Uploaded by Dechawat Jirawattanakij

รด

advertisement
1
รายงาน
เรื่อง
พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
จัดทาโดย
นศท. เดชาวัต จิระวัฒนกิจ
หมายเลขประจาตัว 1601928696
ชั้นปีที่ 2 กองร้อย 201
สถานศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
1
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 — 13 ตุลาคม พ.ศ.
2559) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน
พ.ศ. 2489 เป็นพระมหากษัตริย์ไทยที่ทรงครองราชสมบัติยาวนานที่สุดในประเทศไทย
พระองค์เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ที่โรงพยาบาลเมาต์ออเบิร์น เมืองเคม
บริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราช
ชนก กับ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และได้ทรงหยุดยั้งการกบฏ เช่น กบฏเมษา
ฮาวาย ในปี พ.ศ. 2524 และ กบฏทหารนอกราชการ ในปี พ.ศ. 2528 กระนั้น ในสมัยของพระองค์ได้มีการทา
รัฐประหารโดยทหารหลายคณะ เช่น จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี พ.ศ. 2500 กับพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
ในปี พ.ศ. 2549 ตลอดระยะเวลา 70 ปี 4 เดือน 4 วัน ที่ทรงครองราชย์ เกิดรัฐประหารโดยกองทัพ 11 ครั้ง
รัฐธรรมนูญ 16 ฉบับ และนายกรัฐมนตรี 27 คน
ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่เคารพพระองค์ อนึ่ง ตามรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะอัน
เป็นที่เคารพสักการะ และผู้ใดจะละเมิดมิได้ ส่วนประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติไว้ว่า การดูหมิ่น หมิ่น
ประมาท หรืออาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์เป็นความผิดอาญา คณะรัฐมนตรีหลายชุดที่ได้รับการเลือกตั้งมา
ก็ถูกคณะทหารล้มล้างไปด้วยข้อกล่าวหาว่านักการเมืองผู้ใหญ่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กระนั้น พระองค์เอง
ได้ตรัสเมื่อปี พ.ศ. 2548 ว่า สาธารณชนพึงวิพากษ์วิจารณ์พระองค์ได้
2
พระองค์ทรงเป็นที่สรรเสริญในประเทศไทยเกี่ยวกับพระราชดาริในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
โคฟี แอนนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้ถวายรางวัลความสาเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์แด่พระองค์กับ
ทั้งพระองค์ยังทรงเป็นเจ้าของสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ งานพระราชนิพนธ์ และงานดนตรีจานวนหนึ่งด้วยด้าน
สินทรัพย์ของพระองค์นิตยสารฟอบส์จัดอันดับให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีพระราชทรัพย์มากที่สุดใน
โลก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ถึง พ.ศ. 2556 เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 พระองค์มีพระราชทรัพย์ 30,000
ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (ดูหมายเหตุด้านล่าง) สานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้นใช้สินทรัพย์เพื่อ
สวัสดิการสาธารณะ เช่น เพื่อพัฒนาเยาวชน แต่ได้รับการยกเว้นมิต้องจ่ายภาษีและให้เปิดเผยการเงินต่อ
พระมหากษัตริย์แต่พระองค์เดียว ขณะที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชก็ได้ทรงอุทิศพระ
ราชทรัพย์ไปในโครงการพัฒนาประเทศไทยหลายต่อหลายโครงการ โดยเฉพาะในทางเกษตรกรรม สิ่งแวดล้อม
สาธารณสุข การส่งเสริมอาชีพ ทรัพยากรน้า สวัสดิการทางคมนาคม และสวัสดิการสาธารณะ
3
นับแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 พระองค์เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับรักษาพระอาการพระโรค
ไข้หวัดและพระปัปผาสะอักเสบ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ตลอดมา แต่พระอาการ
ประชวรได้ทรุดลงตามลาดับ จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 15:52 น. สิริ
พระชนมพรรษา 88 ปี 313 วัน
พระราชสมภพ
ลายพระหัตถ์ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไข
เพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 ทรงลงพระปรมาภิไธยของพระองค์เองไว้ว่า "สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลย
เดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร"
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชสมภพในราชสกุลมหิดลอันเป็นสาย
หนึ่งในราชวงศ์จักรี ณ โรงพยาบาลเมาต์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐ อันเป็นที่ซึ่งพระบรม
ราชชนกและพระบรมราชชนนีกาลังทรงศึกษาวิชาการอยู่ เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่า ปีเถาะ นพศก
จุลศักราช 1289 ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นพระโอรสองค์ที่สามในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุล
เดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ในกาลต่อมา)
และหม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ตะละภัฎ, สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในกาลต่อมา)
มีพระนามเมื่อแรกประสูติอันปรากฏในสูติบัตรว่า เบบี สงขลา ต่อมาคือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพล
อดุลเดช เมื่อได้รับพระราชทานนาม มีพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช 2 พระองค์ คือ สมเด็จ
พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร
มหาอานันทมหิดล ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลาลองว่า
"เล็ก"
พระนามภูมิพลอดุลเดชนั้นพระบรมราชชนนีได้รับพระราชทานทางโทรเลขจากพระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2470 โดยทรงกากับตัวสะกดเป็นอักษรโรมันว่า
"Bhumibala Aduladeja" ทาให้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเข้าพระทัยว่าได้รับพระราชทาน
นามพระโอรสว่า "ภูมิบาล"[17] ในระยะแรกพระนามของพระองค์สะกดเป็นภาษาไทยว่า "ภูมิพลอดุลเดช"
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเองทรงเขียนว่า "ภูมิพลอดุลยเดช" โดยทรงเขียนทั้ง
สองแบบสลับกันไป จนมาทรงนิยมใช้แบบหลังซึ่งมีตัว "ย" สะกด[17][19]
4
เมื่อ พ.ศ. 2471 ได้เสด็จกลับสู่ประเทศไทยพร้อมพระบรมราชชนก ซึ่งทรงสาเร็จการศึกษาปริญญา
แพทยศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จ
พระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระเชษฐาธิราช โดยประทับ ณ วังสระปทุม ต่อมาวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472
สมเด็จพระบรมราชชนกสวรรคต ขณะที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมายุไม่ถึง
สองพรรษา
การศึกษา
พ.ศ. 2475 เมื่อเจริญพระชนมายุได้ 4 พรรษา เสด็จเข้าศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยจนถึง
เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2476 จึงเสด็จพระราชดาเนินไปประทับ ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พร้อม
ด้วยพระบรมราชชนนีพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชเพื่อการศึกษาและพระพลานามัยของ
สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนเมียร์มองต์ เมืองโลซาน ใน
เดือนกันยายน พ.ศ. 2477 ทรงศึกษาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และภาษาอังกฤษ แล้วทรงเข้าชั้น
มัธยมศึกษา ณ เอกอลนูแวลเดอลาซุอิสรอม็องด์ (École Nouvelle de la Suisse Romande) เมืองชายี-ซูร์โลซาน (Chailly-sur-Lausanne)
เมื่อพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ
เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์ก็ได้รับการสถาปนาฐานันดรศักดิ์เป็น "สมเด็จพระ
เจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช" เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478[21]
เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2481 พระองค์ได้โดยเสด็จฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัต
ประเทศไทยเป็นเวลา 2 เดือน โดยประทับที่พระตาหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จากนั้นเสด็จกลับไป
ศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์จนถึง พ.ศ. 2488 ทรงรับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์จากโรงเรียนฌีมนาซกลา
ซิกก็องตอนาลเดอโลซาน (Gymnase Classique Cantonal de Lausanne) แล้วทรงเข้าศึกษาต่อ ณ
มหาวิทยาลัยโลซาน แผนกวิทยาศาสตร์ โดยเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่สอง ประทับ ณ พระที่นั่งบรม
พิมาน ในพระบรมมหาราชวัง
5
พระมหากษัตริย์ไทย
ต้นรัชกาล
วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตอย่าง
กระทันหัน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง ในวันเดียวกัน รัฐสภาลงมติเป็นเอกฉันท์
อัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (พระยศในขณะนั้น) ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์
ต่อไป[23] จากนั้นทรงเสด็จพระราชดาเนินไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแห่งเดิม แต่เปลี่ยนสาขาจาก
วิทยาศาสตร์ ไปเป็นสาขาสังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ซึ่งในช่วง
เวลานั้นพระองค์ยังทรงพระเยาว์และเสด็จพระราชดาเนินศึกษาต่อ คณะผู้สาเร็จราชการแทนพระองค์ชั่วคราว
ในครั้งแรก ซึ่งได้แก่ พระสุธรรมวินิจฉัย (ชม วณิกเกียรติ), พระยานลราชสุวัจน์ (ทองดี นลราชสุวัจน์) และนาย
สงวน จูฑะเตมีย์ สมาชิกพฤฒสภา ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร และพระ
ยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา)
พระราชพิธีราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ขณะที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชประทับรถพระที่นั่งเสด็จพระราชดาเนินไป
ยังท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง เพื่อทรงศึกษาเพิ่มเติมที่สวิตเซอร์แลนด์ ก็ทรงได้ยินเสียงราษฎรคนหนึ่ง
ตะโกนว่า "ในหลวง อย่าทิ้งประชาชน" จึงทรงนึกตอบในพระราชหฤทัยว่า "ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว
ข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนอย่างไรได้" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงตระหนักในหน้าที่พระมหากษัตริย์
ของพระองค์ ดังที่ได้ตรัสตอบชายคนเดิมนั้นในอีก 20 ปีต่อมา
หลังจากที่จบการศึกษาจากสวิตเซอร์แลนด์ พระองค์เสด็จเยือนกรุงปารีส ทรงพบกับหม่อมราชวงศ์
สิริกิติ์ กิติยากร ซึ่งเป็นธิดาของเอกอัครราชทูตไทยประจากรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นครั้งแรก[28] ในขณะ
นั้น ทั้งสองพระองค์มีพระชนมายุ 21 พรรษาและ 15 พรรษาตามลาดับ
เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2491 ในระหว่างเสด็จประทับยังต่างประเทศ ขณะที่พระองค์ทรงขับรถยนต์
พระที่นั่งเฟียส ทอปอลิโน จากเจนีวาไปยังโลซาน ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ กล่าวคือ รถยนต์พระที่นั่ง
ชนกับรถบรรทุกอย่างแรง ทาให้เศษกระจกกระเด็นเข้าพระเนตรขวา พระอาการสาหัส หลังการถวายการ
รักษา พระองค์มีพระอาการแทรกซ้อนบริเวณพระเนตรขวา แพทย์จึงถวายการรักษาอย่างต่อเนื่องหลายครั้ง
หากแต่พระอาการยังคงไม่ดีขึ้น กระทั่งวินิจฉัยแล้วว่าพระองค์พระเนตรขวาบอด จึงได้ถวายการแนะนาให้
พระองค์ทรงพระเนตรปลอมในที่สุด
6
ทั้งนี้ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าเยี่ยมพระอาการเป็นประจาจนกระทั่งหายจากอาการ
ประชวร อันเป็นเหตุที่ทาให้ทั้งสองพระองค์มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาซึ่งก่อนหน้า
พระองค์เคยชอบพอกับหม่อมราชวงศ์สุพิชชา โสณกุล แต่ไม่ถึงขั้นหมั้นหมายกัน
วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เฉลิมพระปรมาภิไธยตามที่จารึกในพระ
สุพรรณบัฏว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร
สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม
เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" ในโอกาสนี้พระองค์ทรงพระราชดาริว่า ตามโบราณราชประเพณี เมื่อ
สมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกแล้ว ย่อมโปรดให้สถาปนาเฉลิม
พระเกียรติยศสมเด็จพระอัครมเหสีขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินี ดังนั้น พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม
ราชินี
รัฐประหาร พ.ศ. 2549
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.
เปรม ติณสูลานนท์ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เกยานนท์ และ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก เข้าเฝ้าฯ
ณ พระตาหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ในเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรง
พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานสภาองคมนตรี และรัฐบุรุษ พล
เอก สนธิ บุญยรัตกลิน พลเรือเอก สถิรพันธุ์ เกยานนท์ และพลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข เข้า
เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายรายงานสถานการณ์ การปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อเวลา 00.19 น. วันพุธที่ 20 กันยายน ณ พระตาหนักจิตรลดารโหฐาน
พระราชวังดุสิต
7
พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้นาความกราบบังคมทูลพระกรุณา ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ว่า การ
บริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล อันมีพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ก่อให้เกิดปัญหา ความ
ขัดแย้งแบ่งฝ่าย สลายความรู้สึกรู้รักสามัคคีของคนในชาติ อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ชาติ
ไทย ประชาชนส่วนหนึ่งเคลือบแคลงสงสัยว่า การบริหารราชการแผ่นดิน ส่อไปในทางทุจริตประพฤติมิชอบ
อย่างกว้างขวาง หน่วยงานอิสระ ถูกการเมืองครอบงา ทาให้การดาเนินกิจกรรมทางการเมือง เกิดปัญหาและ
อุปสรรคหลายประการ แม้หลายภาคส่วนของสังคมจะได้พยายามประนีประนอม คลี่คลายสถานการณ์มาโดย
ต่อเนื่องแล้ว ก็ไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้
หลังจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรด
กระหม่อม ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 ในวันที่ 1 ตุลาคม ปี
เดียวกัน คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แปรสภาพเป็น
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ โดย หัวหน้า คปค. ดารงตาแหน่ง ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ มี
อานาจหน้าที่ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติ ประธานสภา
ร่างรัฐธรรมนูญ สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ หลังจากนั้น จึงมีพระบรม
ราชโองการแต่งตั้ง พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี
หลังรัฐประหาร พ.ศ. 2549
การตั้งคาถามและการวิจารณ์บทบาทของพระองค์ในวิกฤตการณ์การเมืองไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก
สื่อนานาชาติ นักวิชาการไทยคนหนึ่งว่า "การถือภาพลวงว่าพระมหากษัตริย์ได้รับการเทิดทูนถ้วนหน้ายิ่งยาก
ขึ้นทุกที"
ในเดือนเมษายน 2551 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงแต่งตั้งพลเอก สุรยุทธ์
จุลานนท์ ผู้ถูกกล่าวหาว่าร่วมวางแผนรัฐประหาร เป็นองคมนตรี ในห้วงก่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 พระองค์ทรงแต่งตั้งพลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข ผู้นารัฐประหารปี
2549 เป็นองคมนตรี
เสด็จสวรรคต
ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ทรงมีพระปรอทต่า หายพระทัยเร็ว มีพระเสมหะ พระปับผาสะซ้ายอักเสบ มีพระโลหิตเป็นกรด และพบว่ามี
น้าคั่งในช่องเยื่อหุ้มพระปัปผาสะเล็กน้อย คณะแพทย์จึงทาการรักษาด้วยพระโอสถปฏิชีวนะ และใช้สายสวน
เข้าหลอดพระโลหิตดาเพื่อฟอกพระโลหิต แต่มีพระความดันพระโลหิตต่าจึงใช้เครื่องช่วยหายพระทัย พระ
8
อาการไม่คงที่ ก่อนที่พระอาการจะทรุดลงไปอีก มีการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต[87] จนเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม
พ.ศ. 2559 พระอาการประชวรได้ทรุดหนักลงตามลาดับ และสวรรคตเมื่อเวลา 15.52 น. รวมพระชนมายุ 88
พรรษา ทรงครองราชสมบัติได้ 70 ปี 4 เดือน 4 วัน
วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 16.00 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพ
ยวรางกูร ครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จ
พระราชดาเนินไปโรงพยาบาลศิริราช เพื่อเคลื่อนพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอ
ดุลยเดชไปยังพระบรมมหาราชวัง มีพระราชพิธีถวายสรงน้าพระบรมศพ ณ พระที่นั่งพิมานรัตยา มีการเชิญ
พระบรมศพลงสู่พระหีบ ประดิษฐานหลังพระแท่นแว่นฟ้าทอง ประกอบพระโกศทองใหญ่ ภายใต้นพปฎลมหา
เศวตฉัตร ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ภายในพระบรมมหาราชวัง
รัฐบาลประกาศให้สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐและสถานศึกษาทุกแห่ง ลดธงครึ่งเสา 30 วัน
และให้ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่รัฐไว้ทุกข์ 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559[90]
คณะรัฐมนตรีมีมติกาหนดให้วันที่ 13 ตุลาคมของทุกปีเป็นวันหยุดราชการ เพื่อให้ประชาชนน้อมสานึกในพระ
มหากรุณาธิคุณ มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560[92]
บทบาททางการเมืองไทย
9
พระองค์ทรงมีบทบาทในการเมืองไทยหลายครั้ง ได้ทรงหยุดยั้งการกบฏ เช่น กบฏยังเติร์ก ในปี พ.ศ.
2524 และ กบฏทหารนอกราชการ ในปี พ.ศ. 2528 กระนั้น ก็ได้ทรงแต่งตั้งหัวหน้าคณะยึดอานาจหลายคณะ
หัวหน้าคณะยึดอานาจนอกเหนือจากนี้มิได้รับการแต่งตั้งจากพระองค์ยกเว้นจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ได้รับ
การแต่งตั้งเป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารในเหตุการณ์ รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500
บทบาททางการเมืองที่สาคัญของพระองค์ อาทิ สมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทรงมีพระบรม
ราชโองการโปรดเกล้าฯ เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารในเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500
และเมื่อรัฐบาลทหารของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เถลิงอานาจ รัฐบาลได้ฟื้นฟูพระราชอานาจพระมหากษัตริย์
โดยอนุญาตให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จออกประชาชนเป็นอันมาก ให้เสด็จ
ประภาสในถิ่นทุรกันดาร และตั้งงบประมาณสนับสนุนโครงการพัฒนาที่พระองค์มีพระราชดาริริเริ่มด้วย
นอกจากนี้วันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (5 ธันวาคม) ก็ได้รับการ
ประกาศให้เป็นวันชาติไทย แทนที่วันที่ 24 มิถุนายน อันตรงกับวันที่คณะราษฎรได้เปลี่ยนแปลงการปกครอง
เป็นผลสาเร็จด้วย ทั้งนี้ พระยาศรีวิสารวาจา (หุ่น ฮุนตระกูล) องคมนตรี ได้กล่าวต่อมาว่า ไม่เคยมี
นายกรัฐมนตรีคนใดที่มีความใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์เท่ากับจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ มาก่อนเลย
และยังเป็นที่ทราบกันว่า พระองค์ทรงมีบทบาทสาคัญในพฤษภาทมิฬ โดยมีพระบรมราชโองการเรียก
พลเอก สุจินดา คราประยูร และหัวหน้ากลุ่มผู้ประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ให้เฝ้า และพระราชทาน
พระบรมราชานุญาตให้ถ่ายทอดการนี้ออกอากาศสดได้ ในภาพทางโทรทัศน์ พระองค์ทรงขอให้คู่กรณียุติความ
รุนแรงและนาพาชาติบ้านเมืองไปสู่สันติ ซึ่งทั้งพลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจาลอง ศรีเมือง เห็นพ้อง
ต้องกันในการที่จะให้รัฐบาลพลเรือนเข้ามาบริหารประเทศในสถานการณ์ดังกล่าว และที่สุดก็นาไปสู่การ
ลาออกของพลเอก สุจินดา คราประยูร และการเลือกตั้งทั่วไป[97] [98]
ในเหตุการณ์ รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 พระองค์ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้โทรทัศน์
รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ทาการบันทึกภาพและเสียงระหว่างการเข้าเฝ้าของพลเอก สนธิ บุญย
รัตกลิน และคณะ
ในช่วงหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 การตั้งคาถามและการวิจารณ์บทบาทของพระองค์
ในวิกฤตการณ์การเมืองไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสื่อนานาชาติ[100] นอกจากนี้ พระองค์ก็ตรัสถึง
การเมืองบ้างเล็กน้อยในบางโอกาส
อานาจตามรัฐธรรมนูญ
อานาจตามรัฐธรรมนูญของพระองค์มักเป็นที่ถกเถียงกัน บางส่วนเพราะความเป็นที่นิยมอย่างล้น
หลามของพระองค์และบางส่วนเป็นเพราะอานาจของพระองค์มักถูกตีความขัดกันแม้จะมีนิยามอย่างชัดเจนใน
10
รัฐธรรมนูญแล้วก็ตาม ยกตัวอย่างเช่นการแต่งตั้งจารุวรรณ เมณฑกาเป็นผู้ตรวจเงินแผ่นดิน ทว่า ศาล
รัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการแต่งตั้งเธอขัดต่อรัฐธรรมนูญ เมื่อรัฐสภาเลือกผู้ดารงตาแหน่งแทนจารุวรรณ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงปฏิเสธเขา วุฒิสภาปฏิเสธลงคะแนนยกเลิกการยับยั้ง
ของพระองค์ สุดท้ายในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินให้จารุวรรณกลับเข้ารับ
ตาแหน่ง หนังสือพิมพ์ผู้จัดการอธิบายว่ากรณีนี้เป็นความพยายามของวุฒิสภาเพื่อบีบบังคับให้พระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทาตามความปรารถนาของพวกตน[103] ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า
เนื่องจากรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติเฉพาะว่าพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้ตรวจเงินแผ่นดินตามคาแนะนาของ
วุฒิสภา การพ้นจากตาแหน่งจึงต้องมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากตาแหน่งเท่านั้น
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงยับยั้งกฎหมายน้อยครั้ง พอล แฮนด์ลีย์เขียนใน
เดอะคิงเนเวอร์สไมล์ ว่าในปี พ.ศ. 2519 เมื่อรัฐสภาลงคะแนนเสียงเห็นชอบเพื่อขยายการเลือกตั้งแบบ
ประชาธิปไตยสู่ระดับอาเภอ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงปฏิเสธลงพระปรมาภิไธย
กฎหมาย รัฐสภาไม่ยอมออกเสียงยกเลิกการยับยั้งของพระองค์ ในปี พ.ศ. 2497 พระบาทสมเด็จพระปรมินทร
มหาภูมิพลอดุลยเดชทรงยับยั้งกฎหมายปฏิรูปที่ดินที่รัฐสภาเห็นชอบสองครั้งก่อนทรงยินยอมลงพระ
ปรมาภิไธย บางทีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชไม่ทรงใช้พระราชอานาจนี้ยับยั้งการตรา
กฎหมาย เช่น ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 มาตรา 107 วรรค 2 ซึ่งบัญญัติว่า ให้
ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา พระองค์ไม่ทรงเห็นด้วย
แต่ก็ไม่ทรงใช้พระราชอานาจยับยั้งโดยตรง เพียงแต่มีพระราชกระแสท้ายร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่า ไม่ทรงเห็น
ด้วยกับมาตรา 107 วรรค 2 แห่งร่างรัฐธรรมนูญนี้เป็นอย่างยิ่ง เพราะประธานองคมนตรีเป็นผู้ที่
พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัย ซึ่งขัดกับหลักที่ว่า พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือ
ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ทั้งจะทาให้ประธานองคมนตรีอยู่ในสภาพเสมือนเป็นองค์กรทาง
การเมือง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชอานาจตามรัฐธรรมนูญอภัยโทษอาชญา
กร แม้มีเกณฑ์หลายข้อสาหรับการได้รับพระราชทานอภัยโทษ ซึ่งรวมอายุและโทษที่ยังเหลืออยู่ การอภัยโทษ
ผู้ข่มขืนกระทาชาเราและช่างภาพเปลือยเด็กชาวออสเตรเลียผู้หนึ่ง ซึ่งก่อให้เกิดข้อโต้เถียง
พระราชกรณียกิจ
พ.ศ. 2503 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้นมา
ใหม่หลังจากที่ได้เลิกร้างไปตั้งแต่ พ.ศ. 2479 และประเพณีการเสด็จพระราชดาเนินโดยกระบวนพยุหยาตรา
ชลมารคก็ได้รับการฟื้นฟูเป็นครั้งแรกเพื่อถวายผ้าพระกฐิน
11
ทรงส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทยแขนงอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทย ประวัติศาสตร์ไทย สถาปัตยกรรม
จิตรกรรม นาฏศิลป์ การดนตรีและศิลปะอื่น ๆ เช่น โปรดเกล้าฯ ให้กรมศิลปากรจัดทาโน้ตเพลงไทยตาม
ระบบสากลและจัดพิมพ์ขึ้นด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ โปรดเกล้าฯ ให้อาจารย์และนิสิตคณะ
วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิจัยหาระดับเฉลี่ยมาตรฐานของเครื่องดนตรีไทย ทรงสนับสนุนให้
มีการจัดตั้งสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย
ด้านวรรณศิลป์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระราชนิพนธ์บทความ แปล
หนังสือ เช่น นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต พระมหาชนก และพระมหาชนก ฉบับการ์ตูน เรื่อง ทองแดง
เป็นพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับคุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยง เป็นต้น
ด้านการพัฒนาชนบท
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ตลอดรัชสมัยไปกับการเสด็จฯ
เยี่ยมราษฎรในท้องถิ่นต่างๆ ทุกภูมิภาคของประเทศ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2497 โดยเฉพาะในแทบที่ชนบท
ทุรกันดาร เพื่อทรงเยี่ยมเยียน ซักถามเรื่องความเป็นอยู่และสารทุกข์สุกดิบของประชาชน นอกจากนี้พระองค์
จะทรงศึกษาค้นคว้าข้อมูลต่างๆด้วยพระองค์เองด้วยแผนที่หรือเอกสารต่างๆ ทาให้ทรงรับทราบปัญหาความ
เดือดร้อนของประชาชน หลังจากนั้นพระองค์ก็จะทรงคิดค้นแนวทางพระราชดาริเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหา
ต่างๆในแต่ละพื้นที่
พระองค์จะทรงพัฒนาชนบทในรูปโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดาริ มีจุดประสงค์ คือ การพัฒนา
บทเพื่อให้ราษฎรในชนบทได้มีความเป็นอยู่ตลอดจนสามารถประกอบอาชีพ เลี้ยงครอบครัวให้ดีขึ้น แนว
พระราชดาริที่สาคัญในเรื่องการพัฒนาชนบท คือมีพระราชประสงค์ช่วยให้ชาวชนบทสามารถช่วยเหลือ
พึ่งตนเองได้ โดยการสร้างพื้นฐานหลักที่จาเป็นต่อการผลิตให้แก่ราษฎรเหล่านั้น ทรงส่งเสริมให้ชาวชนบทมี
ความรู้ในการประกอบอาชีพตามแต่ละท้องถิ่น นอกจากนี้ยังทรงหาทางนาเอาวิทยาการสมัยใหม่มาประยุกต์
กับภูมิปัญญาชาวบ้าน
ด้านการเกษตรและชลประทาน
เขื่อนภูมิพล
12
ในด้านชลประทาน พระองค์ทรงให้ความสาคัญเป็นอย่างมาก โดยทรงคิดค้นโครงการตามพระราชดาริ
ของพระองค์ มีทั้งการแก้ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาอุทกภัย รวมไปถึงการบาบัดน้าเสีย เช่น เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
พระองค์ได้ทรงวิจัยและริเริ่มโครงการฝนหลวง เพื่อช่วยบรรเทาภัยแล้งสาหรับพื้นที่นอกเขตชลประทาน[152]
เมื่อคราวเขตกรุงเทพและปริมณฑลที่ประสบปัญหาน้าท่วมเมื่อปี พ.ศ. 2538 พระองค์ทรงมีพระราชดาริเรื่อง
แก้มลิง ควบคุมการระบายน้าจากแม่น้าเจ้าพระยา แม่น้าท่าจีน ลาคลองต่าง ๆ ลงสู่อ่าวไทย[153] พระองค์
ทรงประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศ กังหันชัยพัฒนา ในการปรับปรุงคุณภาพน้าโดยการเพิ่มออกซิเจน เป็น
สิ่งประดิษฐ์หนึ่งของพระองค์ที่ได้รับสิทธิบัตรจาก กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์[154]
ในด้านการเกษตร จะทรงเน้นการค้นคว้า ทดลอง และวิจัยหาพันธุ์พืชใหม่ ๆ ตลอดจนการศึกษา
แมลงศัตรูพืช และพันธุ์สัตว์ต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งแต่ละโครงการจะเน้นให้สามารถนาไป
ปฏิบัติได้จริง [155] นอกจากนี้ ยังทรงพยายามไม่ให้เกษตรกรยึดติดกับพืชผลทางการเกษตรเพียงอย่างเดียว
แต่เกษตรกรควรมีรายได้จากกิจกรรมอื่นด้วย เพื่อจะได้พึ่งตนเองได้ในระดับหนึ่ง[156] พระองค์ยังทรงคิดค้น
การแก้ปัญหาทรัพยากรทางการเกษตรหลายอย่างที่สาคัญ เช่น การแกล้งดิน เพื่อแก้ปัญหาดินเปรี้ยวหรือดิน
เป็นกรด จนกระทั่งดินมีสภาพดีพอที่จะใช้ในการเพาะปลูกได้ การปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้า[157]
พระองค์ทรงส่งเสริมการเลี้ยงปลานิล ทรงจัดตั้งโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อวิจัยพันธุ์ข้าว พันธุ์พืช
และปศุสัตว์ รวมถึงการการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การผลิตเอทานอล แก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซล[158]
ด้านการแพทย์
โครงการของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในระยะแรกล้วนแต่เป็นโครงการด้าน
สาธารณสุข[159] ในการเสด็จพระราชดาเนินไปทรงเยี่ยมราษฏรตามท้องที่ต่าง ๆ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า
ฯ ให้มีคณะแพทย์ที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาจากโรงพยาบาลต่าง ๆ และล้วนเป็นอาสาสมัคร
โดยเสด็จพระราชดาเนิน พร้อมด้วยเวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์พร้อมให้การรักษาพยาบาลราษฎรผู้ป่วยไข้
นอกจากนั้น ยังมีโครงการทันตกรรมพระราชทานซึ่งเป็นพระราชดาริให้ทันตแพทย์อาสาสมัคร
เดินทางออกไปช่วยเหลือบาบัดโรคเกี่ยวกับฟัน ตลอดจนสอนการรักษาอนามัยของปากและฟันโดยไม่คิดมูลค่า
นอกจากนั้น หน่วยแพทย์หลวงยังจัดเจ้าหน้าที่ออกเดินทางไปรักษาราษฎรผู้ป่วยเจ็บ ตามหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกล
ออกไปอีกด้วย
ด้านการศึกษา
พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดล
ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2502 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพระราชทานทุนแก่นิสิตนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเด่นในด้าน
13
ต่างๆ ให้นิสิตนักศึกษาเหล่านั้นได้มีโอกาสไปศึกษาหาความรู้วิชาการชั้นสูงในต่างประเทศ และนาความรู้นั้น
กลับมาใช้พัฒนาบ้านเมือง
ส่วนในประเทศพระองค์ทรงให้การอุปถัมป์ในด้านต่างๆ เช่น ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์
ช่วยเหลือ ให้คาแนะนา รวมทั้งเสด็จพระราชดาเนินไปเยี่ยมเยียนและพระราชทานพระบรมราโชวาทเพื่อ
สนับสนุนและเป็นกาลังใจแก่ครูและนักเรียนของโรงเรียน โรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์มีทั้งโรงเรียนรัฐบาล
และโรงเรียนเอกชนทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐบาลเป็นผู้ดาเนินการจัดการบริหารทางการศึกษา แบบให้
เปล่าตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา จนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในลักษณะทั้งอยู่ประจาและไปกลับ
แบ่งเป็น โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ จานวน 26 โรงเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ จานวน 14 โรงเรียน
พระองค์ยังได้จัดสร้างโครงการสารานุกรมไทยสาหรับเยาวชนเพื่อเป็นหนังสือที่ให้ความรู้ในวิชาการ
ทุกสาขา ได้จัดทาหนังสือสารานุกรมไทยที่บรรจุความรู้ใน 7 สาขาวิชา โดยแต่ละเล่มได้จัดแบ่งเนื้อหาของแต่
ละเรื่องออกเป็นสามระดับ เพื่อที่จะให้เยาวชนสามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้ได้ตามพื้นฐานของตน
นอกจากนี้ตลอดรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จะเสด็จพระราชดาเนินไป
ยังสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ เพื่อพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สาเร็จการศึกษา เพื่อเป็นกาลังใจให้แก่เหล่า
นิสิตผู้สาเร็จการศึกษา
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดาริ
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดาริเป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นจากพระดาริของพระบาทสมเด็จพระ
ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆภายในประเทศทั้งแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและแก้ไขปัญหา
ระยะยาว[168]ทรงเริ่มดาเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2495[169] ตลอดรัชสมัยมีโครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดาริทั้งหมด 4,741 โครงการ[170] โดยมีหน่วยงานราชการ[171]ที่ประสานงานโครงการ คือ
สานักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดาริ โดยแต่ละโครงการจะมี
วัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป โครงการเพื่อการส่งเสริมและวิจัย เช่น มูลนิธชิ ัยพัฒนา, มูลนิธิโครงการหลวง,
โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โครงการเกี่ยวกับน้า เช่น โครงการแก้มลิง, โครงการฝนหลวง, กังหันชัย
พัฒนา โครงการเกี่ยวกับการเกษตร เช่น โครงการแกล้งดิน โครงการอื่นๆ เช่น โครงการสารานุกรมไทย
สาหรับเยาวชน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดาริมีบทบาทสาคัญในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะแถบ
ชนบทนอกจากนี้โครงการหลวงยังได้รับรางวัลรามอน แมกไซไซ สาขา Peace and International
Understanding เมื่อ พ.ศ. 2531 อีกด้วย
Download