Uploaded by Mintty

ระบบหมุนเวียนเลือด หายใจ

advertisement
- Mintty -
วิทยาศาสตร์ ม.2 l 1
หน่วยที่
3 ร่างกายมนุษย์
บทที่ 1 ระบบอวัยวะในร่างกายของเรา
ทบทวน 1 : จง
ข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. สารอาหารขนาดเล็กส่วนใหญ่จะถูกดูดซึมทีบ่ ริเวณใดของระบบทางเดินอาหาร
ก. หลอดอาหาร
ข. กระเพาะอาหาร
ค. ลำไส้เล็ก
ง. ลำไส้ใหญ่
2. อาหารส่วนใหญ่จะถูกลำเลียงไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย โดยไปกับสิ่งใด
ก. เซลล์เม็ดเลือดแดง
ข.เลือด
ค. น้ำเหลือง
ง. ไขมัน
3. จงเรียงลำดับการจัดระบบในร่างกายจากหน่วยใหญ่ไปยังหน่วยเล็กที่สุด
1. สิ่งมีชีวิต
2. เซลล์
3. ระบบอวัยวะ
4. เนื้อเยื่อ
ก. 1 2 3 4 5
ข. 1 3 5 4 2
ค. 2 4 5 3 1
ง. 3 1 4 5 2
4. ภาพใดแสดงระบบอวัยวะของร่างกาย
ก.
ข.
ค.
ง.
5. อวัยวะ
- Mintty -
วิทยาศาสตร์ ม.2 l 2
เรื่องที่ 1 ระบบหมุนเวียนเลือด
“ ร่างกายเมื่อโตเต็มวัยจะมีเลือดอยู่ประมาณ 5-6 ลิตร คิดเป็น 7-8 % ของน้ำหนักตัว ”
• เลือดเป็นของเหลวสีแดง
• เมื่อนำมาปั่นแยกจะได้ของเหลวใส คือ พลาสมา (Plasma)
มีอยู่ประมาณ 55 % ของเลือด
• ชั้นล่างมี เซลล์เม็ดเลือดแดง (red blood cell)
เซลล์เม็ดเลือดขาว (white blood cell) และเกล็ดเลือด
(platelets)
รูปที่ 1 การแยกชัน้ ของเลือดเมื่อนาไปปั่ นแยก
** พลาสมา ประกอบด้วยน้ำและสารหลายชนิด เช่น โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด
แอนติบอดี สารอาหาร ฮอร์โมน ยูเรีย ไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออน (HCO3-)
เซลล์เม็ดเลือดแดง
- ไม่มนี วิ เคลียส
- มีประมาณ 5-6 ล้านเซลล์ต่อเลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร
- สร้างจาก ไขกระดูก เซลล์เกิดใหม่จะมีนิวเคลียส ( แต่เมื่อเจริญเต็มที่นิวเคลียสจะสลายไป
ก่อนปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด )
- เซลล์เม็ดเลือดแดงมี เฮโมโกลบิน ซึ่งเป็นโปรตีนที่มธี าตุเหล็กเป็นองค์ประกอบ
- เฮโมโกลบินจะจับกับ O2 ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงลำเลียง O2ไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย
- เซลล์เม็ดเลือดแดงมีอายุประมาณ 100 - 120 วัน
- ถูกทำลายทีต่ บั และม้าม
- Mintty -
วิทยาศาสตร์ ม.2 l 3
เซลล์เม็ดเลือดขาว
-
ทำหน้าที่เป็นหน่วยป้องกันทีส่ ำคัญของร่างกาย
สร้างจากไขกระดูก เป็นเซลล์ที่มนี วิ เคลียสอยู่ตลอดชีวิต
บางชนิดทำหน้าทีจ่ บั และทำลายเชือ้ โรค สิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่รา่ งกาย
บางชนิดสร้างแอนติบอดีซ้ ึ่งเป็นสารประเภทโปรตีน ทำให้รา่ งกายมีภูมิคุ้มกันต่อโรค
เซลล์เม็ดเลือดขาวมีประมาณ 500 - 11,000 เซลล์ต่อเลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร
แต่เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมทีท่ ำให้เกิดโรคในร่างกาย เซลล์เม็ดเลือดขาวจะเพิ่มจำนวนขึ้นเซลล์
มีอายุสั้นกว่าเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยบางชนิดมีอายุเพียงไม่กี่วันแล้วก็ตายไป
ระบบหมู่เลือด ABO
ตารางที่ 1 : แสดงชนิดของแอนติเจนและแอนติบอดี้ในเลือดหมู่ต่างๆ
เลือดหมู่
A
B
AB
O
แอนติเจนบนผิวเม็ดเลือดแดง
แอนติเจน A
แอนติเจน B
แอนติเจน A และ B
ไม่มี
ชนิดของแอนติบอดีในพลาสมา
แอนติบอดี B
แอนติบอดี A
ไม่มี
แอนติบอดี A และ B
* แอนติเจน หรือ สารก่อภูมิต้านทาน คือ สารใดๆ ที่กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน
แบบปรับตัว (adaptive immune response) แอนติเจนมักเป็นสารที่แปลกปลอมหรือเป็นพิษต่อ
ร่างกาย (เช่น ตัวเชื้อแบคทีเรีย) ซึ่งเมื่อเข้ามาในร่างกายแล้วจะถูกจับโดยแอนติบอดีที่มีความจำเพาะ
แอนติบอดีแต่ละชนิดถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองกับแอนติเจนชนิดหนึ่ง ๆ
- Mintty -
วิทยาศาสตร์ ม.2 l 4
หลักการให้เลือด
หลอดเลือด
รูปที่ 2 หลักการให้เลือด
หลอดเลือดแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่
1. หลอดเลือดอาร์เทอรี (Arterial blood vessel)
ทำหน้าที่นำเลือดออกจากหัวใจ เพื่อนำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
2. หลอดเลือดเวน (Venous blood vessel)
ทำหน้าที่นำเลือดออกจากส่วนต่างๆของร่างกายกลับเข้าสูห่ วั ใจ
3.หลอดเลือดฝอย (Capilary)
แตกแขนงเป็นร่างแหแทรกไปตามเนื้อเยื่อของร่างกาย และเชื่อมต่อระหว่างอาร์เทอ
รีขนาดเล็กกับเวนขนาดเล็ก หลอดเลือดฝอยเป็นบริเวณที่มีการแลกเปลีย่ นแก๊สและสารกับ
เซลล์ของร่างกาย
* หลอดเลือดอาร์เทอรีผนังหนา ยืดหยุ่นได้ดี ความดันเลือดสูง
มักอยู่ใต้ผิวหนังที่ลึกลงไป หลอดเลือดเวนผนังบาง ยืดหยุ่น
รูปที่ 3 หลอดเลือดเวน หลอดเลือดอาร์เทอรี
และหลอดเลือดฝอย
น้อยกว่า อาศัยการขยาย/หดตัวของกล้ามเนื้อและลิ้นหัวใจ
อยู่ใกล้ผิวหนัง หลอดเลือดฝอยมีขนาดเล็กและบางมาก เป็นบริเวณที่มีการแลกเปลี่ยนแก๊สกับเซลล์
- Mintty -
วิทยาศาสตร์ ม.2 l 5
หลอดเลือดอาร์เทอรีจะลำเลียงเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกายโดยการทำงานของหัวใจ
ซึ่งมีการบีบและคลายตัวเป็นจังหวะตลอดเวลา เพื่อทำหน้าทีส่ ูบฉีดเลือดไปตามหลอดเลือด
หัวใจห้องบนทำหน้าที่รบั เลือด หัวใจห้องล่างมีหน้าทีส่ ่งเลือด ระหว่างหัวใจห้องบนและหัวใจ
ห้องล่างจะมีลนิ้ หัวใจกั้นเพื่อป้องกันเลือดไหลย้อนกลับ
รูปที่ 4 โครงสร้างของหัวใจผ่าตามยาว
* หัวใจห้องล่างซ้ายจะสูบฉีดเลือดที่มีแก๊สออกซิเจนสูงออกจากหัวใจทางหลอดเลือดอาร์เทอรี
ขนาดใหญ่หรือ เอออร์ตา (Aorta) ต่อจากนั้นเลือดจะไหลไปตามหลอดเลือดอาร์เทอรีและหลอดเลือด
ฝอยเพื่อลำเลียงแก๊สออกซิเจนและสารต่างๆไปยังเซลล์ทั่วร่างกาย
* ขณะเดียวกันของเสียต่างๆจากเซลล์ เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ยูเรีย จะแพร่เข้ามายัง
หลอดเลือดฝอย จากนั้นหลอดเลือดฝอยจะเข้าสู่หลอดเลือดเวนและไหลกลับเข้าสู่หัวใจห้องบนขวา
- Mintty -
วิทยาศาสตร์ ม.2 l 6
• เลือดจากหัวใจห้องบนขวาจะไหลเข้าสูห่ ัวใจห้องล่างขวา
• ซึ่งจะบีบตัวเพื่อส่งเลือดที่มี CO2 สูง ไปแลกเปลี่ยนทีป่ อดทางหลอดเลือดอาร์เทอรี
• เลือดที่มีแก๊สออกซิเจนสูงจากปอดจะกลับเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้าย ทางหลอดเลือดเวนที่มาจาก
ปอดและไหลลงสู่หัวใจห้องล่างซ้าย เพื่อนำไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย
รูปที่ 5 การหมุนเวียนเลือดจากหัวใจไปยังปอดและส่วนต่างๆของร่างกายกลับเข้าสูห่ วั ใจ
- Mintty -
วิทยาศาสตร์ ม.2 l 7
ชีพจร (Pulse)
ขณะที่หัวใจบีบตัวจะทำให้เกิดแรงส่งเลือดมายังหลอดเลือดอาร์เทอรี แรงที่มากระทบ
ผนังหลอดเลือดจะทำให้หลอดเลือดขยายตัวเพื่อรับเลือด และหดตัวเพื่อส่งเลือดต่อไป ตามจังหวะ
การบีบตัวของหัวใจแต่ละครั้ง
การขยายตัวและการหดตัวของหลอดเลือดอย่างเป็นจังหวะ เรียกว่า “ ชีพจร (Pulse) ”
อัตราการเต้นของหัวใจสามารถวัดได้จากการจับชีพจรในหนึ่งหน่วยเวลา
การจับชีพจรสามารถจับได้บริเวณต่างๆตามข้อพับ แต่โดยปกติมักจะจับที่บริเวณข้อมือ
ความดันเลือด (Blood pressure)
ขณะหัวใจบีบตัวเพือ่ สูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย และหัวใจคลายตัวเพื่อรับเลือด
จะทำให้เกิดแรงที่เลือดกระทำต่อผนังหลอดเลือด เรียกว่า “ ความดันเลือด (Blood pressure) ”
เช่น วัดความดันเลือดได้ 120/80 มิลลิเมตรปรอท
- ค่าแรกเป็นความดันสูงสุดขณะหัวใจบีบตัว หรือ ความดันซีสโทลิก หรือ ตัวบน
- ค่าหลังเป็นความดันขณะที่หัวใจคลายตัว หรือ ความดันไดแอสโทลิก หรือ ตัวล่าง
โดยทั่วไปผู้ใหญ่จะมีความดันเลือดขณะพักประมาณ 100 ถึง 140 มิลลิเมตรปรอท
ในช่วงหัวใจบีบตัว และ 60 ถึง 90 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจคลายตัว
ผู้ที่มีความดันเลือดสูงคือมีความดันเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท
- Mintty -
วิทยาศาสตร์ ม.2 l 8
รูปที่ 6 ไขมันในหลอดเลือด
ความดันเลือดสูงมีสาเหตุมาจากหลอดเลือดอาร์เทอรีแข็งตัว เนื่องจากการสะสมของไขมันบริเวณ
ผนังด้านในของหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดบริเวณนั้นหนาตัวขึ้น ถ้าไขมันสะสมมากขึน้ อาจทำให้
หลอดเลือดตีบแคบลงจนเกิดอาการอุดตัน
โรคความดันเลือดสูงยังมีสาเหตุจากปัจจัยอื่นๆ เช่น หลอดเลือดแข็งตัวเมื่ออายุมากขึ้น อารมณ์
ความเครียด
โรคหัวใจขาดเลือด มีสาเหตุจากการตีบตันของหลอดเลือดอาร์เทอรีที่มาเลี้ยงหัวใจ
ทำให้ปริมาณของเลือดผ่านไปเลี้ยงหัวใจได้น้อย ถ้าเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอต่อความต้องการของหัวใจ
ก็จะทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกและถ้าหลอดเลือดอาร์เทอรีตีบแคบมากจนอุดตัน จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจ
ขาดเลือดไปเลี้ยง ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายจนเสียชีวิตเฉียบพลัน
โรคหัวใจที่จากสาเหตุอื่นๆ เช่น ความผิดปกติของลิ้นหัวใจ หัวใจพิการ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
การติดเชื้อบริเวณหัวใจ เป็นต้น
- Mintty -
วิทยาศาสตร์ ม.2 l 9
แบบฝึกหัดที่ 1 : ระบบหมุนเวียนโลหิต
ตอนที่ 1 : จงเลือกคำตอบที่ถูกทีส่ ุดเพียงข้อเดียว
1. ส่วนประกอบใดของเลือดที่มีมากที่สุด
เม็ดเลือดแดง
เม็ดเลือดขาว
เกล็ดเลือด
พลาสมา
2.เฮโมโกลบินในเลือดประกอบด้วยอะไรบ้าง
คาร์โบไฮเดรต+เหล็ก
โปรตีน+เหล็ก
ไขมัน+เหล็ก
โปรตีน+ไขมัน+วิตามิน
3. เม็ดเลือดแดงมีลักษณะอย่างไร
1. ไม่มีนิวเคลียส
2. กลม แบน เว้าตรงกลาง
1 และ 2
2 และ 3
1 และ 3
1 , 2 และ 3
3. เป็นเศษของเซลล์ชนิดหนึ่ง
4. สารอาหารต่าง ๆ เช่น โปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ พบที่ส่วนประกอบใดของเลือด
เม็ดเลือดแดง
เม็ดเลือดขาว
เกล็ดเลือด
พลาสมา
- Mintty -
5. บุคคลที่ป่วยอยู่เสมอเป็นเพราะส่วนประกอบใดไม่ปกติ
เม็ดเลือดแดง
เม็ดเลือดขาว
เกล็ดเลือด
พลาสมา
6. นายเด๋อ ป่วยด้วยโรคต่อทอนซิลอักเสบ เลือดของเขาจะเป็นอย่างไร
มีจำนวนเม็ดเลือดขาวมาก
มีจำนวนเกล็ดเลือดมาก
มีจำนวนเม็ดเลือดแดงน้อย
มีจำนวนเม็ดเลือดขาวน้อย
7. สิ่งใดทำหน้าที่ช่วยห้ามเลือดมีบาดแผลเกิดขึ้น
เม็ดเลือดแดง
เม็ดเลือดขาว
เกล็ดเลือด
พลาสมา
8. สารใดไม่มีอยู่ในเลือด
กรดอะมิโน
ไขมัน
วิตามิน
แก๊ส
วิทยาศาสตร์ ม.2 l 10
- Mintty -
วิทยาศาสตร์ ม.2 l 11
9. เม็ดเลือดแดงมีการสร้างใหม่เพือ่ ทดแทนเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุ การบริจาคเลือด
แต่ละครั้ง ควรห่างกันอย่างน้อยกี่เดือน
1-2 เดือน
2-3 เดือน
3-4 เดือน
5-6 เดือน
10. นาโนถูกมีบาดนิ้ว เลือดไหลออกมาไม่หยุด แสดงว่านาโนมีความบกพร่องเกี่ยวกับอะไร
1.เกล็ดเลือด
2.วิตามิน K
3.แคลเซียม
4.เม็ดเลือดแดง
1 , 2 และ 3
1 , 3 และ 4
1 และ 2
2 และ 4
11. เลือดอาร์เทอรีจากปอดหมุนเวียนเข้าสู่หัวใจห้องใด
left atrium
left ventricle
right atrium
right ventricle
12. ลิ้นหัวใจทำหน้าที่อะไร
ควบคุมความเร็วของการไหลเวียนของเลือด
แบ่งแยกเลือดแดงกับเลือดดำ
ควบคุมการบีบตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
ควบคุมทิศทางการไหลของเลือด
- Mintty -
13. เพราะเหตุใด หัวใจห้องล่างซ้ายจึงมีผนังหนาสุด
รับเลือดอาร์เทอรีจากปอดทั้งสองข้าง
รับเลือดเวนจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
ส่งเลือดเวนออกไปปอดทั้งสองข้าง
ส่งเลือดอาร์เทอรีออกไปส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
14. เลือดในตัวคนสามารถไหลจากที่ต่ำไปทีส่ ูงได้ เพราะเหตุใด
เลือดมีน้ำหนักน้อย
เลือดได้รับแรงดันจากปอด
เลือดได้รับแรงดันจากหัวใจ
เลือดได้รับแรงดันจากหัวใจและปอด
15. ข้อใดกล่าวไม่ถกู ต้อง
บริเวณหนังกำพร้าไม่มีเลือดไปเลี้ยง
หัวใจของคนมีขนาดเท่ากับดอกบัวตูม
เลือดดำ หมายถึง เลือดที่มีคาร์บอนไดออกไซด์มาก
หลอดเลือดที่พบทั่วไปบริเวณผิวหนัง เป็นหลอดเลือดเวน
16. หลอดเลือดที่มองเห็นได้ชัดเจนที่หลังมือและข้อมือ คืออะไร
หลอดเลือดออกจากหัวใจ
หลอดเลือดแดง
หลอดเลือดฝอย
หลอดเลือดเข้าสู่หัวใจ
วิทยาศาสตร์ ม.2 l 12
- Mintty -
17. ความดัน 110/70 มิลลิเมตรของปรอด "ตัวเลข 110" หมายถึงอะไร
ความดันขณะหัวใจบีบตัว
ความดันขณะหัวใจคลายตัว
ความดันปกติ
ความดันขณะหัวใจเต้น
18. ข้อใดผิด
ความดันเลือดของชายปกติมีค่า 120/80 มิลลิเมตรของปรอท
อารมณ์โกรธทำให้ความดันสูง เป็นการบริหารหัวใจ
ขณะออกกำลังกาย ความดันเลือดจะสูงขึ้น
ความดันเลือดของชายมากกว่าหญิง
19. เกี่ยวกับระบบหมุนเวียนเลือดของปลา ข้อใดไม่ถ่ กู ต้อง
เลือดที่มีออกซิเจนต่ำจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายปลา จะเข้าสู่หัวใจห้องบน
เลือดที่มีออกซิเจนสูงจากเหงือกจะเข้าสู่หัวใจห้องบน
การแลกเปลี่ยนแก๊สจะเกิดขึ้นบริเวณเหงือก
ปลามีหัวใจ 2 ห้อง
20. เกี่ยวกับระบบหมุนเวียนเลือดของแมลง ข้อใดไม่ถกู ต้อง
หัวใจปลามีจำนวนมากกว่า 1 อัน
ปลามีระบบไหลเวียนเลือดแบบเปิด
เลือดของแมลงเข้าสู่เซลล์ ส่งต่อเข้าเนื้อเยื่อ
หัวใจมีรูเปิดเป็นระยะๆให้เลือดไหลผ่านเข้าไปตามท่อแล้วกระจายไปตามแอ่ง
วิทยาศาสตร์ ม.2 l 13
- Mintty -
วิทยาศาสตร์ ม.2 l 14
เรื่องที่ 2 : ระบบหายใจ
ทบทวน 2 : เขียนเครื่องหมาย
หน้าข้อที่ถูกและเขียนเครื่องหมาย
หน้าข้อที่ผดิ
...............1. การแพร่เป็นการเคลื่อนที่ของสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารต่างๆไปยังบริเวณ
ที่มีความเข้มข้นของสารสูงกว่า
...............2. ระบบหมุนเวียนเลือดทำหน้าที่ลำเลียงแก๊สและสารอาหารไปยังส่วนต่างๆของร่าง
...............3. เซลล์เม็ดเลือดแดงมีเฮโมโกลบินเป็นส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งสามารถจับกับโมเลกุลของ
แก๊สออกซิเจนได้
...............4. เซลล์เม็ดเลือดแดงสร้างที่ไขกระดูกและถูกทำลายที่ตบั และม้าม
...............5. เซลล์เม็ดเลือดขาวมีอายุมากกว่าเซลล์เม็ดเลือดแดง
รูปที่ 7 อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจ
- Mintty -
วิทยาศาสตร์ ม.2 l 15
• อากาศเคลื่อนที่เข้าสู่ร่างกายทางรูจมูก ภายในรูจมูกจะมีความชุ่มชื้นและมีเส้นขนขนาดเล็กที่ช่วย
ดักจับฝุ่นละออง
• อากาศจะเคลื่อนเข้าสู่ ท่อลม (Trachea) ทีม่ ีลักษณะเป็นท่อกลวง
• และเข้าสู่ หลอดลม (Bronchus) ซึ่งจะแตกแขนงเป็นหลอดลมฝอยขนาดเล็กแทรกอยู่ใน
ปอด (Lung) ทั้งสองข้าง
• ปลายสุดของหลอดลมฝอยจะมี ถุงลม (Alveolus) ซึ่งมีผนังบางและมีจำนวนมากหลายล้านถุง
• นอกจากนี้ยงั มีอวัยวะที่เกี่ยวข้อง คือ กระดูกซีโ่ ครง (Rib) โอบล้อมปอดทั้งสองข้างไว้
• และ กระบังลม (Diaphragm) ซึง่ เป็นแผ่นกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ด้านหลังกั้นระหว่างช่องอกกับ
ช่องท้อง
รูปที่ 8 การหายใจเข้าและการหายใจออก
รูปที่ 9 ปริมาณแก๊สต่างๆในลมหายใจเข้าและออก
- Mintty -
วิทยาศาสตร์ ม.2 l 16
รูปที่ 10 การแลกเปลี่ยนแก๊สบริเวณถุงลมกับหลอดเลือดฝอย
• เลือดจากหัวใจห้องล่างขวามีแก๊สออกซิเจนต่ำและมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สูง ถูกลำเลียงมายัง
หลอดเลือดฝอยที่อยู่รอบถุงลมในปอด
• ภายในถุงลมมีอากาศทีไ่ ด้จากการหายใจเข้า ซึ่งมีปริมาณแก๊สออกซิเจนสูงกว่าแก๊สออกซิเจน
ในหลอดเลือดฝอย
• แก๊สออกซิเจนในถุงลมจึงแพร่ผ่านผนังของถุงลมเข้าไปจับกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงที่อยู่
ในหลอดเลือดฝอย
• แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในหลอดเลือดฝอยมีปริมาณสูงกว่าแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในถุงลม
จึงแพร่จากหลอดเลือดฝอยเข้าสู่ถงุ ลมและลำเลียงออกจากร่างกายทางลมหายใจออก
• จากนั้นเลือดที่มีปริมาณแก๊สออกซิเจนสูงและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ จะลำเลียงกลับเข้าสู่
หัวใจห้องบนซ้ายเพื่อไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกายต่อไป
- Mintty -
วิทยาศาสตร์ ม.2 l 17
รูปที่ 10 (ก) การแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างหลอดเลือดฝอยกับเซลล์
(ข) การแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างหลอดเลือดฝอยกับถุงลม
ปอด
• เลือดที่มาจากหัวใจห้องล่างซ้ายไปยังเซลล์ต่างๆของร่างกาย เป็นเลือดที่มีปริมาณ
แก๊สออกซิเจนสูงและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ
• ซึ่งภายในเซลล์มีปริมาณแก๊สออกซิเจนต่ำและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สงู
• ดังนั้นจึงเกิดการแลกเปลี่ยนแก๊สบริเวณหลอดเลือดฝอยกับเซลล์
• โดยแก๊สออกซิเจนจากเฮโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดงจะแพร่ผ่านผนังหลอดเลือดฝอย
ไปยังเซลล์
• ในขณะเดียวกันแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะแพร่ออกจากเซลล์ไปยังหลอดเลือดฝอย
• จากนั้นหลอดเลือดฝอยจะถูกลำเลียงกลับไปยังหัวใจห้องบนขวา และห้องล่างขวาเพื่อนำไป
แลกเปลี่ยนที่ปอดต่อไป
- Mintty -
วิทยาศาสตร์ ม.2 l 18
ปัจจัยที่มีผลต่อความจุอากาศของปอด
1. เพศ – เพศชายจะมีความจุอากาศของปอดมากกว่าเพศหญิง
2. อายุ – คนหนุ่มสาวจะมีความจุอากาศของปอดมากกว่าคนสูงอายุ
3. ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือนักกีฬาจะมีความจุอากาศของปอดมากกว่าคนทั่วไป
โรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น ถุงลมโป่งพอง มะเร็งปอด วัณโรค ปอดติดเชื้อ
ส่งผลทำให้ความจุอากาศของปอดลดลง
สาเหตุของการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง
ส่วนใหญ่เกิดจากการสูบบุหรี่ เนื่องจาก สารพิษ
ในควันบุหรี่ไปทำลายผนังของถุงลมในปอดเป็นผลให้
ผนังถุงลมฉีกขาดและรวมตัวกันเป็นถุงลมขนาดใหญ่ขึ้น
ทำให้พื้นที่ผิวในการแลกเปลี่ยนแก๊สลดลง ร่างกาย
ได้รับแก๊สออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ต้องหายใจเร็ว
ขึ้นเพื่อนำแก๊สออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายให้เพียงพอต่อความ
ต้องการของร่างกาย จึงเกิดอาการเหนื่อยหอบ
นอกจากนีโ้ รคถุงลมโป่งพองเกิดจากการหายใจที่
นำเอาอากาศที่มีฝุ่นละออง ควันพิษ เข้าไปในปอด
ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ
- Mintty -
วิทยาศาสตร์ ม.2 l 19
แบบฝึกหัดที่ 2 : ระบบหายใจ
ตอนที่ 1 : จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องทีส่ ุดเพียงข้อเดียว
1. กระบวนการแลกเปลี่ยนแก๊สเกิดขึ้นที่บริเวณใด
จมูก
หลอดลม
ขั้วปอด
ถุงลม
2. ปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มีผลต่ออัตราการหายใจหรือไม่ อย่างไร
มี เพราะถ้าปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สงู จะทำให้หายใจช้าลง
มี เพราะถ้าปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สงู จะทำให้หายใจเร็วขึ้น
ไม่มี เพราะปริมาณแก๊สทีเ่ กี่ยวข้องกับอัตราการหายใจ คือแก๊สออกซิเจน
ไม่มี เพราะปริมาณแก๊สทีเ่ กี่ยวข้องกับอัตราการหายใจ คือแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์
3. กระบวนการใดที่ทำให้รา่ งกายเผาผลาญอาหารแล้วได้พลังงาน
การหายใจโดยระบบทางเดินหายใจ
การหายใจระดับเซลล์
การดูดซึมอาหารของระบบย่อยอาหาร
การหมุนเวียนเลือดของระบบหมุนเวียนเลือด
4. ข้อใดคือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเผาผลาญอาหารภายในเซลล์
น้ำตาลกลูโคส
แก๊สออกซิเจน
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และพลังงาน
- Mintty -
วิทยาศาสตร์ ม.2 l 20
5. เมื่อปริมาณออกซิเจนในเลือดน้อย ร่างกายจะมีปฏิกริ ิยาตอบสนองอย่างไร
ไอ
หาว
จาม
สะอึก
6. เมื่อร่างกายหายใจเอาอากาศที่ไม่สะอาด หรือมีสงิ่ แปลกปลอมเข้าไป ร่างกายจะพยายามขับสิ่ง
แปลกปลอมออก
ด้วยวิธีการใด
ไอ
หาว
จาม
สะอึก
7. ข้อใดกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างกะบังลมกับกระดูกซี่โครงได้ถูกต้อง
เมื่อหายใจเข้า กะบังลมจะเลื่อนสูงขึ้นและกระดูกซี่โครงเลื่อนต่ำลง
เมื่อหายใจเข้า กะบังลมจะเลื่อนต่ำลงและกระดูกซี่โครงเลื่อนสูงขึ้น
เมื่อหายใจเข้า กะบังลมและกระดูกซี่โครงจะเลื่อนสูงขึ้น
เมื่อหายใจเข้า กะบังลมและกระดูกซี่โครงจะเลื่อนต่ำลง
8. ระบบหายใจทำงานเกี่ยวข้องสัมพันธ์กบั ระบบใดมากที่สุด
ระบบน้ำเหลือง
ระบบประสาท
ระบบขับถ่าย
ระบบหมุนเวียนเลือด
- Mintty -
วิทยาศาสตร์ ม.2 l 21
9. การสูบบุหรีส่ ่งผลต่อระบบทางเดินหายใจอย่างไร
ทำให้โรคถุงลมโปร่งพอง
ทำให้ผนังหลอดลมหนาและตีบ
เนื้อเยื่อบริเวณถุงลมถูกทำลาย
ถูกต้องทุกข้อ
คำชี้แจง : จากภาพตอบคำถามข้อ 10
10. เมื่อดึงแผ่นยางลงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงกับลูกโปร่งอย่างไรและเปรียบเทียบได้กับการหายใจ
อย่างไร
ลูกโปร่งหดตัวและเปรียบได้กับการหายใจเข้า
ลูกโปร่งหดตัวและเปรียบได้กับการหายใจออก
ลูกโปร่งพองตัวและเปรียบได้กับการหายใจเข้า
ลูกโปร่งพองตัวและเปรียบได้กับการหายใจออก
11. ข้อใดคือความหมายของกระบวนการหายใจ
กระบวนการที่แก๊สออกซิเจนเข้าทำปฏิกิริยากับสารอาหาร
กระบวนการเพิม่ แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าทำปฏิกริ ิยากับสารอาหาร
กระบวนการที่แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เข้าทำปฏิกิริยากับสารอาหาร
กระบวนการที่แก๊สไฮโดรเจนเข้าทำปฏิกิริยากับสารอาหาร
- Mintty -
วิทยาศาสตร์ ม.2 l 22
12. อวัยวะใดเกี่ยวข้องกับระบบหายใจ
ปาก จมูก ปอด
คอหอย กล่องเสียง หลอดลม
จมูก หลอดอาหาร หัวใจ
รูจมูก กล่องเสียง กระเพาะอาหาร
13. บริเวณที่พบกันระหว่างช่องอาหารกับช่องอากาศ คือสิ่งใดต่อไปนี้
จมูก
หอคอย
กล่องเสียง
หลอดลม
14. ตัวการใดที่กำหนดอัตราการหายใจเข้าออกของระบบหายใจมนุษย์
ปริมาณแก๊สออกซิเจน
ปริมาณแก๊สไนโตรเจน
ปริมาณแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์
ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
15. การแลกเปลี่ยนแก๊สเกิดขึ้นบริเวณที่มักเรียกว่า "air sac" หมายถึงอวัยวะใดต่อไปนี้
alveoli
alveolar ducts
bronchi
bronchioles
- Mintty -
วิทยาศาสตร์ ม.2 l 23
16. จากสมการ แสดงการเกิดกระบวนการหายใจต่อไปนี้ จงหาคำตอบมาเติมในทีว่ ่างให้สมบูรณ์
glucose + oxygen = ........................ + water + CO2
starch
sucrose
energy
glycogen
17. ส่วนใดของกระบวนการหายใจที่รจู้ ักกันในชื่อของ voice box
larynx
pharynx
trachea
epiglottis
18. ข้อใดต่อไปนีก้ ล่าวถูกต้อง
อัตราการหายใจปกติในผูใ้ หญ่ประมาณ 16-18 ครั้งต่อนาที
การหายใจเข้าทางปากมีประสิทธิภาพไม่ดีเท่ากับการหายใจเข้าทางจมูก
การหายใจเข้าและการหายใจออกจัดเป็นการหายใจแบบ external respiration
ปอดประกอบด้วยเยื่อหุ้มปอด 2 ชั้นบางๆ เรียกว่า pericardium
- Mintty -
ใช้ข้อความต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 19
1. กะบังลมเลื่อนต่ำลง
3. ปอดแฟบ
5. ความดันในช่องอกลดลง
19. การหายใจเข้า เกิดขึ้นตามผลข้อใด
1, 2, 3
3, 4, 5
1, 4, 5
2, 3, 4
วิทยาศาสตร์ ม.2 l 24
2. กระดูกซี่โครงเลื่อนต่ำลง
4. ปริมาตรในอกเพิ่มขึ้น
6. ความดันในช่องอกเพิ่มขึ้น
20. ข้อใดมีความสัมพันธ์กนั ในขณะนอนหลับการหายใจจะช้าลง
ความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
ความเข้มข้นของแก๊สออกซิเจนในเลือดมาก
เลือดมีความเข้มข้นมากน
สภาพร่างกายมีน้ำหนักน้อย
Download