การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน Project Based Learning: PBL การจัดการเรียนรูโ้ ดยใช้โครงงานเป็นฐาน หรือ PBL เป็นกระบวนการ จัดการเรียนรูท ้ ี่มุ่งให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงประสบการณ์จากชีวิตจริงสู่การเรียนรู้ เพื่อ ค้นหาคําตอบด้วยการลงมือทํา การค้นคว้า การปฏิบัติจริง หลายคนอาจจะคุ้นกับ การเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ในห้องเรียน แต่การจัดการเรียนรูโ้ ดยใช้ โครงงานเป็นฐาน ไม่ใช่ การทดลองในห้องปฏิบัติการ แต่เป็นการเรียนรู้ซึ่งเน้น ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานให้แก่ผู้เรียนเหมือนกับการทํางานในชีวิตจริงอย่าง เป็นระบบ การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานจะช่วยเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มี ประสบการณ์ตรง เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา ได้ทําการทดลอง ได้พิสูจน์สิ่งต่างๆ ผ่าน การวางแผน การทํางานเป็นทีม และการคิดเชิงวิพากษ์อย่างเป็นระบบ โดยเน้นให้ สามารถบูรณาการวิชาการด้านต่างๆ มาใช้ในการทําโครงการนั้นๆ ได้ 1 ทําไมต้องใช้ PBL ในการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 • นักเรียนสามารถเข้าใจแนวคิดและความรู้พื้นฐานซึ่งเป็นหัวใจสําคัญในการ ทําโครงงาน • การทําโครงงานช่วยสร้างทักษะและนิสัยรักการเรียนรู้ • นักเรียนสามารถเรียนรูแ ้ ละฝึกฝนทักษะสําคัญในศตวรรษที่ 21 ได้ตลอดทั้ง กระบวนการเรียนรูไ้ ม่ว่าจะเป็นความร่วมมือ (Collaboration) การสื่อสาร (Communication) การมีวิธีคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) จากการ เรียนรูป ้ ัญหาชุมชน การสํารวจอาชีพที่ตนเองสนใจ และการมีปฏิสัมพันธ์กับ ผู้ใหญ่ทม ี่ าช่วยให้คําแนะนํา • นักเรียนสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อการค้นคว้าความรูก ้ ารนําเสนองานให้กับ ผู้ฟงั อื่นๆ นอกเหนือครูและเพื่อจากในห้องเรียน • สามารถช่วยกระตุ้นนักเรียนให้ใส่ใจการเรียนแทนที่จะมองว่า โรงเรียนเป็นที่ ที่น่าเบื่อหรือไม่มีความหมายสําหรับเขา คุณลักษณะหลัก 5 ประการ ที่ทําให้เกิดการเรียนรู้แบบ PBL 1. การเชื่อมโยงกับชีวิตจริง (Real-World Connection) 2. มีสาระหลักเชื่อมสู่การเรียนรู้ (Core to Learning) 3. การสร้างความร่วมมือในเชิงโครงสร้าง (Structured Collaboration) 4. พลังขับเคลื่อนของนักเรียน (Student Driven) 5. มีการประเมินผลที่หลากหลาย (Multifaceted Assessment) 2 เริ$ มต้ นผ่านการ กระตุ้นให้ เกิด การตัง& คําถาม อยากรู้ อะไร แก้ ปัญหาเรื$ องอะไร แบบไหน นําเสนอผลงาน สูส่ าธารณะ PBL ฟั งเสียงผู้เรี ยน ให้ เขาเป็ น ผู้ออกแบบการ เรี ยนรู้ สะท้ อนการ เรี ยนรู้ และ ปรั บปรุ งโครงงาน ค้ นหาคําตอบด้ วย การลงมือ ค้ นคว้ า และ ปฏิบตั จิ ริง บทบาทของครู ครูทําหน้าที่เป็นผู้แนะนําและกระตุ้นการเรียนรู้ (Teacher as a Coach) บทบาทของนักเรียน นักเรียนเป็นผู้ออกแบบ (Designer) และฝึกปฏิบัติ (Practice) รวมถึงสะท้อน และประเมินผลการเรียนรู้ (Reflection)