใช้สาหรับการแสดงตัวตน การเพิ่มภาพลักษณ์ การเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวผู้สวมใส่ได้
อีกด้วย ซึ่งปัจจุบันจะสามารถเห็นร้านขายเสื้อผ้าที่มีความหลากหลายทั้งตัววัตถุดิบ การออกแบบ
สีสัน มากตามความต้องการของผู้บริโภคที่มีความหลากหลายเป็นอย่างมาก โดยเทรนสินค้ารักษ์โลก
เริ่มเป็นที่ต้องการของท้องตลาดมากขึ้นอีกทั้งผู้ผลิตแบรน์เสื้อผ้าต่าง ๆ เริ่มให้ความสาคัญหรือการทา
การตลาดด้านนี้มากขึ้น แต่ถึงอย่างไรก็ดี ก็ยังไม่มีแบรนด์เสื้อผ้าใดในประเทศไทยที่ออกมาแสดงถึง
จุดยื น ในการทาอุตสาหกรรมที่รั กษ์โ ลกอย่างชัดเจนว่าสิ นค้า ของตนนั้น เป็นสิ นค้าที่เป็นมิตรกับ
สิ่งแวดล้อม หรือ หากมีก็จะเป็นแบรนด์เล็ก ๆ ที่อาจจะไม่ได้มีความหลากหลายแบบตามที่ลูกค้า
ต้องการ จึงเริ่มเกิดแนวคิดที่ว่าธุรกิจเดิมของที่บ้านนั้นจะสามารถประยุกต์สิ่งที่มีทาอะไรได้บ้างเพื่อ
สนับสนุนให้ธุรกิจแฟชั่นสีเขียวนั้น ได้เติบโตและก็ทาให้คนมาสนใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งหลังจากที่ได้ไปหา
Ref. code: 25636202031412PJR
3
ข้อมูลเพิ่มเติมจึงพบว่าถึงแม้ตลาดสินค้ารักษ์โลกนั้น จะเริ่มเป็นที่นิยมและยอมรับมากขึ้นก็ตาม แต่
ช่องทางการจาหน่ายสินค้าเหล่า นั้น กลับไม่ชัดเจนโดยเฉพาะสินค้าประเภทสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่
ในความเป็นจริงแล้ว เป็นอุตสาหกรรมอันดับต้น ๆ ที่ทาร้ายธรรมชาติ ตั้งแต่การการผลิตวัตถุดิบที่ใช้
ทั้งน้าเป็นจานวนมากในการปลูกผ้าฝ้าย อีกทั้งการแปรรูปสินค้าที่ต้องใช้สารเคมีเป็นจานวนมากกว่า
จะได้ออกมาเป็นเสื้อผ้าที่ใส่กันอยู่ทุกวันนี้ ไม่เพียงเท่านี้อุตสาหกรรมแฟชั่นยังเป็นอุตสาหกรรมที่ทา
ให้เกิดขยะเป็นจานวนมากอีกด้วย ทั้งจากเสื้อที่ถูกทิ้งหรือเศษผ้าระหว่างการผลิต จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่
ธุรกิจที่บ้านที่จะสนับสนุนทั้งการผลิตและการจัดจาหน่าย โดยที่ช่องทางการจัดจาหน่ายนั้นจะให้
ความสาคัญกับสินค้าที่เกิดจากการนาวัตถุดิบเก่ามาผลิตใหม่ หรือการนาวัตถุดิบมารีไซเคิลใหม่ และ
ในส่วนของการผลิต นั้นจะต้องเป็นการผลิตที่ใช้วัตถุดิ บที่เกิดจากการนามาใช้ใหม่หรือวัตถุดิบที่เป็น
มิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่านั้น โดยปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นความท้าทายสาหรับธุรกิจสิ่งทอ
และเครื่องนุ่งห่มในการกาหนดแนวทางการประกอบกิจการแฟชั่นเสื้อผ้าให้มีประสิทธิภาพและมีความ
ยั่งยืนทั้งต่อตัวอุตสาหกรรมและโลกใบนี้
Ref. code: 25636202031412PJR
4
บทที่ 2
การประเมินสภาพแวดล้อม
การประเมิน สภาพแวดล้อมของธุรกิจก่อนที่จะเริ่มวางแผนและดาเนินการธุรกิจ นั้น
เป็นสิ่งสาคัญมาก เนื่องจากว่าหากตัวธุรกิจดาเนินการโดยไม่คานึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อ
ตัวธุรกิจเองแล้วก็จะทาให้เกิดข้อผิดพลาดและความเสี่ยงได้มากขึ้น อีกทั้งยังทาให้ตัวธุรกิจเองนั้นเกิด
ความเสียหายโดยไม่จาเป็นผ่านการตัดสินใจที่ผิดพลาดและขาดการวางแผนที่ดี ดังนั้น การวิเคราะห์
ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจก็จะทาให้การดาเนินธุรกิจนั้น มีการตัดสินใจได้ดีมากขึ้นผ่านการ
ประเมินสถานการณ์สาหรับการประกอบธุรกิจ
2.1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
สภาพแวดล้ อ มภายนอกองค์ ก รนั้ น เป็ น ปั จ จั ย ที่ อ งค์ ก รไม่ ส ามารถควบคุ ม ได้ โดย
สภาพแวดล้อมของธุรกิจนั้น เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบต่อความสาเร็จหรือความล้มเหลวของธุรกิจ
ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางบวกหรือลบก็ตาม ดังนั้น การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อให้ทราบถึง
ผลกระทบจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วยเครื่องมือ PEST Analysis เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก 4
ด้านด้วยกันดังต่อไปนี้
2.1.1 สภาพแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมาย (Political Factors)
ปัญหาทางการเมืองในปัจจุบันนั้น นับวันยิ่งมีการทวีความรุนแรงมากขึ้น ถึงแม้ว่า
การระบาดของเชื้อ COVID-19 รอบที่ 2 ในประเทศไทยจะทาให้ปัญหาความขัดแย้งนั้น หยุดลงชั่วคราว
ซึ่งเห็นได้ชัดการที่กลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองนั้น ได้ประกาศหยุดการชุมนุมชั่วคราว แต่ถึงอย่างไร
ปัญหานี้ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขยังคงมีความตรึงเครียดอยู่ ซึ่งปัญหานี้จะส่งผลกระทบไปสู่ความเชื่อมั่น
ของนักลงทุนนานาประเทศซึ่งอาจจะทาให้มีผลกระทบทางด้านลบกับภาคเศรษฐกิจได้
ในขณะที่การเคลื่อนไหวของสหรัฐ นั้น มักมีผลกระทบกันทั่วโลกซึ่งหลังจากที่มี
การเลือกตั้งของสหรัฐผลออกมาว่า นายโจ ไบเดน เป็นผู้ชนะการเลือกตั้งและได้เป็นประธานาธิบดีคนที่
46 ของสหรัฐ ซึ่งจะมีนโยบายที่จะส่งผลกับประเทศไทยที่สาคัญ คือ นโยบายของพรรคเดโมเครตที่จะ
เน้นและให้ความสาคัญกับระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริงและจะมีการตรวจสอบการละเมิดสิ ทธิ
มนุษยชนอย่างเข้มงวด ซึ่งน่าจะมีการกดดันมายังรัฐบาลไทยเพิ่มเติมซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาวะ
เศรษฐกิจจากเดิมที่แย่อยู่แล้วและแย่ลงไปอีก (มติชนออนไลน์, 2564)
Ref. code: 25636202031412PJR
5
2.1.2 สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ (Economic Factors)
จากบทวิเคราะห์ของธนาคารกรุงศรี (2564) ได้มีการคาดการตัวเลขของภาค
เศรษฐกิจไทยในปี 2564-2566 นั้น จะมีการฟื้นตัวมากขึ้นจากช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 จากการ
ปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมและการส่งออก รวมถึงนโยบายของทางรัฐที่มีการคาดการว่าจะผ่อน
คลายมาตรการควบคุมซึ่งจะส่งผลให้ภาคเศรษฐกิจ ฟื้นตัวดีขึ้น รวมถึงการปรับตัวผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น
การซื้อขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ โดยจากที่กล่าวมานั้น ความเชื่อมั่นในภาคเอกชนก็จะดีมากขึ้น
อีกหนึ่งแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐโดยการกระตุ้นการบริโภค
และลดค่าคลองชีพของประชาชนก็จะช่วยส่งเสริมให้กับซื้อขายและภาพของเศรษฐกิจนั้นดีขึ้น
2.1.3 สภาพแวดล้อมทางด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Factors)
ในปัจจุบันเราปฏิเสธไม่ได้ว่าสังคม ให้ความสาคัญกับภาวะโลกร้อนมากยิ่งขึ้น
เราสามารถเห็นได้จากการที่ทั้งสื่อในประเทศและต่างประเทศนั้น ได้มีการตีแผ่ข่าวที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
มากขึ้น ตัวอย่างเช่น เพจเฟซบุ๊ค Environman ที่คอยนาเสนอข่าวที่มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม
ของต่างประเทศนามาสรุปในรูปแบบภาษาไทย นอกจากนี้แล้วในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมก็เริ่มมี
หลายบริษัทที่ได้เห็นความสาคัญและจับกระแสสิ่งแวดล้อมนี้มากมาย ตัวอย่างเช่น แปรงสีฟันคอลเกต
ทีด่ า้ มแปรงผลิตมาจากไม้ไผ่ในชื่อรุ่น Colgate Bamboo Charcoal
2.1.4 สภาพแวดล้อมทางด้านเทคโนโลยี (Technological Factors)
ในปัจจุบันเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม นั้น ได้มีการพัฒนา
เจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของวัตถุดิบในการผลิต ตัวอย่างเช่น เส้นใย Amni
Soul Eco® ที่มีคุณสมบัติเป็นเส้นใยสังเคราะห์ที่สามารถย่อยสลายได้ในเวลาอันสั้น อีกทั้งกระบวนการ
ผลิตนั้นก็เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่ก็ยังคงคุณสมบัติผ้าที่ดี ใส่สบาย ซับเหงื่อดี แห้งไว หรือจะเป็น
เทคโนโลยีในกระบวนการรีไซเคิล สิ่งทอที่ทาให้เสื้อผ้าเก่าหรือเศษผ้านั้น สามารถที่จะนากลับมาทอ
ใหม่เป็นผ้าผืนได้อีกครั้ง ซึ่งเทคโนโลยีสิ่งทอเหล่านี้เป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นภายในประเทศไทยอีกด้วย
ซึ่งจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก สามารถได้ตามตารางที่ 2.1
ตารางที่ 2.1
สรุปผลกระทบจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อตัวธุรกิจ
สภาพแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมาย (Political Factors)
สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ (Economic Factors)
สภาพแวดล้อมทางด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Factors)
สภาพแวดล้อมทางด้านเทคโนโลยี (Technological Factors)
ส่งผลต่อธุรกิจ
+
+
+
Ref. code: 25636202031412PJR
6
2.2 การประเมินความน่าสนใจของอุตสาหกรรม
เพื่อเป็นการวิเคราะห์สภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมเดียวกันเพื่อให้ทราบถึงความ
น่าสนใจในการทาธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้จึงทาการใช้เครื่องมือการวิเคราะห์แรงกดดันจากปัจจัย
ภายนอก 5 ด้าน (Five Forces Analysis) ที่ถูกคิดค้นโดย Michael E. Porter ถูกตีพิมพ์ใน Harvard
Business Review ปีคริสต์ศักราช 1979 เพื่อทาการวิเคราะห์ข้อมูลดังต่อไปนี้
2.2.1 อานาจการต่อรองของผู้ผลิต (Bargaining Power of Suppliers)
ในปั จ จุ บั น นั้ น ช่ อ งทางการขายสิ น ค้ า ต่ า ง ๆ จะมี ช่ อ งทางเป็ น จ านวนมาก
โดยเฉพาะช่องทาง E-Commerce ที่มีร้านค้าอยู่เป็นจานวนมากให้เลือกทาให้ผู้ผลิตสามารถเข้าร่วมกับ
ที่ไหนหรือจะเป็นผู้จัดจาหน่ายเพียงผู้เดียวก็ได้ แต่ในทางกลับกันเนื่องจากการแข่งขันที่สูงในตลาด
เสื้ อผ้ าแฟชั่น นั้ น ก็ ท าให้ ผู้ ผลิ ตมองว่ าการมีช่ องทางจาหน่ ายมี มากขึ้ น จะเป็นประโยชน์ กั บ ตนเอง
โดยเฉพาะกับช่องทางการขายออนไลน์ที่มีจุดยืนหรือมีการรวบรวมสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั้น
ยังไม่มี จึงทาให้ร้านค้าออนไลน์ในลักษณะนี้ที่ทาออกมาได้ดีจะมีอานาจในการเลือกสินค้าเข้ามาขาย
ในช่องทางของตน
ในส่วนของภาคการผลิตนั้น วัตถุดิบในเมืองไทยที่เป็นในรูปแบบของ Eco-Friendly
ยังมีจานวนไม่เยอะมากในเรื่องของเทคโนโลยีการรีไซเคิล แต่ในทางกลับกัน ในภูมิภาคเอเชียต่างมี
เทคโนโลยีทางด้านสิ่งทออยู่เป็นจานวนมาก ตัวอย่างเช่น ประเทศไต้หวัน หรือ จีน ที่มีเทคโนโลยีการ
ผลิตที่ทันสมัย
2.2.2 อานาจการต่อรองของผู้ซื้อ (Bargaining Power of Customer)
ผู้ซื้อนั้นมีอานาจการต่อรองที่สูงมาก เนื่องจากในปัจจุบันการแข่งขันในตลาด
แฟชั่นมีอัตราการแข่งขันที่สูงและรุนแรง โดยเสื้อผ้าของแต่ละแบรนด์ก็จะพยายามสร้างจุดเด่นของ
ตัวเองขึ้นมาและไม่ใช่เพียงการแข่งขันกันเองภายในประเทศเท่า นั้น ในปัจจุบันที่ช่องทางการติดต่อ
สะดวกมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก เทรนในการซื้อสินค้า Online คนต่างยอมรับมากขึ้นทาให้ตัวเลือก
การซื้อเสื้อผ้าไม่ใช่การแข่งขันพื้นที่ร้านนั้น ๆ หรือภายในประเทศอีกต่อไปแล้ว ซึ่งจะเห็นได้จากแหล่ง
ขายเสื้อผ้าแฟชั่น มักจะเห็นผู้ประกอบการร้านเสื้อผ้า ปิดร้านกันมากขึ้น เห็นห้องว่างในแหล่งสินค้า
แฟชั่นที่ไม่สามารถแบกรับต้นทุนหน้าร้านกันได้อีกต่อไป อีกทั้งเสื้อผ้าที่ถูกนาเข้ามาจากต่างประเทศ
โดยเฉพาะประเทศจีนและเวียดนามที่เสื้อผ้าแนว ฟาสต์แฟชั่น ถูกนาเข้ามาเป็นจานวนมากเนื่องจาก
ถูกและมีความหลากหลาย
Ref. code: 25636202031412PJR
7
2.2.3 การแข่งขันระหว่างคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน (Rivalry among Current
Competitors)
อุตสาหกรรมแฟชั่นนั้น มีอุปทานส่วนเกิน (Over Supply) มาอยู่เป็นเวลานานแล้ว
จึงบอกได้ว่า ณ ปัจจุบัน มีการแข่งขันในตลาดที่รุนแรงจากตัวเลขขององค์กรข้อมูล Euromonitor
(2563) โดยตัวเลขสัดส่วนทางการตลาดในแต่ละแบรนนั้น มีจานวนไม่มากเพียง 3.7% สาหรับแบรนด์ที่
มีสัดส่วนการตลาดที่มากที่สุดในประเทศไทย และในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ยิ่งส่งผลต่อการ
ดาเนินชีวิตของผู้คน โดยที่มีการออกจากบ้านน้อยลงใช้เวลาออยู่ที่บ้านมากขึ้นทาให้ความต้องการ
เสื้อผ้าในตลาดลดลง จึงทาให้การแข่งขันมีสูงมากขึ้น โดยที่แต่ละแบรนสินค้านั้น ได้พัฒนาจุดเด่นทั้ง
การอออกแบบและการนาเทคโนโลยีเข้ามาเพื่อให้มีความโดดเด่นมากกว่าคู่แข่ง
2.2.4 ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน (Threat of Substitute Products)
เนื่องจากในอุตสาหกรรมแฟชั่น นั้น มีวัตถุดิบเป็นจานวนมากที่สามารถนามาใช้
ได้โดยปัจจุบัน ได้มีการวิจัยวัตถุดิบตัวใหม่ ๆ อยู่เสมอ ทาให้สินค้าทดแทนเสื้อผ้าที่เป็นผ้ามีอยู่เป็น
จานวนมากและมีความเฉพาะตัวในแต่ละวัตถุดิบที่แบรนด์แต่ละแบรนด์ นั้นนามาผลิตเป็นเสื้อผ้า และ
หากเจาะจงลงไปในเสื้อผ้าแฟชั่นที่เน้นความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ก็ยังมีเสื้อผ้าที่ผลิตจากวัสดุ
ธรรมชาติหรือการนาผ้าที่เกิดจากการผลิตของชุมชนมาใช้ก็จะทาให้ผู้บริโภคนั้นมีความรู้สึกดีต่อการ
บริโภคเฉกเช่นเดียวกัน
2.2.5 ภัยคุกคามจากคู่แข่งรายใหม่ (Threat of New Entrance)
เนื่องจากอุตสาหกรรมแฟชั่นนั้น เป็นอุตสาหกรรมที่เข้าง่ายออกง่าย ใช้เงินทุนไม่
สูงในการเริ่มต้น อีกทั้งยังผู้บริโภคไม่ได้ยึดติดกับแบรนด์ของสินค้ามากเหมือนสินค้าบางประเภทอื่น
ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าได้ง่าย ดังนั้น ทาให้ทุกวันนี้ก็จะมีคู่แข่งรายใหม่เข้ามาในอุตสาหกรรมนี้
เป็นจานวนมาก ซึง่ แต่ละธุรกิจที่เข้ามานั้นจะพยายามหาจุดเด่นของตนเข้าเพื่อแข่งกับธุรกิจเดิมที่มีอยู่
ในอุตสาหกรรม
ตารางที่ 2.2
สรุปผลแรงกดดันจากภายนอก 5 ด้าน
ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อตัวธุรกิจ
อานาจการต่อรองของผูผ้ ลิต (Bargaining Power of Suppliers)
อานาจการต่อรองของผู้ซื้อ (Bargaining Power of Customer)
การแข่งขันระหว่างคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน (Rivalry among Current Competitors)
ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน (Threat of Substitute Products)
ภัยคุกคามจากคู่แข่งรายใหม่ (Threat of New Entrance)
ส่งผลต่อธุรกิจ
+
-
Ref. code: 25636202031412PJR
8
จากการวิเคราะห์ภาพรวมดังตารางที่ 2.2 นั้น แสดงให้เห็นว่าในตลาดอุตสาหกรรมสินค้า
แฟชั่นเป็นอุตสาหกรรมที่มีความกดดันทางการตลาดสูงมาก ดังนั้น การที่จะอยู่ในอุตสาหกรรมที่มี
แรกกดดันที่สูงนี้จาเป็นต้องมีความโดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่งในตลาด
2.3 การวิเคราะห์คู่แข่งขัน
ธุรกิจ Green Cap นั้น เป็นร้านจัดจาหน่ายเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเว็บไซต์ของตน ที่จะรวม
เฉพาะแบรนด์เสื้อผ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้นเข้าด้วยกันรวมถึงการผลิตเสื้อผ้าที่มาจากวัตถุดิบ
ที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อตอบโจทย์ต่อกับกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการที่จะบริโภคสินค้าที่มี
ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ในหลาย ๆ ครั้ง ผู้บริโภคกลุ่มนี้ ไม่รู้ว่าจะสามารถหาสินค้าเหล่านี้ได้
จากที่ไหนหรือไม่มีความสะดวกในการเดินทางไปเลือกซื้อสินค้า และหลังจากการหาข้อมูลก็ได้พบ
ธุรกิจคู่แข่งต่าง ๆ ที่อยู่ในไทยก็จะสามารถแบ่งประเภทคู่แข่งทางการค้าได้ดังนี้
2.3.1 คู่แข่งขันทางตรง
หากจะหาร้ านค้า ที่รวบรวมหรือมีสิ นค้า แฟชั่น ที่เป็น เป็นมิ ตรกับ สิ่ งแวดล้ อ ม
หลากหลายแนวหรื อมี สิ น ค้ าให้ เลื อกที่ห ลากหลายสามารถบอกได้ ว่า ยังไม่มี ร้านค้า ในลั กษณะนี้
เมืองไทย โดยเฉพาะที่อยู่ในรูปแบบร้านค้าออนไลน์ แต่หากมองคู่แข่งที่มีสินค้าหลากหลายและเป็น
สินค้าที่เมื่อลูกค้าเลือกซื้อจะได้รับคุณค่าทางจิตใจ เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าสินค้าที่มาจากโครงการหลวง
หรือสินค้า OTOP เป็นกลุ่มร้านค้าที่เราจะนึกถึงแรก ๆ และมีกันมาอย่างยาวนานแล้ว
2.3.2 คู่แข่งขันทางอ้อม
ถึงแม้ว่าในตลาดอุตสาหกรรมเสื้อผ้าแฟชั่น จะยังไม่มีแบรนด์ใดที่ออกตัวว่า เป็น
แบรนด์สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มตัวก็ตาม แต่หลาย ๆ แบรนด์ใหญ่ก็ได้ออกแคมเปญหรือ
การออกแบบคอลเลคชั่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น Uniqlo หรือ H&M เป็นต้น
2.3.3 สินค้าทดแทน
สินค้าแฟชั่นรักษ์โลกนั้น สามารถถูกทดแทนด้วยสินค้าแฟชั่นทั่วไปเนื่องจากว่า
คุณสมบัติของสินค้าไม่ได้แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์ภายนอกหรือการใช้งาน อีกทั้งลูกค้า แทบ
จะไม่มีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนไปเลือกสินค้าอื่น ๆ เลย ดังนั้น สินค้าทดแทนในตลาด จึงมีอยู่เป็น
จานวนมากและมีหลากหลายแบบหลากหลายแบรนด์และหลากหลายช่องทางการจัดจาหน่าย
Ref. code: 25636202031412PJR
9
2.4 การประเมินสภาพแวดล้อมภายใน
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในนั้น เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สาคัญต่อการดาเนินธุรกิจ
เนื่องจากการทราบสภาพของตัวธุรกิจเองนั้น จะทาให้ธุรกิจสามารถป้องกันปัญหาและความเสี่ยงที่
อาจจะเกิดขึ้นกับทางธุรกิจได้ อีกทั้งยังสามารถนาจุดเด่นของธุรกิจมาสร้างให้ธุรกิจ นั้นพัฒนาและ
ได้รับการตอบรับที่ดีมากขึ้น ดังนั้น จึงทาการวิเคราะห์ผ่านเครื่องมือวิเคราะห์ SWOT ที่จะวิเคราะห์
ปัจจัยภายในทั้ง 4 ด้านของธุรกิจ
2.4.1 การวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อน ของธุรกิจ Green Cap
จุดแข็ง (Strengths)
1. โรงงาน ตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ทาให้สะดวกกับการจัดส่งสินค้า
2. โรงงานมีความชานาญและคุณภาพการตัดเย็บที่มีคุณภาพเพราะมีประสบ
การตัดเย็บให้กับแบรนด์ที่มีขนาดใหญ่
3. บริษัทมีเครือข่ายของทั้งโรงงานเย็บผ้า วัตถุดิบ และ เครือข่ายขององค์กรที่
เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมโดยตรง
จุดอ่อน (Weakness)
1. ขาดความรู้ความสามารถในการ Design Product เสื้อผ้าแฟชั่น
2. เนื่องจากการทางานที่ผ่านมานั้น เป็นในรูปแบบของการรับผลิตตามคาสั่งซื้อ
ทาให้ตัวธุรกิจนั้น ยังไม่เป็นที่รู้จัก
3. ไม่มีช่องทางในการติดต่อสื่อสารที่เข้าถึงง่ายเนื่องจากตัวธุรกิจ นั้น ได้มีการ
ทางานร่วมกับแบรนด์ใหญ่มาเป็นเวลานานจึงไม่ได้มีการหาลูกค้าใหม่เพิ่มในช่วงที่ผ่านมา
2.4.2 โอกาสและอุปสรรคของธุรกิจ Green Cap
โอกาส (Opportunities)
1. เทรนในการบริโภคสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้น เริ่มกลายเป็นเทรน
หลักของอุตสาหกรรมโดยที่เป็นเทรนที่จะมีความยั่งยืนในอนาคตอีกด้วย
2. ช่องทางการจัดจาหน่าย Online นั้น เป็นช่องทางที่ได้รับความยอมรับมาก
ขึ้นมากในช่ว งที่ผ่านมาสาหรั บอุตสาหกรรมเสื้อผ้าแฟชั่นโดยเป็นอุตสาหกรรมที่มีความเติบโตใน
E-Commerce สูงมาก
3. มีการสนับสนุนอุตสาหกรรมสีเขียวไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือภาคเอกชน
4. นโยบายของสหรัฐ ที่มี แนวโน้ม จะผ่ อ นความตึ งเครี ยดลงซึ่ง จะทาให้ ภ าค
เศรษฐกิจของไทยนั้น มีแนวโน้มที่ดีขึ้น
Ref. code: 25636202031412PJR
10
อุปสรรค (Threats)
1. ปัญหาเศรษฐกิจไทยที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19 ทาให้
การบริโภคนั้น มีการชะลอตัวลง
2. มีแนวโน้มลดลงของจานวนประชากรซึ่งส่งผลกระทบต่อสินค้าที่เป็นปัจจัย4
3. การเข้ามาของแบรนด์ต่างชาติขนาดใหญ่ที่เข้ามาที่แบบและเทคโนโลยีที่มาก
และดีกว่า
2.5 TOWS Matrix
จากการประเมินปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจ จึงสามารถ
นามาพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดโดยการสร้าง TOWS Matrix ตามตารางที่ 2.3
ตารางที่ 2.3
กลยุทธ์ TOWS Matrix
INTERNAL FACTOR STRENGTHS
S1. โรงงานตั้งออยู่ใจกลางเมือง
S2. มีความชานาญและประสบการณ์
S3. มีเครือข่ายในอุตสาหกรรม
EXTERNAL FACTOR
OPPORTUNITIES
กลยุทธ์เชิงรุก (SO Strategy)
O1. เทรนสินค้าสิ่งแวดล้อม
1. ทาช่องทางการจัดจาหน่าย Online
เติบโต
ควบคู่กับหน้าร้านที่เป็นแหล่งรวบรวม
O2. สินค้าE-Commerce เติบโต สินค้ารักษ์โลกจากทั่วประเทศให้มาใกล้กับ
O3. รัฐและเอกชนสนับสนุน
แหล่งผู้บริโภคกลุ่มใหญ่และมีศกั ยภาพใน
อุตสาหกรรมสีเขียว
การบริโภค (S1, O2, O4)
O4. เศรษฐกิจเริ่มมีการฟื้นตัว 2. ชูจุดเด่นในการเป็นศูนย์รวมของ
อุตสาหกรรมสีเขียวในการจัดทาการตลาด
(S2, S3, O3)
THREATS
กลยุทธ์เชิงรับ (ST Strategy)
T1. เศรษฐกิจยังมีความไม่
1. การปรับตัวของธุรกิจไม่ให้ดูเป็นคู่แข่ง
แน่นอน
แต่จะพยายามสร้างภาพให้มีความเป็น
T2. จานวนประชากรน้อยลง
Partnerกับคู่แข่ง (S3, T3)
T3. การแข่งขันที่สูงมาก
WEAKNESS
W1. ไม่มีความรู้ความสามารถในการ
ออกแบบ
W2. โรงงานไม่เป็นที่รู้จัก
W3. ไม่มีช่องทางการติดต่อสือ่ สารที่ดี
กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO Strategy)
1. รวบรวมและร่วมมือกับนักออกแบบที่มี
แนวคิดในทางเดียวกันเพือ่ สร้างสรรค์ผลงาน
(W1, O1)
2. สร้างช่องทางการจาหน่าย Online เพื่อ
สร้างแบรนด์สินค้าให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นและ
ร่วมมือกับองค์กรต่างทีส่ นับสนุน(W2, W3,
O2, O3)
กลยุทธ์ป้องกัน (WT Strategy)
1. เริ่มจัดทาปรับปรุงและพัฒนาช่อง
ทางการสื่อสารของทางธุรกิจให้มีความโดด
เด่นและมีความน่าเชื่อถือเพื่อเป็นการสร้าง
ความมั่นใจให้กับผู้บริโภคและองค์กร
Ref. code: 25636202031412PJR
11
2.6 ปัจจัยหลักที่มีผลต่อความสาเร็จ
หลังจากที่ได้วิเคราะห์ถึงสภาพแวดล้อมของตัวธุรกิจทั้งภายในและภายนอกแล้ว ทาให้
สามารถสร้างกลยุทธ์ของธุรกิจขึ้นมาเพื่อให้มีความได้เปรียบทางการแข่งขันโดยที่ในธุรกิจ นั้น มีปัจจัย
ทางความสาเร็จดังนี้
2.6.1 ความน่าเชื่อถือของตัวธุรกิจ
ปฏิเสธไม่ได้ว่าช่องทางการจัดจาหน่ายโดยเฉพาะช่องทางออนไลน์ นั้น ขาดความ
น่าเชื่อถือไม่ได้โดยเด็ดขาด ทั้งนี้ความน่าเชื่อถือนั้นจะมาจากการรับรองของหน่วยงานต่าง ๆ หรือ
องค์กรที่มีความน่าเชื่อถือที่ร่วมมือด้วย ซึ่งในส่วนนี้ จะต้องมีทั้งในด้านคุณภาพการผลิต และในด้าน
อุตสาหกรรมสีเขียวเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเชื่อมั่นได้และรับรู้ได้ว่าการเลือกซื้อสินค้าจากช่องทางนี้ จะ
ทาให้โลกดีขึ้นจริง ๆ หรือการซื้อสินค้าในช่องทางนี้ จะเป็นการทาประโยชน์ให้กับสังคมจริง ๆ
2.6.2 การทาให้ผู้บริโภครับรู้ของคุณค่าของสินค้า
สิ่งหนึ่งที่จะทาให้ลูกค้าเลือกที่จะมาบริโภคนั้น ก็คือ การสร้างการรับรู้ถึงคุณค่า
ของผลิตภัณฑ์ว่าการที่ลูกค้าซื้อไปนั้น ลูกค้าไม่ได้รับไปเพียงแค่เสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกายเท่านั้น ลูกค้า
จะได้รับความรู้สึกถึงการเป็นส่วนร่วมในการช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนอีกด้วย ตัวอย่างเช่น การคานวณ
ทรัพยากรที่ใช้ลดลงไปเท่าใดในการซื้อเสื้อผ้าชิ้นนั้น ๆ เมื่อเทียบกับการที่ผลิตด้วยการใช้ผ้าปกติ
2.6.3 การสะสมเครือข่ายของธุรกิจในลักษณะเดียวกัน
อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นข้อได้เปรียบของเสื้อผ้า แฟชั่น นั่นก็คือ ความหลากหลาย นั่นจึง
เป็นเหตุผลว่าการสร้างเครือข่ายของแบรนด์สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกันจะเป็นการที่
ช่วยดึงดูดผู้บริโภคเข้ามาเลือกซื้อสินค้าที่มีลักษณะแบบนี้ได้มากขึ้น รวมถึงการประชาสัมพันธ์ร้านค้า
ผ่านเครือข่ายทางด้านสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เพื่อให้เป็นที่รู้จักและจดจาได้
2.7 สรุปประเด็นสาคัญจากการวิเคราะห์อุตสาหกรรม
จากการค้ น คว้ า และศึ ก ษาที่ ผ่ า นมา อุ ต สาหกรรมเสื้ อ ผ้ า แฟชั่ น ในไทยนั้ น เป็ น
อุตสาหกรรมที่อยู่ในช่วงขาลงตามแนวโน้มของสภาพเศรษฐกิจประเทศไทยและจากการเลือกบริโภค
มากขึ้นของผู้บริโภค แต่ถึงอย่างไรเสื้อผ้าก็เป็นปัจจัย สี่ที่มนุษย์ทุกคนยังต้องใช้ เพียงแต่ในภาคธุรกิจ
จะต้องมีการปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจนั้น สามารถอยู่รอดในอุตสาหกรรมและเป็นที่จดจาของผู้บริโภค โดย
ธุรกิจนั้นจะต้องหาจุดเด่นที่มีความเอกลักษณ์ของตนให้ได้ ดังนั้น การดึงเทรนหลักอย่างสินค้าที่เป็น
มิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่กาลังเป็นตลาดที่กาลังเติบโตมากขึ้นเข้ามาในธุรกิจก็จะเป็นการทาให้ธุรกิจ นั้น
Ref. code: 25636202031412PJR
12
มีความเป็นเอกลักษณ์เป็นของตัวเองมากขึ้น และจากการศึกษา ยังค้นพบอีกว่าแม้ว่าเทรนรักษ์โลก
กาลังเป็นเทรนที่สาคัญและมีความยั่งยืนและในอุตสาหกรรมแฟชั่นและก็เริ่มมีการตระหนักถึงสิ่งนี้
มากขึ้นกลับยังไม่มีช่องทางการจาหน่ายไหนหรือธุรกิจไหนที่สนับสนุนการมีตัวตนของแบรนด์สินค้า
แฟชั่นแนวเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้ มีความโดดเด่นและสร้างความตระหนักและเห็นคุณค่าของการ
ซื้อสินค้าเหล่านั้น ทาง Green Cap จึงได้เห็นถึงโอกาสในจุดนี้ที่จะเป็นช่องทางหนึ่งที่รวบรวม สินค้า
แฟชั่นของไทยที่มีแนวคิดและอุดมการณ์ในการช่วยเหลื อสังคมและสิ่ งแวดล้อมเหมือนกันกับทาง
บริษัท รวมถึงการร่วมมือกับทางนักออกแบบในการออกแบบสินค้าแฟชั่นก็จะเป็นสิ่งที่สามารถผลักดัน
ให้ Green Cap นั้น สามารถสร้างรายได้พอที่จะสามารถอยู่ได้และสามารถนากาไรเหล่า นั้น กลับไป
ช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมและสังคมต่อไป
Ref. code: 25636202031412PJR
13
บทที่ 3
แผนและกลยุทธ์ขององค์กร
การจะวางแผนตัวธุร กิจให้ดีได้นั้น จาเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในตัวธุรกิจมากเป็น
อย่างดี รวมถึงการมีเป้าหมายในอนาคตก็เป็นส่วนสาคัญเพื่อให้ตัวองค์กรนั้น สามารถเดินหน้าไปได้
อย่างถูกทิศทางเพื่อให้ตัวธุรกิจนั้น สามารถเติบโตได้อย่างเหมาะสมและไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรไป
3.1 แนะนาธุรกิจและแผนธุรกิจ
จากเดิมที่ Green Cap เป็นธุรกิจรับผลิตสินค้าเสื้อผ้าให้กับแบรนด์มาก่อนโดยที่ยังไม่มี
แบรนด์เป็ น ของตน โดยโรงงานก็ได้รับผลกระทบจากทั้งอุปสรรคในธุรกิจมาเป็นเวลาหนึ่งจนใน
ปัจจุบันตัวธุรกิจได้มีการปรับตัวเล็กลง ผู้จัดทาจึงได้มีแนวคิดที่จะเปลี่ยนแปลงตัวธุรกิจเดิมที่เป็นผู้
รับจ้างผลิตมาเริ่มดาเนินการจัดจาหน่ายเอง โดยการแก้ไขจุดอ่อนของตัวธุรกิจทั้งในด้านของการ
ออกแบบ และช่องทางสื่อสาร และพยายามหาจุดเด่นเพื่อให้ตัวธุรกิจนั้นได้รับความสนใจมากขึ้น
3.1.1 ชื่อธุรกิจ
Green Cap
3.1.2 ประเภทธุรกิจ
ช่องทางการจัดจาหน่ายสินค้าแฟชั่นที่ผลิตจากวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
3.1.3 ตราสัญลักษณ์
ภาพที่ 3.1 ตราสัญลักษณ์ของช่องทางการจัดจาหน่าย Green Cap
จากตราสัญลักษณ์สินค้าตามภาพที่ 3.1 นั้น ที่เป็นรูปเต่าที่เป็นการใช้ไอคอนของ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเป็นเต่ายิ้มนั้น เพื่อให้มีความรู้สึกที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่ายและในอีกมุม
Ref. code: 25636202031412PJR
14
หนึ่งตราสัญลักษณ์จะมีความคล้ายคลึงกับหมวดตามชื่อของธุรกิจอีกด้วย โดยการใช้สีเขียวนี้ก็เพื่อให้
แสดงถึงการเป็นแบรนด์ที่ให้ความสาคัญถึงสิ่งแวดล้อมนั่นเอง
3.1.4 วิสัยทัศน์ขององค์กร (Vision)
เป็นช่องทางการจัดจาหน่ายสินค้า Eco-Fashion แบบครบวงจรอันดับต้นของ
เมืองไทยที่ได้เป็นส่วนสาคัญในการขับเคลื่อนและสนับสนุนอุตสาหกรรมไทยให้มีความรับผิดชอบต่อ
สิ่งแวดล้อมและสังคม และการเป็นผู้ช่วยให้ภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นบรรเทาลง ในขณะที่ธุรกิจสามารถ
ดารงและเติบโตด้วยความยั่งยืนได้
3.1.5 พันธกิจ (Mission)
1. สร้างความโดดเด่นในช่องทางการจัดจาหน่าย ด้วยแนวคิดเพื่อสังคม
2. ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมแฟชั่น ตระหนักและเริ่มเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมให้
มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
3. สร้างเครือข่ายกลุ่มแฟชั่นรักษ์โลกให้มีความแข็งแกร่งและเป็นที่สนใจ
4. ส่งมอบคุณค่าในการเลือกบริโภคสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้กับผู้บริโภค
3.1.6 เป้าหมาย (Goal)
3.1.6.1 เป้าหมายระยะสั้น 1 – 5 ปี
1. ต้องเป็นช่องทางการจัดจาหน่ายสินค้าแฟชั่นที่มีความเป็นมิตรต่อ
สิ่งแวดล้อมที่รวมแต่ละแบรนเข้าด้วยกันที่มีความหลากหลายมากที่สุด
2. สร้างกระตระหนักรู้ถึงปัญหาภาวะโลกร้อนมากขึ้น
3. สามารถสร้ างและสนับ สนุนนั กออกแบบที่มีแนวคิดการออกแบบ
สินค้าที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจนออกมาเป็นผลงานที่ได้รับการยอมรับ
3.1.6.2 เป้าหมายระยะยาว 5 – 10 ปี
1. ธุรกิจได้รับกาไรและได้รับเงินทุนคืนภายในเวลาไม่เกิน6 ปี
2. เป็นผู้นาและสนับสนุนอุตสาหกรรมสีเขียวในประเทศไทยให้เติบโต
มากขึ้น
3. เป็นผู้สนับสนุนงานวิจัยในสินค้าหรือเทคโนโลยีสีเขียว
3.1.7 รายละเอียดการให้บริการ
การเป็นช่องทางการจัดจาหน่ายสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ช่องทางการจัดจาหน่ายจะเน้นเป็นช่องทาง Online เป็นหลัก โดยสินค้าที่มีจะ
เริ่มจากสินค้าแฟชั่นหญิงก่อน โดยสินค้านั้นจะแบ่งประเภทออกเป็นตามลักษณะวัตถุดิบ ตัวอย่างเช่น
วัตถุดิบที่ผลิตจากพลาสติกที่นามารีไซเคิล หรือเนื้อผ้าที่เป็นการนาผ้าฝ้ายที่ถูกใช้แล้วหรือเศษผ้า
นามาผ่านกระบวนการทอใหม่แล้วนามาผลิต โดยราคาของชุดนั้น จะอยู่ในช่วง 1,000 – 3,500 บาท
Ref. code: 25636202031412PJR
15
3.2 แนวทางการจัดการธุรกิจเชิงกลยุทธ์
การจัดการเชิงกลยุทธ์ นั้น จาเป็นจะต้องเข้าไจตัวธุรกิจรอบด้านเพื่อให้การจัดการด้าน
กลยุทธ์นั้นเป็นไปได้ด้วยดี จึงทาการใช้เครื่องมือที่ช่วยให้สามารถมองธุรกิจเราได้อย่างรอบด้านอย่าง
แผนธุรกิจแคนวาส (Business Model Canvas, BMC) เพื่อช่วยในการวางกลยุทธ์
3.2.1 กลยุทธ์ระดับองค์กร (Corporate Level Strategy)
กลยุทธ์ที่ทาง Green Cap เลือกใช้คือ กลยุทธ์สร้างการเจริญเติบโตแบบการ
เจาะตลาดเฉพาะกลุ่มที่เป็นสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะ (Market Penetration) และ
พัฒนาช่องทางการซื้อขายรวมถึงการเพิ่มสินค้าในช่องทางการซื้อขายให้มากขึ้น (Product Development)
เพื่อเป็นการเจาะตลาดกลุ่มเป้าหมายให้มีความเด่ นชัด รวมถึงการพัฒนาช่องทางการจัดจาหน่าย
สินค้าให้ผู้บริโภคมีความสะดวกในการเลือกซื้อสินค้าและได้รับประสบการการซื้อสินค้าที่ดี
3.2.2 กลยุทธ์ระดับระดับหน้าที่ (Functional Level Strategy)
1. ฝ่ า ยการผลิ ต เป็ น ฝ่ า ยที่ มี ห น้ า ที่ ผ ลิ ต สิ น ค้ า ให้ มี คุ ณ ภาพและเป็ น ไปตาม
มาตรฐานที่ได้มีการกาหนดไว้ นอกจากนี้ ยังเป็นฝ่ายที่ต้องทางานร่วมกับนัก Design ที่จะมาร่วมมือ
หรือเป็นลูกค้าอีกด้วย โดยจะแยกออกเป็น 2 ระดับ คือ ผู้คุมงานและผู้ปฏิบัติงาน
2. ฝ่ายการตลาด เป็นฝ่ายที่มีความสาคัญเป็นอย่างมากกับธุรกิจเพราะจะเป็น
ฝ่ายที่จะต้องทาให้ลูกค้าเข้าใจถึงมูลค่าของสินค้าและจะต้องเป็นผู้ที่ทาการตลาด ในอีกด้านหนึ่งคือ
การทาการตลาดกับร้านค้าที่จะเข้ามาอยู่ในช่องทางการขายของเรา
3. ฝ่ายขาย เป็นฝ่ายที่จะต้องคอยดูแลร้านค้า โดยการทางานจะเป็นรูปแบบ
Black office จะเน้นไปในส่วนของการขาย Online เป็นหลัก และจะต้องทางานร่วมกับทางฝ่ายลูกค้า
สัมพันธ์เพื่อให้มีประสิทธิภาพการขายเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
4. ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ เป็นฝ่ายสนับสนุนของฝ่ายขายโดยเป็นฝ่ายที่มีหน้าที่ติดต่อ
กับลูกค้า ให้ขอ้ มูลกับลูกค้า อานวยความสะดวกแก่ลูกค้า และยังเป็นฝ่ายที่สนับสนุนฝ่าย Marketing
อีกด้วย โดยที่การรวบรวมและนาข้อมูลที่ได้จากการติดต่อลูกค้าโดยตรงนั้น แปลผลและสื่อสารต่อไป
กับฝ่าย Marketing
5. ฝ่าย R&D เป็นฝ่ายที่ขาดไม่ได้อีกฝ่าย โดยในช่วงแรงของการเริ่มต้นดาเนิน
ธุรกิจนั้นจะมุ่งเน้นไปในการพัฒนาช่องทางการจัดจาหน่ายให้การซื้อสินค้าของผู้บริโภคดาเนินไปได้
อย่างสะดวกรวดเร็วและมีความถูกต้อง และต่อมาเมื่อช่องทางการจัดจาหน่ายได้ปรับปรุงเป็นที่ น่า
พอใจ ฝ่ายนี้ก็จะดาเนินงานเน้นไปที่การพัฒนาสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต่อไป
Ref. code: 25636202031412PJR
16
3.3 แบบจาลองลักษณะของธุรกิจ
3.3.1 คุณค่าของการบริการ (Value Propositions)
การเป็นช่องทางที่ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมสีเขียวอย่างเป็นรูปธรรมสามารถ
สร้างและส่งมอบคุณค่าของสินค้าที่มีทั้งคุณภาพทางกายภาพและจิตใจ เป็นช่องทางการจัด จาหน่าย
หนึ่งที่ได้ช่วยแก้ปัญหาของภาวะโลกร้อนและช่วยเหลือสังคม
3.3.2 กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (Customer Segment)
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายนั้น เป็นสิ่งที่สาคัญมากในการทาการตลาดเนื่องจากว่าหาก
การที่เราระบุกลุ่มลู กค้าเป้าหมายผิด ก็จะทาให้ การทาการตลาดนั้น ทาแล้วไม่ตรงหรื อไม่เกิดจุด
Touch Point กับลูกค้าตัวจริง
1. กลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลัก เป็นกลุ่มลูกค้าผู้หญิง Gen X ตอนปลายและกลุ่ม
Baby Boomer ที่มีลูกหรือหลาน ช่วงอายุที่ 35-65 ปี เนื่องจากที่กลุ่มคนเหล่านี้เป็นกลุ่มที่มีกาลัง
การซื้อและเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบของภาวะโลกร้อน
2. กลุ่มเป้าหมายรอง ก็คือ กลุ่มคนวัยรุ่น Gen X และ Gen Y ที่เป็นกลุ่มที่จะ
ได้รับผลกระทบจากปัญหาโลกร้อนโดยตรง ถึงแม้ว่ากลุ่มนี้จะไม่ได้มีกาลังการซื้อมากเท่ ากลุ่มแรกก็
ตาม แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะยินดีจ่ายให้สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามโอกาส
3.3.3 ช่องทางการเข้าถึงลูกค้า (Channels)
ช่องทางการเข้าถึงลูกค้า ของ Green Cap มีดังนี้
1. Website
2. Facebook
3. Line Official Account
4. Telephone
3.3.4 สายสัมพันธ์ลูกค้า (Customer Relationships)
1. การติดต่อลูกค้าทั้งทาง Online และ Offline
2. การทา CRM ที่จะคอยเก็บสะสมว่าลูกค้าได้มีการซื้อสินค้ากับเรามากน้อยแค่
ไหน และจากการซื้อสินค้ากับนั้น ลูกค้าได้ช่วยโลกและช่วยสังคมไปเท่าไหร่ ซึ่งจะเป็นการสะสมยอด
เมื่อถึงตามที่กาหนดทางร้านก็จะนากาไรบางส่วนกลับไปช่วยเหลือสังคมในนามของลูกค้าคนนั้น ๆ
3.3.5 รูปแบบของรายได้ (Revenue Streams)
1. รายได้จากค่า GP ที่ Partner ขายได้
2. รายได้จากการขายเสื้อผ้าแฟชั่นที่ออกแบบและผลิตร่วมกับนัก Designer
3. รายได้จากการรับผลิตสินค้าแฟชั่น
Ref. code: 25636202031412PJR
17
3.3.6 ความชานาญพิเศษ (Key Resources)
1. พนักงานที่มีความรู้ความสามารถในการผลิตให้สินค้าออกมามีคุณภาพ
2. ข้อมูลเครือข่ายภายในอุตสาหกรรมสิ่งทอและโรงงานเย็บ
3. ข้อมูลของลูกค้าจากการซื้อสินค้า
4. เครือข่ายองค์กรที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
3.3.7 กิจกรรมหลัก (Key Activities)
1. การผลิตสินค้าที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
2. จัดหาและจาหน่ายสินค้าแฟชั่นที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
3. การจัดการประชาสัมพันธ์ในเรื่องสิ่งแวดล้อมและสังคม
3.3.8 หุ้นส่วนหลัก (Key Partners)
1. มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในคณะที่เกี่ยวข้อง
2. กลุ่มองค์กรที่ให้ความสาคัญกับสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น เพจ Environman
3. Supplier เกี่ยวกับวัสดุสิ่งทอ
4. Supplier เกี่ยวอุปกรณ์เครื่องจักรของโรงงาน
5. ร้านค้าแฟชั่นรักษ์โลกต่าง ๆ
3.3.9 ต้นทุน (Cost Structure)
1. ค่าใช้จ่ายในการผลิต
2. ค่าใช้จ่ายในการทาช่องทางจัดจาหน่าย Online และ Offline
3. ค่าใช้จ่ายในการทาการตลาด
4. ค่าใช้จ่ายในการสร้างเครือข่ายร้านค้า
Ref. code: 25636202031412PJR
18
ภาพที่ 3.2 แผนผังธุรกิจแคนวาส
จากภาพที่ 3.2 แสดงถึงภาพรวมของแผนผังธุรกิจแคนวาสของตัวธุรกิจ Green cap ดัง
ข้อมูลที่มีการกล่าวถึงด้านบน
Ref. code: 25636202031412PJR
19
บทที่ 4
การวิจัยการตลาด
ธุรกิจ Green Cap เป็นธุรกิจร้านค้า Eco Friendly Fashion ที่รวบรวมผลิตและจัด
จาหน่ายสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยคัดสรรคนที่มีความมุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ
ต่อสภาพแวดล้อมที่กาลังเสื่อมถอยอยู่ ณ ปัจจุบันมารวมตัวด้วยกัน โดยทางบริษัท Green Cap นั้น
มุ่งหวังว่าจะสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่เชื่อมโยมองค์กร และกลุ่มบุคคลที่ต้องการเห็นกลุ่มสินค้า Eco
Friendly นั้น เติบโตและเป็นที่นิยมมากขึ้นในอุสาหกรรม Fashion ในประเทศไทย รวมถึงการสร้างและ
ส่งเสริม Model ธุรกิจที่มีแนวคิดเดียวกันเพื่อให้เกิด Ecosystem สินค้าที่มีความยั่งยืนต่อโลกใบนี้
4.1 วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ของการสร้าง Ecosystem ของธุรกิจที่มีเป้าหมายใน
การช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่มีต่อโลกภายในอุตสาหกรรมแฟชั่น
2. เพื่อพัฒนาช่องทางการจัดจาหน่าย และภาพลักษณ์ของสินค้า กลุ่ม Eco-Friendly
โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมสินค้า Fashion สร้างมูลค่าและคุณค่าเพื่อส่งมอบต่อไปให้แก่ลูกค้าได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ
3. เพื่อศึกษาถึงปัจจัยในการสร้างการรับรู้คุณค่าของกลุ่มเป้าหมาย
4. เพื่ อ ศึ ก ษาปั จ จั ย ส่ ว นผสมทางการตลาดที่ ส่ ง ผลต่ อ การตั ด สิ น ใจเลื อ กซื้ อ ของ
กลุ่มเป้าหมาย
5. เพื่อจัดทารายละเอียดประกอบแผนธุรกิจช่องทางการจัดจาหน่ายสินค้า Eco-Fashion
4.2 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. สามารถนาข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงรูปแบบของเว็บไซต์การจัดจาหน่ายเพื่อให้ตอบ
โจทย์กับกลุ่มลูกค้าให้ได้มากที่สุด
2. สามารถช่วยให้ ออกแบบกิจกรรมทางการตลาดออกมาได้ตรงความต้องการของ
ผู้บริโภคและสามารถผลักดันให้ช่องทางการจัดจาหน่ายนั้นเติบโตและมีจานวนลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ
มากขึ้น
3. สามารถแสดงความเป็นไปได้ของการดาเนินธุรกิจ
Ref. code: 25636202031412PJR
20
4.3 ระเบียบวิจัย
การศึกษาตลาดผ่ านการวิจัยเพื่อนาข้ อมูล มาวิ เคราะห์ และวางแผนการตลาดเพื่ อ
ดาเนินการปรับปรุงธุรกิจที่ต้องการศึกษา โดยการดาเนินการนั้นจะทาการศึกษาผู้บริโภคโดยผ่าน
การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค สาหรับการเลือกซื้อสินค้าแฟชั่นในช่องทางออนไลน์และปัจจัยส่วนผสม
ทางการตลาด 4P เพื่อให้ทราบถึงความเป็นไปได้ของการดาเนินธุรกิจการขายสินค้าแฟชั่นที่เป็นมิตร
ต่อสิ่งแวดล้อมผ่านช่องทางการจัดจาหน่ายออนไลน์ โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 รูปแบบด้วยกัน
1. การศึกษาเชิงปริมาณ ผ่านแบบสอบถาม (Questionnaire Survey)
2. การศึกษาเชิงคุณภาพ ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) จากกลุ่ม
ตัวอย่าง จานวน 2 คน ที่มีช่วงอายุ 38 ปีขึ้นไป มีรายได้มากกว่า 50,000 บาท เคยซื้อสินค้าผ่านช่องทาง
Online อยู่เป็นประจา และมักจะช่วยซื้อสินค้าของชุมชนหรือสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และอีก
2 คนที่ มีช่วงอายุ 22-37 ปี ที่มีรายได้มากกว่า 20,000 บาท ที่มักซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์อยู่เป็น
ประจา และรู้ถึงปัญหาทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน โดยการสอบถามถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
เพื่อให้ทางธุรกิจนั้น สามารถหาถึงความต้องการของลูกค้าที่เป็นกลุ่มใหญ่ทั้ง 2 กลุ่มได้เพื่อการนามา
ปรับปรุงธุรกิจให้ครบถ้วนมากที่สุดจากกลุ่มเป้าหมายทั้ง 2
4.4 วิธีการเก็บข้อมูลและแหล่งที่มาของข้อมูล
4.4.1 แหล่งข้อมูล
จุดประสงค์ในการทาวิจัยครั้งนี้ เพื่อต้องการทราบถึงปัจจัยต่าง ๆ ในการทา
ธุรกิจและทราบถึงโอกาสและความเป็นไปได้ในการทาธุรกิจช่องทางการจัดจาหน่ายสินค้าแฟชั่นที่มี
ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมผ่านช่องทาง Online เพื่อนาผลที่ได้จากการศึกษามาปรับปรุงช่องทาง
การจัดจาหน่ายและวางแผนกลยุ ทธ์ทางการตลาด เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคให้
ได้มากที่สุด โดยสามารถแบ่งกลุ่มตัวอย่างได้ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้ที่บริโภคสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอยู่เป็นประจา
กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้บริโภคที่อยากจะบริโภคสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
แต่ยังไม่ได้บริโภคอยู่เป็นประจา
ระยะเวลาการทาวิจัยคือ ช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน พ.ศ. 2564
4.4.2 เครื่องมือที่ใช้ในการการวิจัย
การทาวิจั ยในครั้งนี้ มีทั้งการใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจั ยเชิงปริมาณ
ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยจะใช้เป็นคาถามปลายเปิดซึ่งจะไม่มี
Ref. code: 25636202031412PJR
21
คาตอบที่ตายตัวขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ทัศนคติ เหตุการณ์ โดยการอาศัยแนวคิดจากงานวิจัยที่เคยมี
ผู้อื่นได้ศึกษาไว้ รวมถึงเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และในส่วนของงานวิจัยเชิงปริมาณจะใช้แบบสอบถาม
เป็นเครื่องมือในการวิจัย
4.4.2.1 การวิจัยเชิงคุณภาพ
การสั มภาษณ์เชิงลึกจะเป็นการถามคาถามปลายเปิด ไม่มีโ ครงสร้าง
คาตอบที่ตายตัว โดยประเด็นที่จะนามากาหนดกรอบคาถามที่ต้องการศึกษามีดังนี้
ประเด็นที่ 1 ทัศ นคติที่มีต่อผลิ ตภั ณฑ์ที่เป็นมิ ตรต่อ สิ่ งแวดล้ อม และ
ทัศนคติที่มีต่อการซื้อของออนไลน์
ประเด็นที่ 2 พฤติกรรมในการเลือกซื้อสินค้าในช่องทางออนไลน์
ประเด็นที่ 3 ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดของสินค้าแฟชั่นที่เป็นมิตรต่อ
สิ่งแวดล้อม
ซึ่งกลุ่มตัวอย่างจะเป็นคนที่มีอายุอยู่ในช่วงกลุ่มคน Baby Boom และ
Gen X 2 คน และคนที่มีอายุอยู่ในช่วงกลุ่มคน Gen Y
4.4.2.2 การวิจัยเชิงปริมาณ
เป็นการเก็บแบบสอบทางผ่านช่องทางออนไลน์ โดยชุดคาถามนั้นจะเป็น
คาถามที่ถูกดัดแปลงมาจากประเด็นคาถามการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งจะครอบคลุมทั้ง 3 ประเด็นที่กล่าว
ไปในส่วนก่อนหน้า โดยกลุ่มตัวอย่างนั้นจะเป็นกลุ่มที่ให้ความสนใจกับปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมและ
เป็นกลุ่มคนที่ซื้อของทางช่องทาง Online
ซึ่งในส่วนของปัจจัยด้านส่วนผสมทางการตลาดนั้นจะเป็นคาถามแบบ
การเลือกคาถามที่ถูกต้องที่สุด (Multiple Choice) คาถามหลายคาตอบ (Check Box)
4.5 ผลการวิจัย
4.5.1 ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ
จากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 คน สามารถระบุประเด็นที่น่าสนใจ
ได้ออกมาดังนี้
1. ชอบช่องทางที่มีขั้นตอนง่ายและยังชินกับการซื้อขายกับคนอยู่
กลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 คน มีความคิดเห็นในประเด็นนี้ไปในทางเดียวกันทั้งหมด
เนื่องจากยังติดกับการสื่อสารหรือขอการแนะนากับคนอยู่ยังต้องการการแนะนาจากคนอยู่ โดยเฉพาะ
กลุ่มที่อยู่ในกลุ่มคน Baby Boom และ Gen X นอกจากนี้นกลุ่มนี้ยังชอบและอยากให้มีขั้นตอนการ
ซื้อสินค้าที่ง่ายโดยเฉพาะช่องทางการจ่ายเงินผ่านการโอนและการเก็บเงินปลายทาง
Ref. code: 25636202031412PJR
22
2. ชื่นชอบสินค้าที่เกิดจากการรีไซเคิลมากที่สุด
ในประเด็นสิ นค้า ที่เป็น มิตรแบบไหนที่ลูกค้าเข้าถึงและเข้าใจมากที่สุด คือ
สินค้ารีไซเคิล เนื่องจากสามารถช่วยลดปัญหาได้ดีโดยเฉพาะสินค้าที่มีการรีไซเคิลมาจากขยะพลาสติก
3. ยิ น ดี ที่ จ ะลองใช้ ง านช่ อ งทางการจั ด จ าหน่ า ยสิ น ค้ า แฟชั่ น ที่ เ ป็ น มิ ต รกั บ
สิ่งแวดล้อมออนไลน์
ทุกคนนั้นยินดีที่จะทดลองใช้และมีความเห็นตรงกันว่าอยากจะให้มีหรือถ้ามีก็
จะลองเข้ามาใช้งานโดยมีเหตุผลที่คล้าย ๆ กันว่า สินค้าประเภทนี้ในปัจจุบันยังมีน้อย ถึงแม้ว่าจะเริ่ม
มีหลาย ๆ องค์กรเริ่มหันมาใช้วัสดุ บางส่วนที่เป็นวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่ก็มักจะมี
รูปแบบเรียบง่ายหรือไม่มีสินค้าให้เลือกหลากหลาย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างนั้น ก็ยินดีที่จะจ่ายเงินมากขึ้น
เพื่อให้ได้สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแทนการใช้แทนสินค้าธรรมดา แต่ในกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ
Gen Y นั้น ยอมจ่ายเงินมากขึ้นกับสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ไม่สูงเท่ากลุ่มคน Gen X และ
Baby Boom
4. นอกจากสินค้าแฟชั่นแล้วนั้น อยากให้มีสินค้าอื่นด้วยนอกจากสินค้าแฟชั่น
มีหนึ่งในกลุ่มผู้สัมภาษณ์ได้เสนอความเห็นว่า นอกจากช่องทางการจัดจาหน่าย
ที่เป็นสินค้าแฟชั่นแล้วอยากให้มีจาหน่ายสินค้าอื่น ๆ หรือมีกิจกรรมทางสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ในช่องทาง
การจัดจาหน่ายด้วย
4.5.2 ผลการวิจัยเชิงปริมาณ
หลังจากที่ได้ทาการเก็บข้อมูลผ่านการทาแบบสอบถามออนไลน์แล้วนั้น สามารถ
สรุปผลการวิจัยในประเด็นต่าง ๆ โดยการแบ่งประเด็นตามส่วนผสมทางการตลาด 4P ผ่านการคัดกรอง
ข้อมูลเบื้องต้น 2 คาถาม ผ่านผู้ร่วมทาแบบสอบถามทั้งหมด 400 คน ตามตารางที่ 4.1 และตารางที่
4.2 ตัวผู้เข้าร่วมทาแบบสอบถามนั้น มีถึง 99.5% ที่มีพฤติกรรมในการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์
และรวมแล้วมีคนเคยซื้ อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้วหรือสนใจที่จะซื้อรวมกันสูงถึง 394 คน
หรือคิดเป็น 98.5% ของผู้ที่สนใจสินค้าทั้งหมด
ตารางที่ 4.1
ประสบการณ์ของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อช่องทางการซื้อขายออนไลน์
เคยเลือกซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์
จานวน
เคย
398
ไม่เคย
2
สัดส่วน
99.5%
0.5%
Ref. code: 25636202031412PJR
23
ตารางที่ 4.2
ประสบการณ์และความเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสินค้าสิ่งแวดล้อม
ความเห็นต่อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
จานวน
เคยซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
256
สนใจซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
138
ไม่สนใจซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
6
สัดส่วน
64%
34.5%
1.5%
4.5.2.1 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง
ผู้ตอบแบบสอบถามมีทั้งหมด 400 คน โดยมีถึง 394 คน ที่มีความสนใจ
โดยในหมู่ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีความสนใจในสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้น ได้มีส่วนประกอบ
ดังตารางที่ 4.3, 4.4 และ 4.5 ซึ่งสามารถสรุปข้อมูลออกมาได้ดังนี้ ประชากรหญิง 210 คน ชาย 169
คน LGBTQ 15 คน โดยคิดเป็นสัดส่วน 53.29% 42.89% และ 3.82% ตามลาดับ มีช่วงอายุที่ต่ากว่า
25 ปี 75 คน 25-30 ปี 142 คน 31-40 ปี 116 คน 41-56 ปี 61 คน คิดเป็นสัดส่วน 19.04% 36.04%
29.44% และ 15.48% ตามลาดับ และกลุ่มประชากรมีรายได้ต่ากว่า 20,000 บาท 75 คน 25-30 ปี
142 คน 31-40 ปี 116 คน 41-56 ปี 61 คน โดยคิดเป็นสัดส่วน 21.83% 39.59% 22.84% และ
15.74% ตามลาดับ
ตารางที่ 4.3
ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง (เพศ)
เพศ
หญิง
ชาย
LGBTQ
จานวน
210
169
15
สัดส่วน
53.29%
42.89%
3.82%
ตารางที่ 4.4
ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง (อายุ)
อายุ
ต่ากว่า 25 ปี
25-30 ปี
31-40 ปี
41-56 ปี
จานวน
75
142
116
61
สัดส่วน
19.04%
36.04%
29.44%
15.48%
Ref. code: 25636202031412PJR
24
ตารางที่ 4.5
ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง (รายได้เฉลี่ย)
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน
น้อยกว่า 20,000 บาท
20,000 – 40,000 บาท
40,000 – 60,000 บาท
60,000 - 80,000 บาท
จานวน
86
156
90
62
สัดส่วน
21.83%
39.59%
22.84%
15.74%
4.5.2.2 ข้อมูลส่วนประสมทางการตลาด
(1) ด้านผลิตภัณฑ์ (Product)
ผลจากการศึกษา พบว่า สินค้าแฟชั่นที่ผู้บริโภคเลือกบริโภคสูงที่สุดใน
ช่องทาง Online คือ สินค้าประเภทเสื้อผ้าหรือชุดต่าง ๆ ดังตารางที่ 4.6 ที่มีการเลือกที่ 155 คน
รองลงมาคือ กระเป๋า 86 คน เครื่องประดับเป็นอันดับ ที่ 3 จานวน 75 คน ชุดชั้นใน 53 คน และ
รองเท้า 20 คน และประเด็นที่น่าสนใจที่เป็นตัวที่ทาให้สามารถให้ความสาคัญกับแบบของสินค้าที่จะ
นามาจั ดจาหน่ ายนั่ นก็ คือ วัตถุป ระสงค์ในการซื้อสินค้า โดยวัตถุประสงค์ที่กลุ่ มเป้าหมายนั้น ให้
ความสาคัญมากที่สุดคือ ซื้อเพื่อใส่ไปทางาน รองลงมาการใส่เพื่อเป็นชุดลาลอง ออกงานเป็นอันดับ ที่
3 และเพื่อการท่องเที่ยวน้อยที่สุด ดังภาพที่ 4.1 ส่วนผสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์
ตารางที่ 4.6
ผลสารวจประเภทของผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคมีความต้องการในช่องทางการจัดจาหน่าย
ประเภทสินค้าแฟชั่น
จานวน
เสื้อผ้า
155
กระเป๋า
86
เครื่องประดับ
75
ชุดชั้นใน
53
รองเท้า
20
Ref. code: 25636202031412PJR
25
ภาพที่ 4.1 แสดงการเรียงลาดับความถี่ของโอกาสในการซื้อเสื้อผ้า
(2) ด้านราคา (Price)
จากการดาเนินการศึกษาส่วนผสมทางการตลาดด้านราคานั้น แสดงให้
เห็นจากภาพที่ 4.2 ว่าช่วงราคาที่ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าต่อชุดมากที่สุด นั้นจะอยู่ในช่วง 1,000 –
1,999 บาท ที่สูงถึง 44.2% และมูลค่าที่สูง 2,000 – 3,000 บาท มีถึง 9.9%
ภาพที่ 4.2 แสดงสัดส่วนของมูลค่าที่ผู้บริโภคเลือกซื้อต่อชุด
(3) ด้านช่องทางการจัดจาหน่าย (Place)
ข้อมูล ที่ได้จากการทาการวิจัยซึ่ง จะช่ว ยให้ ส ามารถออกแบบรูปแบบ
เว็บไซต์ได้ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ามากขึ้น นั้นจะพบว่า ลักษณะการแบ่งหมวดหมู่ ตามตารางที่ 4.7 นั้น
การแบ่งตามชนิดของเสื้อผ้ายังเป็นการแบ่งที่ผู้บริโภคนั้น เลือกให้เป็นการแบ่งที่ง่ายต่อการใช้งานที่สุด
และรูปแบบการวางสินค้าที่ผู้บริโภคนั้น มีแนวโน้มชอบมากที่สุดจะเป็นตามผลจากแบบสอบถามตาม
ตารางที่ 4.8 ที่การวางรูปแบบที่เน้นรูปภาพเป็นหลักโดยมีรายละเอียดเล็กน้อยอยู่ข้างใต้ภาพ โดย
Ref. code: 25636202031412PJR
26
รูปแบบที่มีข้อมูลจานวนมาก ๆ นั้น กลุ่มตัวอย่างเลือกรูปแบบนี้เพียง 14.21% และวิธีการชาระเงินที่
ผู้บริโภคเลือกเป็นประเด็นการวิจัยที่น่าสนใจจากตอนแรกที่มีการคาดการก่อนการทาแบบสอบถามมี
การคาดการว่าจะเป็นการชาระเงินผ่านบัตรหรือช่องทาง Mobile Banking และการชาระเงินปลายทาง
แต่ผลปรากฏว่าช่องทางที่ได้รับการตอบรับที่ดีที่สุดกลับเป็นช่องทางที่ทาการโอนเงินแล้วยืนยันผ่าน
ตัวพนักงานของทางร้าน และรองลงมาคือ ช่องทาง ผ่านตัวกลางเช่น TRUE WALLET ตามภาพที่ 4.3
ตารางที่ 4.7
ผลสารวจลักษณะการแบ่งหมวดหมู่สินค้าที่ลูกค้าต้องการ
ลักษณะการแบ่งหมวดหมู่ของสินค้า
จานวน
ชนิดเสื้อผ้า
153
การแบ่งตามจุดประสงค์การซื้อ
111
ตาม Style
111
สี
19
ตารางที่ 4.8
ผลสารวจลักษณะการจัดวางสินค้าที่ลูกค้าชอบ
แบบการจัดวางสินค้า
สัดส่วน
38.83%
28.17%
28.17%
4.82%
จานวน
187
สัดส่วน
47.46%
151
38.32%
56
14.21%
Ref. code: 25636202031412PJR
27
ภาพที่ 4.3 มุมมองของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อช่องทางการชาระเงินผ่านการซื้อสินค้าออนไลน์
(4) ด้านการตลาด
จากการศึกษาทางด้านการตลาด พบว่า ประเด็นการซื้อซ้าของสินค้า
ประเภทเสื้อผ้านั้น ช่วงความถี่ที่น่าสนใจตามตารางที่ 4.9 ที่ 3 สัปดาห์ – 1 เดือน ครั้งที่มีจานวนกลุ่ม
ตัวอย่างถึง 192 คน หรือ 48.73% และจากการสอบถามการทาการตลาดเชิงสิ่งแวดล้อมที่ทาให้
ลูกค้านั้น สนใจมากที่สุดคือ การแสดงทรัพยากรของลูกค้าทุกคนที่ได้ช่วยลดและเป้าหมายรวมเพื่อ
สาหรับการทากิจกรรมเพื่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อมเมื่อมียอดขายสินค้ ารวมของลูกค้าทุกคนครบตามที่
กาหนด และในส่วนของโปรโมชั่นที่ทาให้ลูกค้านั้น สนใจอีกอย่างก็คือ การลดราคาสินค้าตามปริมาณ
ทรัพยากรธรรมชาติที่ลูกค้าได้ช่วยไว้
จากผลที่ได้รับนี้แสดงให้เห็นว่าการจัดกิจกรรมทางการตลาดที่อยู่ในช่วง
3 สัปดาห์ – 1 เดือน เป็นความถี่ของการทาการตลาดที่ไม่มากหรือน้อยเกินไปและการทาการตลาดที่
ผลักดันให้ลูกค้าเห็นถึงคุณค่าของทรัพยากร ก็ได้รับการยอมรับมากพอสมควรซึ่งจะเห็นได้จากภาพที่
4.4 ที่การทาการตลาดที่สะท้อนให้เห็นถึงมูลค่าของการซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดีอย่างไร
Ref. code: 25636202031412PJR
28
ตารางที่ 4.9
ผลสารวจความถี่ในการซื้อเสื้อผ้าใหม่ของกลุ่มเป้าหมาย
ความถี่ในการซื้อเสื้อผ้าใหม่
จานวน
มากกว่า 3 เดือนครั้ง
39
1 – 3 เดือนครั้ง
128
3 สัปดาห์ – 1 เดือนครั้ง
192
1 – 2 สัปดาห์ครั้ง
30
บ่อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง
5
สัดส่วน
9.9%
32.49%
48.73%
7.61%
1.27%
ภาพที่ 4.4 มุมมองของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการทาการตลาดสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
Ref. code: 25636202031412PJR
29
บทที่ 5
กลยุทธ์ทางการตลาด
เนื่ อ งจากธุ ร กิ จ สิ น ค้ า แฟชั่น เป็น ธุ ร กิจ ที่ มี ตั ว เลื อ กในตลาดเป็ นจ านวนมาก ดั ง นั้ น
การทาการตลาดเพื่อสร้างให้เห็นถึงความแตกต่างของสินค้าจึงเป็น สิ่งที่สาคัญอีก ทั้งสินค้าที่เป็นมิตร
กับสิ่งแวดล้อมไม่สามารถสื่อสารคุณค่าของมันได้ด้วยคุณสมบัติของสินค้าเอง ดังนั้น การทาการตลาด
ที่ช่วยสื่อสารคุณค่าของสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจึงสาคัญเป็นอย่างยิ่ง
5.1 การแบ่งส่วนการตลาด (Market Segmentation)
ในการแบ่งส่วนการตลาดของธุรกิจช่องทางการจัดจาหน่ายสินค้า Fashion ที่เป็นมิตรต่อ
สิ่ ง แวดล้ อ ม สามารถแบ่ ง ส่ ว นทางการตลาดโดยการอ้ า งอิ ง ชื่ อ กลุ่ ม เป้ า หมายจากบทความของ
Brandinside (2563) ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้
5.1.1 กลุ่ม “สายกรีนตัวแม่”
โดยกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่คอยหาผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ใช้อยู่เป็นประจาอยู่แล้ว และเนื่องจากว่าสินค้า Eco-Friendly นั้น โดยปกติจะมีราคาสูงกว่าสินค้า
ทั่วไป จึงทาให้คนที่จะซื้อสินค้าเหล่านี้ได้เป็นประจานั้น ต้องเป็นกลุ่มคนที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนสูง
หรือมีความมั่นคงทางการเงินซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นกลุ่มคนที่อยู่ใน Gen X และกลุ่ม Baby Boom ที่
มีครอบครัวหรือมีชีวิตที่มั่นคงแล้ว โดยคนกลุ่มนี้ จะตระหนักถึงปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น
เป็นอย่างดี ทั้งจากทางตรงที่ในปัจจุบันจะเห็นการเปลี่ ยนแปลงจากภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมที่
เปลี่ยนแปลงไปมากจากอดีตที่ผ่านมา หรือจากสมาชิกครอบครัวโดยเฉพาะจากลูก ๆ ที่ต้องได้รับ
ผลกระทบจากปัญหาเหล่านี้ในอนาคตจึงทาให้กลุ่มคนเหล่านี้มักจะคอยหา บริโภค และยินดีที่จะ
จ่ายเงินในสินค้าที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
5.1.2 กลุ่ม “กรีนตามโอกาส”
เป็นกลุ่มที่ตระหนักถึงปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมดีอยู่แล้วและยินดีที่จะบริโภค
สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเช่นกันแต่สิ่งที่แตกตากของกลุ่มนี้ คือ การที่กลุ่มเป้าหมายนี้จะไม่ได้
คอยหาผลิตภัณฑ์ที่เป็น Eco Friendly อยู่ตลอดเวลาแต่จะบริโภคตามโอกาส และมีความเป็นไปได้ว่า
จะบริโภคมูลค่าไม่สูงมากเนื่องจากยังติดในเรื่องของความมั่นคงทางด้านการเงิน หรือรูปแบบการใช้
ชีวิตเดิม ๆ โดยมันจะเป็นกลุ่มที่อยู่ในช่วงวัย Gen Y และ Gen Z ตอนต้น เพราะเนื่องจากว่ากลุ่มคน
Ref. code: 25636202031412PJR
30
เหล่านี้ เป็ น กลุ่ มที่จ ะได้รับ ผลกระทบจากปัญหาทางด้านสิ่ งแวดล้ อมโดยตรงทั้งในปัจจุบันและใน
อนาคตด้วย จึงเป็นเหตุที่ทาให้คนกลุ่มนี้ยังบริโภคสินค้าที่มีลักษณะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอยู่
5.2 กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (Market Targeting)
จากการที่ได้ศึกษาตลาดในเรื่องของประสบการณ์ พฤติกรรม ความต้องการ และข้อมูล
ประชากรศาสตร์ต่าง ๆ ของผู้ที่มีความสนใจในสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทั้งจากทางข้อมูล
ปฐมภู มิ แ ละข้ อ มู ล ทุ ติ ย ภู มิ จึ ง แสดงให้ เ ห็ น ว่ า กลุ่ ม เป้ า หมายที่ น่ า สนใจนั้ น สามารถก าหนด
กลุ่มเป้าหมายหลักและเป้าหมายรองได้ดงั นี้
5.2.1 กลุ่มเป้าหมายหลัก (Primary Target)
กลุ่ม สายกรีนตัวแม่ โดยลูกค้ากลุ่มเป้าหมายหลักนี้จะเป็นกลุ่มที่มีความรักและ
ความเข้าใจในตัวธรรมชาติ มักจะสนใจในการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ หรือ กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
กับการฟื้นฟูธรรมชาติและเลือกที่จะใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นมิตรต่อธรรมชาติแทนการใช้ผลิตภัณฑ์
ทั่วไป มีอายุ 38 ปีขึ้นไป และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,000 บาท ขึ้นไป เป็นกลุ่มที่มีความชื่นชอบ
สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นพิเศษ รวมถึงมีความพร้อมในการจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าที่แพงกว่า
ปกติเพื่อต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
5.2.2 กลุ่มลูกค้าเป้าหมายรอง (Secondary Target)
กลุ่ม สายกรีนตามโอกาส โดยลูกค้ากลุ่มเป้าหมายรองนี้เป็นกลุ่มเป้าหมายที่มี
อายุ 21-37 ปี และมีรายได้ 20,000 บาท ขึ้นไป เป็นกลุ่มที่มีความเข้าใจถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็น
อย่างดี มีความพร้อมที่จะร่วมแก้ปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมตามกาลังของตน หรือพร้อมที่จะบริโภค
สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามโอกาสที่มี
5.3 ตาแหน่งทางการตลาด (Positioning)
การวางตาแหน่งทางการตลาดของ Green Cap นั้น จะเป็น Multi Brand Store ของนักช้
อปสายรักษ์โลกที่รวบรวมสินค้าทางด้าน Fashion ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเข้าไว้ด้วยกัน ที่ให้ความรู้สึก
เหมือนเป็นคอมมูนิตี้ของกลุ่มคนที่อยากจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยแก้ไขปัญหาโลกร้อนที่เกิดขึ้น เป็นแหล่ง
เรียนรู้และเป็นแหล่งรวมตัวสาหรับคนที่มีความต้องการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น
Ref. code: 25636202031412PJR
31
5.4 เป้าหมายทางการตลาด (Marketing Objective)
5.4.1 เป้าหมายระยะสั้น
1. การสร้ า งช่ อ งทางการจั ด จ าหน่ า ยนี้ ใ ห้ เ ป็ น ที่ รู้ จั ก ในหมู่ ผู้ บ ริ โ ภคที่ เ ป็ น
กลุ่มเป้าหมายหลักและกลุ่มเป้าหมายรอง จากการทาการตลาดผ่านสื่อการตลาด Online ภายใน 3 ปีแรก
2. การสร้างความน่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับจากทั้งฝั่งร้านค้าและลูกค้าที่
เข้ามา
3. การสร้างชุมชนแหล่งแรกเปลี่ยนความรู้ของทั้งฝั่งร้านค้า และฝั่งกลุ่มเป้าหมาย
ผ่านกิจกรรมทางด้านสิ่งแวดล้อมที่จัดขึ้น
5.4.2 เป้าหมายระยะยาว
1. การเพิ่ ม จ านวนร้ า นค้ า และเครื อ ข่ า ยของกลุ่ ม คนที่ ต้ อ งการร่ ว มกั น ช่ ว ย
แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
2. ขยายธุรกิจกลุ่มสินค้าและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ นอกเหนือจากผลิตภัณฑ์แฟชั่น
และการมุ่งสู่การเป็นช่องทางการจัดจาหน่ายสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ผู้บริโภคนึกถึง
5.5 Brand
5.5.1 Brand Attributes
Safety สื่อถึงการเป็นช่องทางการจัดจาหน่ายสินค้าที่มีความปลอดภัยทั้งจาก
การซื้อขาย อีกทั้งยังปลอดภัยกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
Variety สื่อถึงการเป็นช่องทางการจัดจาหน่ายที่มีความหลากหลาย ครบครันใน
สินค้าหมวดแฟชั่น และจากหลากหลาย Brand ซึ่งทาให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อได้อย่างเพลิดเพลิน
Accessible สื่อถึงการเข้าถึงร้านค้าได้อย่างง่ายดายไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็สามารถ
เลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้
Easy Use สื่อถึงการใช้งานที่ง่ายไม่ซับซ้อนตามความเคยชินของผู้บริโภค ไม่ว่า
จะเป็นหน้าการจัดวาง ระบบการซื้อขาย
5.5.2 Brand Benefits
Eco-Friendly หมายถึง การเป็นแหล่งรวมสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเข้าไว้
ด้วยกัน ไม่แต่เพียงเท่านี้ ยังเป็นออนไลน์คอมมูนิตี้ที่รวบรวมกลุ่มคนที่รักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มี
แนวคิดเพื่อความยั่งยืนเข้าไว้ด้วยกันอีกด้วย
Ref. code: 25636202031412PJR
32
Simple หมายถึง การเป็นช่องทางจัดจาหน่ายที่มีสินค้ารูปแบบที่เรียบง่าย เข้าถึง
และสามารถใช้งานได้เหมาะกับชีวิตประจาวัน
High Quality หมายถึง สินค้าทุกชิ้นที่อยู่ในช่องทางการจัดจาหน่ายนี้ได้ผ่านการ
คัดสรรทั้งคุณภาพ และคุณสมบัติของวัตถุดิบเพื่อให้ลูกค้าทุกคนมั่นใจว่าการเลือกซื้อสินค้าในช่องทาง
นี้จะเป็นการบริโภคที่ยั่งยืนจริง ๆ
Save หมายถึง การเป็นช่องทางการจัดจาหน่ายที่ถูกออกแบบมาให้ประหยัด
พลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด
Special Gift หมายถึง การที่ได้ส่งต่อคุณค่าที่ดีที่สุดหรือความยั่งยืนให้กับผู้คน
โลก และ อนาคต
5.5.3 Brand Values
Social Image หมายถึง การส่ง เสริม ภาพลัก ษณ์ที่ดีทั้ง การสวมใส่เ สื้อ ผ้า
เครื่ องประดับ และการเป็นผู้ให้
Sustainability หมายถึง ความยั่งยืนจากการซื้อหรือการบริโภคสินค้าที่เป็นมิตร
กับสิ่งแวดล้อม
Proud หมายถึง การที่ในทุกครั้งที่ลูกค้าได้เข้ามาเลือกซื้อสินค้าในช่องทางการ
จัดจาหน่ายนี้ ลูกค้าไม่ได้เพียงแต่จะได้สินค้าที่ดีมีคุณภาพกลั บไป แต่ทุกคนจะยังได้รับความรู้สึกที่ดี
และความภาคภูมิใจจากการเลือกบริโภคสินค้าที่มีอยู่
5.5.4 Brand Personality
Warmth หมายถึง บุคลิกของคนที่มีความอบอุ่น
Friendly หมายถึง บุคลิกของคนที่เป็นกันองและเข้าถึงง่าย
Good Image หมายถึง คนที่มีบุคลิกที่เป็นคนดี และดูดี
5.5.5 Brand DNA
สาหรับการเป็นช่องทางการจัดจาหน่ายสินค้าแฟชั่น นั้น การสร้างความเชื่อถือ
ความมั่น ใจ และเครื อข่าย ทั้ง จากฝั่ งลูกค้าและร้านค้าเป็นเรื่องที่สาคัญเป็นอย่างมาก นอกจากนี้
ร้านค้ายังต้องสร้างความแตกตากที่โดดเด่นและเข้าถึงผู้คนได้ง่ายเพื่อให้ผู้บ ริโภคนั้น เข้าถึงแก่นและ
ความต้องการจริง ๆ ของร้านค้าได้ จึงได้ทาการกาหนดคา 3 คา ที่สื่อถึงตัว Brand DNA ได้ตามการ
วิเคราะห์จากภาพที่ 5.1 คือ Friendly (การสร้างความเชื่อใหม่ว่าการอนุรักษ์ธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมนั้น
ไม่ได้ยากหรือซับซ้อน) Variety (การเป็นแหล่งซื้อขายสินค้าที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่มีความ
หลากหลายของสินค้ารูปแบบเพราะการอนุรักษ์ธรรมชาติ นั้น ไม่ได้เป็นหน้าที่ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
แต่เป็นหน้าที่ของคนทุกคน) และ Sustainability (การมุ่งเป้าสู้ความยั่งยืนไม่ได้เพียงแต่เป็นช่อง
ทางการจัดจาหน่ายสินค้าเท่านั้น แต่เป็นคอมมูนิตี้ที่ผลักดันให้การรักษาสิ่งแวดล้อมนั้น ไม่ได้เป็นเพียง
Ref. code: 25636202031412PJR
33
เทรนที่มาแล้วไป แต่เป็นสิ่งที่ทุกคนจะทาจนเป็นวิถีชีวิตปกติในที่สุด) เพื่อที่จะนาไปเป็นแนวทางและ
ปรับใช้กับการทาธุรกิจและการตลาด หรือต่อยอดสู่ธุรกิจแบบอื่นในอนาคตต่อไป
ภาพที่ 5.1 Brand DNA ของ Green Cap
5.5.6 ตรายี่ห้อ (Brand Name)
Green หรือสีเขียว เป็นสีที่สื่อถึงธรรมชาติ
Cap หมวกมักจะถูกเปรียบเทียบเสมือนหน้าที่หรือบทบาทที่คนเราต้องสวมไว้
Green Cap จึงเปรียบเสมือนหน้าที่ของคนเราที่ต้องเข้าใจและรับผิดชอบต่อการ
กระทาของตนเองไม่ให้ไปเบียดเบียนธรรมชาติและส่งมอบธรรมชาติที่ดีให้กับคนรุ่นต่อ ๆ ไป ดังนั้น
ชื่อแบรนด์ Green Cap จึงต้องการสื่อว่าทุกครั้งที่เข้ามาเลือกซื้อสินค้าในช่องทางนี้ ลูกค้าสามารถ
ภูมิใจได้เลยว่าตนกาลังมีบทบาทในการช่วยให้ธรรมชาติดีขึ้นอยู่
5.5.7 ตราผลิตภัณฑ์ (Brand Logo)
ภาพที่ 5.2 ตราผลิตภัณฑ์
Ref. code: 25636202031412PJR
34
โลโก้หรื อรู ปสั ญลั กษณ์ของแบรนด์ตามภาพที่ 5.2 ออกแบบมาจากการผสม
ระหว่างรูป (Symbol) และชื่อของแบรนด์ (Typography) เข้าไว้ด้วยกันโดยการใช้ลายเส้นไม่ซับซ้อน
และรูปแบบที่ดูเป็นมิตรเพื่อให้เข้าถึงได้ง่าย
ซึ่งตัวรูปนั้น สื่อได้ 2 อย่าง หมวก สื่อถึงหน้าที่และบทบาทของผู้สวม และเต่า
เป็นสัญลักษณ์ของปัญหามลภาวะขยะที่เกิดขึ้นในทะเล นอกจากนี้ เต่ายังเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนยาวเป็น
สัญลักษณ์ของความยั่งยืนอีกด้วย และการใช้สีเขียวเข้ม เพื่อสื่อถึงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ
เพื่อให้สีนั้น ตัดและมีความโดดเด่นกับพื้นหลังสีขาวมากขึ้นอีกด้วย
5.5.8 Brand Positioning Statement
เป็น Online Multi Brand Store ที่มุ่งเน้นในสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เป็นหลัก โดยมีความหลากหลายและเข้าถึงง่ายของสินค้าเป็นจุดเด่น
5.5.9 Perceptual Map
ภาพที่ 5.3 กราฟแสดงจุดยืนของตัวธุรกิจ
จาก Perceptual Map Green Cap นั้น จะใช้เกณฑ์ด้านความหลากหลายของ
สินค้าและความชัดเจนของจุดยืนของสินค้าที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาเปรียบเทียบกับคู่แข่ง
ซึง่ ได้แก่ LOOKSI UNIQLO H&M OTOP โครงการหลวงดังภาพที่ 5.3
จากการเปรียบเทียบจะพบว่า เมื่อเปรียบเทียบ กับ LOOKSI ที่เป็นช่องทางการ
ขายสินค้า Fashion โดยเฉพาะจะมีความหลากหลายของสินค้ามากกกว่าเมื่อเปรียบเทียบ แต่ในทาง
Ref. code: 25636202031412PJR
35
กลับกัน LOOKSI ไม่ได้มีจุดยืนใด ๆ ต่อด้านสิ่งแวดล้อมเลย แต่เมื่อมาดู UNIQLO และ H&M จะเห็น
ได้ว่าแม้จะมีสินค้าที่หลากหลายก็ตาม แต่ยังมีแต่สินค้าของแบรนด์ตนที่มีสีรูปแบบไปในทางเดียวกั น
แม้ว่า H&M จะมีความหลากหลายมากกว่าแต่ก็มีไม่มาก ส่วนในด้านของจุดยืนที่มีต่อสิ่งแวดล้อมนั้น
ทั้งสองแบรนด์ก็ได้มีการออกจุดยืนต่อสิ่งแวดล้อมมาบ้าง โดยเฉพาะ H&M แต่ก็ยังไม่ได้มีความชัดเจน
ในส่วนนี้มากเท่าที่ควร และในส่วนของโครงการหลวง และ OTOP นั้น เป็นองค์กรที่สนับสนุนและมี
จุดยืนในด้านสิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างชัดเจน แต่ก็ไม่ได้มีความหลากหลายของสินค้ากลุ่มแฟชั่นเลยโดย
ส่วนใหญ่มักจะเน้นไปในส่วนของบริโภคมากกว่า
5.6 การกาหนดกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด
5.6.1 สินค้าและบริการ (Product and Service)
1. สินค้าที่ถูกแบ่งออกตามประเภท
1.1 เสื้อผ้า
1.2 เครื่องประดับ
1.3 หมวก
1.4 รองเท้า
1.5 กระเป๋า
2. สินค้าถูกแบ่งออกตามชนิดของวัตถุดิบรักษ์โลก
2.1 วัตถุดิบจากธรรมชาติ
การใช้วัสดุธรรมชาติแทนการใช้วัสดุสั งเคราะห์ที่มีส่ วนประกอบของ
พลาสติกที่มีราคาถูกนั้นจะช่วยให้การย่อยสลายของขยะเหล่านั้น รวดเร็วและเกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม
น้อยลงหลายเท่าตัวนอกจากวัตถุดิบแล้วกระบวนการผลิตที่ใช้เคมีในการผลิตเป็นจานวนมากก็จะ
ส่งผลเสียต่อธรรมชาติและชุมชนอีกด้วย
ภาพที่ 5.4 สัญลักษณ์ Plant Based Product
Ref. code: 25636202031412PJR
36
จากภาพที่ 5.4 แสดงสัญลักษณ์ Plant Based Product หรือสัญลักษณ์ที่
บ่งบอกว่าสินค้าชนิดนี้ เป็นสินค้าที่มีวัตถุดิบมากจากพืชแทนการใช้วัตถุดิบที่มาจากสัตว์เช่นหนังหรือ
การใช้พลาสติกที่ก่อผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม
ภาพที่ 5.5 สัญลักษณ์ Non-Chemical Production/ Less Chemical Production
จากภาพที่ 5.5 แสดงถึงสัญลักษณ์ Non-Chemical Production/ Less
Chemical Production หรือสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่าสินค้านี้เป็นสินค้าที่ไม่ใช้สารเคมีตลอดขั้นตอน
การผลิตหรือการลดจานวนการใช้สารเคมีลง ทั้งนี้จะดูตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตวัตถุดิบ จนถึงกระบวนการ
ผลิตของสินค้า
2.2 วัตถุดิบทดแทน
ในหมวดวัตถุดิบทดแทนก็เช่นเดียวกัน สามารถบ่งบอกได้อีกอย่างคือ
วัตถุดิบที่เกิดจากการนาพืชผ่านกระบวนการผลิตที่เพื่อทดแทนวัสดุต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น การใช้วัสดุ
สังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทดแทน
ภาพที่ 5.6 สัญลักษณ์ Bio-Plastic
จากภาพที่ 5.6 แสดงถึงสัญลักษณ์ Bio-Plastic หรือสัญลักษณ์ของ
พลาสติกที่สามารถย่อยสลายทีชีวภาพได้ โดยปัจจุบัน Bio-Plastic เริ่มเป็นที่นิยมในสินค้าบรรจุภัณฑ์
Ref. code: 25636202031412PJR
37
มากขึ้น เนื่องจาก Bio-Plastic ในปัจจุบันนั้น ได้พัฒนามาจนมีคุณสมบัติในการย่อยสลายผ่านการฝั ง
กลบภายในระยะเวลา 6 เดือนได้ ดังนั้น จึงเริ่มมีการใช้เส้นใยจากพลาสติกแบบนี้มาเริ่มผลิตเสื้อผ้า
เพราะมีคุณสมบัติที่กันน้าระบายเหงื่อได้ดี
2.3 วัตถุดิบจากการรีไซเคิล
ในปัจจุบันเสื้อผ้าที่ถูกผลิตจากการนาขวดมารีไซเคิล เริ่มเป็นที่ได้รับการ
ยอมรับจากกลุ่มนักอนุรักษ์และประชาชนทั่วไป และเริ่มมีความแพร่หลายมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การ
นาวัสดุเหลือใช้มาผลิตเป็นสินค้าใหม่เป็นต้น
ภาพที่ 5.7 สัญลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่ถูกผลิตมาจากขวดพลาสติก
จากภาพที่ 5.7 แสดงถึงสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่าสินค้านั้น มีองค์ประกอบที่ถูกผลิต
จากขวดพลาสติกเก่า ตัวอย่างเช่น ในเสื้อยืด 1 ตัว จะใช้ขวดพลาสติกประมาณ 14 ใบ ในการรีไซเคิล
แล้วผลิตใหม่ โดยที่ยังคงคุณสมบัติความนุ่มใส่สบาย และระบายเหงื่อได้ดี
ภาพที่ 5.8 สัญลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่ถูกผลิตมาจากเศษผ้าเก่า
จากภาพที่ 5.8 แสดงถึงสัญลักษณ์ของการนาเสื้อผ้าเก่าหรือเศษด้ายเก่าหรือเศษ
ด้ายที่เหลือหลังจากผ่านการใช้งานในโรงงานนามาผ่านกระบวนการผลิตใหม่เพื่อทอเป็นผ้าผืนใหม่
ขึ้นมาอีกครั้ง
Ref. code: 25636202031412PJR
38
5.6.2 ราคา (Price)
Online Market Store จะได้รับรายได้มาจากการหัก % ของยอดขายร้านค้าที่
เข้าร่วมกับทางบริษัท นอกจากนี้ ยังมีรายได้จากการให้บริการอานวยความสะดวกกับร้านค้าโดยการ
รับบริการจัดเก็บและจัดส่งให้แก่ร้านค้า รวมถึงการจัดเก็บค่าโฆษณาผ่านช่องทางการจัดจาหน่ายอีก
ด้วย
5.6.2.1 รูปแบบรายได้ (Revenue Model)
1. รายได้จากการจัดเก็บคิดเป็น % ของยอดขายที่เกิดขึ้นรายได้จาก
ส่วนนี้จะนับเป็นรายได้หลักที่เกิดขึ้นและนับเป็นรายได้สาคัญของบริษัท ในรูปแบบของกระแสเงินสด
เพื่อนามาบริหารจัดการค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น การดาเนินการและการดูแลระบบของร้านค้า
2. รายได้ จากการสนับ สนุนร้ านค้าเป็นรายได้ที่เ กิดจากช่องทางการ
สนับสนุนร้านค้าออนไลน์ที่เข้ามาร่วมและไม่ได้เข้าร่วมกับช่องทางการจัดจาหน่ายสินค้ากับทางบริษัท
ไม่ว่าจะเป็นบริการการจัดเก็บสินค้า หรือ บริการการดาเนินการจัดส่งตามคาสั่งซื้อที่เข้ามา นอกจากนี้
แล้วหากร้านค้านั้น มีความต้องการผลิตเสื้อผ้าที่ทามาจากวัส ดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทางบริษัทก็มี
บริการจัดหาและตัดเย็บให้เช่นกัน
3. รายได้จากการเก็บค่าโฆษณาที่เกิดขึ้นภายในแพลตฟอร์ม นั้นจะเป็น
ส่วนสุดท้ายของช่องทางการจัดจาหน่ายนี้ที่คาดว่าจะเป็นช่องทางของรายได้ที่สาคัญในอนาคตเมื่อตัว
แพลตฟอร์มนั้น เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมแล้ว
5.6.2.2 กลยุทธ์ราคา (Price Strategy)
โดยในช่ว งแรก ทางบริษัทจาเป็นต้องดึงและสร้างเครือข่ายร้านค้าให้
ได้มากที่สุด ดังนั้น ในช่วงแรกการเข้ามาขายสินค้าในช่องทางนี้จะไม่มีค่าใช้จ่ายจากการขายสินค้า
เพื่อให้ร้านค้านั้น กล้าที่จะลองเข้ามาค้าขายกับ ช่องทางการขายนี้ โดยกระแสเงินสดที่เข้ามาช่วงแรก
จะเป็นจากการรับบริการอานวยความสะดวกกับร้านค้าหรือก็ คือ การเก็บค่าบริการการจัดเก็บและ
ดาเนินการจัดส่งสินค้าให้กับทางร้านค้าเป็นหลัก โดยค่าบริการจะถูกคานวณผ่าน 2 ส่วนด้วยกัน ส่วน
แรกจะเป็นค่าบริการในการแพ็คสินค้าซึ่งจะรวมทั้งค่าแรงและค่าบรรจุภัณฑ์เข้าด้วยกันแล้ว โดยราคา
นั้นจะเริ่มต้นที่ 15 บาท ต่อคาสั่งซื้อ รวมกับค่าจัดส่งตามจริงไม่มีการบวกเพิ่ม โดยทั้งนี้ ค่าจัดเก็บ
สินค้าจะเป็นการรวมไปกับค่าบริการการส่งสินค้าแล้วทั้งหมด
5.6.3 ช่องทางการจัดจาหน่าย (Place)
ช่องทางการจัดจาหน่ายหลัก เป็นหัวใจที่สาคัญที่สุดในการทาธุรกิจนี้ ซึ่งการ
ออกแบบช่องทางการจัดจาหน่ายให้ลูกค้าเข้าถึงง่ายไม่มีความซับซ้อนและมีความน่าเชื่อถือนั้น จะเป็น
ตัวที่ทาให้ลูกค้าเข้ามาเลือกซื้อสินค้าและร้านค้าก็จะเข้ามาเลือกขายสินค้าในช่องทางนี้ ดังนั้น จึงได้มี
การแบ่งประเด็นการออกแบบช่องทางการจัดจาหน่ายสินค้าเป็น 3 ส่วน ดังนี้
Ref. code: 25636202031412PJR
39
1. Interface Design
ภาพที่ 5.9 แสดงตัวอย่างรูปแบบการจัดวางรูปภาพในช่องทางการจัดจาหน่ายสินค้า
การแบ่งหมวดหมู่หน้าเว็บ จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ในหน้าเว็บไซต์
หน้าแรกนั้น ในส่วนหัวหรือส่วนที่อยู่บนสุดในส่วนของ Banner จะถูกวางสินค้าโดยการจัดเป็นชุด
ตามจุดประสงค์ของการซื้อ เช่น จากตัวอย่างของภาพนั้นจะเป็นการจัดเซ็ตสินค้าโดยตั้งให้เป็นหมวด
จุดประสงค์สาหรับการทางานดังภาพที่ 5.9
ภาพที่ 5.10 แสดงตัวอย่างรูปแบบการจัดวางรูปภาพสินค้า
Ref. code: 25636202031412PJR
40
และเมื่อเลื่ อนลงไปด้านล่ างในส่ วนที่ 2 ก็จะเป็นสิ นค้าแนะนาที่ถูกแบ่งตาม
ประเภทของสินค้า ตัวอย่างเช่น จากภาพด้านบนจะเป็นการแบ่งประเภทระหว่างชุดเดรสและเสื้อตาม
ภาพที่ 5.10
Filter
ภาพที่ 5.11 แสดงตัวอย่าง Filter ของร้านค้า
ในส่วนของ Filter จะมีการแบ่งออกเป็นดังภาพเพื่อให้ครบคลุมและสะดวก
กั บ การค้ น หาสิ น ค้ า มากที่ สุ ด ซึ่ ง หากหั ว ข้ อ ไหนที่ ลู ก ค้ า ไม่ ไ ด้ ใ ช้ ใ นการช่ ว ยหาก็ ส ามารถซ่ อ น
รายละเอียดไว้เพื่อให้ไม่สับสนในการหาสินค้าดังภาพที่ 5.11
Ref. code: 25636202031412PJR
41
รูปแบบการวางสินค้า
ภาพที่ 5.12 แสดงตัวอย่างการวางองค์ประกอบวางข้อมูลสินค้า
การจัดวางสินค้านั้นจะเป็นการนารูปสินค้าที่ใส่คู่กับนางแบบและนายแบบ
โดยการลงรายละเอียดในหน้าการจัดวาง จะมีระบุเพียงเล็กน้อย จะเน้นภาพเป็นหลัก โดยข้อความที่
ระบุจะมี ชื่อแบรนด์ ชื่อของชุด ราคา และ คอลเลคชั่น ตามลาดับตามภาพที่ 5.12
ภาพที่ 5.13 แสดงตัวอย่างรูปแบบการจัดวางข้อมูลของสินค้า
Ref. code: 25636202031412PJR
42
หน้าของสินค้านั้นจะมีการแสดงคุณลักษณะพิเศษของตัวสิน ค้าและบ่งบอก
ออกมาเป็นตัวเลข โดยตัวอย่างจากรูปด้านบนคือ ชุดเดรสที่ใช้ผ้าที่ผลิตจากการนาเศษผ้ามาผ่าน
กระบวนการผลิตใหม่ และตัวเลขและสัญลักษณ์สีน้าเงิน เป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงว่าหากลูกค้าเลือกที่
จะซื้อสินค้าชิ้นนี้จะเป็นการช่วยประหยัดทรัพยากรและช่วยลดมลพิษในอากาศ เมื่อเทียบกับการซื้อ
สินค้าที่มีการผลิตใหม่ทั้งหมดทุกขั้นตอน ดังตัวอย่างภาพที่ 5.13
2. Eco-System
ระบบสมาชิก การจัดเก็บข้อมูลของสมาชิก นั้น เป็นสิ่งที่สาคัญมากต่อการ
ดาเนินธุรกิจนี้ เนื่องจากว่าระบบสมาชิกจะเปรียบเสมือนพอร์ทของลูกค้าคนนั้น ว่าตั้งแต่เริ่มทาการ
ซื้อสินค้าในช่องทางของเราครั้งแรกจนถึงในปัจจุบัน ลูกค้าของเราได้ช่วยเหลือหรือรักษาสิ่งแวดล้อม
ไปได้มากน้อยแค่ไหนแล้วนั่นเอง ซึ่งจะมีความเกี่ยวเนื่องกับการทากิจกรรมทางด้านสิ่งแวดล้อมอีก
ด้วยในส่วนถัดไป
3. Payment Method ในส่วนของขั้นตอนการชาระเงินที่หลากหลายผ่าน
Outsource ที่มีความน่าเชื่อถือโดยจะมีลักษณะการชาระเงิน ดังนี้
- การตัดบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต
- การหักเงินผ่าน Mobile Banking /Internet Banking
- พร้อมเพย์
- ทรูมันนี่วอลเล็ต
- เคาน์เตอร์เซอร์วิส
- การเก็บเงินปลายทาง
5.6.4 การส่งเสริมการตลาด (Promotion)
การสร้างเครือข่ายของร้านค้าและลูกค้า นั้น เป็นสิ่งที่สาคัญที่สุดของการดาเนิน
ธุรกิจช่องทางการจัดจาหน่ ายนี้ เพราะปัจจัยหนึ่งที่จะทาให้มีลูกค้าเข้ามาเลือกสินค้าหรือมองว่าช่อง
ทางการจัดจาหน่ายสินค้าแฟชั่นนี้เป็นช่องทางที่น่าสนใจในการเลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมก็
คือ ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ที่มีหลายประเภทและหลายรูปแบบ ดังนั้น การทาการตลาดที่จะ
เกิดขึ้นนั้น จะมุ่งเป้าเพื่อการสร้างจานวนร้านค้าที่จะเข้ามาร่วมกับทางบริษัทเป็นหลัก และในส่วนของ
ลูกค้าจะเป็นการเน้นสร้างประสบการณ์ที่ดีและการทาให้ลูกค้า อยากจะชักชวนคนรู้จักเข้ามาใช้งาน
5.6.4.1 การสร้างการรับรู้ (Awareness)
การประชาสัมพันธ์นั้นจะเป็นการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทาง Online
เป็นหลัก โดยจะมีทั้งในส่วนของช่องทางการประชาสัมพันธ์ข่าวสารผ่านช่องทางของตัว เองและการ
ประชาสัมพันธ์ผ่านการโฆษณาและทากิจกรรมการตลาดผ่าน Influencer อื่น ๆ
Ref. code: 25636202031412PJR
43
SEO Marketing ของตัวเว็บไซต์และการทา Google Ad. จะทาให้
เว็บไซต์นั้น ถูกเห็นได้บ่อยมากยิ่งขึ้นโดยการสร้างบทความเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมคอยประชาสัมพันธ์ใน
เว็บไซต์นั้น ก็จะยิ่งทาให้ตัวเว็บไซต์มีทราฟฟิคเข้ามามากขึ้นเนื่องจากการหาข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมใน
ช่องทาง Google นั้น มีจานวนมากถึง 40,000 ครั้ง ภายในสัปดาห์เดียวในช่วงต้นปี 2564 ที่ผ่านมา
ถึงแม้ว่ากระแสสิ่งแวดล้อมนั้นจะถูกกระแสของโรคระบาดโควิด-19 มาแทนที่
นอกจาก Online Marketing ที่จะทาในช่วงแรกแล้ว ทางบริษัทจะร่วม
ทากิจกรรมทางการตลาด CSR ร่วมกับลูกค้าเพื่อเป็นการตอกย้าจุดยืนให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นโดยการทา
กิจกรรม CSR นั้นจะเป็นการเริ่มจากการบริจาคให้องค์กรทางด้านสิ่งแวดล้อมตามโอกาสต่าง ๆ ซึ่ง
หากหลังจากผ่านสถานะการณ์โควิด-19 ที่บริษัทมีความตั้งใจที่จะจัดกิจกรรม CSR อื่น ๆ อย่างเช่น
การปลูกป่า ปลูกปากการัง หรือการเก็บขยะตามแหล่งธรรมชาติ
5.6.4.2 การให้ความรู้ (Educate)
การให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานของช่องทางการจัดจาหน่าย รวมถึงข้อดี
และสิ่งที่ลูกค้าจะได้ สิ่งที่สิ่งแวดล้อมนั้น โดยเฉพาะกับการให้ความรู้เรื่องการเลือกบริโภคสินค้าว่า
หากเลือกบริโภคสินค้าแล้วสิ่งที่ได้กลับมานั้นจะคุ้มค่ามากแค่ไหน ไม่ใช่เฉพาะประโยชน์ที่ตัวลูกค้ านั้น
จะได้รับจากการทาการตลาด จากการให้ส่วนลดสินค้า หรือการเก็บคะแนนเพื่อรับสินค้าเท่า นั้น แต่
จากการบริโภคสินค้าเหล่านี้ จะก่อประโยชน์ให้กับสังคมในอนาคตอย่างมากมาย
5.6.4.3 การส่งเสริมการขาย (Sale Promotion)
จะมีการกาหนด Promotion รับส่วนลดราคาสินค้าสาหรับการสั่งซื้อ
สินค้าชิ้นแรกในร้านค้าเพื่อให้ลูกค้า สนใจที่จะร่วมหรือทดลองเข้ามาเลือกสินค้าจากช่องทางการจัด
จาหน่าย ซึ่งนอกจากการทา Promotion ในรูปแบบของส่วนลดเป็นตัวเงินแล้วในวันที่เป็นวันทาง
ศาสนาหรือวันที่มีความเกี่ยวเนื่องกับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ทางร้านค้าจะมีการจัดกิจกรรมการบริจาคเงิน
ตามจานวนยอดของการซื้อขายภายในวันนั้น
Ref. code: 25636202031412PJR
44
บทที่ 6
แผนการปฏิบัติการ
ในส่วนของการดาเนินการนั้น ตัวบริษัทจะต้องมีการติดต่อหรือการใช้บริการบริษัทที่
คอยสนับสนุนในเรื่องของการดาเนินการหลายอย่าง ไม่ว่าจะทั้งการดูแลระบบเว็บไซต์ การจัดส่ง
รวมถึงการจัดการภายในของพนักงานที่จะมีการดาเนินการให้บริการแก่ลูกค้าของบริษัท
6.1 ขั้นตอนการดาเนินงาน
เนื่องจากการดาเนินงานเป็นช่องทางการจัดจาหน่ายสินค้าทาง Online จะมีผู้เกี่ยวข้อง
หลายฝ่ายด้วยกัน โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ฝ่ายใหญ่ ๆ ได้แก่ ผู้เกี่ยวข้องฝ่ายที่ 1 ก็คือ ฝ่ายร้านค้า
หรือเจ้าของแบรนด์ที่เข้ามาขายในร้านค้า ฝ่ายที่ 2 ที่เกี่ยวข้องคือ ฝ่ายธุรกิจหรือตัวกลางที่เป็น ช่อง
ทางการจัดจาหน่ายที่มีหน้าที่ในการดาเนินการพัฒนาระบบการจัดจาหน่ายให้ลูกค้า และฝ่ายสุดท้าย
คือ ลูกค้าที่เข้ามาเลือกสินค้าภายในช่องทางการจัดจาหน่าย โดยการซื้อขายสินค้าในช่องทางออนไลน์
นั้นจะมีขั้นตอนการดาเนินงานต่าง ๆ ที่มากกว่าการซื้อขายตามปกติซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้
1. ลูกค้าทาการสั่งซื้อสินค้าและทาการกรอกรายละเอียดข้อมูลช่องทางการจัดส่ งสินค้า
และส่งข้อมูลผ่านระบบเข้ามาทางช่องทางการจัดจาหน่าย
2. ลูกค้าหลังจากที่ทาการสั่งซื้อสินค้าและใส่ข้อมูลการจัดส่งเสร็จแล้ว ก็จะเข้ามาสู่ช่อง
ทางการชาระเงิน โดยการชาระเงิน จะมีช่องทางการชาระเงินต่าง ๆ หลายช่องทางผ่านตัวกลางการ
เก็บเงินหรือการชาระเงินปลายทาง
3. หลั งจากที่ลู กค้าได้ทาการช าระเงินแล้ ว พนักงานก็จะเช็คคาสั่ งซื้อและสิ นค้าใน
คลังสินค้าเมื่อพนักงานทาการรวบรวมสินค้าตามใบคาสั่งซื้อเสร็จก็บรรจุสินค้าลงในบรรจุภัณฑ์เพื่อนา
ขนส่งต่อไป
4. และในทุก ๆ วันเวลาเที่ยง ทางบริษัทจะเรียกบริษัทขนส่งมารับสินค้าที่ทาการแพ็ค
เสร็จเรียบร้อยแล้ว และหลังจากนั้น ก็ส่งข้อมูลการสั่งซื้อต่อให้กับ ทางลูกค้า
5. และสุดท้ายทาการยืนยันการรับของจาก ทางลูกค้าเพื่อทาการผิดคาสั่งซื้อและหาก
ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นหรือลูกค้าต้องการคืนหรือเปลี่ยนสินค้า ทางลูกค้าจะต้องส่งสินค้ากลับคืนมาให้กับ
ทางบริษัทเองและเมื่อมีการยืนยันการรับของก็จะเป็นการจบกระบวนการหรือคาสั่งซื้อนั่นเอง
Ref. code: 25636202031412PJR
45
6.2 การพัฒนาเว็บไซต์
ในส่วนของการพัฒนาเว็บไซต์ จะเป็นการจ้างบริษัทเอาท์ซอร์สเป็นผู้พัฒนาระบบและ
เนื่องจากช่องทางการจัดจาหน่ายสินค้าในช่องทางการจัดจาหน่ายนี้เป็นช่องทางที่มีกิจกรรมการตลาด
ผ่านหน้าเว็บไซต์เป็นจานวนมากและเป็นหลัก รวมถึงระบบเองก็ต้องตอบรับกับการขายของต้องมี
ระบบรองรับการจัดการภายในร้านได้อย่างสะดวกสบายอีกทั้งรองรับช่องทางการจัดจาหน่ายสินค้าได้
ครอบคลุมตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ และหลังจากการออกแบบในครั้งแรกจบ ทางเว็บไซต์ก็จะต้องมีการ
พัฒนาต่ออย่างต่อเนื่องเพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้าในอนาคตให้มากขึ้นจึงมีความจาเป็นต้องเป็นบริษัทที่มี
บริการหลังการขายเพื่อช่วยในการพัฒนาเว็บไซต์ต่อไปในอนาคต
โดยการสร้ างเว็บ ไซต์ในการเริ่มต้น จะเริ่มจากการเลือกใช้รูปแบบร้านค้าออนไลน์
พื้นฐานก่อนโดยค่าใช้จ่ายในการสร้างเว็บไซต์ จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ โดยแพคเกจที่ได้เลือกนั้นจะเป็นชุดที่เหมาะสมกับการ
ทารูปแบบช่องทางการจัดจาหน่ายสินค้าออนไลน์ โดยราคาจะอยู่ที่ 25,000 บาท ตามภาพที่ 6.1
ภาพที่ 6.1 รายละเอียดและค่าใช้จ่ายในการออกแบบ
และในส่วนของค่าใช้จ่ายตัวเว็บไซต์ จะมีค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือน โดยที่จากการคานวณ
ถึงความคุ้มค่าและเหมาะกับการใช้งานแล้วนั้น จึงได้รูปแบบของเว็บไซต์ราคาอยู่ที่เดือนละ 3,600 บาท
Ref. code: 25636202031412PJR
46
ในปีแรก และเปลี่ยนเป็น 5,800 บาท ในปีที่ 2 ตามภาพที่ 6.2 เพื่อตอบสนองต่อการขยายตัวทาง
ธุรกิจแบบความเหมาะสมของข้อมูลที่ต้องใช้ในอนาคต
ภาพที่ 6.2 รายละเอียดและค่าใช้จ่ายในการเปิดเว็บไซต์
6.3 ระบบการชาระเงิน
ในส่วนของระบบชาระเงินนั้น ทางบริษัทจะใช้ตัวกลาง หรือ Payment Gateway ใน
การชาระเงินเพื่อความสะดวกสบายในการใช้งานและความหลากหลายทางการชาระค่าสินค้า ดังนั้น
การเลือกใช้ Payment Gateway จึงเหมาะสมกับช่องทางการจัดจาหน่ายนี้ โดยค่าบริการของ
Payment Gateway นั้น จะเก็บตามมูลค่าของยอดการสั่งซื้อตามแต่ละวิธีการใช้งานตามภาพที่ 6.3
ซึ่งนอกจากนี้ก็ยังมีบริการเก็บเงินปลายทาง หรือ COD กับบริษัทขนส่ง J&T Express
Ref. code: 25636202031412PJR
47
ภาพที่ 6.3 ค่าใช้จ่ายผ่านช่องทางการชาระเงินต่าง ๆ
6.4 การจัดหาร้านค้ามาเข้าร่วม
ในช่วงแรกก่อนที่จะเริ่มมีการดาเนินการเปิดช่องทางการจัดจาหน่ายสินค้าของบริษัท
ทางบริษัทจะทาการหาร้านค้าที่จะมาเข้าร่วมการขายกับบริษัทก่อนโดยการเลือกจากร้านที่เป็นกลุ่ม
ร้านค้าขนาดเล็กเข้าร่วมก่อนเป็นอันดับแรกเพื่อให้มีความหลากหลายทางสินค้าก่อนแล้วเมื่อหลังจาก
ที่มีจานวนร้านค้าที่เข้าร่วมมีจานวนมากขึ้นจึงเริ่มทาการหาร้านค้าที่มีชื่อเสี ยงเข้ามาร่วมกับร้านค้า
โดยในช่วงแรกนั้น การร่วมร้านค้าจะไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น จะเน้นเป็นการให้ทดลองขาย
ในช่องทางนี้ฟรีก่อนเพื่อให้ช่องทางการจัดจาหน่ายนั้น มีร้านค้าและลูกค้าเข้ามาเลือกสินค้าหรือ
บริการของบริษัทมากขึ้น
6.5 การจัดส่งสินค้า
การจัดส่งสินค้านั้นจะเป็นการเรียกบริษัทขนส่งมารับสินค้าที่คลังสินค้าหลังจากที่แพ็ค
สินค้าเสร็จแล้วโดยจะมีการตัดรอบการเรียกสินค้าส่งนั้น ในช่วงเวลา 11 นาฬิกา ของทุกวัน โดยผ่าน
บริษัท J&T Express เป็นหลัก โดยวัสดุที่ใช้ในการแพ็คสินค้า จะเป็นการใช้ถุงไปรษณีย์รักษ์โลกที่
สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติด้วยการฝังกลบ
Ref. code: 25636202031412PJR
48
ภาพที่ 6.4 ภาพตัวอย่างบรรจุภัณฑ์
6.6 อาคารสานักงาน
ในส่วนของการจัดแบ่งพื้นที่ในการดาเนินกิจการนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ
(1) คลังสินค้า เนื่องจากการดาเนินธุรกิจ นั้น จาเป็นต้องมีการจัดเก็บสินค้าจากหลาย
แหล่งหลายร้านค้าและหลายแบบ ดังนั้น การจัดเก็บสินค้าจะถูกแบ่งและแยกออกเป็นร้านค้าหรือแยก
ออกตามแบรนด์สินค้า โดยจะมีส่วนกลางของพื้นที่ในการแพ็คสินค้าเพื่อดาเนินการในการจัดส่งสินค้า
ต่อไป โดยในส่วนของคลังสินค้าจะใช้พื้นที่คิดเป็น 80% ของพื้นที่ทั้งหมด
(2) ส่ ว นส านั กงาน ในส่ ว นนี้ จ ะเป็นส่ ว นที่ดาเนินการทางการขายต่าง ๆ และระบบ
ภายในของบริษัท ซึ่งจะใช้พื้นที่ประมาณ 20% ของพื้นที่ทั้งหมดในการดาเนินการ
ซึ่งในส่วนของตาแหน่งที่ตั้งของอาคารที่ใช้ในการดาเนินการนั้น จะพิจารณาผ่านปัจจัย
หลาย ๆ ปัจจัยที่มีผลต่อการดาเนินงานโดยเฉพาะการจัดส่งสินค้าที่ต้องมีตาแหน่งที่อยู่ไม่ไกลจากช่อง
ทางการขนส่งต่าง ๆ เพื่อลดต้นทุนในการจัดส่งไปได้ ประกอบกับทางบริษัทมีอาคารพาณิชที่อยู่ใน
ตาแหน่งที่ดีอยู่แล้วจึงมองเห็นว่าการใช้อาคารพาณิชที่มีอยู่แล้วนั้น ในการดาเนินกิจการจะเป็นการลด
ต้นทุนในการดาเนินงานได้เป็นจานวนมาก
โดยอาคารที่ทางบริษัทมีอยู่นั้นจะเป็นอาคารพาณิชที่แต่เดิม เคยเป็นโรงพิมพ์มาก่อนซึ่ง
เปิดกิจการเดิมส่วนหนึ่งของบริษัทที่ในปัจจุบันได้มีการปิดส่วนงานนี้ไปแล้วจึงทาให้สามารถเข้าไปใช้
งานพื้นที่ในส่วนนั้นได้โดยอาคาร ตั้งอยู่ใน ซอยสาธุประดิษฐ์ 16 ถนนสาธุประดิษฐ์ ซึ่งอยู่ใกล้บริษัท
ขนส่งทั้งภาครัฐและเอกชนหลายแห่ง รวมถึงอยู่ใกล้ถนนเส้นหลักและทางด้วนบริเวณพระราม 3 ซึ่ง
เหมาะแก่การเดินทางและการจัดส่งสินค้าเป็นอย่างมาก
Ref. code: 25636202031412PJR
49
6.7 บุคลากรในการดาเนินงาน
จากวิธีการดาเนินงานในส่วนก่อนหน้านั้น จะเห็นได้ว่ามีการใช้บริการบริษัทภายนอกใน
การดาเนินกิจการเป็นจานวนมาก จึงทาให้ตัวบริษัทเองนั้นจะใช้บุคลากรในส่วนของการคลังและการ
ขายเป็นหลักโดยในส่วนของสานักงานนั้น จะมีพนักงานในหน้าที่ที่จะต้องติดต่อกับลูกค้าหรือร้านค้า
โดยในทั้งสองส่วนนี้จะมีการติดต่อกันอยู่ตลอดเวลานั่นเอง
(1) ผู้จัดการหรือผู้บริหารงาน
มีหน้าที่ในการดูแลภาพรวมทั้งหมด พัฒนาระบบการขาย รวมถึงการดาเนินการใน
เรื่องของการติดต่อร้านค้าที่เข้าร่วมกับบริษัทในการจัดจาหน่ายสินค้า อีกทั้งจะต้องเป็นฝ่ายสนับสนุน
ด้านบุคลากรทั้งการคัดเลือกหรือการติดต่อผสานงาน โดยจะมีค่าใช้จ่ายในการจ้างอยู่ที่ 25,000 บาท
ต่อเดือน
(2) พนักงานขายและการตลาด
มีหน้าที่ในการรับคาสั่งซื้อของลูกค้าที่เข้ามาโดยในส่วนนี้พนักงานยังมีหน้าที่ในการ
ตอบข้อสงสั ย ของลู กค้าที่ผ่ านช่องทางการติดต่อกับบริษัทอีกด้ว ย อีกทั้งยังต้องทาการตลาดเพื่อ
สื่อสารข้อมูลที่ทางบริษัทนั้น ต้องการสื่อไปถึงลูกค้าผ่านช่องทาง Social Media อีกด้วย นอกจากนั้น
พนักงานจะต้องมีหน้าที่ติดต่อกับฝ่ายคลังสินค้าและคอยช่วยเหลือในการจัดการคาสั่งซื้ออีกด้วย โดย
จะมีค่าใช้จ่ายในการจ้างอยู่ที่ 20,000 บาท
(3) พนักงานการเงินและจัดซื้อ
โดยหน้าที่หลักของตัวพนักงานนั้น คือ การจดบันทึกรายได้ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และ
ตรวจสอบความถูกต้องของบริษัทรวมถึงการที่เกิดขึ้นระหว่าร้านค้าที่มาเข้าร่วมกับทางบริษัท และ
จะต้องมีหน้าที่ในการจัดหาจัดซื้อสินค้าที่ใช้ในการดาเนินธุรกิจอีกด้วย โดยมีค่าใช้จ่ายในการจ้างอยู่ที่
20,000 บาท
(4) พนักงานคลังสินค้า
หน้ าที่ห ลั กของพนักงานคลั งสิ นค้ า นั้น คือ การแพ็คสิ นค้าตามค าสั่ งซื้อและการ
จัดการคลังสินค้าให้มีของเหลืออยู่ในคลังสินค้าให้เพียงพอต่อการจัดจาหน่ายนอกจากนี้ยังต้องทาการ
ขนส่งสินค้าไปที่จุดส่งสินค้า โดยการทางานทั้งหมดนี้จะทางานร่วมกับพนักงานขาย โดยจะมีค่าใช้จ่าย
ในการจ้างอยู่ที่ 15,000 บาท ต่อคน โดยที่ในตาแหน่งนี้ มีความต้องการในส่วนนี้ 2 ตาแหน่ง หรือใน
ส่วนของพนักงานการคลังจะมีค่าใช้จ่ายในการจ้างงานรวมอยู่ที่ 30,000 บาท
จะเห็นได้ว่าจานวนบุคลากรในการดาเนินการนั้น มีจานวนไม่มากเนื่องจากการใช่
ระบบสาเร็จรูปของทางเว็บไซท์ด้วยส่วนหนึงจึงทาให้การขายและการจัดการคลังสินค้า นั้น ไม่ต้องใช้
Ref. code: 25636202031412PJR
50
จานวนคนเยอะมากหากเทียบกับการขายในช่องทางปกติหรือการไม่มีระบบช่วยเหลือในการจัดการ
โดยจะมีผังองค์กรดังภาพที่ 6.5
ภาพที่ 6.5 แผนผังโครงสร้างองค์กร
Ref. code: 25636202031412PJR
51
บทที่ 7
กลยุทธ์ทางการเงิน
ในส่วนของการเงิน นั้น เป็นส่วนที่สาคัญอันดับแรก ๆ ที่ต้องคานึงถึงซึ่งหากไม่สามารถ
หาเงินทุนมารองรับก็จะไม่สามารถเริ่มหรือดาเนินธุรกิจต่อไปได้ ดังนั้น การวางแผนทางการเงินในการ
เริ่มทาธุรกิจเพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของตัวธุรกิจนั้น เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการจัดตั้งธุรกิจใหม่นี้
7.1 แหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุน
7.1.1 แหล่งที่มาของเงินทุน
ในการประกอบกิจการช่องทางการจัดจาหน่ายสินค้าสินค้าแฟชั่นที่เป็นมิตรกับ
สิ่งแวดล้อมออนไลน์ นั้นจะมีการดาเนินการโดยใช้ผู้ให้บริการภายนอกเป็นหลักในการดูแลปรับปรุง
เว็บไซต์เป็นหลัก จึงทาให้การลงทุนในการตั้งต้นไม่ต้องใช้เงินจานวนสูงมากจะเป็นการลงทุนในระบบ
คลังสินค้ามากกว่า ทั้งนี้เนื่องจากตัวธุรกิจจาเป็นจะต้องมีการสร้างจานวนให้เข้ามาขายในช่องทางมาก
ที่สุดจึงทาให้ในช่วงแรกรายได้จะน้อยมากหรืออาจจะไม่มีเลยจึงทาให้ทางบริษัทจะต้องมีเงินสดสารอง
ที่พอกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นประมาณ 1 ปี ดังนั้น เงินต้นที่จะใช้ในการประกอบกิจการจะอยู่ที่
1,595,050 บาท ซึง่ เงินในส่วนนีม้ าจากเจ้าของทัง้ หมด ไม่มีการกู้ยืมเงินจากธนาคารและแหล่งเงินทุน
อื่นใด ๆ
7.1.2 การบริหารส่วนของเงินทุน
จากการประมาณการค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จึงพบว่า ค่าใช้จ่ายในการเซ็ตระบบการ
ขายและการดาเนินงานมีการใช่เงินลงทุนแรกเป็นไปตามข้อมูลในตารางที่ 7.1
ตารางที่ 7.1
เงินลงทุนเริ่มแรก
รายการ
ค่าออกแบบเว็บไซต์
คอมพิวเตอร์ในออฟฟิตสาหรับพนักงานขายและ
การตลาด
คอมสาหรับการดูแลระบบและการจัดการ
โต๊ะทางาน WorkStation 4คน
ชุดโต๊ะทางานโต๊ะ
ราคา (บาท)
25,000
จานวน
1
ต้นทุนรวม (บาท)
25,000
25,000
1
25,000
18,000
15,800
5500
3
1
1
54,000
15,800
5,500
Ref. code: 25636202031412PJR
52
ตารางที่ 7.1
เงินลงทุนเริ่มแรก (ต่อ)
รายการ
เก้าอี้ทางาน
ชุดชั้นวางสินค้า หน้ากว้าง 2เมตร 5ชั้น ลึก 50 CM.
อุปกรณ์สานักงาน
เครื่องอ่าน Barcode
เครื่องปริ้น Barcode
อุปกรณ์ในคลังสินค้า
เงินสดหมุนเวียน
รวม
ราคา (บาท)
2,150
7,000
32,000
5,000
6,000
60,000
1,300,000
จานวน
5
8
1
1
1
1
1
ต้นทุนรวม (บาท)
10,750
56,000
32,000
5,000
6,000
60,000
1,300,000
1,595,050
7.2 ต้นทุนของเงินทุน
เงินลงทุนในการเริ่มธุรกิจ นั้นจะมาจากส่วนของเจ้าของทั้งสิ้น เนื่องจากว่าเงินลงทุน
เริ่มต้นไม่ได้มีค่าใช้จ่ายมาก จึงเป็นเหตุให้เห็นสมควรในการใช้ของตนเองทั้งหมดเพื่อให้มีต้นทุนทาง
การเงินต่าที่สุด ทาให้การคานวณต้นทุนการเงินทางบัญชีนั้น มาจากส่วนของเจ้าของ (Cost of Equity)
เพียงส่วนเดียวจะไม่มีส่วนของหนี้สิน (Cost of Debt) เข้ามาเกี่ยวข้อง
จากข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยค่าเฉลี่ยย้อนหลัง10 ปีนับตั้งแต่ปี 2561
ระบุว่าผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) มีผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่
10.53% ต่อปีจึงนาค่าผลตอบแทนนี้มาเปรียบเทียบกับการลงทุนในธุรกิจช่องทางการจัดจาหน่าย
สินค้าแฟชั่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมช่องทางออนไลน์ ซึ่งจะบอกว่าเมื่อเทียบกับการนาเงินจานวน
เท่ากันนี้ไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แล้วการลงทุนในธุรกิจนี้ จะคุ้มกว่าการลงทุนตลาดหลักทรัพย์
หรือไม่
เนื่องจากสภาพของตลาดสินค้าแฟชั่นในช่องทางการจัดจาหน่ายออนไลน์ นั้น มีคู่แข่ง
รายย่ อยอยู่ เป็ น จ านวนมาก อีก ทั้งเทรนสิ นค้ามี การเปลี่ ยนแปลงที่รวดเร็ว และด้ว ยตัว ธุรกิจช่อ ง
ทางการจัดจาหน่ายสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมผ่านช่องทางออนไลน์ยังไม่ได้เป็นที่แพร่หลายมาก
ในประเทศไทยอีกทั้งร้านค้าในปัจจุบัน มีช่องทางการจัดจาหน่ายให้เลือกเป็นจานวนมากอยู่แล้วจึงทา
ให้ตัวธุรกิจนี้มีความเสี่ยงจากการถูกแย้งจากช่องทางอื่น ๆ หากว่าตัวธุรกิจนั้น ประสบความสาเร็จดี
จึงต้องมีการเผื่อผลตอบแทนที่คาดหวังจากความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นด้วย
Ref. code: 25636202031412PJR
53
จากข้ อมูล ข้างต้ น จึ งได้มี การกาหนดให้ ตัว ผลตอบแทนที่ คาดหวังจากเงินทุน มีค่ า
เท่ากับ 20% เพื่อให้ตัวผลตอบแทนที่ได้รับมากกว่าการลงทุนในสินทรัพย์อื่นและเพื่อเป็นการชดเชย
กับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของตัวธุรกิจ
7.3 สมมุติฐานทางการเงิน
7.3.1 การประมาณการยอดขาย
ในการประมาณยอดการขายจะเป็นการประมาณจากตลาดของสินค้าเนื่องจาก
ตัวธุรกิจนั้น จาเป็นต้องพึ่งพายอดขายจากขนาดตลาดของสินค้าที่จะขายในช่องทางการจัดจาหน่าย
สินค้าโดยตรงแล้วจึงประมาณการยอดขายที่จะเกิดขึ้น
จากข้อมูลขนาดตลาดสิ นค้าแฟชั่นทั้งหมดในประเทศไทย แม้ในช่วงหลายปีที่
ผ่านมา จะมีการหดตัวอยู่บ้าง แต่ขนาดตลาดนั้น ก็ถือว่าเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่โดยประเทศไทยมี
ขนาดตลาดสินค้าแฟชั่นอยู่ที่ ประมาณ 270,000 ล้านบาท ซึ่งจากตลาดในภูมิภาคเอเชียอ้างอิงโดย
ประเทศจีนนั้น มีขนาดตลาดสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมคิดเป็นประมาณที่ 0.4% ของสินค้าแฟชั่น
ทั้งหมดหรือมีมูลค่าทางตลาดอยู่ที่ประมาณ 1,080 ล้านบาท
ซึ่งจากการคาดการนั้น ทางบริษัทมองว่าจะสามารถดึงร้านค้าแฟชั่นที่เป็นสินค้า
ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเข้ามาได้ในช่องทางการจัดจาหน่ายในปีแรกได้อย่างน้อยที่สุด 0.5% จาก
ร้านค้าทั้งหมดในตลาดนี้ซึ่งคิดเป็นมูลค่ายอดขายอยู่ที่ 5.4 ล้านบาท นอกจากนี้ แล้วนั้น ภาพรวมใน
ตลาดนั้น ยังมีการเติบโตอยู่ที่ประมาณ 8% ในทุก ๆ ปี และสามารถเพิ่มร้านค้าในช่องทางการจัด
จาหน่ายได้เพิ่มอย่างน้อยปีละ 0.5% ต่อปีเช่นกัน
7.3.2 ต้นทุนขาย
เนื่องจากการขายสินค้าในช่องทางการจัดจาหน่ายนี้ จะเป็นในลักษณะการฝาก
ขาย ดังนั้น ในช่วง 2 ปีแรก จะมีการเก็บค่าใช้จ่ายในการขายสินค้าโดยการคิดเป็นเพียงค่าจัดส่งและ
ดาเนินการสินค้าเพียง 10% จากยอดการขายสินค้าในช่องทางการจัดจาหน่ายนี้หรือเมื่อรวมค่าใช้จ่าย
ในการส่งสิ นค้าแล้ ว จะมีต้น ทุน รวมกันทั้งหมด 90% จากยอดการสั่ งซื้อและปีถัดไปจะมีการเก็บ
ค่าใช้จ่ายจากผู้ร่วมขายในช่องทางอยู่ที่ 20% จากยอดขายทั้งหมด หรือการมีต้นทุนหลังจัดส่งสินค้า
แล้วทั้งหมดอยู่ที่ 80% จากยอดขายทั้งหมด
7.3.3 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
7.3.3.1 ค่าใช้จ่ายในการบริหาร
ค่าใช้จ่ายจะถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่
Ref. code: 25636202031412PJR
54
1. ค่ า ใช้ จ่ า ยเกี่ ย วกั บ การท าระบบเว็ บ ไซต์ ห รื อ ร้ า นค้ า ออนไลน์ โ ดย
ค่าใช้จ่ายนี้จะเป็นค่าใช้จ่ายที่มีขึ้นเพื่อพัฒนาระบบร้านค้าออนไลน์และการจัดการต่าง ๆ ในระบบ
เว็บไซต์โดยค่าใช้จ่ายนี้จะเป็นการจ้างบริษัทภายนอกมาพัฒนาและดาเนินการในการจัดการข้อมูลให้
โดยค่าใช้จ่ายจะเป็นค่าใช้จ่ายคงที่อยู่ที่ปีละ 41,800 บาท
2. ค่าเงินเดือนพนักงานโดยในเงินเดือนพนักงานใน 6 เดือนแรกจะมี
การจ้างลูกจ้างเพียง 3 ตาแหน่งโดยประกอบไปด้วยผู้จัดการโดยมีเงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 25,000 บาท
พนักงานขายและการตลาดเงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 20,000 บาท และพนักงานในส่วนคลังสินค้ าโดยมี
เงินเดือนเริ่มต้น คือ 20,000 บาท และในหลังจากนั้นจะมีการจ้างพนักงานบัญชีเพิ่มเข้ามาโดยมี
เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 20,000 บาท และในปีที่ 2 จะมีการจ้างพนักงานคลังสินค้าเพิ่มอีก 1 คน โดย
พนักงานทุกคน จะมีการปรับเงินเดือนหลังจากที่ทางานครบเต็มปี โดยจะมีการปรับเงินเดือนในทุก ๆ
สิ้นปี โดยจะมีการปรับขึ้นประมาณ 3 % ทุก ๆ ปี
3. ค่าใช้จ่ายทั่วไปโดยในส่วนนี้ จะประกอบไปด้วย ค่าไฟฟ้าโดยเริ่มต้น
ประมาณการที่ 10,000 บาท ต่อเดือน และมีอัตราเพิ่มขึ้นประมาณที่ 10% ต่อปี ค่าน้าเริ่มต้นอยู่ที่
1,000 บาท ต่อเดือน โดยมีอัตราค่าใช้จ่ายคงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ค่าอินเตอร์เน็ตโดยมีการใช้อยู่ที่
1,099 บาท ต่อเดือน และค่าใช้จ่ายในการทาบัญชีตกอยู่ที่เดือนละ 1,250 บาท ต่อเดือนซึ่งในปีแรก
นั้นจะมีค่าใช้จ่ายโดยรวมทั้งหมดตามตารางที่ 7.2
ตารางที่ 7.2
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร
รายการ
ค่าเช่าระบบเว็บไซต์
ค่า Update ข้อมูล
เงินเดือนพนักงาน
ค่าไฟฟ้า
ค่าน้า
ค่าอินเทอร์เน็ต
ค่าจัดทาบัญชี
รวมค่าใช้จ่ายในการบริหาร
ปีที่ 1
5,800
36,000
840,000
120,000
12,000
13,188
15,000
1,041,988
โดยรวมแล้ ว ค่ า ใช้ จ่ า ยในการบริ ห ารการตลาดเริ่ ม ต้ น ในปี แ รกอยู่ ที่
1,041,988 บาท และมีรายละเอียดตามตารางด้านบน
Ref. code: 25636202031412PJR
55
7.3.3.2 ค่าใช้จ่ายทางการตลาด
ค่าใช้จ่ายทางการตลาดนั้นจะสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้
1. ค่าใช้จ่ายในการทาโฆษณาผ่าน Google Advertising
2. ค่าใช้จ่ายในการทาโฆษณาผ่าน Facebook Advertising
3. ค่าใช้จ่ายในการทาโฆษณาผ่าน Influencer
ตารางที่ 7.3
ค่าใช้จ่ายในการทาการตลาด
รายการ
Google Ad
โฆษณาผ่าน Facebook
รีวิวผ่าน Influencer
รวมค่าใช้จ่ายทางการตลาด
ปีที่ 1
ปีที่ 2
ปีที่ 3
ปีที่ 4
ปีที่ 5
15,000 80,000 40,000 30,000 30,000
12,000 72,000 24,000 24,000 24,000
0 120000 60,000 60000 60,000
27,000 272,000 124,000 114,000 114,000
ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้ง 3 ส่วนนี้จะเริ่มทาการตลาดในช่วงท้ายปี ดังนั้น ค่าใช้จ่าย
เริ่มต้นในการทาการตลาดหลังจากที่มีการเซ็ตระบบและเริ่มมีการดึงร้านค้าเข้ามาร่วมขายกับช่องทาง
การจัดจาหน่ายนี้แล้วจะมีค่าใช้จ่ายในท้ายปีอยู่ที่ 27,000 บาท โดยจะมีเพียงในส่วนของ Google
Advertising และ Facebook Advertising เท่านั้น และจะลงค่าใช้จ่ายทางการตลาดอยู่ในช่วงปีที่ 2
ที่จะเยอะที่ สุ ดและจะเริ่ มลดลงในปี ที่ 3 และ 4 ตามล าดั บ และคงไว้ ในปี ที่ 5 เป็ นต้ นไปโดยจะมี
รายละเอียดตามตารางที่ 7.3
7.4 ประมาณการงบการเงิน
7.4.1 งบกาไรขาดทุน
งบกาไรขาดทุนประมาณการ 5 ปี สามารถแสดงข้อมูลดังตารางที่ 7.4
Ref. code: 25636202031412PJR
56
ตารางที่ 7.4
งบกาไรขาดทุน
งบกาไรขาดทุน
ปีที่ 1
รายได้
ปีที่ 2
ปีที่ 3
ปีที่ 4
ปีที่ 5
10,800,000
23,328,000
37,791,360
54,419,558
73,466,404
ต้นทุนขาย
9,720,000
20,995,200
30,233,088
43,535,647
58,773,123
กาไรขัน้ ต้น
1,080,000
2,332,800
7,558,272
10,883,912
14,693,281
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร
1,041,988
1,375,588
1,423,636
1,474,049
1,526,992
ค่าใช้จ่ายทางการตลาด
กาไรก่อนหักค่าเสือ่ มราคา (EBITDA)
ค่าเสือ่ มราคา
27,000
272,000
124,000
114,000
114,000
65,012
51,830
1,229,212
51,830
6,258,636
51,830
9,523,862
51,830
13,280,289
51,830
กาไรก่อนหักภาษีและต้นทุนทางการเงิ น (EBIT)
13,182
1,177,382
6,206,806
9,472,032
13,228,459
2,636
235,476
1,241,361
1,894,406
1,984,269
10,546
941,906
4,965,445
7,577,626
11,244,190
ภาษีเงิ นได้นิตบิ คุ คล (20%)
กาไรสุทธิ
7.4.2 งบแสดงฐานะการเงิน
งบแสดงฐานะการเงินประมาณการ 5 ปี สามารถแสดงข้อมูลดังตารางที่ 7.5
ตารางที่ 7.5
งบแสดงฐานะการเงิน
งบแสดงฐานะทางการเงิ น
ปีที่ 0
ปีที่ 1
เงิ นสดหรือรายการเทียบเท่าเงิ นสด
1,300,000
1,362,376
2,356,111
7,373,386
15,002,842
26,298,862
0
0
0
0
0
0
ลูกหนี้การค้า
สินค้าคงเหลือ
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน
ที่ดนิ อาคาร และอุปกรณ์
-
-
รวมสินทรัพย์
ปีที่ 3
-
ปีที่ 4
-
ปีที่ 5
-
-
1,300,000
1,362,376
2,356,111
7,373,386
15,002,842
26,298,862
295,050
295,050
243,220
191,390
139,560
87,730
-51,830
-51,830
-51,830
-51,830
-51,830
295,050
243,220
191,390
139,560
87,730
35,900
1,595,050
1,605,596
2,547,501
7,512,946
15,090,572
26,334,762
หัก (ค่าเสื่อมราคา)
รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
ปีที่ 2
หนี้สนิ และผู้ถอื หุ้น
เจ้าหนี้การค้า
-
-
-
-
-
-
เงิ นกูย้ ืมระยะสั้น
-
-
-
-
-
-
เงิ นกูย้ ืมระยะยาว
-
-
-
-
-
-
รวมหนี้สนิ
0
0
0
0
0
0
0
10,546
952,451
5,917,896
13,495,522
24,739,712
ทุน
1,595,050
1,595,050
1,595,050
1,595,050
1,595,050
1,595,050
รวมส่วนของผู้ถอื หุ้น
1,595,050
1,605,596
2,547,501
7,512,946
15,090,572
26,334,762
รวมหนี้สนิ และส่วนของผู้ถอื หุ้น
1,595,050
1,605,596
2,547,501
7,512,946
15,090,572
26,334,762
ส่วนของผู้ถอื หุ้น
กาไรสะสม
Ref. code: 25636202031412PJR
57
7.4.3 งบกระแสเงินสด
งบกระแสเงินสดประมาณการ 5 ปี สามารถแสดงข้อมูลดังตารางที่ 7.6
ตารางที่ 7.6
งบกระแสเงินสด
รายการ
การเปลี
น
กาไรก่อ่ยนหันแปลงของเงิ
กภาษีและต้นนลงทุ
ทุนทางการ
ปีที่ 0
ปีที่ 1
ปีที่ 2
ปีที่ 3
ปีที่ 5
(1,595,050)
เงิน (EBIT)
13,182
1,177,382
หักภาษี
(2,636)
(235,476)
ค่าเสื่อมราคา
51,830
51,830
51,830
62,376
993,736
5,017,275
กระแสเงินสดอิสระของโครงการ
ปีที่ 4
(1,595,050)
6,206,806
9,472,032 13,228,459
(1,241,361) (1,894,406) (1,984,269)
51,830
51,830
7,629,456 11,296,020
7.5 การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ
7.5.1 การวิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV)
การคานวณมูลค่าในปัจจุบัน โดยการใช้กระแสเงินสดอิสระ ในการคานวณโดยมี
การตั้งผลตอบแทนที่คาดหวังไว้อยู่ที่ 20% และหลังจากปีที่ 5 มีการคาดการว่าตัวธุรกิจ จะมีอัตราการ
เติบโตคงที่อยู่ที่ 3% ซึ่งมีผลปรากฏว่ากระแสเงินสดอิสระของโครงการ หลังจากทาการคานวณมูลค่า
ปัจจุบันสุทธิแล้ว มีค่าเท่ากับ 33,789,175.11 บาท ซึ่งถือได้ว่าการลงทุนในโครงการ หากสามารถ
ดาเนินการเป็นไปตามแผนโครงการ จะได้กาไรจากการลงทุนหลายเท่าตัวด้วยกัน
7.5.2 การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR)
จากการเปรียบเทียบเงินลงทุนกับกระแสเงินสดอิสระสามารถคานวณออกมาเป็น
ค่าอัตราผลตอบแทนภายใน ซึ่งได้ค่าออกมาประมาณที่ 139% ซึ่งได้ผลตอบแทนมากกว่าต้นทุนจาก
การลงทุนที่ได้มีการตั้งเอาไว้ที่ 20%
7.5.3 การวิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period)
จากการที่คานวณระยะเวลาคืนทุนจากกระแสเงินสดอิสระที่ตัวกิจการสามารถ
ทาได้หลังจากที่มีการคานวณให้อยู่ในรูปแบบของมูลค่าปัจจุบันแล้วจะพบว่า กิจการจะสามารถคืนทุน
ได้ภายในระยะเวลา 2 ปี 3 เดือน
Ref. code: 25636202031412PJR
58
ตารางที่ 7.7
การวิเคราะห์โครงการ
ปีที่ 4
ปีที่ 5
กระแสเงินสดอิสระของโครงการ
รายการ
(1,595,050.00)
ปีที่ 0
62,375.60
993,735.60 5,017,274.80
7,629,455.79
61,882,545.56
50,586,525.34
มูลค่าปัจจุบัน
(1,595,050.00)
51,979.67
690,094.17 2,903,515.51
3,679,328.60
4,539,617.18
20,329,589.98
npv
33,789,175.11
irr
139%
PB
2ปี 3เดือน
ปีที่ 1
ปีที่ 2
ปีที่ 3
Terminal Value
ซึ่งจะมีรายละเอียดรายปีและมูลค่าปีสุดท้าย (Terminal Value) ตามตารางที่ 7.7
7.6 การวิเคราะห์สถานการณ์
ที่ผ่านมานั้น จะเป็นการวิเคราะห์จากความน่าจะเป็นตามสถานการณ์ปกติ หากการ
ดาเนินการลงทุนนั้นเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ซึ่งในความเป็นจริงในการประกอยธุรกิจ ยังมีความเป็นไป
ได้อีกมากมาย นอกเหนือจากที่คาดการณ์ไว้ ไม่ว่าจะเป็นทั้งในสถานการณ์ที่ดีขึ้นจากที่คาดการณ์
หรือสถานการณ์ที่แย่ลงจากที่คาดการณ์ ดังนั้น จึงได้มีการตั้งแบ่งสถานการณ์ออกจากปกติเป็น 2
สถานการณ์ คือ สถานการณ์ที่ดีกว่าปกติหรือสภาพตลาดนั้นกลับมาฟื้นตัวและมียอดขายที่มากกว่า
ปกติ และสถานการณ์ ที่แย่ล งมากกว่าปกติในกรณีที่ยอดขายของร้านค้า นั้น เติบ โตได้น้อยกว่าที่
คาดการณ์
7.6.1 สถานการณ์ที่ 1 ยอดขายดีกว่าปกติ (Best Case)
จากสถานการณ์ เดิมที่มีการคาดการว่าทางบริษัท นั้นจะสามารถเพิ่มยอดผู้เข้า
มาร่วมขายสินค้ากับทางบริษัทได้ปีละ 1% ของภาพรวมตลาดสิ นค้าแฟชั่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
แต่หากสามารถดาเนินการและได้ผลตอบรับที่ดีกว่าที่คาดการไว้ นั้น มากกว่าปกติเป็นเท่าตัว โดยมี
การเพิ่มขึ้นของร้านค้าที่ให้ความสนใจโดยคิดเพิ่มเป็นปีละ 2% ของภาพรวมของตลาดสินค้าแฟชั่นที่
เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งหากเป็นไปตามสถานการณ์ข้างต้นที่กล่าวมา จะทาให้ยอดขายเติบโตมาก
ขึ้นกว่าปกติและมีการประมาณการงบกาไรขาดทุนตามตารางที่ 7.8 งบแสดงฐานะการเงินตามตาราง
ที่ 7.9 งบกระแสเงินสดและความเป็นไปได้ของโครงการตามตารางที่ 7.10
Ref. code: 25636202031412PJR
59
ตารางที่ 7.8
งบกาไรขาดทุนของสถานการณ์ที่ 1
งบกาไรขาดทุน
ปีที่ 1
รายได้
21,600,000
46,656,000
75,582,720
108,839,117
146,932,808
ต้นทุนขาย
19,440,000
41,990,400
60,466,176
87,071,293
117,546,246
กาไรขั้นต้น
2,160,000
4,665,600
15,116,544
21,767,823
29,386,562
ค่าใช้จา่ ยในการบริหาร
1,041,988
1,375,588
1,423,636
1,474,049
1,526,992
ค่าใช้จา่ ยทางการตลาด
27,000
272,000
124,000
114,000
114,000
1,145,012
3,562,012
13,816,908
20,407,774
27,973,570
กาไรก่อนหักค่าเสื่อมราคา (EBITDA)
ค่าเสื่อมราคา
ปีที่ 2
ปีที่ 3
ปีที่ 4
ปีที่ 5
51,830
51,830
51,830
51,830
51,830
1,093,182
3,510,182
13,765,078
20,355,944
27,921,740
ภาษีเงินได้นติ บิ คุ คล (20%)
218,636
702,036
2,753,016
4,071,189
4,188,261
กาไรสุทธิ
874,546
2,808,146
11,012,062
16,284,755
23,733,479
ปีที่ 3
ปีที่ 4
ปีที่ 5
กาไรก่อนหักภาษีและต้นทุนทางการเงิน (EBIT)
ตารางที่ 7.9
งบแสดงฐานะการเงินของสถานการณ์ที่ 1
งบแสดงฐานะทางการเงิน
ปีที่ 0
ปีที่ 1
ปีที่ 2
เงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด
1,300,000
2,226,376
5,086,351
16,150,244
32,486,829
56,272,138
ลูกหนี้การค้า
-
-
-
-
-
-
สินค้าคงเหลือ
-
-
-
-
-
-
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน
ที่ดนิ อาคาร และอุปกรณ์
1,300,000
2,226,376
5,086,351
16,150,244
32,486,829
56,272,138
295,050
295,050
243,220
191,390
139,560
87,730
-51,830
-51,830
-51,830
-51,830
-51,830
295,050
243,220
191,390
139,560
87,730
35,900
1,595,050
2,469,596
5,277,741
16,289,804
32,574,559
56,308,038
หัก (ค่าเสื่อมราคา)
รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
รวมสินทรัพย์
หนี้สนิ และผู้ถอื หุ้น
เจ้าหนี้การค้า
-
-
-
-
-
-
เงินกูย้ ืมระยะสั้น
-
-
-
-
-
-
เงินกูย้ ืมระยะยาว
-
-
-
-
-
-
รวมหนี้สนิ
-
-
-
-
-
-
ส่วนของผู้ถอื หุ้น
กาไรสะสม
0
874,546
3,682,691
14,694,754
30,979,509
54,712,988
ทุน
1,595,050
1,595,050
1,595,050
1,595,050
1,595,050
1,595,050
รวมส่วนของผู้ถอื หุ้น
1,595,050
2,469,596
5,277,741
16,289,804
32,574,559
56,308,038
รวมหนี้สนิ และส่วนของผู้ถอื หุ้น
1,595,050
2,469,596
5,277,741
16,289,804
32,574,559
56,308,038
Ref. code: 25636202031412PJR
60
ตารางที่ 7.10
งบกระแสเงินสดและการคานวณความเป็นไปได้ของโครงการขอองสถานการณ์ที่ 1
รายการ
ปีที่ 0
ปีที่ 1
ปีที่ 2
ปีที่ 3
ปีที่ 4
ปีที่ 5
Terminal Value
กระแสเงินสดอิสระของโครงการ
(1,595,050.00) 926,375.60
2,859,975.60 11,063,892.40 16,336,585.14 123,683,606.15
99,898,297.27
มูลค่าปัจจุบัน
(1,595,050.00) 771,979.67
1,986,094.17
40,146,885.16
npv
6,402,715.51
7,878,368.60
9,558,782.18
68,339,875.28
irr
209%
PB
1ปี 5เดือน
ซึ่งหลังจากปี ที่ 5 มีการคาดการว่าบริษัทจะเติบโตขึ้น 5% ทุก ๆ ปี จากการ
คานวณตามตารางที่ 7.10 จะพบว่า มูลค่าปัจจุบันของโครงการ เท่ากับ 68,339,875.28 บาท โดยมี
อัตราค่าผลตอบแทนจากการลงทุนสูงถึง 209% และสามารถคืนทุนได้ภายในระยะเวลา 1ปี 5 เดือน
ซึ่งหากเป็นไปดังที่คานวณ จะเห็นได้ว่าผลประกอบการจากการลงทุน เป็นที่น่าสนใจมากโดยที่มูลค่า
โครงการนั้น มีมูลค่าเป็นหลายเท่าของการลงทุน
7.6.2 สถานการณ์ที่ 2 ยอดขายต่ากว่าปกติ (Worst Case)
จากสถานการณ์การขายเดิมที่สามารถเรียกร้านค้าเข้ามาร่วมขายได้เพิ่มขึ้นปีละ
1% แต่ ใ นทางกลั บ กั น หากสถานการณ์ โ รงระบาดในปั จ จุ บั น ยั ง คงยื ด เยื้ อ ต่ อ ไป ก็ จ ะท าให้ ก าร
ดาเนินการติดขัดหรือไม่สามารถดึงดูดกลุ่มร้านค้าเข้ามาขายสินค้าภายในช่ องทางจัดจาหน่ายได้น้อย
กว่าที่มีการคาดหวังไว้โดยมีการลดลงของการเพิ่มร้านค้าเข้ามาขายหรือจัดจาหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้นเหลือ
0.5% จากมูลค่าตลาดสินค้าแฟชั่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และหลังจากที่ผ่านเวลาไป 5 ปี คาดว่า
บริษัทจะเติบโตเพิ่มขึ้น 2% คงที่ทุกปี ซึ่งจากสถานการณ์และเงื่อนไขที่กล่าวมาข้างต้น จะสามารถ
คานวณงบกาไรขาดทุนดังตารางที่ 7.11 งบแสดงฐานะการเงินตามตารางที่ 7.12 งบกระแสเงินสด
และความเป็นไปของโครงการตามตารางที่ 7.13
Ref. code: 25636202031412PJR
61
ตารางที่ 7.11
งบกาไรขาดทุนของสถานการณ์ที่ 2
งบกาไรขาดทุน
ปีที่ 1
ปีที่ 2
ปีที่ 3
ปีที่ 4
ปีที่ 5
รายได้
5,400,000
11,664,000
18,895,680
27,209,779
36,733,202
ต้นทุนขาย
4,860,000
10,497,600
15,116,544
21,767,823
29,386,562
กาไรขัน้ ต้น
540,000
1,166,400
3,779,136
5,441,956
7,346,640
1,041,988
1,375,588
1,423,636
1,474,049
1,526,992
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร
ค่าใช้จ่ายทางการตลาด
27,000
272,000
124,000
114,000
114,000
-474,988
62,812
2,479,500
4,081,906
5,933,649
51,830
51,830
51,830
51,830
51,830
(526,818)
10,982
2,427,670
4,030,076
5,881,819
0
2,196
485,534
806,015
882,273
(526,818)
8,786
1,942,136
3,224,061
4,999,546
กาไรก่อนหักค่าเสือ่ มราคา (EBITDA)
ค่าเสือ่ มราคา
กาไรก่อนหักภาษีและต้นทุนทางการเงิ น (EBIT)
ภาษีเงิ นได้นิตบิ คุ คล (20%)
กาไรสุทธิ
ตารางที่ 7.12
งบแสดงฐานะการเงินของสถานการณ์ที่ 2
งบแสดงฐานะทางการเงิน
ปีที่ 0
ปีที่ 1
เงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด
1,300,000
ปีที่ 2
825,012
885,628
ปีที่ 3
ปีที่ 4
ปีที่ 5
2,879,594
6,155,485
11,206,861
ลูกหนี้การค้า
-
-
-
-
-
-
สินค้าคงเหลือ
-
-
-
-
-
-
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน
ทีด่ นิ อาคาร และอุปกรณ์
1,300,000
825,012
885,628
2,879,594
6,155,485
11,206,861
295,050
295,050
243,220
191,390
139,560
87,730
-51,830
-51,830
-51,830
-51,830
-51,830
295,050
243,220
191,390
139,560
87,730
35,900
1,595,050
1,068,232
1,077,018
3,019,154
6,243,215
11,242,761
หัก (ค่าเสื่อมราคา)
รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
รวมสินทรัพย์
หนี้สินและผู้ถือหุน้
เจ้าหนี้การค้า
-
-
-
-
-
-
เงินกูย้ ืมระยะสั้น
-
-
-
-
-
-
เงินกูย้ ืมระยะยาว
-
-
-
-
-
-
รวมหนี้สิน
-
-
-
-
-
-
ส่วนของผู้ถือหุน้
กาไรสะสม
0
(526,818)
(518,032)
1,424,104
4,648,165
9,647,711
ทุน
1,595,050
1,595,050
1,595,050
1,595,050
1,595,050
1,595,050
รวมส่วนของผู้ถือหุน้
1,595,050
1,068,232
1,077,018
3,019,154
6,243,215
11,242,761
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุน้
1,595,050
1,068,232
1,077,018
3,019,154
6,243,215
11,242,761
Ref. code: 25636202031412PJR
62
ตารางที่ 7.13
งบกระแสเงินสดและการคานวณความเป็นไปได้ของโครงการขอองสถานการณ์ที่ 2
ปีที่ 3
ปีที่ 4
ปีที่ 5
กระแสเงินสดอิสระของโครงการ
รายการ
(1,595,050.00) (474,988.00)
ปีที่ 0
60,615.60
1,993,966.00
3,275,891.12
28,471,391.41
23,420,015.52
มูลค่าปัจจุบัน
(1,595,050.00) (395,823.33)
42,094.17
1,153,915.51
1,579,808.60
2,030,034.68
9,411,978.97
npv
15,417,058.60
irr
87%
PB
3ปี 5เดือน
ปีที่ 1
ปีที่ 2
Terminal Value
จากการคานวณจะพบว่า มูลค่าของโครงการ เท่ากับ 15,417,058.60 บาท โดยมีอัตรา
ค่าผลตอบแทนจากการลงทุน ที่ 87% และสามารถคืนทุนได้ภ ายในระยะเวลา 3 ปี 5 เดือน ซึ่ ง
ถึงแม้ว่าในช่วง 2 ปีแรกนั้น จะมีผลประกอบการที่ต่าจนทาให้กระแสเงินสดติดลบ แต่ในปีที่ 3เป็นต้น
ไป ก็จะสามารถกลับมาคงสภาพเป็นที่ น่าพอใจได้แม้อาจจะมีระยะเวลาในการคืนทุนที่ใช้เวลานาน
กว่าปกติก็ตามแต่หากสามารถรวบรวมร้านค้าเข้ามาขายสินค้าภายในช่องทางการจัดจาหน่ายได้ก็จะ
ทาให้ตัวบริษัท สามารถกลับมามีสถานการณ์ที่เป็นที่น่าพอใจได้
Ref. code: 25636202031412PJR
63
บทที่ 8
การประเมินแผนธุรกิจ
การวิเคราะห์และวางแผนในมุมมองด้านต่าง ๆ ของแผนธุรกิจจะขาดการประเมินแผน
ธุรกิจไปไม่ได้ และจากการศึกษาวิเคราะห์ที่ผ่านมาทาให้สามารถประเมินความเป็นไปได้ของโครงการ
และการพัฒนาในอนาคตได้ดังต่อไปนี้
8.1 การประเมินความเป็นไปได้ของแผนธุรกิจ
ในปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่าอุสาหกรรมแฟชั่นแม้ว่าจะมีการหดตัวอยู่บ้างในช่วงหลายปีที่
ผ่านมาแต่ก็ยังคงถือได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีขนาดที่ใหญ่ และเป็นอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มการ
เติบโตที่ดีในช่องทางออนไลน์ ซึ่งประกอบกับ การรับรู้ถึงปัญหาภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นซึ่งก็ ทาให้
แนวโน้มในภาพรวมของธุรกิจนี้ที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้นดีไปด้วยเนื่องจากปัจจัยที่สาคัญ
ของภาคธุรกิจช่องทางการจัดจาหน่ายนี้ นอกจากจะขึ้นอยู่กับการจัดการช่องทางการจัดจาหน่ายและ
การบริการทางการขายได้อย่างดีแล้วการสร้างเครือข่ายของทั้งร้านค้าและลูกค้ า ก็เป็นสิ่งสาคัญที่สุด
ของการทาธุรกิจประเภทนี้ เนื่องจากว่าหากเราสามารถช่วยให้ทั้งทางฝั่งร้านค้าเติบโต ช่องทางการจัด
จาหน่าย ก็จะเติบโตไปด้วย ดังนั้น องค์ประกอบเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการกาหนดความสาเร็จของ
ตัวธุรกิจนี้ได้
8.2 ปัจจัยวิกฤติที่เป็นเงื่อนไขแห่งความสาเร็จหรือความล้มเหลวแห่งธุรกิจ
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อตัวอุตสาหกรรม มีอยู่ 3 ประเด็นหลัก ๆ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะเป็น
ปัจจัยที่สามารถทาให้ตัวธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดทางหนึ่งได้
8.2.1 ปัจจัยคุณภาพสินค้า บริการ และความน่าเชื่อถือของกิจการ
เนื่องจากการทาช่องทางการจัดจาหน่ายสินค้าแฟชั่นที่ขายผ่านระบบออนไลน์
จะต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ทั้งทางฝั่งร้านค้าและฝั่งลูกค้าให้มาร่วมจาหน่ายและทาการซื้อผ่าน
ช่องทางการจั ดจ าหน่ายให้ ได้ ส่ว นส าคัญหรือคือ ความน่าเชื่อถือของตัว ช่องทางการจัดจาหน่าย
ดังนั้ น ทางช่ องทางการจั ดจ าหน่ า ยจะต้องทาการร่ ว มมื อกับ ทางองค์ กรหรือหน่ว ยงานที่มีค วาม
น่าเชื่อถือเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากทั้งสองฝั่งไม่ว่าจะเป็นทั้งส่วนร้านค้าและลูกค้าโดยเฉพาะใน
ช่วงแรกของการดาเนินกิจการที่เป็นช่วงที่เริ่มดึงดูดให้ ลูกค้าและร้านค้าเข้ามาซื้อขายภายในช่ อง
Ref. code: 25636202031412PJR
64
ทางการจัดจาหน่ายของทางธุรกิจซึ่งจะต้องเริ่มจากการสร้างความน่าเชื่อถือเพื่อให้ลูกค้ากล้าเข้ามาซื้อ
สินค้าในช่องทาการจัดจาหน่าย
8.2.2 ช่องทางการจัดจาหน่ายสินค้าที่ใช้งานได้ง่าย
ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มคนวัย Babyboom เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ไม่พูดถึงไม่ได้สาหรับ
อุสาหกรรมสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเนื่องจากว่าเป็นกลุ่มที่มีรายได้สูงและยอมจ่ายเงินในสิ่งที่
กลุ่มคนเหล่านั้น เห็นถึงคุณค่าโดยกลุ่มสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ก็เป็นสินค้าหนึ่งที่ได้รับผลตอบ
รับดีจากคนกลุ่มนี้แต่การทาช่องทางการจัดจาหน่ายสินค้าในรูปแบบออนไลน์ก็จะต้องทาให้กลุ่มนี้
สามารถเข้าใจแล้วใช่งานได้ง่ายด้วยเช่นกัน ดังนั้น การออกแบบการใช้งานให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย
จึงเป็นจุดสาคัญจุดหนึ่งที่ต้องคานึง
8.2.3 การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและคู่ค้าทางธุรกิจ
ธุรกิจ ช่องทางการจัดจาหน่ายในลักษณะนี้ ต้องใช้ความเชื่อใจและต้องพึ่งพา
เครือข่ายของร้านค้าและลูกค้าที่อยู่ในช่องทางการจัดจาหน่ายนี้โดยหากสามารถเพิ่มร้านค้าหรือสินค้า
ให้มีความหลากหลายได้มากขึ้นก็จะมีลูกค้าสนใจเข้ามาเลือกสินค้าภายในช่องทางการจัดจาหน่ายมาก
ขึ้น ในทางกลับกันหากมีลูกค้าเข้ามาซื้อสินค้าในช่องทางการจัดจาหน่ายเป็นจานวนมากขึ้นก็จะมี
ร้านค้าสนใจเข้ามาร่วมทาการขายสินค้ากับบริษัทมากขึ้นด้วยเช่นกัน
8.3 แผนฉุกเฉิน
8.3.1 แผนฉุกเฉินด้านการตลาด
ปัญหาที่ส าคัญที่อาจเกิดขึ้นได้ของการทาการตลาดคือ การสื่อสารที่ไปไม่ถึง
กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการซึ่งก็จะส่งผลกับจานวนลูกค้าที่จะเข้ามาใช้บริการในช่องทางการจัดจาหน่าย
ของธุรกิจนี้และเป็นผลกระทบทาให้รายได้ที่จะได้น้อยลงไปไม่เป็นไปดั่งที่ได้คาดการไว้
ซึ่งปั ญหาของการสื่ อ สารไปถึ งกลุ่ มลู กค้า ได้ไ ม่ดี อาจจะเกิด มาจากปัญหา 2
ปัญหา ปัญหาแรก คือ ปัญหาที่เกิดจากการกาหนดเงื่อนไขของกลุ่มเป้าหมายได้ไม่ตรงจุดซึ่งในส่วนนี้
จะต้องทาการนั่งวิเคราะห์ใหม่จากการนาตัวอย่างเป้าหมายมาแกะหาเงื่อนไขที่ลึกลงไปมากขึ้นเพื่อให้
การยิงโฆษณานั้นสามารถสื่อสารได้ตรงกลุ่มมากยิ่งขึ้นและในอีกส่วนที่สาคัญไม่แพ้กันคือ ช่องทางการ
ทาโฆษณาที่มีความเหมาะสมกับตัวกลุ่มเป้าหมายหรือไม่
อีกหนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นในช่องทางการจัดจาหน่ายแบบนี้ คือ การที่มีอัตราการ
กลับมาซื้อซ้าต่าซึ่งในส่วนของปัญหานี้จะต้องหาถึงสาเหตุจากปัญหาก่อนว่ามาจากส่วนใดซึ่งในส่วนนี้
จะต้องเริ่มจากการสอบถามจากกลุ่มลูกค้าหรือจากการให้ลูกค้ามีการรีวิวประสบการณ์เข้ามาเลือกซื้อ
สินค้าในช่องทางการจัดจาหน่ายขององค์การณ์
Ref. code: 25636202031412PJR
65
8.3.2 แผนฉุกเฉินด้านการเงิน
ปัญหาใหญ่ทางด้านการเงินมาจากช่วงแรกที่องค์กรมีสภาพคล่องทางการเงินที่
น้อย รายได้ที่เข้ามายังน้อยเมื่อเทียบกับการลงทุนซึ่งในปีแรก มีความเป็นไปได้ว่ารายได้ที่ได้มานั้นจะ
ไม่พอกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีการสารองเงินสดในปีแรกเพื่อให้มีกระแสเงินสดที่พอใช้กับ
ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในองค์กร ดังนั้น หากค่าใช้จ่าย มีมากกว่าที่คาดการ หรือการขายนั้นไม่ได้เป็นไป
ตามเป้าหมาย ซึ่งหากในปีแรกมีการวิเคราะห์แล้วว่าการขายไม่ได้เป็นไปตามแผนก็จะต้องมีการกู้เงิน
ระยะสั้นเข้ามาช่วยเพื่อให้มีเงินสดที่เพียงพอต่อการดาเนินกิจการต่อไป
8.4 แผนในอนาคต
8.4.1 การขยายหมวดสินค้าและร้านค้า
ในความเป็นจริงแล้วนอกจากสินค้าแฟชั่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ได้รับความ
นิยมมากขึ้นแล้ว ก็ยังมีสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่เริ่มหันมาเปลี่ยนทั้งวัตถุดิบบรรจุภัณฑ์หรือสินค้าที่ช่วยลด
การใช้ทรัพยากรอีกมากซึ่งในอนาคตแล้วตัวช่องทางการจัดจาหน่ายจะมีการพัฒนาให้เป็นแหล่ งรวม
สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเข้าไว้ด้วยกัน
8.4.2 การสร้างเครือข่าย
นอกจากกลุ่มคนที่สนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ก็ยังมีคนที่
ตระหนักถึงปัญหาภาวะโลกร้อนอยู่อีกเป็นจานวนมากโดยที่คนกลุ่มนี้มีทั้งผู้ที่มีความรู้และไม่มีความรู้
ในการใช้ผลิตภัณฑ์ ดังนั้น หากธุรกิจนั้นนอกจากจะเป็นผู้ให้บริการช่องทางการจัดจาหน่ายสินค้าใน
ลักษณะนี้แล้วการสร้างเครือข่ายหรือชุมชนที่คอยให้ข้อมูลหรื อมีการสร้างกิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้อง
กับสิ่งแวดล้อมก็จะสร้างให้ตัวบริษัทได้รับการยอมรับและมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
Ref. code: 25636202031412PJR
66
รายการอ้างอิง
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). ตารางเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/
Thai/ Statistics/Indicators/Docs/indicators.pdf
ศูนย์ ข้อมูลและดิจิ ทัล อุตสาหกรรม (งานข้อมูล ) สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ. (2564).
สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนพฤศจิกายน 2563. สืบค้นจาก
https://www.thaitextile.org/th/insign/detail.2214.1.0.html
ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน. (ธันวาคม 2562). ข้อมูลอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้า. สืบค้นจาก
https://www.gsbresearch.or.th/wp-content/uploads/2020/01/IN_textile_12
_62_detail.pdf
สานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) (2563.) สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ป 2563 และ
แนวโนม ป 2564. สืบค้นจาก http://www.oie.go.th/assets/portals/1/fileups/2/files/
Industry%20conditions/annual2020trends2021.pdf
Businesswire. (2021, January 11). Global Ethical Fashion Market Report 2020:
Opportunities, Strategies, COVID-19 Impacts, Growth and Change, 2019-2030.
https://www.businesswire.com/news/home/20210111005582/en/GlobalEthical-Fashion-Market-Report-2020-Opportunities-Strategies-COVID-19Impacts-Growth-and-Change-2019-2030---ResearchAndMarkets.com#:~:text=
The%20global%20ethical%20fashion%20market%20reached%20a%20value%
20of%20nearly,(CAGR)%20of%206.8%25.
Industry Team. (11 มกราคม 2564.) แนวโน้มธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย ปี 2564-2566. .
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จากัด. สืบค้นจาก https://www.krungsri.com/th/research
/industry/summary-outlook/industry-summary-outlook-2021-2023
Longtunman. (29 พฤษภาคม 2563). อุตสาหกรรมแฟชั่น ทาลายโลกมากกว่าที่เราคิด.
https://www.longtunman.com/23318
Parichat Chk. (11 มกราคม 2563). เทรนด์ตลาดปี 63 สินค้ารักษ์โลก ขายได้มากกว่าสินค้าทั่วไป
เกิน 70%. สืบค้นจาก https://brandinside.asia/eco-products-are-marketing-trendin-2020/
Ref. code: 25636202031412PJR
67
Parichat Chk. (7 มกราคม 2564). ผลวิจัยชี้ นโยบายต่างประเทศยุคไบเดน เป็นมิตร ไม่ทะเยอ
ทะยาน ส่งผลดีต่อคนชั้นกลาง. สืบค้นจาก https://brandinside.asia/america-foreignpolicy-in-the-joe-biden-era/
Pattarat. (17 กันยายน 2563). เจาะลึกพฤติกรรม “ผู้บริโภครักษ์โลก” เพิ่มขึ้นเป็น 20% ยังมี
ช่องว่างให้แบรนด์ทาตลาด. สืบค้นจาก https://positioningmag.com/1297515
Ref. code: 25636202031412PJR
68
ประวัติผู้เขียน
ชื่อ
วันเดือนปีเกิด
วุฒิการศึกษา
ตาแหน่ง
ประสบการณ์ทางาน
นายฐิติภาสณ์ เสียงสุคนธ์
21 ธันวาคม 2537
ปีการศึกษา 2559: เศรษฐศาสตรบัณฑิต
(ธุรกิจการเกษตร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Channel Management Executive of Hight Value
Product Team
DHA Siamwalla Ltd.
2564-ปัจจุบัน: Channel Management Executive of
Hight Value Product Team
DHA Siamwalla Ltd.
2560-2563: International & Event Marketing
V.B. ENGINE IMPEX CO., LTD.
Ref. code: 25636202031412PJR
Download