Uploaded by pichet pinit

ชุมชนแห่งการเรียนรู้ %281%29

advertisement
1111
1
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
(Professional Learning Community: PLC)
12
1313
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ1
(Professional Learning Community: PLC)
เรวณี ชัยเชาวรัตน์2
ปัจจุบันครูและบุคลากรทางการศึกษาจาเป็นต้องเป็นผู้มีความรู้และสมรรถนะ เพื่อให้เป็นผู้ที่
สามารถขับเคลื่อนกระบวนการปฏิรูปการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิรูปการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
และจริงจัง (สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ , 2545) เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการที่กาหนด
ไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 โดยมีงานวิจัยจานวนมากยืนยันว่า การที่ครู
มีความรู้ ทักษะที่เหมาะสม รวมถึงการเตรียมครูใหม่ให้มีสมรรถนะที่ดีย่อมส่งผลโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของนักเรียน (Darling-Hammond, 1999และ Brookfield & Stephen,1995) โดย
แนวทางหนึ่งที่สามารถนามาใช้เพื่อส่งเสริมความเป็นมืออาชีพดังกล่าว คือ การสร้างชุมชนการเรียนรู้
ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) เนื่องจากชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็น
การรวมตัวกันเป็นกลุ่มของครูผู้สอนเพื่อร่วมมือรวมพลัง เรียนรู้ร่วมกันและสะท้อนผลการปฏิบัติอย่าง
เป็นระบบและต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายหลักคือเพื่อให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนการสอน
พัฒนาการเรียนรู้และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
1. ความหมายของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
จากการศึ ก ษาเอกสารพบว่ า ค าว่ า ชุ ม ชนการเรี ย นรู้ ท างวิ ช าชี พ (Professional
Learning Community: PLC) นั้น ยังไม่มีการให้คานิยามที่เป็นสากล (Universal Definition)
แม้ว่า Richard DuFour ผู้ได้รับยกย่องว่าเป็น “บิดาของ PLC” เริ่มทางานวิจัยพัฒนาและส่งเสริม
เรื่องชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มาตั้งแต่ ค.ศ.1998 (พ.ศ. 2541) และตอนนี้ชุมชนการเรียนรู้ทาง
วิชาชีพได้แพร่ขยายไปทั่วสหรัฐอเมริกา รวมทั้งประเทศอื่นๆ ที่ต้องการพัฒนาคุณภาพของการศึกษา
ของประเทศ เช่น สิงคโปร์ (วิจารณ์ พาณิช , 2555) และมีนักการศึกษาได้พยายามศึกษาแนวคิด
เกี่ยวกับความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่สามารถนิยามคานี้ได้อย่าง
ชัดเจน ปัจจุ บันจึงได้มีผู้ ตีความ คาว่า ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในบริบทที่แตกต่างกัน เป็น 2
ลักษณะ (Burkley&Hicks, 2005) คือ
1) มุ่งเน้นศึกษากลุ่มย่อยในโรงเรียน (subgroup within school) และ
1
ปรับจากบทความเรื่อง “แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อการพัฒนาวิชาชีพครู (PLC for Teacher Professional
Development)” (เรวณี ชัยเชาวรัตน์) ในวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 กันยายน 2556 หน้า 34-46
2
อาจารย์ประจาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
นิสิตระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
14
14
2) มุ่ งเน้ น การศึก ษาทั้ง โรงเรีย นหรือ ในภาพรวมของโรงเรี ยน (schoolwide
community) ซึ่งในลักษณะนี้จะสอดคล้องกับแนวคิด กลุ่มศึกษาทั้งคณะ (Whole-Faculty Study
Group: WFSG) ของ Murphy & Dale (2005) ที่ดาเนินการศึกษาและพัฒนากระบวนการที่เกิดขึ้น
ในระบบโรงเรียนทั้งหมด โดยกล่าวว่า “กลุ่มศึกษาทั้งคณะเปรียบเสมือนชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ย่อยๆ”
แม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีคานิยามและคาจากัดความเกี่ยวกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือ
PLC ที่ชัดเจน และอาจมีการตีความในบริบทที่แตกต่างกัน แต่พบว่า นักการศึกษาได้อธิบายลักษณะ
ของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ไว้อย่างสอดคล้องกัน อาทิ
McLaughlin and Talbert (2006) ให้คานิยามว่าชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นการ
ร่วมมือรวมพลังของครูในการทางานเพื่อสะท้อนผลการปฏิบัติ และการตรวจสอบหลักฐานที่แสดงถึง
ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานของครูผู้สอนและผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อช่วยให้เกิดการ
ปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในชั้นเรียน
DuFour (2007) ผู้ถือเป็นบิดาของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กล่าวถึงลักษณะสาคัญของ
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพว่า PLC ไม่ใช่โปรแกรมหรือหลักสูตร แต่เป็นแนวทางการดาเนินการที่ช่วย
ให้เกิดพลังในการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนทุกระดับ ครูผู้สอนรวมทั้งบุคลากรในโรงเรียนจะต้องมุ่งเน้น
การเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้นมากกว่าให้ความสาคัญกับการสอน นอกจากนั้นยังต้องให้ความสาคัญกับการ
ร่วมมือรวมพลัง การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อมุ่งไปสู่ความสาเร็จภายใต้เป้าหมายเดียวกัน โดยอาศัย
การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
Stoll and Louis (2007) อธิบายว่าชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพคือ "กลุ่มของครูที่มาร่วมกัน
ทางานและวางเป้าหมายร่วมกันเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียน รวมทั้งมีการสะท้อนการทางานร่วมกัน
อย่างต่อเนื่องเพื่อมุ่งเน้นและส่งเสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโตทางวิชาชีพ"
Padwad and Dixit (2008) อธิบายเกี่ยวกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ว่าหมายถึง ชุมชน
หรือกลุ่มบุคคลที่มารวมกันเพื่อทางานร่วมกันและสนับสนุนซึ่งกันและกัน นาไปสู่การเจริญเติบโตหรือ
เกิดพัฒนาการของบุคคลและเกิดความเป็นมืออาชีพขึ้น
ตามแนวคิดศาสตร์ทางด้านการจัดการความรู้ (Knowledge managements หรือ KM) นั้น
อธิบายว่า ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือ PLC คือ “ชุมชนการปฏิบัติ (Community of Practice:
CoP)” โดยอธิบายว่า ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ คือ กระบวนการสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยเรียนรู้จาก
การปฏิบัติ (CoP) ของครู ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงจากหน้างาน หรือ bottom up อาจกล่าวได้ว่าชุมชน
การเรี ย นรู้ ทางวิ ช าชี พ ก็ คื อ ชุ มชนการปฏิ บั ติ ของครู นั่ นเอง (วิ จารณ์ พาณิ ช , 2555) ส่ ว นใน
1515
ราชบัณฑิตยสถานนั้น แม้ว่าไม่มีการให้ความหมายของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือ PLC ไว้ ทว่าได้
ให้ความหมายของ “ชุมชนแห่งการเรียนรู้” (Learning community) ไว้ใน 3 แนว ดังนี้
1) สังคมหรือกลุ่มคน เช่น ผู้บริหาร ผู้สอน และผู้เรียน ที่เห็นคุณค่าของการเรียนรู้ จึง
มีการแสวงหาความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ร่ วมกัน เพื่อให้เกิดการ
เรียนรู้และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
2) สิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ทั้งด้านกายภาพและสังคมที่สร้างขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนเกิด
ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในสิ่งที่เรี ยน โดยปรับโครงสร้างหรือออกแบบหลักสูตรที่ให้ความสาคัญแก่สิ่ ง
เหล่านี้ และ
3) ความรับผิดชอบของผู้บริหารสถานศึกษาโดยตรง ที่ต้องสร้างโรงเรียนให้เป็นชุมชน
แห่งการเรียนรู้ โดยส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนร่วมกับบุคคลและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน บุคคลใน
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ได้แก่ ครู อาจารย์ ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา นักเรียนและผู้ปกครอง การ
พัฒนาโรงเรียนให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้จะต้องพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยให้ผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วม (ราชบัณฑิตยสถาน, 2555)
แม้ว่าในปัจจุบันคานิยามและคาจากัดความเกี่ยวกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพหรือ PLC
จะมีหลากหลายแตกต่างกันไปตามบริบทที่ แตกต่างกัน แต่จากคานิยามของ PLC โดยนักการศึกษา
หลายท่านข้างต้น พบว่า มีสิ่งที่ส อดคล้องกัน คือ การแลกเปลี่ ยนเรียนรู้ การวิพากษ์วิจารณ์ การ
สะท้อนผลการปฏิบัติ การทางานร่วมกัน การร่วมมือรวมพลัง การมุ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้ การ
ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และการดาเนินการอย่างเป็นองค์รวม โดย DuFour and DuFour ได้
เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม จากโรงเรียนแบบเดิมไปสู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ไว้
ในบทความเรื่อง บทบาทของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพต่อความก้าวหน้าของทักษะแห่งศตวรรษที่
21 โดยสามารถสรุปรายละเอียดของวัฒนาธรรมการทางานที่จะก่อให้เกิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ได้ดังนี้
ลักษณะวัฒนธรรมแบบที่จะก่อให้เกิดชุมชนการเรียนรู้ทาง
วิชาชีพ คือ นักวิชาชีพต้องเจาะประเด็นที่มีผลต่อการเรียนรู้ของ
นักเรียนโดยรวมมากกว่าเป็นรายบุคคล รวมทั้งครูต้องสร้าง
วัฒนธรรมการร่วมมือทางาน และระบบที่ส่งเสริมประสิทธิผลและ
ความเท่าเทียม ซึ่งวัฒนธรรมในลักษณะนี้จะต่างจากวัฒนธรรมการ
ทางานแบบเดิมที่ให้ความเป็นอิสระในการทางานของครูมากกว่า
มุ่งเน้นด้านการพัฒนาหลักสูตร หรือมีการประเมินด้วยเกณฑ์เดียวกัน
หรือให้ความช่วยเหลือนักเรียนโดยเท่าเทียมกัน
(DuFour& DuFour อ้างถึงใน วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และ อธิป จิตตฤกษ์, 2554)
16
16
ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช (2555) ได้อธิบายว่า กิจกรรมที่ไม่จัดเป็นชุมชนการเรียนรู้
ทางวิชาชีพ คือ โครงการที่มีลักษณะแคบ ตื้นและใช้ระยะเวลาสั้น เป็นสิ่งที่ฝ่ายบริหารกาหนดให้ทา
หรือเป็ นกิจกรรมที่ดาเนิน การในลักษณะซื้อบริการที่ปรึกษา รวมทั้งการประชุมประจาเดือนหรือ
ประจาภาคของโรงเรียน ซึ่งอาจเป็นการรวมตัวกันของครูกลุ่มหนึ่งในโรงเรียน หรือ กิจกรรมอื่นๆ ใน
ลักษณะเช่นนี้
ดังนั้น ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือ PLC จึงเป็นกิจกรรมที่ซับซ้อน (complex) มี
หลากหลายองค์ประกอบ และต้องอาศัยการนิยามจากหลากหลายแง่มุม โดยแง่มุมที่สาคัญของ PLC
เน้นที่ การเรียนรู้ มีวัฒนธรรมร่วมมือกันเพื่อการเรียนรู้ของทุกคน ทุกฝ่าย ร่วมกันตั้งคาถามเพื่อหา
วิธีการที่ดีที่สุด และตั้งคาถามเกี่ยวกับต่อสภาพปัจจุบันหรือสิ่งที่ปฏิบั ติอยู่ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เน้น
การลงมือทา มุ่งพัฒนาต่อเนื่อง และเน้นที่ผล หมายถึง ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ของผู้เรียน
ผู้เขียนจึงสรุปความหมายของ ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ว่าหมายถึง กระบวนการสร้าง
การเปลี่ยนแปลงโดยเรียนรู้จากการปฏิบัติงานของกลุ่มบุคคลที่มารวมกันเพื่อทางานร่วมกันและ
สนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ร่วมกันวางเป้าหมายการ
เรียนรู้ของผู้เรียน และตรวจสอบ สะท้อนผลการปฏิบัติทั้งในส่วนบุคคลและผลที่เกิดขึ้นโดยรวม ผ่าน
กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การวิพากษ์วิจารณ์ การทางานร่วมกัน การร่วมมือรวมพลัง โดยมุ่งเน้นและ
ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม
2. สมาชิกของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพจะประกอบไปด้วย กลุ่มของนักการศึกษา กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มครูผู้สอน
และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งหมายถึงนักเรียนและอาจหมายรวมไปถึงกลุ่มผู้ปกครอง โดยสมาชิกเหล่านี้
จะมีหน้าที่ร่วมกันวางเป้าหมายการเรียนรู้ของผู้เรียนร่วมกัน และตรวจสอบผลการปฏิบัติทั้งในส่วนบุคคล
ไปจนกระทั่งผลที่เกิดขึ้นโดยรวมเพื่อปรับปรุงความเป็นวิชาชีพอย่างต่อเนื่องและสม่าเสมอ (Annenberg
Institute for School Reform, 2013) ส่วน Hord, Roussin and Sommers (2010) ได้อธิบายเกี่ยวกับ
สมาชิกในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพไว้ว่า สมาชิกในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสามารถจัดเป็นโครงสร้าง
หลัก 2 ส่วน คือ 1) สมาชิกส่วนที่เป็นครูผู้สอน หรือ Grade-level team ซึ่งเป็นกลุ่มของครูผู้สอนในแต่ละ
ระดับ ส่วนใหญ่ใช้ในการรวมกลุ่มของสมาชิกครูผู้สอนระดับประถมศึกษา หรือ Subject-matter team ซึ่ง
เป็นกลุ่มของครูผู้สอนในแต่ละรายวิชาหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้ ใช้ในการรวมกลุ่มของสมาชิกครูผู้สอน
ระดับมัธยมศึกษา และ 2) สมาชิกส่วนที่เป็นนักการศึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งหมายรวมถึงผู้บริหาร
นักการศึกษา ศึกษานิเทศก์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการให้ความช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ไม่ว่าจะใน
1717
ด้านหลักสูตร แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการ
เรียนรู้ได้ดีที่สุด
แม้ว่าจากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวกับ ชุมชนการเรียนรู้ ทางวิช าชีพจะพบว่าไม่มีการระบุ
จานวนน้อยที่สุดหรือมากที่สุดของสมาชิกในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพแต่การรวมตัวกันของกลุ่ม
บุ ค คลที่ เ ป็ น สมาชิ ก อาจไม่ เ กิ ด เป็ น ชุ มชนการเรี ยนรู้ ท างวิ ช าชี พ หากการรวมกลุ่ ม ดั ง กล่ า วขาด
คุณลักษณะสาคัญที่ทาให้เกิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
3. คุณลักษณะสาคัญที่ทาให้เกิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ในการกล่าวว่าโรงเรียนใดมี PLC นั้นนอกจากจะต้องประกอบด้วยสมาชิกซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลดังที่
กล่าวไปแล้วนั้น การรวมตัวกันของสมาชิกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพยังต้องประกอบด้วยคุณลักษณะ
สาคัญ โดยมีการกล่าวถึงคุณลักษณะส าคัญที่จะทาให้เกิด PLC ไว้อย่างหลากหลาย อย่างไรก็ตาม
สามารถสรุปคุณลักษณะสาคัญที่สาคัญที่ทาให้เกิด PLC ได้ 5 ประการ คือ (Martin, 2011, Hord,
Roussin & Sommers, 2010, Annenberg Institute for School Reform, 2013, Richard DuFour,
2007)
1) การมีบรรทัดฐานและค่านิยมร่วมกัน (Shared values and vision) สมาชิกใน
ชุมชนการเรี ย นรู้ ทางวิช าชีพต้องมีบรรทัดฐานและค่านิยมร่ว มกัน ซึ่งเป็นหลั กการพื้นฐานส าคัญ
เนื่องจากการมีพันธกิจที่ชัดเจนร่วมกันจะเป็นพื้ นฐานที่สาคัญสาหรับการพัฒนาเป็นชุมชนการเรียนรู้
หรือ Learning Community ในโรงเรียน ดังนั้นครูผู้สอนที่เป็นสมาชิกใน PLC จึงต้องมีบรรทัดฐาน
ค่านิยม และความเชื่อเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน
2) การร่วมกันรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของนักเรียน (Collective responsibility for
students learning) ผลการเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในตัวนักเรียนนั้นย่อมต้องอาศัยแนวทางและกล
ยุทธ์ที่หลากหลาย โดยสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้จากความคาดหวังที่ครูผู้สอนมีต่อนักเรียนในระดับสูง
และอยู่บนฐานความเชื่อที่ว่านักเรียนทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ ซึ่งเป็นการวางเป้าหมายเพื่อพัฒนาการ
จัดการเรียนรู้และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน โดยเป็นการวางเป้าหมายร่วมกันของครูที่
เป็นสมาชิกในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพทุกคน
3) การสืบสอบเพื่อสะท้อนผลเชิงวิชาชีพ (Reflective professional inquiry)
การพู ด คุ ย สนทนากั น ระหว่ า งสมาชิ ก ในชุ ม ชนการเรี ย นรู้ โ ดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ระหว่ า งครู ผู้ ส อน
ผู้เชี่ยวชาญ นักการศึกษาและผู้บริหารเกี่ยวกับการปฏิบัติงานสอนและการจัดการเรียนรู้เพื่อสะท้อน
ผลการปฏิบัติรวมทั้งร่วมกันเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติที่ช่วยให้การเรียนรู้ของนักเรียนเกิดได้ดีขึ้น
ซึ่งการสะท้อนผลและการชี้แนะการปฏิบัติจะเป็นเครื่องมือหรือกลไกในการทบทวนประเด็นพื้นฐาน
สาคัญที่จะก่อให้เกิดผลทางบวกต่อการเรียนการสอนและคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียน หรือ
ช่วยพัฒนาการจัดการเรียนรู้และส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
18
18
4) การร่ ว มมือรวมพลั ง (Collaboration) ชุมชนการเรี ยนรู้ ท างวิช าชีพให้
ความสาคัญกับการร่วมมือรวมพลังโดยการร่วมมือรวมพลังนี้จะต้องเป็นการร่วมมือรวมพลังของครูใน
ภาพรวมทั้งหมดของโรงเรียน และสิ่งสาคัญของการร่วมมือรวมพลังในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ คือ
การดาเนินกิจกรรมเพื่อมุ่งไปสู่ค วามสาเร็จภายใต้เป้าหมายเดียวกัน ทั้งนี้การร่วมมือรวมพลังจะให้
ความสาคัญกับความรู้สึกพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันของสมาชิกในชุมชนระหว่างการดาเนินกิจกรรม
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ เช่น เกิดการแลกเปลี่ยนเทคนิคการสอน สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และ
แนวทางการจัดการเรียนรู้ต่างๆ
5) การสนับสนุนการจัดลาดับโครงสร้างและความสัมพันธ์ของบุคลากร (Supportive
conditions structural arrangements and collegial relationships) การเตรียมพร้อมในด้านการ
สนับสนุนให้บุคลากรหรือสมาชิกในชุมชนได้มีโอกาสสังเกตการสอน วิพากษ์วิจารณ์และสะท้อนการ
ปฏิบัติงาน รวมทั้งการสอนของเพื่อนร่วมงานและของชุมชนการเรียนรู้เพื่อมุ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้
ที่จะเกิดขึ้นในชุมชนและส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นในตัวผู้เรียนจะช่วยสนับสนุนให้เกิดชุมชนการ
เรียนรู้ทางวิชาชีพได้อย่างสมบูรณ์
องค์ประกอบทั้ง 5 องค์ประกอบดังกล่าวข้างต้นไม่มีลักษณะเป็นลาดับขั้น (Hierarchy) แต่เป็น
ลักษณะที่ใช้แบ่งแยกให้เห็นความแตกต่างระหว่าง PLC กับชุมชนหรือการรวมกลุ่มในโรงเรียนโดยทั่วไป
นอกจากนี้ Hord, Roussin and Sommers (2010) ได้อธิบายว่าชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ยังสามารถ
พิจารณาได้ในอีกลักษณะ คือ นอกจากจะประกอบด้วยองค์ประกอบหลักทั้ง 5 ประการแล้ว องค์ประกอบ
เหล่านี้ยังจัดเป็นองค์ประกอบภายนอกหรือกระบวนการที่ทาให้เกิดองค์ความรู้ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่สาคัญของ
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยความสัมพันธ์ขององค์ประกอบที่กล่าวมาสรุปได้ว่าชุมชนการเรียนรู้ทาง
วิชาชีพ จะประกอบด้วย 1) ส่วนที่เป็นผลลัพธ์ คือ องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มและสมาชิกชุมชน
การเรียนรู้ทางวิชาชีพสามารถนาความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ และ 2) คุณลักษณะสาคัญที่ก่อให้เกิด
องค์ความรู้ โดยความสัมพันธ์ดังกล่าวสามารถแสดงได้ดังแผนภาพ
1919
มีบรรทัดฐาน ค่านิยมร่วมกัน
สนับสนุนความสัมพันธ์
บุคลากร
คุณลักษณะสาคัญที่
ก่อให้เกิดองค์ความรู้
ร่วมมือ รวมพลัง
ร่วมกันรับผิดชอบ
การเรียนรู้ของผู้เรียน
องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจาก
การรวมกลุ่มและสมาชิก
PLC สามารถนาความรู้
ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้
สืบสอบ เพื่อสะท้อนผลเชิงวิชาชีพ
แผนภาพที่ 1.1 ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
4. แนวทางในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
จากการศึกษากระบวนการทางานของครูที่เป็นสมาชิกในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพพบว่ามี
แนวทางที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ภายในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพหรือ PLC ดังนี้ (Hord, Roussin &
Sommers, 2010)
1. ครูและสมาชิกในกลุ่มร่วมกันระบุเป้าหมายการเรียนรู้ของผู้เรียน หรือผลการ
เรียนรู้ที่คาดหวังที่จาเป็นต้องให้ความสาคัญเป็นพิเศษ
2. ครูผู้สอนและสมาชิกในกลุ่มร่วมกันการสะท้อนผลการปฏิบัติการสอน
การจัดการเรียนรู้และสิ่งที่มีผลกระทบกับผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
3. ครูผู้สอนและสมาชิกในกลุ่มร่วมกันพิจารณาและตัดสินใจเลือกแนวทางที่ควร
จัดให้กับผู้เรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด โดยพิจารณาจากข้อมูลที่มีอยู่
การจัดการเรียนรู้แต่ละครั้งนั้น จะพบว่านักเรียนมีความต้องการที่หลากหลายแตกต่างกันไป
ครูผู้สอนจึงไม่สามารถจัดการเรียนรู้แบบเฉพาะเจาะจงหรือใช้แนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่
เหมือนกันทุกครั้งได้ ดังนั้นในการเตรียมการสอนหรือวางแผนการสอนแต่ละครั้ง ครูผู้สอนที่เป็น
สมาชิกในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพควรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในประเด็นต่อไปนี้
20
20
- ระบุขอบเขตความรู้ที่สาคัญที่นักเรียนควรได้เรียนรู้และพิจารณาเลือกจากสิ่งที่
สาคัญที่สุด
- กาหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเนื้อหาและสัมพันธ์กับความ
ต้องการของผู้เรียน ระยะนี้เป็นระยะที่ต้องอาศัยการเรียนรู้ทางวิชาชีพในการเลือกใช้และพัฒนา
เทคนิค วิธีการสอน แนวทางรวมทั้งรูปแบบการสอนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
- ยอมรับเทคนิค วิธีการสอน แนวทางรวมทั้งรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เป็นองค์
ความรู้ใหม่ หรือสิ่งที่ครูผู้สอนเกิดการเรียนรู้จากการนาองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้
- ตัดสินใจเลือกแนวทางที่เหมาะและนาไปปรับใช้ รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการ
เรียนรู้ของผู้เรียนและของครูผู้สอนที่เป็นสมาชิกใน PLC อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาแนวทางจัดการ
เรียนรู้ของตนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- วางแผนการทางานร่วมกันเพื่อทดลองใช้แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ร่วมกัน
พัฒนาขึ้น
- พิจารณาใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไขอีกครั้งโดยอาจให้
ผู้สอนท่านอื่นนาแผนดังกล่าวไปใช้เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
- ปรับปรุงและแก้ไขแผนการจัดการเรียนรู้ จนได้แผนการจัดการเรียนรู้ที่มี
ประสิทธิภาพและเหมาะสมกับบริบทมากที่สุด
แนวทางดังกล่าวบางประเด็นมีการทับซ้อนกัน และเป็นวงจรปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง จึงสามารถ
สรุปเป็นวงจรการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพได้ดังแผนภาพ
ระบุความต้องการ
ของผูเ้ รียน และ
ความสาคัญ
ครูร่วมกันวาง
แผนการเรียนรูแ้ ละ
ทดลองใช้
สะท้อนผลการทางาน
และพิจารณาแนวทาง
ทีเ่ หมาะสมกับผูเ้ รียน
ตรวจสอบแผน และ
กระบวนการ
นาไปใช้
ศึกษาแนวทาง
วิธกี ารสอน และ
ทดลองใช้วธิ ใี หม่
ปรับปรุงแก้ไขบน
พืน้ ฐานของข้อมูล
แผนภาพที่ 1.2 วงจรการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ดัดแปลงจาก: Luis Martinez อ้างถึงใน Hord, Roussin & Sommers, 2010
2121
นอกจากแนวทางการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพดังที่เสนอไปแล้วนั้น Murphy and
Dale (2005) ยังได้เสนอแนวทางสาคัญที่ควรใช้เพื่อให้ครูเกิดการรวมกลุ่มและเกิดการทางานแบบ
ร่วมมือรวมพลังซึ่งจะทาให้ในโรงเรียนเกิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพขึ้น โดยการสร้างกลุ่มหรือทีม
ได้แก่
กลุ่มคณะกรรมการ (Committees) เป็นการรวมกลุ่มของสมาชิกในโรงเรียนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
โดยสมัครใจ ส่วนใหญ่มักเป็นลักษณะงานด้านการบริหารที่มีการกาหนดวัตถุประสงค์ไว้ล่วงหน้า โดยมี
งานที่ได้รับมอบหมายเป็นจุดเน้นในการสืบสอบหาแนวทางในการแก้ปัญหาและพัฒนาเพื่อนาไปทดลอง
ใช้
กลุ่มวิพากษ์ (Critical Friends Group) เป็นการรวมกลุ่มของครูผู้สอนที่มีความสนใจ
ตรงกันรวมทั้งผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษาของกลุ่ม โดยในแต่ละกลุ่มจะมีสมาชิกไม่เกิน 12 คน เพื่อ
พบปะและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้งฝึกวางแผนและพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้อย่าง
น้อยเดือนละครั้งตามข้อตกลงที่วางไว้ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักอยู่ที่การเรียนรู้ของนักเรียน
กลุ่มให้คาปรึกษา (Peer Coaching Team) เป็นการรวมกลุ่มของครูผู้สอน 2-3 คน เพื่อ
ร่วมกันวางแผนการจัดการเรียนรู้และทาการสังเกตการสอนของเพื่อนครูผู้สอนที่เป็นสมาชิกในกลุ่ม
จากนั้นจึงให้ข้อสังเกต คาแนะนา และข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการเรี ยนรู้ให้สมบูรณ์
ยิ่งขึ้น
กลุ่มเรียนรู้ (Study Groups / Independent or Stand-Alone) เป็นกลุ่มที่เรียนรู้การ
ปฏิบัติจากกลุ่มการเรียนรู้ย่อยๆ กลุ่มอื่น หรือสมาชิกคนอื่นในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในกรณีนี้อาจ
เป็นการเรียนรู้ของสมาชิกครูผู้สอนที่อยู่โรงเรียนต่างกันได้ โดยมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การเรียนรู้ในประเด็นที่
ตนสนใจ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในประเด็นนั้นเพิ่มมากขึ้น
ทีมวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research Team) การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการปฏิบัติ
งานของบุคคลหรือหน่วยงาน เป็นกระบวนการวิจัยที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานจริง โดยคานึงถึงบริบท
ทางการศึกษา
ชุมชนการเรียนรู้ย่อย (Small Learning Community) เป็นการรวมกลุ่มของสมาชิก
ส่วนหนึ่งในโรงเรียนที่มีภาระหน้าที่หรือความรับผิดชอบใกล้เคียงกัน เช่น สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้
เดียวกัน ประจาระดับชั้นเดียวกัน เป็นต้น เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ข้อแนะนาเพื่อพัฒนาการ
จัดการเรียนรู้และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้สูงขึ้น
นอกจากการสร้างกลุ่มหรือทีมแล้ว กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในชุมชนการเรียนรู้
ทางวิชาชีพเช่น การประชุมกลุ่ม (Department, Team, and Grade-Level Meetings) ซึ่ง
มุ่งเน้นการประชุมของสมาชิกในหลายๆ ระดับอาจเป็นกลุ่มครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกัน
หรือระดับชั้นเดียวกัน หรือมีความสนใจในประเด็นเดียวกัน มารวมกลุ่มกันเพื่อ เพื่อมุ่งพัฒนาตาม
เป้าหมายที่โรงเรียนหรือเขตพื้นที่กาหนดไว้ โดยใช้วิธีการพูด คุยเป็นหลัก หรือ การพัฒนาบทเรียน
22
22
ร่วมกัน (Lesson Study) ซึ่งเป็นแนวคิดการพัฒนาครูที่มีการรวมกลุ่มของครู อาจไม่จาเป็นต้องทา
ในโรงเรียน หรือใช้โรงเรียนเป็นฐาน (school-based) โดยมุ่งที่การศึกษาตัวบทเรียนซึ่งหมายถึง
แผนการจัดการเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ และการสังเกต สะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ ซึ่งอยู่
ในบริบทการทางานจริงและการวิจัยในชั้นเรียน เป็นวงจรการปฏิบัติ ก็อาจจะช่วยให้เกิดการรวมตัว
กันของสมาชิกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
Hipp and Weber (2008) ได้ทาการศึกษาพฤติกรรมของครูผู้สอนซึ่งเป็นสมาชิกในชุมชน
การเรี ย นรู้ ท างวิ ช าชี พ ที่ มี ผ ลกระทบต่ อ โรงเรี ย น การเรี ย นรู้ ข องนั ก เรี ย น และได้ ส รุ ป เกี่ ย วกั บ
คุณลักษณะสาคัญที่ก่อให้เกิดความสาเร็จในการเรียนรู้ของครูผู้สอนในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
โดยกล่าวว่าการรวมตัวเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพนั้น สมาชิกในชุมชนจะต้องมีคุณลักษณะ
ร่วมกัน ดังนี้ มีความซื่อสัตย์ มีความเป็นน้าหนึ่งใจเดียว มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีความเมตตา
กรุณา มีความคาดหวังสาหรับตัวเองในระดับสูง และที่สาคัญคือมีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน
เนื่องจากเป้าหมายหลักของ PLC คือ การเรียนรู้ของสมาชิกที่เกิดขึ้น ภายในชุมชน ดังนั้นใน
การร่วมมือรวมพลัง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสมาชิกในชุมชนเพื่อให้เกิด PLC นั้น Hord, Roussin and
Sommers (2012) ระบุว่าการร่วมมือรวมพลังและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสมาชิกในชุมชน
การเรียนรู้ทางวิชาชีพจะต้องอาศัยความหวัง หรือ HOPE ซึ่งมีความหมาย ดังนี้
H: Honesty and Humanity คือ มีความซื่อสัตย์และมีมนุษยธรรม หมายความว่าครูผู้สอน
ซึ่งเป็นสมาชิกในชุมชนจะต้องซื่อสัตย์กับข้อมูลที่มีอยู่จริงทั้งในแง่ของผลการเรียนของผู้เรียน ความรู้
และทักษะที่ตนมีอยู่ รวมทั้งกล้าที่จะขอความช่วยเหลือและเรียนรู้จากผู้อื่นที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ
มากกว่าเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น
O: Option and Openness คือ การมีทางเลือกและมีความจริงใจ เปิดเผย หมายความว่า
ในการจัดการเรียนรู้แต่ละครั้งมีวิธีการหรือแนวทางหลากหลายวิธี ครูผู้สอนต้องเลือกวิ ธีการหรือ
แนวทางที่ดีที่สุด และเปิดเผยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้สมาชิกได้รับทราบร่วมกัน
P: Patience and Persistence คือ มีความอดทน ความเพียรพยายาม หมายความว่า
ครูผู้สอนต้องอดทนและเพียรพยามเพื่อหาแนวทางที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด
แม้ว่าความอดทนอาจไม่ใช่บรรทัดฐานของสังคมในปัจจุบัน แต่ความอดทนและเพียรพยายามในการ
ค้นหาคาตอบที่ดีที่สุดเป็นสิ่งจาเป็นในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
E: Efficacy and Enthusiasm คือ ความมีประสิทธิภาพ และความกระตือรือร้น หมายความ
ว่าครูผู้สอนซึ่งเป็น สมาชิกในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพต้องเชื่อมั่นว่าประสิทธิภาพของครูผู้สอน
ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน และต้องกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเองให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้
สามารถจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน
2323
5. การพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้ PLC
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพหรือ PLC ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะการกระทาที่แสดงถึงการแบ่งปัน
หรือการแลกเปลี่ยนของครู แต่มุ่งให้ความสาคัญในการสร้างวัฒนธรรมการทางานร่วมกัน ความจริงใจ
ของสมาชิก และการดาเนินการอย่างต่อเนื่องในโรงเรียน และมุ่งเน้นไปที่การสะท้อนผลการปฏิบัติ
รวมทั้งร่วมกันเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน โดยมีสมมติฐานคือ สิ่งที่
ครูทาร่วมกันนอกห้องเรียนในการวางแผน การออกแบบการจัดการเรียนรู้และการเตรียมการสอนมี
ความสาคัญเท่าๆ กับการจัดการเรีย นรู้ในห้องเรียน และกระบวนการต่างๆ เหล่ านี้สามารถปรั บ
โครงสร้างของโรงเรียน พัฒนาวิชาชีพครูและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนได้ (Seashore, Anderson
& Riedel, 2003) สอดคล้องกับนักการศึกษาอีกหลายท่านที่สรุปเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของ PLC ไว้
ว่า ถึงแม้การสร้าง PLC ในโรงเรียนจะเป็นเรื่องยากแต่ทว่ากลับเป็นสิ่งที่ช่วยปรับปรุงการเรียนรู้ของ
นักเรียนในโรงเรียนได้อย่างยั่งยืน (Louis, Kruse & Byrk, 1995; Newman & Wehlage, 1995;
Hord, 1997, 2004; Olivier & Hipp, 2006; Rosenholtz, 1989; Sackney, Mitchell & Walker,
2005; Schmoker, 2006 อ้างถึงใน Hipp & Weber, 2008, Cranston, 2009)
บทบาทของครูในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพจาเป็นต้องเปลี่ยนแปลง และการจัดการศึกษา
จะต้องเปลี่ยนจากการเน้นที่การสอนของครูเป็นเน้นที่การเรียนรู้ของนักเรียน และเปลี่ยนจากเน้นที่
การเรียนของแต่ละบุคคล (Individual Learning) มาเป็นเน้นที่การเรียนร่วมกันเป็นกลุ่ม (Team
Learning) รวมทั้งเปลี่ยนจากการเรียนแบบเน้นการแข่งขันมาเป็นเน้น ที่ความร่วมมือหรือช่วยเหลือ
แบ่งปันกัน จึงถือเป็นการเรียนรู้ร่วมกันไปกับกระบวนการเรียนรู้ของครูผู้สอนและสมาชิกที่อยู่ใน
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (วิจารณ์ พาณิช, 2555)
นอกจากนี้มีงานวิจัยจานวนหนึ่งแสดงถึงผลที่เกิดจาก PLC ว่าสามารถช่วยส่งเสริมสมรรถนะการ
สอนของครูได้ และช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
(Annenberg Institute for School Reform, 2013) เนื่องจากชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่
เข้มแข็งมีประโยชน์ต่อการดาเนินงานของโรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษาในการช่วยให้ครูมีความรู้
ความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่ต้องจัดการเรียนรู้ รวมทั้งรู้วิธีการและแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่
เหมาะสม มีความพึงพอใจในการทางาน ปฏิบัติการสอนมากขึ้น จึงช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนสู งขึ้น
และชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพยังช่วยทาให้เกิดการปรับเปลี่ยนทางโครงสร้างวัฒนธรรมการทางาน
ในโรงเรียน โดยครูรวมทั้งผู้บริหารมีโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติการ
สอนในบรรยากาศที่เอื้อให้เกิดการพัฒนา โดยมีเป้าหมายหลักร่วมกัน คือเพื่อ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ได้ดียิ่งขึ้น
24
24
6. การนาแนวคิด PLC ไปปฏิบัติในบริบทไทย
ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีการนาแนวคิด PLC ไปปฏิบัติมากขึ้น เช่น การสร้างชุมชนแห่งการ
เรียนรู้ทางวิชาชีพครู โดยใช้กระบวนการชี้แนะ และการเป็นพี่เลี้ยง ซึ่งเป็นการพัฒนาครูประจาการใน
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 1 และ เขต 42 รวมทั้งสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษา จังหวัดตราด และระยอง เขต 2 โดยคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้
การประสานงานของสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อพัฒนาครูประจาการบนฐานโรงเรียนในขณะ
ปฏิบัติการสอน หรือ การสร้างชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ ของมูลนิธิสดศรี -สฤษดิ์วงศ์ ซึ่งเป็นการ
รวมตัวกัน ของสมาชิกครู ที่มีความมุ่งมั่น มีอุดมการณ์และเป้าหมายร่วมกัน แม้จะมาจากสั งกัดที่
แตกต่างกัน รวมทั้ง ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนเพลินพัฒ นา ที่นาวิธีการศึก ษาผ่าน
บทเรียนหรือ Lesson Study เข้ามาปรับใช้ เป็นเครื่องมือในการฝึกครูให้เรียนรู้ไปกับงาน ฝึกผู้เรียน
ให้มีทักษะการเรียนรู้ และเกิดความเข้าใจในความคิดของตนเอง การเรียนรู้ร่วมกันของกลุ่มครูใน
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพจึงก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และช่วยให้ครูใหม่ได้เรียนรู้
แบบปฏิบัติที่ดีของครูรุ่นพี่ เป็นต้น
การดาเนินการในลักษณะดังกล่าว พบว่า ครูจะต้องเกิดการตื่นตัวและร่วมมือกันเพื่อพัฒนาการ
เรียนรู้ของผู้เรียนเป็นหลัก ตามบริบท ธรรมชาติการอยู่ร่วมกันแต่ละพื้นที่ นอกจากนั้น หน้าที่ของ
ฝ่ายบริหารภายในสถานศึกษาจาเป็นต้องเปลี่ยนจากการบริหารจัดการ กากับ ควบคุมดูแล เป็นผู้ที่
คอยสนับสนุนให้ครูตื่นตัว ช่วยสนับสนุนให้ครูเกิดการเรียนรู้ เพื่อขับเคลื่อนการทางานที่สอดคล้องกับ
วิชาชีพได้อย่างมีความสุข และเป็นการดาเนินการในลักษณะต่อเนื่องที่ไม่มีรูปแบบแน่ชัดตายตั ว แต่
เป็นการดาเนินการที่สอดคล้องกับสภาพและบริบทของสถานศึกษาแต่ละแห่ง
สถานศึกษาที่ดาเนินการตามแนวคิด PLC จะช่วยให้เกิดการรวมตัวกันเรียนรู้ของกลุ่มครู และมี
บรรยากาศในการเรียนรู้ที่มีความเป็นกัลยาณมิตรและพึ่งพาอาศัยกัน จนเกิดเป็นวงจรการเรียนรู้และ
พัฒนาตนเองของครูอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการทางานที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในลักษณะนี้จะช่วยให้
เกิดการมองเห็นงานของตนจากการเรียนรู้วิธีการทางานของคนอื่นด้วย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพจึงเป็นการปฏิวัติโครงสร้าง ระบบการทางาน และวัฒนธรรมการทางาน
ในโรงเรียน จากระบบตัวใครตัวมัน มาเป็นระบบทีม หรือวัฒนธรรมรวมหมู่ (collective culture)
โครงสร้างของระบบงาน ระบบการจั ดการเรียนการสอนจะต้องปรับเปลี่ยนให้เอื้อต่อการช่วยกัน
ดาเนินการช่วยเหลือนักเรียนที่เรียนช้าให้เรียนตามเพื่อนทัน โดยที่การช่วยเหลือนั้นทาเป็นทีม มี
หลายฝ่ายเข้ามาร่วมมือกัน และทาอยู่ภายในเวลาปฏิบัติงานปกติของโรงเรียน ไม่ใช่สอนนอกเวลา ทา
ให้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือ PLC กลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ขับเคลื่อนคุณภาพของ
ผลผลิตของโรงเรียน และสร้างสรรค์ให้โรงเรียนเป็นสถานที่ที่อยู่แล้วมีความสุข (happy workplace)
2525
ทั้งของนักเรียน ครู และผู้บริหาร แล้วดาเนินการต่อเนื่องยั่งยืนเป็นวงจรไม่รู้จบ ซึ่งก็คือโรงเรียนได้
พัฒนาขึ้นเป็นองค์กรเรียนรู้ (Learning Organization) (วิจารณ์ พานิช, 2555)
บทสรุป
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพจะเปลี่ยนบรรยากาศของ “โรงเรียน” ช่วยให้สมาชิกอันได้แก่
ครู ผู้ ส อน ผู้ บ ริ ห าร นั กการศึกษา และผู้ มีส่ ว นได้ส่ ว นเสี ย คือ นักเรียนหรือแม้กระทั่งผู้ ปกครองมี
ความรู้สึกร่วมกันเป็นเจ้าของโรงเรียนหรือชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพอย่างเท่าเทียมกัน โดยมุ่งเน้นที่
การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นหลัก และเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และบรรลุวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้
ครูผู้สอนรวมทั้งสมาชิกทุกคนในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพจึงต้องร่วมกันคิดหาวิธีการใหม่ๆ ในการ
จัดการเรียนรู้แล้วนาผลที่เกิดขึ้นมาปรึกษาหารือ หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน โดยทุกคนมีความเชื่อมั่น
ในตนเองและเชื่อมั่นซึ่งกันและกันว่า จะสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้และสมาชิกทุกคนจะเกิดการ
พัฒนาเนื่องจากคุณลักษณะสาคัญที่ช่วยให้เกิดเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพนั้น ครูผู้สอนรวมทั้ง
สมาชิกในชุมชนจะต้องมีบรรทัดฐานและค่านิยมร่วมกัน รวมทั้งร่วมกันรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของ
นักเรียน โดยกระบวนการที่สมาชิกทุกคนต้องดาเนินการคือการสืบสอบเพื่อสะท้อนผลเชิงวิชาชีพ ซึ่ง
กระบวนการทุกอย่างต้องอาศัยการร่วมมือรวมพลังกัน และจาเป็นต้องได้รับการสนับสนุนด้านการ
จัดลาดับโครงสร้างและความสัมพันธ์ของบุคลากรในโรงเรียนให้เอื้อต่อการวางแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน
สามารถสังเกตและสืบสอบเพื่อสะท้อนผลเชิงวิชาชีพได้ ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพจึงเปรียบเสมือน
เครื่องมือสาหรับให้ครูรวมตัวกันเป็นชุมชน (community) และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับ
“ปฏิรูป” การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนรวมทั้งพัฒนาวิชาชีพครู
26
26
รายการอ้างอิง
ภาษาไทย
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สานักงาน. (2545). รายงานฉบับสังเคราะห์ จากวิกฤติสู่โอกาส
สิ่งที่ยังท้าทายการปฏิรูปการศึกษาของไทย. กรุงเทพฯ : สานักงานคณะกรรมการ
การศึกษาแห่งชาติ.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ (ฉบับราชบัณฑิตยสถาน). กรุงเทพฯ:
ราชบัณฑิตยสถาน.
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และ อธิป จิตตฤกษ์. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษ
ที่ 21. กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส.
วิจารณ์ พาณิชย์. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตา พับลิเคชั่น
จากัด.
วิมลศรี ศุษิลวรณ์. (2555). การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21: เพลินพัฒนาโมเดล: ทั้งนักเรียนและครูพัฒนา
ทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ โรงเรียนเพลินพัฒนา.
ภาษาอังกฤษ
Annenberg Institute for School Reform. (2013). Professional Learning Communities:
Professional Development Strategies That Improve Instruction. [Online].
Available from: http://www. annenberginstitute.org/pdf/proflearning.pdf.
[2013, May 2].
Brookfield, S. D., & Brookfield, S. (1995). Becoming a critically reflective teacher.
San Francisco: Jossey-Bass.
Bulkley, K. E., & Hicks, J. (2005). Managing community: Professional community in
charter schools operated by educational management
organizations. Educational Administration Quarterly, 41(2), 306-348.
Cranston, J. (2009). Holding the Reins of the Professional Learning Community: Eight
Themes from Research on Principals' Perceptions of Professional Learning
Communities. Canadian journal of educational administration and
policy, 90, 1-22.
2727
Darling-Hammond, L. (1999). Teacher quality and student achievement: A review
of state policy evidence. Seattle, WA: Center for the Study of Teaching
and Policy, University of Washington.
DuFour, R. (2007). Professional Learning Communities: A Bandwagon, an Idea Worth
Considering, or Our Best Hope for High Levels of Learning?. Middle
School Journal (J1), 39(1), 4-8.
Hipp, K. K., & Weber, P. (2008). Developing a Professional Learning Community among
Urban School Principals. Journal of urban learning, teaching, and
research, 4, 46-56.
Hord, S. M., Roussin, J. L., & Sommers, W. A. (2009). Guiding professional learning
communities: Inspiration, challenge, surprise, and meaning. Corwin Press.
Martin M. (2011). Professional Learning Communities. In Contemporary Issues in
Learning and Teaching, pp.142-152. London: SAGE Publications Ltd.
McLaughlin, M. W., & Talbert, J. E. (2006). Building school-based teacher learning
communities: Professional strategies to improve student
achievement (Vol. 45). Teachers College Press.
Murphy, C.U. & Dale, W.L. (2005). Whole – Faculty Study Groups: creating
Professional Learning Communities That Target Student Learning. 3rd
edition. California: Corwin Press.
Padwad, A., & Dixit, K. K. (2008). Impact of Professional Learning Community
Participation on Teachers' Thinking about Classroom Problems. TeslEj, 12(3), n3.
Seashore, K.R., Anderson, A.R. & Riedel, E. (2003). Implementing arts for
academicachievement: The impact of mental models, professional
community and interdisciplinary teaming. Paper presented at the 17th
Conference of the International Congress for School Effectiveness and
Improvement, Rotterdam, January.
Stoll, L., & Louis, K. S. (2007). Professional learning communities: Elaborating new
approaches. Professional learning communities: Divergence, depth
and dilemmas, 1-13.
28
28
ข้อคิดเพื่อพัฒนาครูสู่ผู้เรียน
“เนิบช้า จริงจัง ยั่งยืน”
Download